Skip to content
Home » [NEW] หุ้นอนาคต: ทำไมทุกคนต้องมีหุ้นเทคโนโลยีในพอร์ต | venture capitalist pantip – NATAVIGUIDES

[NEW] หุ้นอนาคต: ทำไมทุกคนต้องมีหุ้นเทคโนโลยีในพอร์ต | venture capitalist pantip – NATAVIGUIDES

venture capitalist pantip: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

💡ไฮไลท์

1. การเติบโตของธุรกิจเทคโนโลยีเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น โดยหุ้นเทคโนโลยีเริ่มออกทะยานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทำผลตอบแทนสูงสุดเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ใน S&P500 นอกจากนี้ 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทเทคโนโลยียังครองสัดส่วนสูงสุดในการจัดอันดับ “100 บริษัทที่เติบโตเร็วที่สุด” โดยนิตยสาร อีกด้วย อนาคตของธุรกิจเทคโนโลยี จึงมีแนวโน้มเป็นเส้นเฉียงขึ้นไปอีกยาวๆ

2. ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจเทคโนโลยีเติบโตได้อย่างมีคุณภาพในระยะยาว ได้แก่ แนวคิดการประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจากยุคดอทคอม โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง และสถานการณ์ Covid-19 ที่เป็นตัวผลักดันให้คนหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น

3. Cloud computing คือปัจจัยพื้นฐานสำคัญของธุรกิจเทคโนโลยีในปัจจุบัน เพราะช่วยให้ธุรกิจเทคโนโลยีสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณค่าออกมาให้คนใช้งานได้ง่ายสะดวกมากขึ้น และขยายฐานลูกค้าออกไปได้เรื่อยๆ ด้วยต้นทุนที่ต่ำ ตราบใดที่คนยังใช้อินเทอร์เน็ต ธุรกิจเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ cloud computing ก็มีแนวโน้มจะคงอยู่และเติบโตต่อไป

4. ธุรกิจเทคโนโลยีขยายฐานลูกค้าได้อย่างรวดเร็วในช่วง Covid-19 เพราะคนต้องหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีในการใช้ชีวิตมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ธุรกิจเทคโนโลยีก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ฉวยโอกาสช่วงนี้กระชับความสัมพันธ์กับลูกค้า คิดค้นผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ออกมาเพื่อให้คน “ติด” และใช้บริการต่อไปแม้จะหมดภัย Covid-19 แล้ว

5. ชีวิต new normal หลังจากนี้ ดูจะเป็นชีวิตที่คนคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีในทุกลมหายใจ จนไม่สามารถตัดขาดได้ และน่าจะส่งผลให้ธุรกิจเทคโนโลยีที่มีผลิตภัณฑ์ที่ดี ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า สามารถขยายธุรกิจต่อไปได้เรื่อยๆ อย่างยั่งยืน

คำถามก็คือ หลังวิกฤติโควิด 19 แล้ว ใครจะเข้ามาอยู่ในบัญชีรายชื่อเศรษฐีใหม่ของไทย ถ้าดูจากวิวัฒนาการในช่วงเร็วๆ นี้ ในเศรษฐกิจหรือตลาดของอเมริกานั้น ดูเหมือนจะ “ฟันธง” ได้เลยว่าคงเป็นบริษัทและเจ้าของที่ทำธุรกิจดิจิตอลหรือไฮเท็คทั้งหลาย เพราะแม้ในขณะนี้ที่หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ตกกันหลายสิบเปอร์เซ็นต์ แต่หุ้นอย่างอะมาซอนและเน็ตฟลิกกลับปรับตัวขึ้นเป็น “All Time High” ตลาดรับรู้แล้วว่าหลังจากโควิด 19 โลกก็จะยังอยู่ เศรษฐกิจก็จะยังเติบโตต่อไป แต่คนที่จะยิ่งใหญ่เป็นผู้ให้บริการแก่คนทั้งโลกมากขึ้นไปอีกก็คือบริษัทเหล่านี้

  • ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร จากบทความ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 28 เมษายน 2563

คงไม่มีใครปฏิเสธ ว่าหุ้นเทคโนโลยีคือหุ้นแห่งอนาคต

และเมื่อนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จอย่าง ดร. นิเวศน์ กล้า “ฟันธง” กลายๆ ว่าธุรกิจเทคโนโลยีคือธุรกิจที่จะครองโลก สร้างเศรษฐีใหม่ๆ อีกมายมาย…

นักลงทุนทั่วไปอย่างเรา ไม่มีหุ้นเทคโนโลยีเก็บไว้สักหน่อย ก็อาจต้องนั่งหงอยในภายหลัง

ติดปัญหาก็คือ…ประเทศไทยไม่มีหุ้นเทคโนโลยีให้เลือกมากเท่าไหร่

หุ้นที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม .TECH ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ ICT ซึ่งเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ยังถือว่าห่างไกลจากภาพ “หุ้นเทค” แห่งอนาคตที่คนมักจะนึกถึง อย่าง Facebook Apple Amazon Netflix และ Google (FAANG) ในสหรัฐอเมริกา หรือสามทหารเสือ BAT จากจีน อย่าง Baidu Alibaba และ Tencent

ครั้นจะก้าวขาออกไปลงทุนหุ้นเทคในต่างประเทศก็ยังลังเล เพราะนอกจากจะมีเรื่องค่าธรรมเนียม อัตราแลกเปลี่ยน และกฎเกณฑ์ภาษีต่างๆ ที่ไม่คุ้นเคยแล้ว ยังมีข่าวการปรับตัวขึ้นแบบทุบสถิติของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี สวนทิศทางเศรษฐกิจโดยสิ้นเชิง

แทบจะเรียกได้ว่า ยิ่งเคส Covid-19 ในสหรัฐฯ สูงขึ้นเท่าไหร่ ดัชนี Nasdaq ยิ่งพุ่งสูงขึ้นเท่านั้น!

ในขณะที่อัตราการจ้างงาน และคาดการณ์ GDP ของสหรัฐฯ ลดลงเพราะการแพร่ระบาดของ Covid-19 หุ้นเทคโนโลยีหลายๆ ตัวกลับทำ all-time high ปรับตัวขึ้นเป็น 100% ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา แถมยังมีหุ้นทำสถิติปรับตัวขึ้นสูงถึง 40% ในวันเดียว

ซึ่งบางคนเห็น ก็บอกว่าเป็นแค่กระแส เป็นฟองสบู่ ซ้ำรอยประวัติศาสตร์สมัยดอทคอม

แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเติบโตของหุ้นเทคโนโลยีปัจจุบันนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานที่แข็งแกร่งมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานอย่างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตท่ีเร็วและครอบคลุมทั่วโลก ประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์สมัยใหม่ที่ประมวลผลและเก็บข้อมูลได้ดีกว่าเดิม และความแพร่หลายของเทคโนโลยีที่เป็นปัจจัย 5 ของชีวิต

ยิ่งเกิดการแพร่ระบาดของ Covid-19 ยิ่งบีบให้คนพึ่งพาเทคโนโลยีหนักขึ้นอีก เพราะชีวิตวิถีใหม่ที่ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม เราไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากทำกิจกรรมส่วนใหญ่ที่บ้าน เลยต้องหันไปหาเทคโนโลยีต่างๆ นานามาช่วย

ไหนจะต้องสั่งผักผลไม้ สั่งอาหารมาทาน

ไหนจะต้องทำงาน ประสานงาน ประชุมผ่าน video conference

ไหนจะต้องออกกำลังกาย รักษาภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

ทั้งหมดนี้ต้องพึ่งธุรกิจเทคโนโลยีทั้งนั้น ผลักดันรายได้ของหุ้นเทคโนโลยีให้เติบโต และราคาหุ้นพุ่งสูงสวนทางอุตสาหกรรมอื่นๆ

จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ดัชนี S&P500 ซึ่งรวบรวมหุ้นมูลค่าตามราคาตลาด (market cap) ใหญ่ๆ 500 ตัวในตลาด Nasdaq และ NYSE จะถูกถ่วงน้ำหนักด้วยหุ้นเทคโนโลยีไปแล้วถึง 25% ถือว่าเป็นสัดส่วนสูงที่สุดในรอบ 20 ปี จากการวิเคราะห์ของ Goldman Sachs เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา นำโดยหุ้นเทคโนโลยีใหญ่ๆ อย่าง Facebook Amazon Apple Microsoft เเละ Alphabet (Google)

โดย Apple Amazon และ Microsoft ต่างเป็นหุ้นแบบ mega-cap ที่มูลค่าตลาดหลักล้านล้านเหรียญ!

แม้แต่พอร์ตของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่ตอนแรกไม่ค่อยสนใจหุ้นเทคโนโลยีเท่าไหร่ ตอนนี้สัดส่วนหุ้นเทคโนโลยีก็เริ่มแซงหน้าหุ้นการเงินไปแล้ว

และดูเหมือนว่า การแผ่อิทธิพลของหุ้นเทคโนโลยีเพิ่งจะมาเร่งตัวขึ้นใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนเฉลี่ย 3 ปีของหุ้นเทคโนโลยีสูงสุดเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ บนดัชนี S&P500 ในขณะเดียวกัน การจัดอันดับ 100 บริษัทที่เติบโตเร็วที่สุด โดยนิตยสาร Fortune ซึ่งพิจารณาผลประกอบการ 3 ปีล่าสุด พบว่าบริษัทเทคโนโลยีติดอันดับเข้ามาเยอะที่สุดเป็นปีที่ 2

อนาคตของธุรกิจเทคโนโลยีหลังจากนี้ จึงมีแนวโน้มเป็นเส้นเฉียงขึ้นไปอีกยาวๆ โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญที่ช่วยดันหุ้นเทคโนโลยีขยายตัวอย่างมีคุณภาพ มั่นคง และยั่งยืน ดังนี้

  • บทเรียนจากยุค 90 หรือยุคดอทคอม ที่ทำให้นักลงทุนประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีบนรายได้และกำไรที่บริษัทสร้างได้ในปัจจุบันอย่างละเอียดรอบคอบยิ่งขึ้น
  • โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่มั่นคง แข็งแกร่ง และครอบคลุมทั่วโลก ธุรกิจสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ และขยายตัวได้ใหญ่เกินจินตนาการ
  • ชีวิตคนเราที่ผูกพันกับเทคโนโลยีมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะหลังการแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่บีบให้ทุกคนปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีที่ไม่เคยนึกถึงมาก่อน จนกลายเป็นชีวิตวิถีใหม่แบบ new normal

ยุคดอทคอม บทเรียนของการประเมินมูลค่าธุรกิจเทคโนโลยี

ยุคดอทคอม หรือยุค 90 เป็นยุคที่อินเทอร์เน็ตเพิ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกิจออนไลน์ยังไม่สมบูรณ์ คนก็ยังไม่คุ้นเคยกับอินเทอร์เน็ตเหมือนทุกวันนี้ เพราะมีคนเพียงส่วนน้อยที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ หลักๆ ก็แค่ส่งอีเมล ไม่ได้ทำอะไรซับซ้อนมากมาย

ธุรกิจดอทคอมในสมัยนั้น จึงเป็นธุรกิจแบบ e-commerce หรือเว็บขายของเสียส่วนใหญ่ ผุดขึ้นมาแข่งขันกันอย่างดุเดือด แย่งฐานลูกค้าที่ค่อนข้างแคบ เพราะจำนวนคนที่ซื้อของผ่านอินเทอร์เน็ตมีจำกัด กลายเป็นอุปทานมากกว่าอุปสงค์ ธุรกิจหาทางขยายตลาด ทำกำไรได้ยาก

ถึงกระนั้น เงินจำนวนมหาศาลก็ยังหลั่งไหลเข้าธุรกิจดอทคอม เพราะทุกคนกำลังตื่นเต้นกับเทคโนโลยีใหม่ เชื่อว่าเป็นธุรกิจดอทคอมจะ “เปลี่ยนโลก”

นักลงทุนแย่งจับจองหุ้นธุรกิจดอทคอมกันแบบหน้ามืดตามัว ขอแค่ธุรกิจฟังดูดี มี .com อยู่ในชื่อ ก็พร้อมจะเคาะซื้อ ขนาดหุ้น IPO ใหม่ ราคายังพุ่งขึ้น 3-4 เท่าภายในวันแรกวันเดียว จนทำให้ดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้น 5 เท่าภายในเวลาเพียง 5 ปี บางปีเติบโตถึง 125%

ในขณะเดียวกัน เหล่า venture capitalist ก็โปรยเงินให้ธุรกิจสตาร์ทอัพอินเทอร์เน็ตเป็นว่าเล่น ไม่สนใจว่าธุรกิจเหล่านั้นจะทำกำไรหรือไม่ ขอแค่เข้าตลาดหลักทรัพย์ ทำกำไรให้ VC ได้เป็นกอบเป็นกำก็พอ

ส่วนเหล่าสตาร์ทอัพ พอเห็นบริษัทรุ่นพี่ IPO วันแรกทำกำไรเป็น 100% ก็ยิ่งพยายามทุกวิธีทางที่จะเข้าตลาดให้เร็วที่สุด ถลุงเงินที่ได้มาไปกับการสร้างแบรนด์และทำการตลาด แทนที่จะนำไปพัฒนานวัตกรรมที่จะสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ธุรกิจอย่างยั่งยืน

จึงไม่แปลก ที่หุ้นดอทคอมส่วนใหญ่ไม่มีกำไร บางแห่งไม่มีรายได้ และบางแห่งไม่มีแม้แต่ผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์ด้วยซ้ำ

แต่เพราะการประเมินมูลค่าธุรกิจหรือ valuation ในตอนนั้น พิจารณารายได้และกำไรที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันไกล บนศรัทธาที่ว่าธุรกิจจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ได้เป็นหลัก ทำให้มูลค่าของหุ้นดอทคอมสูงลิ่วประหนึ่งเป็น Apple หรือ Amazon ปัจจุบัน เกิดปรากฏการณ์ panic buy นักลงทุนรีบซื้อด้วยความตื่นตระหนก เพราะกลัวพลาดโอกาส

นั่นทำให้ยุคดอทคอมเป็น “ฟองสบู่” ที่แตกโพละในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2543

ดัชนี Nasdaq ดิ่งเร็วและแรงถึง 34.2% ใน 1 เดือน แตะจุดต่ำสุดที่ 1,114.11 จุด และสูญเสียมูลค่าไปเกือบ 80%

ส่วนธุรกิจดอทคอมที่เคยซื้อขายกันคล่องมือในตลาดนั้น ส่วนใหญ่ก็ล้มหายตายจากไป เหลือไว้เพียงไม่กี่บริษัทให้เราได้เชยชมกันทุกวันนี้ หนึ่งในนั้นคือ Amazon นั่นเอง

แต่หุ้นเทคโนโลยีวันนี้ไม่เหมือนกับหุ้นดอทคอมที่ผ่านมา

หุ้นเทคโนโลยีในวันนี้ โดยรวมมีโมเดลธุรกิจที่สามารถขยายได้เรื่อยๆ ในขณะที่ต้นทุนไม่ต้องเพิ่มมาก ทำให้รายได้เติบโตก้าวกระโดดในแบบที่อุตสาหกรรมอื่นทำไม่ได้ โดยหุ้นเทคโนโลยีมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ประมาณ 40-80% ในขณะที่อุตสาหกรรมอื่นๆ เติบโตเพียง 1-9%

นักลงทุนตระหนักดีว่า ธุรกิจที่การเติบโตสูงอย่างธุรกิจเทคโนโลยีนั้น การประเมินมูลค่าของหุ้นต่างจากการประเมินมูลค่ากลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ แน่นอน

อย่างไรก็ตาม บทเรียนที่ได้รับจากฟองสบู่ดอทคอมในวันนั้น สอนให้นักลงทุนระมัดระวังว่า อย่างไรก็ต้องประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีบนพื้นฐานรายได้ที่บริษัทสร้างได้ในปัจจุบันเป็นหลัก

กลายเป็นที่มาของการวิเคราะห์มูลค่าหุ้นเทคโนโลยีแบบเฉพาะตัว โดยคำนึงธรรมชาติของหุ้นเทคโนโลยีที่มีหนี้สินน้อย เงินสดเยอะ และใช้รายได้มาต่อยอดขยายฐานลูกค้าให้รายได้หลักของบริษัทเติบโต

ถ้าคำนวณอัตราส่วนยอดขาย/ราคาหุ้น (price/sale) แบบปกติ จะทำให้บริษัทดูราคาเเพงจนเกินไป นักวิเคราะห์หลายคนจึงนิยมใช้ มูลค่าสุทธิของกิจการ (enterprise value หรือ EV)/รายได้ในอีก 12 เดือนข้างหน้า แทน

ซึ่งวิธีการประเมินมูลค่าที่เหมาะสมสำหรับหุ้นเทคโนโลยีนั้น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ “หุ้น Tech ต่างประเทศ เลือกแบบวีไอ อย่างไรให้โดน”

ดังนั้น มูลค่าของหุ้นเทคโนโลยีที่บางครั้งดูเหมือนประเมินออกมาสูงเกินไป จริงๆ แล้วอาจจะไม่ได้เกินความเป็นจริง และราคาของหุ้นที่พุ่งขึ้นสูง ก็สอดคล้องกับรายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้นของหุ้นเทคโนโลยีหลายๆ ตัวเช่นกัน

เห็นได้ชัดว่า หุ้นเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้น โมเดลธุรกิจแข็งแกร่ง มีอนาคต และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมูลค่าบริษัทไปได้อีกเยอะมากๆ ในระยะยาว

โครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ขับเคลื่อนโดย Cloud Computing

อีกสิ่งหนึ่งที่ยุคดอทคอมได้ทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลัง คือโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนาต่อยอด จนทำให้ธุรกิจเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถขยายตัวได้อย่างมั่นคง

ไม่ว่าจะเป็นความสามารถของฮาร์ดแวร์ในการเก็บและประมวลผลข้อมูล ที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากกว่าสมัยก่อนหลายเท่า

ไปจนถึงอินเทอร์เน็ตที่เคยเข้าถึงยาก ช้า เชื่อมต่อคนเพียงไม่กี่กลุ่ม ตอนนี้เชื่อมต่อคนได้ทั่วโลก ผ่านเครือข่ายใยแก้วนำแสง (fiber optic) ความเร็วสูง

สิ่งเหล่านี้คือรากฐานสำคัญ ที่ช่วยให้ธุรกิจเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ มาเป็นจุดขาย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี

ซึ่งนวัตกรรมหนึ่งที่กำลังมาแรง เรียกได้ว่าเป็นหัวใจของธุรกิจเทคโนโลยีแทบจะทุกแห่ง และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเราทุกคนโดยที่เราไม่รู้ตัว ก็คือ cloud computing

Cloud Computing ครองโลก

คุณน่าจะเคยได้ยินคนพูดถึงระบบ cloud ผ่านหูมาบ้างแล้ว

นั่นก็เพราะ cloud computing เป็นพื้นฐานของหลายๆ เทคโนโลยีที่คุณใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น การสั่งอาหารมาส่งที่บ้าน การประชุมผ่าน video conference หรือแม้กระทั่งการดูหนังบน Netflix

ทุกอย่างเกิดขึ้นบนระบบ cloud

ระบบ cloud เป็น disruptive technology ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงการให้บริการและการใช้งานเทคโนโลยีแบบหน้ามือเป็นหลังมือ กล่าวคือ บริษัทเทคโนโลยีมีที่เก็บข้อมูลและสามารถประมวลผลข้อมูลได้รวดเร็ว เพราะแทนที่จะพึ่งเซิร์ฟเวอร์แห่งเดียว บริษัทเทคโนโลยีสามารถดึงเอาพลังของเซิร์ฟเวอร์หลายๆ แห่งที่กระจายอยู่ทั่วโลกออกมาใช้ได้เต็มที่ แล้วก็ให้บริการลูกค้าผ่านอินเทอร์เน็ต ลูกค้าจะเข้าใช้บริการเมื่อไหร่ก็ได้ จากที่ไหนก็ได้ ผ่านอุปกรณ์อะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ ชีวิตสะดวกสบายยิ่งขึ้น

เมื่อก่อนการใช้โปรแกรมต่างๆ ผ่าน cloud ค่อนข้างลำบาก เพราะกว่าจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเข้าไปใช้งานค่อนข้างยุ่งยากและช้า แต่ตอนนี้สัญญาณอินเทอร์เน็ตของโลกพัฒนาถึงขั้น 4G หรือ 5G กันแล้ว ทำให้สมรรถนะในการประมวลผลและส่งข้อมูลรวดเร็วมาก เร็วขนาดที่คุณสามารถ stream ไฟล์หนังที่อยู่ไหนก็ไม่รู้ มาดูบนมือถือได้แบบไม่กระตุก

ซึ่งเบื้องหลังของความสะดวกสบายนี้ ก็คือ ศูนย์จัดเก็บข้อมูล หรือ data center ขนาดใหญ่ บางแห่งรวมๆ แล้วมีเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่มาก ใหญ่เท่าสนามฟุตบอลหลายๆ สนามต่อกันเลยทีเดียว โดยผู้ให้บริการ data center ที่โดดเด่น ก็เป็นบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก อย่าง Amazon Web Service (AWS) Google Cloud Platform และ Microsoft Azure

นอกจากบริการ data center แล้ว ยังมีบริการ cloud platform อื่นๆ มาเสริมอีกด้วย เช่น บริการด้านการประมวลผล AI และ machine learning และบริการด้านความปลอดภัย

อีกสาเหตุที่ cloud ไม่ค่อยได้รับความนิยมก่อนหน้านี้ ก็เพราะคนกังวลเรื่องความปลอดภัย และการรั่วไหลของข้อมูล แต่เดี๋ยวนี้หลายองค์กรตระหนักแล้วว่า การใช้บริการ cloud ที่มีทีมงานจำนวนมากทุ่มเทพัฒนาระบบโดยเฉพาะ มีความปลอดภัยมากกว่าการติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ในบริษัทเสียอีก ทั้งยังประหยัด ไม่ต้องมีทีมงานคอยจัดการ แนวโน้มการใช้งาน cloud ในองค์กรจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ

การให้บริการผ่านระบบ cloud นั้น ต้นทุนถูกกว่าการลงทุนสร้างเซิร์ฟเวอร์ของตนเอง เนื่องจากไม่ต้องลงทุนซื้อฮาร์ดแวร์ พัฒนาระบบ และซ่อมบำรุง แถมสมรรถนะในการประมวลผลข้อมูลของ cloud ยังแรงกว่า นั่นหมายความว่า ธุรกิจที่ใช้ cloud สามารถขยายตัวได้ง่ายกว่าและรวดเร็วกว่า เพราะจ่ายเงินให้บริการเท่าที่ต้องการใช้งานเท่านั้น (pay on demand) และเมื่อต้องการขยายธุรกิจก็ทำได้เลย ไม่ต้องเตรียมอะไร มีระบบ cloud รองรับเรียบร้อยแล้ว

เช่น Jitta.com มีชุดข้อมูลที่ต้องประมวลผลหลักพันล้านหน่วยต่อวัน หากลงทุนซื้อชุดเซิร์ฟเวอร์ประมวลผลของตัวเองเพื่อให้คำนวณให้เสร็จภายใน 1 ชั่วโมง อาจจะต้องใช้เครื่องถึง 1,000 เครื่อง หากจะประมวลผลเพิ่มเป็น 2 พันล้านหน่วย ก็ต้องไปซื้อเครื่องมาเพิ่มอีก 1,000 เครื่อง

แต่เมื่อเราใช้ cloud ก็เหมือนเราเสกเครื่อง 1,000 เครื่องมาใช้ได้ทันที ประหยัดเวลา ประหยัดต้นทุนในการทำธุรกิจไปได้เยอะมาก

นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไม ธุรกิจผู้ให้บริการ cloud (Infrastructure as a Service หรือ IaaS) อย่าง Amazon Google และ Microsoft จึงเฟื่องฟู ทำกำไรได้มหาศาล เพราะลงทุนสร้าง data center เสร็จแล้วก็เหมือนเสือนอนกิน รับรายได้ค่าเช่าเซิร์ฟเวอร์ไปเรื่อยๆ

ในขณะเดียวกัน ธุรกิจที่ใช้บริการ cloud (Software as a Service หรือ SaaS และ Platform as a Service หรือ PaaS) อย่าง Grab Lazada และ Netflix ก็อาศัยประโยชน์จากต้นทุนที่ต่ำลง ความเร็วของการประมวลผลข้อมูลที่สูงขึ้น และความสะดวกสบายในการขยายธุรกิจ มาสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่คน “ติด” จนต้องใช้ไปเรื่อยๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้น ตราบใดที่เราใช้งานอินเตอร์เน็ตเหมือนเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิตอย่างนี้ ธุรกิจเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ cloud computing ก็มีแนวโน้มจะคงอยู่ต่อไป

เทคโนโลยี จากของนอกกาย สู่ปัจจัย 5 ของชีวิต

อีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ธุรกิจเทคโนโลยีออกตัวได้แรงในยุคนี้ ก็เพราะการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตที่ง่ายขึ้น ราคาถูกลง และครอบคลุมทั่วทั้งโลก

เห็นได้ชัดเจนจากจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำนวนคนใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนั้น เมื่อเทียบกับ 20 ปีที่แล้วในยุคดอทคอมนั้น แทบจะคนละโลกเลยทีเดียว

This image has an empty alt attribute; its file name is jwtech_article-11.png

นั่นก็หมายความว่า ปัญหาอุปทานมากกว่าอุปสงค์ที่พบในธุรกิจดอทคอมนั้น แทบจะไม่ใช่ปัญหาเลยสำหรับธุรกิจเทคโนโลยีในปัจจุบัน ตราบใดที่ธุรกิจสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีคุณค่า ตอบโจทย์คนใช้งานได้จริง ตลาดยังเปิดกว้างพร้อมให้ธุรกิจเข้าแย่งชิงส่วนแบ่ง

และไม่ใช่ส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศเท่านั้นที่เป็นเป้าหมายของธุรกิจเทคโนโลยีเหล่านี้ แต่เป็นทั้งโลก!

เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมทั่วโลก และการเข้าถึงข้อมูลที่สะดวกมากขึ้นผ่านโทรศัพท์มือถือ ได้ทลายพรมแดนการทำธุรกิจไปโดยสิ้นเชิง ธุรกิจเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน สามารถฝันไกลถึงการพิชิตหัวใจคนทั้งโลกได้เลย

ขนาดของตลาด และกลุ่มคนที่จะมาเป็นลูกค้าในอนาคตนั้นใหญ่มาก ธุรกิจเทคโนโลยีไหนสามารถช่วงชิงส่วนแบ่งมาได้แค่ 1% ก็ถือเป็นรายได้ที่เยอะมากแล้ว

ไม่น่าแปลกใจว่าทำไมบริษัทอย่าง Apple Amazon Google และ Microsoft ที่มีฐานลูกค้าอยู่ทั่วโลก จึงมีมูลค่าเป็นล้านล้านเหรียญ

Covid-19 บีบคนพึ่งพาเทคโนโลยีหนักขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น สถานการณ์ Covid-19 ยังเป็นตัวเร่งที่ทำให้คนพึ่งพาเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะพวกซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้คุณสามารถทำกิจกรรมต่างๆ สำเร็จลุล่วงจากที่บ้านในยามกักตัว

ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหนังสือ ทำงาน ทำอาหาร ออกกำลังกาย หรือร่วมงานสัมมนา

ซึ่งธุรกิจเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังซอฟต์แวร์ที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตแบบ new normal นี้ ก็คือหุ้นกลุ่ม Software as as Service (SaaS) ที่โตเฉลี่ยถึง 64% หลังเกิดวิกฤติ Covid-19 ถือเป็นการเติบโตที่สูงมากภายในระยะเวลาอันสั้น

กลายเป็นว่า Covid-19 กลับส่งผลดี ผลักดันคนเข้ามาใช้บริการธุรกิจเทคโนโลยีมากขึ้น ช่วยเพิ่มรายได้ให้ธุรกิจเทคโนโลยีในยามที่อุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะท่องเที่ยว รายได้แทบจะเป็นศูนย์

แน่นอนว่า ธุรกิจเทคโนโลยีก็รีบฉกฉวยโอกาสนี้ สร้างจุดขายให้คน “ติด” ผลิตภัณฑ์ของตนเอง และใช้งานต่อไปเรื่อยๆ แม้ว่าวันหนึ่งวิกฤต Covid-19 จะจบลง

เช่น Zoom ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ video conference ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้ ล่าสุดได้ตั้งทีมใหม่ขึ้นมา ชื่อว่า Zoom from Home เพื่อพัฒนาฮาร์ดแวร์ อำนวยความสะดวกให้การประชุมออนไลน์ผ่าน video conference นั้นสะดวกสบายยิ่งขึ้น และกระชับสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าที่ทำงานที่บ้าน หรือ work from home

เพราะ Zoom เชื่อว่า ยังไง WFH ก็จะยังคงอยู่ต่อไป ตามการสำรวจของ PwC ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ที่พบว่าพนักงานในสหรัฐฯประมาณ 80% อยากทำงานที่บ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน และผู้บริหารเกินครึ่งก็พร้อมจะให้พนักงานเลือกทำงานที่บ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน

เป็นไปได้ว่า ชีวิต new normal ของเรา จะไม่ใช่แค่การใส่ผ้าปิดจมูก เว้นระยะห่างทางสังคมเท่านั้น แต่เป็นชีวิตที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในแทบจะทุกลมหายใจเลยทีเดียว

เทคโนโลยี ของต้องมีที่ขาดไม่ได้

ชีวิต new normal หลังจากนี้ ดูจะเป็นชีวิตที่คนคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีในทุกลมหายใจ จนไม่สามารถตัดขาดได้

ซึ่งน่าจะส่งผลให้ธุรกิจเทคโนโลยีที่มีผลิตภัณฑ์ที่ดี ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และมีการบริหารจัดการที่ดี สามารถขยายธุรกิจต่อไปได้เรื่อยๆ อย่างยั่งยืน

สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีเหล่านี้ ควรจะพิจารณาอะไรบ้าง เพื่อคัดสรรหาหุ้นเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง น่าลงทุน สามารถติดตามได้ในบทความหน้า

หรือใน Jitta Live: ปั้นพอร์ตโตด้วยหุ้นเทค เมกะเทรนด์ขับเคลื่อนโลกในวันพุธที่ 22 กรกฎาคม เวลา 19:00 น.

[Update] ทำไม Uber ถึงมีมูลค่ากว่าสองล้านล้านบาท | venture capitalist pantip – NATAVIGUIDES

ผมสงสัยมาสักพักแล้วว่า อเมริกามีเว็บไซต์ที่เป็นศูนย์รวมการพูดคุยอย่าง Pantip.com เหมือนบ้านเราหรือเปล่า

ก่อนจะพบว่ามีในชื่อ reddit.com ผมลองเข้าไปเล่นดู พบว่ารูปแบบเว็บค่อนข้างคล้ายกัน กระทู้จัดเป็นหมวดหมู่ตามความสนใจ มีคนเข้ามาตอบกระทู้จำนวนมากจากทั่วโลก

ช่วงเริ่มหางาน ผมต้องค้นข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ผมกำลังจะนัดคุยหรือไปสัมภาษณ์งานทั้งหมด ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ เพราะผมอยากได้ข้อมูลการวิเคราะห์บริษัท อยากรู้คำตอบว่าบริษัทหาลูกค้าได้อย่างไร หรือมีกลยุทธ์รูปแบบธุรกิจอย่างไร

ขณะเดียวกัน ผมก็ต้องเริ่มหาความรู้เกี่ยวกับการจัดการผลิตภัณฑ์ (Product Management) ซึ่งเป็นงานที่ผมสนใจมาก เนื่องจากผมไม่มีพื้นฐานด้านนี้มาก่อน

​เวลาผมเสิร์ชเรื่องพวกนี้บนกูเกิล (Google) ผมมักจะเจอลิงก์ของเว็บควอรา (Quora) อยู่หน้าแรกเสมอ

ครั้งหนึ่ง ผมเสิร์ชว่า “Books product managers should read” เพื่อหาหนังสือที่ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ควรอ่าน แล้วผมก็เจอลิงก์ของควอราที่มีกระทู้คำถามว่า “If you could only read one book about product management, which one would it be and why?”

ผมอ่านหัวข้อแล้วก็พบว่าตรงกับสิ่งที่อยากรู้ จึงคลิกเข้าไปดูและเจอกับคำตอบ 16 คำตอบ แต่ละคำตอบเขียนได้ดี มีชื่อและตำแหน่งงานของคนตอบ

ควอราคือเว็บรวมคำถามและคำตอบที่มีจุดเด่นเรื่องคุณภาพของคำถามและคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญ มีคนดังอย่าง มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก และ บารัค โอบามา มาร่วมตอบ

ครั้งหนึ่ง มีสมาชิกคนหนึ่งตั้งคำถามว่า “What’s it like to play basketball with President Obama?” ถ้าได้เล่นบาสเกตบอลกับประธานาธิบดีบารัค โอบามา จะเป็นอย่างไร ไม่น่าเชื่อว่าสุดท้ายบารัค โอบามา ตัวจริงจะมาตอบ

ในมุมของคนที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จ พวกเขามองว่าควอราเป็นช่องทางในการตอบคำถามที่เป็นประโยชน์ต่อคนอ่านอีกหลายล้านคนที่อาจจะสนใจอยากรู้เรื่องนี้เหมือนกัน ​โดยตัวเว็บไม่เหมือนเว็บกระทู้ทั่วไปที่เน้นแค่ให้สมาชิกมาลงทะเบียนแล้วโพสต์ถามหรือตอบได้ แต่สมาชิกจะใส่คำอธิบายหน้าที่การงานได้ด้วย เวลาเราไปตั้งคำถามหรือตอบคำถาม คนอื่นก็จะเห็นหน้าที่การงานที่เราระบุไว้ ซึ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือ

ยิ่งไปกว่านั้น ควอรายังมีระบบโหวตขึ้นและโหวตลง คำตอบที่ได้รับการโหวตจากคนอ่านมากที่สุดจะแสดงผลอยู่ด้านบนสุด เป็นตัวช่วยจัดลำดับคุณภาพของคำตอบ เพื่อให้คนอ่านได้คำตอบที่ตรงกับสิ่งที่อยากรู้ที่สุด

บางคนก็เข้ามาตอบเพื่อโปรโมตหนังสือหรือสินค้าของตนเอง ซึ่งไม่ได้ผิดอะไร และเป็นการช่วยเพิ่มจำนวนคำตอบ ถ้าดีจริง คำตอบก็จะถูกโหวตให้ติดอันดับ และถ้าเราสนใจผู้ตอบคนไหน เราก็กดติดตามเขาได้ ทั้งนี้ทางด้านขวาของเว็บก็จะโชว์คำถามอื่นที่ใกล้เคียงกันเผื่อเราสนใจอ่านเพิ่มเติม และที่น่าสนใจคือ บางคำถามก็ถูกตอบมานานมาก ตั้งแต่ปี 2012 หรือนานกว่านั้น บางคำถามก็เพิ่งถูกตอบปีนี้

ผมทดลองคลิกไปตั้งคำถามดูหลังจากลงทะเบียนสมัครสมาชิก โดยทดลองพิมพ์คำถามว่า “How should I manage my time?”

ก่อนที่ผมจะกดโพสต์คำถามที่ว่า เว็บก็จะแสดงคำถามที่ใกล้เคียงกันขึ้นมาให้ผมกดเข้าไปอ่านกระทู้คำถามและคำตอบของผู้ใช้งานอื่นได้

​ผมพบว่าผมกดส่งคำถามนี้ไม่ได้ เพราะระบบแจ้งเตือนกลับมาว่าคำถามที่ผมจะถามมีอยู่ในระบบแล้ว นั่นคือคำถามที่ว่า “How should I manage time efficiently?” ซึ่งมีคนมาตอบแล้ว 17 คน

กลไกที่ให้ดูคำตอบจากคำถามที่มีอยู่แล้ว ทำให้คำถามของควอราแทบไม่ซ้ำกัน คำถามที่มีอยู่ก่อนก็จะมีคนตอบเพิ่มเรื่อยๆ ตามบริบทของโลกที่เปลี่ยนไป ทำให้หน้าคำถามนั้นยังคงมีคำตอบที่น่าสนใจอยู่เสมอ
​สิ่งเหล่านี้ทำให้ควอราสร้างและรักษาคุณภาพของคำถามและคำตอบที่ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้นไปอีก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสุดของเว็บ

​หนึ่งในคำถามที่มีคนเข้าไปอ่านมากสุดบนเว็บ คือคำถามที่ว่า ​“ฉันจะเรียนรู้อะไรได้บ้างใน 10 นาที ที่จะมีประโยชน์กับชีวิตฉันตลอดไป” คำถามแนวนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคน และมีคำตอบต่างๆ มากมายหลากหลาย ทำให้หน้าคำถามนี้มีคนเข้าไปดูแล้วกว่า 5 ล้านคน มีคนร่วมตอบเกือบ 2,000 คน

ควอราเปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2010 หนึ่งในผู้ก่อตั้งคือ อดัม ดี-แองเจลโล (Adam D’Angelo) ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี (Chief Technology Officer) อยู่ที่เฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใหญ่รองลงมาจาก มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก

อดัมรู้สึกว่าเฟซบุ๊กในขณะนั้น ซึ่งคือปี 2009 กำลังประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก มีทีมวิศวกรที่แข็งแกร่ง ต่อให้เขาไม่อยู่ บริษัทก็น่าจะดำเนินต่อไปได้เป็นอย่างดี เขาจึงอยากออกมาสร้างอะไรใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น
ตอนที่เขาคุมทีมโปรแกรมเมอร์ เขาต้องเข้าไปตอบแชตเวลาทีมของเขาเจอปัญหา หลายครั้งเป็นเรื่องเดิมๆ เขาจึงมีความคิดที่จะสร้างระบบถาม-ตอบที่มีคุณภาพและค้นหาคำตอบได้ง่าย เว็บถาม-ตอบที่มีอยู่ในตลาดตอนนั้นยังไม่ค่อยมีคุณภาพ กระทู้คำถามยังไม่เป็นระบบ ค้นหายาก อีกทั้งคำตอบที่มีก็มักไม่มีคุณภาพ ไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้ เขาและผู้ก่อตั้งคนอื่นจึงมั่นใจมากว่าพวกเขาจะสร้างเว็บถาม-ตอบที่ดีกว่านี้ได้ และสร้างสังคมความรู้ออนไลน์ที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี

หลังจากพัฒนาควอราเวอร์ชันแรก เขาเริ่มทดสอบด้วยการส่งให้เพื่อนของเขาไปลองเล่นดู คำถามในช่วงแรกส่วนใหญ่แล้วเป็นคำถามเกี่ยวกับเมืองที่เขาอยู่ เช่น ขอให้แนะนำร้านอาหาร คำถามเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือสตาร์ทอัพ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะเขาอยู่ในวงการสตาร์ทอัพมานาน

​เขาพบว่าคำถามเรื่องเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการที่สุดในเวลานั้น เพราะยังเป็นเรื่องใหม่ บทความและความรู้เชิงลึกเรื่องนี้ยังมีน้อย ขณะที่เป็นเรื่องที่เขาและทีมรู้ลึก อดัมและทีมจึงแก้ปัญหาด้วยการเป็นคนถามและตอบคำถามส่วนใหญ่ในช่วงแรก เพื่อให้คนมาใหม่ได้ความรู้กลับไป และกลับมาใช้อีก 

ก่อนที่ผมจะกดโพสต์คำถามที่ว่า เว็บก็จะแสดงคำถามที่ใกล้เคียงกันขึ้นมาให้ผมกดเข้าไปอ่านกระทู้คำถามและคำตอบของผู้ใช้งานอื่นได้

ผมพบว่าผมกดส่งคำถามนี้ไม่ได้ เพราะระบบแจ้งเตือนกลับมาว่าคำถามที่ผมจะถามมีอยู่ในระบบแล้ว นั่นคือคำถามที่ว่า “How should I manage time efficiently?” ซึ่งมีคนมาตอบแล้ว 17 คน
​กลไกที่ให้ดูคำตอบจากคำถามที่มีอยู่แล้ว ทำให้คำถามของควอราแทบไม่ซ้ำกัน คำถามที่มีอยู่ก่อนก็จะมีคนตอบเพิ่มเรื่อยๆ ตามบริบทของโลกที่เปลี่ยนไป ทำให้หน้าคำถามนั้นยังคงมีคำตอบที่น่าสนใจอยู่เสมอ
​สิ่งเหล่านี้ทำให้ควอราสร้างและรักษาคุณภาพของคำถามและคำตอบที่ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้นไปอีก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสุดของเว็บ

​หนึ่งในคำถามที่มีคนเข้าไปอ่านมากสุดบนเว็บ คือคำถามที่ว่า ​“ฉันจะเรียนรู้อะไรได้บ้างใน 10 นาที ที่จะมีประโยชน์กับชีวิตฉันตลอดไป” คำถามแนวนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคน และมีคำตอบต่างๆ มากมายหลากหลาย ทำให้หน้าคำถามนี้มีคนเข้าไปดูแล้วกว่า 5 ล้านคน มีคนร่วมตอบเกือบ 2,000 คน

​ควอราเปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2010 หนึ่งในผู้ก่อตั้งคือ อดัม ดี-แองเจลโล (Adam D’Angelo) ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี (Chief Technology Officer) อยู่ที่เฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใหญ่รองลงมาจาก มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก

อดัมรู้สึกว่าเฟซบุ๊กในขณะนั้น ซึ่งคือปี 2009 กำลังประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก มีทีมวิศวกรที่แข็งแกร่ง ต่อให้เขาไม่อยู่ บริษัทก็น่าจะดำเนินต่อไปได้เป็นอย่างดี เขาจึงอยากออกมาสร้างอะไรใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น
ตอนที่เขาคุมทีมโปรแกรมเมอร์ เขาต้องเข้าไปตอบแชตเวลาทีมของเขาเจอปัญหา หลายครั้งเป็นเรื่องเดิมๆ เขาจึงมีความคิดที่จะสร้างระบบถาม-ตอบที่มีคุณภาพและค้นหาคำตอบได้ง่าย เว็บถาม-ตอบที่มีอยู่ในตลาดตอนนั้นยังไม่ค่อยมีคุณภาพ กระทู้คำถามยังไม่เป็นระบบ ค้นหายาก อีกทั้งคำตอบที่มีก็มักไม่มีคุณภาพ ไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้ เขาและผู้ก่อตั้งคนอื่นจึงมั่นใจมากว่าพวกเขาจะสร้างเว็บถาม-ตอบที่ดีกว่านี้ได้ และสร้างสังคมความรู้ออนไลน์ที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี

​หลังจากพัฒนาควอราเวอร์ชันแรก เขาเริ่มทดสอบด้วยการส่งให้เพื่อนของเขาไปลองเล่นดู คำถามในช่วงแรกส่วนใหญ่แล้วเป็นคำถามเกี่ยวกับเมืองที่เขาอยู่ เช่น ขอให้แนะนำร้านอาหาร คำถามเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือสตาร์ทอัพ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะเขาอยู่ในวงการสตาร์ทอัพมานาน

เขาพบว่าคำถามเรื่องเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการที่สุดในเวลานั้น เพราะยังเป็นเรื่องใหม่ บทความและความรู้เชิงลึกเรื่องนี้ยังมีน้อย ขณะที่เป็นเรื่องที่เขาและทีมรู้ลึก อดัมและทีมจึงแก้ปัญหาด้วยการเป็นคนถามและตอบคำถามส่วนใหญ่ในช่วงแรก เพื่อให้คนมาใหม่ได้ความรู้กลับไป และกลับมาใช้อีก 

​หนึ่งในคำถามที่มีคนเข้าไปอ่านมากสุดบนเว็บ คือคำถามที่ว่า ​“ฉันจะเรียนรู้อะไรได้บ้างใน 10 นาที ที่จะมีประโยชน์กับชีวิตฉันตลอดไป” คำถามแนวนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคน และมีคำตอบต่างๆ มากมายหลากหลาย ทำให้หน้าคำถามนี้มีคนเข้าไปดูแล้วกว่า 5 ล้านคน มีคนร่วมตอบเกือบ 2,000 คน

ควอราเปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2010 หนึ่งในผู้ก่อตั้งคือ อดัม ดี-แองเจลโล (Adam D’Angelo) ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี (Chief Technology Officer) อยู่ที่เฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใหญ่รองลงมาจาก มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก

​อดัมรู้สึกว่าเฟซบุ๊กในขณะนั้น ซึ่งคือปี 2009 กำลังประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก มีทีมวิศวกรที่แข็งแกร่ง ต่อให้เขาไม่อยู่ บริษัทก็น่าจะดำเนินต่อไปได้เป็นอย่างดี เขาจึงอยากออกมาสร้างอะไรใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น
ตอนที่เขาคุมทีมโปรแกรมเมอร์ เขาต้องเข้าไปตอบแชตเวลาทีมของเขาเจอปัญหา หลายครั้งเป็นเรื่องเดิมๆ เขาจึงมีความคิดที่จะสร้างระบบถาม-ตอบที่มีคุณภาพและค้นหาคำตอบได้ง่าย เว็บถาม-ตอบที่มีอยู่ในตลาดตอนนั้นยังไม่ค่อยมีคุณภาพ กระทู้คำถามยังไม่เป็นระบบ ค้นหายาก อีกทั้งคำตอบที่มีก็มักไม่มีคุณภาพ ไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้ เขาและผู้ก่อตั้งคนอื่นจึงมั่นใจมากว่าพวกเขาจะสร้างเว็บถาม-ตอบที่ดีกว่านี้ได้ และสร้างสังคมความรู้ออนไลน์ที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี

หลังจากพัฒนาควอราเวอร์ชันแรก เขาเริ่มทดสอบด้วยการส่งให้เพื่อนของเขาไปลองเล่นดู คำถามในช่วงแรกส่วนใหญ่แล้วเป็นคำถามเกี่ยวกับเมืองที่เขาอยู่ เช่น ขอให้แนะนำร้านอาหาร คำถามเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือสตาร์ทอัพ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะเขาอยู่ในวงการสตาร์ทอัพมานาน
​เขาพบว่าคำถามเรื่องเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการที่สุดในเวลานั้น เพราะยังเป็นเรื่องใหม่ บทความและความรู้เชิงลึกเรื่องนี้ยังมีน้อย ขณะที่เป็นเรื่องที่เขาและทีมรู้ลึก อดัมและทีมจึงแก้ปัญหาด้วยการเป็นคนถามและตอบคำถามส่วนใหญ่ในช่วงแรก เพื่อให้คนมาใหม่ได้ความรู้กลับไป และกลับมาใช้อีก 

เป็นการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดของแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้สองฝั่ง คล้ายๆ ผู้ซื้อและผู้ขาย แพลตฟอร์มแนวนี้ส่วนใหญ่มักจะเจอปัญหาในระยะเริ่มต้นว่า ถ้าไม่มีผู้ซื้อ ก็ไม่มีผู้ขาย ถ้าผู้ขายไม่มากพอ ผู้ซื้อก็ไม่สนใจแพลตฟอร์มนี้​ด้วยคอนเนกชันที่พวกเขามี เว็บควอราจึงเริ่มมีคนดังในวงการเทคโนโลยีเข้ามาตั้งคำถามหรือตอบคำถามมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก มาตั้งคำถามว่า มีสตาร์ทอัพไหนที่เฟซบุ๊กควรไปซื้อกิจการบ้าง
สิ่งสำคัญสุดของควอราคือ คุณภาพข้อมูลและจำนวนผู้ใช้งาน
​งานหลักของควอราคือ พวกเขาต้องทำให้ผู้ใช้เจอเว็บนี้ในหน้าแรกของกูเกิลเวลาผู้ใช้ต้องการถามคำถามใดๆ ก็ตาม ซึ่งควอราทำได้ด้วยการเน้นคุณภาพของคำถามและคำตอบ ช่วยให้ผู้ใช้เข้ามาแล้วเจอสิ่งที่เขาอยากรู้ด้วยคำตอบที่มีคุณภาพ

เพราะเหตุนี้ เวลาเราถามคำถามเกี่ยวกับความรู้ใดๆ ในกูเกิลเป็นภาษาอังกฤษ เรามักจะเจอคำถามบนควอราที่เกี่ยวข้องแสดงผลอยู่หน้าแรกเสมอ
​ควอราทำเงินจากการโฆษณา โดยให้บริษัทเลือกลงโฆษณาตามหัวข้อคำถาม ทำให้แพลตฟอร์มเป็นที่นิยมมากสำหรับสินค้าที่ต้องการให้ความรู้ลูกค้า โดยเฉพาะพวกซอฟต์แวร์ของแต่ละสายอาชีพ
​ปัจจุบันควอรามีคนเข้าใช้งานเดือนละกว่า 200 ล้านคน ด้วยตัวเลขผู้ใช้ โมเดลการทำเงินที่พิสูจน์แล้ว และจุดแข็งด้านข้อมูลที่สะสมมา จึงยากมากที่จะมีคู่แข่งมาเอาชนะได้ ทำให้บริษัทระดมทุนได้เงินไปกว่า 250 ล้านบาท ด้วยมูลค่าบริษัท 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2017 ถือเป็นอีกหนึ่งสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น
​ความท้าทายขั้นถัดไปของควอราคือการทำให้จำนวนผู้ใช้เติบโตเรื่อยๆ โดยสิ่งที่ควอราทำคือการสร้างเว็บเป็นภาษาสเปน ฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมัน ตั้งแต่ปี 2017 เพื่อขยายไปยังตลาดกลุ่มคนที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งมีจำนวนมากกว่าคนที่ใช้ภาษาอังกฤษมาก

ที่สตาร์ทอัพต้องระดมทุน ก็เพราะคำว่า ‘สตาร์ทอัพ’ คือ ธุรกิจที่เกิดขึ้นและเติบโตอย่างรวดเร็ว
​สตาร์ทอัพจึงต้องมีแผนการว่าพวกเขาจะทำอะไรเพื่อให้บริษัทโตอย่างก้าวกระโดด และระดมทุนมาเพื่อทำสิ่งนั้น ถ้าทำได้ มูลค่าบริษัทก็จะเพิ่มขึ้นตาม และมีนักลงทุนพร้อมจะให้เงินลงทุนก้อนใหม่ที่มากกว่าเดิม เพื่อให้บริษัทโตไปอีกขั้นและโตไปเรื่อยๆ จนมีบริษัทที่ใหญ่กว่ามาซื้อหรือพาบริษัทเข้าตลาดหุ้นได้ ซึ่งภาษาสตาร์ทอัพเรียกว่า การหาทางออกให้กับนักลงทุนที่ลงเงินมาเพื่อซื้อหุ้นของสตาร์ทอัพ ให้ขายหุ้นออกไปได้ในที่สุด
​นี่แหละคือเกมของสตาร์ทอัพและนักลงทุน


How Venture Capitalists Value Fintech Companies?


How Venture Capitalists value fintech companies? There are several ways venture capitalists (VCs) and firms find value in the fintech companies they invest in. For example, some VCs love to see large total addressable markets (TAMs) and low customer acquisition costs (CACs), while others highly value potential client reach and recurring revenue.
Which metrics are often used to identify fintech value?
Watch the video to find out!

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

How Venture Capitalists Value Fintech Companies?

[TCBS] Có nên đầu tư chứng khoán tại TCBS?? Đánh giá đầy đủ về lợi ích và nhược điểm cho nhà đầu tư.


Mở tài khoản TCBS hoàn toàn online tại: https://iwp.tcbs.com.vn/105C041670
Tham gia nhóm Tích sản tài sản tại TCBS: https://zalo.me/g/uhehhi169
Đánh giá những Lợi ích nhược điểm khi tham gia đầu tư chứng khoán tại công ty chứng khoán TCBS.
00:00 : Lời mở đầu
00:50 : Lợi ích của nền tảng tcbs với nhà đầu tư
07:00 : Nhược điểm của TCBS
11:19 : Kết thúc
Tham gia nhóm Tích sản tài sản tại TCBS: https://zalo.me/g/uhehhi169
Mở tài khoản TCBS hoàn toàn online tại: https://iwp.tcbs.com.vn/105C041670
Khóa học lập kế hoạch tài chính cá nhân:https://tiencuatoi.vn/khoahoclapkehoachtaichinhcanhantrondoi
Chương trình Coaching 11 về tài chính cá nhân: https://tiencuatoi.vn/taichinhcanhan
Cafe tài chính: https://tiencuatoi.vn/cafetaichinh
Cảm ơn các bạn đã luôn theo dõi và ủng hộ Blog TienCuaToi.
► Cập nhật bài viết mới mỗi ngày tại Blog tài chính cá nhân: https://tiencuatoi.vn
► Nghe mọi lúc về đầu tư trên Kênh Postcast: Tâm Sự Tài Chính: https://podcasts.apple.com/vn/podcast/t%C3%A2ms%E1%BB%B1t%C3%A0ich%C3%ADnh/id1532006862
► Đăng ký Kênh Youtube: https://www.youtube.com/c/tiencuatoi?sub_confirmation=1
Liên hệ:
► My fanpage : fb.me/BlogTienCuaToi
► My facebook : https://www.facebook.com/trinhconghoafinancial
► Zalo: 0944 325 488
Hãy cùng thảo luận với mình để có cách trải nghiệm sử dụng sản phẩm tốt nhất.

[TCBS] Có nên đầu tư chứng khoán tại TCBS?? Đánh giá đầy đủ về lợi ích và nhược điểm cho nhà đầu tư.

VC and Private Equity | Equity Funding – Fund Your Business | Dun \u0026 Bradstreet


Venture capital and private equity funding both offer money in exchange for a percentage of ownership in your business. However, there are a few fundamental differences between the two. In this video we explain how each form of funding works and the types of companies they lend to. You’ll also hear from real people who work with both types of funding on a daily basis.
Find more information on the different types of funding available for your business at: www.education.dandb.com
Connect with us!
Twitter: http://twitter.com/DandB/
Facebook: https://www.facebook.com/dandbcredibility/

VC and Private Equity | Equity Funding – Fund Your Business | Dun \u0026 Bradstreet

6 แอพยืมเงิน อนุมัติเร็ว ถูกกฏหมาย ที่ดีที่สุดในปี 2021


🔥 เวลาที่มีเรื่องเดือดร้อนใจเพราะเงิน คุณอาจจะคิดว่ามีทางเลือกในการยืมเงินไม่มากนัก โดยเฉพาะเวลานี้ ที่ทุกคนล้วนได้รับผลกระทบจากโควิด19 ก็ยิ่งทำให้เครียดกันเข้าไปใหญ่ แอพยืมเงิน อาจเป็นทางออกทางการเงินที่สามารถช่วยคุณได้
แต่การจะหาแอพยืมเงินด่วน ก็มีหลายแอพเหลือเกินในปี 2021 นี้ แอพไหนกันที่เหมาะกับคุณ เราได้ทำการเปรียบเทียบและคัดเลือก 6 แอพยืมเงิน อนุมัติเร็ว ที่ดีที่สุดในปี 2021 มาไว้ให้ในลิสต์นี้แล้ว https://gelending.com/%e0%b9%81%e0%b8%ad%e0%b8%9e%e0%b8%a2%e0%b8%b7%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99/
📌 6 แอพยืมเงิน ที่ดีที่สุดปี 2021 📌
0:00 เริ่มต้น
0:47 ไลน์ บีเค
1:24 เงินทันเด้อ
2:17 แอพป๋า
3:13 ดอลฟิน มันนี่
4:09 ห้าให้มันนี่
4:46 เวลธ์ติ
5:35 ข้อควรระวัง
อย่าคลิกลิ้งค์นี้! https://bit.ly/2LTTBZg
📘📙📗📕📒📔📓
👉 รวมข้อมูลสินเชื่อที่น่าสนใจในปี 2021 👈
👉 บัตรเครดิตเงินคืนที่ดีที่สุด สมัครง่าย เงินเดือน 20,000 ต่อเดือนขึ้นไป https://bit.ly/gecashback21
👉 บัตรเครดิตสำหรับเงินเดือน 15,000 ต่อเดือน https://bit.ly/easyapprovecredit
👉 ประกันออนไลน์สมัครง่าย คุ้มครองโควิด19 https://bit.ly/onlineinsurance2021
👉 กดติดตามช่องเราได้ที่ https://bit.ly/subscribegelending
👉 เว็บ แนะนำเคล็ดลับกู้เงินด่วน https://gelending.com
👉 เฟสบุ๊ค แนะนำเคล็ดลับกู้เงินด่วน https://bit.ly/2Y4tUaM

6 แอพยืมเงิน อนุมัติเร็ว ถูกกฏหมาย ที่ดีที่สุดในปี 2021

a VC explains how VCs work — The Startup Tapes #013


Subscribe by email to be alerted of new tapes: http://eepurl.com/cfiLt5
See all previous tapes on: http://tapes.scalevp.com
Venture Capitalists (VCs) have an outsized impact on startups \u0026 entrepreneurs they invest in — and sometimes the world at large. But beyond the tweetstorms \u0026 headlines, the specifics of their business isn’t widely understood. Where does their money come from? How are their firms \u0026 funds structured? How does the pressure of returns impact their investment decisions? Kate Mitchell argues that VCs operate largely like startups, worried about giving good returns to their investors and raising funds, while doing something they’re passionate about alongside talented people. I catch up with my colleague, a partner at Scale and past chairman of the National Venture Capital Association to discuss what you should know about VCs, and how you should think about fundraising.
Guest: Kate Mitchell
Partner at Scale Venture Partners and past chairman at the National Venture Capital Association
http://www.scalevp.com/team/katemitchell
Host: Tim Anglade
Executive in Residence at Scale Venture Partners
https://timanglade.com/
https://twitter.com/timanglade
The Startup Tapes chronicle the highs \u0026 lows of building a startup, through candid interviews with founders, operators \u0026 advisors. Tim Anglade, an ExecutiveinResidence at Scale Venture Partners and formerly with Realm, Apigee, and Cloudant leads the project with the goal to demystify the process through which startups emerge, grow \u0026 succeed. His unfiltered interviews transcribe the conversations we often hear in the boardroom, amongst our portfolio community and with entrepreneurs and partners we engage with every day.
Learn more about Scale Venture Partners at http://www.scalevp.com.
For guests suggestions, feedback or questions, email [email protected]

a VC explains how VCs work — The Startup Tapes #013

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ venture capitalist pantip

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *