Skip to content
Home » [NEW] พื้นฐานภาษาอังกฤษ-Pronoun   (คำสรรพนาม) | นามพหูพจน์ – NATAVIGUIDES

[NEW] พื้นฐานภาษาอังกฤษ-Pronoun   (คำสรรพนาม) | นามพหูพจน์ – NATAVIGUIDES

นามพหูพจน์: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

Pronoun   (คำสรรพนาม)    คือคำที่มีไว้สำหรับ(พูด,เขียน)แทนชื่อของคน,สัตว์,สิ่งของ,และสถานที่เพื่อป้องกันมิให้กล่าวชื่อนั้นซ้ำๆซากๆ ซึ่งเป็นการฟังไม่ไพเราะ

Pronoun   มีอยู่ 8 ชนิดด้วยกันคือ

  1. Personal Pronoun บุรุษสรรพนาม
  2. Possessive  Pronoun  สามีสรรพนาม
  3. Definite   Pronoun  นิยมสรรพนาม
  4. Indefinite  Pronoun  อนิยมสรรพนาม
  5. Interrogative  Pronoun   ปฤจฉาสรรพนาม
  6. Relative  Pronoun  ประพันธ์สรรพนาม
  7. Reflexive  Pronoun  สรรพนามสะท้อนหรือเน้น
  8. Distributive Pronoun  วิภาคสรรพนาม
  9. 1. Personal Pronounบุรุษสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แทนชื่อของผู้พูด, ผู้ฟัง, และผู้ที่ถูกกล่าวถึง  ซึ่งมีอยู่ 2  พจน์  3  บุรุษ คือ

 

 

เอกพจน์

พหูพจน์

บุรุษที่     1

I

we

บุรุษที่     2

you

you

บุรุษที่     3

he,   she,    it

the

 

 

Personal   Pronoun   แบ่งได้  5  รูป คือ

รูปที่  1

รูปที่ 2

รูปที่ 3

รูปที่  4

รูปที่ 5

I

Me

My

mine

myself

We

us

Our

ours

ourselves

You

you

Your

yours

yourself

He

him

his

his

himself

she

her

Her

hers

herself

It

It

its

its

itself

they

them

there

theirs

themselves

 

  1. Possessive Pronoun สามีสรรพนาม   คือสรรพนามที่ใช้แสดงความเป็นเจ้าของ ซึ่งก็คือบุรุษสรรพนามรูปที่  4  นั่นเอง  เวลาใช้ไม่ต้องมีนามตามหลัง  มีหน้าที่ 3 อย่างคือ

2.1     เป็นประธานของกิริยาในประโยค  เช่น Your   book  is green,  mine is red.

2.2     เป็นส่วนสมบูรณ์ของกิริยา   เช่น  this  pencil is mine, that one is your.

2.3     ใช้เรียงตามหลังบุรพบท(คำเชื่อมคำ) เพื่อเน้นความเป็นเจ้าของให้ชัดเจนขึ้นได้เช่น  A   friend  of  yours  was  killed  last  night.    

  1. 3.  Definite Pronounนิยมสรรพนาม  คือสรรพนามที่ชี้เฉพาะและใช้แทนนามได้ ที่นิยมใช้แพร่หลายมีอยู่ 6 ตัวคือ  (รวมทั้ง which ด้วย)

                    this,   that,   one      3   ตัวนี้ใช้แทนนามที่เป็นเอกพจน์.

                   These,    those,  ones   3    ตัวนี้ใช้แทนนามที่เป็นพหูพจน์.

*นิยมสรรพนามนี้ ทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของกิริยาในประโยคได้ตามแต่ จะ ใช้งาน.

  1. 4.   Indefinite pronounอนิยมสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แทนนามได้ทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจงว่าแทนคนนั้นคนนี้โดยตรง  (ตรงข้ามกับ Definite Pronoun)  ได้แก่คำว่า  some,  any,  all,  someone,  somebody,  anybody,  few,  everyone,  many,  nobody,   everybody,  other……etc.

*ข้อสังเกต ทั้งนิยมสรรพนามและอนิยมสรรพนาม  ถ้าใช้โดยมีคำนามอื่นตามหลังจะกลายเป็นคำคุณศัพท์ไป  แต่ถ้าใช้โดยไม่มีคำนามอื่นตามหลังจึงจะเป็นนิยมสรรพนามหรืออนิยมสรรพนาม.

  1.  5. Interrogative pronounปฤจฉาสรรพนาม  คือสรรพนามที่ใช้เป็นคำถาม  และต้องไม่มีนามตามหลังด้วยจึงจะเรียกว่าเป็นปฤจฉาสรรพนาม  ได้แก่    Who  ,  whom,  whose  ,  what,  which     ซึ่งมีวิธีใช้ดังนี้.
  • Who   (ใคร)   ใช้ถามถึงบุคคลและเป็นประธานของกิริยาในประโยคได้ บางครั้งก็เป็นกรรมได้ เช่น.   Who   is  standing   there  ? ใครกำลังยืนอยู่ที่นั่น?.
  • Whom (ใคร)  ใช้ถามถึงบุคคลและเป็นกรรมของกิริยาหรือบุรพบท  (บางครั้งใช้ Who แทน).เช่น Whom  do  you  love ?  คุณรักใคร ?.
  • Whose (ของใคร)  ใช้ถามถึงเจ้าของ  และต้องเป็นบุคคลเท่านั้น เช่น.  Whose  is  the  car ?  รถคันนี้เป็นของใคร
  • What (อะไร)   ใช้ถามถึงสิ่งของเป็นได้ทั้งประธานและกรรม  เช่น:-

                       –  ถ้าเป็นประธานต้องไม่ใช้กริยาอะไรมาช่วยทั้งสิ้น เช่น What  delayed  you ?  

                          อะไรทำให้คุณล่าช้า.

–  ถ้าเป็นกรรมต้องมีกริยาช่วยตัวอื่นมาร่วมด้วย และวางไว้หลัง What เช่น What  

    do you want ?

  • Which  (สิ่งไหน อันไหน)  ใช้ถามถึงสัตว์, สิ่งของ, เป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น  ถ้าเป็นประธานไม่ต้องใช้กริยาอื่นมาช่วย  Which  is  the  best?  อันไหนดีที่สุด ?.(อนึ่งปฤจฉาสรรพนาม Whose ,which,  what นี้  ถ้าใช้โดยมีนามอื่นตามหลังก็เป็นคุณศัพท์ไป   ถ้าไม่มีนามอื่นตามหลังจึงจะเป็นปฤจฉาสรรพนาม)   
  1. 6. Relative  Pronounประพันธ์สรรพนาม  คือสรรพนามที่ใช้แทนที่อยู่ข้างหน้า และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เชื่อมประโยค ซึ่งอาจเป็นประธานของประโยคหลังได้ด้วย  ได้แก่ Who,  Whom,   Whose, Which,  Where,  what,  when, why,  that .
  • Who  (ผู้ซึ่ง)  ใช้แทนนามที่เป็นบุคคลและบุคคลนั้นจะต้องเป็นผู้กระทำด้วย เช่น The  man  who  came  here  last  week  is  my  cousin.  ชายผู้ซึ่งมาที่นี่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเป็นลูกพี่ลูกน้องของฉัน.
  • Whom (ผู้ซึ่ง)  ใช้แทนนามที่เป็นบุคคลและบุคคลนั้นต้องเป็นผู้ถูกกระทำด้วย เช่น The  boy  whom  you  saw  yesterday  is  my  brother. เด็กชายผู้ซึ่งคุณพบเมื่อวานนี้เป็นน้องชายของผม.
  • Whose(ผู้ซึ่ง…..ของเขา)   ใช้แทนนามที่เป็นบุคคลเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของนามที่ตามหลัง ดังนั้นเมื่อมี Whose ก็ต้องมีนามตามหลัง Whose เสมอ  เช่น  The  girl  whose  father  is  a  teacher  goes  to  school  every  day.   เด็กหญิงผู้ซึ่งพ่อของเขาเป็นครูนั้นไปโรงเรียนทุกวัน.(เป็นคำแสดง ความ เป็นเจ้าของ Father).
  • Which  (ที่,ซึ่ง)  ใช้แทนนามที่เป็นสัตว์ สิ่งของ เป็นได้ทั้งประธานและกรรม   The  animal            which  has  wing  is  a  bird.  สัตว์ที่มีปีกนั้นคือนก(เป็นประธานของอนุประโยค  has  wings) The  kitten  which  I  gave  to  my  aunt  is  very  naughty.  ลูกแมวซึ่งฉันให้แก่คุณป้าของฉันไปนั้นซุกซนมาก.(เป็นกรรมของกริยา  gave  ในอนุประโยค  I gave  to  my  aunt).
  • Where (อันเป็นที่)  ใช้แทนนามที่เป็นสถานที่ เป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น  The  night  club is  the  place  where  is  not  suitable  for children. ไนท์คลับเป็นสถานที่ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กๆ(เป็นประธานของอนุประโยค is  not  suitable  for  children )  The  hotel  is  the  place  where  I  like  best .  โรงแรมเป็นสถานที่ที่ผมชอบมากที่สุด.(เป็นกรรมของ like).
  • What (อะไร,สิ่งที่)  ใช้แทนนามที่เป็นสิ่งของ นามที่ What ไปแทนทำหน้าที่เป็นประพันธ์สรรพนามนั้นไม่ต้องปรากฏให้เห็นอยู่ข่างหน้าเหมือนประพันธ์สรรพนามตัวอื่น ทั้งนี้เพราะถูกละไว้ในฐานะที่เข้าใจแล้ว เช่น I  know  what  is  in  the  box.  ฉันรู้ว่าอะไรอยู่ในกล่องใบนี้.
  • When (เมื่อ,ที่)  ใช้แทนนามที่เกี่ยวกับเวลา ,วัน,  เดือน,ปี  เช่น  Sunday  is  the  day  when  we  don’t  work.  วันอาทิตย์คือวันที่เราไม่ทำงาน.
  • Why (ทำไม)   ใช้แทนนามที่เป็นเหตุผล  (ส่วนมากใช้แทน reason ) เช่น This  is  the  reason  why  I  go  to  Hong  Kong. นี้คือเหตุผลที่ว่า ทำไมผมจึงไปฮ่องกง. 
  • That  (ที่,ซึ่ง)   ใช้แทนคน, สัตว์, สิ่งของ, และสถานที่ได้ แต่ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ 4  ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง  อันได้แก่  :-
  1.  เป็นนามที่มีคุณสมบัติสูงสุดมาขยายอยู่ข้างหลัง เช่น  He is the tallest  man  that  I   have  ever seen. เขาเป็นคนสูงที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา.   
  2. เป็นนามที่มีเลขจำนวนนับที่มาขยายอยู่ข้างหน้า  เช่น China  is  the  first  country  that  I am  going  to  visit. จีนเป็นประเทศแรกที่ข้าพเจ้าจะไปเที่ยว.
  3. เป็นนามที่มีคุณศัพท์บอกปริมาณมาขยายอยู่ข้างหน้า เช่น She has much money  that  she  give  me.  หล่อนมีเงินอยู่มากที่หล่อนจะให้ผม. 
  4.  เป็นสรรพนามผสมต่อไปนี้ตัวใดตัวหนึ่งปรากฏอยู่แล้ว คือsomeone,  somebody,  something,  anyone,  anything,  anybody,  anyone,  everything,  no  one,  nothing,  etc.  เช่น    There  is  nothing that  I can  do  for  you.   ไม่มีอะไรที่ผมจะช่วยคุณได้.
  5. 7.  Reflexive   Pronounสรรพนามสะท้อนหรือเน้น  ได้แก่บุรุษสรรพนามที่ 5  นั่นเอง  อันได้แก่   myself,  yourself,  ……. Themselves.   เวลาใช้มีวิธีใช้  4  อย่างคือ  :-
  6. เรียงไว้หลังประธาน  เมื่อต้องการเน้นว่าประธานเป็นผู้กระทำกิจนั้นด้วยตนเอง เช่น  I   myself  study  English.   ผมเรียนภาษาอังกฤษด้วยตนเอง.
  7. เรียงไว้หลังกริยา เมื่อบอกว่าผลการกระทำนั้นเกิดจากผู้กระทำเองเช่น   I  will  punish  myself  if  I do  mistakes  ผมจะลงโทษตัวเอง  หากผมทำผิด. 
  8. เรียงไว้หลังกรรม  เมื่อต้องการเน้นกรรมนั้นเช่น   I   spoke   to  the  President   himself .  ผมได้พูดกับตัวท่านประธานาธิบดีเอง.
  9. เรียงไว้หลังบุรพบท by วางไว้สุดประโยคทุกครั้งไป เมื่อต้องการแสดงว่าประธานผู้นั้นกระทำกิจนั้นโดยลำพังคนเดียว เช่น   Pranee makes her dress by herself.
  10. 8.  Distributive   Pronounวิภาคสรรพนาม   คือสรรพนามที่ใช้แทนคำนามในการแบ่งหรือจำแนกออกเป็นครึ่งหนึ่ง, สิ่งหนึ่ง, หรือตัวหนึ่ง  วิภาคสรรพนามที่นิยมใช้กันมากคือ

each   แต่ละ,  either   คนใดคนหนึ่ง,   neither  ไม่ใช่ทั้งสอง  หรือไม่ใช่ทั้งสอง  เช่น

  There  are  ten  boy each   has  one  hundred  bath.   มีเด็กอยู่ 10  คน  แต่ละคนมีเงินอยู่คนละ  100  บาท.

*   ข้อสังเกต   วิภาคสรรพนามถ้าใช้ลอยๆเป็นสรรพนาม  แต่ถ้าใช้โดยมีนามอื่นตามหลังจะเป็นคุณศัพท์     

                      

Article

                 Article   คือ คำที่ใช้นำหน้านาม    คือคำนามในภาษาอังกฤษทุกตัว เวลาพูด-เขียนจะต้องมี Article นำหน้าทั้งสิ้น(ยกเว้นบางตัวที่จะกล่าวต่อไป) 

                   Article  มีอยู่ 2 ชนิดคือ

  1. Indefinite Article คือคำนำหน้านามแล้วมีความหมายทั่วไป  อันได้แก่  A  , An.
  2. Definite Article คือคำนำหน้านามแล้วมีความหมายชี้เฉพาะ  ได้แก่  The .

                                 

หลักทั่วไปของการใช้   A

                  คือเมื่อ  A  นำหน้านามใดนามนั้นต้องมีลักษณะครบ  4  ประการ อันได้แก่

  1. เป็นนามเอกพจน์
  2. เป็นนามนับได้
  3. เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ
  4. เป็นนามที่มีความหมายทั่วไป เช่นa book, a man, a bus, a pen

*  ข้อยกเว้น  ห้ามใช้  A นำหน้า  คือนามบางตัวที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ  แต่อ่านออกเสียงสระที่อยู่ถัดไป  นามตัวนั้นให้ใช้  AN  นำหน้าแทน  (มี   H  เท่านั้น)

หลักทั่วไปของการใช้  AN

     คือเมื่อ  AN  นำหน้านามใด  นามนั้นจะต้องมีลักษณะครบ 4  ประการ คือ

  1. เป็นนามเอกพจน์
  2. เป็นนามนับได้
  3. เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยสระ คือ   A ,  E ,  I ,  O ,  U.
  4. เป็นนามที่มีความหมายทั่วไป

               *  ข้อยกเว้น   ห้ามใช้   AN  นำหน้าคือ  นามบางตัวที่ขึ้นต้นด้วยสระ  แต่อ่านออกเสียงเป็นพยัญชนะ”ย”  นามตัวนั้นให้ใช้  A  นำหน้าแทน  (มี   U  และ  E  เท่านั้น).

           นามต่อไปนี้ห้ามใช้ทั้ง A  และ AN  นำหน้าเด็ดขาด

  1. นามที่นับไม่ได้ทุกชนิด
  2. นามพหูพจน์ทุกชนิด

                      

หลักทั่วไปของการใช้  THE

          คำว่า The แปลว่า นั้น,นี้ คือเป็นการชี้เฉพาะถึงสิ่งที่รู้กันอยู่แล้ว   ซึ่ง The ใช้นำหน้านามได้ทุกชนิด ทุกประเภท  นั่นคือ

  1. เป็นนามเอกพจน์   ก็ใช้  The  นำหน้าได้
  2. เป็นนามพหูพจน์   ก็ใช้  The  นำหน้าได้
  3. เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ  ก็ใช้  The  นำหน้าได้
  4. เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยสระ    ก็ใช้  The  นำหน้าได้ (แต่ให้อ่านว่า ดิ )
  5. เป็นนามที่นับได้  ก็ใช้  The  นำหน้าได้
  6. เป็นนามที่นับไม่ได้  ก็ใช้  The  นำหน้าได้
  7. แต่นามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะต้องมีความหมายชี้เฉพาะเจาะจงเท่านั้น เช่น.

            The water in the bottle is very poor. น้ำที่อยู่ในขวดนี้เย็นมาก.

            นามต่อไปนี้ห้ามใช้ the  นำหน้า

  1. นามที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ
  2. นามที่ระบุไว้ในหัวข้อว่าห้ามใช้  the  นำหน้า (ซึ่งมีข้อห้ามมากมายแต่จะไม่กล่าวถึง เช่น อาการนาม,ชื่อเฉพาะของคน,ชื่อถนน ,ชื่อวัน, เดือน, ปี, ลัทธิ,ศาสนา เป็นต้นซึ่ง ห้ามใช้ ทั้ง a, an,และthe นำหน้า)

     * อนึ่งแม้ลักษณะของประโยคจะไม่มีคำบ่งชี้เฉพาะเอาไว้  แต่ถ้านามนั้นเป็นที่รู้จักกันดีระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง  ก็ให้ใช้ the  นำหน้าได้ เช่น

When you go out, don’t forget to close a door. เมื่อคุณออกไปข้างนอก อย่าลืมปิดประตู(บานไหนก็ได้)นะ.

When you go out, don’t forget to close the door. เมื่อคุณไปข้างนอก อย่าลืมปิดประตู(บานนั้น)นะ.

การใช้  a, an, the แบบระคน

–       ถ้านามนั้นไม่มีบุรพบทวลีหรืออนุประโยคมาขยายอยู่ข้างหลังให้ใช้    a,  an   ทันที เช่น

A boy like to see monkey. เด็กชอบดูลิง.

–       ถ้านามนั้นมีบุรพบทวลีหรืออนุประโยคมา ขยายอยู่ข้างหลัง ให้ใช้    the   ทันที เช่น

The man in this room is our teacher. ผู้ชายที่อยู่ในห้องนี้เป็นครูของเรา.

           * มีหลักพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ  นามใดก็ตามที่เป็นเอกพจน์นับได้  ที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ ให้เติม a  , an  ทันที  แต่ถ้านามนั้นถูกยกขึ้นมากล่าวอีกเป็นครั้งที่   2  ให้เติม   the   ทันทีเช่น

   A black cat, the cat is fat. แมวตัวหนึ่งสีดำ แมวตัวนั้นอ้วน

*   อนึ่งยังมีรายละเอียดมากมายเกี่ยวกับคำนามบางตัวว่านามตัวใดใช้เฉพาะ a, an และนามตัวใดใช้เฉพาะ the   ซึ่งเป็นคำนามพิเศษ แต่ในที่นี้จะไม่กล่าวถึง

 

[Update] หลักการเติม s และ es หลังคำนาม พร้อมตัวอย่าง | นามพหูพจน์ – NATAVIGUIDES

ในภาษาอังกฤษ การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ เรามักจะเติม s หรือ es ต่อท้าย อย่างเช่น boy เป็น boys, cat เป็น cats, dish เป็น dishes

แต่ก็มีบางคำที่ต้องเปลี่ยนตัวอักษรก่อนแล้วค่อยเติม es อย่างเช่น candy เป็น candies, fly เป็น flies หรือบางคำก็เปลี่ยนตัวอักษรอย่างเดียว โดยที่ไม่ต้องเติม s หรือ es อย่างเช่น foot เป็น feet, man เป็น men

จากที่เขียนมานี้ หลายๆคนก็คงสงสัยว่า แล้วเราจะรู้ได้ยังไง ว่าคำไหนต้องใช้รูปพหูพจน์แบบไหน

สำหรับใครที่ยังไม่รู้ก็ขอให้วางใจได้ เพราะในบทความนี้ ชิววี่ได้เรียบเรียงเนื้อหาเกี่ยวกับกฏการเติม s และ es หลังคำนาม มาให้ได้เรียนรู้กันแบบง่ายๆแล้ว ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย

ทบทวนความรู้
คำนามเอกพจน์ คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนหนึ่งหน่วย ซึ่งก็คือคำนามรูปปกติทั่วไป เช่น friend, pen, bus, foot, ox
คำนามพหูพจน์ คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนตั้งแต่สองหน่วยขึ้นไป มักจะเป็นคำนามรูปที่เติม s หรือ es ต่อท้าย เช่น friends, pens, buses แต่ก็มีบางคำที่ใช้การเปลี่ยนหรือเติมตัวอักษรอื่นแทน เช่น feet, oxen

หลักการเติม s และ es หลังคำนาม

การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ หลักๆแล้วจะแบ่งได้เป็น 5 แบบ คือ

  1. เติม s ได้เลย เช่น cat เป็น cats, girl เป็น girls
  2. เติม es ได้เลย เช่น dish เป็น dishes, potato เป็น potatoes
  3. เปลี่ยนตัวอักษรท้ายคำแล้วค่อยเติม es เช่น wolf เป็น wolves, enemy เป็น enemies
  4. เปลี่ยนหรือเพิ่มตัวอักษรบางตัวหรือเปลี่ยนทั้งคำ เช่น tooth เป็น teeth, ox เป็น oxen, person เป็น people
  5. บางคำก็ใช้รูปพหูพจน์เหมือนเอกพจน์ เช่น deer, sheep

ซึ่งถ้าเจาะรายละเอียด จะแบ่งได้เป็นหลักการ 10 ข้อดังนี้

1. คำนามทั่วไปเติม s ต่อท้ายได้เลย

คำนามที่ไม่เข้าข่ายหลักการข้ออื่น เราสามารถเติม s ต่อท้ายตรงๆได้เลย ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAntAntsมดBookBooksหนังสือGirlGirlsเด็กผู้หญิงHouseHousesบ้านTableTablesโต๊ะ, ตารางTreeTreesต้นไม้

2. คำนามที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, x หรือ z ให้เติม es ต่อท้าย

คำนามที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, x หรือ z เราจะต้องเติม es ต่อท้ายแทน s ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBusBusesรถโดยสารประจำทางLensLensesเลนส์ClassClassesชั้นเรียน, คาบเรียนDressDressesชุดเดรสBrushBrushesแปรงDishDishesจานBeachBeachesชายหาดWatchWatchesนาฬิกาBoxBoxesกล่องFoxFoxesสุนัขจิ้งจอกBlitzBlitzesการโจมตีแบบสายฟ้าแลบBuzzBuzzesความรู้สึกตื่นเต้น, เสียงหึ่ง เช่น เสียงผึ้ง

3. คำนามบางคำที่ลงท้ายด้วย s หรือ z ต้องซ้ำ s หรือ z แล้วค่อยเติม es

คำนามที่ลงท้ายด้วย s หรือ z ปกติแล้วจะเติม es ได้เลย แต่ก็มีบางคำที่เราจะต้องซ้ำ s หรือ z ก่อน แล้วค่อยเติม es ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายGasGassesแก๊สQuizQuizzesแบบทดสอบWhizWhizzesผู้มากความสามารถในบางด้าน

4. คำนามที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe ให้เปลี่ยน f หรือ fe เป็น v แล้วค่อยเติม es

คำนามที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe เราจะเปลี่ยน f หรือ fe เป็น v ก่อน แล้วค่อยเติม es ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายLeafLeavesใบไม้ShelfShelvesชั้นวางของWolfWolvesหมาป่าKnifeKnivesมีดLifeLivesชีวิตWifeWivesภรรยา

แต่บางคำที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe ก็จะเติม s โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยน f หรือ fe เป็น v

คำพวกนี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นคำที่หน้า f เป็นสระ 2 ตัวติดกัน (a, e, i, o, u) แต่บางคำก็ไม่ใช่ อย่างเช่น chef, safe

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBeliefBeliefsความเชื่อChefChefsเชฟทำอาหารProofProofsหลักฐานReefReefsแนวหินโสโครกใต้ทะเลRoofRoofsหลังคาSafeSafesตู้เซฟ

5. คำนามที่ลงท้ายด้วย y ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es ยกเว้นถ้าหน้า y เป็นสระ (a, e, i, o, u) ให้เติม s ได้เลย

คำนามที่ลงท้ายด้วย y เราจะเปลี่ยน y เป็น i แล้วค่อยเติม es ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBabyBabiesเด็กทารกCityCitiesเมืองขนาดใหญ่EnemyEnemiesศัตรูFlyFliesแมลงวันLibraryLibrariesห้องสมุดPuppyPuppiesลูกสุนัข

แต่ถ้าหน้า y เป็นสระ (a, e, i, o, u) เราจะเติม s ได้เลย

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBoyBoysเด็กผู้ชายDayDaysวันMonkeyMonkeysลิงToyToysของเล่นTrayTraysถาดWayWaysหนทาง, วิธี

6. คำนามที่ลงท้ายด้วย o ให้เติม es

คำนามที่ลงท้ายด้วย o เราจะเติม es ต่อท้าย ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายDominoDominoesโดมิโน่EchoEchoesเสียงสะท้อนHeroHeroesฮีโร่MosquitoMosquitoesยุงPotatoPotatoesมันฝรั่งTomatoTomatoesมะเขือเทศ

แต่ก็มีบางคำที่ใช้การเติม s แทน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคำที่หน้า o เป็นสระ (a, e, i, o, u) แต่บางคำก็ไม่ใช่ อย่างเช่น piano

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAudioAudiosเสียงBambooBamboosต้นไผ่, ไม้ไผ่PianoPianosเปียโนStudioStudiosสตูดิโอVideoVideosวิดีโอZooZoosสวนสัตว์

นอกจากนี้ ยังมีบางคำที่สามารถเติมได้ทั้ง s และ es คือใช้ได้ทั้ง 2 แบบเลย อย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBuffalo*Buffalos
BuffaloesควายCargoCargos
Cargoesสินค้าที่บรรทุกโดยยานพาหนะขนาดใหญ่ เช่น เรือ เครื่องบินMangoMangos
Mangoesมะม่วงMottoMottos
Mottoesคติพจน์TornadoTornados
Tornadoesพายุทอร์นาโดVolcanoVolcanos
Volcanoesภูเขาไฟ

*คำว่า buffalo สามารถใช้รูปพหูพจน์ได้หลายแบบ ทั้ง buffalos (แบบเติม s), buffaloes (แบบเติม es) และ buffalo (เหมือนรูปเอกพจน์)

7. คำนามที่มาจากภาษาอื่น บางคำจะมีรูปพหูพจน์เฉพาะ

คำนามที่มาจากภาษากรีกที่ลงท้ายด้วย sis เมื่อเป็นรูปพหูพจน์ เราจะเปลี่ยนให้เป็น ses ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAnalysisAnalysesการวิเคราะห์, ผลวิเคราะห์BasisBasesหลักสำคัญ, ส่วนประกอบหลักCrisisCrisesช่วงวิกฤติNeurosisNeurosesโรคประสาทOasisOasesโอเอซิส, แหล่งน้ำกลางทะเลทรายThesisThesesวิทยานิพนธ์

คำนามที่มาจากภาษาลาตินที่ลงท้ายด้วย us เราจะเปลี่ยนให้เป็น i ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAlumnusAlumniศิษย์เก่าCactusCacti (หรือ cactuses)ต้นกระบองเพชรFungusFungiเห็ด, เชื้อรา

แต่คำที่มาจากภาษาอื่นบางคำก็ใช้รูปพหูพจน์ได้หลายแบบ อย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAppendixAppendices
AppendixesภาคผนวกCactusCacti
Cactusesต้นกระบองเพชรCurriculumCurricula
CurriculumsหลักสูตรFormulaFormulae
Formulasสูตร เช่น สูตรคณิตฯStadiumStadia
Stadiumsสนามกีฬาขนาดใหญ่ThesaurusThesauri
Thesaurusesพจนานุกรมคำพ้อง

นอกจากตัวอย่างเหล่านี้แล้ว ยังมีคำต่างประเทศลักษณะอื่นอีก ที่มีรูปพหูพจน์เฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นคำที่พบเจอได้ไม่บ่อย หรือไม่ก็เป็นคำที่มักจะใช้รูปพหูพจน์เป็นปกติอยู่แล้ว (เช่น data, criteria ซึ่งเป็นรูปพหูพจน์ของ datum และ criterion ตามลำดับ)

8. คำนามบางคำใช้การเปลี่ยนหรือเติมตัวอักษรบางตัว โดยที่ไม่ต้องเติม s หรือ es

คำนามบางคำจะใช้การเปลี่ยนตัวอักษรที่เป็นสระ (a, e, i, o, u) เช่น เปลี่ยนจาก o เป็น e หรือเปลี่ยนจาก a เป็น e ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายFiremanFiremenพนักงานดับเพลิงFootFeetเท้าGooseGeeseห่านManMenผู้ชายToothTeethฟันWomanWomenผู้หญิง

และบางคำก็ใช้การเติมตัวอักษรอื่นที่ไม่ใช่ s หรือ es อย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายChildChildrenเด็กOxOxenวัว

9. คำนามบางคำจะเปลี่ยนแทบทั้งคำ โดยที่ไม่ได้เติม s หรือ es

คำนามบางคำจะมีรูปพหูพจน์ที่แตกต่างจากเดิมมาก เหมือนเป็นคนละคำกันเลย ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายMouseMiceหนูPersonPeopleคน

10. คำนามบางคำมีรูปเอกพจน์และพหูพจน์เหมือนกัน

คำนามบางคำจะมีรูปเอกพจน์และพหูพจน์เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAircraftAircraftอากาศยานDeerDeerกวางDiceDiceลูกเต๋าFish*FishปลาSheepSheepแกะSpeciesSpeciesสายพันธุ์

*คำว่า fish จริงๆแล้วมีรูปพหูพจน์ 2 แบบ คือ fish และ fishes แต่ในกรณีทั่วไป เช่นการบอกว่ามีปลาหลายตัว เราจะนิยมใช้ fish มากกว่า ส่วน fishes นั้นมักจะใช้เมื่อพูดถึงปลาหลายๆสายพันธุ์

เป็นยังไงบ้างครับกับกฏการเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ ทีนี้เพื่อนๆก็คงจะเข้าใจและสามารถเปลี่ยนพจน์ของคำนามได้ถูกต้องมากขึ้นแล้วนะครับ

อย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฝึก ก็ยิ่งเก่ง สำหรับบทความนี้ ชิววี่ต้องขอตัวลาไปก่อน See you next time


Ep. 3: Plural Nouns #คำนามพหูพจน์ (ต่อจาก Ep. 2)


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

Ep. 3: Plural Nouns #คำนามพหูพจน์ (ต่อจาก Ep. 2)

Grammar 5 นาที : การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์เป็นพหูพจน์ (การเติม s, es, ies ท้ายคำนาม)


เนื่องในโอกาสวันพ่อในปี 2557 นี้ จึงอยากทำดีเพื่อพ่อโดยจัดทำวีดีโอให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ โดยจัดทำเป็นเนื้อหาสั้นๆ ตอนละประมาณ 5 นาที โดยใช้ชื่อว่า \”Grammar 5 นาที\” หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ชมนะคะ สามารถติดตามได้ที่ Facebook : Miss Noon
On the 5th of December is Father’s day in Thailand, since 2014 I would like to make the goodness for our father of Thailand so I make the videos about grammar for Thais who interested in English which the topic is \”Grammar 5 mins\” contact on Facebook : Miss Noon

Grammar 5 นาที : การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์เป็นพหูพจน์ (การเติม s, es, ies ท้ายคำนาม)

คำศัพท์ครอบครัว ภาษาอังกฤษ family


คำศัพท์ครอบครัว ภาษาอังกฤษ family
คำศัพท์อังกฤษ ครอบครัว family

คำศัพท์ครอบครัว ภาษาอังกฤษ family

ประธาน กริยา เอกพจน์ และพหูพจน์ คืออะไร ใช้อย่างไร


ประธานที่เป็นเอกพจน์ จะใช้กับ กริยาที่เอกพจน์
ประธานที่เป็นพหูพจน์ จะใช้กับ กริยาที่พหูพจน์
ประธานเอกพจน์ มีอะไรบ้าง
1. คำนามที่เป็นเอกพจน์ เช่น a dog, John
2. คำสรรพนาม ที่เป็นเอกพจน์ เช่น He, She, It, This, That
3. คำนามที่นับไม่ได้ เช่น Water rice
4. Gerund ( Vเติม ing) เช่น Walking
5. คำกริยาที่ นำหน้าด้วย To เช่น To walk, To run
ประธานพหูพจน์ มีอะไรบ้าง
1. คำนามที่เป็นพหูพจน์ เช่น Dogs, John and Lisa
2. คำสรรพนาม ที่เป็นพหูพจน์ เช่น They, We, You, These, Those
กริยาที่เป็นเอกพจน์ มี is, was, does, has, walk
กริยาที่เป็นพหูพจน์ มี are am , were, do, have, walks
จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้
ติดตาม Facebook และ Instagram : The Happy Time with Q
หากผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขออภัยมานะที่นี้ด้วยค่ะ 😀

ประธาน กริยา  เอกพจน์ และพหูพจน์ คืออะไร ใช้อย่างไร

เอกพจน์ วงศ์นาค รวมเพลงดัง เพราะๆ ซึ้งๆ ทหารเกณท์คนจน/รักเพราะรอยยิ้ม/แอบฝัน/สาวโรงงานคนสวย


กดติดตามกันได้ที่นี่กันนะคะ
01 ทหารเกณท์คนจน
02 รักเพราะรอยยิ้ม
03 แอบฝัน
04 สาวโรงงานคนสวย
05 พลิกดินอิสาน
06 บัวตอง
07 ชายใจเดียว
08 เพียงฝัน
09 จดหมายเปื้อนฝุ่น
10 คืนวิปโยค
11 ถึงเวลาจะบอกรัก
12 ไม่รักอีกแล้ว
13 ตัวไกลใจลืม
14 ลาน้องสองปี
15 ดวงใจนี้มอบแด่เธอ
16 นั่งมองรอยเล็บ
17 ไอ้หนุ่มต.ช.ด.
18 มีแฟนแล้วไม่บอก
19 นักร้องอย่างเรา
20 จีบสาวไม่เป็น
21 เอกพจน์มาแล้ว

https://www.youtube.com/channel/UCM6_iRZNusW00VhwoO4RRzA?sub_confirmation=1

เอกพจน์ วงศ์นาค รวมเพลงดัง เพราะๆ ซึ้งๆ ทหารเกณท์คนจน/รักเพราะรอยยิ้ม/แอบฝัน/สาวโรงงานคนสวย

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ นามพหูพจน์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *