Skip to content
Home » [NEW] เนื้อหา การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้ | ตัวอย่าง ต้นทุน การ ผลิต – NATAVIGUIDES

[NEW] เนื้อหา การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้ | ตัวอย่าง ต้นทุน การ ผลิต – NATAVIGUIDES

ตัวอย่าง ต้นทุน การ ผลิต: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

หน้าหลัก
 การบัญชีต้นทุน

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุน


วิธีการบัญชีในระบบการผลิต


การบัญชีต้นทุนการผลิต



การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้

บทฝึกหัด

แหล่งวิทยากร
อาจารย์ผู้สอน 

 

 

 

การบัญชีต้นทุน
:
โดยอาจารย์อนุรักษ์ 
ทองสุโขวงศ์

การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้

    
ในการผลิตผลิตภัณฑ์ของกิจการอุตสาหกรรมบางประเภท
จะได้ผลิตภัณฑ์หลายชนิดออกมาพร้อมกันจากขบวนการผลิตหนึ่ง
กิจการอาจปรับปรุงวิธีการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจำนวนแตกต่างกัน
แต่ไม่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์หนึ่งผลิตภัณฑ์ใดเพียงชนิดเดียวออกมาโดยไม่มีผลิตภัณฑ์อื่น
ๆ ออกมาด้วยได้ เช่น อุตสาหกรรมน้ำมัน
การกลั่นน้ำมันดิบย่อมจะได้น้ำมันชนิดต่าง ๆ
ออกมาพร้อมกัน
การจัดผลิตภัณฑ์ที่ได้เหล่านั้นว่าเป็นผลิตภัณฑ์ร่วม
หรือผลิตภัณฑ์พลอยได้
จะขึ้นอยู่กับความสำคัญของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด กิจการอื่น
ๆ ที่มีลักษณะเดียวกับกิจการอุตสาหกรรมน้ำมัน ได้แก่
อุตสาหกรรมการสีข้าว อุตสาหกรรมป่าไม้ อุตสาหกรรมเคมี
และอุตสาหกรรมชำแหละเนื้อสัตว์ เป็นต้น 

1.

 
ความหมายของผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้
2.  การบัญชีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ร่วม

3.
การบัญชีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์พลอยได้


1.
ความหมายของผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้

 

ผลิตภัณฑ์ร่วม

(Joint product) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ 2
ชนิดขึ้นไปซึ่งผลิตได้จากวัตถุดิบในกระบวนการผลิตเดียวกัน
หากผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดสามารถนำออกขายได้ในระดับราคาใกล้เคียงกันก็มักถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ร่วม
เช่น การกลั่นน้ำมันดิบย่อมได้ผลิตภัณฑ์หลายประเภท
ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันก๊าด ยางมะตอย
และผลิตภัณฑ์จากน้ำมันอื่น ๆ หรือในการชำแหละสุกร
ก็จะได้เนื้อสันใน เนื้อสันนอก เนื้อสะโพก เครื่องใน
ไขมัน ฯลฯ พร้อมกัน

ผลิตภัณฑ์พลอยได้

(By product) หมายถึง
ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญอันเนื่องมาจากกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์หลัก
โดยปกติปริมาณ
และมูลค่าของผลิตภัณฑ์พลอยได้จะต่ำกว่าผลิตภัณฑ์หลักมาก

           
การตัดสินใจว่าผลิตภัณฑ์ประเภทใดควรเข้าลักษณะใดเป็นสิ่งสำคัญ
เนื่องจากวิธีคิดต้นทุนและการบันทึกบัญชีแตกต่างกันมาก
ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ภายหลัง
ในกรณีมีข้อสงสัยว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการผลิตร่วมกันนั้นควรจัดเข้าประเภทใด
กรณีเช่นนี้ให้พิจารณาที่มูลค่าขายหรือราคาตลาดของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน
หากมีราคาในระดับใกล้เคียงกันจะถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ร่วม
แต่ถ้ามีราคาแตกต่างกันอย่างมาก
ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูงจะถือเป็นผลิตภัณฑ์หลัก
ส่วนที่มีราคาต่ำกว่ามาก ๆ จะเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้
อย่างไรก็ตามในอุตสาหกรรมเดียวกัน
กิจการแห่งหนึ่งอาจถือเป็นผลิตภัณฑ์หลัก
ในขณะที่กิจการอีกแห่งถือเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้
การตัดสินใจจึงขึ้นอยู่กับนโยบายของฝ่ายบริหารและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

การตัดสินใจว่าผลิตภัณฑ์เป็นชนิดใดเป็นสิ่งสำคัญ
เนื่องจากวิธีการคิดต้นทุนและการบันทึกบัญชีมีความแตกต่างกัน
ซึ่งมีผลกระทบต่อข้อมูลทางการบัญชี
สำหรับต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ
มีดังนี้

ต้นทุนร่วม

(Joint cost) หมายถึง
ต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงจุดที่เกิดผลิตภัณฑ์หลายชนิด
ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นจุดแยกตัวหรือจุดแยกออก (Split-off
point)
ดังนั้นจุดแยกตัวจึงเป็นจุดที่แยกผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดนั่นเอง

ต้นทุนหลังจุดแยกตัว
หรือต้นทุนผลิตเพิ่มเติมหลังจุดแยกตัว
(Separable
costs) คือ
ต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการนำเอาผลิตภัณฑ์ประเภทใดประเภทหนึ่งไปผลิตต่อจนเสร็จพร้อมที่จะขายได้
ต้นทุนหลังจุดแยกตัวจะเท่ากับต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นหลังจุดแยกตัวจนกระทั่งผลิตเสร็จ
ข้อแตกต่างจากต้นทุนประเภทนี้กับต้นทุนร่วม คือ
เราสามารถทราบได้ว่า
ต้นทุนที่เกิดขึ้นหลังจุดแยกตัวเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใด
จำนวนเท่าใด จึงคำนวณต้นทุนเข้ากับผลิตภัณฑ์ได้โดยง่าย

 


2. การบัญชีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ร่วม


 
           
เนื่องจากผลิตภัณฑ์ร่วมเกิดจากกระบวนการผลิตเดียวกัน
เป็นการยากที่จะคำนวณต้นทุนการผลิตในกระบวนการผลิตร่วม

(Joint
process) ให้กับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด
จึงต้องมีการปันส่วนต้นทุนร่วมที่เหมาะสมกับสภาพการผลิต
วัตถุประสงค์ของการปันส่วนต้นทุนร่วมก็เพื่อจะตีราคาสินค้าคงเหลือและจัดทำงบการเงินประจำงวด
เพราะถ้ากิจการไม่ทราบต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด
ก็ไม่สามารถคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขาย ตีราคาสินค้าคงเหลือ
และไม่สามารถจัดทำงบการเงินได้

            ในทางปฏิบัติ
กิจการอาจขายผลิตภัณฑ์ร่วมทันที ณ จุดแยกตัว
หรืออาจนำไปผลิตต่อ การตัดสินใจจะขายหรือผลิตต่อ
ขึ้นกับสภาพการผลิตของกิจการ และกำไรส่วนเพิ่ม
(Incremental
profit)

            วิธีการปันส่วนต้นทุนร่วมมี 4 วิธี ได้แก่

1) วิธีถัวเฉลี่ย

(Average
method) 
แบ่งโดยถัวเฉลี่ยต้นทุนให้กับผลิตภัณฑ์ทุกชนิดตามจำนวนหน่วยที่ผลิตได้
โดยถือหลักว่าผลิตภัณฑ์ทุกชนิดได้ผ่านกระบวนการผลิตอันเดียวกันก็ควรจะได้รับต้นทุนการผลิตเท่า
ๆ กัน นั่นคือ
ต้นทุนก่อนจุกแยกตัวต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะเท่ากันซึ่งอาจเป็นปัญหาในการรายงานผลิกำไรขาดทุนของกิจการ
สินค้าบางชนิดจะขาดทุน บางชนิดจะได้กำไรมาก
อันเนื่องมาจากราคาขายที่แตกต่างกัน
วิธีนี้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมใบยาสูบ แป้ง การแปรรูปไม้
เป็นต้น

2) วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

(Weighted
average method)
ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีข้อแตกต่างกัน เช่น ในเรื่องขนาด
น้ำหนัก จำนวนวัตถุดิบที่ใช้ เวลาที่ใช้ผลิตต่างกัน
จึงเอาข้อแตกต่างมาพิจารณาในรูปของน้ำหนักให้ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดก่อน
แล้วจึงแบ่งต้นทุนร่วมให้ตามสัดส่วนของน้ำหนักที่คำนวณได้
วิธีนี้ใช้กับอุตสาหกรรมผลิตอาหารหรือผลไม้กระป๋อง
น้ำมัน เคมีภัณฑ์ เป็นต้น
วิธีนี้อาจมีปัญหาในการกำหนดจำนวนน้ำหนักที่ถูกต้องและเหมาะสมให้กับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด


3)
วิธีราคาตลาด

(Market
value) หรือ มูลค่าขายสัมพัทธ์ (Relative
sales value) ในการผลิตสินค้าต่าง ๆ
เพื่อหวังกำไร ดังนั้น
ราคาขายหรือราคาตลาดของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะครอบคลุมส่วนที่เป็นต้นทุน
และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งกำไรที่กิจการต้องการ
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ราคาขายมีส่วนสันพันธ์กับต้นทุน
ผลิตภัณฑ์ชนิดใดที่มีราคาขายต่อหน่วยสูงก็น่าจะมีต้นทุนสูงตามไปด้วย
และผลิตภัณฑ์ชนิดใดมีราคาต่อหน่วยต่ำก็จะมีต้นทุนต่ำไปตามสัดส่วน


มูลค่าขายสัมพัทธ์หรือราคาตลาด
เกณฑ์นี้จะนำมาใช้ในกรณีที่กิจการนำสินค้าออกขายทันที ณ
จุดแยกตัว

           

มูลค่าขายสุทธิสัมพัทธ์
จะนำมาใช้ในกรณีที่กิจการนำผลิตภัณฑ์ไปผลิตเพิ่มเติมหลังจุดแยกตัว 
ซึ่งมูลค่าขายที่ถูกประมาณขึ้นมาภายใต้สภาพการค้าโดยปกติ
แล้วหักด้วยต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในกากรผลิตเพิ่มเติมหลังจุดแยกตัว
กิจการที่ไม่สามารถหาราคาตลาดของผลิตภัณฑ์ ณ
จุดแยกตัวเนื่องจากไม่มีตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ชนิดนั้น ๆ
อาจใช้เกณฑ์มูลค่าขายสุทธิสัมพัทธ์ในการปันส่วนต้นทุนร่วม

4) วิธีอัตรากำไรคงที่
ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่ผลิตได้เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมที่จะให้กำไรแก่กิจการในอัตราเท่าเทียมกัน
จึงมีการกำหนดอัตรากำไรที่ต้องการไว้ล่วงหน้าแล้วนำอัตรากำไรนี้ไปคำนวณจำนวนกำไรที่คาดว่าจะได้รับจากผลิตภัณฑ์ร่วมแต่ละประเภท
และนำไปคำนวณหาต้นทุนรวมและต้นทุนก่อนจุดแยกตัว
ซึ่งเป็นต้นทุนร่วมที่แบ่งให้สินค้าแต่ละชนิด

การปันส่วนต้นทุนร่วม พิจารณาแยกเป็น 2 กรณี คือ
แสดงการขายทันที ณ จุดแยกตัวโดยไม่นำไปผลิตต่อ และ
แสดงการขายหลังผลิตเพิ่มเติมหลังจุดแยกตัว เป็นดังนี้

 

2.1 การปันส่วนต้นทุนร่วม ณ จุดแยกตัว
โดยไม่นำไปผลิตเพิ่มเติม

            ตัวอย่าง บริษัท พรนุรักษ์ จำกัด
ผลิตสินค้าได้ 3 ชนิด ต้นทุนร่วมในการผลิตเท่ากับ
360,000 บาท กิจการนำสินค้าทั้งหมดออกขายทันที ณ
จุดแยกตัว ข้อมูลการผลิตและขายทั้ง 3 ชนิด
ในระหว่างเดือน มกราคม 2548 มีดังนี้

 

น้ำหนักที่ผลิตได้ (กิโลกรัม)

ปริมาณที่ผลิต (หน่วย)

ปริมาณขาย (หน่วย)

ราคาขายต่อหน่วย (บาท)

สินค้า ก

10,000

5,000

4,000

32

สินค้า ข

15,000

6,000

5,000

24

สินค้า ค

5,000

7,000

6,000

28

รวม

30,000

18,000

15,000

 

การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าแต่ละชนิด
โดยแบ่งต้นทุนร่วม เป็นดังนี้


1)
วิธีถัวเฉลี่ย

ต้นทุนร่วมต่อหน่วย

      =
ต้นทุนร่วมทั้งหมด/ปริมาณรวมของสินค้า
                                   
=
360,000/18,000 
                                   
=  20 บาทต่อหน่วย

การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยโดยการปันส่วนต้นทุนร่วมแสดงได้ดังนี้

สินค้า

ปริมาณผลิต

ต้นทุนร่วมแบ่งให้

ต้นทุนต่อหน่วย

ราคาขายต่อหน่วย

กำไรต่อหน่วย

%ของกำไรต่อยอดขาย

5,000

100,000

20

32

12

37.50

6,000

120,000

20

24

4

16.60

7,000

140,000

20

28

8

28.60

รวม

18,000

360,000

 

 

 

 

 


2)
วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

(ใช้นำหนักของสินค้าแต่ละชนิด)

ต้นทุนร่วมต่อหน่วย

     =
ต้นทุนร่วมทั้งหมด/น้ำหนักรวมของผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่ผลิตได้
                       

            =
360,000/30,000  
                                    =
12 บาทต่อปอนด์

การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยโดยการปันส่วนต้นทุนร่วมแสดงได้ดังนี้

สินค้า

น้ำหนักที่ผลิตได้

ต้นทุนร่วมที่แบ่งให้

ปริมาณผลิต

ต้นทุนต่อหน่วย

ราคาขายต่อหน่วย

กำไร(ขาดทุน)ต่อหน่วย

% ของกำไรต่อยอดขาย

10,000

120,000

 5,000

24

32

8

25

15,000

180,000

 6,000

30

24

(6)

(25)

 5,000

  60,000

 7,000

8.57

28

19.43

69.4

รวม

30,000

360,000

18,000

 

 

 

 


 


3)
วิธีมูลค่าขายสัมพัทธ์

อัตราร้อยละของต้นทุนร่วมต่อมูลค่าขาย        
= ต้นทุนร่วม x 100/มูลค่าขาย
                       

                                            =
360,000 x 100/500,000            

                                                                   
=
72%

การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยโดยการปันส่วนต้นทุนร่วมแสดงได้ดังนี้

สินค้า

ปริมาณที่ผลิต

ราคาขายต่อหน่วย

มูลค่าขาย

ต้นทุนร่วมที่แบ่งให้

ต้นทุนต่อหน่วย

กำไร(ขาดทุน)ต่อหน่วย

% ของกำไรต่อยอดขาย

 5,000

32

160,000

115,200

23.04

8.96

28

 6,000

24

144,000

103,680

17.28

6.72

28

 7,000

28

196,000

141,120

20.16

7.84

28

รวม

18,000

 

500,000

360,000

 

 

 

 

4) วิธีอัตรากำไรคงที่
(สมมติกำหนดอัตรากำไรที่ต้องการ 25%
ของมูลค่าขาย)

ต้นทุนก่อนจุดแยกตัวของผลิตภัณฑ์ร่วม        = มูลค่าขายสินค้า –
กำไรที่คาดว่าจะได้รับ
ต้นทุนก่อนจุดแยกตัวของผลิตภัณฑ์ ก          
= 160,000 – 25%(160,000)           = 120,000
บาท
ต้นทุนก่อนจุดแยกตัวของผลิตภัณฑ์ ข          
= 144,000 – 25%(144,000)           = 108,000
บาท
ต้นทุนก่อนจุดแยกตัวของผลิตภัณฑ์ ค          
= 196,000 – 25%(196,000)           = 147,000
บาท
การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยโดยการปันส่วนต้นทุนร่วมแสดงได้ดังนี้

สินค้า

ปริมาณผลิต

ต้นทุนร่วมก่อนจุดแยกตัว

ต้นทุนต่อหน่วย

ราคาขายต่อหน่วย

กำไร(ขาดทุน)ต่อหน่วย

%ของกำไรต่อยอดขาย

5,000

120,000

24

32

8

25

6,000

108,000

18

24

6

25

7,000

147,000

21

28

7

25

หากปรับอัตรากำไรที่ต้องการจาก 25%
ของมูลค่าขาย เป็น 28%
ของมูลค่าขาย
ผลการคำนวณจะเป็นเช่นเดียวกับวิธีมูลค่าขายสัมพัทธ์

เมื่อสรุปผลการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าแต่ละชนิดตามเกณฑ์การปันส่วนที่แตกต่างกันสรุปผลดังนี้

เกณฑ์การปันส่วน

ต้นทุนต่อหน่วย (บาท)

อัตรากำไรขั้นต้น (%)

1. วิธีถัวเฉลี่ย

20

20

20

37.50

16.60

28.60

2. วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

24

30

8.57

25.00

(25.00)

69.40

3. วิธีมูลค่าขายสัมพัทธ์

23.04

17.28

20.16

28

28

28

4. วิธีอัตรากำไรคงที่ (28%)

23.04

17.28

20.16

28

28

28

 การจัดทำงบกำไรขาดทุนและงบดุล

บริษัท พรนุรักษ์ จำกัด
งบกำไรขาดทุน (บางส่วน)
สำหรับเดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2548

วิธีถัวเฉลี่ย

 

รวม

ขาย

128,000

120,000

168,000

416,000

หัก
ต้นทุนสินค้าที่ขาย

80,000

100,000

120,000

300,000

กำไรขั้นต้น

48,000

20,000

48,000

116,000

วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

 

รวม

ขาย

128,000

120,000

168,000

416,000

หัก
ต้นทุนสินค้าที่ขาย

96,000

150,000

51,000

297,000

กำไรขั้นต้น

32,000

(30,000)

117,000

119,000

วิธีมูลค่าขายสัมพัทธ์และวิธีอัตรากำไรคงที่

 

รวม

ขาย

128,000

120,000

168,000

416,000

หัก
ต้นทุนสินค้าที่ขาย

92,000

86,000

121,000

299,000

กำไรขั้นต้น

36,000

34,000

47,000

117,000

บริษัท พรนุรักษ์ จำกัด
งบดุล (บางส่วน)
วันที่ 31 มกราคม 2548

 

วิธีถัวเฉลี่ย

วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

วิธีมูลค่าขายสัมพัทธ์และวิธีอัตรากำไรคงที่

สินค้าคงเหลือ


(1,000 x 20)= 20,000


(1,000 x 24)= 24,000


(1,000 x 23.04)= 23,040


(1,000 x 20)= 20,000


(1,000 x 30)= 30,000


(1,000 x 17.28)= 17,280


(1,000 x 20)= 20,000


(1,000 x 8.57)=8,570


(1,000 x 20.16)= 20,160

                      60,000

                      62,570

                          60,480

 

2.2 การปันส่วนต้นทุนร่วม ณ จุดแยกตัว
โดยนำไปผลิตเพิ่มเติม

            ตัวอย่าง
จากตัวอย่างเดิม บริษัทนำสินค้า ข
และสินค้า ค
ไปผลิตเพิ่มเติมเนื่องจากไม่มีตลาดรับซื้อโดยเกิดค่าใช้จ่ายในการผลิตเพิ่มเติม
40,000 บาท และ 110,000 บาทตามลำดับ
โดยมีปริมาณผลิตและขายสินค้า ดังนี้

สินค้า

ปริมาณผลิต (หน่วย)

ปริมาณขาย (หน่วย)

สินค้าคงเหลือ (หน่วย)

ราคาขายต่อหน่วย(บาท)

5,000

4,000

1,000

32

6,000

5,000

1,000

40

7,000

6,000

1,000

50

            ข้อมูลต่าง ๆ สรุปได้ดังภาพ

1) วิธีถัวเฉลี่ย
เมื่อใช้ปริมาณหน่วยผลิตเป็นเกณฑ์ในการปันส่วนต้นทุน
ซึ่งสินค้าทุกชนิดได้รับการปันส่วนหน่วยละ 20 บาท
แล้วจึงนำต้นทุนเพิ่มหลังจุดแยกตัวมารวม
เพื่อหาต้นทุนทั้งหมดและต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าแต่ละชนิด
การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยโดยการปันส่วนต้นทุนรวมแสดงได้ดังนี้ 

สินค้า

ปริมาณผลิต (หน่วย)

ต้นทุนร่วมที่แบ่งให้(บาท)

ต้นทุนผลิตเพิ่มเติม (บาท)

ต้นทุนรวม(บาท)

ต้นทุนต่อหน่วย (บาท)

ราคาขายต่อหน่วย (บาท)

กำไรต่อหน่วย (บาท)

%กำไรต่อยอดขาย

 5,000

100,000

100,000

20

32

12

37.5

 6,000

120,000

 40,000

160,000

26.67

40

13.33

33.3

 7,000

140,000

110,000

250,000

35.71

50

14.29

28.6

รวม

18,000

360,000

150,000

510,000

 

 

 

 

 

2) วิธีมูลค่าขายสุทธิสัมพัทธ์  

           
มูลค่าขายสุทธิสัมพัทธ์       =
มูลค่าขายของหน่วยทั้งหมดที่ผลิตได้ –
ต้นทุนผลิตเพิ่มเติม

สินค้า

ปริมาณผลิต (หน่วย)

ราคาขายต่อหน่วย (บาท)

ยอดขายรวม (บาท)

ต้นทุนผลิตเพิ่มเติม (บาท)

มูลค่าขายสุทธิสัมพัทธ์(บาท)

ต้นทุนร่วมที่แบ่งให้(บาท)

ต้นทุนรวมทั้งหมด (บาท)

ต้นทุนต่อหน่วย (บาท)

กำไรต่อหน่วย (บาท)

%กำไรต่อยอดขาย

 5,000

32

160,000

160,000

 96,000

 96,000

19.20

12.80

40.0

 6,000

40

240,000

 40,000

200,000

120,000

160,000

26.67

13.33

33.3

 7,000

50

350,000

110,000

240,000

144,000

254,000

36.29

13.71

27.4

รวม

18,000

 

750,000

150,000

600,000

360,000

510,000

 

 

 

 

3) วิธีอัตรากำไรคงที่
(กำหนดอัตรากำไรคงที่ 32%
ของค่าขาย)

           
ต้นทุนก่อนจุดแยกตัวของสินค้า =
มูลค่าขายของหน่วยทั้งหมดที่ผลิตได้ –
กำไรที่ต้องการ

 –
ต้นทุนผลิตเพิ่มเติม

สินค้า

ปริมาณผลิต (หน่วย)

ราคาขายต่อหน่วย (บาท)

ยอดขายรวม (บาท)

จำนวนกำไรที่ต้องการ(บาท)

ต้นทุนผลิตเพิ่ม(บาท)

ต้นทุนร่วมที่แบ่งให้(บาท)

ต้นทุนรวมทั้งหมด (บาท)

ต้นทุนต่อหน่วย (บาท)

กำไรต่อหน่วย (บาท)

%กำไรต่อยอดขาย

 5,000

32

160,000

 51,000

108,800

108,800

21.76

10.24

32

 6,000

40

240,000

 76,800

 40,000

123,200

163,200

27.20

12.80

32

 7,000

50

350,000

112,000

110,000

128,000

238,000

34.00

16.00

32

รวม

18,000

 

750,000

240,000

150,00

360,000

510,000

 

 

 

 

การจัดทำงบกำไรขาดทุนและงบดุล

บริษัท พรนุรักษ์ จำกัด
งบกำไรขาดทุน (บางส่วน)
สำหรับเดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2548

วิธีถัวเฉลี่ย

 

รวม

ขาย

128,000

200,000

300,000

628,000

หัก
ต้นทุนสินค้าที่ขาย

80,000

133,000

214,000

427,000

กำไรขั้นต้น

48,000

67,000

86,000

201,000

วิธีมูลค่าขายสัมพัทธ์

 

รวม

ขาย

128,000

200,000

300,000

628,000

หัก
ต้นทุนสินค้าที่ขาย

77,000

133,000

218,000

428,000

กำไรขั้นต้น

51,000

67,000

82,000

200,000

วิธีวิธีอัตรากำไรคงที่

 

รวม

ขาย

128,000

200,000

300,000

628,000

หัก
ต้นทุนสินค้าที่ขาย

87,000

136,000

204,000

427,000

กำไรขั้นต้น

41,000

64,000

96,000

201,000

 

บริษัท พรนุรักษ์ จำกัด
งบดุล (บางส่วน)
วันที่ 31 มกราคม 2548

 

วิธีถัวเฉลี่ย

วิธีมูลค่าขายสัมพัทธ์

วิธีวิธีอัตรากำไรคงที่

สินค้าคงเหลือ


(1,000 x 20)    = 20,000


(1,000 x 19.20)= 19,200


(1,000 x 21.76)= 21,760


(1,000 x 26.67)= 26,670


(1,000 x 26.67)= 26,670


(1,000 x 27.20)= 27,200


(1,000 x 35.71)= 35,710


(1,000 x 36.29)= 36,290


(1,000 x 34)    = 34,000

                          82,380

                          82,160

                          82,960

 

2.3 วิธีการบันทึกบัญชีผลิตภัณฑ์ร่วม

           
ผลิตภัณฑ์ร่วมมักเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก
และมักผลิตต่อเนื่องกันไปเป็นแผนก ๆ
ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต
กระบวนการผลิตจึงใช้หลักการเดียวกัน

                ตัวอย่าง

บริษัท พรนุรักษ์ จำกัด ผลิตได้สินค้า
A
B C จากกระบวนการผลิตร่วมกันในแผนกที่ 1
จากนั้นจะส่งสินค้าทั้ง 3 ชนิดไปผลิตต่อในแผนกที่ 2 3 4
ตามลำดับ ดังภาพต่อไปนี้

           
ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตในเดือนมกราคม 2548 มีดังนี้

            1. กิจการเบิกวัตถุดิบเข้าผลิตในแผนกที่ 1
(ใส่ต้นช่วงการผลิต) จำนวน 8,500 หน่วย ปรากฏว่า ณ
จุดแยกตัวได้สินค้าต่าง ๆ ตามภาพ
และมีงานระหว่างทำปลายงวด 300 หน่วย ซึ่งใส่วัตถุดิบ 100%
ต้นทุนแปรสภาพ 40%

            2. ต้นทุนการผลิตในแผนกต่างๆ ประกอบด้วย

 

แผนกที่ 1

แผนกที่ 2

แผนกที่ 3

แผนกที่ 4

วัตถุทางตรง

42,500

50,000

40,000

10,000

ค่าแรงทางตรง

49,920

40,000

30,000

20,000

ค่าใช้จ่ายในการผลิตคิดเข้างาน

33,280

30,000

26,000

20,000

รวม

125,700

120,000

96,000

50,000

             3. การปันส่วนต้นทุนร่วมของแผนกที่ 1
ใช้วิธีถัวเฉลี่ย และไม่มีงานระหว่างทำในทุกแผนกผลิต

รายงานต้นทุนการผลิตแสดงดังนี้

บริษัท พรนุรักษ์ จำกัด
รายงานต้นทุนการผลิต

สำหรับเดือน สิ้นสุด 31 มกราคม 2548

แผนกที่ 1

รายงานจำนวนหน่วย

           
งานระหว่างทำต้นงวด                                    

           
หน่วยที่เริ่มผลิต                                       
8,500
                       
หน่วยที่ต้องจัดให้ครบ                   8,500
            หน่วยที่ทำเสร็จและโอนไปแผนที่
2            3,000
            หน่วยที่ทำเสร็จและโอนไปแผนที่
3            3,200
            หน่วยที่ทำเสร็จและโอนไปแผนที่
4            2,000
           
งานระหว่างทำปลายงวด                             
300
                       
หน่วยที่จัดได้                                8,500

หน่วยเทียบสำเร็จรูป                     
วัตถุดิบ          แปรสภาพ

หน่วยที่ทำเสร็จและโอนไปแผนที่ 2              
3,000                3,000
หน่วยที่ทำเสร็จและโอนไปแผนที่ 3              
3,200                3,200
หน่วยที่ทำเสร็จและโอนไปแผนที่ 4              
2,000                2,000
งานระหว่างทำปลายงวด                                  300                   120
      
                                                           
8,500                8,320

ต้นทุนที่เกิดขึ้นในช่วงการผลิต  วัตถุดิบ    
แรงงานทางตรง  ค่าใช้จ่ายในการผลิต      รวม

            ต้นทุนปัจจุบัน                    42,500              
49,920                    33,280              
125,700
            ต้นทุนที่ต้องจัดให้ครบ       42,500              
49,920                    33,280              
125,700

ต้นทุนต่อหน่วยเทียบสำเร็จรูป     
   5                       6                             4                          15

คำนวณต้นทุนสินค้าที่ผลิตเสร็จและโอน
และต้นทุนงานระหว่างทำปลายงวด
หน่วยที่ทำเสร็จและโอน

            เสร็จและโอนไปแปนก 2 (3,000
x
15)                       45,000
            เสร็จและโอนไปแปนก 3 (3,200
x
15)                       48,000
            เสร็จและโอนไปแปนก 4 (2,000
x
15)                      
30,000              
123,000

งานระหว่างทำปลายงวด
            วัตถุดิบ (300
x 5)                                                      1,500
            ค่าแรงงาน (120
x 6)                                                   
720
            ค่าใช้จ่ายในการผลิต (120
x 4)                                      480               
     2,700
ต้นทุนที่จัดได้                                                                                                   
125,700

การบันทึกบัญชีเป็นดังนี้

รายการ

การบันทึกบัญชี

บันทึกต้นทุนการผลิตร่วมในแผนกที่ 1

งานระหว่างทำ

– แผนกที่ 1               
125,700
    
วัตถุดิบ                                               
42,500
    
ค่าแรงงาน                                            
49,920
     ค่าใช้จ่ายในการผลิตคิดเข้างาน 
                  33,280

โอนต้นทุนที่จัดสรรให้สินค้า

A B และ C
ไปยังแผนกที่ผลิตต่อเพิ่มเติม

งานระหว่างทำ

– แผนกที่ 2                 
45,000
งานระหว่างทำ

– แผนกที่ 3                 
48,000
งานระหว่างทำ

– แผนกที่ 4                 
30,000
     งานระหว่างทำ

– แผนกที่ 1                    
123,000

บันทึกต้นทุนผลิตเพิ่มในแผนกที่ 2

งานระหว่างทำ

– แผนกที่ 2               
120,000
    
วัตถุดิบ                                              
50,000
    
ค่าแรงงาน                                          
40,000
    
ค่าใช้จ่ายในการผลิตคิดเข้างาน                 
30,000

 

สินค้า

A ผลิตเสร็จในแผนกที่ 2
และโอนไปยังคลังสินค้า มีต้นทุนต่อหน่วย 55 บาท
(165,000/3,000)

สินค้าสำเร็จรูป                                
165,000
     งานระหว่างทำ

– แผนกที่ 2                   
165,000

บันทึกต้นทุนผลิตเพิ่มในแผนกที่ 3

งานระหว่างทำ

– แผนกที่ 3                 
96,000
    
วัตถุดิบ                                                    40,000
    
ค่าแรงงาน                                               30,000
    
ค่าใช้จ่ายในการผลิตคิดเข้างาน                 
26,000

สินค้า

A ผลิตเสร็จในแผนกที่ 3
และโอนไปยังคลังสินค้า มีต้นทุนต่อหน่วย 45 บาท
(144,000/3,200)

สินค้าสำเร็จรูป                                
144,000
     งานระหว่างทำ

– แผนกที่ 3                   
144,000

บันทึกต้นทุนผลิตเพิ่มในแผนกที่ 4

งานระหว่างทำ

– แผนกที่ 4                 
50,000
    
วัตถุดิบ                                                     10,000
    
ค่าแรงงาน                                                20,000
     ค่าใช้จ่ายในการผลิตคิดเข้างาน       
          20,000

สินค้า

A ผลิตเสร็จในแผนกที่ 3
และโอนไปยังคลังสินค้า มีต้นทุนต่อหน่วย 40 บาท
(80,000/2,000)

สินค้าสำเร็จรูป                                 
80,000
     งานระหว่างทำ

– แผนกที่ 4                     
80,000

           


3. การบัญชีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์พลอยได้


 

           
เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการผลิตร่วมกันกับผลิตภัณฑ์หลักแต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณและมูลค่าทางเศรษฐกิจต่ำกว่าผลิตภัณฑ์หลัก
ทั้งนี้ไม่ใช่เศษซาก (Scrap)

เนื่องจากมีความหมายใกล้เคียงกันมากจนบางครั้งแยกไม่ออกว่าเป็นเศษซากหรือผลิตภัณฑ์พลอยได้
ข้อแตกต่างพิจารณาได้ดังนี้

1)
เศษซาก
คือเศษของวัตถุดิบที่เหลือจากกระบวนการผลิต
ซึ่งยังมีลักษณะของวัตถุดิบคงเหลืออยู่ในขณะที่ผลิตภัณฑ์พลอยได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการผลิตร่วมที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว

2)

โดยทั่วไปมักพบว่าเศษซากมีราคาต่ำกว่าผลิตภัณฑ์พลอยได้

3)
กิจการมักขายเศษซากไปตามสภาพที่เป็นอยู่
ในขณะที่ผลิตภัณฑ์พลอยได้บางชนิดต้องนำไปผลิตต่อหลังจุดแยกตัว
เพราะบางครั้งไม่มีตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์พลอยได้ ณ
จุดแยกตัว
หรือเพราะต้องการที่จะเพิ่มราคาตลาดของผลิตภัณฑ์พลอยได้ให้สูงกว่าราคาตลาด
ณ จุดแยกตัว

เนื่องจากอาจขายผลิตภัณฑ์พลอยได้ ณ จุดแยกตัว
หรือนำไปผลิตต่อ
การบันทึกบัญชีขึ้นอยู่กับว่าให้ความสำคัญแก่ผลิตภัณฑ์พลอยได้หรือไม่
การกำหนดมูลค่าผลิตภัณฑ์พลอยได้จึงแยกได้เป็น

1)

ไม่ปันส่วนต้นทุนการผลิตร่วมให้กับผลิตภัณฑ์พลอยได้

2)

ปันส่วนต้นทุนการผลิตร่วมให้กับผลิตภัณฑ์พลอยได้

 

3.1
กรณีไม่ปันส่วนต้นทุนการผลิตร่วมให้กับผลิตภัณฑ์พลอยได้

           
ผลิตภัณฑ์พลอยได้จะมีความสำคัญน้อยกว่าผลิตภัณฑ์หลักมาก
จึงไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการคิดต้นทุนให้
เมื่อได้ผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่งเพิ่มเข้ามาในกิจการโดยบังเอิญก็ถือว่าเป็นผลพลอยได้
หากกิจการต้องเสียต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ
เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์นี้ขายได้
ควรจะนำต้นทุนดังกล่าวไปหักออกจากยอดขายของผลิตภัณฑ์นั้น
โดยคำนวณรายได้สุทธิของผลิตภัณฑ์พลอยได้
แล้วนำไปแสดงในงบกำไรขาดทุนแบบใดแบบหนึ่ง ได้แก่

1.      

แสดงเป็นรายได้อื่น ๆ ในงบกำไรขาดทุน

2.      

แสดงเป็นรายได้จากการขายในงบกำไรขาดทุน

3.      

แสดงเป็นรายการหักจากต้นทุนสินค้าที่ขายของผลิตภัณฑ์หลัก

และหากมีผลิตภัณฑ์พลอยได้คงเหลือในวันสิ้นงวด
ก็จะไม่ตีราคาออกมาเหมือนสินค้าคงเหลือ
โดยอาจบันทึกปริมาณที่เหลือไว้จริงในบัตรที่ตรวจนับเพื่อประโยชน์ในการควบคุมเท่านั้น

ตัวอย่าง

บริษัท พรนุรักษ์ จำดัด ผลิตสินค้า ก เป็นผลิตภัณฑ์หลัก
และได้สินค้า ข เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ ในแผนกที่ 1 สินค้า
ก ขายในทันที ส่วนสินค้า ข นำไปผลิตเพิ่มเติมในแผนกที่ 2
ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตในเดือน มกราคม 2548 มีดังนี้

ต้นทุนการผลิต

แผนกที่ 1

แผนกที่ 2

วัตถุดิบ

10,000

600

ค่าแรงงานทางตรง

10,000

300

ค่าใช้จ่ายในการผลิตคิดเข้างาน

20,000

500

รวม

40,000

1,400

 

 

สินค้า ก

สินค้า ข

ปริมาณผลิต (หน่วย)

20,000

3,000

ปริมาณขาย (หน่วย)

15,000

2,500

ราคาขายต่อหน่วย (บาท)

4

1

ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

10%
ของยอดขาย

4%
ของยอดขาย

 

รายได้สุทธิของผลิตภัณฑ์พลอยได้
  = ยอดขายผลิตภัณฑ์พลอยได้ –
(ต้นทุนผลิตเพิ่มเติม +

 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารของผลิตภัณฑ์พลอยได้)
                                                                     
=
(2,500 x 1) – [(1,400 x2,500/3,000)+(2,500×4%)]
               
                                                     
= 1,233 บาท

การแสดงรายได้สุทธิของผลิตภัณฑ์พลอยได้แต่ละวิธีเป็นดังนี้

บริษัท พรนุรักษ์  จำกัด
งบกำไรขาดทุนเปรียบเทียบ
สำหรับเดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2548

 

รายได้อื่น

รายได้จากการขาย

รายการหักจากต้นทุนสินค้าที่ขาย

ขาย

60,000

60,000

60,000

บวก
รายได้สุทธิจากการขาย ข

1,233

ขายสุทธิ

60,000

61,233

60,000

หัก
ต้นทุนสินค้าที่ขาย

 

 

 

   ต้นทุนการผลิต

40,000

40,000

40,000

   หัก สินค้า ก คงเหลือ

10,000

10,000

10,000

   ต้นทุนสินค้าที่ขายของ ก

30,000

30,000

30,000

หัก
รายได้สุทธิจากการขาย ข

1,233

ต้นทุนสินค้าขายสุทธิ

30,000

30,000

28,767

กำไรขั้นต้น

30,000

31,233

31,233

หัก
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

6,000

6,000

6,000

กำไรจากการดำเนินงาน

24,000

25,233

25,233

บวก
รายได้สุทธิจากการขาย ข

1,233

กำไรสุทธิ

25,233

25,233

25,233

การบันทึกบัญชีเป็นดังนี้

รายการ

การบันทึกบัญชี

บันทึกต้นทุนการผลิตร่วมในแผนกที่ 1

งานระหว่างทำ

– แผนกที่ 1                    
40,000
    
วัตถุดิบ                                            
                 10,000
     ค่าแรงงาน              
                                          10,000
     ค่าใช้จ่ายในการผลิตคิดเข้างาน             
              20,000

บันทึกต้นทุนสินค้าผลิตเสร็จของสินค้า ก ในแผนกที่ 1
20,000 หน่วย

สินค้าสำเร็จรูป                                        
40,000
     งานระหว่างทำ

– แผนกที่
1                                40,000

บันทึกการขายสินค้า ก จำนวน 15,000 หน่วย ๆ ละ 4 บาท

เงินสด/ลูกหนี้การค้า                                 
60,000
    
ขาย                                                                  
60,000

บันทึกต้นทุนสินค้าที่ขายของสินค้า ก จำนวน 15,000
หน่วย ๆ ละ 2 บาท

ต้นทุนสินค้าที่ขาย                    
               30,000
    
สินค้าสำเร็จรูป                                                  
30,000

บันทึกค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารของสินค้า ก

ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร                  
6,000
    
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย/เงินสด                           
          6,000

บันทึกต้นทุนการผลิตสินค้า ข เพิ่มเติมในแผนกที่ 2

งานระหว่างทำ

– แผนกที่ 2                      
1,400
    
วัตถุดิบ                                                                  
600
    
ค่าแรงงาน                                          
                   500
    
ค่าใช้จ่ายในการผลิตคิดเข้างาน                                300

บันทึกค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารของสินค้า ข

ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร                      
100
    
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย/เงินสด                                      
 100

บันทึกการขายสินค้า ข จำนวน 2,500 หน่วย

เงินสด/ลูกหนี้การค้า                                  
2,500
    
ขายผลิตภัณฑ์พลอยได้                                        
2,500

ปิดบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์พลอยได้ไปบัญชีรายได้สุทธิของผลิตภัณฑ์พลอยได้

ขายผลิตภัณฑ์พลอยได้                              
2,500
     ค่าใช้จ่ายการผลิต
(เพิ่มเติม)                                 1,400
    
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร                               
100
     รายได้สุทธิของผลิตภัณฑ์พลอยได้           
            1,000

ปิดบัญชีรายได้สุทธิของผลิตภัณฑ์พลอยได้ไปบัญชีกำไรขาดทุน

รายได้สุทธิของผลิตภัณฑ์พลอยได้             
1,000
    
กำไรขาดทุน                                                        
1,000

 

3.2 กรณีปันส่วนต้นทุนการผลิตร่วมให้กับผลิตภัณฑ์พลอยได้

กรณีนี้ให้ความสำคัญผลิตภัณฑ์พลอยได้เทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์หลัก
โดยจะกำหนดให้ผลิตภัณฑ์พลอยได้เป็นสินค้าคงเหลือด้วย
จึงต้องมีการตีราคาผลิตภัณฑ์พลอยได้
โดยพิจารณาต้นทุนทั้งก่อนและหลังจุดแยกตัวให้กับผลิตภัณฑ์พลอยได้
เนื่องจากกิจการทราบต้นทุนหลังจุดแยกตัวอยู่แล้ว
แต่จะมีปัญหากับการคำนวณต้นทุนก่อนจุดแยกตัว
ซึ่งเป็นต้นร่วมว่าควรคิดอย่างไร จำนวนเท่าใด
วิธีการคำนวณมี 2 วิธี

3.2.1 คำนวณมูลค่าขายสุทธิของผลิตภัณฑ์พลอยได้
เมื่อได้ผลลัพธ์เท่าใดก็จะนำไปหักต้นทุนร่วม
ซึ่งเป็นของผลิตภัณฑ์หลัก  จากตัวอย่างเดิม
คำนวณได้ดังนี้

            มูลค่าขายสุทธิของสินค้า ข
= ยอดขายสินค้า ข. ทั้งหมดที่ผลิตได้
– ต้นทุนผลิตเพิ่มเติมของสินค้า
ข  – ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารของสินค้า

                                                    =
(3,000 x 1) – 1,400 – (3,000 x 4%)
   
                                                = 1,480

บาท

            ต้นทุนรวมของสินค้า ข    

= มูลค่าขายสุทธิของสินค้า
ข + ต้นทุนเพิ่มเติมของสินค้า ข
                                                  
= 1,480 + 1,400
                                                  
= 2,880
บาท

            ต้นทุนสุทธิของสินค้า ก    
= ต้นทุนร่วม –
มูลค่าขายสุทธิของสินค้า ข
                                                    =
40,000 – 1,480
                                                    =
38,520
บาท

            ต้นทุนต่อหน่วยของสินค้า ก         
= 1.926
บาท (38,520/20,000)

            ต้นทุนต่อหน่วยของสินค้า ข         
= 0.96 บาท (2,880/3,000)

            ในกรณีปันส่วนให้ผลิตภัณฑ์พลอยได้
จะพบว่าจะคำนวณมูลค่าขายสุทธิ
โดยใช้จำนวนผลผลิตทั้งหมดคือ 3,000 หน่วย
และเมื่อคำนวณได้ จะนำไปหักจากต้นทุนร่วม
ส่งผลให้ต้นทุนผลิตภัณฑ์หลักลดลง
และส่งผลให้ต้นทุนสินค้าที่ขายต่ำลง งบกำไรขาดทุน
และงบดุลแสดงดังนี้

บริษัท พรนุรักษ์  จำกัด
งบกำไรขาดทุน
สำหรับเดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2548

ขาย (สินค้า ก)

 

60,000

หัก
ต้นทุนสินค้าที่ขาย (สินค้า ก)

 

 

   ต้นทุนการผลิต (ต้นทุนรวม)

40,000

 

   หัก มูลค่าขายสุทธิของผลิตภัณฑ์พลอยได้

1,480

 

   ต้นทุนการผลิตสุทธิ

38,520

 

   หัก สินค้าคงเหลือปลายงวด
(5,000 x 1.926)

9,630

28,890

กำไรขั้นต้น

 

31,110

หัก
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (สินค้า ก)

 

8,000

กำไรสุทธิ

 

25,110

 บริษัท พรนุรักษ์  จำกัด
งบดุล
ณ วันที่ 31 มกราคม 2548

สินทรัพย์

 

XXX

สินค้าคงเหลือ

 

 

   สินค้า ก

9,630

 

   สินค้า ข

480

10,110


 

การบันทึกบัญชีเป็นดังนี้

รายการ

การบันทึกบัญชี

บันทึกต้นทุนการผลิตร่วมในแผนกที่ 1

งานระหว่างทำ

– แผนกที่ 1                    
40,000
    
วัตถุดิบ                                                              
10,000
     ค่าแรงงาน       
                                                  10,000
    
ค่าใช้จ่ายในการผลิตคิดเข้างาน                           
20,000

บันทึกมูลค่าขายสุทธิสินค้า ข หักจากต้นทุนสินค้า ข
ในแผนกที่ 1

งานระหว่างทำ

– แผนกที่
2                      1,480
     งานระหว่างทำ

– แผนกที่
1                                  1,480

บันทึกต้นทุนสินค้าผลิตเสร็จของสินค้า ก ในแผนกที่ 1
20,000 หน่วย

สินค้าสำเร็จรูป                                        
38,520
     งานระหว่างทำ

– แผนกที่
1                                38,520

บันทึกต้นทุนการผลิตสินค้า ข เพิ่มเติมในแผนกที่ 2

งานระหว่างทำ

– แผนกที่ 2                      
1,400
    
วัตถุดิบ                                                                    
600
    
ค่าแรงงาน                                                               
500
    
ค่าใช้จ่ายในการผลิตคิดเข้างาน                                 
300

บันทึกต้นทุนสินค้า ข จำนวน 3,000 หน่วย

ผลิตภัณฑ์พลอยได้                                    
2,880
     งานระหว่างทำ

– แผนกที่
2                                  2,880

บันทึกการขายสินค้า ก จำนวน 15,000 หน่วย ๆ ละ 4 บาท

เงินสด/ลูกหนี้การค้า                              
60,000
    
ขาย                                                                   
60,000

บันทึกต้นทุนสินค้าที่ขายของสินค้า ก จำนวน 15,000
หน่วย ๆ ละ 1.926 บาท

ต้นทุนสินค้าที่ขาย                                  
28,890
    
สินค้าสำเร็จรูป                                                   
28,890

บันทึกค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารของสินค้า ก

ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร                 
6,000
     ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย/เงินสด
                                     6,000

บันทึกยอดขายผลิตภัณฑ์พลอยได้ในงวดปัจจุบัน 2,500
หน่วย ๆ ละ 1 บาท

เงินสด/ลูกหนี้การค้า                                 
2,500
    
ผลิตภัณฑ์พลอยได้                                               
2,400
    
เงินสด/ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย                                        
100


 

3.2.2 คำนวณต้นทุนคิดย้อนกลับ
โดยหาต้นทุนก่อนจุดแยกตัวของผลิตภัณฑ์พลอยได้
โดยคำนวณจากยอดขายแล้วกระทบกลับไปหาต้นทุน
โดยมีสมมติฐานว่าต้นทุนของผลิภัณฑ์พลอยได้เป็นสัดส่วนกับยอดขาย
(คล้ายกับการปันส่วนต้นทุนร่วมโดยใช้ราคาตลาด)

ยอดขาย                  

              = ต้นทุนรวม +
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร + กำไร
ยอดขายผลิตภัณฑ์พลอยได้     
=
(ต้นทุนก่อนจุดแยกตัว +
ต้นทุนหลังจุดแยกตัว) + ค่าใช้จ่ายการขายและบริหารของผลิตภัณฑ์พลอยได้ +
กำไรโดยประมาณของผลิตภัณฑ์พลอยได้

ดังนั้น ต้นทุนก่อนจุดแยกตัว     
=
ยอดขาย – ต้นทุนหลังจุดแยกตัว
– ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร – กำไรโดยประมาณ

จะพบว่าการปันส่วนแบบนี้ต้องมีการประมาณอัตรากำไรสุทธิโดยประมาณในการขายผลิตภัณฑ์พลอยได้
จากตัวอย่างเดิมหากประมาณว่ากิจการต้องการกำไรในอัตรา 20%
ของยอดขาย การคำนวณเป็นดังนี้

ต้นทุนก่อนจุดแยกตัวของสินค้า ข = ยอดขายสินค้า ข ทั้งหมดที่ผลิตได้
– ต้นทุนหลังจุดแยกตัวของสินค้า ข

ค้าใช้จ่ายในการขายและบริหารของสินค้า ข      – กำไรโดยประมาณของสินค้า ข
                                                 = (3,000 x
1) – 1,400 – (3,000 x 4%) – (3,000 x 20%)
    
                                            = 880
บาท

ต้นทุนรวมของสินค้า ข          

   =มูลค่าขายสุทธิของสินค้า
ข + ต้นทุนเพิ่มเติมของสินค้า ข
                                                             
  =880 + 1,400
  = 2,280
บาท

ต้นทุนสุทธิของสินค้า ก         
  = ต้นทุนรวม –
ต้นทุนก่อนจุดแยกตัวของสินค้า ข
                                                        = 40,000 – 880
                                                        = 39,120

บาท

ต้นทุนต่อหน่วยของสินค้า ก   
   = 1.956
บาท (39,120/20,000)

ต้นทุนต่อหน่วยของสินค้า ข   
   = 0.76
บาท (2,280/3,000)

งบกำไรขาดทุน และงบดุลแสดงดังนี้

บริษัท พรนุรักษ์  จำกัด
งบกำไรขาดทุน
สำหรับเดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2548

ขาย

 

 

   สินค้า ก (15,000

x 4)

60,000

 

   สินค้า ข (2,500

x 1)

2,500

62,500

หัก
ต้นทุนสินค้าที่ขาย

 

 

   สินค้า ก (15,000

x
1.956)

29,340

 

   สินค้า ข (2,500

x 0.76)

1,900

31,240

กำไรขั้นต้น

 

31,260

หัก
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

 

 

   สินค้า ก (60,000

x
10%)

6,000

 

   สินค้า ข (2,500

x 4%)

100

6,100

กำไรสุทธิ

 

25,160

บริษัท พรนุรักษ์  จำกัด
งบดุล
ณ วันที่ 31 มกราคม 2548

สินทรัพย์

 

 

สินค้าคงเหลือ

 

XXX

   สินค้า ก (5,000 หน่วย)

9,780

 

   สินค้า ข
(500 หน่วย)

380

10,60

การบันทึกบัญชีเป็นดังนี้

รายการ

การบันทึกบัญชี

บันทึกต้นทุนการผลิตร่วมในแผนกที่ 1

งานระหว่างทำ

– แผนกที่ 1                      40,000
    
วัตถุดิบ                                                             
10,000
    
ค่าแรงงาน                                                        
10,000
    
ค่าใช้จ่ายในการผลิตคิดเข้างาน                      
     20,000

บันทึกมูลค่าขายสุทธิสินค้า ข หักจากต้นทุนสินค้า ข
ในแผนกที่ 1

งานระหว่างทำ

– แผนกที่
2                               880
     งานระหว่างทำ

– แผนกที่
1                                     880

บันทึกต้นทุนสินค้าผลิตเสร็จของสินค้า ก ในแผนกที่ 1
20,000 หน่วย

สินค้าสำเร็จรูป                                        
39,120
     งานระหว่างทำ

– แผนกที่
1                               39,120

บันทึกต้นทุนการผลิตสินค้า ข เพิ่มเติมในแผนกที่ 2

งานระหว่างทำ

– แผนกที่ 2                      
1,400
    
วัตถุดิบ                                                                  
600
    
ค่าแรงงาน                                                            
500
    
ค่าใช้จ่ายในการผลิตคิดเข้างาน                               
300

บันทึกต้นทุนสินค้า ข จำนวน 3,000 หน่วย

ผลิตภัณฑ์พลอยได้                                    
2,280
     งานระหว่างทำ

– แผนกที่ 2  
                             2,280

บันทึกการขายสินค้า ก จำนวน 15,000 หน่วย ๆ ละ 4 บาท

เงินสด/ลูกหนี้การค้า                              
60,000
     ขาย            
                                                      60,000

บันทึกต้นทุนสินค้าที่ขายของสินค้า ก จำนวน 15,000
หน่วย ๆ ละ 1.956 บาท

ต้นทุนสินค้าที่ขาย                                  
29,340
    
สินค้าสำเร็จรูป                                                 
29,340

บันทึกการขายสินค้า ข จำนวน 2,500 หน่วย ๆ ละ 1 บาท

เงินสด/ลูกหนี้การค้า                                
2,500
    
ขาย                                                                   
2,500

บันทึกต้นทุนสินค้าที่ขายของสินค้า ข จำนวน 2,500
หน่วย ๆ ละ 0.76 บาท

ต้นทุนสินค้าที่ขาย                                    
1,900
    
ผลิตภัณฑ์พลอยได้                                             
1,900

บันทึกค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารของสินค้า ก และ ข

ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร                 
6,100
    
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย/เงินสด                                    
6,100

 

NAVIGATOR: หน้าหลัก –>

การบัญชีต้นทุน
–> การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้

 

[Update] เว็บบอร์ด PHP เว็บส่งเสริมการเรียนรู้ Hosting CRM ERP Server Programming ถาม-ตอบปัญหา | ตัวอย่าง ต้นทุน การ ผลิต – NATAVIGUIDES

การใช้งานและ แนะนำโปรแกรมเกี่ยวกับ งานบัญชี และ ERP อีอาร์พี

Moderators: mindphp, ผู้ดูแลกระดาน

1 post • Page 1 of 1

Post by Chidchanok » 15/01/2019 10:17 am

Quote

1 post • Page 1 of 1

↳ Microsoft Office Knowledge & line & Etc

↳ Google For Work Knowledge

↳ IOT – Internet of things

Jump to

Jump to

Users browsing this forum: No registered users and 16 guests


บัญชีการเงิน: การบัญชีกิจการอุตสาหกรรม ตัวอย่างงบต้นทุนการผลิต part 2/2


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

บัญชีการเงิน: การบัญชีกิจการอุตสาหกรรม ตัวอย่างงบต้นทุนการผลิต part 2/2

งบต้นทุนการผลิต


สอนทำแบบฝึกหัดงบต้นทุนการผลิต
งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน
แบบฝึกหัดในหนังสือชีทสรุปบัญชีต้นทุน
หน้า 13 ข้อ 3

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการเรียนที่ Link นี้
https://drive.google.com/file/d/1aqzsvX1HmDDBGTusx3FXPZGPb7VuYdBV/view?usp=drivesdk

งบต้นทุนการผลิต

ต้นทุน2/บัญชีบริหาร EP5.3 ตัวอย่างโจทย์การคำนวณค่าใช้จ่ายการผลิตแบบ ABC


ต้นทุน2/บัญชีบริหาร EP5.3 ตัวอย่างโจทย์การคำนวณค่าใช้จ่ายการผลิตแบบ ABC

Presentation2 ตัวอย่างการทำรายงานต้นทุนการผลิต


Presentation2 ตัวอย่างการทำรายงานต้นทุนการผลิต ตามวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก แผนกที่1

Presentation2 ตัวอย่างการทำรายงานต้นทุนการผลิต

ทุนในการทำโรงผลิตน้ำดื่ม ประมาณเท่าไหร่


ติดต่อสอบถอม ปรึกษาแก้ปัญหา หรือร่วมธุรกิจ
https://www.facebook.com/PK888999/?mo…
http://pkfranchisecenter.lnwshop.com/
โทร 0822212170

ทุนในการทำโรงผลิตน้ำดื่ม ประมาณเท่าไหร่

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ ตัวอย่าง ต้นทุน การ ผลิต

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *