Skip to content
Home » [NEW] เรื่องควรรู้ สิทธิประโยชน์ทายาท กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต | ผลประโยชน์ประกันสังคม – NATAVIGUIDES

[NEW] เรื่องควรรู้ สิทธิประโยชน์ทายาท กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต | ผลประโยชน์ประกันสังคม – NATAVIGUIDES

ผลประโยชน์ประกันสังคม: คุณกำลังดูกระทู้

Log in with your credentials

Remember me
Lost your password?

[NEW] เรื่องควรรู้ สิทธิประโยชน์ทายาท กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต | ผลประโยชน์ประกันสังคม – NATAVIGUIDES

Log in with your credentials

Remember me
Lost your password?


กรณีตาย (เสียชีวิต) ประกันสังคม


ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.sso.go.th

กรณีเสียชีวิต
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ
1. กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเดือนถึงแก่ความตาย
2. สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนที่จงใจทำให้ตนเองบาดเจ็บ ทุพพลภาพและตาย หรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น
ประโยชน์ทดแทนกรณีตาย ได้แก่
1. ค่าทำศพ 50,000 บาท โดยจ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ
ใครคือผู้จัดการศพ
(ก) บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้จัดการศพและได้เป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
(ข) สามีภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
(ค) บุคคลอื่นซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
2. เงินสงเคราะห์กรณีตาย
• เงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์นั้น แต่ถ้าผู้ประกันตนมิได้มีหนังสือระบุไว้ก็ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่ สามีหรือภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน ดังนี้
1. ถ้าก่อนถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 2 เดือน
2. ถ้าก่อนถึงแก่ความตายผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 6 เดือน
ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตายได้แก่
บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์นั้น แต่ถ้าผู้ประกันตนมิได้มีหนังสือระบุไว้ก็ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่ สามีภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน
กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต ทายาทผู้มีสิทธิสามารถขอรับคืนเงินกรณีชราภาพคืนได้ภายใน 2 ปี (ดูรายละเอียดในกรณีชราภาพ)
หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย กรณีขอรับค่าทำศพ

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 201)
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการศพพร้อมตัวจริง
3. หลักฐานจากฌาปนสถานหรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ
4. สำเนาใบมรณบัตรพร้อมตัวจริง
5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้จัดการศพ 11 ธนาคาร ดังนี้
1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
3) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
4) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
6) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
7) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (จำกัด)
10) ธนาคารออมสิน
11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
กรณีขอรับเงินสงเคราะห์

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 201)
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของ ผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์
3. สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดาของผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)
4. สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือ สำเนาทะเบียนบ้านของบุตรกรณีไม่มีสูติบัตร
5. หนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย (ถ้ามี)
การมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน

1. หนังสือมอบอำนาจ
2. บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
3. หนังสือแจ้งผลการพิจารณาจากสำนักงานประกันสังคม
4. การยื่นคำร้องขอรับค่าทำศพ สามารถยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ /สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) ในการยื่นคำร้อง

ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

1. ผู้จัดการศพผู้มีสิทธิต้องกรอกแบบ สปส. 201 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์ โดยมีหลักฐานครบถ้วน
2. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
3. สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
4. พิจารณาสั่งจ่าย
1. เงินสด/เช็ค (ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน)
2. ส่งธนาณัติให้ผู้มีสิทธิ
3. โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 11 ธนาคาร ข้างต้น

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

กรณีตาย (เสียชีวิต) ประกันสังคม

ดูได้เลย เงินบำเหน็จ(เงินก้อน) ประกันสังคม ไม่ต้องคำนวนเองทั้งหมด


เงินบำเหน็จคือเงินในส่วนชราพภาพ (มีจำนวนร้อยละ 3 ของฐานค่าจ้าง) ที่ถูกสะสมเอาไว้ทั้งหมด (รวมของนายจ้าง ถ้ามีการนำส่งตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป)

ดูได้เลย เงินบำเหน็จ(เงินก้อน) ประกันสังคม  ไม่ต้องคำนวนเองทั้งหมด

เปรียบเทียบกรณีเจ็บป่วยประกันสังคม 3 มาตรา


ผู้ประกันตนแต่ละประเภทมีสถานะที่ต่างกัน และการจ่ายเงินสมทบที่ต่างกัน
จึงทำให้การได้รับสิทธิประโยชน์อาจมีความแตกต่าง หรือบางกรณีก็อาจจะเหมือนกันภายใต้หลักการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข
============
บท/บรรยาย : ศราวุธ ชัยดี

เปรียบเทียบกรณีเจ็บป่วยประกันสังคม 3 มาตรา

ประกันสังคมมาตรา 40 ให้อะไรเราบ้าง กรณีเจ็บป่วย?/Nathamon channel


ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 กรณีเจ็บป่วย จะได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้ เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 3 เดือน ใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ส่วนจำนวนเงินชดเชยการขาดรายได้นั้น ประกันสังคมได้กำหนดไว้ ดังนี้
_เมื่อผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย หลังจากได้รับการตรวจรักษา ข้อที่ (1) แพทย์พิจารณาให้
นอนโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ท่านก็จะได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้ วันละ 300 บาท
ข้อที่ (2) ไม่ได้นอนโรงพยาบาล แต่แพทย์มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัว ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป จะได้รับเงิน
ชดเชยการขาดรายได้ วันละ 200 บาท และข้อที่ (3) ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก และ
แพทย์มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัวไม่เกิน 2 วัน จะได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้ ครั้งละ 50 บาท
3. การรับสิทธิประโยชน์นั้นนะคะ ผู้ประกันตนตามทางเลือกที่ 1 ซึ่งจ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน และทาง
เลือกที่ 2 ซึ่งจ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน มีสิทธิที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามข้อ (1) และ (2) ที่นับ
รวมกันแล้ว ไม่เกิน 30 วันต่อปี ส่วนข้อ (3) มีสิทธิที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปีนะคะ
_ สำหรับผู้ประกันตนตามทางเลือกที่ 3 ซึ่งจ่ายเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน ก็มีสิทธิที่จะได้รับเฉพาะสิทธิ
ประโยชน์ตามข้อ (1) และ (2) ที่นับรวมกันแล้ว ไม่เกิน 90 วันต่อปี ส่วนสิทธิประโยชน์ตามข้อ (3) ทาง
เลือกนี้จะไม่ได้ให้ความคุ้มครองไว้
4. ค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น จะทำอย่างไร ใครเป็นคนจ่าย
เนื่องจากค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ สำนักงานประกันสังคมไม่ได้ให้ความคุ้มครองไว้ ดังนั้นผู้ประกันตนใน
มาตรา 40 จึงสามารถใช้สิทธิในเรื่องค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิที่ตนเองมีได้ ตัวอย่าง เช่น
ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 มีสิทธิบัตรทองก็ใช้สิทธิบัตรทองในส่วนของค่ารักษาพยาบาล หรือ
ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 มีสิทธิเบิกจ่ายตรงจากกรมบัญชีกลางก็ใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงจากกรมบัญชีกลางได้
ประกันสังคมมาตรา40เงินชดเชยการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย

ประกันสังคมมาตรา 40 ให้อะไรเราบ้าง กรณีเจ็บป่วย?/Nathamon channel

ทำประกันสังคมมาตรา 40 ไปเพื่ออะไร


ประกันสังคมมาตรา 40 เป็นอีก 1 ทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 แต่ความคุ้มครองอาจจะแตกต่างจากผู้ประกันตน 2 ประเภทดังกล่าว
คลิปนี้มีตารางสรุปสิทธิประโยชน์ทั้งหมดของการเป็นผู้ประกันตนตามมารตรา 40 มาให้ดูครับ
| บท/บรรยาย ศราวุธ ชัยดี
บันทึกเสียง : PURE Studio
https://purestudio.simdif.com/
ฟังหนังสือเสียง ใน MEB ที่อ่านโดย ศราวุธ ชัยดี ได้ที่
https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book\u0026type=narrator\u0026search=%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%98%20%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B5\u0026exact_keyword=1\u0026page_no=1

ทำประกันสังคมมาตรา 40 ไปเพื่ออะไร

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ ผลประโยชน์ประกันสังคม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *