Skip to content
Home » [NEW] หน้าที่ของ EITHER and NEITHERในภาษาอังกฤษ | neither การใช้ – NATAVIGUIDES

[NEW] หน้าที่ของ EITHER and NEITHERในภาษาอังกฤษ | neither การใช้ – NATAVIGUIDES

neither การใช้: คุณกำลังดูกระทู้

either ออกเสียงได้ 2 อย่าง คือ ไอ-เทอร์ และ อี-เทอะ คำๆ นี้ทำหน้าที่ได้หลายอย่างคือ adverb, determiner และ pronoun
1. กรณีที่ทำหน้าที่ adverb
เมื่อ either ทำหน้าที่ adverb มีหลักที่ควรทราบอยู่ 2 อย่าง คือ ประการแรก ใช้ either แทนคำว่า too และ also ถ้าหากประโยคที่เอ่ยถึงครงแรกเป็นปฏิเสธ ทั้งนี้เพื่อแสดงถึงความคล้อยตามกันของเนื้อความ ลองพิจารณาเปรียบเทียบตัวอย่างต่อไปนี้
I like fish                             – I do too.
ผมชอบปลา                          ผมก็ชอบด้วยเช่นกัน
I don’t like music.           – My mother doesn’t either.
ผมไม่ชอนดนตรี                  คุณแม่ของผมก็ไม่ชอบเหมือนกัน
I don’t enjoy tennis, and I don’t much like swimming either.
ผมไม่ชอบเล่นเทนนิส และผมเองก็ไม่ชอบว่ายน้ำด้วยเช่นกัน
เพื่อจะได้จดจำโครงสร้างการใช้ either จากตัวอย่างดังกล่าวได้ง่ายขึ้น จึงขอสรุปกฎดังนี้
negative sentence, (and) subject + negative verb + either
ประการที่สอง เราใช้ either กับ or เมื่อพูดถึงทางเลือก (alternative) ซึ่งมี 2 ทางหรือมากกว่า
ตัวอย่าง
You can either come with me now or walk home.
คุณมากับผมก็ได้หรือจะเดินกลับบ้านก็ได้ (ให้เลือกเอา)
Either you leave this house or I’ll call the police.
คุณจะออกไปจากบ้านหลังนี้หรือจะให้ผมเรียกตำราจ (ให้เลือกเอา)
You can either have soup, fruit juice or melon.
คุณเลือกเอาว่าจะเอาซุป นํ้าผลไม้ หรือแตงโม
หมายเหตุ ในกรณีที่ either… or ใช้เชื่อม subjects หรือทำทน้าที่conjunction สิ่งที่ควรจะระวังก็คือ กริยาภายในประโยคจะต้องใช้ให้สอดคล้องกับ subject ตัวที่อยู่ใกล้กับกริยามากที่สุด
ตัวอย่าง
Either Jim or Jane was responsible for mailing the letter.
จิมหรือเจนก็ได้ช่วยรับผิดชอบส่งจดหมายฉบับนี้ให้ที
Either you or I am mad.
ไม่คุณก็ผมที่บ้า
(สังเกตประโยคแรกใช้กริยา was ซึ่งสัมพันธ์กับ subject “Jane” และประโยคที่สองใช้กริยา am สัมพันธ์กับ subject “I”)
2. กรณีที่ทำหน้าที่ determiner
คำว่า determiner ในที่นี้หมายถึง คำที่วางไว้หน้า noun เช่น either day, either side, either car ฉะนั้น either เมื่อใช้ในหน้าที่ดังกล่าวนี้ก็อาจจะเรียกว่าเป็น adjective ที่ไปขยาย noun นั่นเอง โดยปกติ either เมื่อเป็น determiner หมายถึง one or the other แปลว่า “คนใดคนหนึ่ง, ด้านใดด้านหนึ่ง, วันใด วันหนึ่ง ฯลฯ” แต่บางครั้ง either อาจจะหมายถึง both แปลว่า ทั้งสองคน, ทั้งสองด้าน ฯลฯ ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้
Come on Tuesday or Wednesday. Either day is O.K.
มาวันอังคารหรือวันพุธ วันใดวันหนึ่งก็ได้
There were roses on either side of the door.
มีดอกกุหลาบอยู่ทั้งสองด้านของประตู
หมายเหตุ โปรดสังเกตประโยคแรก เราใช้ noun รูปเอกพจน์กับ either ส่วน ประโยคที่สอง ใช้ plural noun กับ both เพราะ either side หมายถึง both sides)
สิ่งที่ควรจดจำอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อ either พบ noun จะใช้ determiner อื่นด้วยอีกไม่ได้ อาทิ determiners พวก article, possessive หรือ demonstrative เช่น เราอาจจะพูดว่า
/ the room
/ my room
/ either room
แต่จะไม่ใช้
X the either room
X either my room
นอกจากนี้หลังคำ either จะตามด้วย singular และ singular verb
ตัวอย่าง
/ Either day is O.K.
X Either day are O.K.
/ Either kind of school is quite suitable.
X Either kinds of school are quite suitable.
3. กรณีที่ทำหน้าที่ pronoun
คำว่า either อาจจะใช้เป็น pronoun เลย หรือใช้ร่วมกับโครงสร้าง

either of + plural noun phrase ก็ได้
ตัวอย่าง
Do you want, whisky or brandy ?
Oh, I don’t mind. Either.
คุณจะดื่มวิสกี้หรือบรั่นดี
อะไรก็ได้ครับ
Has either of your parents visited you?
พ่อแม่ของคุณมาเยี่ยมคุณบ้างไหม
ข้อสังเกต เมื่อ either of ตามด้วย noun phrase จะต้องมี determiner ซึ่ง อาจจะเป็น possessive, demonstrative หรือ article ประกอบอยู่ด้วยเสมอ ดังนั้น เราอาจจะใช้ได้ว่า
/ either of the rooms.
/ either of my rooms.
แต่จะไม่ใช้
X either of rooms
นอกจากนี้เรายังใช้ either of + personal pronoun ได้ด้วยสำหรับคำว่า personal pronoun ก็คือสรรพนามแทนบุคคล เช่น you, them, us
ตัวอย่าง
/ Either of you could do it.
X Either you could do it.
ข้อควรจำอีกประการหนึ่งก็คือ ประโยคที่ขึ้นต้นด้วย either of ตามด้วย plural noun phrase กริยาจะใช้รูปเอกพจน์
ตัวอย่าง
/ Either of the children is quite capable of looking after the baby.
เด็กคนใดก็ได้ที่สามารถดูแลทารกได้
X Either of the children are quite capable of looking after the baby.
แต่บางครั้งเราอาจจะพบว่าในประโยคปฏิเสธ (negative sentence) เราอาจจะใช้ plural verb ได้ แต่เป็นในลักษณะที่เป็น informal style
ตัวอย่าง
I don’t think either of them are at home.
(Informal)
I don’t think either of them is at home.
(Formal)
ผมไม่คิดว่าจะมีใครอยู่บ้าน
หมายเหตุ อย่าลืมว่า เราจะใช้ plural verb ได้ก็ต่อเมื่อ either of + personal pronoun/plural noun phrase อยู่ในรูปประโยคปฏิเสธ
ต่อไปนี้จะกล่าวถึงหลักการใช้ neither
neither ออกเสียงได้ 2 อย่างคือ ไน-เทอะ หรือ นี-เทอะ คำนี้ทำหน้าที่ได้หลายอย่างคือ determiner, pronoun, conjunction, adverb
1. กรณีที่ทำทน้าที่ determiner
เมื่อ neither ทำหน้าที่ determiner จะใช้ neither + singular noun + singular verb ในกรณีดังกล่าวนี้จะไม่มี article, possessive หรือ demonstrative หลังคำว่า neither
ตัวอย่าง
Neither parent realized what was happening.
ไม่มีฟอแม่คนไหนเลยที่ตระหนักถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
Neither car is exactly what I want.
ไม่มีรถคันไหนเลยที่ตรงกับความต้องการของผม
Neither plan really suits me.
ไม่มีแผนการอัน ไหนเลยที่เหมาะสมกับผม
2. กรณีที่ทำหน้าที่ pronoun
neither อาจจะใช้ทำหน้าที่ pronoun ได้ โดยใช้โครงสร้างเป็น neither of + plural noun phrase ใน plural noun phrase จะมี determiner จำพวก article, possessive หรือ demonstrative กับ noun รูปพหูพจน์ กริยาในประโยคอาจจะเป็นรูปเอกพจน์ถ้าหากเป็น formal style หรืออาจจะเป็นรูปพหูพจน์ เมื่อเป็น informal style
ตัวอย่าง
Neither of his parents realized what was happening.
ไม่มีพ่อแม่คนไหนเลยที่ตระหนักถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
Neither of these cars is exactly what I want.
ไม่มีรถคันไหนเลยที่ตรงกับคาามต้องการของผม
Neither of my sisters are very tidy.
(Informal)
ไม่มีน้องสาวของผมคน ไหนเลยที่เรียบร้อย
นอกจาก neither of จะใช้ร่วมกับ plural noun phrase แล้ว ยังใช้ได้กับ personal pronoun เช่น neither of them, neither of us, neither of you ได้ด้วย
ตัวอย่าง
Neither of them can understand.
ไม่มีใครสักคนที่เข้าใจ
Neither of us wants to come.
ไม่มีใครในพวกเราสักคนที่อยากจะมา
นอกจากการใช้ดังกล่าวแล้ว ยังอาจจะใช้ neither ตามลำพัง ในฐานะที่เป็น pronoun
ตัวอย่าง
Which one do you want? – Neither is any good.
คุณต้องการอันไหน – ไม่มีสักอันที่ดีเลย
The unions do not want a strike, and neither do the management.
ทางสหภาพไม่ต้องการสไตร้ค์ และฝ่ายบริหารก็ไม่ต้องการเช่นกัน
จากตัวอย่าง เรื่องการใช้ neither จะพบว่ามีโครงสร้างที่จดจำง่ายๆ คือ
ประโยคปฏิเสธ neither + helping verb รูปบอกเล่า + subject
3. กรณีที่ทำหน้าที่ conjunction
ในกรณีนี้ neither จะใช้กับ nor เพื่อเชื่อม negative ideas หรือ ความคิดในเชิงปฏิเสธเข้าด้วยกัน
ตัวอย่าง
Neither James nor Virginia was at home.
ทั้งเจมส์และเวอร์จิเนียไม่อยู่ที่บ้าน
เพื่อแยกแยะให้เห็นความหมายและที่มาของประโยคดังกล่าวให้ชัดเจนขึ้น นั่นคือ ประโยคตัวอย่างดังกล่าวมาจาก
(A) James wasn’t at home.
(B) Virginia wasn’t at home.
เมื่อนำเอา (A) และ (B) มารวมกันโดยใช้ neither … nor จะได้เป็น Neither James nor Virginia was at home.
ดูตัวอย่างเพิ่มเติม
I neither smoke nor drink.
มาจาก 2 ประโยค คือ
(A) I don’t smoke.
(B) I don’t drink.
เมื่อรวม (A) กับ (B) เข้าด้วยกัน โดยใช้ neither … nor จะได้เป็น
I neither smoke nor drink.
ผมไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มสุรา
ในกรณีที่ neither … nor ใช้เชื่อม subjects กริยาภายในประโยคจะใช้ตามประธาน (subject) ตัวที่อยู่ใกล้มันมากที่สุด
ตัวอย่าง
Neither Ray nor George has finished his work.
ทั้งเรย์และจอร์จยังทำงานไม่เสร็จ
แต่ถ้าเป็นแบบ informal style เมื่อประธาน 2 ตัว ถูกเชื่อมด้วย neither … nor อาจจะใช้ plural verb ก็ได้
ตัวอย่าง
Neither James nor Virginia were at home.
ทั้งเจมส์และเวอร์จิเนียไม่อยู่บ้าน
ที่มา:รองศาสตราจารย์ทณุ  เตียวรัตนกุล

(Visited 8,968 times, 2 visits today)

[Update] หลักการใช้ Conjunction ฉบับเข้าใจง่าย | neither การใช้ – NATAVIGUIDES

เคยสงสัยไหมครับว่าเวลาเราใช้ภาษาในการสื่อสาร ไม่ว่าจะพูดหรือจะเขียน เราทำให้ประโยคแต่ละประโยคเหล่านั้นมีความสัมพันธ์สอดคล้องและเป็นใจความเดียวกันได้อย่างไร หากใครสงสัย ขอให้ยกมือขึ้นและตามผมมาเลยครับ (หรือหากไม่สงสัยก็ขอให้ตามมานะครับ แฮ่ๆ)

ไม่ว่าจะภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเองก็ตาม ล้วนแล้วแต่ต้องนำเอาคำ วลี หรือประโยคตามๆมาเรียงร้อยให้มีความสัมพันธ์กัน โดยมีคำประเภทหนึ่งทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อม ซึ่งเราเรียกว่า คำสันธาน หรือ Conjunction นั่นเองครับ

conjunction

Conjunction สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ได้ 3 กลุ่มด้วยกัน

1. Coordinating Conjunction

คือคำสันธานที่ใช้เชื่อมคำหรือประโยคสองอันเข้าด้วยกัน โดยสองข้อความที่ถูกเชื่อมนั้นจะต้องมีน้ำหนักหรือความสำคัญเท่ากันครับ เช่น and, yet, but, for, so, nor, neither, or

  • and ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นไปในทางเดียวกัน (แปลว่า และ)

เช่น  I love you and you love me too. (ฉันรักเธอ และ เธอก็รักฉัน)

  • yet และ but ใช้เชื่อมประโยคที่ขัดแย้งกัน (แปลว่า แต่)

เช่น  My brother worked hard but he did not succeed. (พี่ชายของฉันทำงานหนัก แต่ เขาก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ)

  • for ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกัน (โดย for จะแสดงเหตุ ส่วนตัวผมจะแปลว่าเพราะ)

เช่น  He went in, for the door was open. เขาเข้าไป เพราะ ประตูเปิดอยู่ (สังเกต for จะนำหน้าประโยคที่เป็นเหตุ)

  • so ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกัน (โดย so จะแสดงผล แปลว่า ดังนั้น)

เช่น  The door was open so he went in. ประตูเปิดอยู่ ดังนั้น เข้าจึงเข้าไป (สังเกต so จะนำหน้าประโยคที่เป็นผล)

  • nor และ neither ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นไปในเชิงปฏิเสธทั้งคู่ (อาจแปลได้ว่า ไม่ทั้งสองอย่าง)

เช่น  He nor I was there. เขาและฉัน ไม่ ได้อยู่ที่นี่ (มาจาก He wasn’t there and I weren’t there.)

  • or ใช้เชื่อมประโยคที่แสดงทางเลือก (แปลว่า หรือ)

เช่น  She wants to watch TV or (to) listen to some music. เธอไปดูทีวี หรือ ไปฟังเพลง ( to หน้า listen อาจละไว้ได้)

2. Subordinating Conjunction

คือคำสันธานที่ใช้เชื่อมประโยคใจความรองเข้ากับประโยคใจความหลัก เช่น after, because, if, although, before, since, that, unless, until, when, as soon as

  • after (หลังจาก)

เช่น  The girl cried after the boy left. เด็กหญิงร้องไห้ หลังจาก เด็กชายจากไป

  • because (เพราะว่า)

เช่น  The boy was absent because he was ill. เด็กชายขาดเรียน เพราะว่า เขาป่วย

  • if (ถ้าหาก)

เช่น  Stay indoors if it rains. อยู่ในร่ม ถ้าหาก ฝนตก

  • although (ถึงแม้ว่า)

เช่น  Although it was cold, I went swimming. ถึงแม้ว่า จะหนาวแต่ฉันก็จะไปว่ายน้ำ

  • before (ก่อน)

เช่น  Clean the room before I go. ทำความสะอาดห้อง ก่อน ที่ฉันจะไป

  • since (ตั้งแต่)

เช่น  He has been busy since he came. เขายุ่ง ตั้งแต่ เขามา

  • that (เพราะนั่น)

เช่น  Hold it up so that everyone can see it. ชูมันขึ้น เพราะนั่น จะทำให้ทุกคนมองเห็นมัน

  • unless (เว้นแต่)

เช่น  I’ll be there at nine, unless the train is late. ฉันจะอยู่ที่นั้นตอนเก้าโมง เว้นแต่ รถไฟจะมาสาย

  • until (จนกระทั่ง)

เช่น  They did not come until the meeting was half over. พวกเค้าไม่มา จนกระทั่ง การประชุมผ่านไปเกินกว่าครึ่ง

  • when (ในขณะที่)

เช่น  He is impatient when he is kept waiting. เขาจะหงุดหงิด ในขณะที่ เขาต้องรอ

  • as soon as (ทันทีที่)

เช่น  I’ll leave for the funeral as soon as the meeting ends. ฉันจะออกจากที่นี่เพื่อไปงานศพ ทันทีที่ ประชุมเสร็จ

3. Correlative Conjunction

คือคำสันธานที่ต้องใช้คู่กันเสมอ(มาคู่กันเหมือนแฝด) โดยจะทำหน้าที่คล้ายๆกับ Coordinating Conjunction คือเชื่อมประโยคที่มีความสำคัญเท่ากันครับ เช่น not only…..but also, either…..or,  as…..as,  so as to,  both…..and

  • not only…..but also (ไม่เท่านั้น…แต่อีกด้วย)

เช่น  Man needs not only food but also shelter. มนุษย์ไม่เพียงแต่ต้องการอาหารเท่านั้นยังต้องการที่พักอาศัยอีกด้วย

  • either…..or (ไม่….หรือ/ก็)

เช่น  You can either sleep or eat. คุณไม่ นอนหลับก็ กิน (ประมาณว่าเลือกได้ว่าจะนอนหรือจะกิน อะไรจะสบายขนาดนั้นว่าไหมครับ)

  • as…..as (เป็นการใช้เชื่อมประโยคที่แสดงอะไรที่เท่ากัน)

เช่น  She runs as fast as I do. เธอวิ่งเร็วเท่าฉัน (นำคำที่เราต้องการเปรียบเทียบใส่ไปในระหว่าง as กับ as จากตัวอย่างใส่คำว่า fast เป็นการเปรียบเทียบความเร็ว)

  • so as to (เพื่อที่จะ)

เช่น  I study hard so as to pass the exam. ฉันเรียนหนัก เพื่อที่จะ ได้สอบผ่าน (to ตามด้วยกริยาช่องที่ 1 ไม่เติม s)

  • both … and (ทั้ง…และ) 

เช่น  I enjoy both singing and dancing. ฉันมีความสุขกับการร้องเพลงและการเต้น

หากจะมานั่นไล่เรียงถึง Conjunction ทีละตัวละก็ ผมว่าเราคงต้องพูดกันจนอายุสามสิบแน่ๆครับ (แฮ่ๆ อาจจะเกินจริงไปนิด เพียงแค่ผมอยากจะบอกว่าความจริง Conjunction มีเยอะมากครับ)

เอาเป็นว่าถ้าเรารู้ว่า Conjunction คืออะไร มีกี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มใช้อย่างไร ก็น่าจะเพียงพอแล้วนะครับ ส่วนคำอื่นที่ผมไม่ได้พูดถึงถ้าเรามีโอกาสไปพบเจอก็ค่อยๆทำความรู้จักและลองนำมาใช้งานดูนะครับ

อ่านเกี่ยวกับ Grammar เพิ่มเติมได้ที่นี่


Either, Neither, Not only จำง่าย ใช้ง่าย


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

Either, Neither, Not only จำง่าย ใช้ง่าย

การใช้ either และ neither


จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้
ติดตาม Facebook และ Instagram : The Happy Time with Q
หากผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขออภัยมานะที่นี้ด้วยค่ะ 😀

การใช้ either และ neither

เก็งข้อสอบอังกฤษ both,neither,either,so,too,so do I by ดร.พี่นุ้ย Nui-English


เก็งข้อสอบอังกฤษ both,neither,either,so,too,so do I
ดร.พี่นุ้ย ดร.สมิตา หมวดทอง
โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ NuiEnglish
อักษร จุฬาฯ เกียรตินิยมอันดับ 1
ทุน ก.พ. และทุนรัฐบาลอังกฤษ
http://www.nuienglish.com
http://www.facebook.com/nuienglish

เก็งข้อสอบอังกฤษ both,neither,either,so,too,so do I by ดร.พี่นุ้ย Nui-English

ใช้คำว่า too/either/neither ที่ถูกต้องยังไง


ซื้อหนังสือและสินค้าอื่นๆ ได้ที่: https://fanclub.co.th/kellenjames
ติดตามผมได้ที่
Subscribe: https://youtube.com/c/ginfarang/?sub_confirmation=1
ไอจีส่วนตัว: https://instagram.com/ginkellen/
ไอจีสอนอังกฤษ: https://instagram/krukellen/
เพจเฟซบุ๊ก: https://facebook.com/ginfarang/
ติ๊กต็อก: https://www.tiktok.com/@krukellen

ใช้คำว่า too/either/neither ที่ถูกต้องยังไง

วิธีใช้ So Neither either too และวิธีทำข้อสอบแบบสรุปง่ายๆ


หลักการใช้ So do I. I do too. Neither do I. I don’t either. วิธีตอบการแสดงความเห็นด้วยในประโยคบอกเล่าและปฏิเสธในภาษาอังกฤษ พาทำข้อสอบ

วิธีใช้ So Neither either too และวิธีทำข้อสอบแบบสรุปง่ายๆ

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ neither การใช้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *