Skip to content
Home » [NEW] เทคนิคเขียนภาษาอังกฤษ ให้เป๊ะเหมือนฝรั่งเขียนเอง!(ไม่ยากอย่างที่คิด คุณก็ทำได้) | การ เขียน ภาษา อังกฤษ ตัว ติด – NATAVIGUIDES

[NEW] เทคนิคเขียนภาษาอังกฤษ ให้เป๊ะเหมือนฝรั่งเขียนเอง!(ไม่ยากอย่างที่คิด คุณก็ทำได้) | การ เขียน ภาษา อังกฤษ ตัว ติด – NATAVIGUIDES

การ เขียน ภาษา อังกฤษ ตัว ติด: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

พูดถึงการเขียน แม้จะเป็นภาษาไทย ก็ยากแล้วสำหรับหลายๆ คน และถ้าอยู่ดันในสถานการณ์ที่ต้อง เขียนภาษาอังกฤษ ล่ะ เราจะทำยังไงดีนะ? 

ถ้าคุณกำลังอยู่ในสถานการณ์นี้และรู้สึกไม่มั่นใจกับการเขียน วันนี้เรามีตัวช่วยดีๆ มาฝากกันค่ะ

ไม่ว่าคุณกำลังอยู่ในสถานการณ์แบบไหน เขียน Essay เขียนเรียงความ เขียนบทความ เขียนอีเมล เขียนจดหมาย เขียน Landing Page เขียนขายของ เรามี Tips ดีๆ มาฝากที่สามารถประยุกต์ได้หลากหลายค่ะ

ก่อนอื่นขอแนะนำตัวซักนิดนึงนะคะ ตัวเรานั้นเรียนโรงเรียนไทยมาทั้งชีวิต และยังไม่เคยมีโอกาสได้ไปเรียนหรือใช้ชีวิตในต่างประเทศนานๆ มาก่อน แต่เพราะมีสิ่งที่อยากทำหลายอย่าง ที่ผ่านมาเคยทำโปรเจกต์ร่วมกับชาวต่างชาติ เขียนข่าว เขียนบทความภาษาอังกฤษ และล่าสุดก็ได้ร่วมก่อตั้ง Justoneclub.com เป็นเว็บไซต์ที่ขายสินค้าสำหรับคนที่รักการพัฒนาตัวเอง และตั้งเป้าขยายกลุ่มลูกค้าในหลากหลายประเทศทั่วโลก

ที่สำคัญคือไม่ยากอย่างที่คิด เพราะสมัยนี้มีเครื่องมือและเทคโนโลยีมากมาย ส่วนใหญ่เริ่มต้นใช้งานได้ฟรีด้วยค่ะ บทความนี้จะเน้นแนะนำเครื่องมือสำคัญๆ ที่มีประโยชน์ น่าเชื่อถือ ใช้แล้วช่วยเราได้เยอะมากๆ

Table of Contents

แนะนำเครื่องมือช่วยเขียนภาษาอังกฤษ

เครื่องมือช่วยตรวจเช็คแกรมม่าและการสะกดคำ

Grammar หรือ ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่คนไทยเรียนมากันเยอะที่สุดแล้ว แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะเขียนได้อย่าง Perfect หมดจดไม่มีที่ติ บางครั้งเราทราบแต่ก็อาจจะเผลอสะกดผิดบ้าง เช่น ลืมเติม s ต่อท้าย verb

Grammarly ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีเวอร์ชันใช้งานฟรี และรองรับการใช้งานบนหลากหลายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชัน..

  • Native app บนเครื่อง Mac

  • Add-in สำหรับโปรแกรม Microsoft Office บน Windows

  • Web application สามารถใช้งานได้เลยบนเว็บบราวเซอร์ ไม่จำกัด OS

หน้าตาของโปรแกรมจะเป็นดังภาพนี้

เขียนภาษาอังกฤษ เช็คแกรมมาร์ grammarly

Grammarly มันสามารถช่วยเช็คแกรมมาร์ให้เรา พร้อมแนะนำวิธีแก้ไขให้ เราสามารถเขียนเอกสารในโปรแกรม หรือจะ Import ไฟล์ Word (.docx) เข้าไปก็ได้ แล้วมันก็จะช่วยเช็คให้ว่าเราพลาดตรงไหนบ้าง พร้อมบอกเราว่าต้องปรับยังไง รูปด้านล่างคือตัวอย่างผลลัพธ์หลังจากที่เราอัปโหลดไฟล์ Press Release ที่เราเคยเขียนใน Microsoft Word เข้าไป

use-grammarly-for-techsauce-press-release

ตามรูปคือ มันช่วยบอกเราว่าเรามีจุดที่ลืมเติม s อยู่ และมีจุดที่ลืมเติมคำนำหน้า ในที่นี้โปรแกรมช่วยแนะนำให้ด้วยว่า ควรใช้คำว่า the

นอกจากการแปะข้อความ หรืออัปโหลดไฟล์แล้ว อีกเรื่องสำคัญที่อยากชี้คือ Grammarly ยังมีเวอร์ชัน Google Chrome Extension และ Firefox Add-on ด้วยนะ ซึ่งความหมายคือ มันจะช่วยเช็คแกรมมาร์ให้ทุกๆ การพิมพ์ของเราเวลาเราเล่นอินเทอร์เน็ตเลย!

ตัวอย่างนี้คือการติดตั้งบน Chrome และกำลังเปิดหน้าอีเมลเอาไว้อยู่ มันจะถามเราว่าอยากให้เช็คข้อความในอีเมลไหม? นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเหมือน Dictionary อังกฤษ-อังกฤษ ช่วยแสดงผล Definition และ Synonym ในตัวได้อีกด้วย

grammarly-on-browser

 

Shifu แนะนำ

การติดตั้งบน Browser นั้นสะดวกมากๆ เพราะแปลว่าไม่ว่าจะเป็นอีเมล เขียนสเตตัสเฟซบุ๊ก

เขียนบล็อก

บน

WordPress

มันก็จะตามอ่านและให้คำแนะนำกับเรา แน่นอนว่ามันสะดวกมาก แต่ก็อาจจะสูญเสียความเป็นส่วนตัวของข้อมูลไปบ้าง แม้ใน Policy จะระบุว่าเขาจะไม่แชร์ข้อมูลให้ปาร์ตี้ที่สามก็ตาม แต่ตัวโปรแกรมเอง ก็มีการเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้ เพื่อการปรับปรุง Product อันนี้ก็แล้วแต่ทางผู้ใช้จะลองพิจารณาดูค่ะ

เครื่องมือช่วยเช็คความอ่านง่ายของการเขียน

บางทีเรื่องที่คนกังวลอาจจะไม่ใช่เรื่องของ Grammar แต่อาจจะเป็นเรื่องการสื่อสารให้ตรงประเด็น ถ้าคุณเขียนแล้วประโยคออกมางงๆ เช่น รูปประโยคซับซ้อนเกินไป เครื่องมืออีกตัวที่คุณใช้ช่วยได้คือ Hemingway สามารถใช้งานได้เลยในเว็บไซต์ หรือจะโหลด Desktop App ก็ได้

ภาพด้านล่างนี้สาธิตการใช้งาน Hemingway มันสามารถไฮไลท์บอกได้ว่าการเรียบเรียงให้ง่ายต่อการอ่าน (Readability) ของข้อความของเรานั้น ทำได้ดีแค่ไหน รวมถึงช่วยไฮไลท์จุดที่คุณควรลองดูเพื่อปรับให้มันง่ายขึ้น โดยเฉพาะประโยคที่ได้รับไฮไลต์สีเหลืองและสีแดง คือประโยคที่ค่อนข้างเป็นรูปประโยคที่ซับซ้อน 

เครื่องมือนี้จึงค่อนข้างเหมาะกับงานเขียนบทความออนไลน์ในภาษาอังกฤษทั่วๆ ไป ซึ่งความง่ายในการอ่านเป็นเรื่องสำคัญ มากกว่าความสวยหรูของประโยค แต่เราอยากบอกว่า ไม่ต้องถึงกับยึดตามคำแนะนำมากก็ได้ เพราะมันจะแนะนำให้เราไม่ใส่ Adverb หรือ Passive voice เยอะเกินไป (ซึ่งเขาถือว่ามันทำให้ประโยคซับซ้อน แต่จริงๆ แล้วสองอย่างนี้ก็มีประโยชน์มากในการแต่งประโยค) โดยส่วนตัวเรามองว่าเป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับใช้ช่วยเช็คคร่าวๆ เพื่อเพิ่มความมั่นใจ

คิดชื่อเรื่องบทความภาษาอังกฤษดีๆ ไม่ออก

“ชื่อดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” พวกเราได้เคยเขียนแนะนำการตั้งชื่อบทความไปตั้งแต่บล็อกแรกๆ การตั้งชื่อสำคัญมากเพราะมันเป็นสิ่งแรกที่คนเห็น แต่ก็ยากไม่ใช่เล่นเลย แล้วทีนี้ถ้าเราต้องเขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษล่ะ ถามว่ามีอะไรที่พอเข้ามาช่วยเราได้บ้างไหม ข่าวดีคือมีค่ะ และลิงก์เหล่านี้คือเครื่องมือที่สามารถใช้ช่วยได้

Shifu แนะนำ

อันที่จริงแล้วเครื่องมือเหล่านี้ทำขึ้นเพื่อช่วยนักเขียนที่เริ่มคิดไม่ออกว่าจะเขียนอะไรดี ไว้ใช้หาไอเดียในการเขียนบล็อกได้ ซึ่งคุณผู้อ่านเองก็สามารถใช้ในการหาไอเดียได้เช่นกัน แถมเมื่อได้ไอเดียแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังช่วยให้ได้เห็นไกด์ไลน์ หรือสไตล์การตั้งชื่อบทความ ที่นักเขียนสากลนิยมใช้อีกด้วย

บทความภาษาอังกฤษ

ภาพด้านบนนี้แสดงตัวอย่างผลลัพธ์ที่ได้จาก HubSpot‘s Blog Topic Generator เมื่อขอไอเดียในการเขียนเรื่อง Inbound Marketing หรือ Blogging ก็จะเห็นสไตล์การตั้งชื่อบทความภาษาอังกฤษ ว่านิยมเขียน Copywriting กันในรูปแบบไหน

ช่วยเขียน Rewrite หรือ Paraphrase เพื่อให้สละสลวยขึ้น

หลายๆ ครั้ง ความยากในการสื่อสารไม่ใช่เรื่องความถูกผิดของภาษา แต่เป็นเรื่องระดับภาษา ว่าที่เขียนมามันสละสลวยไหม ภาษาออกมาเป็นโทนที่เราต้องการสื่อสารหรือเปล่า โดยส่วนตัวมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องยากยิ่งกว่า ถูก หรือ ผิด เยอะเลยค่ะ

โชคดีที่ในปัจจุบัน มีเทคโนโลยี AI ช่วยเขียนคอนเทนต์ภาษาอังกฤษ ออกมาเป็น Products ให้เราเลือกใช้ ซึ่งเจ้า AI เหล่านี้สามารถช่วยแนะนำการเขียนให้กับเราได้ค่ะโดยตัวที่อยากจะขอแนะนำ มีชื่อว่า Quillbot เป็นอีกตัวที่สามารถเริ่มต้นใช้ได้เลยฟรี

จากหน้าจอเมนู Paraphraser นี้ จะเห็นว่าเราสามารถเลือก Mode การเขียนได้แบบ เช่น โหมดแบบครีเอทีฟ โหมด Formal (เป็นทางการ) โหมดเขียนให้สั้นเอง (เดิมเขียนยาวไป อยากย่อ) โหมดเขียนยาวๆ (เดิมเขียนสั้นไป อยากขยาย) เป็นต้น

ช่วยแนะนำการเขียนตามวัตถุประสงค์

อีกหนึ่งความโหดของ AI Content Writer ในปัจจุบัน คือการพัฒนาให้ช่วยแนะนำการเขียนตามวัตถุประสงค์ได้ ซึ่งเดี๋ยวเราจะนำมารีวิวให้ดู พร้อมๆ กับแชร์เทคนิคการเขียนตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ในหัวข้อถัดไปให้ด้วยค่ะ

แชร์เทคนิคการเขียนภาษาอังกฤษ

เครื่องมือส่วนใหญ่ที่ได้แนะนำไป สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบ ในขณะเดียวกันก็มีเครื่องมือแบบเฉพาะกิจด้วย  และนอกจากเรื่องเครื่องมือแล้ว ความจริงการรู้จักและเข้าใจ “หลักการสื่อสาร” ที่เหมาะสมกับรูปแบบนั้นๆ คืออีกหัวใจที่สำคัญไม่แพ้เรื่องทักษะด้านภาษาโดยตรงค่ะ

เขียนเมลภาษาอังกฤษ

ปัจจุบัน Email provider ต่างๆ เริ่มมีฟังก์ชัน Quick reply หรือฟังก์ชันแนะนำการเขียนมาให้ใช้งาน ถ้าใครใช้ Gmail อยู่ จะพบว่าเมื่อเราเริ่มพิมพ์ลงไป มันจะสามารถแนะนำคำหรือประโยคที่เป็นที่นิยมเขียนมาให้ด้วย (เรียกว่า Smart compose feedback) หลังจากที่ลองใช้มาสักระยะ คิดว่า AI นี้ของ Gmail เก่งใช้ได้เลยค่ะ แนะนำภาษามาได้ตรงกับรูปแบบภาษาที่นิยมใช้เขียนในอีเมลกัน

อย่างเช่นช่วงที่ขึ้นต้นประโยคแรกๆ ในอีเมล คนนิยมเขียนเพื่อตอบรับอีกฝ่าย เช่น ในที่นี้เขาแนะนำมาเป็น It’s good to hear from you.

หรือช่วงปิดท้ายอีเมล เมื่อมีคำว่า Look ขึ้นประโยคมา Gmail ก็เดาทางต่อว่าเราน่าจะอยากเขียนประโยคนี้

โดยรวมแล้วจึงทำให้การเขียนอีเมลง่ายและเร็วขึ้นค่ะ โดยปกติจะเราเองก็จะเขียนใน Gmail ลงไปเลย และตรวจสอบเพิ่มเติมด้วย Grammarly ต่ออีกหน่อย

Shifu แนะนำ

ความจริง Gmail มีฟีเจอร์ Check spelling ด้วยค่ะ ถ้าเข้าบน Desktop จะอยู่ในเมนูสามจุดด้านซ้ายล่าง ได้ลองใช้แล้ว พบว่าสามารถตรวจสอบการเขียนผิดได้เบื้องต้น แต่ยังตรวจได้ละเอียดไม่เท่า Grammarly เช่น การเช็คว่าคำนามนี้ ต้องต่อท้ายด้วย s หรือไม่ต้อง ด้วย ed หรือไม่ต้อง

อีกเรื่องที่อยากแนะนำเพิ่มเติมคือ แม้โปรแกรมต่างๆ จะช่วยเช็คและแนะนำได้เบื้องต้น แต่การเขียน Effective email นั้น เป็นเรื่องที่ผู้เขียนจะต้องเรียนรู้ตัวอย่างดีๆ เพิ่มเติมกันต่อด้วยนะคะ โดยปกติแล้วอีเมลควรเขียนด้วยรูปประโยคที่อ่านเข้าใจง่าย ไม่ต้องใช้ Complex sentence (ซึ่งใช้ Hemingway ช่วยดูได้ค่ะว่า Complex เกินไปหรือเปล่า) อีเมลควรชัดเจนว่าอยากบอกอะไร Next step คืออะไร เป็นต้น

การเขียนบทความภาษาอังกฤษ

จริงอยู่ที่ AI Content Writer เหล่านี้รองรับความสามารถในการเขียนบทความแล้ว โดยสามารถนำเสนอได้ถึงระดับไอเดียหัวข้อบทความ รวมไปถึง Outline ก็ทำได้โอเคเลย อย่างในเคสนี้คือเราแค่ใส่ประเด็นลงไปว่า ‘English Writing’ โปรแกรมก็แนะนำชื่อบทความและ Outline มาเสร็จสรรพ

ทั้งนี้ เราไม่แนะนำวิธีนี้เท่าไรนะคะ เราคิดว่าดูเป็นไอเดียได้ แต่คนเขียนควรจะเป็น Leader ที่กำหนดทิศทางด้วยตัวเอง โดยปกติเราจะเขียนบทความขึ้นมาด้วยตัวเอง แล้วใช้โปรแกรมในการช่วยตรวจสอบ ช่วย Paraphrase บางประโยค

อีกเรื่องคือ บางคนชอบเขียนบทความเป็นภาษาไทยแล้วเอาไปแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย Google Translate จากนั้นก็อาจจะใช้โปรแกรม Paraphrase ต่อ วิธีนี้ก็ทำได้ แต่โดยส่วนตัวยังเชียร์ให้คิดและเขียนด้วยตัวเองเป็นภาษาอังกฤษเลยแต่แรก จะดีที่สุดค่ะ

Shifu แนะนำ

ถ้าคุณยังเป็นมือใหม่ในเรื่องการเขียนบทความ อาจเริ่มต้นฝึกเขียนบทความในภาษาที่ตัวเองถนัดก่อน และถ้าอยากเรียนรู้วิธีการและเทคนิคการเขียนบทความตั้งแต่มือใหม่จนฝึกเป็นมืออาชีพ ขอแนะนำ คอร์สเรียน Content Writing for Beginners คอร์สนี้ และ คอร์ส Digital Copywriting สำหรับการเขียนก็อปปี้ค่ะ

การเขียน Essay หรือเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ

สำหรับการเขียน Essay หรือ เรียงความ คำแนะนำจะไม่ต่างกับการเขียนบทความมากนัก แต่ขอให้บริบทเพิ่มเติมคือ ในการเขียนบทความเพื่อลงในบล็อกต่างๆ ความง่ายในการอ่านจะมีความสำคัญ ในขณะที่เรียงความหรือ Essay มักจะใช้ในเชิงวิชาการ เช่น เพื่อการสมัครเรียนต่อ อาจต้องการรูปประโยคที่สละสลวยและโชว์ความ Advanced English มากกว่า

ในบริบทที่เราเคยเขียน Essay จริงจังเพื่อสอบชิงทุน เราจะไม่ได้ใช้เพียงแค่ตัวเอง+AI Tools แต่จะขอรับ Feedback จากเพื่อนๆ คนอ่านและผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมด้วย

เขียน Copywriting หรือข้อความเพื่อการตลาด

ในบรรดา Use Case ทั้งหมด โดยส่วนตัวคิดว่าอันนี้ยากที่สุดสำหรับคนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา เพราะ Copywriting เป็นเรื่องของการกระตุ้นความสนใจ ซึ่งความถูกต้องของภาษาไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่ประเด็นคือความน่าสนใจ เรายังคงใช้หลักการเดียวกันกับการเขียน Digital Copywriting ภาษาไทย ตามที่เราเองก็เคยทำคอร์สเรียนสอน แต่สิ่งที่ทำเพิ่มก็คือมีการใช้ AI Writer ช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยเฉพาะใน Use Case ที่ต้องการนำไปใช้งานจริง

Shifu แนะนำ

โปรแกรมที่ชื่อ Writesonic เป็นตัวที่เราพบว่ามีฟีเจอร์เพื่อการเขียนขายของและเขียนเพื่อการตลาดเยอะดีค่ะ เลือกได้ว่าต้องการเขียนสำหรับ Channel ไหน เลือกได้ทั้ง Facebook Ads, Google Ads, LinkedIn Ads, Ecommerce Copy, YouTube Copy เป็นต้น

นอกจากนี้ที่ขาดไม่ได้คือการศึกษาดูงานต่างๆ เพราะก็อปปี้เป็นเรื่องของความครีเอทีฟ เราไม่ได้เชื่อใจโปรแกรมอย่างเดียว 100% แต่ Research ดูคนอื่นๆ ที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกันว่าเขาเขียนกันประมาณไหน กลุ่มเป้าหมายของเราใกล้เคียงกันกับใคร เป็นต้น

เกร็ดน่ารู้เพิ่มเติม

ใจเย็นๆ ค่อยๆ ฝึกที่ละสไตล์

แม้ว่าเราจะเคยมีประสบการณ์เขียนบทความสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษก่อนหน้ามาบ้างแล้ว แต่เราก็ยังคงใช้เวลาปรับตัวไม่น้อยตอนเราเริ่มต้นเขียนบทสัมภาษณ์สไตล์แบบไม่เป็นทางการ เรายังไม่ชินกับแนว Lifestyle (สำหรับภาษาอังกฤษ) เพราะเดิมทีที่ประสบการณ์จากรั้วมหาวิทยาลัย จะเน้นสาย Acedemic writing มากกว่า ตอนนั้นเราจึงต้องปรับตัวนิดนึง อ่านบล็อกแนวไลฟ์สไตล์มากขึ้น

ตอนที่ต้องเขียนแนว PR ก็เช่นกัน เราต้องเรียนรู้ใหม่เยอะมาก มันจะใช้เวลาหน่อย แต่ถ้าฝึกเรื่อยๆ คุณจะเก่งขึ้นจริงๆ นะ

ฝึกให้ครบ ฟัง พูด อ่าน เขียน ในชีวิตประจำวัน

ถึงแม้งานของเราจะเน้นที่การเขียนเป็นหลัก แต่เราก็ยังพบว่าการฝึกฟังและพูดนั้นมีส่วนช่วยด้วย หลักๆ แล้วมันช่วยให้เรา “คิดเป็นภาษาอังกฤษ” มากขึ้น นั่นเอง คอนเทนต์ที่ทำมาเพื่อการฟัง เพื่อการพูด การอ่าน การเขียน ก็มีความแตกต่างกันไป เพิ่มความหลากหลายของสไตล์เข้าไปในสมองมากยิ่งขึ้น

เริ่มต้นที่ไดอารี่สั้นๆ

จุดเริ่มต้นของการเป็นนักเขียนของเรา อันที่จริงแล้วมันคือสเตตัสบน Facebook นั่นเอง ซึ่งเราเขียนแบบกึ่งไดอารี่ เมื่อเราเปรียบเทียบสเตตัสเก่าๆ กับสเตตัสใหม่ๆ เราก็เห็นว่าตัวเองเขียนดีขึ้นจริงๆ  หากอยากฝึกภาษาอังกฤษก็สามารถลองเริ่มจากสเตตัสภาษาอังกฤษก็ได้นะ หรือจะเขียนเก็บไว้ดูเอง เป็นไดอารี่สั้นๆ ก็ได้ค่ะ Seth Godin ก็เป็นคนนึงที่เขียนบล็อกแล้วมีคนติดตามเยอะมาก แม้ว่าบล็อกของเขาจะเป็นสไตล์ไดอารี่สั้นๆ ก็ตาม

หาคนช่วยตรวจ

วิธีการจัดการกับความไม่มั่นใจที่ดีที่สุด คือการหาคนช่วยตรวจ ถ้าให้ดี ควรเป็นคนที่สามารถแลกเปลี่ยนกันและกันได้ คือ คุณขอเขาช่วยเล็กๆ น้อยๆ  และเขาก็ขอคุณช่วยบางอย่างเล็กๆ น้อยๆ เช่นกัน

แต่ก่อนจะหาคนตรวจ ให้อากู๋ Google ช่วยตรวจให้ด้วยก็ได้ แทบทุกครั้งที่เขียน เรามักจะมีคำที่ไม่แน่ใจเรื่องวิธีการใช้ ซึ่งเราก็สามารถศึกษาการใช้คำเหล่านี้ก่อน โดยการเซิร์จอ่านเอาได้ อย่างเรื่อง Preposition มักจะเป็นเรื่องที่คนไทยใช้ผิดบ่อย เช่น Interested ต้องใช้คู่กับ in; I am interested in marketing ไม่ใช่ I am interested about marketing เป็นต้น

ทดสอบภาษาอังกฤษ

สำคัญคือต้อง ‘รู้’ ว่าตัวเอง ‘ไม่รู้’ อะไร

สำคัญสุดคือตัวคอนเทนต์

ภาษา คือเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร และเครื่องมือน้ันมีไว้ให้ใช้งาน ไม่ได้มีไว้ให้กลัว

ภาษาเป็นเครื่องมือนึง แต่สาระจริงๆ คือตัวคอนเทนต์ ครั้งหนึ่งเราจะเขียนบทความเกี่ยวกับซอฟแวร์สัญชาติญี่ปุ่นตัวหนึ่ง เราหาข้อมูลภาษาอังกฤษไม่ได้เลย จึงตัดสินใจหาเป็นภาษาญี่ปุ่น แล้วใช้ Google Translate ช่วยแปลเอา ผลลัพธ์การแปลอาจจะยังไม่ใช่ภาษาอังกฤษที่สมบูรณ์เพอร์เฟกต์ แต่เมื่อเราได้อ่านแล้ว เราก็พึงพอใจกับเนื้อหา และพบว่าบทความนี้มีคุณค่ากับเรา ในการทำงานเองก็เหมือนกัน ถ้าเชื่อว่าตัวเองมีเนื้อหาที่ดี ก็ลงมือเลย ภาษาเดี๋ยวค่อยๆ พัฒนากันไปได้

สรุป

บทความนี้เราเขียนโดยแบ่งเป็นเคสการใช้งานหลักๆ ที่หลายๆ คนต้องเจอในการเขียนภาษาอังกฤษ โดยเน้นการแนะนำโปรแกรมต่างๆ รวมถึงแนะนำความคิดเห็นเพิ่มเติมจากประสบการณ์ส่วนตัว ยังไงก็ตาม การเรียนภาษาอังกฤษและฝึกเขียนฝึกใช้บ่อยๆ ยังคงเป็นพื้นฐานความรู้ที่สำคัญมากๆ ที่เราไม่อยากให้ละเลยกัน

หวังว่าบทความจะมีประโยชน์เพื่อให้คุณพร้อมลุยตลาด International ไปด้วยกันนะคะ 🙂

ตาคุณแล้ว

หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว ขอให้คุณลองเริ่มต้นเขียนภาษาอังกฤษ เริ่มจาก Caption สเตตัสต่างๆ ไล่ไปสู่ไดอารี่ จนกระทั่งเขียนบทความภาษาอังกฤษได้ และอย่าลืมเข้าไปดูเครื่องมือต่างๆ ที่เราแนะนำและลองใช้ดูนะคะ

ใครที่ได้ลองเล่น ลองใช้ ลองทำตามแล้ว เป็นยังไงกันบ้างคะ? นำสิ่งที่คุณได้เรียนรู้หรือได้ลอง มาแชร์ความรู้ด้วยกันได้ที่คอมเมนต์ใต้บทความนี้เลยค่ะ 🙂

New call-to-action

[Update] หลักการใช้ Capital Letter ง่ายๆ 5 ข้อ | การ เขียน ภาษา อังกฤษ ตัว ติด – NATAVIGUIDES

เวลาเขียนภาษาอังกฤษ เคยสับสนไหมครับว่า เอ…คำนี้ต้องใช้ capital letter (ตัวอักษรใหญ่) ไหมนะ เช่น จะเขียน Mother’s Day หรือ mother’s day ดี  หรือระหว่าง Oxford Street กับ Oxford street เขียนแบบไหนถึงจะถูกต้อง  บทความนี้จะทำให้คุณสับสนมากขึ้น เอ้ย! หายสับสนว่ากรณีไหนบ้างต้องใช้ capital letter กรณีไหนบ้างไม่ต้องใช้

การใช้ capital letter ให้ถูกต้องนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก แม้ว่าเราอาจจะไม่ได้ใส่ใจเวลาพิมพ์แชทกับเพื่อนหรือคนในครอบครัว แต่เวลาเขียนจดหมาย บทความ หรืองานเขียนใดๆ ที่เป็นทางการ การใช้ capital letter ที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้เราดูไม่เป็นมืออาชีพ หรืออาจทำให้สื่อสารผิดพลาดได้

capital-letter

การใช้ capital letter มีหลักง่ายๆ 5 ข้อ คือ

1. ใช้ capital letter เมื่อขึ้นต้นประโยค

นั่นคือ ตัวอักษรแรกของคำแรกในประโยคจะต้องเป็นตัวอักษรใหญ่ เช่น

  • She watched Game of Thrones with me last night. (เธอดูมหาศึกชิงบัลลังก์กับฉันเมื่อคืนนี้)
  • I met a girl this morning. Her name was Arya. (ฉันพบเด็กสาวคนหนึ่งเมื่อเช้านี้ เธอชื่ออาร์ยา)

แต่สำหรับประโยคที่ตามหลังเครื่องหมาย colon * (:) และ semicolon (;) ไม่ต้องใช้ capital letter เช่น

  • He got what he deserved: he was dumped. (เขาได้รับในสิ่งที่สมควรได้ เขาถูกทิ้ง)
  • Some people write with a pen; others write with a pencil. (บางคนเขียนด้วยปากกา แต่บางคนเขียนด้วยดินสอ)

* ยกเว้นภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน ให้ใช้ capital letter เมื่อขึ้นต้นประโยคหลังเครื่องหมาย colon

He got what he deserved: He was dumped.

ข้อยกเว้นอีกข้อคือคำว่า I (ฉัน) ต้องใช้ตัวอักษรใหญ่เท่านั้นไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของประโยค เช่น

Do I know you? (ฉันรู้จักคุณเหรอ)

2. คำนามเฉพาะ (proper noun)

ให้ใช้ capital letter เมื่อเขียนคำนามเฉพาะ  คำนามเฉพาะมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ได้แก่

  • ชื่อ นามสกุล และคำนำหน้าชื่อ เช่น Jon Snow (จอน สโนว์), Mr Potter (คุณพอตเตอร์), Professor Dumbledore (ศาสตราจารย์ดัมเบิลดอร์)
  • เดือนและวัน เช่น Sunday (วันอาทิตย์), Friday (วันศุกร์), February (เดือนกุมภาพันธ์), December (เดือนธันวาคม)
  • ฤดู ได้แก่ Spring (ฤดูใบไม้ผลิ), Summer (ฤดูร้อน), Autumn/Fall (ฤดูใบไม้ร่วง), Winter (ฤดูหนาว)
  • วันสำคัญ เช่น Mother’s Day (วันแม่), Christmas (วันคริสต์มาส), New Year’s Day (วันปีใหม่), Valentine’s Day (วันวาเลนไทน์)
  • ชื่อประเทศ เช่น Thailand (ประเทศไทย), England (ประเทศอังกฤษ), Scotland (ประเทศสก็อตแลนด์), France (ประเทศฝรั่งเศส)
  • ชื่อรัฐ ชื่อเมือง และชื่อเขตการปกครองต่างๆ เช่น California (รัฐแคลิฟอร์เนีย), London (กรุงลอนดอน), Edinburgh (กรุงเอดินบะระ), Oxfordshire (มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์)
  • ชื่อแม่น้ำ ทะเล ทะเลสาบ และมหาสมุทร เช่น the Thames (แม่น้ำเทมส์), the Mekong (แม่น้ำโขง), the Pacific (มหาสมุทรแปซิฟิก)
  • ชื่อพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ต่างๆ เช่น the Bosphorus (ช่องแคบบอสฟอรัส), the Himalayas (เทือกเขาหิมาลัย), the Alps (เทือกเขาแอลป์), the Sahara (ทะเลทรายสะฮารา)
  • ชื่อสัญชาติและภาษา เช่น Thai (คนไทย ภาษาไทย), English (คนอังกฤษ ภาษาอังกฤษ), Italian (คนอิตาเลียน ภาษาอิตาเลียน)
  • ชื่อถนน ตึก สวน และสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น the Empire State Building (ตึกเอ็มไพร์สเตต), Central Park (สวนสาธารณะเซ็นทรัลพาร์ค), the Eiffel Tower (หอไอเฟล)

3. ชื่อเรื่อง เช่น ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ

ใช้ตัวอักษรใหญ่ขึ้นต้นคำประเภท noun (คำนาม), verb (คำกริยา), adjective (คำคุณศัพท์), adverb (คำวิเศษณ์), subordinating conjunction (เช่น because, that, as)  แต่ไม่ต้องใช้ตัวอักษรใหญ่ขึ้นต้นคำประเภท article (คำนำหน้านาม ได้แก่ a, and, the), preposition (คำบุพบท เช่น in, on, at),  coordinating conjunction (เช่น for, and, but, or)  ตัวอย่างเช่น

“Harry Potter and the Cursed Child” (แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเด็กต้องคำสาป)

จากตัวอย่างจะเห็นว่าทุกคำยกเว้น and และ the ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรใหญ่

อย่างไรก็ตามบทความในปัจจุบันเริ่มนิยมใช้ capital letter แค่คำแรกของชื่อเท่านั้น เช่น “Energy solutions for a sustainable world”

นอกจากนี้ตามปกหนังสือหรือโปสเตอร์ภาพยนตร์ ชื่อเรื่องจะถูกเขียนเป็นตัวอักษรใหญ่ทั้งหมด เช่น “HARRY POTTER AND THE CURSED CHILD” ซึ่งการเขียนแบบนี้ก็ไม่ผิดอะไร  แต่ถ้าเราไปเขียนชื่อเรื่องที่อื่น แนะนำให้เขียนตามหลักการเขียนชื่อเรื่องที่กล่าวมา

4. คำย่อต่างๆ

คำย่อต่างๆ โดยเฉพาะคำย่อชื่อนิยมใช้ capital letter ตัวอย่างเช่น

UN = United Nations (สหประชาชาติ)
NATO = North Atlantic Treaty Organization (องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ)
ASEAN = Association of Southeast Asian Nations (สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

แต่ก็ไม่ใช่ว่าคำย่อทุกคำจะใช้ตัวอักษรใหญ่ ตัวอย่างคำยกเว้น เช่น cm = centimetre/centimeter (เซนติเมตร) หรือบางคำย่อก็ใช้ตัวอักษรใหญ่เพียงบางตัวอักษร เช่น PhD = Doctor of Philosophy (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต หรือผู้ที่ได้รับปริญญาเอก)

5. ใช้เพื่อเน้นคำ

ในกรณีนี้ผู้เขียนจงใจไม่เขียนตามหลักข้างต้นเพื่อเน้นคำ กลุ่มคำ หรือประโยคโดยการเขียนตัวอักษรใหญ่ทั้งหมด เช่น  HELP! (ช่วยด้วย)  STOP! (หยุดนะ)  เมื่อลองเปรียบเทียบกับการเขียนแบบปกติ  Help!  Stop! จะเห็นว่าให้ความรู้สึกต่างกันเวลาอ่าน

การใช้ตัวอักษรใหญ่ทั้งหมดอ่านแล้วให้ความรู้สึกเหมือนเป็นการตะโกน ดังนั้นจึงไม่ควรเขียนตัวอักษรใหญ่ติดกันยาวๆ โดยไม่จำเป็น แบบนี้  I’M SO HAPPY TODAY. I GOT PROMOTED AND WON THE £14 MILLION LOTTERY JACKPOT.  จะเห็นว่าอ่านยากและดูไม่สุภาพ  ทั้งยังอาจทำให้ผู้อ่านรำคาญอีกด้วย

ลองทบทวนหลัก 5 ข้อนี้แล้วเอาไปใช้กันดูครับ จริงๆ แล้วการใช้ capital letter ยังมีหลักยิบย่อยอีกหลายข้อ ดังนั้นเพื่อนๆ ควรจะอ่านข่าวหรือบทความภาษาอังกฤษเยอะๆ และสังเกตว่า capital letter ต้องใช้ในกรณีไหนบ้าง จะได้เขียนได้ถูกต้อง (และคนอ่านไม่แอบบ่นในใจ)


Ep.5 ฝึกคัดตัวบรรจงครึ่งบรรทัด | by : ครูลูกหยีตีไม่เจ็บ


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

Ep.5 ฝึกคัดตัวบรรจงครึ่งบรรทัด | by : ครูลูกหยีตีไม่เจ็บ

ตัวเขียนภาษาอังกฤษสวยๆ #อย่าลืมเอาไปใช้กันน่ะ || BE BACK


ตัวเขียนภาษาอังกฤษ เขียนสวย เชียงตุงเรียนภาษาอะไร

ตัวเขียนภาษาอังกฤษสวยๆ #อย่าลืมเอาไปใช้กันน่ะ || BE BACK

วิธีเทียบอักษรภาษาอังกฤษเป็นไทยง่ายๆ | เขียนชื่อภาษาอังกฤษ


เรียนปูพื้นฐานภาษาอังกฤษ แบบง่ายๆ ด้วย Alphabets ซึ่ง alphabet (แอล’ ฟาเบท) หมายถึง อักษรพยัญชนะ, อักขระ, ระบบตัวอักษร นั่นเองครับ โดยตัวอักษรในภาษาอังกฤษมี 26 ตัว ครับ สระมี 5 และถ้าไปผสมตัวอื่นๆ ที่ได้บอกไว้ใน VDO ก็จะมีเสียงสระเยอะขึ้นนะครับ ก็หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์
การเทียบเสียงอักษร ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สระ พยัญชนะ ประสมคำ สะกด ชื่อ นามสกุล
ค. ควาย นะครับอ่านผิดไป
เรียนออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษฟรี
📌 ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ถามตอบ ประโยคพื้นฐานใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน
👉 https://www.youtube.com/watch?v=IHuKZYgki4\u0026t=5s
📌 ฝึกอ่านแปลภาษาอังกฤษ เข้าใจง่าย เรียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน
👉 https://www.youtube.com/watch?v=URCUv47gnc8
📌 ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ตั้งปณิธานเรื่องที่จะทำในปีใหม่ New Year’s Resolutions
👉 https://www.youtube.com/watch?v=AWo2r51ZLFA\u0026t=10s
📌 เรียนภาษาอังกฤษฟรี ดูโครงสร้างภาษาอังกฤษ ฝึกพูดพร้อมตัวอย่างประโยค
👉 https://www.youtube.com/watch?v=UgGf1QS7O6s
📌 5 โครงสร้างประโยคพื้นฐานในภาษาอังกฤษ (English sentence structures)
👉 https://www.youtube.com/watch?v=iGS5sPRefdA\u0026t=82s
📌 ประโยคอวยพรปีใหม่ ภาษาอังกฤษ พร้อมคำอ่านและแปลภาษาไทย
👉 https://www.youtube.com/watch?v=BYqot65xu6k
📌วิธีใช้ Used to, Be used to และ Get used to (เคย และ เคยชิน)
👉https://www.youtube.com/watch?v=in1gK2AAi9Q\u0026t=3s
📌 Whenever, Whatever, Whoever, However, Whichever | ใช้ยังไง
👉 https://www.youtube.com/watch?v=AnATbRFCE
📌 How far/How much/How many/How long/ ใช้อย่างไร และแปลว่าอย่างไร ภาษาอังกฤษ
👉 https://www.youtube.com/watch?v=AnATbRFCE
📌 เรียนภาษาอังกฤษ Do, Does, Did, Done | แปลว่าอย่างไร เข้าใจง่ายพร้อมตัวอย่าง
👉 https://www.youtube.com/watch?v=JrNKYd2YFzg\u0026t=2s

วิธีเทียบอักษรภาษาอังกฤษเป็นไทยง่ายๆ | เขียนชื่อภาษาอังกฤษ

How to Write Cursive Lowercase Letters – American Handwriting


Learn how to write cursive lowercase letters step by step. See each letter in detail. Learn tips and common mistakes. See more at http://www.coopos.com/
To donate, please go to https://paypal.me/coopos?locale.x=en_US
Please help me translate this video. You can translate a little or a lot. Every bit helps. To translate, click on the three dots below the video (…). Thank you!
Suggested handwriting workbooks
Printing Workbook https://amzn.to/2KFQJhm
Cursive Workbooks https://amzn.to/2Zd4J5h or https://amzn.to/2Z9W4AJ

Handwriting Playlists
Cursive Handwriting Practice https://www.youtube.com/playlist?list=PLlmG13Mp0ys6txdkOhFFnWR8YlugK6MFA
English Alphabet and Writing Letters American Handwriting https://www.youtube.com/playlist?list=PLlmG13Mp0ys50R2aLVDnE_nVg7mUsV_gy

Pronunciation Playlists
Confusing English Words https://www.youtube.com/playlist?list=PLlmG13Mp0ys6YQWvnqttCs7gOqSLBT
Word Practice https://www.youtube.com/playlist?list=PLlmG13Mp0ys5PGO10S5vIXxObzbYCrPmS
English Vowels https://www.youtube.com/playlist?list=PLlmG13Mp0ys6cgR_EzVAbZwZ1FpFCEdW
English Consonants https://www.youtube.com/playlist?list=PLlmG13Mp0ys5PxjyjOo8tKMOuijEe7IS

Recommended Dictionaries are below
Online Dictionaries
The Free Dictionary
http://www.thefreedictionary.com/
Cambridge Dictionary
https://dictionary.cambridge.org/us/
Collins Dictionary
https://www.collinsdictionary.com/dictionary/english
MerriamWebster Learner’s Dictionary
http://learnersdictionary.com/

Paper Dictionaries – Beginning to HighIntermediate
MerriamWebster’s Essential Learner’s English Dictionary
USA https://amzn.to/2EIbtjc
Longman Dictionary of American English
USA https://amzn.to/2UiVmOz

Paper Dictionaries – HighIntermediate to Advanced
MerriamWebster’s Advanced Learner’s English Dictionary
USA https://amzn.to/2SGabt0
Longman Dictionary of Contemporary English
USA https://amzn.to/2EvRcvX

As an Amazon Associate I earn from qualifying purchases.
TRANSCRIPT:
Hi. I’m Denise. Thank you for watching my video. Today I’m going to talk about writing lowercase cursive letters. A couple of things to keep in mind when writing the cursive letters is that first of all, we normally slant our letters. So, they do not go straight up and down. They are written in this way. The second thing is that most of the letters have a little taillike piece on the end. That is so that we can connect each letter to the next letter. So you’ll see that as I am writing the letters. Okay? Let’s get started.
The lowercase A starts just below the middle line and then it goes up and left and around and back up and straight down. This little piece is the part that will connect to the next letter. So I started below the middle, up and around, straight up and back down.
The B starts at the bottom, goes up to the top, makes a loop and comes back down, curves to the middle and then it goes like that. This little piece is the part that will connect to the next letter.
The C starts just below the middle, goes up and to the left and around and just goes on. Again, this is just the connecting piece.
The D starts just below the middle, goes up and around to the left, and all the way up. Back down and there’s the tail. So again it started below the middle, up and around, all the way up and back down.
The E starts at the bottom, goes up to the middle and back down. Okay. That’s the E.
F also starts at the bottom, goes all the way up to the top, makes a loop, comes below the line and reaches back up and then has a straight line which will be the connecting piece. So again, we start at the bottom, go up, make a loop, come back down, loop to the bottom and curve up.
The G starts just below the middle, goes up and around, straight up, below the line and up. So again, I started below the middle. I went around and back to my starting point, back down below the line to make my loop and like this. Make sure that you’re going the right way with your loop. I do often see students that go the other way with their loop and then it looks like a Q, so please don’t change the direction of the loop. Okay, notice I went, I’ll make that again. You go around, go like this. Now I come straight down, I go to the left to make my loop and then up there. Don’t go to the right. It’s going to look like a different letter. Okay? So straight down, go to the left and make the loop.
The H starts at the bottom, goes up to the top, makes a loop and comes down. Go straight up the middle and loop. And we go straight up curving to make a rounded bump. That’s the H.
I. Go straight up and back down the line. Then it splits here because it needs to go to the next letter. So straight up and back down. We lift our pen and make the dot.
The J starts in the same way. Starts at the bottom and goes up to …

How to Write Cursive Lowercase Letters - American Handwriting

ภาษาอังกฤษ ป.1 – บทที่ 2 : หัดเขียน ABC \”ABC Tracing\” [สื่อแท็บเล็ต ป.1]


หัดเขียน abc ภาษาอังกฤษ ป.1 บทที่ 2 จากสื่อแท็บเล็ตโดยสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ภาษาอังกฤษ ป.1 - บทที่ 2 : หัดเขียน ABC \

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ การ เขียน ภาษา อังกฤษ ตัว ติด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *