Skip to content
Home » [NEW] สรรพากร แจงปมเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม e – service หลังกม.มีผลบังคับใช้ 1 ก.ย. 64 | ผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม – NATAVIGUIDES

[NEW] สรรพากร แจงปมเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม e – service หลังกม.มีผลบังคับใช้ 1 ก.ย. 64 | ผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม – NATAVIGUIDES

ผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม: คุณกำลังดูกระทู้

ครม.เห็นชอบ ร่างกฎหมายเก็บภาษีแพลตฟอร์มดิจิทัลจากต่างประเทศ (อี-เซอร์วิส)

ไม่จริง!! อย่าหลงเชื่อข่าว รัฐบาลขึ้นแวต 9%

วันนี้ 12 ก.พ. 2564 กรมสรรพากร ได้ชี้แจงรายละเอียด พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ.2564 การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณี การให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-Service) เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.2564 เป็นต้นไป

1. ความเป็นมา

เทคโนโลยีในยุคดิจิทัลได้ส่งผลให้รูปแบบการให้บริการเปลี่ยนแปลงไป ผู้ประกอบการที่อยู่ในต่างประเทศสามารถให้บริการแก่บุคคลต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมทั้งมีแพลตฟอร์มซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการจำนวนมาก ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เกม เพลง ภาพยนตร์ จากผู้ประกอบการที่อยู่ในต่างประเทศได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว   

ในปี 2563 ประเทศไทยมีจำนวนประชากรกว่า 69 ล้านคน และมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงถึง 75 % และจากผลสำรวจของ Globalwebindex พบว่าประชากรไทยอายุระหว่าง 16-64 ปี มากกว่า 50% ดูวิดีโอ ฟังเพลง และฟังวิทยุออนไลน์ ส่งผลให้มีการใช้บริการออนไลน์เติบโตอย่างต่อเนื่อง เช่น การซื้อขายเพลงออนไลน์เติบโต 9% การซื้อขายวีดีโอเกมเติบโต 7.8% และการโฆษณาออนไลน์เติบโต 16% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

2. ปัญหาสะสมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม

ที่ผ่านมาผู้ประกอบการในประเทศที่ให้บริการ e – Service ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ยื่นแบบ และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มมาโดยตลอด ในขณะที่ผู้ประกอบการต่างประเทศ หรืออิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต่างประเทศที่ให้บริการ e-Service  ในประเทศไทย ไม่ต้องดำเนินการดังกล่าว เนื่องจากกฎหมายเดิมไม่ได้ครอบคลุมถึง ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เกิดความได้เปรียบ เสียเปรียบในการดำเนินธุรกิจ ระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้ประกอบการต่างประเทศ ซึ่งหลายประเทศที่ใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มต่างก็เผชิญปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกัน

3. ทางออกที่เป็นมาตรฐานสากล

นานาประเทศจึงได้ร่วมกันกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา โดยดำเนินการตามคำแนะนำของ OECD      ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการต่างประเทศหรืออิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต่างประเทศ จดทะเบียนและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่หน่วยงานจัดเก็บภาษี  ซึ่งประเทศที่จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนใหญ่ (มากกว่า 60 ประเทศ)  ได้ออกหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามคำแนะนำดังกล่าว เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น

4. ธุรกิจประเภทใดบ้าง ที่ต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้

ผู้ประกอบการที่ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ได้แก่ การให้บริการดาวน์โหลด หนัง/ภาพยนตร์  เพลง เกม สติกเกอร์ นายหน้า สื่อโฆษณา เป็นต้น แพลตฟอร์มต่างประเทศที่ให้บริการในประเทศไทย เช่น Apple Google Facebook Netflix Line Youtube Tiktok และมีรายได้จากการให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

5. กรมสรรพากรได้ดำเนินการและเตรียมอย่างไรบ้าง

 5.1 ด้านกฎหมาย

กรมสรรพากรได้ดำเนินการแก้ไขประมวลรัษฎากรตามแนวทางของ OECD โดยเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณี การให้บริการ ทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-Service)) โดยกำหนดให้

ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ รวมทั้งอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม ที่มีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จากการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทยซึ่งไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นแบบแสดงรายการ และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือนให้แก่กรมสรรพากร ภายใต้ระบบ pay-only (ห้ามหักภาษีซื้อ) โดยไม่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและรายงานภาษีซื้อ

ขณะนี้กฎหมายได้ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาแล้วและประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป

5.2 ด้านระบบอำนวยความสะดวกและการให้บริการ

กรมสรรพากรได้พัฒนาระบบ Simplified VAT System for e-Service (SVE) เป็นระบบการจดทะเบียน การยื่นแบบฯ และการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่มีความง่าย ทันสมัย และไม่แตกต่างจาก best practice ในต่างประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการได้ปฏิบัติตามอยู่แล้ว ช่วยให้ผู้ประกอบการใช้บริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว   ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th และเน้นการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการได้รับความรู้ความเข้าใจ และสามารถดำเนินการได้ถูกต้อง

6. การตรวจสอบและการบังคับใช้กฎหมาย ทำได้หรือไม่ อย่างไร

6.1 สามารถใช้กลไกการตรวจสอบโดยการเชิญพบ หรือออกหมายไปยังผู้ประกอบการเพื่อตรวจสอบและประเมินเรียกเก็บภาษี

6.2 การออกหมายเรียกพยานผู้เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อขอข้อมูลการทำธุรกรรมผ่านสถาบันการเงิน มาใช้ประกอบการตรวจสอบและประเมินเรียกเก็บภาษี

6.3 การแสดงรายชื่อของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ทำให้ผู้ใช้บริการหรือผู้ประกอบการต่างประเทศตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ ซึ่งเป็นวิธีที่นานาประเทศใช้ ซึ่งจะก่อให้เกิดมาตรการลงโทษทางสังคม (Social Sanction) แก่ผู้ประกอบการที่ไม่ยอมจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

7. จากมุมมองของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง

ที่ผ่านมากรมสรรพากรได้หารือกับผู้ประกอบการต่างประเทศและหน่วยงานจัดเก็บภาษีในหลายประเทศ ที่มีการใช้กฎหมายเช่นเดียวกันนี้ พบว่า

7.1 ผู้ประกอบการต่างประเทศส่วนใหญ่ มีความเข้าใจในหลักการของกฎหมายและได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของต่างประเทศ ที่มีหลักการเดียวกันกับร่างกฎหมายนี้อยู่แล้ว

7.2 จากข้อมูลของหน่วยงานจัดเก็บภาษีในต่างประเทศพบว่า ผู้ประกอบการต่างประเทศให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีเป็นอย่างดี

8. ความร่วมมือก่อเกิดพลังเสริมเพิ่มประสิทธิภาพ

กฎหมายฉบับนี้เพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอที่จะทำให้การจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพ ทั้งระบบ จำเป็นต้องอาศัย

8.1 ความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีระหว่างประเทศ เช่น การเข้าเป็นภาคีความ ตกลง Multilateral Convention on Mutual Administrative Assistance in Tax Matters (MAC) ที่มีบทบัญญัติครอบคลุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลทุกรูปแบบ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติระหว่างประเทศ (Automatic Exchange of Information หรือ AEOI) เพื่อรองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินแบบอัตโนมัติในรูปแบบ Common Reporting Standard (CRS)

8.2  ความร่วมมือจากภาคประชาชน ในการสนับสนุนและใช้บริการจากผู้ประกอบการที่ปฏิบัติตามกฎหมาย  หากพบรายใดที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายให้รีบแจ้งกรมสรรพากร ก็จะมีส่วนช่วยให้การจัดเก็บภาษี มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

9. ข้อดีของกฎหมายและประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับ

9.1 สร้างความเป็นธรรมในการเสียภาษี ระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้ประกอบจากการต่างประเทศ                                                                                                                                        

9.2ช่วยปิดช่องโหว่ของกฎหมาย โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการที่ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ยื่นแบบและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้กับกรมสรรพากรเช่นเดียวกับผู้ประกอบการในประเทศ

9.3 ยกระดับแนวทางการบริหารจัดเก็บภาษีของประเทศไทย ให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ    สอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัลและรูปแบบการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันยิ่งขึ้น

9.4 สร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับประเทศ คาดว่าจะจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้เพิ่มขึ้นปีละ 5,000 ล้านบาท เป็นรายได้ของรัฐที่นำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ

อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline

[NEW] ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร ทำไมถึงมีความสำคัญ- tanateauditor | ผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม – NATAVIGUIDES

วิธีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat)

ผู้ประกอบการจะต้องรวบรวมภาษีขาย (Output vat) และภาษีซื้อ (Input vat) ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในแต่ละเดือน มาคำนวณเพื่อชำระภาษีให้แก่กรมสรรพากรดังต่อไปนี้

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่ง = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ

หาก ภาษีขาย (Output vat) > ภาษีซื้อ (Input vat) บริษัทจะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากร เนื่องจากมีภาษีมูลค่าที่เรียกเก็บจากลูกค้ามากกว่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเก็บจาก Supplier

หาก ภาษีซื้อ (Input vat) > ภาษีขาย (Output vat) บริษัทจะสามารถนำยอดส่วนเกินไปเครดิตภาษีในเดือนถัดไป หรือจะขอภาษีคืนเป็นเงินสดก็ได้

จากตัวอย่างก่อน กรณีบริษัท A มีภาษีขายทั้งสิ้น 7 บาท มีภาษีซื้อทั้งสิ้น 2.8 บาท กรณีนี้ ภาษีขาย > ภาษีซื้อ ดังนั้นบริษัท A จะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กรมสรรพากรเป็นจำนวน 7 – 2.8 = 4.2 บาท

อย่างไรก็ตามตามสูตรดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจริงแล้วผู้ประกอบการไม่ได้เป็นผู้รับภาระภาษีมูลเพิ่มที่แท้จริง เนื่องจากภาษีขายก็เรียกเก็บมาจากลูกค้า ส่วนภาษีซื้อที่จ่ายไปก็สามารถนำมาหักจากภาษีขายได้ ดังนั้นผู้ที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงคือผู้บริโภคสินค้าและบริการอย่างเราๆที่ไม่สามารถไปขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากใครได้แล้วนั่นเอง ตามแผนภาพดังนี้

แผนภาพ Vat

โรงงาน B ขายสินค้า 200 บาท ภาษีขาย 14 บาท ให้โรงงาน C และโรงงาน B ซื้อสินค้า 100 บาท ภาษีซื้อ 7 บาท จากโรงงาน A ภาษีที่นำส่งสรรพากรคือ ภาษีขาย – ภาษีซื้อ = 14 – 7 = 7 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าภาษีขาย 14 บาทที่ต้องนำส่งนั้นโรงงาน B เรียกเก็บมาจากโรงงาน C ส่วนภาษีซื้อ 7 บาท ก็สามารถนำมาหักจากภาษีขายได้ ดังนั้นโรงงาน B ไม่ได้เป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง

โรงงาน C ขายสินค้า 300 บาท ภาษีขาย 21 บาท ให้ผู้บริโภคโดยตรง และโรงงาน C ซื้อสินค้า 200 บาท ภาษีซื้อ 14 บาท จากโรงงาน B ภาษีที่นำส่งสรรพากรคือ ภาษีขาย – ภาษีซื้อ = 21 – 14 = 7 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าภาษีขาย 21 บาทที่ต้องนำส่งนั้นโรงงาน C เรียกเก็บมาจากผู้บริโภค ส่วนภาษีซื้อ 14 บาท ก็สามารถนำมาหักจากภาษีขายได้ ดังนั้นโรงงาน C ไม่ได้เป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง

ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าจากโรงงาน C มูลค่ารวม 321 บาท มีภาษีซื้อ 21 บาท ไม่สามารถขอคืนภาษีจากใครได้อีกแล้ว ดังนั้นผู้บริโภคจึงเป็นผู้ที่รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) ที่แท้จริง


บทที่ 1 การเป็นผู้ประกอบการ – 02


บทที่ 1 การเป็นผู้ประกอบการ 02 ความหมายของภาวะประกอบการ\r
SME101 แนวคิดในการเริ่มต้นทำธุรกิจ SMEs\r
College of Internet Distance Education\r
Assumption University of Thailand\r
\r
eSMEs University \r
หลักสูตรประกาศนียบัตรการจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อพัฒนาศักยภาพของ \r
SMEs ไทย ผ่านการเรียนแบบ eLearning โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น\r
เปิดสอนจำนวน 2 หลักสูตร รวม 18 วิชา ดังนี้\r
1. หลักสูตรการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีทั้งหมด 12 รายวิชา \r
2. หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพธุรกิจ SMEs มีทั้งหมด 6 รายวิชา \r
สามารถสมัครเรียนได้ที่วิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ \r
www.elearning.au.edu\r
\r
You can study all 18 courses for free and get a certificate. Visit us at \r
www.elearning.au.edu

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

บทที่ 1 การเป็นผู้ประกอบการ - 02

หน่วยที่ 4 การภาษีมูลค่าเพิ่ม


อย่าลืมกดไลค์ เป็นกำลังใจให้กับครูอายนะค่ะ ขอบคุณค่ะ 🙂

หน่วยที่ 4 การภาษีมูลค่าเพิ่ม

วิธีคิดราคาก่อนภาษี แบบแยกนอก รวมใน ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT 7% คนทำ E-Commerce ควรรู้ไว้


Vat หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร ในการซื้อของแต่ละครั้งเคยสังเกตุกันบ้างมั้ยว่าราคาของจริงๆมันเท่าไรกันแน่เราเงินส่วนที่เราเสียเพิ่มไปนั้นมันคืออะไร และในส่วนของผู้ประกอบการเองที่ต้องเสียภาษีให้กับทางรัฐบาลเราจะต้องไปหาเงินตรงไหนมาให้กับรัฐบาล ภาษี ECommerce

รวมโปรแกรมคำนวณ : https://www.mindphp.com/onlinetools/mindphptools.html
โปรแกรมคำนวณราคาก่อนบวก vat 7%
https://www.mindphp.com/tools/vat/vat.php
โปรแกรมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหลังรวม VAT
https://www.mindphp.com/tools/tool_include_vat/index.php
By: https://www.mindphp.com/

วิธีคิดราคาก่อนภาษี แบบแยกนอก รวมใน ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT 7% คนทำ E-Commerce ควรรู้ไว้

ภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม : ผู้ประกอบการขนาดเล็ก(พิจารณาจากรายได้)


รายการอาจารย์มานพพบปัญหา 484 Yellowการบัญชี www.yellowaccounting.com โดย อ.มานพ สีเหลือง และ อ.เจี๊ยบ

ภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม : ผู้ประกอบการขนาดเล็ก(พิจารณาจากรายได้)

#ภาษี10นาที Ep.3 : ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT คืออะไร มาจากไหน คำนวณยังไง?


เคยไหม? เวลาไปซื้อของแล้วเค้าบอกว่าของชิ้นเดียวกันมีราคาต่างกัน ถ้าเอา VAT ต้องบวกเพิ่มราคาอีก 7% แต่ถ้าไม่บวก VAT ขายได้ทันทีในราคานี้จ้า อ๊ะ นี่มันคืออะไร ทำไมถึงเกิดเรื่องแบบนี้ได้!!
ก่อนที่จะเล่าว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น ขออธิบายหลักการของภาษีมูลค่าเพิ่มให้ฟังกันก่อน พูดให้ง่ายที่สุด ภาษีมูลค่าเพิ่มคือภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ แต่ผลักภาระให้ผู้บริโภคเป็นคนจ่ายนั่นเอง
ชักจะงงกันไปใหญ่ เอาว่าไม่เป็นไร มาดูตัวอย่างกันดีกว่า สมมติว่า กิจการนี้มีการซื้อสินค้ามาใน 100 บาท แล้วเอามาขายในราคา 200 บาท
ถ้าหากไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่มมาเกี่ยวข้อง
จะเห็นว่ากำไรเท่ากับ 200 100 = 100 บาท
แต่ถ้าหากกิจการตามตัวอย่างมีการจดทะเบียน VAT หรือเรียกภาษากฎหมายว่าเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม การขายสินค้าในราคา 200 บาทจะกลายเป็นว่าต้องบวกเพิ่มไปอีก 7% หรือ 14 บาท รวมเป็น 214 บาท
และถ้าหากกิจการเดียวกันนี้ไปซื้อของจากธุรกิจที่จดทะเบียน VAT เหมือนกัน ของในราคา 100 บาทนั้น ก็จะกลายเป็นว่าต้องบวกเพิ่มอีก 7% หรือ 7 บาท รวมเป็น 107 บาท
ทีนี้ เมื่อมีภาษีมูลค่าเพิ่มมาเกี่ยวข้อง
กำไรของกิจการก็จะไม่เปลี่ยนหรอกนะ
มันยังเท่าเดิม คือ 100 บาทนั่นแหละ (อ้าว)
แต่สิ่งที่เปลี่ยนคือ
เงิน 14 บาท นั้นจะถูกเรียกว่า ภาษีขาย
ส่วน 7 บาท นั้นจะถูกเรียกว่า ภาษีซื้อ
โดยในทุกครั้งที่ขายสินค้าให้บริการ (เป็นคนขาย)
จะต้องออกใบกำกับภาษีให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
รายละเอียดเพิ่มเติมรับชมได้ในคลิปนี้เลยจ้า
ภาษี10นาที ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT วางแผนภาษี ลดหย่อนภาษี ภาษีซื้อ ภาษีขาย ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษี คำนวณภาษี ความรู้ภาษี
ซีรีย์ ภาษี10นาที ซีรีย์ที่สอนเรื่องภาษีโดยพรี่หนอม TAXBugnoms เพื่อให้ความรู้ภาษีเข้าใจง่ายขึ้น ทุกวันอังคารเวลา 2 ทุ่ม เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม 2562 เป็นต้นไป และจะทำจนกว่าขี้เกียจทำ 555
กด Subscribed เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะจ๊ะ
ติดตามช่องทางอืนๆของพรี่หนอมได้ที่
FB : http://www.FB.com/TAXBugnoms
Twitter : https://twitter.com/TAXBugnoms
Podcast : http://taxbugnoms.podbean.com/

#ภาษี10นาที Ep.3 : ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT คืออะไร มาจากไหน คำนวณยังไง?

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ ผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *