Skip to content
Home » [NEW] สุนทรียศาสตร์Aesthetics | คำ ที่ มี ย์ – NATAVIGUIDES

[NEW] สุนทรียศาสตร์Aesthetics | คำ ที่ มี ย์ – NATAVIGUIDES

คำ ที่ มี ย์: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้


สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) เป็นศัพท์คำใหม่ ที่บัญญัติขึ้นโดย โบมการ์เด็น (Alexander Gottieb Baumgarte) ซึ่งก่อนหน้าที่เป็นเวลา 2000 กว่าปี นักปราชญ์สมัยกรีก เช่น เพลโต อริสโตเติล กล่าวถึงแต่เรื่องความงามความสะเทือนใจ ซึ่งเป็นความรู้สึกทางการรับรู้ (Sense Perception) ของมนุษย์ ปัญหาที่พวกเขาโต้เถียงกันได้แก่ ความงามคืออะไร ค่าของความงามนั้นเป็นจริงมีอยู่โดยตัวของมันเองหรือไม่ หรือว่าค่าของความงามเป็นเพียงความข้อความที่เราใช้กับสิ่งที่เราชอบ ความงามกับสิ่งที่งามสัมพันธ์กันอย่างไร มีมาตรการตายตัวอะไรหรือไม่ที่ทำให้เราตัดสินใจได้ว่าสิ่งนั้นงามหรือไม่งาม สุนทรียศาสตร์นับว่าเป็นแขนงหนึ่งของปรัชญาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหา คุณค่า (Axiology) ในสมัยก่อนวิชานี้เป็นที่รู้จักกันในรูปของวิชา “ทฤษฎีแห่งความงาม” (Theory of Beauty)

สุนทรียศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความงามซึ่งอาจเป็นความงามในธรรมชาติหรือความงามทางศิลปะก็ได้ เพราะในผลงานทางศิลปะ เราถือว่าเป็นสิ่งที่ดีความงามอยู่ด้วย นอกจากนี้สุนทรียศาสตร์ยังศึกษาวิชาที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกของการรับรู้ความงาม วิชาที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ของคุณลักษณะของความงาม คุณค่าของความงาม และรสนิยม วิชาที่ส่งเสริมให้สอบสวนและแสวงหาหลักเกณฑ์ของความงามสากลในลักษณะของรูปธรรมที่เห็นได้ชัด รับรู้ได้และชื่นชมได้ วิชาที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ตรงของบุคคล สร้างพฤติกรรม ความพอใจโดยไม่หวังผลตอบแทนในการปฏิบัติ เป็นความรู้สึกพอใจเฉพาะตน สามารถเผื่อแผ่เสนอแนะผู้อื่นให้มีอารมณ์ร่วมรู้สึกด้วยได้ วิชาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพฤติกรรมตอบสนองของมนุษย์จากสิ่งเร้าภายนอกตามเงื่อนไขของสถานการณ์ เรื่องราวความเชื่อ และผลงานที่มนุษย์สร้าง

ความเป็นมาของสุนทรียศาสตร์

“สุนทรียศาสตร์” เป็นศัพท์คำใหม่ ที่บัญญัติขึ้นโดย โบมการ์เด็น (Alexander Gottieb Baumgarte, 2305: 255) ซึ่งก่อนหน้าที่เป็นเวลา 2000 กว่าปี นักปราชญ์สมัยกรีก เช่น เพลโต อริสโตเติล กล่าวถึงแต่เรื่องความงาม ความสะเทือนใจ ซึ่งเป็นความรู้สึกทางการรับรู้ (Sense Perception) ของมนุษย์ ปัญหาที่พวกเขาโต้เถียงกันได้แก่ ความงามคืออะไร ค่าของความงามนั้นเป็นจริงมีอยู่โดยตัวของมันเองหรือไม่ หรือว่าค่าของความงามเป็นเพียงความข้อความที่เราใช้กับสิ่งที่เราชอบ ความงามกับสิ่งที่งามสัมพันธ์กันอย่างไร มีมาตรการตายตัวอะไรหรือไม่ที่ทำให้เราตัดสินใจได้ว่าสิ่งนั้นงามหรือไม่งาม

โบมการ์เด็น มีความสนใจในปัญหาเรื่องของความงามนี้มาก เขาได้ลงมือค้นคว้ารวบรวมความรู้เกี่ยวกับความงามที่กระจัดกระจายอยู่มาไว้ในที่เดียวกัน เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความงามให้มีเนื้อหาสาระที่เข้มแข็งขึ้น แล้วตั้งชื่อวิชาเกี่ยวกับความงามหรือความรู้ที่เกี่ยวกับความรู้สึกทางการรับรู้ว่า Aesthetics

โดยบัญญัติจากรากศัพท์ภาษากรีก Aisthetics หมายถึง ความรู้สึกทางการรับรู้ หรือการรับรู้ตามความรู้สึก (Sense perception) สำหรับศัพท์บัญญัติภาษาไทย ก็คือ “สุนทรียศาสตร์” จากนั้นวิชาสุนทรียศาสตร์ ก็ได้รับความสนใจเป็นวิชาที่มีหลักการเจริญก้าวหน้าขึ้น สามารถศึกษาได้ถึงระดับปริญญาเอก ด้วยเหตุผลนี้ โบมการ์เด็น จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งสุนทรียศาสตร์สมัยใหม่ (ทวีเกียรติ ไชยยงยศ, 2538: 1)

ความหมายของคำว่าสุนทรียศาสตร์

สุนทรียศาสตร์มีผู้ให้ความหมายของคำไว้หลายท่านดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. สุนทรีศาสตร์ เป็นปรัชญาสาขาหนึ่ง ที่ว่าด้วยความงามและสิ่งที่งามทั้งในงานศิลปะและในธรรมชาติ โดยศึกษาประสบการณ์ คุณค่าความงามและมาตรฐานในการวินิจฉัยว่า อะไรงาม อะไรไม่งาม (ราชบัณฑิตยสถาน, 2532: 4)

ความงามในธรรมชาติและความงามในศิลปะ

ความงามในธรรมชาติ เป็นความงามที่ปราศจากการปรุงแต่ง เป็นความงามที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ เช่น ชมทิวทัศน์ทุ่งทานตะวัน หรือชมพระอาทิตย์อัศดงที่ภูผา เป็นต้น

ความงามในศิลปะ เกิดจากความรู้สึกภายในจิตใจ ที่อยากแสดงออกทางสุนทรียภาพจากประสบการณ์ต่างๆ และขึ้นอยู่กับการสัมผัสของแต่ละบุคคล

2. สุนทรียศาสตร์ เป็นวิชาว่าด้วยสิ่งที่สวยงามหรือไพเราะ คำว่า Aesthetics (เอ็ซเธทถิกส์) มาจากภาษากรีกว่า Aisthetikos (อีสเธทิโคส) = รู้ได้ด้วยสัมผัสสุนทรียธาตุ (Aesthetics Elements) ซึ่งมีอยู่ 3 อย่างคือ (กีรติ บุญเจือ, 2522: 263)

– ความงาม (Beauty)
– ความแปลกหูแปลกตา (Picturesqueness)
– และความน่าทึ่ง (Sublimity)

คำว่า “สุนทรียศาสตร์” มาจากศัพท์ภาษาบาลีว่า “สุนทรียะ” แปลว่าดี งาม สุนทรียศาสตร์จึงมีความหมายตามรากศัพท์ว่าวิชาที่ว่าด้วยความงาม ในความหมายของคำเดียวกันนี้ นักปราชญ์ ชาวเยอรมันชื่อ Aisthetics Baumgarten (1718 – 1762) ได้เลือกคำในภาษากรีกมาใช้คำว่า Aisthetics ซึ่งหมายถึงการรับรู้ตามความรู้สึก (Sense Perception) เป็นวิชาเกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีแห่งความงามตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Aesthetics ส่วนในภาษาไทยใช้คำว่าสุนทรียศาสตร์หรือวิชาศิลปะทั่วไป ดังนั้น จึงถือว่าศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของสุนทรียศาสตร์หรือเมื่อกล่าวถึงสุนทรียศาสตร์เมื่อใดก็มักจะเกี่ยวข้องกับงานศิลปะนั่นเอง

ความหมายของสุนทรียภาพ

“สุนทรีภาพ” (Aisthetics) หมายถึง ความซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งที่งาม ไพเราะ หรือรื่นรมย์ ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ หรือศิลปะ (พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ, 2530: 6)

“สุทรียภาพ” หรือ สุนทรีย์ เป็นความรู้สึกที่บริสุทธิ์ ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาหนึ่ง ลักษณะของอารมณ์ หรือความรู้สึกนั้นเราใช้ภาษาต่อไปนี้แทนความรู้สึกจริง ๆ ของเรา ซึ่งได้ความหมายไม่เท่าที่เรารู้สึกจริง ๆ เช่น คำตอบต่อไปนี้

– พอใจ (interested)
– ไม่พอใจ (disinterested)
– เพลิดเพลินใจ (pleause)
– ทุกข์ใจ (unpleasuse)
– กินใจ (empathy)

อารมณ์ หรือ ความรู้สึกดังกล่าวนี้จะพาให้เกิดอาการลืมตัว (Attention span) และ เผลอใจ (psychical distance) ลักษณะทั้งหมดนี้เรียกว่า สุนทรีย์ หรือสุนทรียภาพ

“สุนทรียภาพของชีวิต” คือ สุนทรียศาสตร์เชิงพฤติกรรม หรือ ประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ ซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้เพื่อการเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ สองประการ อันได้แก่ การที่เป็นผู้ที่มีความซาบซึ้งในคุณค่าของสุนทรียภาพ และมีความเข้าใจธรรมชาติของชีวิตและดำรงตนให้มีคุณค่าต่อสังคม

ประโยชน์ของวิชาสุนทรียศาสตร์

1. ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินความงามอย่างสมเหตุสมผล
2.ช่วยกล่อมกลมให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน
3.เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียะให้กว้างขวาง
4.ส่งเริมแนวทางในการแสวงหาความสุข
5. ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่ง

 

——–

สุนทรียศาสตร์

ความนำ

สุนทรียศาสตร์ เป็นสาขาของปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ในเรื่องความงาม ตลอดรวมถึงความน่าเกลียด ในภาษาฝรั่งเรียกว่าเป็นคุณค่าในเชิงนิเสธ(negative value) นอกจากนี้เรื่องของสุนทรียศาสตร์ยังเกี่ยวกข้องกับประเด็นคำถามที่ว่า คุณสมบัติ(ความงาม – ความน่าเกลียด) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในเชิง”วัตถุวิสัย”(objective) หรือเป็นเรื่องของ”อัตวิสัย”(subjective)ซึ่งมีอยู่ในใจของแต่ละบุคคลเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ วัตถุต่างๆ จึงควรที่จะได้รับการสัมผัสโดยวิธีการเฉพาะอันหนึ่ง. นอกจากนี้ สุนทรียศาสตร์ยังตั้งคำถามในเรื่องที่ว่า มันมีความแตกต่างกัน ระหว่าง”ความงาม”และ”ความสูงส่ง”(sublime)หรือไม่?

Criticism and Psychology of Art

การวิจารณ์และจิตวิทยาเกี่ยวกับศิลปะ(criticism and psychology of art) แม้จิตวิทยาจะมีระเบียบวิธีที่เป็นอิสระแตกต่างไป แต่ก็เป็นศาสตร์ที่ถูกนำมาเชื่อมโยงกับสุนทรียศาสตร์. จิตวิทยาเกี่ยวกับศิลปะเป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงกับปัจจัยต่างๆ ทางด้านศิลปะ ยกตัวอย่างเช่น การที่มนุษย์ตอบโต้และขานรับต่อสี เสียง เส้น รูปทรง หรือคำต่างๆ และเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับอารมณ์ความรู้สึก. ส่วนการวิจารณ์ศิลปะจำกัดตัวของมันเองกับผลงานศิลปะโดยเฉพาะ มีการวิเคราะห์ถึงโครงสร้าง ความหมาย และปัญหาต่างๆ ในงานศิลปะเปรียบเทียบกับผลงานชิ้นอื่นๆ และมีการประเมินคุณค่างานศิลปะ

ศัพท์คำว่า”สุนทรียศาสตร์”(Aesthetics) ถูกนำเสนอขึ้นมานับแต่ปี ค.ศ. 1753 โดยนักปรัชญาชาวเยอรมัน นามว่า Alexander Gottlieb Baumgarten โดยเขาหมายความถึงรสนิยม ความรู้สึกสัมผัสในความงาม(*), แต่การศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของความงามได้รับการดำเนินการมาหลายศตวรรษแล้ว. ในอดีตนั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวที่สนใจโดยบรรดานักปรัชญาทั้งหลาย นับแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา บรรดาศิลปินทั้งหลายได้มีส่วนช่วยเหลือสนับสนุนทัศนะของพวกเขาด้วย

Plato: Classical Theories

ทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์แรกในขอบเขตนี้เป็นของ Plato นักปรัชญากรีก ผู้ซึ่งเชื่อว่าความเป็นจริง(reality)มีอยู่ในโลกของแบบ(archetypes or forms) ที่เหนือไปจากประสาทสัมผัสของมนุษย์ ซึ่งเป็นต้นแบบต่างๆ ของสรรพสิ่งซึ่งมีอยู่ในโลกแห่งประสบการณ์ของมนุษย์ วัตถุสิ่งของต่างๆ ของประสบการณ์เป็นเพียงตัวอย่าง หรือการเลียนแบบรูปในโลกของแบบทั้งสิ้น นักปรัชญาท่านนี้พยายามให้เหตุผลสำหรับวัตถุเชิงประสบการณ์(ในโลกมนุษย์)กับความเป็นจริง(โลกของแบบ)ที่มันเลียนแบบมา บรรดาศิลปินทั้งหลายลอกแบบวัตถุเชิงประสบการณ์อีกทอดหนึ่ง หรือใช้มันในฐานะเป็นต้นแบบอันหนึ่งสำหรับงานของพวกเขา ด้วยเหตุนี้ ผลงานของบรรดาศิลปินทั้งหลายจึงเป็นการเลียนแบบของการเลียนแบบอีกทอดหนึ่ง เพื่อความเข้าใจชัดเจนขึ้นขอยกตัวอย่างต่อไปนี้

โลกของแบบ – “ม้า” (ม้าที่มีอยู่ในสมอง/ความคิดของมนุษย์)

โลกของประสบการณ์ – “ม้า” (ม้าที่เราสัมผัส รับรู้จริง – เลียนมาจากโลกของแบบ)

โลกของศิลปะ – “ม้า” (ภาพวาดม้า ที่เขียนเลียนแบบโลกของประสบการณ์)

ความคิดของ Plato นี้ปรากฏเด่นชัดในหนังสือของเขาเรื่อง the Republic(*), Plato ไปไกลมากถึงขนาดให้ขับไล่หรือเนรเทศศิลปินออกไปจากอุตมรัฐซึ่งเป็นสังคมในอุดมคติของเขา ทั้งนี้เพราะเขาคิดว่า ผลงานของศิลปินเหล่านั้นกระตุ้นและสนับสนุนความไร้ศีลธรรม และผลงานประพันธ์ทางด้านดนตรีบางอย่าง เป็นมูลเหตุให้เกิดความขี้เกียจ หรือด้วยการเสพงานศิลปะ ผู้คนอาจถูกยุยงให้เกิดการกระทำเลยเถิดเกินกว่าจะยอมรับได้ไป (immoderate actions)

ศิลปะคือการเลียนแบบในทัศนะของอริสโตเติล

อริสโตเติล (Aristotle) ได้พูดถึงเรื่อง “ศิลปะคือการเลียนแบบ” เอาไว้ด้วยเช่นกัน แต่ไม่ใช่ในความหมายอย่างเดียวกันกับเพลโต (Plato) ใครคนหนึ่งสามารถที่จะเลียนแบบ “สิ่งต่างๆ ได้อย่างที่พวกมันควรจะเป็น และ “บางส่วน ศิลปะได้สร้างความสมบูรณ์ในสิ่งที่ธรรมชาติไม่สามารถนำมาซึ่งความสมบูรณ์แบบได้” (art party completes what nature can not bring to a finish) ศิลปินได้แยกแยะรูปทรงออกมาจากสสารของวัตถุบางอย่างของประสบการณ์ ตัวอย่างเช่น ร่างกายของมนุษย์หรือต้นไม้จริงบนโลก และจัดการกับรูปทรงอันนั้นในสสารอีกอย่างหนึ่ง อย่างเช่น เขียนหรือวาดมันลงบนผืนผ้าใบหรือสลักขึ้นมาจากแท่งหินอ่อน ด้วยเหตุนี้ การเลียนแบบจึงมิใช่เพียงแค่การลอกเลียนต้นแบบอันหนึ่งเท่านั้น และไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นสัญลักษณ์มาจากของเดิม แต่เป็นสิ่งที่ปรากฏซึ่งมีลักษณะเฉาพะ มีแง่มุมอันหนึ่งของสิ่งต่างๆ และผลงานศิลปะแต่ละชิ้นคือการเลียบแบบมาจากสิ่งสากลหรือทั่วๆ ไป

สุนทรียศาสตร์กับศีลธรรมและการเมือง

สุนทรียศาสตร์ ไม่อาจแยกออกได้จากเรื่องของศีลธรรมและการเมืองสำหรับในทัศนะของ Aristotle และ Plato. Plato ได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องของดนตรีเอาไว้ในหนังสือ Politics ของเขา โดยยืนยันว่า “ศิลปะมีผลกระทบต่อบุคลิกภาพหรืออัตลักษณ์ของมนุษย์ และเนื่องจากเหตุนี้ จึงต้องมีกฏเกณฑ์ทางสังคม” ส่วน Aristotle นั้นถือว่า ความสุขคือเป้าหมายของชีวิต (happiness is the aim of life) เขาเชื่อว่าหน้าที่หลักของศิลปะก็คือ การจัดเตรียมความพึงพอใจให้กับมนุษย์

ในหนังสือเรื่อง Poetics เป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่เกี่ยวกับหลักการละครของ Aristotle. เขาอ้างเหตุผลว่า ละครโศกนาฏกรรมมีส่วนกระตุ้นเร้าอารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับความสงสารและความกลัวได้มาก ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวและไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อถึงตอนจบของละคร ผู้ดูจะได้รับการฟอกชำระเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ การระบายอารมณ์ของผู้ชมด้วยผลงานศิลปะ(catharsis)(*)อันนี้ ทำให้ผู้ชมละครมีสุขภาพดีขึ้นและด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้มีความสามารถมากขึ้นเกี่ยวกับความสุข

การละครในสมัย Neoclassic นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้รับอิทธิพลจากงานเขียนเรื่อง Poeties ของ Aristotle อย่างมาก ผลงานต่างๆ ของนักการละครชาวฝรั่งเศส Jean Baptiste Racine, Pierre Corneille และ Moliere นักการละครเหล่านี้ ได้ให้การสนับสนุนหลักการเกี่ยวกับเอกภาพทั้งสาม นั่นคือ เวลา(time) สถานที่(place) และการกระทำ(action) แนวความคิดนี้ได้ครอบงำทฤษฎีต่างๆ ทางวรรณกรรมมาจนกระทั่งมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19

Other Early Approaches

ปรัชญาเมธีในคริสตศตวรรษที่ 3 นามว่า Plotinus (AD 204-270) (*) เกิด ณ ประเทศอียิปต์และได้รับการฝึกฝนทางด้านปรัชญา ณ เมือง Alexandria ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นนักปรัชญานีโอเพลโตนิสท์(Neoplatonist) แต่เขาได้ให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องของศิลปะยิ่งกว่า Plato ได้กระทำ (กล่าวคือเพลโตมีทัศนะคติในแง่ลบต่องานศิลปะ). ในทัศนะของ Plotinus ศิลปะเปิดเผยถึงรูปทรงของวัตถุชิ้นหนึ่งให้ชัดเจนขึ้นเกินกว่าประสบการณ์ตามปกติ และมันได้ยกเอาจิตวิญญาณไปสู่การพิจารณาใคร่ครวญเกี่ยวกับสากลภาพ. ตามความคิดของ Plotinus ช่วงขณะที่สูงสุดของชีวิตคือสิ่งที่ลึกลับ กล่าวได้ว่า วิญญาณได้รับการรวมตัวเป็นหนึ่งในโลกของแบบกับพระผู้เป็นเจ้า ซึ่ง Plotinus พูดถึงสิ่งนี้ว่าเป็น “the one” ในภาวะนั้น ประสบการณ์ทางสุนทรีย์(aesthetic experience)ได้เข้ามาใกล้กับประสบการณ์อันลึกลับ(mystical experience). สำหรับคนๆ หนึ่ง ในช่วงเวลาดังกล่าว ขณะที่พิจารณาไตร่ตรองถึงวัตถุทางสุนทรีย์อยู่นั้น เขาได้สูญเสียตัวของเขาเองไปหรือหลงลืมตัวตนจนสิ้น

ศิลปะในช่วงยุคกลาง แรกเริ่มเดิมทีเป็นการแสดงออกอันหนึ่งซึ่งเกี่ยวพันกับศาสนาคริสต์ หลักการทางสุนทรีย์มีรากฐานส่วนใหญ่อยู่ในลัทธิ Neoplatonism และต่อมาในช่วงระหว่างสมัยเรอเนสซองค์ราวคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 ศิลปะได้เริ่มกลายมาเป็นเรื่องของทางโลกมากขึ้น และสุนทรียศาสตร์ของมันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับยุคคลาสสิค(กรีก) ยิ่งกว่าสุนทรียศาสตร์เชิงศาสนา. สำหรับโลกสมัยใหม่ แรงผลักดันอันยิ่งใหญ่ต่อความคิดทางสุนทรีย์ในโลกสมัยใหม่ ถือกำเนิดขึ้นในเยอรมนีในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักวิจารณ์ชาวเยอรมัน Gotthold Ephraim Lessing ในงานเขียนเรื่อง Laokoon (1766) ของเขา ได้ให้เหตุผลว่า ศิลปะมีข้อจำกัดในตัวเองและได้มาถึงจุดสูงสุดของมันเมื่อข้อจำกัดเหล่านี้ได้รับการยอมรับ

นักวิจารณ์และนักโบราณคดีคลาสสิค(กรีก)ชาวเยอรมัน Johann Joachim Winckelmann ยืนยันว่า ตามความคิดเห็นของชนชาวกรีกโบราณ ผลงานศิลปะที่เยี่ยมยอดที่สุดเป็นเรื่องไม่เกี่ยวกับตัวตน ไม่เป็นเรื่องบุคคล หรือไม่เป็นเรื่องส่วนตัว(impersonal) สัดส่วนในเรื่องของการแสดงออกทางด้านอุดมคติและความสมดุลนั้น เกินไปกว่าเรื่องของปัจเจกชนซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์มันขึ้นมา. นักปรัชญาชาวเยอรมันอีกคนหนึ่ง Johann Gottlieb Fichte พิจารณาว่า ความงามเป็นคุณความดีทางศีลธรรม ศิลปินสร้างสรรค์โลกขึ้นมาใบหนึ่งซึ่งมีความงดงามซึ่งมีคุณค่าเท่ากันกับความจริง นั่นเป็นจุดหมายอันหนึ่ง อันเป็นนิมิตหมายล่วงหน้าว่าอิสรภาพอันสมบูรณ์คือสิ่งซึ่งเป็นเป้าหมายเกี่ยวกับเจตจำนงของมนุษย์. สำหรับ Fichte ศิลปะเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล มิใช่เรื่องของสังคม แต่มันทำให้จุดประสงค์ของมนุษย์อันยิ่งใหญ่บรรลุผลสมบูรณ์ได้

Modern Aesthetics

ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ปรัชญาเมธีชาวเยอรมันผู้หนึ่ง Immanuel Kant ได้ถูกนำมาเกี่ยวข้องกับเรื่องของการตัดสินทางด้านรสนิยม เขาเสนอว่า วัตถุทั้งหลายได้รับการตัดสินว่างดงาม ขณะที่พวกมันทำให้ความปรารถนาที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ได้รับความพึงพอใจ หมายความว่า การไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ส่วนตัวหรือความต้องการที่เป็นส่วนตัว

วัตถุที่มีความงามมิได้มีวัตถุประสงค์ใดๆ โดยเฉพาะ และการตัดสินเกี่ยวกับเรื่องของความงามนั้น ไม่ได้เป็นการแสดงออกของความชอบที่เป็นส่วนตัวเท่านั้น แต่มันเป็นภาวะที่เป็นสากล(beautiful objects have no specific purpose and that judgement of beauty are not expressions of mere personal preference but are universal) ศิลปะควรที่จะให้ความพึงพอใจที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลปะโยชน์ เช่นเดียวกับความงามของธรรมชาติ (Art should give the same disinterested satisfaction as natural beauty). ในเชิงประติทรรศน์ ศิลปะสามารถที่จะบรรลุถึงผลสำเร็จอันหนึ่งซึ่งธรรมชาติไม่อาจบรรลุถึงได้ มันสามารถให้ภาพของความน่าเกลียดและความงามในวัตถุหนึ่งเดียว กล่าวคือ งานจิตรกรรมที่ประณีตสามารถที่จะแสดงถึงใบหน้าที่น่าเกลียดที่ยังคงมีความงดงามได้

G.W.F.Hegel: ตามความคิดของนักปรัชญาชาวเยอรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 G.W.F.Hegel ศิลปะ ศาสนา และปรัชญา คือรากฐานต่างๆ ของพัฒนาการทางด้านจิตวิญญาณอันสูงสุด ความงามในธรรมชาติคือทุกสิ่งทุกอย่างที่จิตวิญญาณของมนุษย์ได้ค้นพบความพึงพอใจ และเป็นที่ถูกใจต่อการฝึกฝนของจิตวิญญาณและอิสรภาพของสติปัญญา บางสิ่งบางอย่างในธรรมชาติสามารถถูกทำให้เป็นที่ถูกใจมากขึ้นและพึงพอใจมากขึ้น และมันเป็นวัตถุทางธรรมชาติต่างๆ เหล่านี้ที่ถูกยอมรับโดยศิลปะต่อความต้องการความพึงพอใจต่างๆ ทางสุนทรีย์

Arthur Schopenhauer: นักปรัชญาชาวเยอรมัน Arthur Schopenhauer เชื่อว่า รูปทรงต่างๆ หรือแบบของสากลภาพนั้น(forms of the universe) เหมือนกับ “แบบ” อันเป็นนิรันดร์กาลของเพลโต (eternal Platonic forms) มันมีอยู่เหนือไปจากโลกของประสบการณ์ และความพึงพอใจทางสุนทรีย์จะถูกทำให้บรรลุถึงได้โดยการพิจารณาไตร่ตรองมันด้วยเป้าหมายของตัวมันเอง อันเป็นวิธีการอันหนึ่งของหลบเลี่ยงไปจากโลกของความเจ็บปวดของประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน. ทั้ง Fichte, Kant, และ Hegel ต่างก็อยู่ในเส้นทางสายตรงของพัฒนาการ ส่วน Schopenhauer โจมตี Hegel แต่ก็ได้รับอิทธิพลจากทัศนะของ Kant ในเรื่องเกี่ยวกับการพิจารณาไตร่ตรองโดยไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์

Friedrich Nietzsche: ปรัชญาเมธีชาวเยอรมันอีกผู้หนึ่ง Friedrich Nietzsche ในช่วงแรกได้ติดตามความคิดของ Schopenhauer แต่ถัดจากนั้น เขาเริ่มแสดงความไม่เห็นด้วยกับ Schopenhauer. Nietzsche เห็นพ้องว่าชีวิตเป็นเรื่องของความโศกสลด แต่มิได้หมายความว่าต้องขจัดเรื่องความโศกสลดทิ้งไป โดยให้การรับรองความรื่นเริง การทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นจริงอย่างเต็มเปี่ยมคือศิลปะ ศิลปะเผชิญหน้ากับความน่ากลัวของสากลภาพ และด้วยเหตุดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องของคนที่เข้มแข็งเท่านั้น ศิลปะสามารถที่จะแปรเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ สู่ความงามได้ และโดยการเปลี่ยนแปลงความน่าหวั่นหวาดที่กระทำลงไปในหนทางนั้น มันอาจได้รับการพิจารณาไตร่ตรองด้วยความเพลิดเพลิน

ถึงแม้ว่า”สุนทรียศาสตร์สมัยใหม่”เป็นจำนวนมาก ได้รับการหยั่งรากอยู่ในความคิดของนักปรัชญาชาวเยอรมัน แต่ความคิดของนักปรัชญาชาวเยอรมันก็ให้ความเคารพต่ออิทธิพลทางความคิดของชาวตะวันตกอื่นๆ อย่างน้อย ผู้ก่อตั้งลัทธิโรแมนติคเยอรมันคนหนึ่ง ก็ได้รับอิทธิพลมาจากงานเขียนต่างๆ ทางสุนทรีย์ของรัฐบุรุษชาวอังกฤษ อย่าง Edmund Burke

Aesthetics and Art

สุนทรียศาสตร์แนวประเพณีนิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 ได้ถูกครอบงำแนวความคิดเกี่ยวกับศิลปะที่ว่า ศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาติ บรรดานักเขียนนวนิยายทั้งหลาย อย่างเช่น Jane Austen และ Charles Dickens ในอังกฤษ และนักเขียนบทละครอย่างเช่น Carlo Goldoni ในอิตาลี และ Alexandre Dumas Fils (ลูกชายของ Alexandre Dumas pere) ในฝรั่งเศส ได้นำเสนอเรื่องราวสัจจนิยมเกี่ยวกับชนชั้นกลาง. บรรดาจิตรกรทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นพวกทำงานในแนว Neoclassical อย่างเช่น Jean Auguste Dominique Ingres, หรือที่ทำงานในแนวทาง Romantic, อย่างเช่น Eugene Delacroix, หรือพวก realist อย่างเช่น Gustave Courbet ได้ทำงานตามแนวทางของพวกเขาด้วยความเอาใจใส่และระมัดระวังในรายละเอียดที่เหมือนกับชีวิตจริง

ในสุนทรียศาสตร์แนวประเพณีนิยม มักจะได้รับการทึกทักอยู่บ่อยว่า วัตถุทางศิปะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เช่นเดียวกันกับสิ่งที่สวยงาม ผลงานจิตรกรรมต่างๆ อาจจะเป็นการำลึกถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ หรือเป็นสิ่งกระตุ้นทางด้านศีลธรรม, ดนตรีอาจให้แรงดลใจต่อความเลื่อมใสศรัทธาหรือความรักชาติ, การละคร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในมือของ Dumas และนักเขียนบทละครชาวนอร์เวย์ Henrik Ibsen อาจรับใช้การวิพากษ์วิจารณ์สังคมและน้อมนำไปสู่การปฏิรูปทางสังคมอันยิ่งใหญ่

แต่อย่างไรก็ตาม ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 แนวความคิดแบบ avant-garde ที่มีความคิดล้ำหน้าทางสุนทรียศาสตร์เริ่มต้นท้าทายต่อทัศนะในแบบประเพณีนิยม โดยเฉพาะความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีหลักฐานอยู่ในงานด้านจิตรกรรมฝรั่งเศส. บรรดาจิตรกรฝรั่งเศสแนวอิมเพรสชันนิสท์ หรือ French immpressionists หลายคน อย่างเช่น Claude Monet ได้ตำหนิประณามบรรดาจิตรกรแนวแบบแผนนิยม หรือพวก academic สำหรับการเขียนรูปสิ่งที่พวกเขาคิด. พวกเขาควรจะเห็นมากกว่าสิ่งที่พวกเขาเห็นจริงๆ (they should see rather than what they actually saw) – นั่นคือ ผิวหน้าต่างๆ จำนวนมากมายและรูปทรงต่างๆ ที่ผันแปร อันมีมูลเหตุมาจากการละเล่นที่บิดเบือนไปมาของแสงและเงา ในขณะที่ดวงอาวทิตย์เคลื่อนที่ไป

ในช่วงปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 บรรดาจิตรกร Post-Impressionists หลายคน อย่างเช่น Paul Cezanne, Paul Gauguin, และ Vincent van Gogh ต่างก็ถูกนำเข้ามาพัวพันกับโครงสร้างของงานจิตรกรรมอันหนึ่ง โดยการแสดงออกทางจิตวิญญาณของพวกเขายิ่งกว่าด้วยวัตถุที่ปรากฏแก่สายตาในโลกธรรมชาติ. ในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความสนใจในโครงสร้างอันนี้ได้รับการพัฒนายิ่งๆ ขึ้น โดยบรรดาจิตรกร cubist อย่างเช่น Pablo Picasso และการเกี่ยวพันกับศิลปิน Expressionists ที่ได้รับการสะท้อนถ่ายอยู่ในงานของ Henri Matisse และศิลปินในแนว Fauves คนอื่นๆ และจากภาพเขียนของบรรดาจิตรกรในแนว expressionism อาจพบเห็นได้ในบทละครของ August Strindberg นักเขียนบทละครชาวสวีเดน และ Frank Wedekind นักเขียนบทละครชาวเยอรมัน

ใกล้เคียงและเกี่ยวโยงกับวิธีการแบบ non-representstional approaches หรือ “นามธรรมศิลปะ” คือหลักการเกี่ยวกับ “ศิลปะเพื่อศิลปะ”(art for art’ s sake) ซึ่งได้สืบทอดมาจากทัศนะของ Kant ที่ว่า “ศิลปะมีเหตุผลสำหรับการดำรงอยู่ของตัวมันเอง”(Art has its own reason for being) วลีดังกล่าวนี้ได้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยปรัชญาเมธีชาวฝรั่งเศส Victor Cousin ในปี ค.ศ. 1818 หลักการนี้บางครั้งเรียกว่าลัทธิสุนทรียศาสตร์(aestheticism) (*) ซึ่งได้รับการสนับสนุนในอังกฤษโดยนักวิจารณ์อย่าง Water Horation Pater โดยบรรดาจิตรกร Pre-Raphaelite (จิตรกรอังกฤษกลุ่มหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งสนใจกับเรื่องราวจากประวัติศาสตร์ในยุคกลาง ปกรณัมแบบโรแมนติค และคติชาวบ้าน) และโดยจิตรกรชาวอเมริกันที่อพยพไปอยู่ต่างประเทศ James ABBott Mcneil Whistler. ในประเทศฝรั่งเศส มีขัอบัญญัติทางด้านความเชื่อของกวีในแนว symbolist อย่างเช่น Charles Baudelaire. อาจกล่าวได้ว่า “ศิลปะเพื่อศิลปะ” หลักการอันนี้ ได้อยู่ข้างใต้หรือทำหน้าที่รองรับศิลปะ avant-garde ของตะวันตกมากที่สุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20

Major Contemporary Influences

อิทธิพลทางความคิดร่วมสมัยที่สำคัญ: นักปรัชญา 4 คนในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นับว่ามีอิทธิพลในช่วงแรกของสุนทรียศาสตร์ทุกวันนี้

Henri Bergson: เริ่มจากฝรั่งเศส Henri Bergson นิยามวิทยาศาสตร์ว่าเป็นประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องของสติปัญญาในการสร้างสรรค์ระบบอันหนึ่งของสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งอธิบายความเป็นจริงที่เชื่อกันโดยทั่วไป แต่อันที่จริงกลับเป็นเท็จ แต่อย่างไรก็ตาม ศิลปะได้รับการวางรากฐานอยู่บนสหัชญาน(intuition) ซึ่งเป็นการหยั่งรู้ความจริงโดยตรงซึ่งไม่ผ่านกระบวนการของเหตุผลหรือผ่านสื่อกลางทางความคิด ดังนั้น ศิลปะจึงตัดผ่านสัญลักษณ์ตามขนบประเพณีและความเชื่อต่างๆ เกี่ยวกับผู้คน ชีวิต และสังคม และเผชิญหน้ากับความเป็นจริงโดยตัวของมันเอง

Benedetto Croce: ในอิตาลี นักปรัชญาและนักประวัติศาสตร์ Benedetto Croce ได้ให้การยกย่องเรื่องของสหัชญานนี้ด้วยเช่นกัน แต่เขาได้พิจารณามันเป็นเรื่องของการรับรู้โดยทันทีเกี่ยวกับวัตถุชิ้นหนึ่ง ซึ่งด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้วัตถุชิ้นนั้นปรากฏเป็นรูปทรงขึ้นมา มันเป็นการหยั่งรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ก่อนที่ใครคนหนึ่งจะสะท้อนภาพเกี่ยวกับมันออกมา ผลงานศิลปะต่างๆ คือการแสดงออก เป็นรูปทรงที่เป็นวัตถุของสหัชญานอันนั้น แต่ความงามและความน่าเกลียดมิใช่คุณสมบัติของผลงานศิลปะ แต่มันเป็นคุณสมบัติต่างๆ ของจิตวิญญาณที่แสดงออกในลักษณะของสหัชญานในงานศิลปะเหล่านี้

Geoge Santayana: ปรัชญาเมธีและกวีชาวอเมริกัน Geoge Santayana ให้เหตุผลว่า เมื่อใครคนหนึ่งรู้สึกพึงพอใจต่อสิ่งๆ หนึ่ง ความพึงพอใจนั้นอาจได้รับการถือว่าเป็นคุณสมบัติของสิ่งนั้นในตัวมันเอง(เป็นวัตถุวิสัย – objective) ยิ่งกว่าที่จะเป็นการขานรับต่อวัตถุสิ่งนั้นในเชิงอัตวิสัย(subjective) เทียบกันกับที่ใครคนหนึ่งอาจจะอธิบายลักษณะการกระทำของมนุษย์บางคนว่าเป็นสิ่งที่ดีในตัวมันเอง แทนที่จะเรียกว่ามันดีเพราะใครคนหนึ่งเห็นพ้องหรือยอมรับมัน ดังนั้นเมื่อใครสักคนพูดว่า วัตถุชิ้นนั้นเป็นสิ่งสวยงาม ไม่ใช่เพียงว่ามันเป็นความปลื้มปิติทางสุนทรีย์ของคนๆ นั้นในสีสรรและรูปทรงของมันที่โน้มนำให้เขาเรียกมันว่าสิ่งสวยงาม แต่เป็นเพราะวัตถุชิ้นนั้นมันมีความงามในตัวของมันเอง

John Dewey: นักการศึกษาและนักปรัชญาชาวอเมริกัน มองว่าประสบการณ์ของมนุษย์เป็นสิ่งตัดขาด เป็นเศษชิ้นส่วน เต็มไปด้วยการเริ่มต้นโดยปราศจากข้อสรุปใดๆ หรือเป็นประสบการณ์ต่างๆ ที่มีการยักย้ายเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมอย่างจงใจ ในฐานะที่เป็นวิธีการไปสู่เป้าหมาย ประสบการณ์ที่เป็นข้อยกเว้นเหล่านั้นซึ่งไหลเลื่อนจากจุดเริ่มต้นต่างๆ ของมันไปสู่ความสมบูรณ์ต่างๆ คือสุนทรียะ ประสบการณ์ทางสุนทรีย์คือความเพลิดเพลินสำหรับจุดหมายของตัวมันเอง เป็นสิ่งสมบูรณ์และมีส่วนประกอบในตัวเองพร้อมมูล และเป็นบทสรุปโดยตัวมันเอง มิใช่เพียวเครื่องมือที่นำพาไปสู่จุดหมายอื่น(Aesthetic experience is enjoyment for its owm sake, is complete and self-contained, and is terminal, not merely instrumental to other purposes)

Marxism and Freudianism

ขบวนการเคลื่อนไหวที่มีพลัง 2 ขบวนการในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ Marxism และ Freudianism. Marxism เคลื่อนไหวในขอบเขตของเศรษฐศาสตร์และการเมือง ส่วน Freudianism เคลื่อนไหวในด้านจิตวิทยา ซึ่งทั้งสองขบวนการทางความคิด ปฏิเสธหลักการเกี่ยวกับ”ศิลปะเพื่อศิลปะ” และได้ยืนยันอีกครั้งถึงประโยชน์ในทางปฏิบัติของศิลปะ. ลัทธิ Marxism มองศิลปะในฐานะที่เป็นการแสดงออกของความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีรากฐานทางเศรษฐกิจ บรรดาผู้ให้การสันบสุนน Marxism ยืนยันว่าศิลปะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งที่ก้าวหน้า ต่อเมื่อมันให้การสนับสนุนมูลเหตุของสังคมภายใต้สิงซึ่งมันได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

Sigmund Freud เชื่อว่า คุณค่าของศิลปะนั้นดำรงอยู่ที่การใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการบำบัด(the value of art to lie in its therapeutic use): โดยวิธีการอันนี้ ทั้งศิลปินและสาธารณชนสามารถที่จะเปิดเผยความขัดแย้งต่างๆ ที่ซ่อนเร้นและความตึงเครียดให้ได้รับการระบายออกมา ความเพ้อฝันต่างๆ และฝันกลางวัน(famtasies and daydreams) ที่มีอยู่ในงานศิลปะ ได้ถูกแปรมาจากการหลบเลี่ยงจากชีวิตเข้าไปสู่หนทางต่างๆ ของการสร้างภาพ. ในการเคลื่อนไหวทางศิลปะของพวก surrealist ในงานจิตรกรรมและกวีนิพนธ์ จิตไร้สำนึกต่างๆ ได้ถูกนำมาใช้เป็นต้นกำเนิดของสาระและเทคนิค. กระแสธารแห่งความสำนึกที่เด่นชัดในเรื่องที่แต่งขึ้นอย่างนวนิยายต่างๆ ของนักเขียนชาวไอริช James Joyce เป็นสิ่งที่ไม่เพียงได้รับการสืบทอดมาจากผลงานของ Freud เท่านั้น แต่บางส่วนได้สืบทอดมาจาก The Principles of Psychology(1890) โดยนักปรัชญาและจิตวิทยาชาวอเมริกัน William James และบางส่วนได้นำมาจากนวนิยายฝรั่งเศส We’ll to the Woods No More(1887) โดย Edouard Dujardin.

Existentialism

นักปรัชญาและนักเขียนชาวฝรั่งเศส Jean paul Sartre ได้ให้การสนับสนุนรูปแบบอันหนึ่งของลัทธิ Existentialism ในแนวคิดนี้ได้มองศิลปะว่าเป็นการแสดงออกอันหนึ่งเกี่ยวกับอิสรภาพของปัจเจกบุคคลที่จะเลือก และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบของพวกเขาสำหรับการเลือกนั้น การไร้ซึ่งความหวัง เป็นส่งที่ถูกสะท้อนอยู่ในงานศิลปะ แต่มิใช่การสิ้นสุด อันที่จริงมันคือจุดเริ่มต้น ทั้งนี้เพราะมันได้ไปทำลายความรู้สึกผิดและปลดเปลื้องเราจากสิ่งซึ่งเป็นความทุกข์ปกติของมนุษย์ ดังนั้นมันจึงเป็นการเปิดทางให้กับอิสรภาพที่แท้จริง

Academic Controversies

การโต้แย้งต่างๆ ทางวิชาการของคริสตศตวรรษที่ 20 ได้หมุนไปรอบๆ เรื่องราวเกี่ยวกับความหมายของศิลปะ นักวิจารณ์และนักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงความหมายของภาษาและตรรกะ(sementicist) ชาวอังกฤษ I.A.Richards อ้างว่า ศิลปะคือภาษาอันหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่นำพาหรือถ่ายทอดความคิดและข้อมูลออกมา ตลอดรวมถึงอารมณ์ความรู้สึกอันหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่แสดงออก ปลุกเร้า และสร้างความตื่นเต้นแก่ความรู้สึก และในทัศนะของเขา ถือว่า ศิลปะเป็นภาษาทางอารมณ์ ซึ่งมีระเบียบกฏเกณฑ์และความเชื่อมโยงกับประสบการณ์และทัศนะคติต่างๆ แต่ไม่ได้บรรจุความหมายทางสัญลักษณ์ใดๆ

ผลงานของ Richards เป็นสิ่งสำคัญสำหรับประโยชน์ทางเทคนิคด้านจิตวิทยาด้วย ในการศึกษาปฏิกิริยาทางสุนทรีย์เรื่อง Practical Criticism(1929) เขาได้อธิบายการทดลองต่างๆ ซึ่งเผยให้รู้ว่าคนที่มีการศึกษาสูง ต่างถูกกำหนดโดยการศึกษาของพวกเขา โดยการถ่ายทอดความคิดเห็น และโดยผ่านองค์ประกอบทางสังคมและสถานการณ์ต่างๆ ในการตอบโต้ทางสุนทรีย์ของพวกเขา. ส่วนนักเขียนคนอื่นๆ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบต่างๆ ที่มาจากเงื่อนไขของขนบจารีต แฟชั่น ความนิยมและความกดดันทางสังคมต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 18 บทละครของ William Shakespears ได้ถูกมองว่าเป็นศิลปะอนารยชนและศิลปะแบบกอธิค (เป็นคำที่ค่อนไปในเชิงดูถูก) ที่แพร่หลายดาษๆ ทั่วไป

ความสนใจที่เพิ่มมากขึ้นในเรื่องสุนทรียศาสตร์ ได้ปรากฏออกมาในรูปของนิตยสารที่ออกตามกำหนดเวลา อย่างเช่น Journal of Aesthetics and Art Criticism, ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1941; และ Revue d’ Esthetique, ก่อตั้งขึ้นในประเทศฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1948; และนิตยสาร British Journal of Aesthetics ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1960

_________________________________

Aesthetics: ความเรียงของ Arthur C. Danto เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปล
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
“Aesthetics” Microsoft® Encarta. Multimedia / Encyclopedia
1994 (CD-ROM). เรียบเรียงเมื่อวันที่ 15-25 10 38

Share this:

Like this:

Like

Loading…

[NEW] | คำ ที่ มี ย์ – NATAVIGUIDES


Girl, Wash Your Face: Stop Believing the Lies About Who You Are so You Can Become Who You Were Meant to Be

Rachel Hollis

(3.5/5)

Free



SPRITE x GUYGEEGEE – ทน (Prod. by MOSSHU) OFFICIAL MV


Prod. by MOSSHU
Executive Producer : NINO
Lyrics : SPRITE x GUYGEEGEE
Mix : NINO \u0026 MOSSHU
Master : Henry Watkins
Studio : NINO TRAP HOUSE STUDIO
Director: Jediiano
Editor : Jediiano
DOP: Aongkai
Executive Producer: NINO
Producer: Hannah J. Pischedda
Art Director: Parida Roongruang
Stylist: Unisa K. \u0026 Parida Roongruang
Editor: Jediiano
Focus Puller: Phasu Boonpupiphat
Colorist: Icesmith
Camera crew: Camera Corner
Location: Pattaya, Yin Yom Beach
Still Photography: Keaidkumchai Tongpai
Staring: NINO, SEEDA THE VILLAIN, Phattanitporn Baramee
Special thanks: Vee’s Beach Shop
สามารถฟังเพลง \”ทน\” ได้แล้ววันนี้ทุก Streaming Platform
https://HYPETRAIN.lnk.to/TonID

LYRICS
(SPRITE)
พี่ไม่มี Louis Vuitton
มีแต่หนี้ก้อนโต
นวลน้องคงน้ำตานอง
เพราะต้องช่วยพี่ออกค่าคอนโด
อยู่กับพี่น่ะมันลำบากนะ หรือว่าน้องจะทน
อยู่กับพี่ลำบากนะหรือว่าน้องจะทน
(GUY)
ก็พี่ไม่มี Balen
เเถมค่ารถพี่ส่งไม่ทัน
กระเป๋าของพี่ Dior เเต่ตัวพี่นะไม่มีตังค์
อยู่กับพี่น่ะมันลำบากนะ
หรือว่าน้องจะทน
อยู่กับพี่ลำบากนะ
หรือว่าน้องจะทน
(GUY)
วัน ๆ พี่เอาเเต่เติมเงินทงเงินทองพี่ก็ไม่หานะ
เธอบอกมันดูไม่ดี เธอชอบคนที่มันมีฐานะ
กูกะจะไปหาตังอยู่เเล้ว อยู่ดี ๆ (ดูดิ๊) เพื่อนโทรมาหา
อ้าวเห้ย กูไปดีกว่า เห้ยกูไปดีกว่า
ตัวเธอไม่ชอบที่เราไม่ทำอะไรเลยนอกจากเติม
ไม่พาเธอไปชมที่ใหม่ ๆ วนอยู่เก่า ๆ เดิม ๆ
ไอ้หนุ่มรูปหล่อสปอร์ตคันใหม่ถูกใจเธอไปเลยเชิญ
เผอิญมีนัด น้องกิฟ น้องนุ๊ก น้องพลอยคืนนี้อะดิมีเพลิน
เพลิน เพลิน เพลิน x1
เพลิน x7
(SPRITE)
พี่ไม่มี Louis Vuitton
มีแต่หนี้ก้อนโต
นวลน้องคงน้ำตานอง
เพราะต้องช่วยพี่ออกค่าคอนโด
อยู่กับพี่น่ะมันลำบากนะ หรือว่าน้องจะทน
อยู่กับพี่ลำบากน่ะหรือว่าน้องจะทน
(GUY)
ก็พี่ไม่มี Balen
เเถมค่ารถพี่ส่งไม่ทัน
กระเป๋าของพี่ Dior เเต่ตัวพี่น่ะไม่มีตังค์
อยู่กับพี่น่ะมันลำบากนะ
หรือว่าน้องจะทน
อยู่กับพี่ลำบากนะ
หรือว่าน้องจะทน
(SPRITE)
หกโมงเช้าพระมาพี่ยังไม่ตื่น ๆ
นั่งชิวกับพี่กายเเต่ไม่ได้ดื่ม ๆ
พี่กายเขาเพ้อถึงรักเก่านั่งโศกเศร้าอยู่เมื่อคืน
รักเรานี่เเสนอาภัพเพียงเพราะว่าเราไม่มีเงินหมื่น
หมื่น 1 หมื่น 2 หมื่น 3 หมื่น 4 หมื่น 5 หมื่น 6 หมื่น 7
เอ้ยลืมไปนี่ว่าต้องคืนตังค์พี่โน่หมื่น 8
ใครบอกใครเตือนอะไรใครพูดอะไรพี่ก็ไม่ฟัง
น้องไม่ชอบคนทะเล้นเเต่เธอบอกชอบคนเต้นระบำ ๆ ๆ
(SPRITE)
พี่ไม่มี Louis Vuitton
มีแต่หนี้ก้อนโต
นวลน้องคงน้ำตานอง
เพราะต้องช่วยพี่ออกค่าคอนโด
อยู่กับพี่น่ะมันลำบากนะ หรือว่าน้องจะทน
อยู่กับพี่ลำบากนะหรือว่าน้องจะทน
(GUY)
ก็พี่ไม่มี Balen
เเถมค่ารถพี่ส่งไม่ทัน
กระเป๋าของพี่ Dior เเต่ตัวพี่น่ะไม่มีตังค์
อยู่กับพี่น่ะมันลำบากนะ
หรือว่าน้องจะทน
อยู่กับพี่ลำบากนะ
หรือว่าน้องจะทน

ติดตามช่องทาง Social Media
HYPE TRAIN
https://HYPETRAIN.lnk.to/HYPETRAINID
SPRITE
https://HYPETRAIN.lnk.to/SPRITEID
GUYGEEGEE
https://HYPETRAIN.lnk.to/GUYGEEGEEID

FOR WORK : 0812579651 (K.NAMFON)
HYPETRAIN SPRITE GUYGEEGEE ทน หรือว่าน้องจะทน

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

SPRITE x GUYGEEGEE - ทน (Prod. by MOSSHU) OFFICIAL MV

ภาษาอังกฤษ 40 คำที่ใช้บ่อยที่สุดในชีวิตประจำวัน | คำนี้ดี EP.477


เตรียมกดพอสและพูดตามได้เลย เพราะ 40 คำศัพท์นี้จำง่ายและนำไปใช้ได้จริง!
คำนี้ดีเอพิโสดนี้ เราได้รวบรวมศัพท์ที่ทุกๆ คนควรจะรู้จักเอาไว้ให้แล้ว เป็นศัพท์คุ้นหูคุ้นตาที่เราเจอได้บ่อยมากๆ เวลาใช้หรือพูดคุยภาษาอังกฤษกัน ระดับของคำศัพท์ส่วนใหญ่จะเป็น ‘ง่าย’ และ ‘ยากกว่าง่ายขึ้นมานิดหนึ่ง’ พร้อมกับประโยคตัวอย่างให้คุณผู้ชมได้นำไปท่องและใช้กันได้ทุกวัน
มีคำไหนที่อยากรู้ความหมายและวิธีใช้ก็คอมเมนต์กันไว้ได้เลยนะครับ
———————————————
THE STANDARD PODCAST : EYEOPENING FOR YOUR EARS
พอดแคสต์จากสำนักข่าว THE STANDARD
Website : https://www.thestandard.co/podcast
SoundCloud: https://soundcloud.com/thestandardpodcast
Spotify : https://open.spotify.com/show/7o7TF3zfPyoydhWxtGSzLC?si=Nb_LuV8NS3C9mJ6ePdXLA
Twitter : https://twitter.com/TheStandardPod
Facebook : https://www.facebook.com/thestandardth/
คำนี้ดี TheStandardPodcast TheStandardco TheStandardth

ภาษาอังกฤษ 40 คำที่ใช้บ่อยที่สุดในชีวิตประจำวัน | คำนี้ดี EP.477

ความลับในใจ – สิบล้อ【OFFICIAL MV】


Digital Download :123 1000020 3
iTunes Download : http://goo.gl/BvG63a
KKBOX : http://kkbox.fm/3e0ntS
เพลง : ความลับในใจ
ศิลปิน : วง สิบล้อ
คำร้อง : จุลจักร จักรพงษ์;สุทธิพงศ์ แจ่มจำรัส;เทียรี่ เมฆวัฒนา
ทำนอง : จุลจักร จักรพงษ์;สุทธิพงศ์ แจ่มจำรัส;เทียรี่ เมฆวัฒนา
เรียบเรียง : เทียรี่ เมฆวัฒนา

อัพเดทผลงานศิลปินที่คุณชื่นชอบได้ที่
http://www.facebook.com/gmmgrammyoffi…
http://www.youtube.com/user/gmmgrammy…
https://plus.google.com/+Gmmgrammyoff…
http://www.gmmgrammyofficial.blogspot…

ความลับในใจ - สิบล้อ【OFFICIAL MV】

พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ – เสมอ [คอนเสิร์ต ปู…อยากร้อง เพื่อนพ้องอยากฟัง]【Official Video】


อีกหนึ่งบันทึกการแสดงสดคอนเสิร์ตในตำนาน จากปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
ซึ่งรวบรวมบทเพลงฮิตที่หลายๆ คนอยากฟัง นั่งเล่นในแบบอะคูสติก มีเพียงกีต้าร์โปร่งและไวโอลินประสานความไพเราะตลอด 2 ชั่วโมงเต็ม กับ “คอนเสิร์ต ปู… อยากร้อง เพื่อนพ้องอยากฟัง”
http://www.facebook.com/pupongsitofficial
http://www.facebook.com/warnermusicthailand

พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ - เสมอ [คอนเสิร์ต ปู...อยากร้อง เพื่อนพ้องอยากฟัง]【Official Video】

คำ​การันต์​


อย่าหยุดเรียนรู้…เพราะชีวิตไม่เคยหยุดสอน(บทเรียนชีวิต)”
ขอบคุณทุกคนจากใจจริงๆ สำหรับกดติดตาม และเป็นกำลังใจในการทำคลิปต่อไป
คำการันต์ วิชาภาษาไทย ไม้ทัณฑฆาต

คำ​การันต์​

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆMAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ คำ ที่ มี ย์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *