Skip to content
Home » [NEW] | วัฒนธรรมอเมริกัน – NATAVIGUIDES

[NEW] | วัฒนธรรมอเมริกัน – NATAVIGUIDES

วัฒนธรรมอเมริกัน: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

คำบรรยายภาพ

  1. ครูใหญ่จูเลีย แฮทช์ และคณะครูจากโรงเรียนสตรีอเมริกัน (โรงเรียนดาราวิทยาลัยในปัจจุบัน) ทศวรรษ 1920 (พ.ศ. 2463-2472) (ภาพถ่ายจากหนังสือ เส้นด้ายอเมริกันในผืนผ้าล้านนา)
  2. กงสุลใหญ่สหรัฐฯ ฌอน โอนีลล์ ทักทายเยาวชนที่ร่วมชมขบวนพาเหรดในงานลอยกระทงปี 2562 (อนุเคราะห์ภาพถ่ายโดยพนักงานสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ)
  3. กงสุลใหญ่สหรัฐฯ เจนนิเฟอร์ ฮาร์ไฮ (พ.ศ. 2559-2562) ถ่ายภาพกับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เข้าร่วมกิจกรรมสังเกตการณ์การเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐฯ ปี 2561 (อนุเคราะห์ภาพถ่ายโดยพนักงานสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ)
  4. วงดนตรีประจำหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐฯ III Marine Expeditionary Force จัดเวิร์กชอปด้านดนตรีให้กับนักเรียนโรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2562 (อนุเคราะห์ภาพถ่ายโดยพนักงานสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ)
  5. ทีมวีลแชร์แดนซ์จากโรงเรียนศรีสังวาลย์ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ชนะรายการ Thailand’s Got Talent ปี 2557 แสดงในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมกีฬาเพื่อผู้พิการ ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์ National Ability Center ของสหรัฐฯ ปี 2558 (อนุเคราะห์ภาพถ่ายโดยพนักงานสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ)
  6. เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เคนเนธ ทอดด์ ยัง (พ.ศ. 2504-2506) ลองเป่าแคนที่พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของคุณไกรศรี นิมมานเหมินทร์ เมื่อครั้งเยือนเชียงใหม่ ทศวรรษ 1960 (พ.ศ. 2503-2512) (อนุเคราะห์ภาพถ่ายโดยคุณวิมล สิทธิประณีต)

หนึ่งในคุณูปการที่สำคัญที่สุดที่ชาวอเมริกันได้สร้างให้แก่ภาคเหนือของประเทศไทยคือเรื่องการศึกษา

นับตั้งแต่มีการก่อตั้งโรงเรียนแบบตะวันตกขึ้นเป็นครั้งแรกที่เชียงใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มาจนถึงความร่วมมือด้านการศึกษาที่กว้างขวางในปัจจุบัน ชาวอเมริกันมีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาการศึกษาในภาคเหนือของไทยมาโดยตลอด สถาบันการศึกษาที่ประสบความสำเร็จที่เห็นในปัจจุบันเป็นหนึ่งในสิ่งที่ตกทอดมาจากบทบาทของชาวอเมริกันรุ่นแรกในภาคเหนือของไทย

ก่อนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในภาคเหนือของไทย เฉพาะเด็กชายเท่านั้นที่ได้เรียนหนังสือ และต้องเรียนในวัดเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้ครูสอนภาษาชาวอเมริกันได้เข้าไปถวายพระอักษรในพระบรมมหาราชวังในช่วงกลางทศวรรษ 1800 (พ.ศ. 2343-2352) เนื่องจากทรงเห็นว่าอเมริกา เป็นประเทศที่ไม่ได้มีเจตนาที่จะสร้างอาณาจักรของตนขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า ชาวอเมริกันเป็นอำนาจ “ที่เป็นกลาง” ระหว่างฝรั่งเศสทางทิศตะวันออกและอังกฤษทางทิศตะวันตก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวอเมริกันก็ได้ทำงานร่วมกับชาวไทยอย่างกว้างขวางในการสร้างโรงเรียนสมัยใหม่และผสมผสานวิธีการสอนรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการศึกษาทั่วทั้งภาคเหนือของไทย

โรงเรียนมัธยมศึกษา

โรงเรียนแบบตะวันตกแห่งแรกในภาคเหนือของไทยมุ่งให้การศึกษาแก่เด็กผู้หญิง โรงเรียนดาราวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันเป็นโรงเรียนสหศึกษา มีประวัติย้อนไปถึงเมื่อครั้งโซเฟีย แมคกิลวารี มิชชันนารีชาวอเมริกัน ตัดสินใจเปิดบ้านของเธอที่เชียงใหม่เป็นโรงเรียนสำหรับเด็กหญิงในปี 2418 เมื่อมีนักเรียนมากขึ้น แหม่มแมคกิลวารีก็เสาะหาที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนสำหรับเด็กผู้หญิงโดยเฉพาะ เมื่อถึงปี 2422 เอ็ดนา เอส.โคล และแมรี แคมป์เบลล์ ได้ร่วมกันก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนสตรีอเมริกัน (American Girls’ School) ในเชียงใหม่ ซึ่งต่อมาในปี 2466 โรงเรียนนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนดาราวิทยาลัย เพื่อรำลึกถึงผู้อุปถัมภ์รุ่นแรกคือ เจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

สำหรับโรงเรียนชายวังสิงห์คำ (Chiengmai Boys’ School) ซึ่งต่อมาคือโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ได้รับการก่อตั้งขึ้นในลักษณะคล้าย ๆ กันในปี 2430 โดยศาสนาจารย์ ดี.จี. คอลลินส์ ชาวอเมริกันนิกายเพรสไบทีเรียนได้ย้ายจากกรุงเทพฯ ไปยังเชียงใหม่เพื่อก่อตั้งโรงเรียนขึ้นในบริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง โรงเรียนเริ่มเปิดสอนด้วยเงินทุนเพียง 2,000 บาทและมีนักเรียนประมาณ 30 คน ศาสนาจารย์คอลลินส์ซึ่งเป็นครูใหญ่คนแรกไม่เพียงดูแลด้านการบริหารโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาแบบตะวันตกในภาคเหนือของไทย ตลอดจนเรียนภาษาล้านนา ขอการสนับสนุนจากชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งระดมเงินบริจาคจากชาวอเมริกัน และก่อตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกขึ้นในภาคเหนือของไทย

เมื่อถึงปี 2499 โรงเรียนชายวังสิงห์คำก็ย้ายไปอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง และได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ในขณะนั้น) ว่า “โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย” เมื่อปี 2549 โรงเรียนได้ฉลองวาระครบรอบ 100 ปีที่ได้รับพระราชทานนามและจัดพิธีรำลึกถึงคุณูปการต่าง ๆ ของชาวอเมริกันที่มีส่วนช่วยพัฒนาโรงเรียนในยุคแรก ๆ

ชาวอเมริกันยังได้เผยแพร่การศึกษาแบบตะวันตกในจังหวัดอื่น ๆ ของภาคเหนือ ในปี 2428 ศาสนาจารย์นายแพทย์แซมมวล ซี. พีเพิลส์ และภรรยาได้ก่อตั้งโรงเรียนเคนเน็ตแม็คเคนซีขึ้นที่จังหวัดลำปาง โดยเป็นโรงเรียนแบบตะวันตกแห่งแรกที่ไม่ได้ตั้งอยู่ที่เชียงใหม่ ศาสนาจารย์พีเพิลส์และภรรยายังได้ก่อตั้งโรงเรียนลินกัล์น อะแคเดมีขึ้นที่จังหวัดน่านในปี 2447 ก่อนหน้าปี 2440 ศาสนาจารย์แดเนียล แมกกิลวารี และนายแพทย์วิลเลียม บริกส์ ได้สร้างโรงเรียนขนาดเล็กแห่งหนึ่งขึ้นที่เชียงราย ในปัจจุบัน มีโรงเรียนที่ก่อตั้งโดยชาวอเมริกันทั้งหมด 11 แห่งใน 6 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย แพร่ น่าน และพิษณุโลก

การศึกษาระดับอุดมศึกษา

ความสำเร็จของโรงเรียนมัธยมปลายเหล่านี้ได้สร้างกำลังใจให้แก่เหล่ามิชชันนารีชาวอเมริกัน พวกเขาจึงได้เริ่มวางแผนก่อสร้างมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งขึ้นในภาคเหนือ ความคิดเกี่ยวกับการสร้างสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือเริ่มต้นขึ้นในชุมชนชาวเชียงใหม่ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อชาวอเมริกันนิกายเพรสไบทีเรียนกลุ่มหนึ่งร่างแผนการก่อตั้ง “มหาวิทยาลัยคริสเตียนลาว” ขึ้น โดยคอนราด คิงส์ฮิลล์ มิชชันนารีหนุ่มนิกายเพรสไบทีเรียนเดินทางถึงเชียงใหม่ในปี 2490 เพื่อวางรากฐานสำหรับกิจการอย่างหนึ่งซึ่งได้พัฒนากลายมาเป็นวิทยาลัยพายัพในเกือบ 30 ปีต่อมา

ในปี 2517 หลังจากที่รัฐบาลไทยอนุมัติแผนการก่อตั้งวิทยาลัยเอกชน มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยได้เปิดวิทยาลัยพายัพ ซึ่งเป็นวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกนอกกรุงเทพฯ วิทยาลัยพายัพได้รวมเอาสถาบันหลายแห่งที่ก่อตั้งโดยชาวอเมริกันเข้าไว้ด้วยกัน ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี และโรงเรียนฝึกหัดนางพยาบาลแห่งโรงพยาบาลแมคคอร์มิค วิทยาลัยพายัพยังได้เปิดคณะมนุษยศาสตร์เพิ่มอีกคณะหนึ่งและผนวกรวมแผนกดนตรีคริสตจักรของวิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารีเข้ามาไว้ด้วย ทำให้วิทยาลัยพายัพเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดสอนวิชาดนตรี ในปี 2527 วิทยาลัยพายัพได้รับสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัย

อาคารของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ และหอพักนักศึกษานานาชาติ ซึ่งมีพิธีเปิดในเดือนมิถุนายน 2550 ได้รับการสนับสนุนทุนในการก่อสร้างส่วนหนึ่งจากโครงการโรงเรียนและโรงพยาบาลอเมริกันในต่างประเทศ (American Schools and Hospitals Abroad: ASHA) ขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (U.S. Agency for International Development: USAID) นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ยังสนับสนุนทุนกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อก่อสร้างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สิรินธร (สำนักหอสมุด) ซึ่งเปิดใช้งานปี 2548 ภายใต้โครงการ ASHA นี้ มหาวิทยาลัยพายัพได้รับทุนสนับสนุนไปแล้วกว่า 8 ล้านเหรียญสหรัฐ นับตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา

พลเมืองอเมริกันยังมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งและพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ถือกำเนิดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีในปี 2497 ที่กำหนดให้มีการก่อตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นในภาคเหนือของไทย โครงการนี้ได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินและการพัฒนาจากหน่วยงานบริหารความช่วยเหลือของสหรัฐฯ (U.S. Operations Mission: USOM) ในปี 2499 และนำไปสู่ความร่วมมือระยะยาวกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ในการก่อสร้างโรงเรียนแพทย์ ได้แก่ การร่วมร่างแผนแม่บท การให้คำปรึกษาจากช่างเทคนิค ที่ปรึกษา และนักบริหารชาวอเมริกัน รวมทั้งคำสัญญาในการจัดหาอาจารย์ชาวอเมริกันให้แก่มหาวิทยาลัยจนกว่าอาจารย์ชาวไทยจะสามารถสอนนักเรียนแพทย์ได้เองด้วย นอกจากนี้ ยังมีโครงการทุนการศึกษาที่ส่งนักศึกษาไทยไปยังสหรัฐฯ เพื่อศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาขึ้นไปในด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์คลินิก โดยรวมแล้วรัฐบาลสหรัฐฯ ได้มอบทุนประมาณ 3.8 ล้านเหรียญสหรัฐผ่านทาง USOM และองค์กรหลักคือ USAID เพื่อก่อสร้างและสนับสนุนโรงเรียนแพทย์

ในปี 2507 โรงเรียนแพทย์แห่งนี้กลายเป็นแกนหลักของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันระดับอุดมศึกษาแห่งแรกนอกกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังคงความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ โดยมีการแลกเปลี่ยนทางการศึกษากับมหาวิทยาลัยประมาณ 40 แห่งในสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่ได้ศึกษาต่อในสหรัฐฯ ภายใต้โครงการฟุลไบรท์และโครงการแลกเปลี่ยนอื่น ๆ

โครงการแลกเปลี่ยน

ในปัจจุบัน สหรัฐฯ มีส่วนร่วมในการศึกษาของไทยในภาคเหนือผ่านโครงการแลกเปลี่ยนที่หลากหลายสำหรับนักเรียนนักศึกษา และคณาจารย์ วิธีการหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการศึกษาระดับมัธยมปลายในต่างประเทศคือการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น โครงการเยาวชนเอเอฟเอสเพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ (AFS Intercultural Programs) (เดิมชื่อโครงการ American Field Service) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้โครงการนี้ นักเรียนไทยหลายพันคนและนักเรียนอเมริกันหลายร้อยคนได้ใช้ชีวิตและศึกษาในสหรัฐฯ และไทย นอกจากนี้ ยังมีสำนักงานแลกเปลี่ยนทางการศึกษาที่ไม่แสวงผลกำไรอีกหลายแห่งของสหรัฐฯ ที่ร่วมดำเนินโครงการในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและการทำงานในสหรัฐฯ ด้วย เช่น Council on International Educational Exchange (CCI), Institute for the International Education of Students (IES) และ School for International Training (SIT) นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยในอเมริกาและไทยหลายแห่งก็ยังได้จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนกันเองเพื่อให้นักศึกษาชาวอเมริกันและชาวไทยได้เรียนรู้วัฒนธรรมของกันและกัน

ทุนฟุลไบรท์เป็นทุนที่มอบให้ทั้งชาวอเมริกันและชาวไทยเพื่อการค้นคว้าวิจัย ศึกษาและสอนในไทยและสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2492-2560 มีชาวไทยกว่า 1,786 คนและชาวอเมริกันกว่า 1,146 คนที่ได้รับทุนฟุลไบร์ทเพื่อค้นคว้าวิจัย ศึกษา และสอนในทั้งสองประเทศ ภาคเหนือของไทยเป็นจุดหมายปลายทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากผู้รับทุนฟุลไบรท์ชาวอเมริกัน โดยเชียงใหม่เพียงจังหวัดเดียวมีผู้รับทุนที่ใช้ชีวิตและทำงานอยู่กว่า 120 คน

เป็นเวลาหลายทศวรรษที่นักศึกษาไทยให้ความสนใจประเทศสหรัฐฯ จากรายงานของ Open Doors ระบุว่ามีนักศึกษาไทยกว่า 6,636 คน ลงทะเบียนในสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐฯในปี 2561 ตั้งแต่ปี 2467 เป็นต้นมา ศิษย์เก่าชาวไทยที่เคยศึกษาในสหรัฐฯ ได้ก่อตั้งสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาขึ้น ต่อมาในปี 2495 สถานเอกอัครราชทูตทูตสหรัฐฯ ได้ร่วมกับสมาคมนักเรียนเก่าฯ จัดตั้งโรงเรียนสถานสอนภาษาอังกฤษขึ้นในกรุงเทพฯ โดยใช้ชื่อว่า “เอยูเอ” โรงเรียนดังกล่าวได้ขยายไปยังจังหวัดอื่น ๆ โดยสหรัฐฯ สนับสนุนทุน คณาจารย์ และให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารจัดการจนถึงช่วงกลางทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533-2542) ทุกวันนี้ มีสถานสอนภาษา 20 แห่งที่เกิดขึ้นจากความเป็นหุ้นส่วนดังกล่าว รวมถึงสถานสอนภาษาเอยูเอ ที่เชียงใหม่ ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2500 และสถานสอนภาษาเอยูเอ ที่เชียงราย ซึ่งก่อตั้งในปี  2540 ตั้งแต่ปี 2561 สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ และสถานกงสุลใหญ่ ร่วมกับสถานสอนภาษาเอยูเอ ดำเนินโครงการ English Access Microscholarship Program (Access) ซึ่งสร้างพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียนอายุ 13-20 ปีที่มีศักยภาพแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยโครงการ Access ช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะภาษาอังกฤษที่อาจนำไปสู่โอกาสในการทำงานหรือการศึกษาต่อที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการยังได้ฝึกฝนความสามารถในการแข่งขันและเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนและการศึกษาต่อในประเทศสหรัฐฯ ในอนาคตอีกด้วย

ในปี 2523 USAID ได้สนับสนุนทุนโครงการการศึกษาสำหรับชาวเขาของกรมการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือไทย โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านในเขตจังหวัดเหนือสุดของประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อสอนในสิ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น การขอสัญชาติไทยหรือการป้องกันการใช้ยาเสพติด เป็นต้น ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนมากมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาเขตที่ราบสูงขององค์การสหประชาชาติ องค์กรนอกภาครัฐฯ หรือโครงการใหม่ ๆ ของรัฐบาลในยุคหลัง ๆ

โครงการของรัฐบาลสหรัฐฯ

ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533-2542) กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงศึกษาธิการของสหรัฐฯ ได้สนับสนุนทุนเพื่อก่อตั้งวิทยาลัยชุมชน 2 แห่งในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งนับเป็นสถาบันการศึกษาระดับสูงกว่าชั้นมัธยมศึกษาแห่งแรกในจังหวัดที่มีชายแดนติดประเทศเมียนมา

อีกหนึ่งสถาบันของสหรัฐฯ ที่มีความสัมพันธ์อันยาวนานกับประเทศไทยและภาคเหนือคือหน่วยอาสาสมัครสันติภาพสหรัฐฯ (Peace Corps) ตั้งแต่ปี 2505 เป็นต้นมา อาสาสมัครหน่วยสันติภาพสหรัฐฯ ราว 5,507 คนได้ปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยในบทบาทต่าง ๆ โดยเฉพาะในโครงการด้านการพัฒนาการศึกษาและเยาวชน

เมื่อเรามองสถาบันการศึกษาไทยในปัจจุบัน เราจะเห็นอิทธิพลของสหรัฐฯ ที่มีต่อระบบการศึกษาของไทยเป็นอย่างมาก ความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ และไทยในการสร้างโอกาสทางการศึกษาในภาคเหนือของไทยเริ่มต้นจากการสอนหนังสือในบ้านของมิชชันนารี ก่อนที่จะเปิดห้องเรียนให้แก่เด็กหญิง ก่อตั้งโรงเรียนแพทย์ และจัดตั้งโครงการแลกเปลี่ยนต่าง ๆ ชาวอเมริกันยุคแรก ๆ ในภาคเหนือของไทย ซึ่งให้ความสำคัญกับการก่อตั้งสถาบันการศึกษาเป็นอันดับแรก ตลอดจนโครงการต่าง ๆ ที่สหรัฐฯ ให้การสนับสนุนในเวลาต่อมา ได้ส่งผลต่อการศึกษาไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน

[Update] อิทธิพลอเมริกันในเมืองไทย โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ | วัฒนธรรมอเมริกัน – NATAVIGUIDES

Save

Write CSS OR LESS and hit save. CTRL + SPACE for auto-complete.


เกร็ดความรู้วันขอบคุณพระเจ้า Thanksgiving


เกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับวันขอบคุณพระเจ้า Thanksgiving

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

เกร็ดความรู้วันขอบคุณพระเจ้า Thanksgiving

MY AMERICAN HOST FAMILY VISITS ME IN GERMANY! ♥ SURPRISE


2015/16 I spent one year in South Carolina as an exchange student. Now, it is time for them to come and visit me in Germany! 🙂
Endlich ist es soweit! Meine amerikanische Gastfamilie kommt nach Deutschland, um mich und meine Familie zu besuchen!:)
Instagram: lindaawagner

MY AMERICAN HOST FAMILY VISITS ME IN GERMANY! ♥ SURPRISE

คนไทยนิยมวัฒนธรรมอเมริกัน? -HL ฃอคิดด้วยฅน วัฒนธรรมไทย ทำไมต้องรณรงค์


ในโอกาสที่รัฐบาลกำหนดให้ปี 25372540 เป็นช่วงเวลาของการรณรงค์วัฒนธรรมไทย เหตุใดคนไทยนิยมวัฒนธรรมอเมริกัน มาร่วมคิดกับ
อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยาม นักวิพากษ์สังคม
ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง อดีตเลขาธิการ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ / ประธานมูลนิธิภูมิปัญญา
Mr.William J. Klausner ศาตราจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / Consultant, The Ford Foundation
ดร.วิโรฒ ศรีสุโร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ดำเนินรายการโดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ฃอคิดด้วยฅน ตอน วัฒนธรรมไทย…ทำไมต้องรณรงค์ ออกอากาศตุลาคม 2537

คนไทยนิยมวัฒนธรรมอเมริกัน? -HL ฃอคิดด้วยฅน วัฒนธรรมไทย ทำไมต้องรณรงค์

1.5 HOUR English Conversation Lesson


Join Dan and I (both American English speakers) in this 1.5 hour English conversation lesson!
Download my free ebook: \”5 Steps To Becoming A Confident English Speaker\” http://www.speakenglishwithvanessa.com/freeebook
Become my student by joining a course: http://www.speakenglishwithvanessa.com/fluency
Click on the timestamps below to jump to different categories:
0:39 Family
5:29 Childhood
10:31 Jobs
18:01 Travel
26:27 Food
33:36 Housing
40:53 Nature
50:51 Holidays
56:30 Relaxation
1:03:55 Sports/Exercise
1:09:07 Electronics
1:14:07 Money

English book recommendations: https://www.amazon.com/shop/speakenglishwithvanessa
Subscribe and follow on social media! I’d love to meet you!
YouTube: https://www.youtube.com/user/theteachervanessa
Instagram: http://www.instagram.com/englishwithvanessa/
Facebook: http://www.facebook.com/speakenglishwithvanessa
Send us a postcard from your country:
Speak English With Vanessa
825 C Merrimon Ave PMB 278
Asheville, NC 28804
USA

Speak English With Vanessa helps English learners to speak American English fluently, naturally, and confidently. To become a fluent English speaker and have English conversations with a native English speaker, go to http://www.speakenglishwithvanessa.com

1.5 HOUR English Conversation Lesson

ชมชัดๆซูมใกล้ๆๆแหวนที่นิ้วนางข้างซ้ายของท่านเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี


วันอาทิตย์ที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี เป็นผู้แทนพระองค์ไปถวายผ้าพระกฐิน ณ พระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

ชมชัดๆซูมใกล้ๆๆแหวนที่นิ้วนางข้างซ้ายของท่านเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆMAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ วัฒนธรรมอเมริกัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *