Skip to content
Home » [NEW] วิธีการขอวีซ่าอเมริกา และการกรอกแบบฟอร์ม DS-160 แบบละเอียด – | tax id แปล ว่า – NATAVIGUIDES

[NEW] วิธีการขอวีซ่าอเมริกา และการกรอกแบบฟอร์ม DS-160 แบบละเอียด – | tax id แปล ว่า – NATAVIGUIDES

tax id แปล ว่า: คุณกำลังดูกระทู้

วิธีการกรอกแบบฟอร์มวีซ่าอเมริกาแบบละเอียด (DS-160)

นักเดินทางหลายๆท่านอาจจะมีคำถามในใจว่า เราจะทำวีซ่าอเมริกา(USA VISA) ผ่านมั้ย? ทำอย่างไรถึงจะผ่าน? ซึ่งพี่ช้างขอบอกเลยว่า ไม่สามารถการันตีได้ เพราะเหตุผลที่โดนปฏิเสธนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลเลยครับ

อย่างไรก็ตาม การเตรียมความพร้อมในเรื่องของการกรอกและเตรียมเอกสารเองอย่างครบถ้วน อาจเพิ่มโอกาสที่จะผ่านได้ แถมบางคนโชคดีได้วีซ่ายาวๆไปเลยถึง 10 ปี ตามพี่ช้างมาดู เทคนิค และ 6ขั้นตอนง่ายๆ กันเลยครับ ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง…

1. เราต้องขอวีซ่าประเภทไหน?

<ก่อนอื่นเลยต้องรู้ว่าเราจะต้องขอวีซ่าประเภทไหน…>

ประเภทของวีซ่า

1. วีซ่าชั่วคราว (Non-immigrant Visa) หรือ วีซ่าประเภท B 

(B-1) Business Visa: สำหรับท่านที่เดินทางในทางธุรกิจ ประชุม สัมมนาวิชาการ

(B-2) Tourist Visa: สำหรับท่านที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยว พักผ่อน เยี่ยมญาติหรือเพื่อน การรักษาทางการแพทย์

                                        เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมหรือบริการ

2. วีซ่าถาวร (Immigrant Visa) สำหรับท่านที่ต้องการเดินทางไปพำนัก หรือย้ายถื่นฐานถาวร

  ซึ่งจะมีหลายประเภท สามารถเช็คได้ที่นี่

พี่ช้างจะมารีวิวเฉพาะการขอวีซ่าชั่วคราว ประเภท B-1 และB-2 เท่านั้น

**หากใครไม่มั่นใจว่าต้องขอประเภทไหน คลิกที่นี่เพื่อตรวจสอบ**

2. ขั้นตอนการสมัครขอวีซ่า DS-160

<กรอกข้อมูลส่วนตัวในแบบฟอร์ม DS-160 และอัพโหลดรูปถ่าย>

ท่านสามารถกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ได้เลยที่ Online Nonimmigrant Visa Application (DS-160) ซึ่งใช้ระยะเวลาในการทำประมาน 1-2 ชั่วโมงเลยทีเดียว เนื่องด้วยรายละเอียดเยอะมาก ดังนั้นควรกรอกอย่างระมัดระวัง

หากกรอกไม่เสร็จในตอนนั้นสามารถบันทึก (Save) บนหน้าเว็บแล้วมากรอกต่อ(Retrieve)ในภายหลังได้

DS-160 home

(1) กดเปลี่ยนภาษา ตรงหัวมุมขวาบนให้เป็นภาษาไทย (Thai) ซึ่งเวลาเราแปลข้อความตรงไหนไม่ออก สามารถนำเม้าส์ไปชี้ที่ข้อความจะแปลให้อัตโนมัติเลย (Tooltip)

(2) เลือกสถานที่สัมภาษณ์ ที่เราสะดวกไปสัมภาษณ์วีซ่า

      มี 2 แห่งคือกรุงเทพฯ(Bangkok)และเชียงใหม่(Chiang Mai)

*สำหรับผู้ที่สามารถทำที่สาขาเชียงใหม่ได้นั้น จะต้องเป็นผู้ที่อาศัย ทำงาน หรือเรียน ไม่ต่ำกว่า 3 เดือนใน 15 จังหวัดเหล่านี้เท่านั้น (ต้องมีเอกสารรับรอง) “เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง สุโขทัย ตาก แม่ฮ่องสอน พิจิตร น่าน พิษณุโลก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และแพร่”

(3) กด Start an application เพื่อเริ่มกรอกใบสมัคร

(4) กด Retrieve an application เพื่อเรียกคืนข้อมูลที่บันทึกไว้ เพื่อมากรอกต่อในภายหลังได้

 Application info

หลังจากกด Start an application แล้ว หน้าถัดมาจะมีเลข Application ID อยู่ทางมุมขวาบน (5)  และคำถามรักษาความปลอดภัยกับคำตอบด้านล่าง ให้จดทั้งข้อมูลทั้งสองอย่างนี้ไว้ให้ดี**  เพราะเราจะต้องใช้หากต้องการกลับมาทำแบบฟอร์มต่อในภายหลัง เสร็จแล้วกด Continue (6) ▶

——————————————————————————–

**ตัวอย่างหน้าจอ ในกรณีที่เราต้องการกลับมากรอกข้อมูลต่อจากที่บันทึกไว้ ให้กด Retrieve an application (4) จะมีให้กรอก Application ID, 5 อักษรต้นของนามสกุล, ค.ศ.ปีเกิด และคำตอบของคำถามที่เราตั้งรักษาความปลอดภัยไว้  

retrieve doc DS

Personal Information 1

personal info1

Surname นามสกุลภาษาอังกฤษ

Given name ชื่อจริงภาษาอังกฤษ

Full name in native alphabet ชื่อ-นามสกุลภาษาไทย

Q1 ท่านเคยใช้ชื่ออื่นมาก่อนหรือไม่ เช่น ชื่อก่อนแต่งงาน หรือชื่อเดิมก่อนเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน

Q2 ท่านเคยใช้รหัสแทนชื่อหรือไม่ (ตอบNoได้เลยเพราะมันมีเฉพาะในแถบละติน)

personal info 1.2

Sex เพศ

Marital status สถานภาพ (โสด สมรส หย่า)

Date of birth วันเกิด (วัน/เดือน/ปีค.ศ.)

City อำเภอ          Province จังหวัด (ตามบัตรประชาชน)

Country ประเทศ (พลเมืองปัจจุบัน)

จากนั้นกด Save (แนะนำให้กดบันทึกทุกหน้าเวลากรอก เพราะบางทีอินเตอร์เนตหลุด หรือเปิดหน้าเว็บค้าง

ไว้เกิน 5 นาที ระบบจะตัดออกมาเลย ซึ่งต้องล็อกอินเข้ามาใหม่ และข้อมูลบางส่วนอาจหายไป ต้องมากรอกซ้ำ)

กด Next 

–Personal information 2–

personal info 2.1

Country/region of origin สัญชาติ

Q1 Do you hold or have you held any nationality other than the one indicated above on nationality?

คุณมีสัญชาติอื่นๆนอกเหนือจากสัญชาติข้างต้น(ไทย)หรือไม่

Q2 Are you a permanent resident of a country/region other than your country/ region of origin

(nationality indicated above?)

คุณมีถิ่นที่อยู่ถาวรที่อื่นนอกราชอาณาจักรไทยหรือไม่

National Identification Number เลขบัตรประชาชน 13 หลัก

U.S. Social Security Number และ U.S. Taxpayer ID number

หากไม่เคยเป็นพลเมืองอเมริกา ให้ทำเครื่องหมายDoes not apply

กด Next ▶

–Address and Phone information–

address and phone info 5

Street address line1 ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน             Street address line2 ที่อยู่อื่น (ถ้ามี)

City อำเภอ            State/province จังหวัด               Postal zone/ZIP code รหัสไปรษณีย์

Country/region ประเทศ

Address and phone5

Q1 Is your mailing address the same as your home address? ที่อยู่จัดส่งพาสปอร์ตคืนเหมือนกับที่อยู่บ้านหรือไม่

Primary phone number เบอร์โทรศัพท์หลัก (มือถือ)  *ใส่รหัสประเทศ+66 ตามด้วยเลขมือถือ9หลัก (ตัด 0 ตัวแรกออก)

Secondary phone number เบอร์อื่น (ถ้ามี)   หากไม่มี Does not apply

Work phone number เบอร์ที่ทำงาน (ถ้ามี)    หากไม่มี Does not apply

Email address อีเมล์

กด Next

–Passport Information–

6Passport info

Passport/Travel Document Type ชนิดพาสพอร์ต (ตอบ Regular หากเป็นบุคคลธรรมดา)

Passport Travel Document Number

เลขที่หนังสือเดินทางในพาสพอร์ต จะขึ้นต้นด้วยอักษรภาษาอังกฤษ+ตัวเลข เช่น AAxxxxxx

Passport Book Number ของไทยไม่มี Does not apply

Country/ Authority that Issued Passport/ Travel Document ประเทศที่ออกพาสพอร์ต

Where was the passport/ travel document issued?  ทำพาสพอร์ตที่ไหน

City และstate/province ใส่จังหวัดที่ทำไปเลย (เช่น Bangkok)     Country ประเทศ

passport info6.1

Issuance Date พาสพอร์ตออกวันที่เท่าไหร่                 Expiry date พาสพอร์ตหมดอายุวันที่เท่าไหร่

Q1 Have you ever lost a passport or had one stolen? คุณเคยทำพาสพอร์ตหาย/ถูกขโมย หรือไม่

(หากเคย  ☑Yes พร้อมระบุวันที่หาย และสาเหตุุ )

กด Next ▶

–Travel Information–

travel info8

Purpose of Trip to the U.S. จุดประสงค์ในการเดินทางครั้งนี้ (หากไปเที่ยว ตอบ Temp. Business Pleasure Visitor (B) )

Specify ประเภทวีซ่า (หากไปเที่ยว ตอบ Business and Tourism (Temporary Visitors B1/B2) )

Have you made specific travel plans? คุณได้เตรียมแผนเดินทางเที่ยวในครั้งนี้ไหม (ควรตอบ Yes)

Intended date of Arrival ไปถึงสนามบินที่อเมริกาวันที่เท่าไหร่ (วันแรก)

Length of stay in the U.S. จำนวนวันที่จะท่องเที่ยวในอเมริกา

Address where you will stay in the U.S. ที่อยู่ของที่พักระหว่างการท่องเที่ยว (ใส่ที่อยู่ของโรงแรมคืนแรกได้เลย)

travel info9

Zip code รหัสไปรษณีย์ของที่อยู่ที่พัก (ถ้ามี)

Q1 Person/ Entity Paying for your trip

ใคร/หน่วยงานใด ออกค่าใช้จ่ายการเดินทางครั้งนี้ให้ – Self (ตัวเอง)  หรือ Other Person (บุคคลอื่น)

 ใส่ Surname นามสกุล  Given name ชื่อจริง  Telephone number เบอร์ติดต่อ  Email อีเมล์

(ถ้าไม่มี Does not apply)   Relationship to you ความสัมพันธ์ (ของคุณกับคนที่ออกค่าใช้จ่ายให้)

Q2 Is the address of the party paying for your trip the same as your home/mailing address?

ที่อยู่ของบุคคล/หน่วยงานที่ออกค่าใช้จ่ายให้ มีที่อยู่เดียวกันกับที่อยู่ของท่านหรือไม่ (หากไม่ใช่ กรอกที่อยู่ลงไป)

กด Next

–Travel Companions Information–

travel companions info10

Q1 Are there other persons traveling with you? มีใครเดินทางไปกับคุณด้วยหรือไม่

(หากมี จะต้องกรอกนามสกุล ชื่อจริง และความสัมพันธ์ด้านล่าง หากเดินทางคนเดียวตอบ No ไม่ต้องกรอกอะไรเพิ่ม)

Q2 Are you travelling as a part of a group or orgaisation?

คุณเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่ม/องค์กรใดๆในการเดินทางหรือไม่ (หากมีใส่ชื่อกลุ่ม/องค์กรนั้น หากไม่มีตอบ No )

กด Next

–Previous U.S. Travel Information–

11 US previous travel info

Q1 Have you been in the U.S.?

คุณเคยเดินทางเข้ามาในอเมริกามาก่อนหรือไม่ (ถ้าเคย ให้ใส่ Date arrived วันที่ และLength of stay จำนวนวันที่อยู่ในประเทศ)

Q2 Do you or did you ever hold a U.S. Driver’s License? คุณเคยมีใบขับขี่ของอเมริกาหรือไม่

Q3 Have you ever been issued a U.S. Visa? คุณเคยได้วีซ่าอเมริกามาก่อนหรือไม่ (ถ้าเคยจะมีให้ตอบต่อ)

Date Last Visa was Issue อันล่าสุดออกให้วันที่เท่าไหร่                 Visa Number เลข 8 หลัก สีแดงบนวีซ่า

Are you applying for the same type of Visa? สมัครวีซ่าประเภทเดิมใช่หรือไม่

Are you applying in the same country or location where the visa above was issued and

    is this country or location your place of principal of residence? คุณได้ทำวีซ่าที่เดิมหรือไม่ (ประเทศ)

Have you been ten printed? เคยสแกนลายนิ้วมือทั้ง 10 หรือไม่ (ให้ตอบ No ไปยังไงก็ถูกสแกนใหม่อยู่ดี)

 Has your U.S. Visa ever been lost or stolen? คุณเคยทำวีซ่าอเมริกา/โดนขโมยหรือไม่

Has your U.S. Visa ever been cancelled or revoked? วีซ่าอเมริกาของคุณเคยถูกยกเลิกหรือไม่

Q4 Have you ever been refused a U.S Visa or been refused admission to the USA, or withdrawn

your application? 

คุณเคยถูกปฏิเสธในการทำวีซ่า ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือไม่ (ถ้าเคย ให้ระบุสาเหตุ)

Q5 Has anyone ever filed an immigration petition on your behalf with USA citizenship and immigration services? 

มีใครเคยยื่นคำร้องขอวีซ่าถาวรให้หรือไม่ (ตอบ No)

กด Next

–U.S. Point of Contact Information–

travel companions info10

Contact person หากมีเพื่อนหรือญาติอาศัยอยู่ในอเมริกา ให้กรอกนามสกุล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์ หากไม่มี  Do not know

Organization name หากรู้จักบริษัท/มาติดต่อบริษัทใดๆ ให้กรอกชื่อ ความสัมพันธ์ ที่อยู่ หากไม่มี  Do not know

กด Next

–Family Information: Relatives–

Father’s Full Name and Date of Birth ข้อมูลของบิดา

Surname นามสกุล              Given names ชื่อจริง            Date of birth วันเกิด (หากจำไม่ได้  Do not know )

Is your father in the U.S. พ่อคุณอาศัยอยู่ในอเมริกาหรือไม่

Mother’s Full Name and Date of Birth ข้อมูลของมารดา

Surname นามสกุล              Given names ชื่อจริง            Date of birth วันเกิด (หากจำไม่ได้  Do not know )

Is your mother in the U.S. แม่คุณอาศัยอยู่ในอเมริกาหรือไม่

Q1 Do you have any immediate relatives not including parents in the USA?

คุณมีญาติใกล้ชิดหรือเพื่อน อาศัยอยู่ในอเมริกาหรือไม่

กด Next

–Present work/Education/Training Information–

15 present work

Primary Occupation อาชีพหลัก กดลูกศรสามเหลี่ยมเพื่อเลือกอาชีพของเรา

ยกตัวอย่าง เลือก Business 

business15       

Present employer or school name ชื่อบริษัทปัจจุบัน

Street Address (Line1) ที่อยู่บริษัท                Street Address (Line2) ไม่ต้องใส่

City อำเภอ/เขต                                        State/province จังหวัด           Postal zone รหัสไปรษณีย์

Phone number เบอร์ติดต่อ                  Country ประเทศ                        Start date  วันที่เริ่มทำงาน

Monthly Income รายได้ต่อเดือน        Briefly describe your duties อธิบายลักษณะงานสั้นๆ (สำคัญมาก)

กด Next

–Additional Work/Education/Training Information–

  

Q1 Do you belong to a clan or tribe? 

คุณเป็นสมาชิกของกลุ่มชนหรือเผ่าพันธุ์ใดหรือไม่

Q2 List of Languages you speak

ภาษาที่คุณสามารถพูดได้ (หากมีมากกว่า 1 ให้กด +add another)

Q3 Have you traveled to any countries or regions within the last five years?

5 ปีที่ผ่านมาได้เดินทางไปต่างประเทศบ้างหรือไม่

Q4 Have you belonged to or worked for any professional, social or charitable organization?

คุณได้ทำงานในองค์กรเพื่อสังคมหรือการกุศลหรือไม่

Q5 Do you have any specialized skills or training such as firearms, explosives, nuclear,

biological or chemical experiences?

คุณมีทักษะหรือความสามารถเฉพาะเหล่านี้หรือไม่ การทำอาวุธปืน ระเบิดนิวเคลียร์ หรือ อาวุธชีวภาพ

Q6 Have you ever served in the military? คุณเคยผ่านการเกณฑ์ทหารหรือไม่

Q7 Have you ever served in, been a member of or been involved with a paramilitary

unit, rebel group or insurgent organization?

คุณเคยทำงาน/เป็นส่วนหนึ่งของกำลึงกึ่งทหาร กลุ่มต่อต้าน หรือกบฏหรือไม่

กด Next

–Security and Background: Part1-5–

ในส่วนนี้ จะเป็นคำถามตอบ Yes และ No ซึ่งจะมีอยู่ 5 ตอน (5parts)

ส่วนมากจะเป็นคำถามเกี่ยวกับการเคยกระทำความผิด เรื่องผิดกฏหมาย ติดยาเสพติด ก่อการร้ายฯ

ถ้าไม่เคยเข้าข่ายในการกระทำความผิดแบบนี้เลย ให้ตอบ No หมดเลยครับทั้ง 5 ตอน” 

16 security

Part1

Q1 คุณเคยเป็นโรคร้ายแรงหรือไม่                 Q2 คุณมีปัญหาด้านสุขภาพจิตหรือจิตเภทที่อาจก่ออันตรายต่อผู้อื่นหรือไม่

Q3 คุณเคยติดยาเสพติดหรือไม่

Part2

Q1 คุณเคยโดนจับกุมในข้อหาอาชญากรรมหรือข้อหาอื่นในลักษณะเดียวกันหรือไม่

Q2 คุณเคยละเมิด หรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อกบฏ หรือไม่

Q3 คุณมีจุดประสงต์ที่จะมาขายบริการทางเพศหรือทำการใดที่ผิดกฏหมายหรือคุณเคยโดนจับในข้อหานี้หรือไม่ในรอบ 10 ปี

Q4 คุณเคยมีส่วนเกี่ยวข้องคดีการฟอกเงินหรือไม่

Q5 คุณเคยมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการค้ามนุษย์หรือไม่

Q6 คุณเคยมีส่วนเกี่ยวข้องในคดีทารุณกรรมหรือไม่

security3

Part 3

Q1 คุณมีจุดประสงค์ที่จะเข้ามาก่อวินาศกรรมหรือสิ่งผิดกฎหมายหรือไม่

Q2 คุณต้องการมาหาพรรคพวกในการก่อการร้ายหรือไม่

Q3 คุณเคยให้เงินสนับสนุน/ความช่วยเหลือแก่กลุ่มก่อการร้ายหรือไม่

Q4 คุณเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการร้ายหรือไม่

Q5 คุณเคยมีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อความไม่สงบหรือไม่

Q6 คุณเคยว่าจ้างเยาวชน/เด็กเป็นนักรบติดอาวุธหรือไม่

Q7 คุณเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลในการฆ่าล้างทางศาสนาหรือไม่

Q8 คุณเคยละเมิดสิทธิสตรี/เกี่ยวข้องการทำแท้งหรือไม่

Q9 คุณเคยมีส่วนร่วมในการค้าขายอวัยวะมนุษย์หรือไม่

security4

Part4

Q1 คุณเคยได้รับการช่วยเหลือ หรือช่วยเหลือผู้อื่นในการทำวีซ่า หรืออพยพเข้าประเทศอเมริกา โดยผิดกฎหมายหรือไม่

security5

Part5

Q1 คุณเคยถือสิทธิเลี้ยงดูเด็กชาวอเมริกันนอกประเทศอเมริกาจากผู้ที่ได้รับสิทธิเลี้ยงดูอย่างถูกกฎหมายโดยศาลอเมริกาหรือไม่

Q2 คุณเคยลงคะแนนเสียงให้กับการละเมิดสิทธิในกฎหมายหรือข้อบังคับของอเมริกาหรือไม่

Q3 คุณเคยปฏิเสธ/หลีกเลี่ยงภาษีในฐานะเป็นพลเมืองอเมริกันหรือไม่

กด Next

–Upload Photo–

หลังจากกรอกข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายเราจะมาอัพโหลดรูปภาพวีซ่า โดยกดที่ Upload your photo

upload photo1         

กด Photo Cropping Tool (8) เพื่อเช็ครูปภาพที่ท่านถ่ายมากับร้านถ่ายรูปด้วยเครื่องมือตรวจสอบรูปถ่าย

*กรณีใครอยากถ่ายเอง ให้ดูหลักเกณฑ์รูปถ่ายด้วยตนเอง

ภาพทางขวามือจะเป็นการปรับแต่งรูปของเราให้พอดีกับที่ทางสถานทูตกำหนด เสร็จแล้วกด Save photo

หากรูปผ่านเกณฑ์แล้ว อัพโหลดรูปภาพ(9)

จากนั้นกด Next continue using this photo (10)

 pic qualification**หลักเกณฑ์ที่สำคัญของรูปที่จะนำมาใช้ในวีซ่า**

หากรูปที่เราเลือกนั้นผ่าน จะแสดงแบบนี้บนหน้าจอ

Photo passed quality standards รูปของเราผ่านแล้ว!

กด Next: continue using this photo

จะขึ้นมาให้เราคอนเฟิร์มรูปอีกครั้ง หากใครยังไม่พอใจกลับไปทำใหม่ได้  Choose a different photo

หากต้องการใช้รูปนี้กด Next: Review

–Recheck all information–

18 recheck

ขั้นตอนนี้จะเป็นการให้ผู้สมัครขอวีซ่านั้นตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดตั้งแต่หน้าแรกที่เรากรอกจนถึงหน้าสุดท้าย

ท่านจะต้องเช็คอย่างละเอียดเพราะหลังจากหน้านี้เราจะไม่สามารถทำการกลับมาแก้ไขได้อีก**

หากมีข้อมูลตรงไหนผิด ให้กด edit เพื่อแก้ไข

ตรวจสอบเรียบร้อยแล้วกด submit 

–Sign and submit–

19 sign and submit

หน้าถัดไป จะมีคำถามว่าเราได้กรอกข้อมูลเองหรือไม่ หากกรอกเองตอบ Yes จากนั้นกรอกเลขที่พาสพอร์ต 

และตัวเลข(Captcha)ที่ปรากฏด้านขวามือ จากนั้นกด sign and submit application  และ Next confirmation

Confirmation

ปิ๊ง! อันนี้จะเป็นหน้าที่เราต้องปริ้นท์เพื่อไปยื่นขอวีซ่าที่สถานทูต ยังไม่ใช่วีซ่านะครับ

กด Print Confirmation และPrint Application เพื่อปริ้นท์ออกมา

และEmail confirmation ส่งสำเนานี้เข้าอีเมล์เราครับ

*หากติดปัญหาการกรอกข้อมูล สอบถามได้ที่เบอร์ 02-2054000 เจ้าหน้าที่จะช่วยตอบคำถามเรา

3. ขั้นตอนการยื่นคำร้องขอวีซ่า

<ยื่นคำร้อง ชำระเงิน และจองวันนัดสัมภาษณ์วีซ่า>

กดเข้าไปที่เว็บยื่นคำร้องขอวีซ่าสหรัฐอเมริกา แล้วจะมี pop-up เด้งขึ้นมาว่านี่เป็นครั้งแรกในการทำวีซ่าหรือไม่

ให้กด Yes จากนั้นให้กดเปลี่ยนภาษาด้านมุมขวาบนเป็นภาษาไทยก่อน ซึ่งหน้าจอจะมีข้อความขึ้นมาว่าท่าน

ต้องการสมัครวีซ่าแบบชั่วคราวหรือถาวร ให้ตอบ วีซ่าชั่วคราว(14)

—หน้าต่อมาจะเป็นรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับการยื่นคำร้อง อ่านเสร็จข้ามไปขั้นตอนที่ 4 ได้เลยหรือกดล็อกอินที่นี่

profile

ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบ เราจะต้องสร้างโปรไฟล์ใหม่ขึ้นมาก่อนโดยกดที่ผู้ใช้ใหม่ (15)

จะขึ้นมาให้เรากรอกอีเมล์ แนะนำว่าควรเป็นอีเมล์ที่ใช้ประจำเพราะทางสถานทูตจะส่งอีเมล์ตอบกลับมา

ส่วนชื่อและนามสกุล  ต้องเป็นภาษาอังกฤษ กรอกรหัสผ่าน และตัวเลขที่ปรากฏในกรอบ (captcha)

จากนั้นกด Submit (16)เป็นอันเสร็จสิ้นการสร้างโปรไฟล์

ล็อกอินเข้าสู่ระบบเพื่อทำการจองวันนัดสัมภาษณ์กันได้เลย!

interview

จากภาพ กดที่แถบด้านซ้าย การสมัครขอวีซ่าใหม่/นัดสัมภาษณ์วีซ่า(17)

กรอกรายละเอียดต่างๆ เช่น ชนิดวีซ่า สถานที่ที่จะไปสัมภาษณ์ ฯ ให้สมบูรณ์จนไปถึงรายการสุดท้ายคือ

การชำระค่าธรรมเนียม ให้กดคลิกเพื่อดูรายละเอียดวิธีการชำระเงินทั้งหมด (18) เพื่อปริ้นท์แบบฟอร์มการชำระเงิน

และใบนำฝากกรุงศรีอยุธยา

จากนั้นนำใบไปชำระเงินที่ธนาคารกรุงศรีฯ (เก็บหลักฐานของเลข Receipt no. (19) และVirtual Account ID ไว้ด้วย)

วันถัดไปท่านจะได้รับอีเมล์ยืนยันชำระเงิน (ชำระเงินก่อนเที่ยงจะได้รับตอนเที่ยงในวันถัดไป หากชำระหลังเที่ยงจะได้รับช่วง

บ่ายในวันถัดไป) หลังจากได้รับอีเมล์แล้ว เราสามารถทำการนัดวันสัมภาษณ์ได้เลย

–นัดวันสัมภาษณ์–

visa appontment

ล็อกอินที่นี่ แล้วเราก็ทำการจองวันสัมภาษณ์วีซ่า ซึ่งจะสามารถเลือกได้ตามตารางที่ว่างอยู่ ในวันและเวลาที่ท่านสะดวก

เสร็จแล้วกดนัดสัมภาษณ์วีซ่า(20) เลือกเสร็จแล้วให้ปริ้นท์ใบยืนยันนัดสัมภาษณ์ไว้ด้วย

ส่วนด้านล่างจะมีคำแนะนำ และข้อห้ามต่างๆในการเข้าสถานทูต

—————————————————————————————————————————–

 

4. เตรียมเอกสารที่ต้องนำไปยื่นวันสัมภาษณ์

<เอกสารต่างๆที่ใช้ในการสัมภาษณ์วีซ่า ต้องเป็นภาษาอังกฤษ*เท่านั้น>

documents

*ท่านสามารถตรวจสอบเอกสารเพิ่มเติมได้ที่นี่*

**แนะนำว่าตั๋วเครื่องบินและโรงแรมควรจองเป็นแบบ pay later หรือ free cancelation**

—————————————————————————————————————————–

 

5. การไปสัมภาษณ์ที่สถานทูต

<การเตรียมความพร้อม และกระบวนการการสัมภาษณ์>

ในที่สุดวันที่เรารอคอยก็มาถึง นี่เป็นด่านสุดท้ายของการขอวีซ่าอเมริกาแล้ว!

5.1) เตรียมความพร้อมล่วงหน้า

  • ตรวจสอบเอกสาร

    ว่าครบถ้วนหรือไม่ ใส่แฟ้มให้เรียบร้อย

  • นำสิ่งของติดตัวไปให้ได้น้อยที่สุด ตรวจสอบที่นี่
  • บัตรประชาชน

    (ใช้ฝากมือถือและกุญแจรถ ได้เพียงคนละชิ้น)

  • ตรวจสอบที่ตั้งสถานทูต

    ควรไปถึงก่อนเวลานัดหมาย 30 นาที

กรุงเทพฯ

ลงBTSเพลินจิต ทางออก 5 หรือMRTลุมพินี แล้วต่อวินมอเตอร์ไซค์หรือแท็กซี่ไปที่หน้าสถานทูตได้เลย หรือ

ถ้าใครนำรถส่วนตัวไป สามารถจอดได้ที่ตึกสินธรตรงข้ามสถานทูต เสียค่าบริการประมาน 100บาท/1ชั่วโมง

**สามารถซื้อของในตึกนั้นในราคาที่ต้องจ่ายค่าจอด แล้วให้ทางร้านประทับตราได้

เชียงใหม่: นั่งรถแดงไปลงหน้ากงศุลฯ หรือถ้านำรถมา สามารถจอดได้ที่เทศบาลนครเชียงใหม่ หรือ

ตลาดข้างๆ

  • หากมาสายกว่าเวลานัด 1 ชั่วโมงจะต้องทำการจองคิวใหม่ในระบบอีกครั้ง แต่ไม่ต้องสมัครใหม่ (เลื่อนได้ 3 รอบเท่านั้น)
  • ค่าธรรมเนียมวีซ่า

    5,440 บาท (เงินสด)

5.2) กระบวนการสัมภาษณ์

1. เข้าแถวต่อคิวช่องซ้ายสุด จะมีเจ้าหน้าที่มาตรวจกระเป๋า และเอกสารนัดหมาย

2. เสร็จแล้วเข้าไปในอาคารฝากสัมภาระและมือถือในล๊อกเกอร์ สแกนสัมภาระ และร่างกาย

3. นั่งรอเจ้าหน้าที่เรียกตามเวลานัดของเรา เตรียมบัตรคิว เอกสารDS-160 และพาสพอร์ตให้พร้อม

4. เจ้าหน้าที่เรียกคิว ตรวจสอบเอกสารที่เตรียมไว้ แล้วจะแปะtracking no. ของไปรษณีย์ที่จะส่งพาสพอร์ต

    กลับมาให้เรา ไม่เสียค่าบริการ (ห้ามหายเด็ดขาด)

5. ขึ้นบันไดไปต่อแถว เพื่อตรวจเอกสารอย่างละเอียดโดยเจ้าหน้าที่คนไทย

– รูปถ่าย หากไม่ผ่านจะมีตู้ถ่ายอัตโนมัติบริการ 120 บาท

– สแกนลายนิ้วมือทุกนิ้ว 2 ข้าง

6. ต่อคิวรอสัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่จะเป็นชาวต่างชาติทั้งหมด (พูดไทยได้บ้าง)

5.3) บทสัมภาษณ์ (ประมาน15นาที)

1.ส่วนใหญ่จะโดนถามจุดประสงค์การขอวีซ่า เดินทางไปไหนบ้าง กี่วัน ทำงานอะไร รายได้เท่าไหร่ฯ

2.หากเดินทางพร้อมกันหลายคนสามารถสัมภาษณ์พร้อมกันได้เลย จะถามถึงความสัมพันธ์

3.สามารถดูรวมประโยคสัมภาษณ์วีซ่าอเมริกาจากพันทิพ

        —————————————————————————————————————————–

6. รอรับผลสัมภาษณ์

<ตรวจสอบผล รอรับพาสพอร์ตคืนทางไปรษณีย์>

เราจะรู้ตอนนั้นทันทีเลยว่าวีซ่าผ่านหรือไม่ผ่าน

ถ้าผ่านเจ้าหน้าที่จะแจ้งว่าอีก2-3วันจะได้รับทางไปรษณีย์ (อาจจะเกินแล้วแต่ช่วงว่าคนเดินทางเยอะหรือไม่

แต่ไม่เกิน 7 วันทำการ)

ถ้าไม่ผ่านเจ้าหน้าที่จะคืนพาสพอร์ตให้เลย พร้อมชี้แจงเหตุผล

*ท่านสามารถตรวจสอบผลออนไลน์ได้ที่นี่

**หากไปรับเอง ต้องเตรียมหลักฐานดังนี้

ได้รับวีซ่าส่งถึงบ้านแล้ว ก็รีบจัดกระเป๋า เตรียมออกท่องดินแดนแห่งสหรัฐอเมริกากันเลย!

 

สอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:

ศูนย์บริการวีซ่าสหรัฐอเมริกาผ่าน 2 ช่องทาง

เบอร์ติดต่อ 02-105-4110 หรือ

เขียนอีเมล์ไปที่ [email protected]

ในเวลาทำการ 8.00-20.00 น. วันจันทร์-ศุกร์ (หยุดเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ของไทยและอเมริกา)

**ดูคำถามที่พบบ่อย (FAQ

[Update] Digital ID ในบริบทประเทศไทย | tax id แปล ว่า – NATAVIGUIDES


Digital Service

Digital ID ในบริบทประเทศไทย

ที่มา – ที่ไป
Digital ID (การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล) โครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่จะเชื่อมต่อการยืนยันตัวตนจากทุกภาคส่วนเข้ามาไว้ด้วยกัน ที่ผ่านมาการให้บริการของภาครัฐแก่ประชาชนและภาคธุรกิจ หรือการให้บริการของภาคธุรกิจแก่ประชาชน ประกอบด้วยขั้นตอนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนที่มีความซ้ำซ้อน มีความสิ้นเปลืองทั้งเวลาและทรัพยากร เกิดภาระต่อผู้แสดงตนและผู้มีหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องและยืนยันตัวตน การพิสูจน์ตัวตนมักจะให้ผู้ทำธุรกรรมต้องไปแสดงตนต่อผู้ให้บริการ เช่น ธนาคารพาณิชย์ พร้อมทั้งส่งเอกสารหลักฐานในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน จึงก่อให้เกิดความไม่สะดวกและเกิดภาระต่อผู้ใช้บริการ

รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีพัฒนาการก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มาประยุกต์ใช้กับการให้บริการประชาชนและภาคธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีการวางโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในเรื่อง National Digital ID Platform (ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล) ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้การประกอบธุรกิจและการทำธุรกรรมต่างๆ ในยุคดิจิทัลและ Thailand 4.0 มีความรวดเร็วและมั่นคงปลอดภัยตามมาตรฐานสากล รวมถึงสอดคล้องกับนโยบายโครงการ Doing Business Portal (ระบบอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจแบบครบวงจร) ที่ต้องการยกระดับ Ease of Doing Business Ranking ของประเทศ

ดำเนินการอย่างไร
รัฐบาลโดยความร่วมมือของกระทรวงการคลังกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ดำเนินการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ดังนี้

1. แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 คณะ ดังนี้

  1. คณะทำงานจัดทำคุณสมบัติทางเทคนิคของระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลทำหน้าที่ในการศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบและกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของระบบ พร้อมทั้งออกแบบสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและกระบวนการให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยไม่เฉพาะเจาะจงเทคโนโลยี
  2. คณะทำงานด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ทำหน้าที่ ในการศึกษาแนวทางการกำกับดูแลการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมทั้งกำหนดวิธีการ และรูปแบบการกำกับดูแล การประเมินความเสี่ยง การทำสัญญาและกำหนดผลผูกพันทางกฎหมาย และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยคณะทำงานนี้ได้ดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล พ.ศ. ….
  3. คณะทำงานนำร่องการใช้ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ทำหน้าที่ในการพัฒนาและนำร่องการใช้ระบบ เพื่อสนับสนุน Ease of Doing Business พร้อมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะมาตรฐาน และแนวปฏิบัติสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการใช้งานระบบสำหรับบริการภาครัฐ โดยมีโครงการนำร่อง เช่น โครงการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา การยื่นภาษีกรมสรรพากร การเปิดบัญชีสมาชิกสมาคมธนาคารไทย รวมถึงการประกันภัย

2. จัดตั้งบริษัท National Digital ID (NDID) ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างธนาคารพาณิชย์ภายใต้สมาคมธนาคารไทย บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย และสมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ไทย โดยจะดำเนินการให้บริการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเกี่ยวกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการปกครอง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภาคเอกชน

ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลจะเป็นระบบกลางที่รองรับการยืนยันตัวตน ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ข้อมูลจากบุคคลที่ 3 (Third Party) ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องได้รับความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูลก่อน จึงสามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ได้

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีหนังสืออนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีความพร้อมในด้านระบบงาน บุคลากร และการบริหารความเสี่ยงด้านต่างๆ (ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ และความเสี่ยงด้านกลยุทธ์) สามารถให้บริการยืนยันตัวตนของลูกค้าหรือให้ข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลได้แล้ว เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2561 โดยขอให้ธนาคารถือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ ธปท. กำหนด

3. สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ให้พัฒนาส่วนเชื่อมต่อกับ Doing Business Portal ที่ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) โดยใช้มาตรฐาน Open ID Connect ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่มีความปลอดภัย เพื่อทำให้ e-Service ของหน่วยงานภาครัฐสามารถแชร์ ID จากหน่วยงานอื่นๆ ได้ และจะทำการเชื่อมต่อกับระบบของบริษัท NDID ผ่าน Federation Proxy เพื่อร่วมให้บริการเป็นระบบเดียวกัน

นอกจากนี้ สพธอ. ได้มีการจัดทำ (ร่าง) ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยการยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้หน่วยงานกำกับดูแล เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ใช้อ้างอิงในการกำหนดระดับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนกับหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล เช่น ธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัย ผู้ให้บริการมือถือ โดยมีระดับความน่าเชื่อถือที่สอดคล้องกับมาตรฐาน NIST SP 800-63-3 ของสหรัฐอเมริกา ดังนี้

  1. Identity Assurance Level (IAL) หรือระดับความน่าเชื่อถือของอัตลักษณ์ บ่งบอกถึงระดับความเข้มงวดในกระบวนการพิสูจน์ตัวตนของผู้ขอใช้บริการ จะแบ่งออกเป็นระดับย่อย 7 ระดับ
  2. Authenticator Assurance Level (AAL) หรือระดับความน่าเชื่อถือของการยืนยันตัวตน บ่งบอกถึงระดับความเข้มงวดในกระบวนการยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ ซึ่งได้ลงทะเบียนกับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน (Identity Provider : IdP) ไว้แล้ว จะแบ่งออกเป็นระดับย่อย 4 ระดับ

ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลคาดว่าจะสามารถให้บริการยืนยันตัวตนเต็มรูปแบบ และเชื่อมโยงฐานข้อมูลเต็มรูปแบบได้ในปลายปี 2562

ว่าด้วยเรื่องกฎหมาย
กระทรวงการคลังได้เสนอ (ร่าง) พระราชบัญญัติการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล พ.ศ. …. ต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของ (ร่าง) พระราชบัญญัติฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561

สาระสำคัญของ (ร่าง) พระราชบัญญัติฯ สรุปได้ ดังนี้

  1. กำหนดคำนิยาม “พิสูจน์และยืนยันตัวตน” หมายความว่า การระบุตัวตน การแสดงตน การพิสูจน์ตัวตน การแสดงหลักฐานใดๆ และการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ขอใช้บริการและการยืนยันตัวตนของผู้ขอใช้บริการ ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงการแสดงเจตนา การให้ความยินยอม การทำนิติกรรมสัญญาใดๆ หรือการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยให้เป็นไปตามความประสงค์หรือเจตนาของผู้ใช้บริการ และ “ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล” หมายความว่า ระบบและเครือข่ายกลางในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสมาชิก หน่วยงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพัฒนาและบริหารจัดการ โดยบริษัทผู้ให้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
  2. กำหนดให้มี “คณะกรรมการกำกับดูแลการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล” โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นรองประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีกจำนวนสิบสองคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ
  3. กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ในการกำกับดูแลโครงข่ายระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเป็นการทั่วไป อำนาจและหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึงการออกประกาศหรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ การออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับบริษัทผู้ให้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล รวมถึงการกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล การสั่งให้บริษัทผู้ให้บริการยื่นรายงานเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัทเป็นการทั่วไปหรือเป็นการเฉพาะ โดยมีรายการและระยะเวลาตามที่คณะกรรมการกำหนด การพิจารณาวินิจฉัยคำอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัตินี้ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกำกับดูแลการใช้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของธุรกิจในแต่ละภาคอุตสาหกรรม และปฏิบัติการอื่นใดตามที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ
  4. กำหนดให้การให้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลจะกระทำได้ต่อเมื่อได้จัดตั้งในรูปบริษัทและได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรี
  5. กำหนดให้บริษัทผู้ให้บริการและผู้ให้บริการระบบทำการแทน ดำเนินการเข้ารหัส (Encryption) หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูลในโครงข่ายระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล โดยต้องมีมาตรฐานการเข้ารหัสหรือการดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการกำหนดเป็นอย่างน้อย
  6. กำหนดให้บริษัทผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการระบบทำการแทนหรือสมาชิกผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้แก่ผู้อื่น หรือเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง แต่มิใช่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่สมาชิก ผู้ใช้บริการ หรือเจ้าของข้อมูล บริษัท ผู้ให้บริการระบบทำการแทนหรือสมาชิกผู้เปิดเผย แล้วแต่กรณี ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
  7. กำหนดให้บริษัทผู้ให้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ผู้ให้บริการระบบทำการแทนหรือผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ประกาศ หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จากนั้นจะส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

ไม่ใช่เรื่องไกลตัว
การนำ Digital ID มาใช้ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน Digital ID ที่นำมาใช้นอกจากเลขบัตรประชาชน 13 หลัก อาจจะเป็นการสแกนลายนิ้วมือ การสแกนม่านตา การล็อกอินผ่านอินเทอร์เน็ตด้วย Facebook หรือ Mobile Banking ซึ่งไม่ได้มีการกำหนดว่าต้องใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งโดยเฉพาะ

        Digital ID ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ทุกภาคส่วนจึงควรมีการปรับตัวเพื่อรองรับบริบทนี้

        ภาครัฐ >> ปรับรูปแบบบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจ

        >> ทบทวน/ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง

        ภาคธุรกิจ >> ปรับรูปแบบบริการ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน

        ประชาชน >>ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบบริการหรือการทำธุรกรรมต่างๆ เพื่อให้รู้เท่าทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง

เอกสารอ้างอิง:
ผู้เขียน: กลุ่มงานนโยบายฯ

2. จัดตั้งบริษัท National Digital ID (NDID) ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างธนาคารพาณิชย์ภายใต้สมาคมธนาคารไทย บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย และสมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ไทย โดยจะดำเนินการให้บริการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเกี่ยวกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการปกครอง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภาคเอกชนระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลจะเป็นระบบกลางที่รองรับการยืนยันตัวตน ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ข้อมูลจากบุคคลที่ 3 (Third Party) ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องได้รับความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูลก่อน จึงสามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ได้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีหนังสืออนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีความพร้อมในด้านระบบงาน บุคลากร และการบริหารความเสี่ยงด้านต่างๆ (ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ และความเสี่ยงด้านกลยุทธ์) สามารถให้บริการยืนยันตัวตนของลูกค้าหรือให้ข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลได้แล้ว เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2561 โดยขอให้ธนาคารถือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ ธปท. กำหนด3. สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ให้พัฒนาส่วนเชื่อมต่อกับ Doing Business Portal ที่ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) โดยใช้มาตรฐาน Open ID Connect ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่มีความปลอดภัย เพื่อทำให้ e-Service ของหน่วยงานภาครัฐสามารถแชร์ ID จากหน่วยงานอื่นๆ ได้ และจะทำการเชื่อมต่อกับระบบของบริษัท NDID ผ่าน Federation Proxy เพื่อร่วมให้บริการเป็นระบบเดียวกันนอกจากนี้ สพธอ. ได้มีการจัดทำ (ร่าง) ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยการยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้หน่วยงานกำกับดูแล เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ใช้อ้างอิงในการกำหนดระดับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนกับหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล เช่น ธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัย ผู้ให้บริการมือถือ โดยมีระดับความน่าเชื่อถือที่สอดคล้องกับมาตรฐาน NIST SP 800-63-3 ของสหรัฐอเมริกา ดังนี้ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลคาดว่าจะสามารถให้บริการยืนยันตัวตนเต็มรูปแบบ และเชื่อมโยงฐานข้อมูลเต็มรูปแบบได้ในปลายปี 2562กระทรวงการคลังได้เสนอ (ร่าง) พระราชบัญญัติการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล พ.ศ. …. ต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของ (ร่าง) พระราชบัญญัติฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561สาระสำคัญของ (ร่าง) พระราชบัญญัติฯ สรุปได้ ดังนี้ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จากนั้นจะส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไปการนำ Digital ID มาใช้ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน Digital ID ที่นำมาใช้นอกจากเลขบัตรประชาชน 13 หลัก อาจจะเป็นการสแกนลายนิ้วมือ การสแกนม่านตา การล็อกอินผ่านอินเทอร์เน็ตด้วย Facebook หรือ Mobile Banking ซึ่งไม่ได้มีการกำหนดว่าต้องใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งโดยเฉพาะDigital ID ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ทุกภาคส่วนจึงควรมีการปรับตัวเพื่อรองรับบริบทนี้ภาครัฐ >> ปรับรูปแบบบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจ>> ทบทวน/ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงภาคธุรกิจ >> ปรับรูปแบบบริการ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันประชาชน >>ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบบริการหรือการทำธุรกรรมต่างๆ เพื่อให้รู้เท่าทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงกลุ่มงานนโยบายฯ


Apple ID คืออะไร แล้วมีความสำคัญยังไง….


รวมคลิปให้ความรู้ผู้ใช้งาน Mac iPhone iPad ที่ลิงก์ด้านล่างนี้
youtube: http://bit.do/iPhoneiOSTHchannel
youtube: http://bit.do/iPhoneiOSTHchannel
youtube: http://bit.do/iPhoneiOSTHchannel
.
AppleID iPhone iPhoneiOSThailand
.
เรามีทีม User ไว้คอยช่วยเหลือลูกค้า
ช่วยเหลือผู้ใช้ iPhone iPad Mac AppleWatch ฟรี!!
จะช่วยหาคำตอบให้กับทุกปัญหา
ไม่มีใครช่วย ไม่มีใครตอบ เราจะช่วยทุกท่านเองครับ
(โพสถามในกลุ่มเท่านั้น)
เลือกลิงก์ให้ตรงกลุ่มด้านล่างนี้เลยนะครับ ^^
iPhone = http://bit.do/iPhoneiOsSupportGroup
iPad = http://bit.do/iPadOsSupportGroup
Mac = http://bit.do/MacOsSupportGroup
AppleWatch = http://bit.do/AppleWatchOsSupportGroup
.
MacUp Studio ศูนย์ซ่อมผลิตภัณฑ์แอปเปิ้ล
ประสบการณ์ซ่อมมากกว่า 20 ปี
ซ่อมถูกกว่า ซ่อมดีมีมาตรฐาน ซ่อมด่วน รอรับได้
มีความรู้ความชำนาญงานระดับอาจารย์สอนซ่อม
เครื่องมือซ่อมทันสมัย บริการมาตรฐานสากล
ตรวจเช็คทุกอาการ ฟรี!!! แจ้งราคาก่อนซ่อม
.
สอบถามปัญหาเบื้องต้นก่อนได้ครับ
เรายินดีตอบทุกคำถาม แค่ทักมาเราก็ดีใจแล้ว ^^
ประเมินราคา ถามค่าซ่อมก่อนได้
.
สาขาขอนแก่น โทร 0956565090
line: @macup http://bit.do/linemacup
inbox = m.me/MacUpStudio
.
เปิดบริการทุกวัน 9:3020:00 น.
รับงานซ่อม ทุกจังหวัด ทั่วประเทศ
ส่งมาทาง kerry ไปรษณีย์ ยินดีรับใช้ทุกท่าน
.
คลิปงานซ่อมทั้งหมดทาง Youtube == http://bit.do/youtubemacupbkk
.
ดูผลงานซ่อมกว่า 10,000 รายการ == http://bit.do/macupstudiobkkfixed
.
ตัวอย่างคลิปงานซ่อม
ซ่อม iPhone เปิดไม่ติด = https://youtu.be/DTRXKnP4D4
ซ่อม iPhone X เปิดไม่ติด = https://youtu.be/JlDBrcu_PBA
เพิ่มความจุ iPhone = https://youtu.be/q_lHKCVP7iY
.
ซ่อม Mac เปิดไม่ติด = https://youtu.be/58bvoIdrjjw
ซ่อม Mac โดนนํ้า เปิดไม่ติด = https://youtu.be/otERIfMPUSk
เพิ่ม SSD M2 Macbook 20132018 = https://youtu.be/0X5yKITfhMw
ซ่อม iMac Slim เปิดไม่ติด ลูกค้าส่งมาทาง kerry = https://youtu.be/IqKdR9Vlo8k
ติดตั้ง SSD iMac Slim = https://youtu.be/sETgM_0548o
ซ่อม iMac Slim เครื่องค้าง เปลี่ยนชิบการ์ดจอ = https://youtu.be/jtJSQRUXJ9o
ซ่อม iMac การ์ดจอเสีย = https://youtu.be/L3rXKNIAG4k
ซ่อม iMac เปิดติดไม่มีภาพ = https://youtu.be/Jbi0HEsGieY
.
ซ่อม iPad 12.9 เปิดไม่ติด = https://youtu.be/P_okRN1O0Y
ซ่อม iPad Pro เปิดไม่ติด = https://youtu.be/TItMkIunuRI
.
Website: MacUp Studio
https://www.macupstudio.com
พิกัด MacUp Studio:
https://goo.gl/maps/15iEiQGFWw82
คลิปการเดินทางมาร้าน MacUp Studio:
https://youtu.be/qreWhUMTV1g
ศูนย์ซ่อมไอโฟน ไอแพด ซ่อมMac
.
ศูนย์ซ่อมผลิตภัณฑ์แอปเปิ้ล
ซ่อมไอโฟนขอนแก่น ซ่อมiPhoneขอนแก่น
ซ่อมไอแพดขอนแก่น ซ่อมiPadขอนแก่น
ซ่อมMacขอนแก่น ซ่อมแมคบุ๊คขอนแก่น
ซ่อมไอแมคขอนแก่น ซ่อมiMacขอนแก่น
ซ่อมapplewatchขอนแก่น
MacUpStudio Macup

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

Apple ID คืออะไร แล้วมีความสำคัญยังไง....

Tax ID Vs Social Security Number


What is a Tax Id Number ? What is a social security Number? Why do you need a social security number for business what is the purpose of getting a Tax ID Number which ones protects you best ?

Tax ID Vs Social Security Number

How books can open your mind | Lisa Bu


What happens when a dream you’ve held since childhood … doesn’t come true? As Lisa Bu adjusted to a new life in the United States, she turned to books to expand her mind and create a new path for herself. She shares her unique approach to reading in this lovely, personal talk about the magic of books.
TEDTalks is a daily video podcast of the best talks and performances from the TED Conference, where the world’s leading thinkers and doers give the talk of their lives in 18 minutes (or less). Look for talks on Technology, Entertainment and Design plus science, business, global issues, the arts and much more.
Find closed captions and translated subtitles in many languages at http://www.ted.com/translate
Follow TED news on Twitter: http://www.twitter.com/tednews
Like TED on Facebook: https://www.facebook.com/TED
Subscribe to our channel: http://www.youtube.com/user/TEDtalksDirector

How books can open your mind | Lisa Bu

Tax ID vs. Dun \u0026 Bradstreet D-U-N-S® Number


What is a Tax ID Number? How is it different from a DUNS Number? Learn the difference and how using a DUNS Number to structure your data can help you gain a competitive advantage.

Tax ID vs. Dun \u0026 Bradstreet D-U-N-S® Number

EP.3 Private Key และ Public Key คืออะไร ?? | พื้นฐานคริปโตคร่าวๆ


EP.3 Private Key และ Public Key คืออะไร ??
เนื้อหาวิดีโอพื้นฐานคริปโตคร่าวๆ
EP.1 บล็อกเชน (Blockchain) คืออะไร ??
Link : https://youtu.be/aH1ReU40PBU
EP.2 โหนด (Node) คืออะไร ??
Link : https://youtu.be/stDW1bMcAI
EP.3 Private Key \u0026 Public Key คืออะไร
Link : วิดีโอนี้
EP.4 Seed Phrase คืออะไร
Link : รออัพเดท
EP.5 วิธีเก็บรักษา Seed Phrase ให้ปลอดภัยจากโจร
Link : รออัพเดท
EP.6 กระเป๋า (Wallet) สำหรับเก็บเงินบนโลก Cryptocurrency
Link : รออัพเดท
ขอบคุณเพื่อนๆทุกคนที่ฟังจนจบนะครับ
หวังว่าความรู้นี้จะนำไปต่อยอดได้นะ ^^

EP.3 Private Key และ Public Key คืออะไร ?? | พื้นฐานคริปโตคร่าวๆ

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ tax id แปล ว่า

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *