Skip to content
Home » [NEW] พจนานุกรม ไทย – ไทย ค | สับ อัง กิ ด – NATAVIGUIDES

[NEW] พจนานุกรม ไทย – ไทย ค | สับ อัง กิ ด – NATAVIGUIDES

สับ อัง กิ ด: คุณกำลังดูกระทู้

【 ค 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๔ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กก
ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น โรค มรรค
มารค เทคนิค.
【 คคน-, คคนะ 】แปลว่า: คะคะนะ- น. ฟ้า. (ป., ส.).
【 คคนัมพร 】แปลว่า: [คะคะนําพอน] น. ฟ้า. (ป., ส. คคน + อมฺพร).
【 คคนางค์ 】แปลว่า: [คะคะนาง] น. ฟ้า. (ป., ส. คคน + องฺค).
【 คคนานต์ 】แปลว่า: [คะคะนาน] น. ฟ้า. (ป., ส. คคน + อนฺต).
【 คคนัมพร 】แปลว่า: /ดู คคน-, คคนะ/.
【 คคนางค์ 】แปลว่า: /ดู คคน-, คคนะ/.
【 คคนานต์ 】แปลว่า: /ดู คคน-, คคนะ/.
【 คง 】แปลว่า: ก. ยังมียังเป็นอยู่อย่างเดิม เช่น คงความเป็นไท; เป็นคำ
บอกลักษณะคาดคะเน เช่น คงจะเป็นเช่นนั้น คงมาแล้ว.
【 คงกระพัน, คงกระพันชาตรี 】แปลว่า: ก. ทนทานต่อศัสตราวุธ.
【 คงแก่เรียน 】แปลว่า: ว. ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมามาก.
【 คงขาด 】แปลว่า: ว. ยังขาด.
【 คงคลัง 】แปลว่า: ว. เรียกเงินที่มีอยู่ในคลังในเวลาใดเวลาหนึ่งว่า เงินคงคลัง.
【 คงตัว 】แปลว่า: ว. ไม่ผันแปร.
【 คงทน 】แปลว่า: ว. ยั่งยืน, ถาวร, ทนทาน.
【 คงที่ 】แปลว่า: ว. ไม่เปลี่ยนแปลง.
【 คงเส้นคงวา 】แปลว่า: ว. เสมอต้นเสมอปลาย.
【 คงเหลือ 】แปลว่า: ว. ยังเหลือ.
【 คงคา ๑ 】แปลว่า: น. นํ้า, แม่นํ้า, ใช้เป็นสามัญว่า แม่พระคงคา หมายถึง เจ้าแม่
ประจํานํ้า, ชื่อแม่นํ้าสําคัญสายหนึ่งในประเทศอินเดีย. (ป., ส.
คงฺคา ว่า ผู้ไปเร็ว, ผู้ไหลเชี่ยว); เรียกส่วนของท่อเหล้าใน
โรงต้มกลั่นว่า ท่อคงคา.
【 คงคาลัย 】แปลว่า: (กลอน) น. แม่นํ้า, นํ้า, น่านนํ้า.
【 คงคา ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหวายชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนต้นสามสิบ รากเหมือนราก
ละหุ่ง ใบเหมือนใบละหุ่ง หัวเป็นแง่ง ยางขาวเหมือนนม.
(พจน. ๒๔๙๓).
【 คงคาเดือด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Arfeuillea arborescens/ Pierre ในวงศ์
Sapindaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง สูง ๘-๑๐ เมตร มี
พุ่มใหญ่ ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย ๓-๔ คู่ ดอกเล็กสีม่วงดํา
หอมมาก ผลมีปีกบาง ๆ ๓ ปีก เปลือกใช้ทํายาได้, ราชบุรีเรียก
ตะไล, พายัพเรียก ช้างเผือก.
【 คงไคย 】แปลว่า: น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีเหมือนสีนํ้าไหล, คังไคย
ก็ว่า. /(ดู กาฬาวก)./ (ป. คงฺเคยฺย; ส. คางฺเคย).
【 คช- 】แปลว่า: คดชะ- น. ช้าง, ช้างพลาย. (ป., ส.).
【 คชกรรม 】แปลว่า: น. กิจการในทางปฏิบัติอันเกี่ยวกับช้าง เช่น การขี่ การฟันขอ,
ประเภทตำราว่าด้วยทางปฏิบัติอันเกี่ยวกับช้าง.
【 คชนาม 】แปลว่า: น. นามราหู, อักษรชื่อที่ขึ้นต้นด้วย ย ร ล ว.
【 คชลักษณ์ 】แปลว่า: น. รูปพรรณสัณฐานของช้างต่าง ๆ ซึ่งดีและชั่ว, ประเภทตํารา
แสดงรูปพรรณสัณฐานของช้างต่าง ๆ ซึ่งดีและชั่ว ถ้าได้ไว้
จะให้คุณหรือโทษแก่เจ้าของ.
【 คชศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยช้าง มี ๒ ประเภท คือ คชลักษณ์ และ คชกรรม.
【 คชสาร 】แปลว่า: น. ช้าง.
【 คชสีห์ 】แปลว่า: น. สัตว์ในนิยายมีรูปเหมือนราชสีห์ แต่มีงวงเหมือนช้าง.
【 คชาชาติ 】แปลว่า: น. ช้าง, หมู่ช้าง.
【 คชาชีพ 】แปลว่า: น. คนเลี้ยงช้าง, หมอช้าง, ควาญช้าง. (ป. คช + อาชีว).
【 คชาธาร 】แปลว่า: น. ช้างทรง, ช้างพระที่นั่ง; เครื่องแต่งหลังช้างชนิดหนึ่ง มี ๓
อย่าง คือ ๑. พระคชาธารเครื่องมั่น สําหรับใช้ในการสงคราม.
๒. พระคชาธารพุดตานทอง สำหรับผูกช้างพระที่นั่งทรงซึ่งใช้
ในกระบวนอิสริยยศ. ๓. พระคชาธารกาญจนฉันท์ สําหรับผูก
หลังช้าง ประดิษฐานพระชัยวัฒน์. (ป. คช + อาธาร).
【 คชาภรณ์ 】แปลว่า: น. เครื่องประดับช้าง. (ป. คช + อาภรณ).
【 คชินทร์, คเชนทร์ 】แปลว่า: น. พญาช้าง. (ส. คช + อินฺทฺร).
【 คชราช 】แปลว่า: [คดชะราด] น. คุดทะราด เช่น ประชวรพระโรคสําหรับบุรุษ
กลายเป็นพระโรคคชราช. (พงศ. เลขา).
【 คชส่าน 】แปลว่า: [คดชะ-] น. ชื่อแตงโมพันธุ์หนึ่ง สีเหลือง เนื้อหวาน.
【 คชาชาติ 】แปลว่า: /ดู คช-/.
【 คชาชีพ 】แปลว่า: /ดู คช-/.
【 คชาธาร 】แปลว่า: /ดู คช-/.
【 คชาภรณ์ 】แปลว่า: /ดู คช-/.
【 คชินทร์, คเชนทร์ 】แปลว่า: /ดู คช-/.
【 คณ-, คณะ 】แปลว่า: [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกัน
เพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะ
นักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า
ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน
เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะ
เป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรองแต่ละประเภท ประกอบด้วยบท
บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการ
แต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ
ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์
โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
【 คณบดี 】แปลว่า: [คะนะบอดี] น. หัวหน้าคณะในมหาวิทยาลัยหรือในสถาบัน
ที่เทียบเท่า. (ป., ส. คณ + ปติ).
【 คณะกรมการจังหวัด 】แปลว่า: (กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการ
จังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น และให้
ความเห็นชอบในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดกับปฏิบัติหน้าที่
อื่นตามที่กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด.
【 คณะรัฐมนตรี 】แปลว่า: (กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ประกอบด้วย
นายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่กำหนด
ไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทําหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน.
【 คณะองคมนตรี 】แปลว่า: (กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้ง
จากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยประธานองคมนตรีคนหนึ่งและ
องคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน ๑๘ คน คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวาย
ความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่
พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้
ในรัฐธรรมนูญ.
【 คณาจารย์ 】แปลว่า: [คะนาจาน] น. คณะอาจารย์. (ส. คณ + อาจารฺย).
【 คณาธิการ 】แปลว่า: น. ผู้มีอํานาจในคณะ, ผู้ปกครองคณะ, เรียกภิกษุผู้ทําหน้าที่
ในด้านการปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่ผู้ช่วยเจ้าอาวาสขึ้นไปว่า
พระคณาธิการ. (ป., ส. คณ + อธิการ).
【 คณาธิปไตย 】แปลว่า: [คะนาทิปะไต, คะนาทิบปะไต] น. ระบอบการปกครองแบบหนึ่ง
ซึ่งปกครองโดยคณะบุคคลจํานวนน้อยของสังคม มักได้แก่
กลุ่มผู้อาวุโส กลุ่มทหาร หรือ กลุ่มปฏิวัติ. (ป. คณ + อธิปเตยฺย).
【 คณานุกรม 】แปลว่า: น. ฐานานุกรมของเจ้าคณะใหญ่และรองเจ้าคณะใหญ่ฝ่าย
พระสงฆ์จีนและพระสงฆ์ญวน.
【 คณนะ, คณนา 】แปลว่า: คะนะนะ, คะนะ-, คันนะ-, คนนะ- ก. นับ เช่น สุดที่จะ
คณนา, คณานับ ก็ว่า เช่น สุดคณานับ. (ป., ส.).
【 คณาจารย์ 】แปลว่า: /ดู คณ-, คณะ/.
【 คณาธิการ 】แปลว่า: /ดู คณ-, คณะ/.
【 คณาธิปไตย 】แปลว่า: /ดู คณ-, คณะ/.
【 คณานับ 】แปลว่า: ก. นับ.
【 คณานุกรม 】แปลว่า: /ดู คณ-, คณะ/.
【 คณิกา 】แปลว่า: น. หญิงงามเมือง. (ป., ส.).
【 คณิต, คณิต- 】แปลว่า: [คะนิด, คะนิดตะ-] น. การนับ, การคํานวณ, วิชาคํานวณ, มักใช้
เป็นคําหลังของวิชาบางประเภท เช่น พีชคณิต เรขาคณิต.
【 คณิตศาสตร์ 】แปลว่า: [คะนิดตะสาด] น. วิชาว่าด้วยการคํานวณ. (ส. คณิต + ศาสฺตฺร).
【 คเณศ 】แปลว่า: [คะเนด] น. ชื่อเทพองค์หนึ่ง มีเศียรเป็นช้าง ถือว่าเป็นเทพแห่ง
ศิลปะ เชื่อกันว่าถ้าบูชาแล้วจะป้องกันความขัดข้องที่อาจเกิด
มีขึ้นได้, วิฆเนศ พิฆเนศ วิฆเนศวร หรือ พิฆเนศวร ก็เรียก. (ส.).
【 คด ๑ 】แปลว่า: น. วัตถุแข็งคล้ายหินที่มีในสัตว์หรือต้นไม้ นับถือกันว่าเป็น
เครื่องราง.
【 คด ๒ 】แปลว่า: น. สิ่งปลูกสร้างซึ่งมีสัณฐานหักมุมเป็นข้อศอก เช่น วิหารคด.
ว. ลักษณะที่ไม่ตรงตลอด; ไม่ซื่อ.
【 คดกริช 】แปลว่า: น. ชื่อลายชนิดหนึ่งเป็นเส้นยาวคดไปมาอย่างรูปกริช, พดกริช
ก็เรียก.
【 คดโกง 】แปลว่า: ก. ประพฤติทุจริต, ไม่ซื่อตรง.
【 คดเคี้ยว 】แปลว่า: ว. คดไปคดมา, ลดเลี้ยว, วกไปวกมา.
【 คดงอ 】แปลว่า: ก. คดจนงอ.
【 คดในข้องอในกระดูก 】แปลว่า: (สํา) ว. มีสันดานคดโกง.
【 คด ๓ 】แปลว่า: ก. ตักข้าวสุกออกจากหม้อ.
【 คดซ่าง 】แปลว่า: น. โรงขนาดเล็กมียกพื้นข้างใน สําหรับพระสงฆ์นั่งสวด
พระอภิธรรม อยู่ ๔ มุมเมรุ, คดสร้าง ซ่าง สร้าง ส้าง หรือ
สําซ่าง ก็เรียก.
【 คดสร้าง 】แปลว่า: น. คดซ่าง.
【 คดี 】แปลว่า: [คะดี] น. เรื่อง, มักใช้ประกอบคําศัพท์ เช่น โบราณคดี คดีโลก
คดีธรรม วรรณคดี สารคดี; (กฎ) เรื่องหรือความที่ฟ้องร้องหรือ
กล่าวหากันในทางกฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการตามกระบวนวิธี
พิจารณาความตามที่กฎหมายกำหนด เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา
คดีปกครอง. (ป. คติ).
【 คดีดำ 】แปลว่า: (กฎ) น. คดีหมายเลขดำ.
【 คดีแดง 】แปลว่า: (กฎ) น. คดีหมายเลขแดง.
【 คดีแพ่ง 】แปลว่า: (กฎ) น. คดีที่ฟ้องร้องเกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน.
【 คดีมโนสาเร่ 】แปลว่า: (กฎ) น. คดีอันมีทุนทรัพย์หรือค่าเช่าจำนวนเล็กน้อย ซึ่งไม่เกิน
จำนวนที่กำหนดในกฎหมาย.
【 คดีหมายเลขดำ 】แปลว่า: (กฎ) น. คดีที่ฟ้องร้องต่อศาลและศาลได้ลงทะเบียนคดีในสารบบ
ความของศาล โดยเริ่มตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เรียงเป็นลำดับ
ไปจนสิ้นปี ก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยโดยเริ่มตั้งแต่
เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปี ก่อนศาลมีคำ
พิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีออก
จากสารบบความ หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว เรียกย่อ ๆ ว่า
“คดีดำ” เช่น คดีหมายเลขดำที่ ๑/๒๕๔๐ หรือคดีดำที่ ๑/๒๕๔๐.
【 คดีหมายเลขแดง 】แปลว่า: (กฎ) น. คดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือ
มีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดี
ชั่วคราวแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เป็นลำดับไปจน
สิ้นปี เรียกย่อ ๆ ว่า “คดีแดง” เช่น คดีหมายเลขแดงที่ ๑/๒๕๔๐
หรือคดีแดงที่ ๑/๒๕๔๐.
【 คดีอนาถา 】แปลว่า: (กฎ) น. คดีแพ่งที่คู่ความอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่สามารถเสีย
ค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา
เมื่อศาลได้ไต่สวนเป็นที่เชื่อได้ว่าคู่ความนั้นเป็นคนยากจน
ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียม ศาลจะอนุญาตให้
คู่ความนั้นฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาได้ แต่การขอ
เช่นว่านี้ถ้าผู้ขอเป็นโจทก์ ผู้ขอจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจศาล
ด้วยว่าคดีของตนมีมูลที่จะฟ้องร้อง หรือในกรณีอุทธรณ์หรือ
ฎีกาศาลเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือฎีกา
แล้วแต่กรณี.
【 คดีอาญา 】แปลว่า: (กฎ) น. คดีที่เกี่ยวกับการกระทําที่กฎหมายบัญญัติว่า เป็น
ความผิดและมีโทษทางอาญา.
【 คดีอุทลุม 】แปลว่า: (กฎ) น. คดีที่บุคคลฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดี
อาญา ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ว่า ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้.
【 -คต 】แปลว่า: [-คะตะ, -คด] ก. ถึงแล้ว, ไปแล้ว, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส
เช่น ตถาคต สุคต สวรรคต ทิวงคต. (ป.).
【 คติ ๑ 】แปลว่า: [คะติ] น. การไป; ความเป็นไป. (ป.).
【 คติ ๒ 】แปลว่า: [คะติ] น. แบบอย่าง, วิธี, แนวทาง. (ป.).
【 คติชาวบ้าน 】แปลว่า: น. เรื่องราวของชาวบ้านที่เป็นของเก่าเล่าต่อปากและประพฤติ
สืบ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคนในรูปคติความเชื่อ ประเพณี นิทาน
เพลง ภาษิต ปริศนาคำทาย ศิลปะ สถาปัตยกรรม การละเล่น
ของเด็ก เป็นต้น, วิชาที่ว่าด้วยเรื่องเหล่านั้น.
【 คติธรรม 】แปลว่า: น. ธรรมที่เป็นแบบอย่าง.
【 คตินิยม 】แปลว่า: น. แบบอย่างความคิดเห็น ความเชื่อ หรือวิธีการคิดรวมกันที่เป็น
ลักษณะของกลุ่มชน เช่น คตินิยมของกลุ่มวิชาชีพ คตินิยมทาง
ศาสนา คตินิยมทางการเมือง. (อ. ideology).
【 คติพจน์ 】แปลว่า: น. ถ้อยคําที่เป็นแบบอย่าง.
【 คติสุขารมณ์ 】แปลว่า: น. ลัทธิที่ถือว่าความสุขทางผัสสะหรือโลกียสุขในชีวิตปัจจุบัน
เป็นสิ่งสูงสุดหรือเป็นความดีสูงสุดของชีวิต. (อ. hedonism).
【 คทา 】แปลว่า: คะทา น. ตะบอง. (ป.).
【 คน ๑ 】แปลว่า: น. มนุษย์.
【 คนกลาง 】แปลว่า: น. ผู้ถือเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ในเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้น, ผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ย, ผู้ทําการค้าระหว่างผู้ผลิต
กับผู้บริโภค.
【 คนเก่าคนแก่ 】แปลว่า: น. ข้าเก่าเต่าเลี้ยง; คนที่มีพื้นเพอยู่ที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานาน.
【 คนไข้ 】แปลว่า: น. ผู้ป่วย, ผู้บาดเจ็บ.
【 คนไข้นอก 】แปลว่า: น. คนไข้ที่มารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล แต่ไม่ได้นอน
พักรักษาตัวในโรงพยาบาล, ผู้ป่วยนอก ก็ว่า.
【 คนไข้ใน 】แปลว่า: น. คนไข้ที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล, ผู้ป่วยใน ก็ว่า.
【 คนจร 】แปลว่า: น. คนแปลกหน้า, คนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง.
【 คนจริง 】แปลว่า: น. ผู้ที่ทําอะไรทําจริงโดยไม่ท้อถอย, คนที่พูดจริงทําจริง.
【 คนใช้ 】แปลว่า: น. คนที่มีหน้าที่คอยรับใช้, ลูกจ้างที่รับใช้ทำงานบ้าน.
【 คนดิบ 】แปลว่า: น. ชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุ.
【 คนดี 】แปลว่า: น. คนที่มีคุณความดี, คนที่มีคุณธรรม.
【 คนดีผีคุ้ม 】แปลว่า: (สํา) น. คนทําดีเทวดาย่อมคุ้มครอง, มักใช้เข้าคู่กับ คนร้าย
ตายขุม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม.
【 คนต้องขัง 】แปลว่า: (กฎ) น. บุคคลที่ถูกขังไว้ตามหมายขัง.
【 คนทรง 】แปลว่า: น. คนทรงเจ้าและผี.
【 คนนอก 】แปลว่า: น. บุคคลผู้ไม่มีส่วนร่วมหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง, บุคคลซึ่ง
ไม่ใช่สมาชิก.
【 คนใน 】แปลว่า: น. บุคคลที่เป็นพวกเดียวกัน, บุคคลในบ้าน, บุคคลในวงการ.
【 คนพรรค์นั้น 】แปลว่า: น. คนพวกนั้น (มักใช้ในทางดูหมิ่นดูแคลน).
【 คนเมือง 】แปลว่า: น. คําเรียกคนพื้นเมืองถิ่นพายัพ.
【 คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ 】แปลว่า: (สํา) น. คนรักมีน้อย คนชังมีมาก.
【 คนร้าย 】แปลว่า: น. คนที่ไม่มีคุณธรรม; คนทําผิดอาญา, อาชญากร.
【 คนร้ายตายขุม 】แปลว่า: (สำ) น. คนทำชั่วย่อมตกนรก, มักใช้เข้าคู่กับ คนดีผีคุ้ม ว่า
คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม.
【 คนไร้ความสามารถ 】แปลว่า: (กฎ) น. คนวิกลจริตซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ.
【 คนละไม้คนละมือ 】แปลว่า: (สํา) ต่างคนต่างช่วยกันทํา.
【 คนสวน 】แปลว่า: น. ลูกจ้างที่มีหน้าที่ดูแลรักษาต้นไม้, ลูกจ้างทําสวน.
【 คนสาบสูญ 】แปลว่า: (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้ไปจากภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใคร
รู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา ๕ ปี และ
ศาลมีคําสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ระยะเวลา ๕ ปีดังกล่าว ลดลง
เหลือ ๒ ปี นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคล
นั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงคราม
ดังกล่าว หรือนับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทางไป ได้
อับปาง ถูกทำลายหรือสูญหาย หรือนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่
ชีวิต นอกจากที่ระบุไว้ใน ๒ กรณีดังกล่าวข้างต้นได้ผ่านพ้นไป
ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น.
【 คนสุก 】แปลว่า: น. ชายที่บวชเป็นพระภิกษุและสึกแล้ว.
【 คนเสมือนไร้ความสามารถ 】แปลว่า: (กฎ) น. บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงานของตนเองได้ เพราะกาย
พิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็น
อาจิณ หรือติดสุรายาเมา และศาลได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้
ความสามารถ.
【 คนโสด 】แปลว่า: น. ชายหรือหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน, มักใช้หมายถึง ชายโสด.
【 คนโอบ 】แปลว่า: น. ขนาดของของกลมเช่นเสา ต้นไม้ ที่วัดโดยรอบโดยวิธีใช้แขน
ทั้ง ๒ ข้างโอบ เช่น เสาขนาด ๒ คนโอบ ต้นไม้ขนาด ๔ คนโอบ.
【 คน ๒ 】แปลว่า: ก. กิริยาที่เอามือหรือสิ่งอื่นกวนเพื่อทําสิ่งที่นอนก้นหรือที่เกาะ
กันอยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อนให้กระจายขยายตัว หรือกวนสิ่งต่าง ๆ
ให้เข้ากัน.
【 ค้น 】แปลว่า: ก. พยายามหาให้พบโดยวิธีสืบ เสาะ แสวง เป็นต้น.
【 ค้นคว้า 】แปลว่า: ก. หาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา, เสาะหาเอามา.
【 ค้นหูก 】แปลว่า: ก. จัดเส้นไหมหรือด้ายสําหรับทอผ้าให้มีจํานวนเหมาะกันกับ
ช่องฟันฟืม.
【 คนทา 】แปลว่า: [คน-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Harrisonia perforata/ (Blanco) Merr.
ในวงศ์ Simaroubaceae มักขึ้นเป็นหมู่ในป่าโปร่ง สูงได้ถึง
๘ เมตร มีหนามทั่วต้น ใบคล้ายมะขวิดแต่เขื่องกว่า ดอกสี
ขาว ผลกลมแป้นขนาดราวหัวแม่มือ ทุกส่วนมีรสขม ใช้ทํา
ยาได้ กิ่งใช้ทําไม้สีฟัน, สีฟันคนทา หรือ กะลันทา ก็เรียก,
พายัพเรียก จี้ หรือ หนามจี้.
【 คนทิสอ 】แปลว่า: /ดู คนทีสอ ที่ คนที ๒/.
【 คนทิสอทะเล 】แปลว่า: /ดู คนที ๒/.
【 คนที ๑ 】แปลว่า: [คน-] น. กุณฑี, หม้อนํ้า, หม้อนํ้ามีหู, เต้านํ้า.
【 คนที ๒ 】แปลว่า: [คน-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Vitex trifolia/ L. var. /simplicifolia/
Cham. ในวงศ์ Labiatae ขึ้นตามชายทะเล ลําต้นเลื้อย
ใบและดอกเหมือนคนทีสอ ใช้แก้พิษแมงกะพรุน,
คนทิสอทะเล ก็เรียก.
【 คนทีเขมา 】แปลว่า: [คนทีขะเหฺมา] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Vitex negundo/ L. ในวงศ์ Labiatae
คล้ายต้นคนทีสอ แต่ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓-๕ ใบ และ
มีขนาดใหญ่กว่า ดอกสีขาว ปลูกไว้ตามบ้าน ใช้ทํายาได้,
ปัตตานีเรียก กุโนกามอ.
【 คนทีสอ 】แปลว่า: [คน-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Vitex trifolia/ L. ในวงศ์ Labiatae มักขึ้น
ในที่โล่งริมนํ้า สูงได้ถึง ๖ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย
๓ ใบ ท้องใบสีนวล เมื่อขยี้มีกลิ่นฉุน ดอกสีครามอ่อน ใช้ทํา
ยาได้, คนทิสอ โคนดินสอ หรือ สีสอ ก็เรียก, พายัพเรียก
สีเสื้อน้อย หรือ ผีเสื้อน้อย.
【 คนโท 】แปลว่า: [คน-] น. กุณโฑ, หม้อนํ้ารูปต่าง ๆ คอยาว.
【 คนธรรพ-, คนธรรพ์ 】แปลว่า: [คนทันพะ-, คนทับพะ-, คนทัน] น. ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง เป็นบริวาร
ท้าวธตรฐ มีความชํานาญในวิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺว;
ป. คนฺธพฺพ).
【 คนธรรพวิวาห์ 】แปลว่า: [คนทันพะ-] น. การได้เสียเป็นผัวเมียกันเองโดยไม่แต่งงาน.
(ส. คนฺธรฺววิวาห).
【 คนธรรพศาสตร์ 】แปลว่า: [คนทับพะ-] น. วิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺวเวท ว่า
วิชาดนตรี).
【 คนละ 】แปลว่า: ว. คนหนึ่ง ๆ, แต่ละคน, เช่น เก็บเงินคนละ ๕ บาท; ต่างหาก
จากกัน ไม่ใช่อย่างเดียวกัน เช่น ผ้าคนละชนิด หนังสือคนละ
เล่ม.
【 คเนจร 】แปลว่า: [คะเนจอน] ก. เที่ยวซัดเซไป. น. เรียกตัวหนังใหญ่ที่สลักเป็น
รูปในท่าเดิน. (ลัทธิ). (ส. คคเนจร ว่า ผู้ไปในท้องฟ้า).
【 คบ ๑ 】แปลว่า: น. ง่ามต้นไม้ที่กิ่งใหญ่กับลำต้นแยกกัน, คาคบ หรือ ค่าคบ ก็ว่า.
【 คบ ๒, คบไฟ, คบเพลิง 】แปลว่า: น. ของใช้สําหรับจุดไฟให้สว่าง ทําด้วยของแห้งเช่นใบไม้และ
ขี้กบเป็นต้น เอามามัดเป็นดุ้นยาว, มัดเชื้อเพลิง ก็ว่า.
【 คบ ๓ 】แปลว่า: ก. เข้าเป็นพวกกัน.
【 คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ 】แปลว่า: (สํา) ก. จะพิจารณาคนหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้พิจารณาอย่าง
ละเอียดรอบคอบ.
【 คบค้า, คบค้าสมาคม 】แปลว่า: ก. ไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน, คบหา ก็ว่า.
【 คบคิด 】แปลว่า: ก. ร่วมคิดกันทําการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่เปิดเผย.
【 คบชู้ 】แปลว่า: ก. มีชู้.
【 คบหา 】แปลว่า: ก. ไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน, คบค้า หรือ คบค้าสมาคม
ก็ว่า.
【 คม ๑ 】แปลว่า: ก. ก้ม, คํานับ, ไหว้, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงคมในความหมายว่า
ทรงไหว้. (กร่อนมาจาก บังคม). (ข.).
【 คม ๒ 】แปลว่า: น. ส่วนบางมากจนสามารถบาดได้ เช่น คมมีด คมดาบ คมหญ้า.
ว. ไม่ทื่อ เช่น มีดคม, บาดได้ เช่น ป่านคม; เฉียบแหลม เช่น ปัญญา
คม; ชัดเจน เช่น ภาพคม เส้นคม, โดยปริยายใช้สําหรับตาและปาก
ซึ่งมีลักษณะอย่างของที่คมอาจบาดหรือแทงใจได้.
【 คมกริบ 】แปลว่า: ว. คมมาก; ฉลาดทันคน, เฉียบแหลม, ไหวทัน.
【 คมขำ 】แปลว่า: ก. สวยอย่างซึ้งใจชวนพิศ มักหมายถึงหญิงผิว ๒ สี.
【 คมคาย 】แปลว่า: ว. ฉลาด, ไหวพริบดี, ทันคน, เช่น วาจาคมคาย พูดจาคมคาย
สำนวนภาษาคมคาย, มีแววฉลาด เช่น หน้าตาคมคาย.
【 คมในฝัก ๑ 】แปลว่า: (สํา) ว. มีความรู้ความสามารถแต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ไม่แสดง
ออกมาให้ปรากฏ.
【 คมสัน 】แปลว่า: ว. มีหน้าตาท่าทางเข้าทีน่าดู.
【 คมน-, คมน์ 】แปลว่า: คะมะนะ-, คมมะนะ-, คม น. การไป, การถึง, มักใช้ประสม
กับคําอื่น เช่น สรณคมน์ คมนาการ. (ป.).
【 คมนาการ 】แปลว่า: [คะมะนากาน, คมมะนากาน] น. การไป, การถึง. (ป. คมน +
อาการ).
【 คมนาคม 】แปลว่า: [คะมะนาคม, คมมะนาคม] น. การติดต่อไปมาถึงกัน, การสื่อสาร;
ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการคมนาคม การขนส่ง
การพาณิชยนาวีการสื่อสาร และการอุตุนิยมวิทยา. (ป. คมน +
อาคม).
【 คมนาการ 】แปลว่า: /ดู คมน-, คมน์/.
【 คมนาคม 】แปลว่า: /ดู คมน-, คมน์/.
【 คมในฝัก ๑ 】แปลว่า: /ดู คมน-, คมน์/.
【 คมในฝัก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงยาวกลบทและกลอักษร.
【 คมบาง 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Apluda mutica/ L. ในวงศ์ Gramineae
ขอบใบคม. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล /Carex/ และ
/Scleria/ วงศ์ Cyperaceae เช่น ชนิด /C. baccans/ Nees
ผลสุกสีน้ำตาล และชนิด /S. purpurascens/ Steud. ผลสุกสีขาว.
【 คมิกภัต 】แปลว่า: [คะมิกะ-] น. อาหารที่เตรียมถวายภิกษุก่อนที่ท่านจะออกเดินทาง.
(ป. คมิกภตฺต).
【 ครก 】แปลว่า: [คฺรก] น. เครื่องใช้ที่มีลักษณะอย่างหลุมสําหรับตําหรือโขลกด้วย
สาก, เครื่องใช้ที่ทําด้วยไม้ทั้งท่อนขนาดใหญ่ ยาวประมาณ ๗๐
เซนติเมตร ขุดเนื้อในออกให้เป็นหลุมลึก สําหรับตําหรือซ้อมข้าว
เป็นต้นด้วยสากหรือตะลุมพุก เรียกว่า ครกซ้อมมือ, ถ้าใช้ตําด้วย
กระเดื่อง เรียกว่า ครกกระเดื่อง; เรียกขนมที่ทําด้วยแป้งกับกะทิ
หยอดในภาชนะกระเบื้องหรือโลหะที่ทําเป็นหลุม ๆ ตั้งบนไฟ ว่า
ขนมครก; ชื่อปืนใหญ่ขนาดสั้นใช้สําหรับยิงโดยมีวิถีกระสุนโค้ง
มาก, เครื่องยิงลูกระเบิด มีลํากล้องขนาดใหญ่และสั้น ผิวลํากล้อง
เป็นเกลียวหรือเรียบก็ได้ บรรจุลูกระเบิดทางปากกระบอก ใช้
สําหรับยิงลูกระเบิดโดยมีวิถีกระสุนโค้งมาก.
【 ครกกะเบือ 】แปลว่า: น. ครกดินสําหรับตําข้าวเบือหรือนํ้าพริกเป็นต้น, ใช้คู่กับ
สากกะเบือ.
【 คร่ง 】แปลว่า: [คฺร่ง] น. เสือโคร่ง.
【 ครบ, ครบถ้วน 】แปลว่า: [คฺรบ] ว. ถ้วน, เต็มจํานวนที่กําหนดไว้.
【 ครบครัน 】แปลว่า: ว. พร้อมเพรียง, ไม่ขาดเหลือ, บริบูรณ์.
【 ครบมือ 】แปลว่า: ว. มีอยู่ครบในครอบครอง (ใช้แก่อาวุธและคนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป
มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น มีอาวุธครบมือ; มีเครื่องมือเครื่องใช้อย่าง
พร้อมเพรียง เช่น ช่างไม้มีอุปกรณ์ครบมือ.
【 ครรชิต 】แปลว่า: คันชิด ก. คํารน, บันลือเสียง, เอิกเกริก, กึกก้อง, กระหึม,
เช่น ครรชิตฤทธิ์ราวี. (ลอ). (ส. ครฺชิต; ป. คชฺชิต).
【 ครรภ, ครรภ-, ครรภ์ 】แปลว่า: [คับ, คับพะ-, คัน] น. ห้อง, ท้อง เช่น หญิงมีครรภ์ (ใช้เฉพาะผู้หญิง
ที่มีลูกอยู่ในท้อง). (ส. ครฺภ; ป. คพฺภ).
【 ครรภ์ไข่ปลาอุก 】แปลว่า: น. ครรภ์ผิดปรกติที่เซลล์เยื่อหุ้มตัวอ่อนกลายเป็นเนื้องอกใน
มดลูก มีลักษณะเป็นเม็ดติดกันเป็นพวงคล้ายไข่ปลาอุก.
(อ. mole, hydatid mole, hydatidiform mole).
【 ครรภธาตุ 】แปลว่า: [คับพะ-] น. ส่วนของพระสถูปหรือพระปรางค์ที่บรรจุ
พระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุไว้ภายใน, ธาตุครรภ
หรือ เรือนธาตุ ก็ว่า. (ส. ครฺภ + ธาตุ).
【 ครรภธาตุมณฑล 】แปลว่า: น. ภาวะอันแท้จริงของพระพุทธเจ้าซึ่งอยู่ในสรรพสัตว์ แต่ยัง
ไม่ได้สําแดงให้ปรากฏ. (ส. ครฺภ + ธาตุ + มณฺฑล)
【 ครรภมณฑล 】แปลว่า: น. ห้องประดิษฐานพระพุทธรูปหรือรูปพระโพธิสัตว์. (ส. ครฺภ +
มณฺฑล).
【 ครรภมล 】แปลว่า: [คับพะมน] น. รก. (ประกาศ ร. ๔), (ราชา) พระครรภมล.
【 ครรโภทร 】แปลว่า: คันโพทอน น. ท้องมีลูก. (ส. ครฺภ + อุทร).
【 ครรโภทร 】แปลว่า: /ดู ครรภ, ครรภ-, ครรภ์/.
【 ครรลอง 】แปลว่า: [คันลอง] น. ทาง, แนวทาง, แบบฉบับ. (แผลงมาจาก คลอง).
【 ครรโลง 】แปลว่า: คันโลง น. โคลง, คําประพันธ์ชนิดหนึ่ง. (แผลงมาจาก
โคลง).
【 ครรไล 】แปลว่า: [คัน-] ก. ไคล, ไป. (แผลงมาจาก ไคล).
【 ครรไลหงส์ 】แปลว่า: น. “พระผู้มีหงส์เป็นพาหนะ” หมายถึง พระพรหม เพราะพระพรหม
ทรงมีหงส์เป็นพาหนะ.
【 ครรหิต 】แปลว่า: คันหิด ว. ถูกจับไว้, ถูกยึดไว้, ซึ่งถือไว้, เช่น ก็บ่มิครรหิตให้แล้.
(ม. คําหลวง กุมาร). (ป. คหิต; ส. คฺฤหิต).
【 ครวญ 】แปลว่า: [คฺรวน] ก. ร้องรําพัน.
【 ครวญคราง 】แปลว่า: ก. ครางเรื่อย ๆ ไป.
【 ครวญหา 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 ครวัก, ครวี 】แปลว่า: [คฺระวัก, คฺระวี] ก. กวัดแกว่ง. (ข. ครฺวาต่, ครฺวี).
【 ครหา 】แปลว่า: [คะระหา, คอระหา] ก. ติเตียน, ติโทษ. (ป., ส. คฺรหา).
【 ครอก ๑ 】แปลว่า: [คฺรอก] น. ลูกสัตว์หลายตัวที่เกิดพร้อมกันคราวเดียว เช่น
ลูกครอกปลาช่อน, ลักษณนามเรียกการตกลูกของสัตว์คราว
หนึ่ง ๆ เช่น ปีนี้แมวออกลูก ๒ ครอก; (โบ) ลูกของทาสที่เกิดใน
เรือนเบี้ย เรียกว่า ลูกครอก.
【 ครอก ๒ 】แปลว่า: คฺรอก น. เจ้าโดยกำเนิดหรือที่สถาปนาขึ้น, เรียกพระราชโอรส
และพระราชธิดาชั้นเจ้าฟ้าว่า เจ้าครอกฟ้า, เรียกพระองค์เจ้าและ
หม่อมเจ้าว่า เจ้าครอก.
【 ครอก ๓ 】แปลว่า: [คฺรอก] ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงกรนของคนที่หลับ.
【 ครอง 】แปลว่า: [คฺรอง] ก. ปกครองรักษาโดยความเป็นใหญ่ เช่น ครองเมือง;
ดํารงไว้, รักษาไว้, เช่น ครองสิกขา ครองชีพ ครองตัว; นุ่งห่ม
(ใช้แก่นักบวช) เช่น ครองจีวร ครองผ้า; ถือสิทธิเป็นเจ้าของ
เช่น เอาไปครองเสียหลายวัน.
【 ครองราชสมบัติ 】แปลว่า: ก. เสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์.
【 ครองแครง 】แปลว่า: [คฺรองแคฺรง] น. ชื่อขนมทําด้วยแป้งกดบนพิมพ์ที่เป็นรอยริ้ว ๆ
คล้ายฝาหอยแครง ต้มกับกะทิ, ถ้าทอดกรอบเคล้านํ้าตาลเคี่ยว
เรียกว่า ครองแครงกรอบ.
【 คร่อเงาะ 】แปลว่า: /ดู ขล้อเงาะ/.
【 คร่อเทียน 】แปลว่า: /ดู ขล้อเทียน/.
【 ครอบ ๑ 】แปลว่า: [คฺรอบ] ก. เอาของที่มีลักษณะคลุ่ม ๆ คล้ายขันควํ่าเป็นต้นปิด
งําไว้ เช่น เอาฝาชีครอบ เอากะลาครอบ. น. แก้วรูปลูกฟักตัด
สําหรับครอบพระพุทธรูปหรือเครื่องบูชาเป็นต้น; ภาชนะชนิดหนึ่ง
ทำด้วยโลหะ รูปทรงคล้ายลูกฟักหรือคล้ายน้ำเต้า มีเชิง
ฝาครอบเป็นรูปทรงหัวเม็ดทรงมัณฑ์เป็นต้น สำหรับใส่น้ำมนต์.
【 ครอบครอง 】แปลว่า: ก. ยึดถือไว้, มีสิทธิปกครอง; (กฎ) ยึดถือทรัพย์สินไว้โดยเจตนา
จะยึดถือเพื่อตน อันทำให้บุคคลได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ทั้งนี้จะ
ยึดถือไว้เองหรือบุคคลอื่นยึดถือไว้ให้ก็ได้.
【 ครอบครองปรปักษ์ 】แปลว่า: (กฎ) ก. ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและ
โดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ บุคคลผู้ครอบครองปรปักษ์
ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ ปี
ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา ๕ ปี
บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น.
【 ครอบคลุม 】แปลว่า: ก. รวมไปถึง.
【 ครอบงำ 】แปลว่า: ก. มีอํานาจเหนือ บังคับให้เป็นไปตาม เช่น กิเลสครอบงํา.
【 ครอบจักรวาล ๑ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ถามแบบครอบจักรวาล
อย่างนี้ตอบยาก.
【 ครอบ ๒ 】แปลว่า: [คฺรอบ] ก. ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้, ถ่ายทอดความรู้ให้; ทําพิธี
รับรองความรู้ เช่น ครูครอบศิษย์ (อย่างครูครอบศิษย์ด้วยหัวโขน).
【 ครอบครู 】แปลว่า: น. พิธีตั้งครูโขนเพื่อให้ผู้นั้นสามารถเป็นผู้ครอบศิษย์ต่อไป.
【 ครอบครัว 】แปลว่า: [คฺรอบคฺรัว] น. สถาบันพื้นฐานของสังคมที่ประกอบด้วยสามีภรรยา
และหมายความรวมถึงลูกด้วย.
【 ครอบจักรวาล ๑ 】แปลว่า: [คฺรอบ-] /ดูใน ครอบ ๑/.
【 ครอบจักรวาล ๒ 】แปลว่า: [คฺรอบ-] น. ชื่อยาเขียว.
【 ครอบจักรวาล ๓ 】แปลว่า: [คฺรอบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น
พี่นางแกล้งแปลงเรื่องให้เคืองพี่
สรวลซิกซี้กันเสียได้ไม่ไต่สวน
จวนจะชื่นช่างมาคืนให้รัญจวน
ออสำนวนพี่นางอย่างนี้ออ.
(จารึกวัดโพธิ์).
【 ครอบจักรวาล ๔ 】แปลว่า: [คฺรอบ-] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
【 ครอบจักรวาล ๕ 】แปลว่า: [คฺรอบ-] น. ชื่อไม้พุ่มในวงศ์ Malvaceae ใบมน ดอกเหลือง ผลใช้
ทํายาได้ มี ๒ ชนิด คือ ชนิด /Abutilon hirtum/ (Lam.) Sweet ผลมัก
มี ๒๐-๒๕ ซีก, ครอบตลับ หรือ ยักเพรีย ก็เรียก; และชนิด /Hibiscus/
/vitifolius/ L. ผลมี ๕ ปีก.
【 ครอบตลับ 】แปลว่า: [คฺรอบ-] /ดู ครอบจักรวาล ๕/.
【 คร่อม 】แปลว่า: [คฺร่อม] ก. ยืนหรือนั่งแยกขาให้ของอยู่ใต้หว่างขา, ยงโย่ให้ของอยู่
ใต้ตัว เช่น เอาตัวคร่อมไว้ นอนคร่อม, เอาสิ่งของเช่นโต๊ะเก้าอี้ตั้งใน
อาการเช่นนั้น เช่น วางโต๊ะคร่อมกองหนังสือ, โดยปริยายหมายถึง
ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกเรือนคร่อมตอ สร้างสะพาน
คร่อมคลอง นั่งคร่อม ๒ ตำแหน่ง.
【 คระ ๑ 】แปลว่า: [คฺระ] คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี คร- เป็น
พยัญชนะต้นในบทกลอน มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น
และมีความหมายในทางย้ำคำหรือเป็นพหูพจน์ เช่น คระคราง
(หมายความว่า ครางคราง) คระครึ้ม (หมายความว่า ครึ้มครึ้ม)
คระโครม (หมายความว่า โครมโครม).
【 คระ ๒ 】แปลว่า: [คฺระ] ใช้แทน กระ ที่เป็นพยางค์หน้า เช่น คระหน คระหาย
คระโหย.
【 คระเมิม 】แปลว่า: [คฺระ-] ว. ดุ, น่ากลัว, เช่น ครึ้มคระเมิมภัยรา. (ม. คําหลวง มหาพน).
【 คระแลง 】แปลว่า: [คฺระ-] ก. เอียง, ลอยไป. (แผลงมาจาก แคลง).
【 คระไล 】แปลว่า: [คฺระ-] ก. ไป. (แผลงมาจาก ไคล).
【 คระวี 】แปลว่า: คฺระ- ก. แกว่ง, กระวี ก็ว่า.
【 คระแวง 】แปลว่า: [คฺระ-] ก. เคว้ง, แคว้ง, หมุนไป. (ข. คฺรแวง ว่า เหวี่ยง).
【 คระหน 】แปลว่า: [คฺระ-] ก. กระหน, ดิ้นรน, เดือดร้อน, กระวนกระวาย.
【 คระหวน 】แปลว่า: [คฺระ-] ก. หวนนึก.
【 คระหาย 】แปลว่า: [คฺระ-] ก. กระหาย, อยาก.
【 คระหิว 】แปลว่า: [คฺระ-] ก. อยาก, หิว.
【 คระโหย 】แปลว่า: [คฺระ-] ก. กระโหย, ระโหย, โหย, ละเหี่ยใจ.
【 ครั่ง ๑ 】แปลว่า: [คฺรั่ง] น. ชื่อเพลี้ยหอยชนิด /Laccifer lacca/ ในวงศ์ Lacciferidae
ตัวเมียไม่มีปีก เมื่อเป็นตัวอ่อนระยะแรกจะมีขาและหนวด
เคลื่อนไหวได้ เมื่อลอกคราบเวลาต่อมาจะไม่มีขา หยุดอยู่กับที่
ดูดกินนํ้าเลี้ยงจากพืชและผลิตสารซึ่งเรียกว่า ขี้ครั่ง นําไปใช้ทํา
ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลายอย่าง.
【 ครั่ง ๒ 】แปลว่า: [คฺรั่ง] น. เอื้องครั่ง. /(ดู เอื้องครั่ง ที่ เอื้อง ๑)./
【 ครั้ง 】แปลว่า: [คฺรั้ง] น. คราว, หน, ที.
【 ครัดเคร่ง 】แปลว่า: คฺรัดเคฺร่ง ก. แน่น, ตึง เช่น แก้มทั้งสองข้างดังปรางทอง
เต้านมทั้งสองก็ครัดเคร่ง. (ขุนช้างขุนแผน), เคร่งครัด ก็ว่า.
ว. เข้มงวด, กวดขัน; ถูกต้องครบถ้วน.
【 ครัน 】แปลว่า: [คฺรัน] ว. ใช้ประกอบคําอื่นมีความหมายไปในทํานองว่า นัก, แท้,
ยิ่ง, จริง, เช่น ครบครัน เสนาะครัน ดีครัน.
【 ครั่น ๑ 】แปลว่า: [คฺรั่น] ก. รู้สึกประหวั่นพรั่นพรึง.
【 ครั่นคร้าม 】แปลว่า: ก. เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว.
【 ครั่น ๒ 】แปลว่า: [คฺรั่น] ก. รู้สึกตึงเนื้อตึงตัว.
【 ครั่นตัว, ครั่นเนื้อครั่นตัว 】แปลว่า: ก. รู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ เป็นอาการแสดงว่าจะเป็นไข้, รู้สึกสะบัด
ร้อนสะบัดหนาว, รู้สึกตึงเนื้อตึงตัว.
【 ครั้น 】แปลว่า: [คฺรั้น] สัน. เมื่อ.
【 ครั่นครื้น 】แปลว่า: [คฺรั่นคฺรื้น] ก. สะเทือน.
【 ครับ 】แปลว่า: [คฺรับ] ว. คํารับหรือคําลงท้ายอย่างสุภาพที่ผู้ชายใช้.
【 ครัว ๑ 】แปลว่า: [คฺรัว] น. โรง เรือน หรือห้องสําหรับทํากับข้าวของกิน, เรียกผู้ที่
อยู่กินร่วมครัวกัน.
【 ครัวไฟ 】แปลว่า: น. ครัว.
【 ครัวเรือน 】แปลว่า: น. ครอบครัวที่อยู่ในบ้านเรือนเดียวกัน.
【 ครัว ๒ 】แปลว่า: คฺรัว น. ของ, สิ่งของ, เครื่องใช้, เช่น พ่อค้าแม่ค้า
ขายครัว; ทรัพย์มรดก เช่น ลูกหล้าครัวรอม คือ ลูกคนสุดท้อง
จะได้รับทรัพย์มรดกมากกว่าผู้อื่น, ขายครัวมายาตัว คือ
ขายทรัพย์มรดกเพื่อมารักษาตัว.
【 ครัวทาน 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ของถวายพระ.
【 ครา 】แปลว่า: [คฺรา] น. ครั้ง, คราว, หน.
【 คร่า 】แปลว่า: [คฺร่า] ก. ฉุดลากไปอย่างไม่ปรานี.
【 คราก 】แปลว่า: [คฺราก] ก. ยืดขยายออกแล้วไม่คืนตัว เช่น กระเพาะคราก ท้องคราก;
สึกกร่อน เช่น รูกลอนคราก รูรอดคราก; กระดูกตะโพกเคลื่อนที่
แยกออก เรียกว่า ตะโพกคราก.
【 คราง ๑ 】แปลว่า: [คฺราง] ก. ร้องเบา ๆ เรื่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดหรือเสียใจ, มักใช้
เข้าคู่กับคำ ครวญ เป็น ครวญคราง; ร้องเสียงลากยาว ๆ อย่าง
เสียงฟ้าร้อง เช่น อัมพรอุทรคราง เรียมคร่ำ ครวญแม่. (นิ. นรินทร์).
【 คราง ๒ 】แปลว่า: [คฺราง] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด /Scapharca inaequivalvis/ ในวงศ์
Arcidae ลักษณะคล้ายหอยแครงแต่ขนาดใหญ่กว่า ที่เปลือกมีขน
อาศัยอยู่ตามบริเวณพื้นที่มีโคลนปนทราย.
【 คราญ 】แปลว่า: [คฺราน] ว. งาม, สวย, น่ารัก, ใช้ประสมกับคําอื่น เช่น นงคราญ
สะคราญ.
【 คราด ๑ 】แปลว่า: [คฺราด] น. เครื่องมือทําไร่ทํานาใช้วัวหรือควายลาก ลักษณะเป็น
คาน มีซี่ห่าง ๆ กัน มีคันชักสําหรับลากขี้หญ้าและทําให้ดินที่ไถ
แล้วซุย, เครื่องมือสําหรับชักหรือลากขี้หญ้าหรือหยากเยื่อเป็นต้น
ทําเป็นซี่ ๆ มีด้ามสําหรับจับชักหรือลากไป. ก. ชักหรือลากขี้หญ้า
เป็นต้นด้วยคราดนั้น.
【 คราด ๒ 】แปลว่า: [คฺราด] น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Compositae ขึ้นตามที่
รกร้างว่างเปล่าในที่ชื้นแฉะ เรียกกันว่า ผักคราด หรือ ผักคราด
หัวแหวน เช่น ชนิด /Spilanthes acmella/ Murr. ดอกสีเหลืองทรง
กรวยแหลม ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ชนิด /S. oleracea/ (L.) Jacq.
ใบหนากว่าชนิดแรกและดอกทรงป้านกว่า, พายัพเรียก ผักเผ็ด.
【 คร้าน 】แปลว่า: [คฺร้าน] ว. มีความรู้สึกไม่อยากจะทําหรือคิดหรือไม่อยากแสดง
อาการใด ๆ, ตามปรกติเมื่อใช้พูดมักมีคํา ขี้ ประกอบหน้า เช่น
ขี้คร้าน และมักใช้เข้าคู่กับคํา เกียจ เป็น เกียจคร้าน ขี้เกียจขี้คร้าน
หมายความว่า ไม่อยากทํางาน.
【 คราบ 】แปลว่า: [คฺราบ] น. หนังหรือเปลือกนอกของสัตว์บางชนิดที่ลอกออกได้
เช่น คราบงู คราบกุ้ง, โดยปริยายหมายถึงลักษณาการที่
คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คนบาปในคราบของนักบุญ; รอยเปื้อน
ติดกรังอยู่ เช่น คราบนํ้า คราบนํ้ามัน.
【 คราบหมู 】แปลว่า: [คฺราบ-] น. เรียกมะขามฝักที่จวนจะแก่ว่า มะขามคราบหมู.
【 คราม ๑ 】แปลว่า: [คฺราม] น. บ้าน, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ราชคราม. (ส.; ป. คาม).
【 คราม ๒ 】แปลว่า: [คฺราม] น. ผงสีนํ้าเงินที่ได้จากต้นคราม. ว. สีนํ้าเงิน.
【 คราม ๓ 】แปลว่า: [คฺราม] น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด /Indigofera tinctoria/ L. ในวงศ์
【 Leguminosae 】แปลว่า:
ปลูกเพื่อใช้ใบและต้นทําสีนํ้าเงิน ใช้ย้อมผ้า. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด
/Strobilanthes cusia/ (Nees) Kuntze ในวงศ์ Acanthaceae ใบใช้ทํา
สีนํ้าเงิน ใช้ย้อมผ้า, พายัพเรียก ห้อม หรือ ห้อมเมือง, เขียนเป็น
ฮ่อม หรือ ฮ่อมเมือง ก็มี.
【 คร้าม 】แปลว่า: [คฺร้าม] ก. ขยาด, ไม่กล้าสู้, กลัวเกรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครั่น เป็น
ครั่นคร้าม หมายความว่า เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้าน
ด้วยความกลัว.
【 คร้ามเกรง 】แปลว่า: ก. เกรงกลัว.
【 ครามครัน 】แปลว่า: [คฺรามคฺรัน] ว. มาก, หลาย, นัก.
【 คราว ๑ 】แปลว่า: [คฺราว] น. ครั้ง, หน, เช่น คราวหน้า คราวหลัง, รุ่น เช่น เด็ก ๒ คนนี้
อายุคราวเดียวกัน, ใช้เป็นลักษณนาม เช่น สินค้าชนิดนี้ส่งเข้ามา
๓ คราว.
【 คราว ๒ 】แปลว่า: [คฺราว] ว. เรียกแมวตัวผู้ แก่ รูปร่างใหญ่ หน้าตาดุน่ากลัว และมี
หนวดยาว ว่า แมวคราว.
【 คร่าว 】แปลว่า: [คฺร่าว] น. โครงสร้างซึ่งทำขึ้นด้วยวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นไม้
โลหะ เพื่อใช้ในการยึดแผ่นวัสดุที่ทำเป็นฝา รั้ว หรือฝ้าเพดาน
ส่วนใหญ่จะยึดกับโครงสร้างที่สำคัญมีเสาคาน เป็นต้น คร่าวตี
ได้ทั้งในแนวตั้ง แนวนอน หรือเป็นตาราง.
【 คร่าว ๆ 】แปลว่า: ว. เลา ๆ พอเห็นเป็นเค้า, ยังไม่เรียบร้อย.
【 คราส 】แปลว่า: [คฺราด] ก. กิน เช่น จันทรคราส สุริยคราส (โบราณ เขียนเป็น
จันทรคาธ สุริยคาธ โดยถือว่ามาจากบาลีว่า จนฺทคฺคาห
สุริยคฺคาห); จับ, ถือ, เช่น สิบนิ้วคราสคนธกำจร เทียนธูปบวร.
(สมุทรโฆษ). (ส.).
【 ครำ 】แปลว่า: [คฺรํา] น. เรียกน้ำเสียที่ขังอยู่ในพื้นดินที่เป็นแอ่งเช่นใต้ถุนครัว
ในท่อระบายน้ำเสีย ว่า นํ้าครํา, ไขเสนียด ก็เรียก.
【 คร่ำ ๑ 】แปลว่า: [คฺรํ่า] ว. เรียกของเหลวในถุงเยื่อหุ้มลูกในมดลูกของสัตว์เลี้ยงลูก
ด้วยนม ทําหน้าที่ลดผลการกระทบกระแทก และช่วยหล่อลื่นใน
ตอนคลอดเป็นต้น ว่า นํ้าครํ่า เรียกถุงเยื่อหุ้มที่บรรจุน้ำคร่ำว่า
ถุงน้ำคร่ำ.
【 คร่ำ ๒ 】แปลว่า: [คฺรํ่า] ว. เก่ามาก เช่น โบสถ์หลังนี้เก่าคร่ำ.
【 คร่ำคร่า 】แปลว่า: ว. เก่าแก่จนชํารุดทรุดโทรม เช่น กระท่อมเก่าคร่ำคร่า.
【 คร่ำครึ 】แปลว่า: ว. เก่าเกินไป, ไม่ทันสมัย.
【 คร่ำเครอะ 】แปลว่า: ว. สกปรก, เปรอะเปื้อน.
【 คร่ำหวอด 】แปลว่า: (ปาก) ว. มีประสบการณ์สูง, มีความชํานาญสูงมาก, เช่น
เขาคร่ำหวอดอยู่ในวงการเมือง.
【 คร่ำ ๓ 】แปลว่า: คฺรํ่า ก. ร้องไห้.
【 คร่ำครวญ 】แปลว่า: ว. ร้องรํ่ารําพัน.
【 คร่ำ ๔ 】แปลว่า: [คฺร่ำ] ก. เอาเส้นเงินหรือเส้นทองกดและตอกให้ติดบนผิวเหล็ก
ทำเป็นลวดลาย, ถ้าเป็นลวดลายเงิน เรียก คร่ำเงิน, ถ้าเป็น
ลวดลายทอง เรียก คร่ำทอง.
【 คร่ำเคร่ง 】แปลว่า: ว. หมกมุ่นในการทํางานเป็นต้นอย่างหามรุ่งหามคํ่า.
【 คริปทอน 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๓๖ สัญลักษณ์ Kr เป็นแก๊สเฉื่อย มีปรากฏเพียง
๑ ใน ๖๗๐,๐๐๐ ส่วนในบรรยากาศ. (อ. krypton).
【 คริสต์ 】แปลว่า: [คฺริด] น. ชื่อหนึ่งของพระเยซู ผู้ตั้งศาสนาคริสต์.
【 คริสตกาล 】แปลว่า: น. สมัยเมื่อพระเยซูยังมีพระชนม์อยู่.
【 คริสตจักร 】แปลว่า: น. ประชาคมที่เชื่อและรับพระเยซูเป็นพระผู้ไถ่บาป แบ่งเป็น ๓
นิกายใหญ่ ได้แก่ โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และออร์ทอดอกซ์.
【 คริสต์มาส ๑ 】แปลว่า: น. วันสมภพของพระเยซู. (อ. Christmas).
【 คริสต์ศตวรรษ 】แปลว่า: น. รอบ ๑๐๐ ปี นับตั้งแต่วันสมภพของพระเยซู.
【 คริสต์ศักราช 】แปลว่า: น. ปีนับตั้งแต่วันสมภพของพระเยซู เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช
๕๔๓ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๕๔๓ เท่ากับคริสต์ศักราช).
【 คริสต์ศาสนิกชน 】แปลว่า: น. ผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนา.
【 คริสตัง 】แปลว่า: น. ผู้นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก.
【 คริสเตียน 】แปลว่า: น. ผู้นับถือคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์.
【 คริสต์มาส ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Euphorbia pulcherrima/ (R. Grah.) Willd. ex
Klotzsch ในวงศ์ Euphorbiaceae ออกดอกในฤดูหนาว มีใบ
ประดับสีแดง, สองฤดู หรือ โพผัน ก็เรียก.
【 ครี้ 】แปลว่า: /ดู กระซิก ๒/.
【 ครีครอ 】แปลว่า: [คฺรีคฺรอ] (โบ; กลอน) ว. รีรอ เช่น จักเลี้ยงชีพเคร่าครีครอ อยู่เท่า
เพียงพอ ชีพิตก็ยากยังฉงน. (สมุทรโฆษ)
【 ครีบ 】แปลว่า: [คฺรีบ] น. อวัยวะที่เป็นแผ่นติดกันเป็นพืดอยู่ใต้ท้องและสันหลัง
ของปลาเป็นต้น; เรียกของบางอย่างที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น
ครีบตาล คือ ครีบ ๒ ข้างของทางตาล มีลักษณะคล้ายฟันเลื่อย.
【 ครีบสิงห์, ครีบหลังสิงห์ 】แปลว่า: น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง.
【 ครีม 】แปลว่า: [คฺรีม] น. หัวนํ้านมส่วนที่ลอยขึ้นมา; อาหารที่ผสมด้วยครีมหรือมี
ลักษณะคล้ายครีม เช่น ครีมหน้าขนมเค้ก; สิ่งที่มีนํ้ามันผสมอยู่
และมีลักษณะเหนียวข้นคล้ายครีม จะมีครีมผสมอยู่ด้วยหรือไม่
ก็ตาม เช่น ครีมทาหน้า ครีมใส่ผม. ว. สีอย่างสีขาวออกเหลือง.
(อ. cream).
【 ครีษมายัน 】แปลว่า: คฺรีดสะ- น. จุดสุดทางเหนือ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราว
วันที่ ๒๒ มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวันยาวที่สุด เรียกว่า
ครีษมายัน (summer solstice), คู่กับ เหมายัน, อุตตรายัน ก็เรียก.
(ส. คฺรีษฺม + อายน).
【 ครึ 】แปลว่า: คฺรึ ว. เก่าไม่ทันสมัย.
【 ครึกครื้น 】แปลว่า: [คฺรึกคฺรื้น] ว. สนุกสนาน, ร่าเริง, เช่น ใจครึกครื้น; เอิกเกริก เช่น
งานครึกครื้น ขบวนแห่ครึกครื้น.
【 ครึกโครม 】แปลว่า: [คฺรึกโคฺรม] ว. อึกทึก, อื้ออึง, ชวนให้ตื่นเต้น, เป็นที่เล่าลือกันแพร่หลาย.
【 ครึ่ง 】แปลว่า: [คฺรึ่ง] ว. กึ่ง, ๑ ส่วนใน ๒ ส่วน.
【 ครึ่ง ๆ กลาง ๆ 】แปลว่า: ว. ไม่ตลอด, ไม่เต็มที่.
【 ครึ่งชาติ 】แปลว่า: น. ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นคนต่างชาติกัน, ลูกครึ่ง ก็ว่า.
【 ครึ่งซีก 】แปลว่า: ว. ครึ่งหนึ่ง เช่น มะพร้าวครึ่งซีก, (ปาก) ครึ่งดวง, เรียกดวงจันทร์
ในวัน ๘ ค่ำว่า พระจันทร์ครึ่งซีก.
【 ครึ่งต่อครึ่ง 】แปลว่า: ว. อย่างหรือฝ่ายละครึ่งเท่า ๆ กัน.
【 ครึ่ด 】แปลว่า: [คฺรึ่ด] ว. ดาษไป, เกลื่อนไป, เช่น คนมากันครึ่ด สีแดงครึ่ด, ครืด ก็ว่า.
【 ครึน 】แปลว่า: [คฺรึน] น. ชื่อเครื่องดักนกและไก่ทําเป็นบ่วง, ครืน ก็เรียก.
【 ครึม, ครึมครุ 】แปลว่า: [คฺรึม, คฺรึมคฺรุ] น. ป่าทึบ, ป่ารก.
【 ครึ้ม 】แปลว่า: [คฺรึ้ม] ว. มืดมัว เช่น อากาศครึ้ม; ร่มและเย็น เช่น ป่าครึ้ม; ดกและ
งาม (ใช้แก่หนวด); ทําให้เพลิดเพลิน เช่น เสียงมโหรีครึ้ม. ก. กริ่ม,
กระหยิ่ม, ร่าเริงในใจ, เช่น ครึ้มใจ.
【 ครืด ๑ 】แปลว่า: [คฺรืด] ว. ดาษไป, เกลื่อนไป, เช่น คนมากันครืด สีแดงครืด, ครึ่ด ก็ว่า.
【 ครืด ๒ 】แปลว่า: [คฺรืด] ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงลากสิ่งของครูดไป หรือเสียงกรน.
【 ครืดคราด ๑ 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงหายใจไม่สะดวก.
【 ครืดคราด ๒ 】แปลว่า: /ดู ข้างลาย/.
【 ครืน ๑ 】แปลว่า: [คฺรืน] /ดู ครึน/.
【 ครืน ๒ 】แปลว่า: [คฺรืน] ว. เสียงดังลั่นเช่นฟ้าร้อง.
【 ครืน ๓, ครื้น, ครืนครั่น, ครื้นครั่น 】แปลว่า: [คฺรืน, คฺรื้น, -คฺรั่น] ว. เอิกเกริก, กึกก้อง, สนั่น,
【 มากด้วยกัน. 】แปลว่า:
【 ครื้นครึก 】แปลว่า: [คฺรื้นคฺรึก] ว. ครึกครื้น, รื่นเริง, สนุกสนาน, เอิกเกริก.
【 ครื้นเครง 】แปลว่า: [คฺรื้นเคฺรง] ว. เสียงดังครึกครื้น, สนุกสนาน เช่น หัวเราะกันอย่าง
ครื้นเครง, มีอารมณ์สนุกสนาน เช่น เขาเป็นคนครื้นเครง.
【 ครือ ๑ 】แปลว่า: คฺรือ ก. คือ.
【 ครือ ๒, ครือ ๆ 】แปลว่า: [คฺรือ] ว. ไม่คับไม่หลวม เช่น เสื้อครือตัว, พอ ๆ กัน เช่น เด็ก ๒ คนนี้
ขยันครือ ๆ กัน.
【 ครุ ๑ 】แปลว่า: [คฺรุ] น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปกลม ๆ เหมือนกะลาตัด ยาชัน
มีหูหิ้ว ใช้ตักน้ำ.
【 ครุ ๒ 】แปลว่า: [คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตําราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก
ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระ
อำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์
ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย ?แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้
เครื่องหมาย ? แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ
ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).
【 ครุกรรม 】แปลว่า: [คะรุกำ] น. กรรมหนัก มีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล, การได้บรรลุ
ฌานสมาบัติเป็นครุกรรมฝ่ายกุศล การกระทำอนันตริยกรรม
เป็นครุกรรมฝ่ายอกุศล.
【 ครุกาบัติ 】แปลว่า: [คะรุกาบัด] น. อาบัติหนัก ได้แก่ อาบัติปาราชิก เมื่อภิกษุต้อง
อาบัติปาราชิก ถือว่าขาดจากความเป็นภิกษุทันที แม้กลับมา
บวชใหม่ก็ไม่เป็นภิกษุ.
【 ครุภัณฑ์ 】แปลว่า: [คะรุพัน] น. ของที่ใช้ทนทาน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้.
【 ครุ ๓ 】แปลว่า: [คะรุ] น. ครู. (ป. ครุ, คุรุ, ว่า ครู; ส. คุรุ ว่า ครู).
【 ครุวาร 】แปลว่า: [คะรุวาน] น. วันพฤหัสบดี ถือว่าเป็นวันครู. (ป.).
【 ครุศาสตร์ 】แปลว่า: [คะรุสาด] น. วิชาว่าด้วยการสร้างพื้นฐานและความรู้ของการ
เป็นครู ประกอบด้วยวิชาการศึกษาเป็นต้น.
【 ครุก- 】แปลว่า: คะรุกะ- ว. หนัก เช่น ครุกาบัติ ว่า อาบัติหนัก. (ป.).
【 ครุคระ 】แปลว่า: [คฺรุคฺระ] ว. ขรุขระ, ไม่เรียบเป็นตะปุ่มตะป่ำ, เช่น ทั้งคางเคราก็
ครุคระขึ้นรำไรอกย่นขนเขียวขดแข็ง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 ครุฑ 】แปลว่า: [คฺรุด] น. พญานกในเทพนิยาย เป็นพาหนะของพระนารายณ์,
ใช้เป็นตราแผ่นดินและเครื่องหมายทางราชการ. (ส.; ป. ครุฬ).
【 ครุฑพ่าห์ 】แปลว่า: [คฺรุดพ่า] น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วย
ผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธง
เดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้าน
ซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงทำเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรง
ส่วนสวมต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เรียก
เต็มว่า ธงพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัย
พระครุฑพ่าห์ใหญ่, ใช้เข้าคู่กับ ธงกระบี่ธุช โดยธงพระครุฑพ่าห์
อยู่ทางด้านขวา และธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย.
【 ครุ่น 】แปลว่า: [คฺรุ่น] ว. บ่อย ๆ เช่น เจ็บปวดครุ่นไปไข้ชราถอยกำลังวังชาลงทุกปี.
(สังข์ทอง), ซ้ำ ๆ, รํ่าไป, เช่น ครุ่นแค้น.
【 ครุ่นคิด ๑ 】แปลว่า: ก. คิดซ้ำ ๆ ซาก ๆ.
【 ครุ่นคิด 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 ครุมเครือ 】แปลว่า: [คฺรุมเคฺรือ] ว. คลุมเครือ.
【 ครุย 】แปลว่า: [คฺรุย] น. ชายผ้าที่ทําเป็นเส้น ๆ, ชายครุย ก็ว่า; ชื่อเสื้อจำพวกหนึ่ง
ใช้สวมหรือคลุม มีหลายชนิด ใช้เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศหรือ
แสดงหน้าที่ในพิธีการหรือแสดงวิทยฐานะ.
【 ครุวนา 】แปลว่า: [คะรุวะนา] น. อุปมา, เปรียบ.
【 ครู ๑ 】แปลว่า: [คฺรู] น. ผู้สั่งสอนศิษย์, ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์. (ป. ครุ, คุรุ; ส. คุรุ).
【 ครู ๒ 】แปลว่า: คะรู น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. /(ดู ยาม)./
【 ครู่ ๑ 】แปลว่า: [คฺรู่] น. เวลาชั่วขณะหนึ่ง เช่น เวลาชั่วครู่.
【 ครูด 】แปลว่า: [คฺรูด] ก. ขูดหรือครู่ไป.
【 คฤโฆษ 】แปลว่า: คะรึโคด ก. กึกก้อง, ดังลั่น, เช่น คฤโฆษกลองฆ้องเคล้า
คลี่ดูริย. (ยวนพ่าย).
【 คฤธระ 】แปลว่า: คฺรึทฺระ น. แร้ง, ในบทประพันธ์ใช้ว่า คฤธร ก็มี เช่น เกิดเป็น
ภักษแก่กังกโกรญจคฤธรกา บินมาวว่อนร่อนก็ร้อง. (สมุทรโฆษ).
【 คฤนถ์ 】แปลว่า: [คฺรึน] น. ตัวอักษรแบบหนึ่งของอินเดียภาคใต้ที่ใช้เขียนตํารา.
【 คฤห, คฤห- 】แปลว่า: [คฺรึ, คะรึหะ-] น. เรือน, ช่องคูหา, ที่นั่งบนเรือหรือรถมีลักษณะ
อย่างเรือน เช่น เรือคฤห รถคฤห. (ส.).
【 คฤหบดี 】แปลว่า: [คะรึหะบอดี] น. ชายที่เป็นเจ้าบ้าน, ผู้มีอันจะกินซึ่งเป็นเจ้าบ้าน,
คหบดี ก็ว่า. (ส. คฺฤหปตี; ป. คหปติ).
【 คฤหปัตนี 】แปลว่า: คะรึหะปัดตะนี น. หญิงที่เป็นเจ้าบ้าน, ภรรยาของคฤหบดี,
คหปตานี ก็ว่า. (ส. คฺฤหปตฺนี; ป. คหปตานี).
【 คฤหัสถ์ 】แปลว่า: [คะรึหัด] น. ผู้ครองเรือน, ผู้ไม่ใช่นักบวช, ฆราวาส. (ส. คฺฤหสฺถ;
ป. คหฏฺ?).
【 คฤหา 】แปลว่า: (กลอน) น. เรือน เช่น มักเที่ยวสู่คฤหา แห่งท่านนะพ่อ. (โลกนิติ).
【 คฤหาสน์ 】แปลว่า: [คะรึหาด] น. เรือน, โดยมากหมายถึงเรือนขนาดใหญ่และ
สง่าผ่าเผย. (ส. คฺฤหาสน).
【 คฤหัสถ์ 】แปลว่า: /ดู คฤห, คฤห-/.
【 คฤหา 】แปลว่า: /ดู คฤห, คฤห-/.
【 คฤหาสน์ 】แปลว่า: /ดู คฤห, คฤห-/.
【 คล 】แปลว่า: คน น. คอ เช่น เหลือกตาเมียงเอียงคล. (ม. คําหลวง กุมาร).
(ป., ส.).
【 คลวง ๑ 】แปลว่า: [คฺลวง] น. เรือน, ที่นั่ง, ตําหนัก.
【 คลวง ๒ 】แปลว่า: [คฺลวง] น. โรงถลุงดีบุก, (ปาก) กลวง.
【 คลอ 】แปลว่า: [คฺลอ] ก. เคียงคู่กันไปอย่างคู่รักหรืออย่างสนิทสนม; ปริ่ม,
ใกล้จะไหล, ในคำว่า น้ำตาคลอ หรือ น้ำตาคลอหน่วย; ทํา
เสียงดนตรีหรือร้องเพลงเบา ๆ ตามไปให้อยู่ในระดับใกล้เคียง
กัน เช่น ร้องคลอเสียงดนตรี.
【 คลอเคลีย 】แปลว่า: ก. เคล้าคู่กัน, เคียงเคล้ากันไป, เคลียคลอ ก็ว่า.
【 คลอแคล 】แปลว่า: [-แคฺล] ก. ไม่ห่างออก, เคียงกัน, เช่น ปีกเจ้ายังอ่อนคลอแคล
ตัวแม่จะสอนบิน. (กล่อมเด็ก), ใช้ว่า คล้อแคล้ ก็มี.
【 คลอหน่วย 】แปลว่า: ว. เรียกน้ำตาที่ปริ่มอยู่ที่ขอบตาเมื่อร้องไห้ว่า น้ำตาคลอหน่วย,
น้ำตาล่อหน่วย หรือ น้ำตาขังหน่วย ก็ว่า.
【 คลอก 】แปลว่า: [คฺลอก] ก. อาการที่ไฟล้อมเผาหนีออกไม่ได้ เช่น ถูกไฟคลอกตาย.
【 คล้อแคล้ 】แปลว่า: [คฺล้อแคฺล้] ก. ไม่ห่างออก, เคียงกัน, เช่น คลิ้งโคลงคล้อแคล้ในรัง.
(สมุทรโฆษ), คลอแคล ก็ว่า.
【 คลอง 】แปลว่า: [คฺลอง] น. ทางนํ้าหรือลํานํ้าที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่นํ้าหรือ
ทะเล; ทาง, แนว, เช่น คลองธรรม.
【 คลองเลื่อย 】แปลว่า: น. ร่องไม้ที่เลื่อยเลื่อยเข้าไป, แนวฟันของเลื่อย.
【 คลองส่งน้ำ 】แปลว่า: น. ลํานํ้าที่ขุดขึ้นเพื่อใช้ในการชลประทาน.
【 คล่อง 】แปลว่า: [คฺล่อง] ว. สะดวก เช่น หายใจได้คล่องขึ้น, ว่องไว เช่น เด็กคนนี้
ใช้คล่อง, ไม่ฝืด เช่น คล่องคอ, ไม่ติดขัด เช่น พูดคล่อง.
【 คล่องแคล่ว 】แปลว่า: ว. ว่องไว, สามารถทําได้รวดเร็ว, แคล่วคล่อง ก็ว่า.
【 คล่องตัว 】แปลว่า: ว. เคลื่อนไหวไปได้สะดวก, เป็นไปได้โดยสะดวกไม่ติดขัด.
【 คล่องปาก 】แปลว่า: ว. เจนปาก, ขึ้นปาก ก็ว่า.
【 คล่องมือ 】แปลว่า: ว. ถนัดมือ, เหมาะกับมือ, เช่น มีดเล่มนี้ใช้คล่องมือ; สะดวก,
ไม่ขาดแคลน, เช่น เขามีเงินใช้คล่องมืออยู่เสมอ.
【 คล้อง 】แปลว่า: [คฺล้อง] ก. เอาของที่มีลักษณะเป็นเส้น เป็นวงหรือเป็นบ่วง คาด
เกี่ยว หรือสวมสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้า เช่น ผ้าคล้องคอ คล้องพวงมาลัย
คล้องช้าง, เอาของที่เป็นวงหรือโค้งเกี่ยวหรือเกี่ยวกัน เช่น ลูกโซ่
คล้องกัน คล้องแขน, รับกัน เช่น ชื่อคล้องกัน.
【 คล้องจอง 】แปลว่า: ก. สัมผัสกัน, มีเสียงสระเดียวกันหรือถ้ามีตัวสะกดก็ต้องอยู่ใน
มาตราเดียวกัน เช่น มี-ปี จันทร์-ฉัน การ-บาน; ไม่ขัดกัน เช่น
พยานให้การคล้องจองกัน.
【 คลอด 】แปลว่า: [คฺลอด] ก. ออกลูก, ออกจากครรภ์, ราชาศัพท์ว่า ประสูติ; (ปาก)
ออก เช่น กฎหมายใหม่ยังไม่คลอด.
【 คลอน 】แปลว่า: [คฺลอน] ว. เคลื่อนไปมาได้ในที่บังคับ เช่น ฟันคลอน. (อะหม คอน
ว่า เคลื่อน).
【 คลอนแคลน 】แปลว่า: [-แคฺลน] ว. ง่อนแง่น, ไม่มั่นคง, เช่น ฐานะคลอนแคลน.
【 คล้อย 】แปลว่า: [คฺล้อย] ว. เพิ่งพ้นจากที่กําหนดไป เช่น เขาเพิ่งเดินคล้อยไปเมื่อ
สักครู่นี้. ก. บ่าย, ชาย, เรียกอาการที่ดวงตะวันเลยเที่ยงไปแล้วว่า
ตะวันคล้อย, เรียกอาการที่ดวงจันทร์เลยเที่ยงคืนไปแล้วว่า เดือน
คล้อย; หย่อนลง, ลดต่ำ, เรียกนมที่หย่อนลงเล็กน้อยว่า นมคล้อย.
【 คล้อยคล้อย 】แปลว่า: ก. ไกลออกไปทุกที, เคลื่อนออกไปไกล. (อะหม คล้อย ว่า ไปช้า ๆ).
【 คล้อยตาม 】แปลว่า: ก. สอดคล้องไปในทางเดียวกัน, มีความเห็นอย่างเดียวกัน, เช่น
ฉันเห็นคล้อยตามเขา.
【 คล้อยหลัง 】แปลว่า: ว. ผ่านพ้นไปยังพอเห็นหลังไว ๆ เช่น เขาเพิ่งเดินคล้อยหลังไป
ไม่นาน.
【 คลอรีน 】แปลว่า: [คฺลอ-] น. ธาตุลําดับที่ ๑๗ สัญลักษณ์ Cl เป็นอโลหะ ลักษณะ
เป็นแก๊สสีเขียวแกมเหลือง มีกลิ่นฉุนชวนสําลัก เป็นแก๊สพิษ ใช้
ประโยชน์ในการฆ่าเชื้อโรคในนํ้าในอุตสาหกรรมผลิตกรดเกลือ
ในการผลิตผงฟอกจาง ยาฆ่าแมลงหลายชนิด เช่น ดีดีที มีคลอรีน
เป็นองค์ประกอบสําคัญ. (อ. chlorine).
【 คลอโรฟอร์ม 】แปลว่า: [คฺลอ-] น. ของเหลวไม่มีสี ระเหยง่าย มีกลิ่นหอมหวาน มีสูตร
CHCl3 ใช้เป็นยาสลบและตัวทําละลาย. (อ. chloroform).
【 คลอโรฟิลล์ 】แปลว่า: [คฺลอ-] น. สารสีเขียว มีปรากฏในพืช ซึ่งสามารถดูดกลืนพลังงาน
แสงอาทิตย์มาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยใช้นํ้าและ
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศมาผลิตคาร์โบไฮเดรตได้.
(อ. chlorophyll).
【 คละ 】แปลว่า: [คฺละ] ว. ลักษณะที่ปนกัน ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ทั้งดีและไม่ดี
เช่น ผลไม้ผลเล็กผลใหญ่ปนกัน เรียกว่า คละกัน.
【 คละคล่ำ 】แปลว่า: [-คฺลํ่า] ว. ปนกันไป, ดื่นไป.
【 คละปน 】แปลว่า: ก. ปนกันทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ทั้งดีและเลว เป็นต้น.
【 คละคลุ้ง 】แปลว่า: -คฺลุ้ง ก. คลุ้ง, เหม็นคล้ายกลิ่นของเค็มปนกับของเน่า,
เช่น ใบก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง. (โลกนิติ).
【 คลัก ๑, คลั่ก ๑ 】แปลว่า: [คฺลัก, คฺลั่ก] ว. ยัดเยียด, ออกันอยู่, รวมกันอยู่มาก ๆ, เช่น หนอนคลัก
คนคลั่ก, มาก ๆ เช่น น้ำยาหม้อนี้ข้นคลั่ก.
【 คลัก ๒ 】แปลว่า: [คฺลัก] น. ตาที่จะสุก (ใช้แก่การเล่นดวด); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ที่ที่ไก่หรือ
นกเขี่ยเป็นหลุม แล้วนอนในหลุมนั้น, ที่ที่ปลามารวมกันอยู่ในบ่อ
หรือหนองที่น้ำงวด.
【 คลัก ๓ 】แปลว่า: คฺลัก ก. ทำให้สกปรก เช่น ตัวเปื้อนอย่ามาคลักที่นอน.
【 คลั่ก ๒, คลั่ก ๆ 】แปลว่า: [คฺลั่ก] ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น หม้อข้าวเดือดคลั่ก ๆ.
【 คลัง ๑ 】แปลว่า: [คฺลัง] น. ที่เก็บรักษาและรับจ่ายเงิน เช่น แผนกคลัง, สถานที่เก็บ
รักษาสิ่งของเป็นจํานวนมาก ๆ เช่น คลังพัสดุ.
【 คลังสินค้า 】แปลว่า: น. สถานที่เก็บรักษาสินค้า.
【 คลังสินค้าทัณฑ์บน 】แปลว่า: (กฎ) น. คลังสินค้าของทางราชการศุลกากรที่รับเก็บสินค้าเข้า
โดยยังไม่ต้องชําระอากรขาเข้าจนกว่าจะได้มีการนําสินค้านั้น
ออกจากคลังสินค้า.
【 คลังเสบียง 】แปลว่า: น. ที่เก็บสะสมอาหาร.
【 คลังแสง 】แปลว่า: น. คลังอาวุธของทางราชการ เช่น คลังแสงสรรพาวุธของกองทัพบก.
【 คลัง ๒ 】แปลว่า: [คฺลัง] น. ไม้กระบอกที่ร้อยโซ่หรือเชือกสําหรับล่ามสัตว์หรือเรือ,
(โบ) กลัง. ก. ผูกคอสัตว์ให้เข้าคู่กัน เพื่อไม่ให้พรากกัน หรือฝึกหัด
ตัวที่ไม่ชํานาญงาน เช่น เอาวัวไปผูกเข้าคู่กัน ว่า เอาวัวไปคลัง.
【 คลั่ง ๑ 】แปลว่า: [คฺลั่ง] ก. แสดงอาการผิดปรกติอย่างคนบ้า, เสียสติ; โดยปริยาย
หมายความว่า หลงใหลในบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คลั่งดารา,
หมกมุ่นอยู่กับงานหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คลั่งอำนาจ คลั่งเล่นกล้วยไม้,
คลั่งไคล้ ก็ว่า.
【 คลั่งไคล้ 】แปลว่า: [-ไคฺล้] ก. หลงใหลในบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, หมกมุ่นอยู่กับงาน
หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, คลั่ง ก็ว่า.
【 คลั่ง ๒ 】แปลว่า: คฺลั่ง ก. คั่ง เช่น ชลเนตรคลั่งคลอนัยนา. (อิเหนา).
【 คลัตช์ 】แปลว่า: น. อุปกรณ์ที่ทําหน้าที่ส่งพลังงานซึ่งถ่ายทอดมาจากเครื่องยนต์ไป
ยังเกียร์หรือตัดพลังงานนั้นตามต้องการ. (อ. clutch).
【 คลับคล้าย, คลับคล้ายคลับคลา 】แปลว่า: [คฺลับคฺล้าย, -คฺลับคฺลา] ก. จำได้แต่ไม่แน่ใจ,
【 จำได้อย่างเลือนลาง, 】แปลว่า:
ไม่แน่ใจว่าใช่, เช่น คลับคล้ายว่าเป็นคนคนเดียวกัน, ฉันคลับคล้าย
คลับคลาว่าจะเคยพบเขามาก่อน.
【 คลา 】แปลว่า: คฺลา ก. เดิน, เคลื่อน, เช่น พาชีขี่คล่องคล้อย ควรคลา.
(โลกนิติ); คลาด เช่น อายแก่ราชาคลา ยศแท้. (โลกนิติ).
【 คลาคล่ำ 】แปลว่า: ก. ไปหรือมาเป็นจำนวนมาก เช่น ฝูงชนคลาคล่ำเต็มท้องถนน.
【 คลาไคล 】แปลว่า: ก. เดินไป, เคลื่อนไป, ไคลคลา ก็ว่า.
【 คล้า 】แปลว่า: [คฺล้า] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Schumannianthus dichotomus/ (Roxb.)
Gagnep. ในวงศ์ Marantaceae ต้นสูง ๑-๒ เมตร แตกแขนงตาม
ลําต้น ใบกว้าง.
【 คลางแคลง 】แปลว่า: [คฺลางแคฺลง] ก. แคลงใจ, ไม่แน่ใจหรือวางใจลงไปได้เพราะออกจะ
สงสัย, แคลงคลาง ก็ว่า, บางทีก็พูดสั้น ๆ ว่า แคลง.
【 คลาด 】แปลว่า: [คฺลาด] ก. เคลื่อนจากที่หมาย, เคลื่อนจากกําหนดเวลา; ไม่พบ ใน
คําว่า คลาดกัน.
【 คลาดเคลื่อน 】แปลว่า: [-เคฺลื่อน] ก. ผิดจากความเป็นจริง, ไม่ตรงตามความเป็นจริง,
เคลื่อนคลาด ก็ว่า.
【 คลาดแคล้ว 】แปลว่า: [-แคฺล้ว] ก. รอดไป, พ้นไป, แคล้วคลาด ก็ว่า.
**
【 คลาน 】แปลว่า: [คฺลาน] ก. ไปด้วยมือและเข่าอย่างเด็ก; กิริยาที่ใช้มือและเท้าทั้ง ๒
ทาบพื้นแล้วเคลื่อนไป เรียกว่า คลานสี่เท้า; กิริยาที่เคลื่อนไปด้วย
เข่าและศอก เรียกว่า คลานศอก, ด้วยเข่า เรียกว่า คลานเข่า; กิริยา
ที่เดินไปอย่างช้า ๆ ของสัตว์บางชนิด เช่น เต่า จระเข้, เคลื่อนไปอย่าง
ช้า ๆ เช่น รถยนต์ค่อย ๆ คลานไป.
【 คลาย 】แปลว่า: [คฺลาย] ก. ทำให้หลวม, ขยายให้หลวม, เช่น คลายนอต คลายเกลียว
เชือก; ลดลง, ทุเลา, บรรเทาลง, เช่น คลายทุกข์ คลายรัก พิษไข้คลาย
คลายกังวล.
【 คลายคล้าย, คล้ายคล้าย 】แปลว่า: ก. เคลื่อนเรื่อย ๆ ไป, คล้อย, เช่น หมอมิกลัวกลายจระคล่าย เข้า
ป่าไปคลายคล้ายด่วนดั้นโดยทาง. (ลอ), คลี่ไคลพลคล้ายคล้าย
แลนา. (ลอ); (ถิ่น-พายัพ) ย้าย. (อะหม คล้ายคล้าย ว่า โดยลําดับ).
【 คลายเคล่ง 】แปลว่า: [-เคฺล่ง] (โบ; กลอน) ก. ขยายตรงออกไป, เดินตรงไป, เช่น ครองคลาย
เคล่งอาศรมบทนั้น. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 คล้าย, คล้าย ๆ, คล้ายคลึง 】แปลว่า: [คฺล้าย, -คฺลึง] ว. เกือบเหมือน.
【 คล่าว 】แปลว่า: คฺล่าว ก. ไหล, หลั่งไหล, เช่น บางบ่รับคำคล้อง
คล่าวน้ำตาคลอ. (นิ. นรินทร์).
【 คลาศ 】แปลว่า: คฺลาด ก. คลาด, เคลื่อนจากที่หมาย, เช่น เร่งผ้ายเร่งคลาศคลา
แลนา. (ลอ).
【 คลำ 】แปลว่า: [คฺลํา] ก. กิริยาที่ใช้อวัยวะเช่นมือ แตะ ลูบ หรือควานอย่างช้า ๆ เพื่อ
ให้รู้ว่าเป็นอะไรอยู่ที่ไหน เช่น คลำหาทางออก คลำหาสวิตช์ไฟ;
โดยปริยายหมายความว่า ค้นหา เช่น คลําหาเงื่อนงําไม่พบ.
【 คลำป้อย 】แปลว่า: ก. อาการที่คลำและลูบแล้ว ๆ เล่า ๆ ตรงที่เจ็บ.
【 คล่ำ 】แปลว่า: [คฺลํ่า] น. หมู่. ว. สับสน, เกลื่อนกล่น, มาก, มักใช้คู่กับคำ คลา เป็น
คลาคล่ำ.
【 คล้ำ 】แปลว่า: [คฺลํ้า] ว. ค่อนข้างดํา, ไม่ผ่องใส, หม่นหมอง, เช่น ผิวคลํ้า หน้าคลํ้า.
【 คลิง 】แปลว่า: [คฺลิง] (โบ; กลอน) ก. คลึง เช่น นกปลิงคลิงคน- ธบุษปรัตนบังอร.
(สมุทรโฆษ).
【 คลิ้งโคลง 】แปลว่า: [คฺลิ้งโคฺลง] น. นกกิ้งโครง เช่น คลิ้งโคลงคล้อแคล้ในรัง นกเจ่าเหงา
ฟังแลสารกระสาสรวลตาง. (สมุทรโฆษ). /(ดู กิ้งโครง ๑)./
【 คลิด 】แปลว่า: [คฺลิด] ก. ขัด, แคลง, เคลื่อน, เคล็ด, เช่น มาอย่าคลิดอย่าคลาด.
(ม. คําหลวง มหาราช).
【 คลินิก 】แปลว่า: น. สถานรักษาพยาบาล โดยมากเป็นของเอกชน มักไม่รับผู้ป่วย
ให้พักรักษาตัวประจํา; แผนกของโรงพยาบาลที่รักษาโรคเฉพาะ
ทาง. (อ. clinic).
【 คลี 】แปลว่า: คฺลี น. ลูกกลม เช่น เล่นคลี โยนคลี, (โบ) การเล่นแข่งขัน
อย่างหนึ่ง ผู้เล่นขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้ เช่น ให้พระยาสามนต์คนดี
มาตีคลีพนันในสนาม. (สังข์ทอง); (ถิ่น-อีสาน) การเล่นแข่งขัน
อย่างหนึ่งแต่ละฝ่ายใช้ไม้ตีลูกกลมซึ่งทำด้วยไม้ขนาดลูกมะนาว
หรือโตกว่าเล็กน้อย ฝ่ายที่ตีลูกไปสู่ที่หมายทางฝ่ายของตนได้ก่อน
เป็นฝ่ายชนะ; การเล่นลูกกลมด้วยลีลาเยื้องกรายเพื่อบูชาเทพเจ้า
เช่น นางเริ่มเดาะคลีบูชาพระศรีเทวี. (กามนิต). (เทียบ ส. คุฑ, คุล,
โคล; ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
【 คลี่ 】แปลว่า: [คฺลี่] ก. คลายสิ่งที่ม้วนหรือพับอยู่ เช่น คลี่ผ้า คลี่มวยผม, ทำให้
แผ่ออก เช่น คลี่พัด คลี่ไพ่, ขยายออก เช่น ดอกไม้คลี่กลีบ.
【 คลี่คลาย 】แปลว่า: ก. บรรเทาลงโดยลำดับ เช่น เหตุการณ์รุนแรงคลี่คลายลง; ทำให้
กระจ่างโดยลำดับ เช่น ตำรวจคลี่คลายเงื่อนงำในคดีฆาตกรรม.
【 คลี่ทัพ, คลี่พล 】แปลว่า: (โบ) ก. เคลื่อนพล, เคลื่อนกำลังไป, เช่น ยังยโสธรคล้อย คลี่พล.
(ยวนพ่าย).
【 คลึง 】แปลว่า: [คฺลึง] ก. ใช้ฝ่ามือกดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเบา ๆ แล้วเคลื่อนมือหมุนไปมา
เพื่อให้กลมหรือให้เรียบเป็นต้น, อาการที่ทําเช่นนั้นด้วยสิ่งอื่น เช่น
คลึงด้วยลูกประคบ.
【 คลึงเคล้น 】แปลว่า: ก. ลูบคลําและบีบเน้นไปมา.
【 คลึงเคล้า 】แปลว่า: ก. ลูบคลํา, ทั้งคลึงทั้งเคล้า, ลูบคลํากอดรัด, เกลือกกลั้วอย่าง
กิริยาที่แมลงภู่คลึงเคล้าดอกไม้.
【 คลื่น 】แปลว่า: [คฺลื่น] น. นํ้าในทะเลหรือแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น ซึ่งบางส่วนมีอาการ
เคลื่อนไหวนูนสูงกว่าระดับโดยปรกติแล้วลดลงและแลเห็นเคลื่อน
ไปเป็นระยะยาวหรือสั้นบนผิวนํ้า, โดยปริยายใช้แก่สิ่งอื่นที่มีลักษณะ
คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลื่นเสียง คลื่นมนุษย์ ผมดัดเป็นคลื่น ถนนเป็น
คลื่น.
【 คลื่นกระทบฝั่ง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
【 คลื่นกระทบฝั่ง ๒ 】แปลว่า: (สํา) น. เรื่องราวที่ครึกโครมขึ้นมาแล้วกลับเงียบหายไป.
【 คลื่นใต้น้ำ ๑ 】แปลว่า: น. คลื่นในมหาสมุทรที่มีช่วงคลื่นยาวสมํ่าเสมอและยอดเรียบ
เคลื่อนตัวมาจากแหล่งกําเนิดที่อยู่ไกลมาก ชาวเรือถือเป็น
สัญญาณบอกเหตุว่าจะเกิดพายุ.
【 คลื่นใต้น้ำ ๒ 】แปลว่า: (สํา) น. เหตุการณ์ที่กรุ่นอยู่ภายใน แต่ภายนอกดูเสมือนสงบ
เรียบร้อย.
【 คลื่นปานกลาง 】แปลว่า: น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ปานกลางตั้งแต่ ๓๐๐ กิโลเฮิรตซ์
ถึง ๓ เมกะเฮิรตซ์ (หรือ ๓,๐๐๐ กิโลเฮิรตซ์).
【 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 】แปลว่า: น. คลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของสนามแม่เหล็ก
และไฟฟ้าที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ได้แก่ คลื่นวิทยุ อินฟราเรด แสงที่
มองเห็นได้ อัลตราไวโอเลต เอกซเรย์ รังสีแกมมา และ รังสีคอสมิก.
【 คลื่นยาว 】แปลว่า: น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ตํ่าตั้งแต่ ๓๐ กิโลเฮิรตซ์ ถึง
๓๐๐ กิโลเฮิรตซ์.
【 คลื่นวิทยุ 】แปลว่า: น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ส่งผ่านบรรยากาศด้วยความถี่วิทยุ.
【 คลื่นสั้น 】แปลว่า: น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูง ตั้งแต่ ๓ เมกะเฮิรตซ์ ถึง
๓๐ เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารระยะไกล.
【 คลื่นไส้ 】แปลว่า: [คฺลื่น-] ก. ปั่นป่วนในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ชวนให้อาเจียน,
โดยปริยายหมายความว่า น่ารังเกียจ, น่าสะอิดสะเอียน.
【 คลื่นเหียน 】แปลว่า: ก. มีอาการคลื่นไส้จะอาเจียน.
【 คลุก 】แปลว่า: [คฺลุก] ก. เคล้าให้เข้ากัน, ขยําให้ระคนเข้ากัน; ประชิดติดพัน
เข้าไป เช่น เข้าคลุกวงใน, เกลือก เช่น คลุกเกลือ คลุกน้ำตาล.
【 คลุกคลี 】แปลว่า: ก. เข้าปะปนระคนกัน, เข้าใกล้ชิดกัน.
【 คลุกคลีตีโมง 】แปลว่า: ก. มั่วสุมหรืออยู่ร่วมคลุกคลีพัวพันกันอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา.
【 คลุ้ง ๑ 】แปลว่า: [คฺลุ้ง] ว. กระจาย เช่น ฝุ่นคลุ้ง ควันคลุ้ง; มีกลิ่นตลบ (มักใช้แก่
กลิ่นเหม็น).
【 คลุ้ง ๒ 】แปลว่า: [คฺลุ้ง] /ดู พลวง ๒/.
【 คลุบ 】แปลว่า: [คฺลุบ] น. ลูกขลุบ เช่น ม้าคลุบคลีกระบี่ม้า วิ่งม้าพนันเร็ว.
(ยอพระเกียรติกรุงธน).
【 คลุม 】แปลว่า: [คฺลุม] ก. ปกหรือปิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้เสียหายหรือ
ทำให้มองไม่เห็นเป็นต้น เช่น เอาผ้าใบคลุมรถยนต์ไว้ ไม้เลื้อย
คลุมหลังคา; ครอบไปถึง เช่น คำนี้คลุมไม่ถึง.
【 คลุม ๆ 】แปลว่า: ว. พูดไม่บ่งชัดให้จะแจ้ง เช่น พูดคลุม ๆ.
【 คลุมเครือ 】แปลว่า: ว. ลักษณะที่กํ้ากึ่งเอาแน่นอนทางใดทางหนึ่งไม่ได้ เช่น อากาศ
ที่จะมืดก็ไม่มืด จะสว่างก็ไม่สว่าง เรียกว่า อากาศคลุมเครือ,
อาการไข้ที่จะหายก็ไม่หาย จะหนักก็ไม่หนัก เรียกว่า ไข้คลุมเครือ,
พูดไม่บ่งชัดไปทางใดให้จะแจ้ง เรียกว่า พูดคลุมเครือ.
【 คลุมถุงชน 】แปลว่า: (สํา) น. ลักษณะการแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดการให้ โดยที่เจ้าตัวไม่รู้จัก
คุ้นเคยหรือรักกันมาก่อน.
【 คลุมบรรทม, คลุมประทม, คลุมผทม 】แปลว่า: (ราชา) น. ผ้าห่มนอน.
【 คลุมปัก, คลุมปิด 】แปลว่า: (ราชา) น. กรวยทำด้วยผ้าปักสำหรับครอบพาน.
【 คลุมโปง 】แปลว่า: ก. กิริยาที่เอาวัตถุเช่นผ้าคลุมมิดทั้งหัวทั้งตัวหรือเกือบทั้งตัว.
【 คลุ่ม 】แปลว่า: [คฺลุ่ม] น. ลักษณะของปากภาชนะที่งุ้มหรือโค้งเข้าอย่างปากตะลุ่ม.
【 คลุ้ม ๑ 】แปลว่า: [คฺลุ้ม] ว. มืดมัว, ไม่แจ่มใส.
【 คลุ้มคลั่ง 】แปลว่า: ก. กลัดกลุ้มในใจจนแสดงอาการอย่างคนบ้า.
【 คลุ้ม ๒ 】แปลว่า: [คฺลุ้ม] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Donax grandis/ Ridl. ในวงศ์ Marantaceae
ต้นสูงถึง ๓ เมตร สีเขียวเข้ม แตกแขนงตอนปลาย ผิวแข็ง ใช้สาน
เสื่อได้ ใบคล้ายคล้าแต่ขนาดใหญ่กว่า.
【 ควง 】แปลว่า: ก. แกว่งหรือทําให้หมุนไปโดยรอบ เช่น ควงกระบอง ควงดาบ
ควงจาน, เดินเข้าคู่คลอเคลียกันไป เรียกว่า เดินควงกัน; รวม
หรือโยงเข้าในกลุ่มเดียวกัน เช่น เครื่องหมายปีกกาใช้ควงคำ
หรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัดเข้าด้วยกัน; โดยปริยายหมายถึง
คบหาสนิทสนมในเชิงคู่รัก เช่น คู่นี้ควงกันมาหลายปีแล้ว;
เข้าคู่ไปด้วยกัน เช่น ควงกันไปเที่ยว. น. เรียกตะปูที่มีเกลียวว่า
ตะปูควง, เรียกเครื่องมือที่ใช้ไขตะปูควงว่า ไขควง; เครื่องมือ
สำหรับอัดใบลานเป็นต้นให้แน่น; บริเวณ เช่น ในควงไม้ศรีมหาโพธิ์.
【 ควงแขน 】แปลว่า: ก. เอาแขนคล้องกัน.
【 ควงสว่าน 】แปลว่า: [-สะหฺว่าน] ก. อาการที่หมุนเหมือนเกลียวสว่าน เช่น เครื่องบินควงสว่าน.
【 ควณ 】แปลว่า: ก. คํานวณ เช่น ขับควณทวนเทียบด้วยตำรา พิเคราะห์พระชันษา
ชะตาเมือง. (อิเหนา).
【 ควน 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. เนิน, เขาดิน. (ม. gual, guar).
【 ควบ ๑ 】แปลว่า: ก. เอารวมเข้าเป็นอันเดียวกันหรือเข้าคู่กัน เช่น ควบเชือก ควบด้าย
สอบควบ กินยาควบกัน.
【 ควบคุม 】แปลว่า: ก. ดูแล, กํากับดูแล, กักขัง; (กฎ) คุมตัวหรือกักขังผู้ถูกจับโดยพนักงาน
ฝ่ายปกครองหรือตํารวจในระหว่างสืบสวน.
【 ควบคู่ 】แปลว่า: ก. เข้าคู่กัน, ทำพร้อมกัน, เช่น เขาเรียนหนังสือควบคู่กับทำงาน.
【 ควบ ๒ 】แปลว่า: ก. อาการที่วิ่งเต็มที่จนดูเหมือนเท้าหรือล้อไม่ติดดิน.
【 ควบม้า 】แปลว่า: ก. อาการที่คนขี่หลังม้ากระตุ้นให้ม้าวิ่งไปอย่างเร็ว.
【 ควบแน่น 】แปลว่า: (เคมี) น. กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในลักษณะซึ่งโมเลกุล
ของสารตั้งแต่ ๒ โมเลกุลขึ้นไปเข้ารวมตัวกันเป็นโมเลกุลใหญ่ขึ้น
ของสารใหม่ โดยวิธีขจัดโมเลกุลของนํ้าหรือโมเลกุลของสารอื่น
ออกไป; (ความร้อน) กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของ
ไอเป็นของเหลวโดยวิธีลดอุณหภูมิลง. (อ. condense).
【 ควย 】แปลว่า: น. อวัยวะสืบพันธุ์ของชายหรือสัตว์เพศผู้บางชนิด.
【 ควร 】แปลว่า: [ควน] ว. เหมาะ เช่น กินแต่พอควร; ชอบ, ถูกต้อง, เช่น เห็นควรแล้ว;
เป็นคําช่วยกริยาในความคล้อยตาม เช่น ควรทํา ควรกิน.
【 ควัก 】แปลว่า: [คฺวัก] ก. ดึงหรือล้วงสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกมา, เอามือล้วงลงไปในที่ใดที่หนึ่ง
แล้วเอาสิ่งที่อยู่ในนั้นออกมา, ใช้เครื่องมือปลายโค้งหรืองอทําอาการ
เช่นนั้น เช่น ควักหู, ใช้เข็มควักถักด้ายให้เป็นลวดลายต่าง ๆ เรียกว่า
ควักลูกไม้, เอาเครื่องมือรูปพายขนาดเล็กตักสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา เช่น
ควักปูน ควักกะปิ, (ปาก) ดึงเอาตัวออกมา เช่น ควักเอาตัวมาจากที่นอน.
【 ควักกระเป๋า 】แปลว่า: ก. จ่ายเงินหรือออกเงิน เช่น ควักกระเป๋าเลี้ยงเพื่อน.
【 ควักกะปิ 】แปลว่า: (ปาก) ก. อาการที่รำเอามือวักไปวักมาอย่างคนรำไม่เป็น.
【 ควักลงหลุม 】แปลว่า: น. การเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก ดีดเบี้ยลงหลุม.
【 ควั่ก 】แปลว่า: [คฺวั่ก] ว. วุ่น, ชุลมุน, เช่น วิ่งหากันให้ควั่ก.
【 ควักค้อน 】แปลว่า: คฺวัก- ก. ค้อนจนหน้าควํ่า เช่น ขืนจะมาควักค้อนค่อนว่า
เงาะของข้าเคยใส่ทำไมสิ. (สังข์ทอง), ค้อนควัก ก็ว่า.
【 ควั่งคว้าง 】แปลว่า: คฺวั่งคฺว้าง ว. แกว่งไปมา, กวัดแกว่ง, ไหลวน, โบราณเขียน
เป็น คว่งงคว้งง ก็มี เช่น สระเหนาะน้ำคว่งงคว้งง ควิวแด. (กำสรวล).
【 ควัน 】แปลว่า: [คฺวัน] น. สิ่งที่เห็นเป็นสีดําหรือขาวคล้ายหมอกลอยออกมาจาก
ของที่กําลังไหม้ไฟ หรือจากการเผาไหม้, สิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง
เช่นนั้น; (วิทยา) แก๊สที่มีอนุภาคละเอียดของของแข็งแขวนลอยอยู่.
【 ควันหลง 】แปลว่า: น. ควันเหลือค้างอยู่, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้ว
และกลับปรากฏกระเส็นกระสายขึ้นอีก.
【 ควั่น 】แปลว่า: [คฺวั่น] น. ที่ต่อขั้วผลไม้หรือดอกที่เป็นรอยรอบเช่นที่ก้านผลขนุนหรือ
ทุเรียนเป็นต้น. ก. ทําให้เป็นรอยด้วยคมมีดโดยรอบ. ว. เรียกอ้อยที่
ควั่นให้ขาดออกเป็นข้อ ๆ ว่า อ้อยควั่น.
【 ควั่นจุก 】แปลว่า: ก. กันผมให้เป็นฐานกลมเพื่อให้ผมงอกยาวสําหรับไว้จุก.
【 คว้า 】แปลว่า: [คฺว้า] ก. ยื่นมือไปจับหรือฉวยมาโดยเร็ว, ลักษณะที่คล้ายคลึง
เช่นนั้น เช่น ศัพท์นี้ไปคว้ามาจากไหน; กิริยาชักว่าวกระตุกให้
หัวว่าวปักลงแล้วช้อนขึ้นไปทางใดทางหนึ่งตามความต้องการ
เช่น ว่าวจุฬากับว่าวปักเป้าคว้ากัน.
【 คว้าไขว่ 】แปลว่า: [-ไขฺว่] ก. เอื้อมมือฉวยเอาอย่างสับสน, พยายามจับหรือถือเอา,
ไขว่คว้า ก็ว่า.
【 คว้าน้ำเหลว 】แปลว่า: (สํา) ก. ไม่ได้ผลตามต้องการ.
【 ควาก ๑ 】แปลว่า: [คฺวาก] ว. กว้างออกไปโตออกไปเพราะแรงดัน (ใช้เฉพาะรูและช่อง).
【 ควาก ๒ 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงฉีกผ้า.
【 คว้าง 】แปลว่า: [คฺว้าง] ว. อาการที่หมุนหรือลอยไปตามกระแสลมและนํ้าเป็นต้น
อย่างไม่มีจุดหมายหรือไม่มีที่ยึดเหนี่ยว เช่น ลอยคว้าง หมุนคว้าง;
ลักษณะที่ละลายเหลวอย่างนํ้า เช่น ทองละลายคว้างอยู่ในเบ้า.
【 คว้าง ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่ลอยหรือหมุนไปอย่างรวดเร็ว.
【 คว้างเคว้ง 】แปลว่า: ว. อาการที่หมุนหรือลอยไปตามกระแสลมและนํ้าเป็นต้นอย่าง
ไม่มีจุดหมายหรือไม่มีที่ยึดเหนี่ยว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะ
ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขาเดินคว้างเคว้งไม่รู้จะไปไหนดี,
เคว้งคว้าง ก็ว่า.
【 ควาญ 】แปลว่า: [คฺวาน] น. ผู้เลี้ยงและขี่ขับช้าง, คนบังคับช้าง, ใช้กับสัตว์อื่นก็มี
เช่น ควาญแรด. (สมุทรโฆษ), ควาญแกะ ควาญม้า. (ปรัดเล).
【 ควาน 】แปลว่า: [คฺวาน] ก. กิริยาที่เอามือหรือสิ่งอื่นค้นหาสิ่งของในนํ้าหรือใน
ที่มืดเป็นต้น.
【 คว้าน 】แปลว่า: [คฺว้าน] ก. เอาสิ่งที่มีคมแหวะให้กว้าง, แขวะให้เป็นช่องเพื่อเอา
ส่วนข้างในออก เช่น คว้านผลมะปราง คว้านไส้, ทําให้กว้าง
เช่น คว้านคอเสื้อ.
【 คว้านท้อง 】แปลว่า: ก. ฆ่าตัวตายแบบญี่ปุ่น โดยใช้มีดแทงที่ท้องแล้วคว้าน.
(เทียบ ญิ. harakiri).
【 ความ 】แปลว่า: [คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ; อาการ เช่น ความทุกข์
ความสุข; คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล; คํานําหน้ากริยาหรือวิเศษณ์
เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.
【 ความชอบ 】แปลว่า: น. คุณงามความดีที่ควรได้รับบําเหน็จรางวัล.
【 ความเป็นความตาย 】แปลว่า: น. เรื่องสำคัญมาก เช่น เรื่องภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจเป็น
ความเป็นความตายของชาติ.
【 ความมุ่งหมาย 】แปลว่า: น. ความตั้งใจ, เจตนา, เช่น ถนนสายนี้สร้างขึ้นด้วยความ
มุ่งหมายเพื่อย่นระยะทาง.
【 ความหลัง 】แปลว่า: น. เรื่องราวในอดีต.
【 ความเห็น 】แปลว่า: น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น
ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็นว่า
เขาเป็นคนน่าเชื่อถือ.
【 ความคลาด 】แปลว่า: (แสง) น. ลักษณะที่แสงหักเหออกจากผิวเลนส์ และลักษณะที่
แสงสะท้อนออกจากผิวโค้งของกระจกแล้วไม่ตัดร่วม ณ จุดเดียวกัน
หรือลักษณะที่แสงขาวผ่านเลนส์แล้วเกิดการกระจายออกเป็น
สีต่าง ๆ; (ดารา) ความแตกต่างระหว่างตําแหน่งของดาวฤกษ์
หรือเทห์ฟากฟ้าที่สังเกตเห็นกับตําแหน่งจริงของมันในขณะนั้น.
(อ. aberration).
【 ความคิด 】แปลว่า: น. สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ; ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจ ก่อให้เกิดการแสวงหา
ความรู้ต่อไป เช่น เครื่องบินเกิดขึ้นได้เพราะความคิดของมนุษย์; สติ
ปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถูกต้องและสมควร เช่น คนทำลาย
ของสาธารณะเป็นพวกไม่มีความคิด.
【 ความเค้น 】แปลว่า: (ฟิสิกส์) น. แรงที่กระทําต่อ ๑ หน่วยพื้นที่ของเทหวัตถุ เมื่อเทหวัตถุใด
ถูกความเค้นมากระทําจะเกิดความเครียดขึ้นแก่เทหวัตถุนั้น. (อ. stress).
【 ความเครียด 】แปลว่า: น. (ฟิสิกส์) อัตราส่วนระหว่างขนาดที่เปลี่ยนไปเนื่องจากความเค้น
กับขนาดเดิมของเทหวัตถุ. (อ. strain); ลักษณะอาการที่สมองไม่ได้
ผ่อนคลายเพราะคร่ำเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป, ลักษณะอาการที่
จิตใจมีอารมณ์บางอย่างมากดดันความรู้สึกอย่างรุนแรง.
【 ความเฉื่อย 】แปลว่า: (ฟิสิกส์) น. สมบัติของเทหวัตถุที่จะคงสภาพนิ่งอยู่อย่างเดิมตลอดไป
หรือคงสภาพเคลื่อนที่อย่างสมํ่าเสมอในแนวเส้นตรงตลอดไป.
(อ. inertia).
【 ความชื้น 】แปลว่า: (วิทยา) น. ปริมาณไอนํ้าที่มีอยู่ในอากาศ.
【 ความชื้นสัมบูรณ์ 】แปลว่า: น. มวลของไอนํ้าที่มีอยู่จริงในอากาศ ๑ หน่วยปริมาตร. (อ. absolute
humidity).
【 ความชื้นสัมพัทธ์ 】แปลว่า: น. อัตราส่วนระหว่างมวลของไอนํ้าที่มีอยู่จริงในอากาศเทียบกับ
มวลของไอนํ้าอิ่มตัวเมื่อมีปริมาตรและอุณหภูมิเท่ากัน มักกําหนด
ค่าเป็นร้อยละ. (อ. relative humidity).
【 ความถ่วง 】แปลว่า: น. แรงดึงดูดของโลกต่อเทหวัตถุ, แรงดึงดูดระหว่างกันของ
เทหวัตถุ. (อ. gravity).
【 ความถ่วงจำเพาะ 】แปลว่า: น. อัตราส่วนของนํ้าหนักของเทหวัตถุกับนํ้าหนักของสารมาตรฐาน
ที่มีปริมาตรเท่ากับเทหวัตถุนั้น โดยทั่วไปใช้นํ้าบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิ
๔?ซ. เป็นสารมาตรฐาน. (อ. specific gravity).
【 ความถี่ 】แปลว่า: (ฟิสิกส์) น. จํานวนไซเกิล, การแกว่งกวัด, การสั่นสะเทือนหรือคลื่น
ใน ๑ วินาที เช่น ไฟฟ้ากระแสสลับมีความถี่ ๕๐ ไซเกิลต่อวินาที,
ปัจจุบันใช้ เฮิรตซ์ แทน ไซเกิล; (สถิติ) จํานวนคะแนนในกลุ่มของ
ข้อมูลที่มีสมบัติเหมือนกัน. (อ. frequency).
【 ความถี่วิทยุ 】แปลว่า: น. ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ในการส่งวิทยุและโทรทัศน์
ขนาดตํ่าสุดตั้งแต่ ๑๐ ถึง ๓๐ กิโลเฮิรตซ์ ขนาดสูงสุดตั้งแต่
๓๐,๐๐๐ ถึง ๓๐๐,๐๐๐ เมกะเฮิรตซ์.
【 ความโน้มถ่วง 】แปลว่า: น. กิริยาที่แรงดึงดูดของโลกกระทําต่อเทหวัตถุ. (อ. gravitation).
【 ความยาวคลื่น 】แปลว่า: น. ความยาวระหว่างจุดใดจุดหนึ่งบนคลื่นลูกหนึ่งไปยังจุดใน
ตําแหน่งเดียวกันบนคลื่นลูกถัดไป.
【 ความรู้ 】แปลว่า: น. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์
รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศ
ที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด
หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย
ความรู้เรื่องสุขภาพ.
【 ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด 】แปลว่า: (สํา) ว. มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์.
【 ความรู้สึกเขื่อง, ความรู้สึกเด่น 】แปลว่า: (จิตวิทยา) น.
【 ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าหรือดีเด่น 】แปลว่า:
กว่าผู้อื่น ความรู้สึกนี้ไม่จําเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สํานึก แต่ถ้าเกิดขึ้น
เสมอ ๆ และมิได้แก้ไขหรือได้รับการสนับสนุน เช่นในการอบรมเลี้ยงดู
เด็ก ก็อาจเก็บสะสมไว้เกิดเป็นนิสัยของบุคคลนั้นได้. (อ. superiority
feeling); ความเชื่อหรือความมั่นใจว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถ
เหนือกว่าผู้อื่น.
【 ความรู้สึกช้า 】แปลว่า: น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า
ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ.
【 ความรู้สึกด้อย 】แปลว่า: (จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถไม่เท่าเทียมบุคคลทั่วไป
ความรู้สึกนี้ไม่จําเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สํานึกและผู้นั้นไม่จําเป็นต้องมี
ปมด้อย อาจเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมหรือในบางขณะเท่านั้น แต่ถ้าเกิดขึ้น
เสมอ ๆ และมิได้แก้ไข ก็อาจเก็บกดไว้จนเกิดเป็นปมด้อยได้; ความไม่เชื่อ
มั่นว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถเท่าเทียมผู้อื่น. (อ. inferiority feeling).
【 ความรู้สึกไว 】แปลว่า: น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดี
ควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้.
【 ความเร่ง 】แปลว่า: (วิทยา) น. อัตราการเปลี่ยนความเร็วที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ต่อ ๑ หน่วยเวลา.
(อ. acceleration).
【 ความเร็ว 】แปลว่า: (วิทยา) น. อัตราการเคลื่อนที่ของวัตถุต่อ ๑ หน่วยเวลา โดยระบุบ่งทิศทาง
ของการเคลื่อนที่ด้วย. (อ. velocity).
【 ความหน่วง 】แปลว่า: (วิทยา) น. อัตราการเปลี่ยนความเร็วที่ลดลงเรื่อย ๆ ต่อ ๑ หน่วยเวลา.
(อ. retardation).
【 ควาย 】แปลว่า: [คฺวาย] น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด /Bubalus bubalis/ ในวงศ์ Bovidae
เป็นสัตว์กีบคู่ รูปร่างใหญ่ สีดําหรือเทา เขาโค้งยาว ที่ใต้คางและ
หน้าอกมีขนขาวเป็นรูปง่าม; (ปาก) โดยปริยายมักหมายความว่า
คนโง่ คนเซ่อ หรือคนตัวใหญ่ แต่ไม่ฉลาด.
【 ควายเขาเกก 】แปลว่า: น. ควายที่มีเขาเฉออกไม่เข้ารูปกัน; โดยปริยายหมายถึงคน
ที่เป็นอันธพาลเกะกะเกเร, วัวเขาเกก ก็ว่า.
【 ควายทุย 】แปลว่า: น. ควายที่มีเขาสั้นหรือหงิก.
【 ควายโทน 】แปลว่า: น. ควายป่าที่แตกฝูงออกมาอยู่ตามลำพัง.
【 ควายธนู 】แปลว่า: น. ของขลังชนิดหนึ่ง ทำเป็นรูปตัวควายหรือเขาควาย ใช้
เวทมนตร์ทางไสยศาสตร์เสกเป่าไปทำร้ายผู้อื่นหรือกันไม่ให้
ผู้อื่นมาทำร้าย.
【 ควายปละ 】แปลว่า: [-ปฺละ] น. ควายที่เจ้าของปล่อยให้เที่ยวไปตามลําพัง.
【 ควายพระอินทร์ 】แปลว่า: น. ชื่อหนอนกระทู้ชนิดหนึ่ง. /(ดู กระทู้ ๓)./
【 คว่าว 】แปลว่า: [คฺว่าว] /ดู ขว้าว/.
【 คว่ำ 】แปลว่า: [คฺวํ่า] ก. พลิกเอาด้านบนลงล่าง เช่น รถคว่ำ เรือคว่ำ; กิริยาที่เอา
ด้านหน้าลง เช่น นอนคว่ำ, กิริยาที่เอาด้านบนลงล่าง เช่น คว่ำชาม,
ตรงข้ามกับ หงาย; เรียกใบหน้าที่แสดงอาการไม่พอใจหรือโกรธจน
ไม่เงยหน้าขึ้นมองดูว่า หน้าคว่ำ; โดยปริยายหมายความว่า ทำให้อีก
ฝ่ายหนึ่งพ่ายแพ้ เช่น คว่ำคู่ต่อสู้.
【 คว่ำกระดาน 】แปลว่า: ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่นหมากรุกจึงพาล
ล้มกระดานเลิกเล่นกัน โดยแกล้งปัดตัวหมากรุกบนกระดานให้
กระจัดกระจายหรือเทตัวหมากรุกบนกระดานเป็นต้น, โดยปริยาย
หมายถึงการที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสีย
กลางคัน เช่น ประธานเห็นว่าจะคุมเสียงในการประชุมไม่อยู่ เลยสั่ง
ปิดประชุมเป็นการคว่ำกระดานเสีย,” ล้มกระดาน ก็ว่า.
【 คว่ำบาตร 】แปลว่า: (สํา) ก. ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย, เดิมหมายถึงสังฆกรรมที่พระสงฆ์
ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ผู้ประทุษร้ายต่อศาสนาด้วยการไม่คบ ไม่รับ
บิณฑบาต เป็นต้น.
【 คว่ำหลัง 】แปลว่า: (โบ) ก. จับควํ่าเพื่อเฆี่ยน.
【 คว่ำตายหงายเป็น 】แปลว่า: /ดู ต้นตายใบเป็น/.
【 ควินิน 】แปลว่า: [คฺวินิน] น. ชื่อสารประกอบประเภทแอลคาลอยด์ ใช้เป็นยารักษา
โรคไข้จับสั่น สกัดได้จากเปลือกต้นซิงโคนา. (อ. quinine).
【 ควิว ๆ 】แปลว่า: คฺวิว– ว. อาการที่ใจหวิว ๆ เช่น ควิวควิวอกควากคว้าง
ลมลอยแลแม่. (นิ. นรินทร์).
【 ควิวควัง, ควิวควั่ง, ควิวคว่าง, ควิวคว้าง 】แปลว่า: [-คฺวัง, -คฺวั่ง, -คฺว่าง, -คฺว้าง] ก.
【 หมุนคว้างจนใจหวิว ๆ, อาการที่จิตใจ 】แปลว่า:
รู้สึกหวาดหวิว; ใช้โดยปริยายว่า เวิ้งว้าง, กว้างใหญ่, น่ากลัว, เช่น
สาครควิวคว่าง, โบราณเขียนเป็น ควิวคว่งง ก็มี เช่น สมุทรพิศารลิว
ควิวคว่งง แลนา. (กำสรวล).
【 ควีนสิริกิติ์ 】แปลว่า: [คฺวีนสิหฺริกิด] น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด /Cattleya/ ‘Queen Sirikit’ ในวงศ์
Orchidaceae เป็นพันธุ์ผสม ดอกใหญ่ สีขาว ปากเหลือง สวยงามมาก
และมีกลิ่นหอม.
【 คห- 】แปลว่า: คะหะ- น. เรือน, ใช้เป็นคําหน้าสมาส เช่น คหกรรม. (ป.).
【 คหกรรมศาสตร์ 】แปลว่า: [คะหะกํามะสาด] น. วิชาที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์
สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ โดยมุ่งพัฒนาครอบครัวด้วยการ
จัดการทรัพยากรบุคคล วัสดุและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาอาชีพและ
เสริมสร้างคุณภาพชีวิต ความมั่นคงของสถาบันครอบครัวและสังคม.
【 คหบดี 】แปลว่า: [คะหะบอ-] น. ชายที่เป็นเจ้าบ้าน, ผู้มีอันจะกินซึ่งเป็นเจ้าบ้าน,
คฤหบดี ก็ว่า. (ป.).
【 คหปตานี 】แปลว่า: น. หญิงที่เป็นเจ้าบ้าน, ภรรยาของคหบดี, คฤหปัตนี ก็ว่า. (ป.).
【 คหัฐ 】แปลว่า: คะหัด น. คฤหัสถ์. (ป. คหฏฺ?).
【 คอ 】แปลว่า: น. ส่วนของร่างกายที่ต่อศีรษะกับตัว, ราชาศัพท์ว่า พระศอ; ส่วนของ
ภาชนะที่คอดอยู่ระหว่างตัวกับปาก เช่น คอหม้อ; เรียกส่วนลําต้นของ
พรรณไม้วงศ์ปาล์มที่อยู่ระหว่างใบล่างสุดกับยอด เช่น คอมะพร้าว
คอตาล; โดยปริยายหมายความว่า ความมีใจชอบเสพสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เป็นอาจิณ เช่น คอเหล้า คอเบียร์ คอหนัง คอละคร.
【 คอกระเช้า 】แปลว่า: น. เรียกเสื้อคอกลมคว้านกว้างลึกทั้งข้างหน้าและข้างหลัง มีจีบ
รูดตรงคอ ตัวหลวม ว่า เสื้อคอกระเช้า, ใช้เป็นเสื้อชั้นในแบบเก่า.
ของผู้หญิง.
【 คอกลม 】แปลว่า: น. ลักษณะคอเสื้อที่ตัดกลม ไม่มีปก.
【 คอกะลาสี 】แปลว่า: น. ปกเสื้อแบบกะลาสี ด้านหน้ารูปแหลมแบะออก ด้านหลังเป็น
แผ่นรูปสี่เหลี่ยม.
【 คอขวด 】แปลว่า: น. ส่วนของถนน สะพาน หรือลำน้ำตอนที่แคบเข้า.
【 คอขาดบาดตาย 】แปลว่า: ว. ร้ายแรงถึงอาจต้องสูญเสียชีวิตได้.
【 คอแข็ง 】แปลว่า: ว. อาการที่นิ่งอั้นเพราะเถียงไม่ขึ้นเป็นต้น; ทนต่อรสอันเข้มหรือ
รุนแรงของเหล้าได้, ตรงข้ามกับ คออ่อน.
【 คอคอด 】แปลว่า: น. แผ่นดินที่กิ่วคอดและมีน้ำล้อมรอบอยู่ทั้ง ๒ ด้าน ตรงที่กิ่วคอด
จะเชื่อมต่อระหว่างแผ่นดินใหญ่ ๒ แห่ง หรือเชื่อมต่อระหว่าง
แผ่นดินใหญ่กับแหลมให้ติดต่อถึงกันได้ เช่น คอคอดกระ.
【 คอเชิ้ต 】แปลว่า: น. ปกเสื้อแบบติดคอ ปลายปกแหลม มีสาบเชื่อมระหว่างปกกับ
ตัวเสื้อเพื่อเสริมให้ปกตั้งขึ้น.
【 คอซอง 】แปลว่า: น. ผ้าผูกคอแบบหนึ่ง ผูกใต้คอปกเสื้อกะลาสี; ซอกที่อยู่หัวเรือ
หรือท้ายเรือ.
【 คอเดียวกัน 】แปลว่า: ว. มีรสนิยมเดียวกัน เช่น คนนี้คอเดียวกัน ไปไหนไปด้วยกันเสมอ.
【 คอตก 】แปลว่า: ว. อาการที่หัวงุดลงมาแสดงอาการผิดหวังเป็นต้น.
【 คอต่อ 】แปลว่า: น. ส่วนคอที่ต่อกับท้ายทอย, ต้นคอที่ต่อจากท้ายทอย.
【 คอตั้ง 】แปลว่า: น. คอเสื้อที่มีขอบตั้งแนบไปกับลําคอ.
【 คอตั้งบ่า 】แปลว่า: ว. อาการที่แหงนหน้าขึ้นสูง ๆ.
【 คอตีบ 】แปลว่า: น. ชื่อโรคติดต่ออันตรายชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิด
/Corynebacterium diphtheriae/ อาจทำให้ทางเดินอากาศหายใจ
อุดตัน เป็นเหตุให้หายใจไม่สะดวก อาจถึงแก่ชีวิตได้ มักเกิดแก่
เด็กเล็ก. (อ. diphtheria).
【 คอถ่วง 】แปลว่า: น. คอเสื้อที่ใช้ผ้าเฉลียงตัด ทําให้มีลักษณะจีบถ่วงเป็นชั้น ๆ.
【 คอทองแดง 】แปลว่า: (ปาก) ว. ที่ดื่มเหล้าเก่ง ไม่เมาง่าย ๆ.
【 คอนาค 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เชษฐา มี ๑๔ ดวง, ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่
ดาวแพะ หรือ ดาวเชษฐะ ก็เรียก.
【 คอทั่งสันหลังเหล็ก 】แปลว่า: (สำ) ว. แข็งแกร่ง, ทรหดอดทน.
【 คอบัว 】แปลว่า: น. ปกเสื้อแบบติดคอ ปลายปกมน.
【 คอแบะ 】แปลว่า: น. ปกเสื้อชนิดที่มีสาบตอนบนแบะออก ส่วนที่แบะออกและส่วน
ที่เป็นปกจะเป็นแบบใดก็ได้.
【 คอปาด 】แปลว่า: น. เรียกเสื้อที่มีคอตัดปาดตรงจากไหล่ซ้ายถึงไหล่ขวาว่า
เสื้อคอปาด.
【 คอเป็ด 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง.
【 คอเป็นเอ็น 】แปลว่า: (สํา) ว. ขึ้นเสียงเถียงโต้อย่างไม่ยอมลดละ, เถียงเก่ง, เช่น หวงแหน
หึงผัวตัวเป็นเกลียว จนเสียงขุ่นเสียงเขียวคอเป็นเอ็น. (คาวี).
【 คอพอก 】แปลว่า: น. ชื่อโรคต่อมไทรอยด์โต ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดธาตุไอโอดีน,
คอหอยพอก ก็ว่า. (อ. goitre, struma, thyrocele).
【 คอพับ 】แปลว่า: น. เรียกเสื้อชั้นนอกที่คอพับลงมาว่า เสื้อคอพับ. ว. อาการที่คอตก
พับลงเพราะสิ้นกำลังทรงตัวเป็นต้น.
【 คอไฟ 】แปลว่า: น. ส่วนของโคมหรือตะเกียงตรงที่ต่อกระจุ๊บกับหม้อนํ้ามัน.
【 คอม้า 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อัศวินี มี ๗ ดวง, ดาวคู่ม้า ดาวม้า ดาวอัศวยุช
หรือดาวอัสสนี ก็เรียก; เรียกมีดพกปลายแหลมชนิดหนึ่งที่มีด้ามงอ
เฉียงลงว่า มีดคอม้า, ประแดะ ก็เรียก.
【 คอรวง 】แปลว่า: น. ก้านช่อดอกหรือก้านรวงของข้าว.
【 คอระฆัง 】แปลว่า: น. ส่วนพระเจดีย์ตรงคอด ต่อองค์พระเจดีย์ (ที่เรียกระฆัง)
กับบัลลังก์.
【 คอแร้ง 】แปลว่า: น. ปากกาชนิดปากแหลม.
【 คอวี 】แปลว่า: น. คอเสื้อที่ตัดแหลมตรงกลางคล้ายรูปตัว V, คอรูปตัววี หรือ
คอแหลม ก็เรียก.
【 คอสอง ๑ 】แปลว่า: น. ผู้ร้องถัดจากคนที่ ๑ ในวงเพลงที่ร้องแก้กันเป็นต้น, ผู้ว่าคล้อยตาม
อย่างลูกคู่.
【 คอสอง ๒ 】แปลว่า: น. ส่วนของเรือนที่ต่อตั้งแต่หัวเสาสุดขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งถึงจันทัน.
【 คอสะพาน 】แปลว่า: น. ส่วนของถนนที่ต่อกับเชิงสะพาน.
【 คอสูง 】แปลว่า: ว. ชอบกินหรือใช้ของดีราคาแพง.
【 คอเสื้อ 】แปลว่า: น. ส่วนของเสื้อที่ชิดคอหรือที่คว้านให้เป็นวงเพื่อสวมหัวได้,
ส่วนประกอบของคอเสื้อ มีแบบต่าง ๆ เช่น คอตั้ง คอแบะ.
【 คอหนัง 】แปลว่า: (ปาก) น. นาวิกโยธินอเมริกัน.
【 คอหยัก ๆ สักแต่ว่าคน 】แปลว่า: (สำ) น. คนที่ประพฤติตัวไม่สมศักดิ์ศรีของความเป็นคน.
【 คอหอย 】แปลว่า: น. อวัยวะภายในลำคอ เป็นทางร่วมของระบบทางเดินอาหารและ
ระบบทางเดินอากาศหายใจ เริ่มตั้งแต่หลังโพรงจมูก หลังช่องปาก
ลงไปจนถึงหลังกล่องเสียง. (อ. pharynx).
【 คอหอยกับลูกกระเดือก 】แปลว่า: (สํา) ว. เข้ากันได้ดี แยกกันไม่ออก.
【 คอหอยตีบ 】แปลว่า: ว. อาการที่รู้สึกตื้นตันใจพูดไม่ออก.
【 คอหอยพอก 】แปลว่า: น. คอพอก.
【 คอห่าน 】แปลว่า: น. ส่วนของโถส้วมตรงที่มีลักษณะคล้ายคอห่านสําหรับกักนํ้า
เพื่อกันกลิ่นเป็นต้น.
【 คอแหลม 】แปลว่า: น. คอเสื้อที่ตัดแหลมตรงกลางคล้ายรูปตัว V, คอวี หรือ คอรูปตัววี
ก็เรียก.
【 คออ่อน ๑ 】แปลว่า: ว. ทนต่อรสอันเข้มหรือรุนแรงของเหล้าไม่ได้, ตรงข้ามกับ คอแข็ง.
【 คออ่อนคอพับ 】แปลว่า: ว. อาการที่คอเอียงไปมาเพราะเมา ง่วง หรือเหนื่อย เป็นต้น.
【 คอฮาวาย 】แปลว่า: น. ปกเสื้อชนิดปลายแหลม สาบแบะออกตอนบนให้รับกับปก.
【 ค่อ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ปลาช่อน. /(ดู ช่อน)./
【 ค้อ 】แปลว่า: น. ชื่อปาล์มชนิด /Livistona speciosa/ Kurz ในวงศ์ Palmae ลำต้นตรง
ใบออกเป็นกระจุกทรงกลม แต่ละใบแผ่เป็นรูปวงกลมคล้ายพัด ขอบ
ก้านหยักเป็นสันคม ผลกลมผิวเรียบ ออกเป็นพวงตามง่ามโคนก้านใบ.
【 คอก 】แปลว่า: น. ที่ล้อมขังสัตว์บางชนิด เช่น วัว ควาย ม้า หมู, โดยปริยายหมายถึง
สิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คอกพยาน; (ถิ่น-พายัพ) คุก, เรือนจํา.
ว. ลักษณะของแขนที่พิการเหยียดตรงไม่ได้ เรียกว่า แขนคอก.
【 คอกช้าง 】แปลว่า: น. สถานที่ที่ทําขึ้นสําหรับจับช้างป่า มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม
คล้ายคอก มีซองและมีปีก ๒ ข้าง.
【 ค็อกคัส 】แปลว่า: น. แบคทีเรียที่มีรูปร่างกลม. (อ. coccus).
【 ค็อกเทล 】แปลว่า: น. เครื่องดื่มชนิดหนึ่ง ใช้เหล้าชนิดต่าง ๆ ผสมกัน ใส่นํ้าแข็ง แล้วเขย่า
และอาจใส่นํ้าผลไม้หรือชิ้นผลไม้ เพื่อเพิ่มสีหรือรสให้แปลก ๆ ออกไป
นิยมดื่มก่อนอาหาร; อาหารเรียกน้ำย่อยที่กินก่อนอาหารจานหลัก;
เรียกงานเลี้ยงแบบหนึ่งที่ไม่นั่งโต๊ะกินอาหารเสิร์ฟเฉพาะเครื่องดื่ม
และอาหารว่าง ว่า งานเลี้ยงค็อกเทล. (อ. cocktail; cocktail party).
【 คอเคซอยด์ 】แปลว่า: น. ชนชาติผิวขาว มีลักษณะผิวส่วนมากขาวจนถึงสีนํ้าตาล
จมูกโด่ง. (อ. Caucasoid).
【 ค่องอ้อย 】แปลว่า: น. ชื่อการพนันด้วยการทายความสั้นยาวของท่อนอ้อย โดยเอามีดสับ
คาไว้ที่ประมาณส่วนกลางลำอ้อย แล้วตั้งพิงไว้ให้ผู้เล่นทายว่าส่วน
ของท่อนอ้อยด้านบนกับด้านล่างของมีดยาวเท่ากันหรือสั้นยาวกว่า
กันเท่าใด ผู้ใดทายได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุดเป็นผู้ชนะ.
【 คอด 】แปลว่า: ว. ลักษณะของส่วนที่เล็กหรือแคบเข้าแล้วผายออกไป, กิ่ว.
【 คอแดง 】แปลว่า: น. ชื่องูลายสาบชนิด /Rhabdophis subminiatus/ ในวงศ์ Colubridae
ตัวสีเขียวหรือเทา คอสีแดง ออกหากินเวลากลางวัน มีพิษอ่อน,
หมู่ ก็เรียก.
【 คอน 】แปลว่า: น. ไม้ที่ทําไว้ให้นกหรือไก่จับ. ว. หนักข้างหนึ่งเบาข้างหนึ่ง. ก. เอา
สิ่งของห้อยที่ปลายไม้คานหรือปลายไม้เพียงข้างเดียวแล้วแบกบ่า
พาไป; เหยียดแขนข้างหนึ่งแล้วเอามือจับปลายของที่หนักยกขึ้น.
【 คอนเรือ 】แปลว่า: ก. นั่งที่ท้ายเรือแล้วพายเรือไปคนเดียว.
【 ค่อน ๑ 】แปลว่า: ก. ติ, ว่าให้สะเทือนใจ.
【 ค่อนขอด 】แปลว่า: ก. ค่อนว่า, พูดแคะไค้ในเรื่องที่ไม่ดี, พูดให้เขาอายหรือเจ็บใจ,
ยกความชั่วขึ้นมาว่าให้เจ็บใจ, ขอดค่อน ก็ว่า.
【 ค่อนแคะ 】แปลว่า: ก. ค้นหาเอาสิ่งที่ไม่ดีขึ้นมากล่าวติเตียน.
【 ค่อน ๒ 】แปลว่า: ว. มากกว่าครึ่ง, เกือบเต็ม, เช่น ข้าวค่อนหม้อ นั่งคอยมาค่อนวัน.
【 ค่อนข้าง 】แปลว่า: ว. หนักหรือกระเดียดไปทางใดทางหนึ่ง เช่น ค่อนข้างดี.
【 ค่อน ๓ 】แปลว่า: ก. ตัด, ทอน, เช่น บั่นเรือขาดเปนท่อน ค่อนพวนขาดเปนทุ่น.
(ตะเลงพ่าย); ตี, ทุบ, ข้อน ก็ใช้.
【 ค้อน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องมือที่มีหัวและด้าม สำหรับเคาะ ตอก ตี ทุบ, ลักษณนามว่า
เต้า หรือ อัน; เครื่องมือชนิดหนึ่งใช้ในการจับปลา.
【 ค้อน ๒ 】แปลว่า: ก. แสดงความไม่พอใจด้วยการตวัดสายตา.
【 ค้อนควัก 】แปลว่า: ก. ค้อนจนหน้าควํ่า, ควักค้อน ก็ว่า.
【 ค้อนติง 】แปลว่า: (โบ) ก. ทักท้วงแสดงความไม่เห็นด้วย.
【 คอนกรีต 】แปลว่า: น. วัสดุก่อสร้าง ประกอบด้วยซีเมนต์ ทราย หิน และนํ้า ผสมเคล้า
เข้าด้วยกัน เมื่อแห้งแข็งตัวแล้วจะเป็นวัสดุที่แข็งมาก. (อ. concrete).
【 คอนกรีตเสริมเหล็ก 】แปลว่า: น. คอนกรีตที่ใช้เหล็กเส้นหรือตะแกรงเหล็กเสริมภายในเพื่อเพิ่ม
ความแข็งแรง.
【 คอนกรีตอัดแรง 】แปลว่า: น. คอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้กรรมวิธีดึงเหล็กเส้นให้ยืดตัวเต็มที่ก่อน
แล้วจึงหล่อคอนกรีตหุ้ม เพื่อให้รับนํ้าหนักได้ดียิ่งขึ้น.
【 ค้อนกลอง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด /Capparis grandis/ L.f. ในวงศ์ Capparidaceae
ลําต้นมีหนาม ผลกลมใหญ่ ผิวค่อนข้างขรุขระ สุกสีแดง.
【 คอนเดนเซอร์ 】แปลว่า: (ไฟฟ้า) น. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้สําหรับเก็บประจุไฟฟ้าไว้ได้เป็น
ปริมาณมากกว่าแผ่นตัวนําธรรมดาที่มีขนาดเท่ากัน. (อ. condenser).
/(ดู เครื่องควบแน่น ที่ เครื่อง)./
【 ค้อนตีหมา 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด /Ancistrocladus tectorius/ Merr. ในวงศ์
Ancistrocladaceae, คันทรง ก็เรียก.
【 ค้อนทอง 】แปลว่า: น. ชื่อนกร้องเสียงดังกุ๊ก ๆ. (พจน. ๒๔๙๓).
【 คอนแวนต์ 】แปลว่า: น. สํานักชีในคริสต์ศาสนา, เรียกโรงเรียนซึ่งชีในสํานักนั้น ๆ ตั้งขึ้น
และเป็นผู้ดําเนินการสอนว่า โรงเรียนคอนแวนต์. (ฝ. convent).
【 คอนเสิร์ต 】แปลว่า: น. การแสดงดนตรีสากลแบบหนึ่ง ใช้เครื่องดนตรีวงใหญ่ อาจมี
นักร้องด้วย. (อ. concert).
【 ค้อนหอย 】แปลว่า: /ดู ช้อนหอย ๒/.
【 คอบ ๑ 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ก. ครอบ, รักษา, ครอบงํา, ครอบครอง, เช่น พระเม้านอ
ระเนิ้งคอบ เรียมทุกข์ เทือนี้. (หริภุญชัย).
【 คอบ ๒ 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ก. คืน, กลับ, เช่น สุทธนูประภาฟอง พัดจาก จยรแฮ
ยงงคอบคืนหว้ายได้ สู่สํสองสํฯ. (กำสรวล).
【 คอม 】แปลว่า: น. ไม้รูปโค้งปลายทั้ง ๒ ข้างงอขึ้นเล็กน้อย ใช้พาดคอวัวหรือคอควาย
สําหรับลากเลื่อนเป็นต้น, โกก ตะโกก หรือ ตะโหงก ก็เรียก.
【 ค่อม ๑ 】แปลว่า: ว. เตี้ยผิดธรรมดาและหลังงอ เช่น คนค่อม, เรียกหลังที่งอมากว่า
หลังค่อม; ที่มีพันธุ์เตี้ยกว่าธรรมดา (ใช้แก่สัตว์หรือต้นไม้) เช่น
ช้างค่อม กล้วยหอมค่อม.
【 ค่อม ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด /Hypomeces squamosus/ ในวงศ์ Curculionidae
ลําตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร หัวยื่นออกไปเป็นงวงสั้น ๆ ตัวและ
ปีกสีเขียวเหลือบทอง, ค่อมทอง หรือ ทับเล็ก ก็เรียก.
【 ค้อม 】แปลว่า: ก. น้อมลง, ก้มหลัง, โน้มลง เช่น ไม้ค้อมมีลูกน้อม นวยงาม. (โลกนิติ).
【 ค่อมทอง 】แปลว่า: /ดู ค่อม ๒/.
【 คอมพิวเตอร์ 】แปลว่า: น. เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทําหน้าที่เสมือนสมองกล
ใช้สําหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทาง
คณิตศาสตร์. (อ. computer).
【 คอมมานโด 】แปลว่า: น. ทหารหรือตํารวจในกลุ่มที่ได้คัดเลือกเป็นพิเศษ เพื่อฝึกการต่อสู้
ประชิดตัว การโจมตีโฉบฉวย จู่โจม และยุทธวิธีข่มขวัญอื่น ๆ,
หน่วยรบเฉพาะกิจ. (อ. commando).
【 คอมมิวนิสต์ 】แปลว่า: น. ระบบเศรษฐกิจการเมืองและสังคมแบบหนึ่งของลัทธิสังคมนิยม
ที่มีอุดมการณ์ให้รวมทรัพย์สินทั้งปวงเป็นสมบัติส่วนกลางของชุมชน
ไม่ให้มีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และให้จัดสรรรายได้แก่บุคคลอย่าง
เสมอภาคกัน ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ยากของคนในสังคมอัน
เป็นผลจากความไม่เสมอภาคในทรัพย์สิน, ผู้ที่นิยมระบบคอมมิวนิสต์.
ว. เกี่ยวกับระบบคอมมิวนิสต์. (อ. communism, communist).
【 คอย ๑ 】แปลว่า: ก. มุ่งรออยู่, รอ; เฝ้า, เฝ้าดู, เช่น คอยจับผิด.
【 คอยท่า 】แปลว่า: ก. รอคอย.
【 คอยที 】แปลว่า: ก. รอโอกาส.
【 คอย ๒ 】แปลว่า: น. หอสูงสําหรับดูเหตุการณ์ เรียกว่า หอคอย.
【 คอยเหตุ 】แปลว่า: ก. ระวังเหตุการณ์.
【 ค่อย ๒, ค่อย ๆ ๑ 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบหลังนามหรือกริยา หมายความว่า ไม่ดัง, เบา, เช่น
เสียงค่อยพูดค่อยเดินค่อย ๆ อย่าลงส้น; ไม่แรง, เบามือ, เช่น
นวดค่อย ๆ จับค่อย ๆ.
【 ค่อย ๓ 】แปลว่า: ว. คํานําหน้าความข้างท้ายให้ติดต่อกับความข้างหน้า แสดงกิริยา
ที่กระทําภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วค่อยไป, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า
ไม่ค่อย หมายความว่า น้อย, บ้าง, (ตามส่วนของสิ่งที่พูดถึง) เช่น
ไม่ค่อยมี ไม่ค่อยพูด, ไม่ใคร่ ก็ว่า.
【 ค่อยดีขึ้น 】แปลว่า: ว. เริ่มดีขึ้นเล็กน้อย.
【 ค่อยเป็นค่อยไป 】แปลว่า: ว. ดําเนินไปช้า ๆ.
【 ค่อยยังชั่ว 】แปลว่า: ว. ดีขึ้น, ทุเลาขึ้น.
【 ค้อย 】แปลว่า: (กลอน) ก. คล้อย. ว. เบา; เนือง, บ่อย.
【 ค้อยค้อย 】แปลว่า: (กลอน) ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เช่น เจ้าแม่แต่จงกรมค้อยค้อยด้วย
บราทุกราพร้อยพราย. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
【 คอยล์ 】แปลว่า: น. อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งซึ่งใช้ประกอบกับเครื่องยนต์ของรถยนต์
ทําหน้าที่แปลงไฟฟ้าแรงตํ่าจากแบตเตอรี่ให้เป็นไฟฟ้าแรงสูง เพื่อ
ก่อให้เกิดประกายไฟฟ้าที่เขี้ยวหัวเทียน. (อ. ignition coil).
【 คอร์ด 】แปลว่า: (คณิต) น. เส้นตรงที่เชื่อมจุด ๒ จุด บนเส้นโค้งใด ๆ. (อ. chord).
【 คอแลน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Nephelium hypoleucum/ Kurz ในวงศ์
Sapindaceae ผลมีสีและรสคล้ายลิ้นจี่ แต่เล็กกว่า.
【 คอสติกโซดา 】แปลว่า: น. โซดาแผดเผา. (อ. caustic soda).
【 คอแห้ง ๑ 】แปลว่า: ว. อาการที่คอไม่ชุ่มจนผากด้วยอยากดื่มน้ำเพราะต้องออกเสียง
มากหรือเพราะกระหายน้ำเนื่องจากเดินหรือวิ่งมาเป็นระยะเวลา
อันยาวนาน.
【 คอแห้ง ๒ 】แปลว่า: /ดู เฉียงพร้านางแอ/.
【 คออ่อน ๑ 】แปลว่า: /ดูใน คอ/.
【 คออ่อน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่องูทะเลมีพิษชนิด /Enhydrina schistosa/ ในวงศ์ Hydrophiidae
ตัวยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร สีเขียวอมเทา มีลายจาง ๆ อาศัย
ในทะเลโคลน.
【 คะ ๑ 】แปลว่า: คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ค เป็นพยัญชนะต้น
ในบทกลอน เช่น ครื้นครื้น กร่อนเป็น คะครื้น โครมโครม กร่อนเป็น
คะโครม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายใน
ทางย้ำเน้นคำ.
【 คะ ๒ 】แปลว่า: ว. คําลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อจากคำถามหรือคำแสดงความสงสัยเพื่อ
แสดงความสุภาพ เช่น อะไรคะ กระมังคะ, คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อ
จากคำ ซิ นะ เพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เชิญซิคะ ไปนะคะ.
【 ค่ะ 】แปลว่า: ว. คํารับที่ผู้หญิงใช้อย่างเดียวกับ จ้ะ, คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ในการบอก
ให้ทราบอย่างสุภาพ เช่น ไปค่ะ ไม่ไปค่ะ.
【 คะไขว่ 】แปลว่า: -ไขฺว่ ว. ขวักไขว่, สับสน, โบราณเขียนเป็น คไขว่ ก็มี เช่น
ขว้างหอกซรัดคไขว่ ไล่คคลุกบุกบัน. (ตะเลงพ่าย).
【 คะค้อย 】แปลว่า: (กลอน) ก. เดินไม่ขาดตอน, โบราณเขียนเป็น คค้อย ก็มี เช่น คค้อย
ไปซุ่มซ่อน ดูศึกผ่อนพลเดอร. (ตะเลงพ่าย).
Rubiaceae มีหนามโค้งแหลม ดอกสีขาว ๆ เหลือง ๆ กลิ่นหอม,
คัดเค้าเครือ ก็เรียก.
【 คัดช้อน 】แปลว่า: น. เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง ใหญ่กว่าสวิง ถักเป็นร่างแห ขอบเป็น
รูปสามเหลี่ยม มีด้ามจับ.
【 คัดมอน 】แปลว่า: /ดู หญ้าขัด/.
【 คัดเม็ง 】แปลว่า: /ดู กะเม็ง/.
【 คัทลียา 】แปลว่า: น. ชื่อกล้วยไม้หลายชนิดในสกุล /Cattleya/ วงศ์ Orchidaceae ดอก
งดงามมาก จนได้ชื่อว่าเป็น ‘ราชินีแห่งกล้วยไม้’.
【 คัน ๑ 】แปลว่า: น. แนวดินหรือแนวทรายเป็นต้นที่พูนสูงขึ้นเป็นแนวยาว เช่น
คันทราย, แนวดินที่พูนขึ้นมาสําหรับกั้นนํ้า เช่น คันนา คันดิน;
สิ่งที่มีลักษณะยาวทําด้วยไม้เป็นต้น สําหรับถือหรือปัก เช่น
คันเบ็ด คันไถ คันธง; ลักษณนามเรียกรถหรือของที่มีด้ามถือ
บางอย่าง เช่น รถ ๓ คัน ช้อน ๔ คัน เบ็ด ๕ คัน.
【 คันจาม 】แปลว่า: น. ไม้ลำยาวสำหรับติดเชือกบาศ ใช้ถือในเวลาคล้องช้างเรียกว่า
ไม้คันจาม. (ข. ฎงก?ฺจาม).
【 คันฉ่อง 】แปลว่า: น. เครื่องใช้ทำด้วยโลหะ ขัดจนเป็นเงา มีด้าม ใช้สำหรับส่องหน้า;
ปัจจุบันเรียกกระจกเงามีกรอบ ๒ ชั้น สําหรับเอนเข้าออกได้
ตั้งบนโต๊ะเครื่องแป้ง.
【 คันฉัตร 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์วิศาขา มี ๕ ดวง, ดาวศีรษะกระบือ หรือ
ดาววิสาขะ ก็เรียก.
【 คันชัก 】แปลว่า: น. ส่วนประกอบของคันไถสําหรับเทียมวัวหรือควาย, ที่สําหรับ
โยงเชือกชัก; ไม้สีซอ.
【 คันชั่ง 】แปลว่า: น. เครื่องชั่งที่มีคันบอกจํานวนนํ้าหนักที่ชั่ง.
【 คันชีพ ๑ 】แปลว่า: น. เข็มขัดของทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์มีกระเป๋าใส่ลูกปืน,
ถุงเยียรบับห้อยจากผ้าปกหลัง ๒ ข้างของช้าง สำหรับใส่อาหาร
ของกิน และอาวุธเป็นต้น, ถุงหนังห้อย ๒ ข้างคอม้า สำหรับใส่ข้าว
ของกินเป็นต้น.
【 คันชีพ ๒ 】แปลว่า: น. จงกลเทียนหลายกิ่ง สำหรับพราหมณ์ถือแกว่งในมือขวา
มือซ้ายแกว่งบัณเฑาะว์.
【 คันดาลฉัตร 】แปลว่า: น. คันฉัตรที่มีรูปเป็นมุมฉาก ๒ ทบอย่างลูกดาล เพื่อปักให้ฉัตร
อยู่ตรงเศียรพระพุทธรูปเป็นต้น.
【 คันไถ 】แปลว่า: น. เครื่องมือทำไร่ทำนาชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันชัก หางยาม
ผาล หัวหมู ใช้ควายหรือวัวเป็นต้น ลากไปเพื่อกลับดิน, ไถ ก็ว่า.
【 คันทวย 】แปลว่า: น. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค, ทวย ก็เรียก.
【 คันนา 】แปลว่า: น. ดินที่พูนขึ้นเป็นคันตามท้องนาสำหรับขังน้ำไว้, ลูกคัน หรือ
หัวคันนา ก็เรียก.
【 คันบวย 】แปลว่า: น. ตัวไม้ยึดช่อฟ้าต่อกับสันอกไก่.
【 คันโพง 】แปลว่า: น. เครื่องสําหรับตักนํ้าหรือโพงนํ้า มีคันยาว ที่ปลายมีเชือกผูกโพง
เพื่อช่วยผ่อนแรง; คันไม้ยาวใช้ผูกโพงสำหรับตักน้ำหรือโพงน้ำ.
【 คันเร่ง 】แปลว่า: น. ส่วนของเครื่องยนต์ที่ใช้ควบคุมความเร็วของเครื่องยนต์.
【 คัน ๒ 】แปลว่า: ก. อาการที่รู้สึกให้อยากเกา, อาการที่มือหรือปากอยู่ไม่สุข คือ อยากทํา
หรือพูดในสิ่งที่ไม่ควร เรียกว่า มือคัน ปากคัน, อาการที่ให้รู้สึกอยากด่า
อยากตีเป็นต้น เรียกว่า คันปาก คันมือ คันเท้า.
【 คัน ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Amesiodendron chinense/ (Merr.) Hu ในวงศ์
Sapindaceae ขึ้นตามชายนํ้า สูงประมาณ ๑๐ เมตร, ขัน ก็เรียก.
【 คั่น 】แปลว่า: ก. แทรกหรือกั้นอยู่ในระหว่าง.
【 คั้น 】แปลว่า: ก. บีบขยําโดยแรงเพื่อให้ของเหลวที่มีอยู่ออกมา เช่น คั้นกะทิ คั้นส้ม.
【 คันขา 】แปลว่า: ก. คานขา.
【 คันฉาย ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องส่องหน้า, กระจกเงา.
【 คันฉาย ๒ 】แปลว่า: น. ไม้สําหรับสงฟางในเวลานวดข้าว, กระดองหาย ขอฉาย ดอง ดองฉาย
หรือ ดองหาย ก็เรียก. (ข. ฉาย ว่า สง).
【 คันโดง 】แปลว่า: น. กระโดง, ใช้หมายถึง เสากระโดง เช่น กุมกรวรนุชพงาภาองค์ยุพา
มาขึ้นคันโดงคอยดู. (สุธน).
【 คันถ- 】แปลว่า: [คันถะ-] น. คัมภีร์. (ป.; ส. คฺรนฺถ).
คันถธุระ น. การเรียนคัมภีร์ปริยัติ, คู่กับ วิปัสสนาธุระ การเรียนวิปัสสนา.
(ป.; ส. คฺรนฺถ + ธุร).
【 คันถรจนาจารย์ 】แปลว่า: [-รดจะนาจาน] น. อาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์. (ป. คนฺถ + ป., ส. รจน +
ส. อาจารฺย).
【 คันทรง 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด /Colubrina asiatica/ (L.) Brongn. ในวงศ์
Rhamnaceae ดอกสีเหลือง ยอดอ่อนกินได้ ใช้ทํายาได้. (๒)
/ดู ค้อนตีหมา./
【 คันธ-, คันธะ 】แปลว่า: คันทะ- น. กลิ่น, กลิ่นหอม, เมื่อใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า
หอม. (ป., ส.); ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า คันธหัตถี
กายสีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม. /(ดู กาฬาวก)./
【 คันธกุฎี 】แปลว่า: น. ชื่อกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระคันธกุฎี. (ป.).
【 คันธมาทน์ 】แปลว่า: ว. ที่มีกลิ่นหอมทำให้สัตว์มัวเมา. น. ชื่อภูเขา เรียกว่า ภูเขาคันธมาทน์
คือ ภูเขาผาหอม. (ป., ส.).
【 คันธรรพเวท, คานธรรพเวท 】แปลว่า: [คันทันพะเวด, คันทับพะเวด, คานทันพะเวด, คานทับพะเวด]
น. วิชาการดนตรี เป็นสาขาหนึ่งของสามเวท. (ส. คนฺธรฺวเวท).
【 คันธารราษฎร์ 】แปลว่า: [-ทาระราด] น. ชื่อแคว้นโบราณ อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย;
ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง สําหรับตั้งในพิธีขอฝนและแรกนาเป็นต้น.
(ป., ส. คนฺธาร = ชื่อแคว้น + ส. ราษฺฏฺร = รัฐ, แคว้น).
【 คันหามเสือ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็ก ๒ ชนิดในวงศ์ Araliaceae คือ ชนิด /Trevesia/
/valida/ Craib ขึ้นตามหินใกล้ลําธารในป่า ลําต้นมีหนามห่าง ๆ และ
ชนิด /Aralia montana/ Blume ลําต้นและใบมีหนาม ใบเป็นใบประกอบ
ยาวประมาณ ๑ เมตร.
【 คับ 】แปลว่า: ว. มีขนาดไม่พอดีกัน ทําให้แน่น ตึง หรือ ฝืด สวมหรือใส่ได้โดยยาก
เช่น เสื้อคับ หมวกคับ แหวนคับ, ตรงข้ามกับ หลวม. ก. มีลักษณะ
หรือปริมาณเกินพอดี เช่น จระเข้คับคลอง ลิ้นคับปาก ฝูงคนคับถนน
เสียงคับบ้าน ข้าวคับหม้อ.
【 คับขัน 】แปลว่า: ว. จําเป็นเฉพาะหน้าที่จะต้องทําหรือต้องสู้ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้, เข้าที่
ลําบากหรือจําเป็น, ขับขัน ก็ว่า.
【 คับคั่ง 】แปลว่า: ก. อัดแอ, ยัดเยียด, เบียดเสียดกัน.
【 คับแค้น 】แปลว่า: ว. ลําบาก, ยากไร้, ฝืดเคือง, ลําบากเพราะถูกบีบคั้นทางใจหรือ
ความเป็นอยู่.
【 คับแคบ 】แปลว่า: ว. ไม่กว้างขวางพอ เช่น บ้านคับแคบ, ไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เช่น
ใจคอคับแคบ.
【 คับแคบแอบใจ 】แปลว่า: ว. อึดอัดใจเต็มทน.
【 คับใจ, คับอกคับใจ 】แปลว่า: ก. อึดอัดใจ, รู้สึกอัดอั้นตันใจ, รู้สึกคับแค้นอยู่ในอกในใจ.
【 คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก 】แปลว่า: (สำ) น. ที่อยู่แม้จะคับแคบก็อยู่ได้ถ้าสบายใจ แต่ถ้าอึดอัดใจ
ที่อยู่จะกว้างขวางใหญ่โตอย่างไรก็อยู่ไม่ได้.
【 คับค้อน 】แปลว่า: ใช้เข้าคู่กับคํา สํารับ เป็น สํารับคับค้อน.
【 คับคา 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น คับคาคาบคาร่อน กระแวนว่อนบินบน.
(ตะเลงพ่าย), ปัจจุบันเรียก จาบคาหัวเขียว. /(ดู จาบคา)./
【 คับแค 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิด /Nettapus coromandelianus/ ในวงศ์ Anatidae เป็น
นกเป็ดนํ้าที่เล็กที่สุดในประเทศไทย รูปร่างเล็ก อ้วนป้อม ปากสั้น
ตัวผู้ปีกสีเขียวเข้มเป็นมัน หน้า คอ และท้องสีขาว ที่คอมีวงสีดํา
ตัวเมียปีกสีนํ้าตาล ลําตัวตอนล่างสีขาว มีจุดกระสีนํ้าตาล ทํารัง
ในโพรงไม้.
【 คัพภ-, คัพภ์ 】แปลว่า: [คับพะ-, คับ] น. ครรภ์, ท้อง; ห้อง. (ป.).
【 คัพภสาลี 】แปลว่า: [คับพะ-] น. ข้าวที่กําลังท้องยังไม่แตกเป็นรวง (มักเอามาคั้น
เป็นข้าวยาคู). (สิบสองเดือน).
【 คัพโภทร 】แปลว่า: [คับโพทอน] น. ครรโภทร, ท้องมีลูก. (ป. คพฺภ + อุทร).
【 คัพโภทร 】แปลว่า: /ดู คัพภ-, คัพภ์/.
【 คัมภีร-, คัมภีร์ 】แปลว่า: [คําพีระ-, คําพี] น. หนังสือตําราที่สําคัญทางศาสนาหรือโหราศาสตร์
เป็นต้น; ลักษณนามเรียกหนังสือตําราเหล่านี้ เช่น คัมภีร์หนึ่ง คัมภีร์
โหราศาสตร์ ๒ คัมภีร์. ว. ลึกซึ้ง. (ป.).
【 คัมภีรภาพ 】แปลว่า: น. ความลึกซึ้ง.
【 คัล 】แปลว่า: คัน (ราชา) ก. เฝ้า เช่น พระโรงคัล ว่า ที่เฝ้า. (ข. คาล่).
【 คัว 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) ก. ทําให้สะอาด, ชําระล้าง, เช่น คัวปลา ว่า ขอดเกล็ดปลา
แล้วผ่าท้องล้างให้สะอาด.
【 คั่ว ๑ 】แปลว่า: ก. เอาสิ่งของใส่กระเบื้องหรือกระทะตั้งไฟให้ร้อนแล้วคนไปจนสุก
หรือเกรียม เช่น คั่วถั่ว คั่วงา, เรียกของที่คั่วแล้ว เช่น ข้าวคั่ว ถั่วคั่ว;
เรียกแกงกะทิชนิดหนึ่งคล้ายแกงเผ็ด แต่มีรสออกเปรี้ยว ว่า แกงคั่ว
เช่น แกงคั่วผักบุ้ง แกงคั่วมะระ.
【 คั่ว ๒ 】แปลว่า: ก. คอยกิน (ใช้ในการเล่นไพ่ผ่องไทยหรือไพ่ผ่องจีนเป็นต้น), โดยปริยาย
หมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สองคนนี้คั่วกันมาหลายปี
ก็ยังไม่ได้แต่งงานกัน เขาคั่วตำแหน่งอธิบดีอยู่.
【 คัสซี 】แปลว่า: (ปาก) น. แชสซี.
【 คา ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องจําคอนักโทษ ทําด้วยไม้.
【 คา ๒ 】แปลว่า: ก. ค้างอยู่, ติดอยู่, เช่น ข้าวคาปาก คาถ้วยคาชาม. ว. ยังไม่พ้นไป
จากที่นั้น ๆ เช่น ยืนคาประตู สุกคาต้น ตายคาที่.
【 คาราคาก่า, คาราคาซัง 】แปลว่า: ว. ยังไม่เสร็จ, ยังไม่แล้ว, ค้างอยู่, ติดอยู่.
【 คาหนังคาเขา 】แปลว่า: (สํา) ว. จับได้ในขณะที่กําลังกระทําผิดหรือพร้อมกับของกลาง,
ใช้เพี้ยนว่า คาหลังคาเขา ก็มี.
【 คา ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Imperata cylindrica/ Beauv. ในวงศ์ Gramineae
ใบคาย แข็ง เอามากรองเป็นตับมุงหลังคา เหง้าใช้ทํายาได้.
【 คากรอง 】แปลว่า: น. เครื่องปกปิดร่างกายที่ทําด้วยหญ้า เช่น ควรหรือมานุ่งคากรอง
ควรแต่เครื่องทองไพศาล. (ศกุนตลา).
【 คาคบ 】แปลว่า: น. ง่ามต้นไม้ที่กิ่งใหญ่กับลำต้นแยกกัน, คบ หรือ ค่าคบ ก็เรียก.
【 ค่า 】แปลว่า: น. มูลค่าหรือราคาของสิ่งใด ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่มี
ประโยชน์ในทางใช้สอย แลกเปลี่ยน หรือทางจิตใจเป็นต้น บางอย่าง
ก็ประเมินเป็นเงินได้ บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินไม่ได้ เช่น ทองคำ
เป็นของมีค่า เวลามีค่ามาก; จำนวนเงินที่เป็นราคาสิ่งของหรือบริการ
เป็นต้น เช่น ค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าโดยสาร ค่าอาหาร; (คณิต) จำนวนหรือ
ตัวเลขที่ระบุปริมาณหรือขนาดของตัวแปร; (สำ) เรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ที่มีคุณค่ามากจนไม่อาจประเมินเป็นเงินได้ว่า เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้.
【 ค่าขึ้นศาล 】แปลว่า: (กฎ) น. ค่าธรรมเนียมศาลในการยื่นคําฟ้อง.
【 ค่าครองชีพ 】แปลว่า: น. ค่าใช้จ่ายในการดํารงชีพ.
【 ค่าจ้าง 】แปลว่า: (กฎ) น. เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนใน
การทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปรกติเป็น
รายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือ ระยะเวลาอื่น หรือ
จ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปรกติ
ของวันทำงาน และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
ในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตาม
กฎหมาย; เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทน
การทำงานในวันและเวลาทำงานปรกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะ
เวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และหมายความรวมถึง
เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้
ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใด
หรือโดยวิธีการใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร.
【 ค่าชดเชย 】แปลว่า: (กฎ) น. เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจาก
เงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง.
【 ค่าเช่า 】แปลว่า: (กฎ) น. ค่าตอบแทนที่ผู้เช่าจ่ายให้แก่ผู้ให้เช่าเพื่อเป็นการตอบแทน
ที่ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด.
【 ค่าตัว 】แปลว่า: น. ราคาที่กําหนดขึ้นเพื่อซื้อขายทาสในสมัยโบราณ, ต่อมาหมายถึง
ราคาที่กําหนดขึ้นตามความสําคัญหรือความสามารถของบุคคล.
【 ค่าไถ่ 】แปลว่า: (กฎ) น. ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่เรียกเอา หรือให้เพื่อแลกเปลี่ยน
เสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขัง.
【 ค่าทดแทน 】แปลว่า: (กฎ) น. เงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ สำหรับการประสบ
อันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายของลูกจ้าง.
【 ค่าธรรมเนียม 】แปลว่า: (กฎ) น. ค่าบริการที่เรียกเก็บตามกฎหมาย.
【 ค่าธรรมเนียมศาล 】แปลว่า: (กฎ) น. ค่าธรรมเนียมที่ต้องชําระให้แก่ศาลในการดําเนินคดี.
【 ค่าน้ำ 】แปลว่า: (โบ) น. อากรจับสัตว์นํ้า, เงินที่ต้องเสียภาษีในการที่มีเครื่องมือ
จับสัตว์นํ้า.
【 ค่าน้ำเงิน 】แปลว่า: /ดู น้ำเงิน ๑/.
【 ค่าน้ำนม 】แปลว่า: น. เงินที่ฝ่ายชายต้องจ่ายให้แก่บิดามารดาฝ่ายหญิงในการสู่ขอเพื่อ
ตอบแทนเป็นค่าที่ได้เลี้ยงดูมา, (โบ) นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ข้าวป้อน เป็น
ค่าน้ำนมข้าวป้อน เช่น ให้คิดเอาค่าน้ำนมเข้าป้อนค่าเลี้ยงรักษาแก่
มันแลชายซึ่งภาเอาหญิงไปเลี้ยงนั้นให้มันช่วยหญิงเสียกึ่งหนึ่ง.
(สามดวง); ปัจจุบันหมายถึงพระคุณของพ่อแม่ที่ได้เลี้ยงดูมา เช่น
บวชตอบแทนค่าน้ำนม.
【 ค่านิยม 】แปลว่า: น. สิ่งที่บุคคลหรือสังคมยึดถือเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจ และกำหนด
การกระทำของตนเอง.
【 ค่าป่วยการ 】แปลว่า: (กฎ) น. ค่าชดเชยการงานหรือเวลาที่เสียไป.
【 ค่าปากเรือ 】แปลว่า: (โบ) น. ค่าธรรมเนียมที่เก็บจากเรือบรรทุกสินค้าเข้ามาโดยวัด
ขนาดกว้างตอนกลางเรือเป็นกําหนด.
【 ค่าเผา 】แปลว่า: (โบ) น. ค่าธรรมเนียมดูเงินโดยใช้วิธีเผาเงินตราเพื่อพิสูจน์.
【 ค่าภาคหลวง 】แปลว่า: (กฎ) น. ค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกําหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ทําการ
หาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชําระให้แก่รัฐ เช่น
ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงไม้หวงห้าม.
【 ค่าฤชาธรรมเนียม 】แปลว่า: -รึชา- น. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดําเนินคดี รวมถึงค่าป่วยการ
พยาน ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสารและบังคับคดี
และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสีย.
【 ค่าล่วงเวลา 】แปลว่า: (กฎ) น. เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการ
ทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน.
【 ค่าสัมบูรณ์ 】แปลว่า: (คณิต) น. ค่าของจํานวนจริงที่ไม่คำนึงถึงเครื่องหมาย เช่น
ค่าสัมบูรณ์ของ -๓ หรือ +๓ คือ ๓. (อ. absolute value).
【 ค่าสินไหมทดแทน 】แปลว่า: (กฎ) น. เงินที่ต้องชดใช้เพื่อทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่
ทรัพย์สินหรือแก่บุคคลอันเนื่องมาจากการละเมิด หรือการผิด
สัญญา รวมทั้งทรัพย์สินที่ต้องคืนให้แก่ผู้เสียหายด้วย เช่น ค่า
สินไหมทดแทนเพื่อละเมิด ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้
ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้.
【 ค่าเสมอภาค 】แปลว่า: น. มูลค่าหรือราคาของหุ้น หรือหลักทรัพย์อื่นตามที่ตราไว้; มูลค่า
แลกเปลี่ยนของหน่วยเงินตราสกุลหนึ่ง ที่เทียบเท่ากับมูลค่าแลก
เปลี่ยนของหน่วยเงินตราอีกสกุลหนึ่ง. (อ. par value).
【 ค่าเสียหาย 】แปลว่า: (กฎ) น. เงินที่ชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อความเสียหายอันได้ก่อขึ้น.
【 ค่าหน้าดิน 】แปลว่า: น. เงินกินเปล่าที่เจ้าของที่ดินเรียกจากผู้เช่าเป็นต้น เพื่อเป็นค่า
ตอบแทนการใช้ที่ดิน.
【 ค่าหัว 】แปลว่า: น. ราคาที่กําหนดไว้เป็นค่าเอาชีวิต.
【 ค้า ๑ 】แปลว่า: ก. ซื้อขายสินค้าหรือบริการ.
【 ค้าขาย 】แปลว่า: ก. ทํามาหากินในทางซื้อขาย.
【 ค้าความ 】แปลว่า: ก. ชอบหาเรื่องขึ้นโรงศาล.
【 ค้าประเวณี 】แปลว่า: ก. กระทำการใด ๆ เพื่อสำเร็จความใคร่ในทางกามารมณ์ของผู้อื่น
อันเป็นการสำส่อนเพื่อสินจ้างหรือประโยชน์อื่นใด.
【 ค้า ๒, ค้าค้า 】แปลว่า: (โบ) ก. ออกแสดง เช่น บค้าอาตม์ออกรงค์. (ตะเลงพ่าย), มีมือถือ
ดาบกล้าอวดค้าค้าคําราม. (ม. คําหลวง กุมาร).
【 ค่าคบ 】แปลว่า: น. ง่ามต้นไม้ที่กิ่งใหญ่กับลำต้นแยกกัน, คบ หรือ คาคบ ก็เรียก.
【 คาง ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนของร่างกายที่สุดขากรรไตร อยู่ใต้ปาก, ราชาศัพท์ว่า พระหนุ.
【 คางทูม 】แปลว่า: น. โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสทําให้ต่อมนํ้าลายบริเวณใต้หู
อักเสบแล้วบวม.
【 คางหมู 】แปลว่า: น. ชื่อรูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านขนานกันคู่หนึ่ง อีกคู่หนึ่งสอบเข้ามา;
ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์โรหิณี มี ๗ ดวง, ดาวพราหมี หรือ
ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก.
【 คางเหลือง 】แปลว่า: (สํา) ว. ป่วยหรือบาดเจ็บมากจนแทบเสียชีวิต, มักใช้ว่า ไม่ตายก็
คางเหลือง.
【 คาง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Albizia lebbeckoides/ Benth. ในวงศ์ Leguminosae
ใบคล้ายใบกระถิน เนื้อไม้สีนํ้าตาลแก่ แข็ง, พายัพเรียก กาง.
【 ค่าง 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Cercopithecidae ลักษณะคล้ายลิง
ขนสีเทาหรือดํา ลําตัว แขน ขา และหางยาวกว่าลิงทั่ว ๆ ไป กินใบไม้
และผลไม้ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ค่างดํา (/Presbytis melalophos/)
ค่างแว่นถิ่นใต้ (/P. obscura/) ค่างหงอก หรือ ค่างเทา (/P. cristata/) และ
ค่างแว่นถิ่นเหนือ (/P. phayrei/).
【 ค้าง ๑ 】แปลว่า: ก. ตกลงมาหรือขึ้นไปติดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, ติดอยู่กลางทาง, ติดอยู่,
เช่น เรือค้างแห้ง ค้างหนี้, ยังไม่แล้วเสร็จตามที่กําหนด เช่น ทํางานค้าง;
เหลือกหรืออ้าแล้วเอาลงหรือหุบไม่ได้ เช่น ตาค้าง อ้าปากค้าง ขากรรไตร
ค้าง; แรมคืน, ค้างคืน ก็ว่า. น. ไม้หลักสําหรับให้ไม้เถาขึ้นเกาะ เช่น
ค้างพลู ค้างถั่ว.
【 ค้างคา 】แปลว่า: ก. ยังไม่สิ้นไป, ยังไม่หมดไป, เช่น ค้างคาใจ ยังมีของค้างคาอยู่.
【 ค้างคืน 】แปลว่า: ก. ไปพักที่อื่นข้ามคืน, แรมคืน, ค้าง ก็ว่า. ว. ข้ามคืน เช่น กับข้าว
ค้างคืน หมักของไว้ค้างคืน.
【 ค้างเดือนค้างปี 】แปลว่า: ว. ล่วงเวลานานเป็นเดือนเป็นปี.
【 ค้างเติ่ง 】แปลว่า: (สำ) ก. ไม่สําเร็จลุล่วงไปได้.
【 ค้างปี 】แปลว่า: ว. ล่วงเวลานานเป็นปี เช่น เหล้าค้างปี ปลาร้าค้างปี.
【 ค้าง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของถั่วฝักยาว ซึ่งมีไม้ค้างปักเป็นหลักให้เถาเกาะ
เรียกว่า ถั่วค้าง. /(ดู ถั่วฝักยาว ที่ ถั่ว ๑)./
【 คางคก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในวงศ์ Bufonidae รูปร่าง
คล้ายกบ ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระ เคลื่อนที่โดยการย่างเดินและ
กระโดดหย่ง ๆ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น คางคกบ้าน (/Bufo/
/melanostictus/) คางคกป่า (/B. macrotis/).
【 คางคกขึ้นวอ 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่มีฐานะตํ่าต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยา
อวดดีลืมตัว.
【 คางคกไฟ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด /Bufo parvus/ ในวงศ์
Bufonidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับคางคก แต่ตัวเล็กกว่ามาก
ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะเปลี่ยนสีผิวหนังเป็นสีแดง จึงมี
ผู้เรียกว่า คางคกไฟ.
【 คางคก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาไม่มีเกล็ดชนิด /Batrachus grunniens/ และ /Halophryne
【 trispinosus/ 】แปลว่า:
ในวงศ์ Batrachoididae ปากกว้าง หัวทู่แบนลง ลําตัวกลมยาว มีสีนํ้าตาล
เป็นด่างดวงทั่วไป ครีบท้องอยู่เยื้องไปข้างหน้าครีบอก หางกลม เฉพาะ
ชนิดแรกมีรูที่มุมบนด้านในของครีบอก อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล, กบ
บู่ทะเล ผีหลอก หรือ อุบ ก็เรียก.
【 คางคก ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวเหมือนอุตพิด คันจัด ใช้เพื่อให้
อยู่ยงคงกระพันชั่วเบา. (กบิลว่าน).
【 ค้างคาว ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดและหลายวงศ์ ลําตัวมีขนปุย
ปีกเป็นแผ่นหนังขนาดใหญ่ เวลาเกาะจะห้อยหัวลง หากินในเวลา
กลางคืน เช่น ค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน (/Pteropus vampyrus/) ในวงศ์
Pteropodidae, ค้างคาวลูกหนูบ้าน (/Pipistrellus javanicus/) ในวงศ์
Vespertilionidae.
【 ค้างคาว ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Aglaia edulis/ (Roxb.) Wall. ในวงศ์
Meliaceae ผลคล้ายมะไฟ แต่เปลือกแข็งและหนา, มะก่อง ก็เรียก.
(๒) ชื่อไม้เถาชนิด /Passiflora lunata/ Willd. ในวงศ์ Passifloraceae
ใบคล้ายปีกค้างคาว ด้านล่างของใบมีจุด ๓-๔ จุด ดอกกินได้.
【 ค้างคาว ๓ 】แปลว่า: น. ของว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลีผสมแป้งถั่วทอง นวดกับหัว
กะทิและเกลือ แผ่เป็นแผ่นห่อไส้ทำด้วยกุ้งสับผัดกับรากผักชีตำ
พริกไทย เกลือ แล้วทอดนํ้ามัน เรียกว่า ขนมค้างคาว.
【 ค้างคาว ๔ 】แปลว่า: น. ตัวไม้โครงหลังคา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวระหว่างเต้ากับจันทันระเบียง,
แขวน หรือ โตงเตง ก็เรียก.
【 คางโทน 】แปลว่า: น. ชื่อต้นไม้ใช้ทํายา. (พจน. ๒๔๙๓).
【 คางเบือน 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดไม่มีเกล็ดชนิด /Belodontichthys dinema/ ในวงศ์
Siluridae รูปร่างคล้ายปลาค้าว เว้นแต่มีขนาดเล็กกว่า คือ ยาว
ประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ปากเชิดขึ้น จะงอยปากสั้น ครีบหลังเล็ก
ครีบอกใหญ่ ลําตัวแบนข้างมาก หลังกว้าง ลําตัวโดยเฉพาะด้าน
หลังสีเทาอมเขียว ข้างท้องสีเงิน มีชุกชุมตามแหล่งนํ้าใหญ่ทั่วไป,
เบี้ยว อ้ายเบี้ยว หรือ ขบ ก็เรียก.
【 คาด ๑ 】แปลว่า: ก. พันโดยรอบแล้วทําอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นผูกหรือกลัดเป็นต้นเพื่อ
ไม่ให้หลุด เช่น เอาผ้าคาดพุง คาดเตี่ยวใบตอง คาดเข็มขัด, พาดเป็น
ทางยาวไป เช่น พื้นขาวคาดแดง.
【 คาดเชือก 】แปลว่า: ก. เอาด้ายดิบพันมือเตรียมชกมวย, เตรียมต่อสู้, คาดหมัด ก็เรียก.
น. เรียกการชกมวยแบบหนึ่งที่เอาด้ายดิบพันหมัดมาจนถึงข้อศอก
ว่า มวยคาดเชือก.
【 คาดหมัด 】แปลว่า: ก. เอาด้ายดิบพันมือเตรียมชกมวย, เตรียมต่อสู้, คาดเชือก ก็เรียก.
【 คาด ๒ 】แปลว่า: ก. นึกไว้, หมายไว้, มักใช้เข้าคู่กับคํา คะเน หรือ หมาย เป็น คาดคะเน
คาดหมาย.
【 คาดค่า 】แปลว่า: ก. ตีราคา.
【 คาดโทษ 】แปลว่า: ก. หมายไว้ว่าถ้ากระทำผิดอีกจะลงโทษเท่าใด.
【 คาดไม่ถึง 】แปลว่า: ก. ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้เช่นนั้น.
【 คาดหน้า 】แปลว่า: ก. หมายหน้าเป็นเชิงดูหมิ่น.
【 คาดคั้น 】แปลว่า: ก. แสดงกิริยาวาจาเป็นเชิงบังคับให้เป็นไปตามความประสงค์.
【 คาถา ๑ 】แปลว่า: น. คําประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ
๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง.
【 คาถาพัน 】แปลว่า: น. บทประพันธ์เรื่องมหาเวสสันดรชาดกที่แต่งเป็นคาถาภาษาบาลี
ล้วน ๆ พันบท, เรียกการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกที่เป็นคาถาล้วน ๆ
อย่างนี้ว่า เทศน์คาถาพัน.
【 คาถา ๒, คาถาอาคม 】แปลว่า: น. คําเสกที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์.
【 คาทอลิก 】แปลว่า: น. ชื่อนิกายหนึ่งของคริสต์ศาสนา มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข เชื่อถือ
ในตรีเอกภาพ คือถือว่า พระบิดา พระบุตร และพระจิต เป็นพระเป็นเจ้า
องค์เดียวกัน พระเยซูมี ๒ สภาวะ คือ สภาวะพระเป็นเจ้า กับ สภาวะ
มนุษย์ ยกย่องแม่พระและนักบุญ มีนักบวช เรียกว่า บาทหลวง,
เรียกเต็มว่า โรมันคาทอลิก. (อ. Catholic, Roman Catholic).
【 ค่าที่ 】แปลว่า: สัน. เพราะเหตุว่า เช่น เขาได้รับรางวัลค่าที่เป็นคนซื่อสัตย์.
【 คาธ 】แปลว่า: คาด ก. จับ, กิน, เช่น จันทรคาธ สุริยคาธ. (เทียบ ป. คาห;
ส. คฺราห).
【 คาน 】แปลว่า: น. เครื่องเรือนที่ยึดเสาและรองตง ทําด้วยไม้เป็นต้น, ไม้ทําอย่างรอด
สําหรับรองรับของหนัก เช่น คานเรือ; ไม้สําหรับหาบหรือหามสิ่งของ
ต่าง ๆ เรียกว่า ไม้คาน. ก. รองรับหรือเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งรองรับของหนัก
ขึ้นไว้, ถ่วงนํ้าหนักกัน เช่น อํานาจของฝ่ายนิติบัญญัติกับอำนาจของ
ฝ่ายบริหารคานกัน, โดยปริยายหมายความว่า ค้านกัน ยังตกลงกัน
ไม่ได้.
【 คานขา 】แปลว่า: ก. แทนชั่วคราว เป็นการแก้ขัดในการเล่นไพ่เป็นต้น, ขัดขา หรือ
คันขา ก็ว่า.
【 คานคอดิน 】แปลว่า: น. คานที่วางบนเสาตอม่อ มักจะอยู่เสมอระดับดิน.
【 คานหาม 】แปลว่า: น. ที่นั่งที่มีคานสำหรับหาม, ถ้าใช้สำหรับเจ้านาย เรียกว่า แคร่
คานหาม, เรียกสั้น ๆ ว่า แคร่ ก็มี, ถ้าใช้สำหรับพระมหากษัตริย์
เรียกว่า พระราชยานคานหาม.
【 ค้าน 】แปลว่า: ก. แย้งกัน เช่น ข้อความตอนหน้ากับตอนหลังค้านกัน, กล่าวแย้ง
ไม่เห็นด้วย; (โบ; กลอน) หัก, พัง, ทําลาย, เช่น เครื่องบนกระบาล
ผุค้าน. (คําฤษฎี), สยงสรเทือนพ้ยงค้าน ค่นเมรุ. (ยวนพ่าย).
【 คาน้า 】แปลว่า: /ดู คะน้า/.
【 คาบ ๑ 】แปลว่า: น. ครั้ง, หน, ระยะเวลาเวียนรอบ, ช่วงเวลา. ก. กลั้นใจบริกรรม
เวทมนตร์ครั้งหนึ่ง ๆ.
【 คาบ ๒ 】แปลว่า: ก. เอาปากหรือสิ่งที่มีลักษณะอย่างปากงับหนีบไว้, โดยปริยาย
หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คาบข่าวไปบอก.
【 คาบเกี่ยว 】แปลว่า: ก. ติดต่อเกี่ยวเนื่องกัน เช่น ที่ดินคาบเกี่ยวกัน.
【 คาบชุด 】แปลว่า: น. ชื่อปืนเล็กยาวอย่างโบราณ ใช้ชุดจุดดินหูเวลายิง.
【 คาบลูกคาบดอก 】แปลว่า: (สํา) ว. อยู่ในระยะคับขันกำลังจะได้หรือเสียก้ำกึ่งกัน สำนวน
นี้เปรียบกับต้นไม้ที่ออกดอกและกำลังจะเป็นลูกคาบเกี่ยวกัน
จึงว่า คาบลูกคาบดอก.
【 คาบศิลา 】แปลว่า: น. ชื่อปืนเล็กยาวอย่างโบราณ มีนกเป็นเหล็กคาบหินเหล็กไฟ
หรือหินปากนกสับลงกับเหล็กให้เป็นประกายติดดินหู.
【 คาบสมุทร 】แปลว่า: น. ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมเกือบรอบ ตามปรกติมักต่อเนื่อง
กับผืนแผ่นดินใหญ่เป็นคอคอด หรือยื่นยาวออกไปในทะเล.
【 คาบเส้น 】แปลว่า: ก. อยู่ตรงเกณฑ์ที่กำหนดพอดี เช่น สอบไล่ได้คะแนนคาบเส้น.
【 คาบ ๓ 】แปลว่า: น. พื้นหน้าเรียบ เช่น ราบคาบ. (ไทยขาว).
【 คาพยุต 】แปลว่า: คาพะยุด น. คาวุต, มาตราโบราณ สําหรับวัดความยาว
(= ๔,๐๐๐ ทัณฑะ หรือ ๒ โกรศ หรือ ๑ ใน ๔ ของโยชน์ = ๑๐๐ เส้น).
(ป. คาวุต; ส. คฺวยูต).
【 คาม, คาม- 】แปลว่า: คามะ-, คามมะ- น. บ้าน, หมู่บ้าน. (ป.).
【 คามณี 】แปลว่า: คามะ-, คามมะ- น. ผู้ใหญ่บ้าน, นายบ้าน, หัวหน้า. (ป.).
【 คามโภชก 】แปลว่า: [คามะ-, คามมะ-] น. นายบ้าน, นายตําบล, ผู้ใหญ่บ้าน, กํานัน. (ป.).
【 คามวาสี 】แปลว่า: [คามะ-, คามมะ-] น. ผู้อยู่ในหมู่บ้าน, ใช้สําหรับเรียกคณะสงฆ์
ฝ่ายคันถธุระ, คู่กับ อรัญวาสี คณะสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ. (ป., ส.).
【 คามณีย์ 】แปลว่า: [คามะนี] น. ผู้ฝึกหัดม้าหรือช้าง, หมอช้าง, นายสารถี, เช่น
พลคชคณผาดผ้าย คามณีย์ทาย จําทวยทวน. (สมุทรโฆษ). (ป.).
【 คามภีร์ 】แปลว่า: [คามพี] ว. ลึกซึ้ง. (ส., ป. คมฺภีร).
【 คามี 】แปลว่า: ใช้ประกอบท้ายคําอื่น แปลว่า ผู้ไป, ผู้ถึง, เช่น นิพพานคามี ว่า
ผู้ถึงนิพพาน, วัฏคามี ว่า ผู้ไปในวัฏฏะ. (ป.).
【 คาย ๑ 】แปลว่า: ก. ปล่อยของที่ไม่ต้องการจะกลืนหรือกลืนไม่ได้ออกจากปาก เช่น
คายชานอ้อย; ปล่อยออกมา เช่น คายความร้อน; โดยปริยายใช้
หมายถึงอาการของสิ่งที่ติดแน่นเลื่อนออกจากที่เดิม เช่น เรือคายหมัน
ลูกประสักคายตัว, เปิดเผย, แสดงออก, เช่น คายความลับ.
【 คาย ๒ 】แปลว่า: น. ส่วนที่มีลักษณะเป็นผงหรือขนละเอียดแหลมคมของบางสิ่ง
บางอย่าง เวลากระทบผิวหนังทําให้รู้สึกระคายคัน เช่น คายข้าว
คายอ้อย คายไผ่. ว. อาการที่รู้สึกว่าผงหรือขนเช่นนั้นกระทบตัว
ทําให้รู้สึกระคายคัน.
【 ค่าย 】แปลว่า: น. (โบ) ที่ตั้งกองทหาร มีรั้วล้อมรอบ; ที่ตั้งกองทหาร, ที่พักกองทัพ;
ที่พักแรมชั่วคราวของคนเป็นจํานวนมาก เช่น ค่ายลูกเสือ ค่ายผู้
อพยพ; ฝ่ายที่มีความคิดเห็นแนวเดียวกัน เช่น ค่ายโลกเสรี.
(อะหมว่า ล้อม).
【 ค่ายกักกัน 】แปลว่า: น. สถานที่คุมขังเชลยศึกหรือนักโทษทางการเมือง.
【 ค่ายผนบบ้านหล่อ 】แปลว่า: น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก
มีไม้เสาทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อ
ปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง เช่น ตั้งหัวถนนป่าตองตรงจวนคลัง ๑
ตั้งท้ายถนนป่าตองต่อถ้าช้างปตูไชย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อ ตั้ง
รอบพระราชวังหลวง ๑. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา), จังหล่อ
จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.
【 ค่ายเยาวชน 】แปลว่า: น. สถานที่ซึ่งจัดขึ้นหรือใช้ฝึกอบรมเยาวชนให้รู้จักการดํารงชีวิต
เป็นหมู่คณะโดยให้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ให้รู้จักช่วยตัวเอง ช่วย
หมู่คณะ รู้จักระเบียบวินัย.
【 ค่ายอาสาพัฒนา 】แปลว่า: น. ค่ายเยาวชนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมหรือ
ฝึกฝนให้เยาวชนได้ร่วมมือร่วมใจกันบําเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ
ให้แก่ชุมชน.
【 คายก, คายก- 】แปลว่า: -ยก, คายะกะ- น. ผู้ร้องเพลง, ผู้ขับร้อง. (ป., ส.).
【 คายกคณะ 】แปลว่า: [คายะกะ-] น. หมู่คนผู้ขับร้อง, พวกขับร้อง, ลูกคู่. (ป., ส.).
【 คายัน 】แปลว่า: (แบบ) ก. ร้องเพลง, ขับร้อง, เช่น สยงสังคีตคายัน. (ม. คําหลวง
มหาราช). (ป., ส.).
【 คาร์บอน 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๖ สัญลักษณ์ C เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง
มีหลายอัญรูป เช่น เพชร แกรไฟต์ คาร์บอนเป็นธาตุองค์ประกอบ
ที่สําคัญที่สุดธาตุหนึ่งของสิ่งที่มีชีวิต. (อ. carbon).
【 คาร์บอนไดออกไซด์ 】แปลว่า: น. ชื่อแก๊สชนิดหนึ่ง ไม่มีสี สูตรเคมี CO2 มีปรากฏในบรรยากาศ
เกิดจากการเผาไหม้โดยสมบูรณ์องธาตุคาร์บอนหรือสารอินทรีย์
เป็นแก๊สหนักกว่าอากาศและไม่ช่วยการเผาไหม้ จึงใช้ประโยชน์
ในการดับเพลิง ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มอัดลม เช่น นํ้าโซดา
นํ้าหวาน ใช้ทํานํ้าแข็งแห้ง ซึ่งเป็นตัวทําความเย็น. (อ. carbon
dioxide).
【 คาร์บอนมอนอกไซด์ 】แปลว่า: [-มอน็อก-] น. ชื่อแก๊สชนิดหนึ่ง ไม่มีสี สูตรเคมี CO เป็นแก๊สพิษ
ร้ายแรง จุดไฟติดในอากาศให้เปลวสีนํ้าเงินอ่อน เกิดจากการ
เผาไหม้โดยไม่สมบูรณ์ของธาตุคาร์บอน มีปรากฏในแก๊สจาก
ท่อไอเสียของเครื่องยนต์ ใช้ประโยชน์เป็นแก๊สเชื้อเพลิง ใช้เตรียม
เมทิลแอลกอฮอล์ในอุตสาหกรรม. (อ. carbon monoxide).
【 คาร์บอเนต 】แปลว่า: น. เกลือปรกติของกรดคาร์บอนิก เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต
(CaCO3) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสําคัญของหินปูน หินอ่อน กระดูก
เป็นต้น.(อ. carbonate).
【 คาร์บอลิก 】แปลว่า: น. สารฟีนอล (phenol) มีสูตรเคมี C6H5OH ลักษณะเป็นผลึก
สีขาว มีกลิ่น ละลายนํ้าได้บ้าง มีฤทธิ์กัด เป็นพิษ ใช้ประโยชน์
เป็นยาล้างเชื้อโรค ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติก และสีย้อมผ้า
มักเรียกคลาดเคลื่อนว่า กรดคาร์บอลิก. (อ. carbolic).
【 คาร์บูเรเตอร์ 】แปลว่า: น. อุปกรณ์ประกอบในเครื่องยนต์ชนิดใช้นํ้ามันเผาไหม้ภายใน
ใช้ประโยชน์เพื่อผสมอากาศเข้ากับไอนํ้ามันก่อนที่จะถูกเผาไหม้.
(อ. carburetor).
【 คาร์โบรันดัม 】แปลว่า: น. สารสีดําแข็งมาก ชื่อเคมีว่า ซิลิคอนคาร์ไบด์ มีสูตร SiC ใช้ประโยชน์
ทําหินสำหรับขัด ใช้ผสมกับคอนกรีตเพื่อทําขั้นบันไดตึก ใช้ทําวัสดุทนไฟ.
(อ. carborundum).
【 คาร์โบไฮเดรต 】แปลว่า: [-เดฺรด] น. ชื่อกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอน
ไฮโดรเจน และออกซิเจน ส่วนใหญ่มีสูตรเคมี Cx(H2O)y แบ่งออกเป็น
๒ ประเภทใหญ่ คือ นํ้าตาล และ พอลิแซ็กคาไรด์ เป็นสารอาหารที่สําคัญ
มากประเภทหนึ่ง. (อ. carbohydrate).
【 คารพ 】แปลว่า: [-รบ] น. ความเคารพ, ความนับถือ. (ป. คารว).
【 คารม 】แปลว่า: [-รม] น. ถ้อยคําที่คมคาย, ฝีปาก.
【 คารวะ 】แปลว่า: [คาระ-] น. ความเคารพ, ความนับถือ. ก. แสดงความเคารพ. (ป.).
【 คาราเต้ 】แปลว่า: น. ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่า โดยการใช้อวัยวะต่าง ๆ
เช่น มือ เท้า ศอก ศีรษะ ที่ฝึกจนแข็งแกร่งแล้ว มีแพร่หลายในญี่ปุ่น
และเกาหลี. (ญิ.).
【 คาราวาน 】แปลว่า: น. หมู่คนหรือยานพาหนะเป็นต้นซึ่งเดินทางไกลร่วมกันเป็น
ขบวนยาว. (อ. caravan).
【 คาว 】แปลว่า: น. กลิ่นเหม็นอย่างหนึ่งอย่างกลิ่นปลาสดเนื้อสด; โดยปริยายหมายถึง
ความเสื่อมเสีย ความมัวหมอง มลทิน เช่น ราคีคาว คนนั้นยังมีคาว;
เรียกกับข้าวว่า ของคาว, คู่กับ ขนม ว่า ของหวาน.
【 คาวปลา 】แปลว่า: ว. เรียกของเหลวที่มีลักษณะคล้ายนํ้าเหลืองที่ขับถ่ายจากช่องคลอด
ภายหลังทารกคลอดแล้ว ปรกติมีกลิ่นคาวเล็กน้อยว่า นํ้าคาวปลา.
【 ค่าว 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. กลอนหรือกวีนิพนธ์แบบหนึ่ง มักใช้แต่งรําพันความรัก
หรือแต่งเป็นเรื่อง เช่น ค่าวเรื่องจําปาสี่ต้น หมายถึง คํากลอนเรื่องจําปา
สี่ต้น.
【 ค้าว 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาคางเบือน
ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ ยาวได้ถึง ๑-๑.๕ เมตร
หัวแหลม ปากกว้าง ฟันแหลมคม ครีบหลังตั้งเด่น ตัวยาวเรียวไปทาง
หาง แบนข้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ค้าวขาว (/Wallagonia attu/)
และ ค้าวดํา คูน ทุกอีชุก อีทุก หรือ อีทุบ (/W. miostoma/) ซึ่งมีหนวดยาว
กว่าชนิดแรก ลำตัวและครีบสีดำคล้ำ, ทั้ง ๒ ชนิด เค้า ก็เรียก.
【 คาวตอง 】แปลว่า: [คาว-] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Houttuynia cordata/ Thunb. ในวงศ์
Saururaceae ใบใช้เป็นอาหาร, พลูคาว ก็เรียก.
【 คาวี 】แปลว่า: น. วัว, วัวตัวเมีย, เช่น คชสารโคคาวี. (กฎ. ราชบุรี). (ป.).
【 คาวุต 】แปลว่า: (แบบ) น. มาตราโบราณ สําหรับวัดความยาว (= ๔,๐๐๐ ทัณฑะ
หรือ ๒ โกรศ หรือ ๑ ใน ๔ ของโยชน์ = ๑๐๐ เส้น), คาพยุต ก็ว่า. (ป.).
【 คาส 】แปลว่า: คาด ก. กิน, กัด, เช่น ริ้นร่านห่านยุง ยงงคาสคุงใจ.
(ม. คําหลวง สักบรรพ).
【 ค่าหด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด /Engelhardtia spicata/ Blume
ในวงศ์ Juglandaceae เนื้อไม้ใช้ทําหีบชาหรือก้านไม้ขีดไฟ.
【 คำ ๑ 】แปลว่า: น. ทองคํา เช่น หอคำ เชียงคำ.
【 คำ ๒ 】แปลว่า: น. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์
อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วย
ที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นมีความหมาย
เช่นนั้น เช่น คํานาม คํากริยา คําบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของ
วรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของ
คำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคําหนึ่ง, ลักษณนามบอก
จําพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคําหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรค
ของคํากลอนว่า คําหนึ่ง.
【 คำกร่อน 】แปลว่า: (ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ
โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็น
อักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออก
เสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง
เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม
เป็น คระ โครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ
แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็น
เสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.
【 คำขวัญ 】แปลว่า: น. ถ้อยคําที่แต่งขึ้นเพื่อเตือนใจหรือเพื่อให้เป็นสิริมงคล.
【 คำขอ 】แปลว่า: (กฎ) น. คําซึ่งคู่ความหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาล
มีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง; หนังสือที่ยื่นต่อทางราชการเพื่อขอให้
ทําการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้ยื่น.
【 คำขาด 】แปลว่า: น. คำบอกกล่าวอย่างเด็ดขาดครั้งที่สุดให้ปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยไม่มีการผ่อนผัน เช่น ยื่นคำขาดให้ผู้เช่าออกไปจากบ้านเช่าภายใน
๓ วัน, ข้อเสนอเด็ดขาด, ข้อเสนอที่ยื่นให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามโดย
เด็ดขาด เช่น เขายื่นคำขาดให้เธอปฏิบัติตาม.
【 คำขึ้นต้น 】แปลว่า: น. คำใช้เขียนขึ้นต้นจดหมายถึงผู้รับตามฐานะของผู้รับแต่ละคน เช่น
นมัสการ ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงพระภิกษุ เรียน ใช้เป็นคำขึ้นต้น
จดหมายถึงบุคคลธรรมดา; คำใช้ขึ้นต้นสำหรับร้อยกรองบางประเภท
เช่น บัดนั้น เมื่อนั้น ครานั้น สักวา.
【 คำคม 】แปลว่า: น. ถ้อยคําที่หลักแหลมชวนให้คิด.
【 คำคู่ความ 】แปลว่า: (กฎ) น. บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาล
เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ.
【 คำตั้ง 】แปลว่า: น. คําที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมายในการทําพจนานุกรม; คําที่
เป็นหลักให้คําอื่นที่เติมเข้ามาต่อ จะเติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ
ข้างหลังก็ได้ ในภาษาคําติดต่อ.
【 คำตาย 】แปลว่า: น. คําสระสั้นที่ไม่มีตัวสะกดพวกหนึ่ง และคําในมาตรา กก กด กบ.
【 คำเติม 】แปลว่า: น. คําที่เติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลัง ของคําตั้งในภาษา
คําติดต่อ.
【 คำแถลง 】แปลว่า: -ถะแหฺลง น. คําชี้แจงต่อศาลด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ
เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
【 คำแถลงการณ์ 】แปลว่า: (กฎ) น. คําแถลงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ ซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่ง
กระทําหรือยื่นต่อศาลด้วยมุ่งหมายที่จะเสนอความเห็นต่อศาล
ในข้อความในประเด็นที่ได้ยกขึ้นอ้างในคําคู่ความหรือในปัญหา
ข้อใดที่ศาลจะพึงมีคําสั่งหรือคําพิพากษา ซึ่งในข้อเหล่านี้คู่ความ
ฝ่ายนั้นเพียงแต่แสดง หรือกล่าวทบทวนหรือยืนยันหรืออธิบาย
ข้อความแห่งคำพยานหลักฐานและปัญหาข้อกฎหมายและ
ข้อเท็จจริงทั้งปวง.
【 คำทาย 】แปลว่า: น. ปัญหาที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้ทายว่าได้แก่อะไร มีคําว่า อะไรเอ่ยอยู่
ข้างหน้าเสมอ เช่นอะไรเอ่ย ต้นเท่าครก ใบปกดิน, มักใช้เข้าคู่กับคำ
ปริศนา เป็น ปริศนาคำทาย.
【 คำเทียบ 】แปลว่า: น. แบบสอนอ่านที่แจกตามรูปตามมาตรา ก กา กง กน ฯลฯ เช่น
ก กา กิ กี ฯลฯ ป็นคำเทียบของแม่ ก กา กง กัง กาง กิง ฯลฯ เป็น
คำเทียบของแม่ กง.
【 คำโท 】แปลว่า: (ฉันทลักษณ์) น. คำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์โทกำกับอยู่ไม่ว่า
คำนั้นจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด เป็นคำบังคับในการแต่งโคลง เช่น
ข้า คว้า แล้ว.
【 คำนำ 】แปลว่า: น. คําอธิบายหรือชี้แจงเหตุที่เขียนหรือพิมพ์หนังสือเรื่องนั้นขึ้น.
【 คำนำหน้าชื่อ 】แปลว่า: น. คำที่ใช้นำหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงสถานภาพ ตำแหน่งทาง
วิชาการ ยศ บรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์, คำนำหน้านาม
ก็เรียก.
【 คำนำหน้านาม 】แปลว่า: น. คำที่ใช้นำหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงสถานภาพ ตำแหน่งทาง
วิชาการ ยศ บรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์, คำนำหน้าชื่อ ก็เรียก.
【 คำบอกกล่าว 】แปลว่า: (กฎ) น. ข้อความที่บุคคลฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นหนังสือ หรือแจ้งด้วย
วาจาไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาที่จะใช้สิทธิ สงวนสิทธิ
หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำบอกกล่าวสนองในการ
ทำสัญญา คำบอกกล่าวเลิกสัญญา คำบอกกล่าวว่าจะบังคับ
จำนอง, การส่งตั๋วแลกเงินที่เขาไม่รับรองคืน ก็ถือว่า เป็นการให้
คำบอกกล่าวอย่างหนึ่ง.
【 คำบังคับ 】แปลว่า: (กฎ) น. คําสั่งของศาลซึ่งออกเพื่อสั่งให้คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็น
ฝ่ายแพ้คดีปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง.
【 คำประสม 】แปลว่า: น. คําที่เกิดจากการนําคํามูลที่เกิดอิสระได้ตั้งแต่ ๒ คําขึ้นไปมา
ประสมกันแล้วกลายเป็นคําใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้นมาอีก
คําหนึ่ง เช่น ลูกเสือ ลูกน้ำ แขกยาม เครื่องใน ไฟฟ้า.
【 คำประสาน 】แปลว่า: น. คำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประกอบกัน อาจ
เป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้ ๒ คำมาประกอบกัน เช่น ชดช้อย ครื้นเครง
หรือเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้คำหนึ่งประกอบกับคำที่เกิดอิสระได้
อีกคำหนึ่ง เช่น ชาวไร่ อ่อนช้อย, คำผสาน ก็เรียก.
【 คำผวน 】แปลว่า: น. คำที่พูดทวนกลับได้ เช่น ตกที่อิฐ ผวนเป็น ติดที่อก.
【 คำผสาน 】แปลว่า: /ดู คำประสาน/.
【 คำเผดียงสงฆ์ 】แปลว่า: น. ญัตติ, คำประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน.
【 คำปรารภ 】แปลว่า: น. คํากล่าวแสดงความดําริที่จัดพิมพ์หนังสือนั้น.
【 คำเป็น 】แปลว่า: น. คำสระยาวที่ไม่มีตัวสะกด และคำในมาตรา กง กน กม
เกย เกอว.
【 คำพ้องความ 】แปลว่า: น. คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน
มาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า.
【 คำพ้องรูป 】แปลว่า: น. คำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ)
กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.
【 คำพ้องเสียง 】แปลว่า: น. คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน
เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์, (โบ) ในหนังสือแบบเรียน
ภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำ
พ้องเสียงว่า ไวพจน์.
【 คำพิพากษา 】แปลว่า: (กฎ) น. คําวินิจฉัยชี้ขาดของศาลในประเด็นแห่งคดีที่ฟ้องต่อศาล.
【 คำพิพากษาฎีกา 】แปลว่า: (กฎ) น. คำพิพากษาของศาลฎีกา.
【 คำฟ้อง 】แปลว่า: (กฎ) น. กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะ
เสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะเสนอต่อศาลชั้นต้นหรือชั้น
อุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้องหรือ
คำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไขหรือ
ฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดี ไม่ว่าด้วยสมัครใจหรือถูกบังคับ
หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่.
【 คำฟ้องแย้ง 】แปลว่า: (กฎ) น. คําฟ้องที่จําเลยฟ้องโจทก์มาในคําให้การในเรื่องที่เกี่ยวกับ
คําฟ้องเดิมของโจทก์, ฟ้องแย้ง ก็ว่า เช่น ยกฟ้องแย้ง.
【 คำมั่น 】แปลว่า: (กฎ) น. การแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของผู้ให้คำมั่นที่มีผลผูกพันผู้ให้
คำมั่นเมื่อมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่น อันเป็นความ
ผูกพันก่อนเกิดสัญญาที่มุ่งประสงค์จะทำระหว่างกัน เช่น คำมั่นว่า
จะซื้อหรือขาย คำมั่นไม่จำเป็นต้องมีการเสนอให้มีการตกลงทำสัญญา
เสมอไป อาจมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่นหรือไม่มีผู้แสดง
เจตนารับรู้ก็นับว่าเป็นคำมั่นได้ เช่น คำมั่นว่าจะให้รางวัล.
【 คำมั่นว่าจะให้รางวัล 】แปลว่า: (กฎ) น. คํามั่นที่บุคคลออกโฆษณาว่าจะให้รางวัลแก่ผู้ซึ่งกระทํา
การอันใดสําเร็จดังที่บ่งไว้ในคํามั่น.
【 คำมูล 】แปลว่า: น. คําคําเดียวที่ไม่ได้ประสมกับคําอื่น เช่น ยาม แขก นาฬิกา.
【 คำเมือง 】แปลว่า: น. ภาษาถิ่นของคนในถิ่นพายัพของประเทศไทย.
【 คำร้อง ๑ 】แปลว่า: (กฎ) น. (๑) คําขอที่ยื่นต่อทางราชการ เพื่อให้ทําการอย่างใด
อย่างหนึ่งให้แก่ผู้ร้อง. (๒) คําขอที่คู่ความยื่นต่อศาล เพื่อขอให้
ศาลมีคําสั่งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง, คําร้องขอ ก็ว่า. (อ. request).
【 คำร้อง ๒ 】แปลว่า: น. คำประพันธ์สำหรับขับร้อง, เนื้อร้อง บทเพลง หรือ บทร้อง ก็ว่า.
【 คำร้องขอ 】แปลว่า: (กฎ) /ดู คําร้อง ๑ (๒)/.
【 คำร้องทุกข์ 】แปลว่า: (กฎ) น. คํากล่าวหาที่ผู้เสียหายได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า
มีผู้กระทําความผิด ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย
โดยเจตนาจะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ; เรื่องที่ผู้ร้องทุกข์ซึ่ง
ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ยื่นต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ตามกฎหมายว่าด้วยคณะ
กรรมการกฤษฎีกา.
【 คำสกรรถ 】แปลว่า: /ดู สกรรถ/.
【 คำสร้อย 】แปลว่า: น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง
เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่า
จบตอน เช่น นาเฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ.
【 คำสุภาพ 】แปลว่า: (ฉันทลักษณ์) น. คําที่ไม่ผันด้วยวรรณยุกต์ทั้ง ๔.
【 คำหลวง 】แปลว่า: น. คําประพันธ์ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ มีโคลงฉันท์กาพย์กลอน
ปนกัน คือ มหาชาติคําหลวงและพระนลคําหลวง, คําประพันธ์
ที่แต่งมีลักษณะอย่างมหาชาติคําหลวง คือ นันโทปนันทสูตร
คําหลวง และพระมาลัยคําหลวง.
【 ค่ำ 】แปลว่า: น. เรียกวันตามจันทรคติ เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า, เวลามืดตอนต้น
ของกลางคืน. ว. ที่อยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่เย็นจนถึงเวลามืดตอนต้น
ของกลางคืน เช่น รอบค่ำ. ก. สิ้นแสงเมื่อดวงอาทิตย์ตกดินแล้ว
เช่น จวนจะค่ำแล้ว.
【 ค่ำคืน 】แปลว่า: น. กลางคืน.
【 ค้ำ 】แปลว่า: ก. เอาไม้ง่ามเป็นต้นยันไว้เพื่อไม่ให้ทรุด ไม่ให้ล้มหรือไม่ให้เข้ามา.
【 ค้ำคอ 】แปลว่า: ก. ทําให้อยู่ในฐานะจําใจต้องทําหรืองดเว้น.
【 ค้ำเงิน 】แปลว่า: (กฎ; โบ) ก. คํ้าประกันเงินกู้, พระไอยการลักษณะกู้หนี้เรียกบุคคล
ซึ่งคํ้าประกันเงินกู้ว่า ผู้คํ้าเงิน.
【 ค้ำจุน 】แปลว่า: ก. อุดหนุนให้ดํารงอยู่ได้.
【 ค้ำชู 】แปลว่า: ก. บํารุงให้เจริญขึ้น, พยุงให้สูงขึ้น.
【 ค้ำประกัน 】แปลว่า: (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้คํ้าประกัน
ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชําระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้นั้น.
【 ค้ำฟ้า 】แปลว่า: ว. นานจนไม่มีกําหนด.
【 ค้ำหัว 】แปลว่า: ก. ยืนชิดข้างหลังผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่หรือด้านหัวผู้ใหญ่ที่นอนอยู่ ถือกันว่า
ขาดความเคารพ เรียกว่า ยืนคํ้าหัว.
【 คำดีควาย 】แปลว่า: /ดู กระดูกค่าง/.
【 คำใต้ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด /Acacia farnesiana/ (L.) Willd.
ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง เป็นพุ่ม ต้นมีหนาม, กระถินหอม
ก็เรียก.
【 คำนวณ 】แปลว่า: ก. กะประมาณ, คิดหาผลลัพธ์โดยวิธีเลข.
【 คำนวร 】แปลว่า: -นวน ว. ควร, ถูกต้อง, เหมาะ, พอดี ๆ, ชอบ, เช่น คิดคิ้ว
คํานวรนวย คือธนูอันก่งยง. (สมุทรโฆษ).
【 คำนับ ๑ 】แปลว่า: ก. ทําความเคารพ, ทําความเคารพโดยก้มศีรษะให้. (โบ) น. คําที่
ต้องนับถือ, หลักฐาน, เช่น ธก็ให้โกษาธิบดีลําดับคํานับนี้ไว้.
(ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
【 คำนับ ๒ 】แปลว่า: ก. มิดชิด เช่น บมิให้เห็นรูเห็นช่อง ที่ล่องลับคํานับนิแล้ว.
(ม. คําหลวง ชูชก).
【 คำนัล 】แปลว่า: (กลอน) ก. เฝ้าเจ้านาย. (ข. คํนาล่).
【 คำนึง 】แปลว่า: ก. คิดทบทวน, นึกตรอง, คะนึง ก็ว่า.
【 คำนูณ 】แปลว่า: ก. คูณ, ทบ, ทําให้มากขึ้นตามส่วน.
【 คำโบล 】แปลว่า: (โบ) ก. ลูบ, ลูบคลํา, ลูบไล้. (ดู กําโบล).
【 คำฝอย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Carthamus tinctorius/ L. ในวงศ์ Compositae
ดอกใช้ทํายาได้.
【 คำเพลิง 】แปลว่า: [-เพฺลิง] น. ปืน. (ข. กําเภลิง).
【 คำรน 】แปลว่า: ก. คําราม, กระหึม.
【 คำรบ 】แปลว่า: น. ครั้งที่ เช่น เป็นคํารบ ๓.
【 คำราม 】แปลว่า: ก. ทําเสียงขู่ เช่น เสือคําราม.
【 คำแสด 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด /Bixa orellana/ L. ในวงศ์ Bixaceae เมล็ดใช้ย้อมผ้า,
แสด ก็เรียก. (๒) /ดู แทงทวย./
【 คำแหง 】แปลว่า: [-แหงฺ] ว. กําแหง, แข็งแรง, กล้าแข็ง, เข้มแข็ง.
【 คำโอง ๑ 】แปลว่า: ก. โอ่โถง; อวดอ้าง.
【 คำโอง ๒ 】แปลว่า: น. เนื้อตัวผู้.
【 คิก ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงหัวเราะเบา ๆ.
【 คิง 】แปลว่า: (ถิ่น) น. ร่างกาย เช่น รทวยรแถ้ง คิงคมกล้องแกล้ง. (สุธนู).
【 คิด 】แปลว่า: ก. ทําให้ปรากฏเป็นรูปหรือประกอบให้เป็นรูปหรือเป็นเรื่องขึ้นในใจ;
ใคร่ครวญ, ไตร่ตรอง, เช่น เรื่องนี้ยากยังคิดไม่ออก; คาดคะเน เช่น
คิดว่าเย็นนี้ฝนอาจจะตก; คํานวณ เช่น คิดเลขในใจ; มุ่ง, จงใจ, ตั้งใจ,
เช่น อย่าคิดร้ายเขาเลย; นึก เช่น คิดละอาย.
【 คิดการใหญ่ 】แปลว่า: ก. คิดจะทําการใหญ่เกินตัว.
【 คิดคด 】แปลว่า: ก. คิดทรยศ.
【 คิดค้น 】แปลว่า: ก. ตริตรองเพื่อหาความจริง.
【 คิดตก 】แปลว่า: ก. พิจารณาจนเห็นจริงแล้วปล่อยไปตามสภาพ; คิดสําเร็จ.
【 คิดถึง 】แปลว่า: ก. นึกถึง, นึกถึงด้วยใจผูกพัน.
【 คิดมาก 】แปลว่า: ก. คิดเกินกว่าเหตุ, รู้สึกสะเทือนใจง่าย.
【 คิดลึก 】แปลว่า: ก. คิดไกลเกินกว่าธรรมดา.
【 คิดเล็กคิดน้อย 】แปลว่า: ก. คิดละเอียดถี่ถ้วนเกินไป ไม่ยอมเสียเปรียบใคร.
【 คิดไว 】แปลว่า: ก. คิดแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้รวดเร็ว.
【 คิดสมบัติบ้า 】แปลว่า: ก. คิดมั่งมีอย่างเลื่อนลอย.
【 คิดสั้น 】แปลว่า: ก. คิดทําลายตนเองเพราะหาทางออกไม่ได้.
【 คิดหน้าคิดหลัง 】แปลว่า: ก. คิดอย่างรอบคอบ.
【 คิดเห็น 】แปลว่า: ก. เข้าใจ.
【 คิดอ่าน 】แปลว่า: ก. ตริตรองหาทางแก้ไข.
【 คิมหะ, คิมหานะ 】แปลว่า: คิม- น. ฤดูร้อน. (ป.).
【 คิมหันต์ 】แปลว่า: น. ฤดูร้อน.
【 คิริ, คิรี 】แปลว่า: น. ภูเขา. (ป., ส. คิริ).
【 คิลาน-, คิลานะ 】แปลว่า: [คิลานะ-] น. คนเจ็บ. (ป.).
【 คิลานปัจจัย 】แปลว่า: น. ปัจจัยสําหรับคนไข้, วัตถุเป็นเครื่องอาศัยของผู้เจ็บไข้,
ยารักษาโรค. (ป.).
【 คิลานเภสัช 】แปลว่า: น. ยารักษาโรค. (ป. คิลาน + เภสชฺช).
【 คิว ๑ 】แปลว่า: (ปาก) น. ลูกบาศก์ เช่น นํ้า ๕ คิว, เรียกเต็มว่า คิวบิก เช่น
คิวบิกเมตร คิวบิกฟุต. (อ. cubic).
【 คิว ๒ 】แปลว่า: น. แถวตามลําดับก่อนหลัง เช่น เข้าคิว คิวรถ. (อ. queue).
【 คิ้ว 】แปลว่า: น. ส่วนโค้งขอบกระบอกตาข้างบนซึ่งมีขนขึ้นที่โค้งนั้น; ไม้ที่ช่าง
ลอกเป็นลวดสําหรับประกอบขอบหรือริมประตูหน้าต่างเป็นต้น,
เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คิ้วรถยนต์; เรียก
พายที่ทําเป็นลวดในใบพายว่า พายคิ้ว.
【 คิ้วนาง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Bauhinia winitii/ Craib ในวงศ์ Leguminosae
ฝักแบนกว้างและโค้ง ดอกสีขาว รากใช้กินกับหมากต่างสีเสียด,
อรพิม ก็เรียก.
【 คี่ 】แปลว่า: ว. จํานวนที่หารด้วย ๒ ไม่ลงตัว, เดี่ยว, ตรงข้ามกับ คู่.
【 คีต, คีต-, คีตกะ, คีตะ 】แปลว่า: คีด, คีตะ-, คีตะกะ น. เพลงขับ, การขับร้อง, เช่น แลคีต
สําเนียงบรรสาน. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
【 คีบ 】แปลว่า: ก. เอาปลายสิ่งที่เป็นง่ามเช่นคีมหรือปลายไม้ ๒ อันจับสิ่งอื่นให้อยู่.
【 คีม 】แปลว่า: น. เครื่องมือชนิดหนึ่งมี ๒ ขาคล้ายกรรไตรสําหรับคีบของต่างมือ
ทําด้วยเหล็กเป็นต้น.
【 คีรี 】แปลว่า: น. ภูเขา. (ป., ส. คิริ).
【 คีรีบูน 】แปลว่า: น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Fringillidae มีหลายชนิดและหลายสี
ถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปยุโรป กินเมล็ดพืช เป็นนกเลี้ยงใส่กรงไว้ฟัง
เสียงร้องซึ่งไพเราะ ที่นิยมคือ ชนิดสีเหลือง (/Serinus pusillus/)
และชนิดสีชมพู (/Carpodacus erythrinus/).
【 คึก 】แปลว่า: ว. คะนอง, ลําพอง, ร่าเริง, ฮึก ก็ว่า.
【 คึ่ก, คึ่ก ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เสียงลมพัดคึ่ก ๆ.
【 คึกคัก 】แปลว่า: ว. แข็งแรง, กระปรี้กระเปร่า, มีชีวิตชีวา, เช่น ดูท่าทางคึกคัก;
ลักษณะที่มีผู้คนพลุกพล่านเข้า ๆ ออก ๆ มากกว่าปรกติ เช่น
บ้านนี้มีผู้คนคึกคัก.
【 คึกคาม 】แปลว่า: ก. คึกคะนอง.
【 คืน ๑ 】แปลว่า: น. ระยะเวลาตั้งแต่ยํ่าคํ่าถึงยํ่ารุ่ง, เวลากลางคืน.
คืนยังรุ่ง ว. ตลอดคืน.
【 คืน ๒ 】แปลว่า: ก. กลับเข้าสู่ภาวะหรือฐานะเดิม. ว. กลับดังเดิม เช่น ได้คืน
กลับคืน ส่งคืน.
【 คืนคำ 】แปลว่า: ก. พูดว่าจะให้แล้วไม่ให้.
【 คืนชีพ 】แปลว่า: ก. ตายแล้วกลับฟื้นขึ้นมาอีก.
【 คืนดี 】แปลว่า: ก. โกรธกันแล้วกลับดีกัน.
【 คืนตัว 】แปลว่า: ก. ลักษณะที่สารละลายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ทําให้เป็นของแข็ง
แล้วกลับเป็นของเหลวอีก เช่น นํ้าตาลคืนตัว, ลักษณะที่ของ
แข็งที่ทําให้เป็นของเหลวแล้วกลับเป็นของแข็งอีก เช่น โลหะ
คืนตัว.
【 คืนให้ 】แปลว่า: ก. กลับให้แก่เจ้าของเดิม.
【 คืบ ๑ 】แปลว่า: น. มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ คืบ เท่ากับ ๑๒ นิ้ว, อักษรย่อ
ว่า ค. ก. เขยิบตัวไปข้างหน้าอย่างหนอน, ก้าวหน้า เช่น ข่าว
คืบหน้า ทํางานไม่คืบหน้า.
【 คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล 】แปลว่า: (สํา) ออกทะเลอย่าประมาททะเล เพราะอาจเกิดอันตราย
ได้ทุกเมื่อ.
【 คืบ ๒ 】แปลว่า: น. ว่านชนิดหนึ่ง ใบเหมือนผักอีแปะ ก้านเขียวเล็ก มีเมล็ดที่ปลาย
ใบ เมื่อเมล็ดแก่และหางตกถึงดินแล้ว เมล็ดงอกเป็นต้นขึ้นมา ใน
ตํารากบิลว่านกล่าวว่าใช้เมล็ดห่อผ้าไว้ ตีฟันไม่เข้า. (กบิลว่าน).
【 คือ 】แปลว่า: สัน. เท่ากับ, ได้แก่. ก. เป็น เช่น โลกคือดาวดวงหนึ่ง.
【 คุ 】แปลว่า: ว. ไหม้ระอุอยู่ข้างในอย่างไฟที่ไหม้ขอนไม้ระอุอยู่ข้างใน. (ปาก)
ก. ดุ เช่น ถูกคุ.
【 คุก 】แปลว่า: น. ที่ขังนักโทษ, เรือนจํา.
【 คุกกี้ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลี ไข่ เนย น้ำตาล เป็นต้น
ทําเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วอบให้กรอบ. (อ. cookie).
【 คุกเข่า 】แปลว่า: ก. ย่อเข่าลงให้ติดพื้น.
【 คุกคลาน 】แปลว่า: ก. คลานด้วยกิริยาที่ยอบตัวลงให้เตี้ยโดยใช้เข่าเดิน.
【 คุกคาม 】แปลว่า: ก. แสดงอํานาจด้วยกิริยาหรือวาจาให้หวาดกลัว, ทําให้หวาดกลัว
เช่น ภัยคุกคาม, ในบทกลอนใช้ว่า คุก ก็มี เช่น ไป่ขู่ไป่คุก ไป่รุกรุมตี.
(สมุทรโฆษ).
【 คุกพาทย์ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงปี่พาทย์เพลงหนึ่ง ใช้เป็นหน้าพาทย์ประกอบการรําใน
ท่าที่ดุร้าย.
【 คุคะ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถา ใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
【 คุง 】แปลว่า: (โบ) ว. ยาว, อ้อม, นาน, ตลอดไป, คุ้ง ก็ว่า. (โบ) สัน. ตราบเท่า,
คุ้ง คุ้ม หรือ คุ้มเท้า ก็ว่า.
【 คุ้ง 】แปลว่า: น. ส่วนเว้าโค้งเข้าไปของฝั่งนํ้าด้านที่ตรงกันข้ามกับหัวแหลม.
(โบ) ว. ยาว, อ้อม, นาน, ตลอดไป, คุง ก็ว่า. (โบ) สัน. ตราบเท่า,
คุง คุ้ม หรือ คุ้มเท้า ก็ว่า.
【 คุณ ๑, คุณ- 】แปลว่า: [คุน, คุนนะ-] น. ความดีที่มีประจําอยู่ในสิ่งนั้น ๆ; ความเกื้อกูล
เช่น รู้คุณ. (ป., ส.); คําที่ใช้เรียกนําหน้าบุคคลเพื่อแสดงความ
ยกย่อง เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณสมร; คํานําหน้าชื่อสตรีที่ยัง
ไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่
ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า, คำนำหน้าชื่อ
สตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป; (ไว) คํา
แต่งชื่อ. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคําสุภาพ, เป็นสรรพนาม
บุรุษที่ ๒, (ปาก) คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความสุภาพ, เป็น
สรรพนามบุรุษที่ ๓, เช่น คุณอยู่ไหม ช่วยไปเรียนว่ามีคนมาหา.
【 คุณค่า 】แปลว่า: [คุนค่า, คุนนะค่า] น. สิ่งที่มีประโยชน์หรือมีมูลค่าสูง.
【 คุณชาย 】แปลว่า: (ปาก) น. คําที่ใช้เรียกหม่อมราชวงศ์ที่เป็นชาย.
【 คุณธรรม 】แปลว่า: [คุนนะ-] น. สภาพคุณงามความดี.
【 คุณนาม 】แปลว่า: [คุนนะ-] น. ชื่อที่ตั้งขึ้นโดยถือเอาความดีเป็นหลัก เช่น พระปิยมหาราช;
(ไว; เลิก) คําคุณที่มาใช้เป็นนาม เช่น ความดีความชอบ.
【 คุณนาย 】แปลว่า: น. คํายกย่อง ใช้เรียกภรรยาข้าราชการชั้นสัญญาบัตรที่ยังมิได้เป็น
คุณหญิง, ในปัจจุบันใช้เรียกยกย่องสตรีทั่ว ๆ ไปที่ผู้เรียกนับถือ.
【 คุณบท 】แปลว่า: [คุนนะ-] น. กลบทโบราณชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า “เดชกุศลผล ตนข้า
แปล แก้คัมภีร์ ที่ชาดก, ยกจากอรรถ จัดปัญญาส ชาติโพธิสัตว์
คัดประจง”‘. (ศิริวิบุลกิตติ).
【 คุณประโยชน์ 】แปลว่า: [คุนนะปฺระโหฺยด, คุนปฺระโหฺยด] น. ลักษณะที่เป็นประโยชน์ เช่น
สมุนไพรมีคุณประโยชน์ในการทำยารักษาโรคได้.
【 คุณพิเศษ, คุณวิเศษ 】แปลว่า: [คุนนะ-] น. ความดีแปลกกว่าสามัญ.
【 คุณภาพ 】แปลว่า: [คุนนะ-] น. ลักษณะที่ดีเด่นของบุคคลหรือสิ่งของ.
【 คุณลักษณะ 】แปลว่า: [คุนนะ-] น. เครื่องหมายหรือสิ่งที่ชี้ให้เห็นความดีหรือลักษณะ
ประจํา.
【 คุณวุฒิ 】แปลว่า: [คุนนะวุดทิ, คุนนะวุด] น. ความรู้ความสามารถของบุคคล, ระดับ
การศึกษา, เช่น เขามีคุณวุฒิเหมาะจะเป็นครู.
【 คุณศัพท์ 】แปลว่า: คุนนะ- น. คําคุณ หรือ วิเศษณ์.
【 คุณสมบัติ 】แปลว่า: [คุนนะสมบัด, คุนสมบัด] น. คุณงามความดี, คุณลักษณะประจําตัว
ของบุคคล เช่น คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง.
【 คุณหญิง 】แปลว่า: น. คํานําหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทานเครื่อง
ราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า;
(โบ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นเอกภรรยาของพระยา; (ปาก) คำที่
ใช้เรียกหม่อมราชวงศ์ที่เป็นหญิง.
【 คุณากร 】แปลว่า: [คุนากอน] น. บ่อเกิดแห่งความดี, ที่รวมแห่งความดี. (ป. คุณ +
อากร).
【 คุณูปการ, คุโณปการ 】แปลว่า: [คุนูปะกาน, คุโน-] น. การอุดหนุนทําความดี. (ป. คุณ + อุปการ).
【 คุณ ๒ 】แปลว่า: น. อาถรรพณ์ คือ พิธีทําร้ายต่ออมิตร โดยเสกสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าใน
ตัวหรือฝังรูปฝังรอย เรียกกันว่า กระทําคุณ, ผู้ถูกกระทำ เรียกว่า
ถูกคุณ, คุณไสย ก็ว่า.
【 คุณลุงคุณป้า 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยชนิดหนึ่ง. (บทแผ่นเสียง).
【 คุณากร 】แปลว่า: /ดู คุณ ๑, คุณ-/.
【 คุณูปการ, คุโณปการ 】แปลว่า: /ดู คุณ ๑, คุณ-/.
【 คุด 】แปลว่า: ก. งอกงออยู่ภายในไม่โผล่ออกมาตามปรกติ เช่น หนวดคุด
รากคุด, ขดงอ เช่น คุดขาเข้ามา.
【 คุดคู้ 】แปลว่า: ว. ขดตัวงอแขนงอเข่า เช่น นอนคุดคู้.
【 คุดทะราด 】แปลว่า: น. ชื่อโรคติดต่อชนิดหนึ่ง เป็นแผลเรื้อรัง บางรายแผลนั้นบาน
เหวอะหวะออก มีกลิ่นเหม็น เป็นแม่แผลให้เกิดแผลอื่นจําพวก
เดียวกันพุออกไปอีก.
【 คุดทะราดเหยียบกรวด 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง.
【 คุต 】แปลว่า: คุด ก. รักษา, คุ้มครอง, ปกครอง, มักใช้ประกอบท้ายศัพท์
อื่น เช่น ธรรมคุต. (ป. คุตฺต; ส. คุปฺต).
【 คุตติ 】แปลว่า: คุดติ น. การรักษา, การคุ้มครอง, การปกครอง. (ป. คุตฺติ;
ส. คุปฺติ).
【 คุ่น 】แปลว่า: ดู บึ่ง ๑.
【 คุ้น 】แปลว่า: ก. รู้จักชอบพอกันมานาน เช่น เป็นคนคุ้นกัน, เคยผ่านหูหรือผ่านตา
บ่อย ๆ เช่น คุ้นหน้า คุ้นตา คุ้นหู.
【 คุ้นเคย 】แปลว่า: ก. รู้จักชอบพอสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น พวกเขาทำงานด้วยกัน
มานาน เลยคุ้นเคยกัน, เคยเห็นเคยทําบ่อย ๆ จนชิน เช่น เขาเดิน
ในที่มืดได้เพราะคุ้นเคยกับสถานที่แห่งนี้.
【 คุป, คุปต์ 】แปลว่า: (แบบ) ก. รักษา, คุ้มครอง, ปกครอง. (ส.; ป. คุตฺต).
【 คุปติ 】แปลว่า: คุบติ น. การรักษา, การคุ้มครอง, การปกครอง.
(ส.; ป. คุตฺติ).
【 คุม ๑ 】แปลว่า: ก. คอยกํากับดูแล เช่น คุมงาน คุมพล คุมพวก, ป้องกันรักษา
เช่น คุมของ คุมบ่อน.
【 คุมกำเนิด 】แปลว่า: ก. ควบคุมการเกิด, ป้องกันการตั้งครรภ์.
【 คุมขัง 】แปลว่า: (กฎ) ก. คุมตัว ควบคุม ขัง กักขัง หรือจำคุก.
【 คุมแค้น 】แปลว่า: ก. ผูกใจเจ็บและคิดอยากแก้แค้น, เก็บเอาความแค้นเข้าไว้.
【 คุมเชิง 】แปลว่า: ก. คอยระวังท่วงทีของอีกฝ่ายหนึ่ง.
【 คุมตัว 】แปลว่า: ก. ควบคุมไว้หรือจับกุมไว้ เช่น ตำรวจคุมตัวผู้ร้าย.
【 คุมธาตุ 】แปลว่า: ก. ทําให้ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ในร่างกายเป็นปรกติ
สมํ่าเสมอกัน.
【 คุมนุม 】แปลว่า: (โบ) ก. คุม เช่น อนึ่งวิวาทด่าตีกันแล้วต่างคนต่างมาเรือน ยัง
ผูกใจโกรธคุมนุมโทษไว้วัน. (สามดวง), ยังผูกใจโกรธคุมนุม
โทษไว้วันหนึ่ง. (กฎ. ราชบุรี).
【 คุมเหง 】แปลว่า: (ปาก) ก. ข่มเหง, รังแก, ใช้กำลังหรืออำนาจทำให้เดือดร้อน,
กุมเหง ก็ว่า.
【 คุม ๒ 】แปลว่า: ก. รวมสิ่งที่กระจายอยู่ให้เข้าชุดเข้าพวกเป็นระเบียบเดียวกัน
เช่น คุมยา คุมเรือน.
【 คุ่ม ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Turnicidae และ Phasianidae
ตัวกลม หางสั้น หากินตามพื้นดิน บินได้ในระยะทางสั้น ๆ วงศ์แรก
ตีนมี ๓ นิ้ว ตัวผู้กกไข่ มี ๓ ชนิด คือ คุ่มอืดเล็ก (/Turnix sylvatica/)
คุ่มอืดใหญ่ (/T. tanki/) และคุ่มอกลาย (/T. suscitator/) วงศ์หลังตีนมี
๔ นิ้ว มี ๓ ชนิด คือ คุ่มสี (/Coturnix chinensis/) คุ่มอกดํา
(/C. coromandelica/) และคุ่มญี่ปุ่น (/C. japonica/).
【 คุ่ม ๒ 】แปลว่า: ว. ค่อมน้อย ๆ เช่น หลังคุ่ม, โค้งเข้า, โค้งลง.
【 คุ้ม ๑ 】แปลว่า: ก. กัน, ป้องกัน, เช่น คุ้มฝน; พอ, สม, พอสมควรกัน, เช่น คุ้มค่า
คุ้มเหนื่อย; พอเท่ากัน เช่น คุ้มทุน. ว. มากพอสมควรกัน เช่น
กินเสียคุ้ม.
【 คุ้มกัน 】แปลว่า: ก. คอยป้องกันให้ปลอดภัย, คุ้มครองให้พ้นจากบางสิ่งบางอย่าง
เช่น คุ้มกันโรค คุ้มกันไม่ให้ถูกฟ้องร้อง.
【 คุ้มเกรง 】แปลว่า: ก. ปกป้องไว้ให้คนอื่นเกรงกลัว.
【 คุ้มครอง 】แปลว่า: ก. ป้องกันรักษา, ระวังรักษา, ปกป้องรักษา.
【 คุ้มโทษ 】แปลว่า: (โบ) ก. ได้รับความคุ้มกันที่จะไม่ต้องถูกลงโทษ เช่น อหนึ่ง
ผู้ตามโจรได้รบพุ่งฟันแทงมีบาดเจบท่านว่าคุ้มโทษ. (สามดวง).
【 คุ้มห้าม 】แปลว่า: ก. ยกเว้นจากความต้องห้ามและภาษีอากรโดยมีหนังสือเป็น
ตราภูมิ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ตราภูมิ เป็น ตราภูมิคุ้มห้าม.
【 คุ้ม ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. บ้านเจ้านายฝ่ายเหนือ.
【 คุ้ม ๓, คุ้มเท้า 】แปลว่า: สัน. ตราบเท่า เช่น แต่น้อยคุ้มใหญ่, คุง หรือ คุ้ง ก็ว่า.
【 คุ้มดีคุ้มร้าย 】แปลว่า: ว. มีสติไม่ปรกติ, บางคราวดีบางคราวร้าย, ดีบ้างร้ายบ้าง.
【 คุมฝอย 】แปลว่า: น. มูลฝอย, กุมฝอย ก็ว่า.
【 คุย ๑ 】แปลว่า: ก. พูดจาสนทนากัน; (ปาก) ปรึกษาหารือ เช่น เรื่องนี้ขอคุยกัน
ก่อนที่จะตัดสินใจ; พูดเป็นเชิงโอ้อวด เช่น เรื่องแค่นี้ทำเป็นคุย.
【 คุยเขื่อง, คุยโต 】แปลว่า: (ปาก) ก. พูดจาแสดงความใหญ่โต.
【 คุย ๒ 】แปลว่า: คุย ๒ น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Willughbeia วงศ์ Apocynaceae
เช่น /W. dulcis/ Ridl. ใช้ย้อมผ้าให้มีสีแดงและใช้ทํายาได้.
【 คุยช้าง 】แปลว่า: /ดู กะตังกะติ้ว ๒/.
【 คุ้ย 】แปลว่า: ก. ใช้มือ เท้า หรือสิ่งอื่นตะกุยขึ้นมา.
【 คุ้ยเขี่ย 】แปลว่า: ก. ค้นเอาเรื่องเก่าขึ้นมาเปิดเผย เช่น เรื่องนี้อย่าไปคุ้ยเขี่ย
ขึ้นมาเลย, ขุด หรือ ขุดคุ้ย ก็ว่า.
【 คุยห- 】แปลว่า: คุยหะ- ว. ลับ, ซ่อนเร้น. (ป. คุยฺห; ส. คุหฺย).
【 คุยหฐาน, คุยหประเทศ 】แปลว่า: (ราชา) น. อวัยวะที่ลับ ใช้ว่า พระคุยหฐาน. (ป. คุยฺห + ?าน;
ป. คุยฺห + ส. ปฺรเทศ).
【 คุยหรหัสย์ 】แปลว่า: [คุยหะระหัด] น. ความลับที่ควรปิดบัง. (ป. คุยฺห + ส. รหสฺย).
【 คุรุ 】แปลว่า: น. ผู้สั่งสอน, ครู. (ป., ส.).
【 คุรุกรรม 】แปลว่า: น. กิจหรือหน้าที่แห่งครู.
【 คุรุวาร 】แปลว่า: น. วันครู คือ วันพฤหัสบดี, ชีววาร หรือ พฤหัสปติวาร ก็ว่า.
【 คุรุศึกษา 】แปลว่า: น. การเล่าเรียนวิชาครู.
【 คุลา 】แปลว่า: น. ชนชาติต้องสู้และไทยใหญ่, กุลา หรือ กุหล่า ก็ว่า.
【 คุลาซ่อนลูก 】แปลว่า: น. ชื่อกลอักษรชนิดหนึ่ง.
【 คุลิก่า 】แปลว่า: น. เม็ดกรวดที่อยู่ในกระเพาะสัตว์บดเอื้อง เมื่อนานเข้าก็มีเมือก
ผู้ชายกับผู้หญิงเข้าคู่กัน.
【 คู่ผัวตัวเมีย 】แปลว่า: น. ผัวเมียที่อยู่กันแบบผัวเดียวเมียเดียว.
【 คู่พระคู่นาง 】แปลว่า: น. ผู้แสดงเป็นตัวพระเอกและนางเอกในละคร ลิเก เป็นต้น.
【 คู่พิพาท 】แปลว่า: (กฎ) น. บุคคล ๒ ฝ่ายซึ่งมีกรณีโต้แย้งกัน.
【 คู่ฟ้าคู่ดิน 】แปลว่า: ว. ยั่งยืนอยู่ชั่วฟ้าดินสลาย, ชั่วนิรันดร.
【 คู่ม้า 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อัศวินี มี ๗ ดวง, ดาวคอม้า ดาวม้า
ดาวอัศวยุช หรือ ดาวอัสสนี ก็เรียก.
【 คู่มิตร 】แปลว่า: (โหร) น. ผู้ที่มีชะตาถูกกัน เป็นมิตรกัน, ผู้ที่รักใคร่กัน ไม่เป็น
ภัยแก่กัน ตรงข้ามกับ คู่ศัตรู.
【 คู่มือ 】แปลว่า: ว. ใช้ประโยชน์ได้เหมาะใจ, สําหรับประจําตัว, เช่น อาวุธคู่มือ.
น. สมุดหรือหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ต้องการ
รู้เพื่อใช้ประกอบตํารา เพื่ออํานวยความสะดวกเกี่ยวกับการศึกษา
หรือการปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเพื่อแนะนำวิธีใช้อุปกรณ์อย่างใด
อย่างหนึ่ง.
【 คู่รัก 】แปลว่า: น. หญิงชายที่ผูกสมัครรักใคร่กัน, คนรัก.
【 คู่รักคู่แค้น 】แปลว่า: น. ผู้ที่เป็นคู่ต่อสู้ขับเคี่ยวกันมาโดยต่างผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ.
【 คู่เรียงเคียงหมอน 】แปลว่า: น. ผัวเมียที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน, ชายหญิงที่อยู่กินร่วมกัน
ฉันผัวเมีย, คู่เคียงเรียงหมอน ก็ว่า.
【 คู่ลำดับ 】แปลว่า: (คณิต) น. สิ่ง ๒ สิ่งที่จัดเข้าวงเล็บให้อยู่คู่กัน ซึ่งคํานึงถึงการเรียง
ลําดับก่อนหลังเป็นหลักสําคัญ โดยถือว่า (a, b) ต่างกับ (b, a).
【 คู่เวรคู่กรรม 】แปลว่า: น. สามีภรรยาที่ต้องทนอยู่ร่วมกันด้วยความทุกข์ความเดือดร้อน
โดยเชื่อกันว่าเป็นเพราะเวรกรรมที่เขาได้เคยกระทำร่วมกันมา
แต่ชาติก่อน.
【 คู่ศัตรู 】แปลว่า: (โหร) น. ผู้ที่มีชะตาไม่ถูกกัน เป็นศัตรูกัน, ผู้ที่เป็นภัยแก่กัน,
ตรงข้ามกับ คู่มิตร.
【 คู่สร้าง, คู่สร้างคู่สม 】แปลว่า: น. ชายหญิงที่ถือกันว่าเคยอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยากันมาแต่ชาติ
ก่อน, ชายหญิงที่สมเป็นคู่ครองกัน, เนื้อคู่ ก็ว่า.
【 คู่สวด 】แปลว่า: น. พระ ๒ รูปที่ทําหน้าที่สวดญัตติในการอุปสมบทหรือการกราน
กฐินเป็นต้น.
【 คู่สัญญา 】แปลว่า: (กฎ) น. บุคคล ๒ ฝ่ายหรือหลายฝ่ายซึ่งมีความผูกพันตามสัญญา.
【 คู่สายโทรศัพท์ 】แปลว่า: น. สายที่ใช้ประกอบการสื่อสารทางโทรศัพท์ ๒ เส้น ต่อจาก
ห้องเครื่องชุมสายโทรศัพท์ไปยังบ้านผู้ใช้โทรศัพท์, คู่สาย ก็ว่า.
【 คู่หมั้น 】แปลว่า: น. ชายหญิงที่ได้หมั้นกันแล้ว; (กฎ) ชายและหญิงซึ่งเป็นคู่สัญญาหมั้น.
【 คู่หู 】แปลว่า: ว. ที่พูดถูกใจกัน, ที่ถูกคอกัน. น. เพื่อนที่ถูกคอถูกใจกัน.
【 คู่แห่ 】แปลว่า: น. คนแห่เดินในริ้วกระบวน ๒ ข้าง.
【 คู่อริ 】แปลว่า: น. ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นศัตรูกัน.
【 คู่อาฆาต 】แปลว่า: น. ผู้ที่มีเรื่องบาดหมางกันรุนแรงและผูกพยาบาทต่อกัน.
【 คู่อาศัย 】แปลว่า: น. คู่ผัวเมียที่ไม่ใช่คู่สร้างกัน จะอยู่ด้วยกันชั่วคราวแล้วเลิกร้าง
กันไป.
【 คู้ 】แปลว่า: ก. ตรงกันข้ามกับ เหยียด, งอเข้า เช่น คู้เข่า.คู้บัลลังก์
ก. ขัดสมาธิ.
【 คูณ 】แปลว่า: ก. เพิ่มจํานวนเท่าตัวตามหน่วยที่ต้องการ, เท่า เช่น ทวีคูณ
คือ ๒ เท่า ตรีคูณ คือ ๓ เท่า. น. เรียกเครื่องหมายดังนี้ x ว่า
เครื่องหมายคูณ. (ป., ส. คุณ).
【 คูณร่วมน้อย 】แปลว่า: /ดู ตัวคูณร่วมน้อย/.
【 คูถ 】แปลว่า: น. ขี้. (ป., ส.).
【 คูน ๑ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Colocasia gigantea/ Hook.f. ในวงศ์
Araceae คล้ายบอน ก้านใบและแผ่นใบสีเขียวอ่อน มีนวล
ก้านใบทําให้สุกกินได้, ปักษ์ใต้เรียก อ้อดิบ. (๒) /ดู ราชพฤกษ์./
【 คูน ๒ 】แปลว่า: /ดู ค้าว/.
【 คูปอง 】แปลว่า: น. บัตรหรือตั๋วชนิดหนึ่งที่ใช้แลกของ ซื้อของ หรือใช้บริการขึ้น
ดอกเบี้ย หรือปันส่วนเครื่องอุปโภคบริโภคในเมื่อมีการควบคุม.
(ฝ. coupon).
【 คูเรียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๙๖ สัญลักษณ์ Cm เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่
นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. curium).
【 คูหา 】แปลว่า: น. ถํ้า; สิ่งก่อสร้างเป็นห้อง ๆ อย่างตึกแถว แต่ละห้องเรียกว่า คูหา,
ลักษณนามเรียกสิ่งก่อสร้างเช่นนั้น เช่น ตึกแถวนี้มี ๑๐ คูหา; โดย
อนุโลมใช้เรียกช่องที่กั้นไว้เป็นสัดส่วนสำหรับใช้ประโยชน์อย่างใด
อย่างหนึ่ง เช่น คูหาลงคะแนนในที่เลือกตั้งสำหรับใช้ในการกาบัตร
ออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง.
【 เค้ก 】แปลว่า: น. ขนมฝรั่งชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งสาลีผสมไข่ เนย นํ้าตาล เป็นต้น
แล้วผิงหรืออบให้สุก. (อ. cake).
【 เค้เก้ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ไม่เป็นท่า (ใช้แก่อาการหกล้มหรือนอนเป็นต้น) เช่น
หกล้มเค้เก้ นอนเค้เก้.
【 เค้ง 】แปลว่า: (ปาก) ก. เป็นคําบอกเด็กให้นอน เช่น เค้งเสีย, เคล้ง ก็ว่า.
【 เคจฉะ 】แปลว่า: เคดฉะ ก. ไป, ถึง, เช่น ผู้ข้าคุงควรเคจฉเล็ดลอดลุเขาคด.
(ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. คจฺฉ).
【 เคณฑะ 】แปลว่า: [เคนทะ] น. ลูกข่าง, ใช้ในคําว่า พระราชพิธีเคณฑะ คือ พระราชพิธี
ทิ้งข่าง. (สิบสองเดือน). (ป. เคณฺฑ).
【 เคด, เค็ด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Catunaregum tomentosa/ (Blume ex DC.) Tirveng.
ในวงศ์ Rubiaceae ลำต้นมีหนามยาว ใบรูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม
ตามยอดอ่อน ด้านล่างของใบและดอกมีขนนุ่ม ผลมีเนื้อหลายเมล็ด
เช่น ปรูปรางเคดดวงดาษก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน).
【 เคน ๑ 】แปลว่า: (โบ) น. เครื่องเป่า เช่น ปยวปี่แก้วเคนผสาร. (ม. คําหลวง มหาราช).
【 เคน ๒ 】แปลว่า: (โบ) ก. ประเคน เช่น สิ่งสินเวนเคน. (ม. คําหลวง มหาราช).
【 เคน ๓ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) ก. เคล็ด, ยอก, เช่น หลังเคน. (อะหม เคน ว่า เผอิญ
เกิดเหตุถึงฟกชํ้าดําเขียว).
【 เค้น 】แปลว่า: ก. บีบเน้นลงไปโดยแรง เช่น เค้นผลไม้ให้น่วม เค้นฝีให้หนองออก
เค้นคอให้ยอมหรือให้ตาย, โดยปริยายหมายถึงบีบบังคับหรือฝืน
ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เค้นเอาความลับออกมา เค้นหัวเราะ.
【 เคเบิล 】แปลว่า: น. เส้นลวดโลหะขนาดใหญ่ แข็งและเหนียว ใช้ผูกยึดของขนาดใหญ่
เช่นเรือ สะพานแขวน; ตัวนําไฟฟ้าหลายเส้นที่นํามาประกอบกันเป็น
สายใหญ่ ภายนอกอาจหุ้มด้วยฉนวนก็ได้ เช่น สายเคเบิลโทรศัพท์
สายเคเบิลไฟฟ้าแรงสูง. (อ. cable).
【 เค็ม 】แปลว่า: ว. มีรสอย่างรสเกลือ; โดยปริยายหมายความว่า พยายามให้ได้
ประโยชน์มากกว่า.
【 เคมี 】แปลว่า: น. วิทยาศาสตร์กายภาพแขนงหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวและสมบัติ
ของสารต่าง ๆ ว่าประกอบกันขึ้นเป็นสารนั้น ๆ ได้อย่างไร และเมื่อ
สารนั้น ๆ แปรเปลี่ยนไปเป็นสารอื่นได้ปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงนั้น ๆ เป็นอย่างไร ทั้งกล่าวถึงการที่จะสังเคราะห์สาร
นั้น ๆ ขึ้นได้อย่างไรด้วย แบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ อีกหลายสาขา
เช่น เคมีอินทรีย์ เคมีอนินทรีย์ ชีวเคมี เคมีกายภาพ เคมีวิเคราะห์.
(อ. chemistry).
【 เคมีภัณฑ์ 】แปลว่า: น. สารบริสุทธิ์ที่เตรียมได้โดยกรรมวิธีเคมีหรือที่ใช้ในกรรมวิธีเคมี.
【 เคมีอนินทรีย์ 】แปลว่า: [-อะนินซี] น. วิชาเคมีแขนงที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับธาตุทั้งสิ้น
และสารประกอบของธาตุเหล่านั้น ยกเว้นธาตุคาร์บอนซึ่งศึกษา
แต่เพียงตัวธาตุคาร์บอน สารประกอบออกไซด์ สารประกอบซัลไฟด์
และโลหะคาร์บอเนตเท่านั้น. (อ. inorganic chemistry).
【 เคมีอินทรีย์ 】แปลว่า: น. วิชาเคมีแขนงที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับสารประกอบทั้งสิ้น
ของธาตุคาร์บอน ยกเว้นเรื่องสารประกอบออกไซด์ สารประกอบ
ซัลไฟด์ และโลหะคาร์บอเนต. (อ. organic chemistry).
【 เคย ๑, เคอย 】แปลว่า: [เคย] น. ชื่อสัตว์ทะเลหลายชนิดหลายสกุล มี ๒ วงศ์ ได้แก่ วงศ์
Mysidae เช่น เคยตาดํา (/Mesopodopsis orientalis/) ในอันดับ
Mysidacea และวงศ์ Sergestidae เช่น เคยตาแดง (/Acetes/
/erythraeus/) ในอันดับ Decapoda ของชั้น Crustacea รูปร่าง
คล้ายกุ้งแต่ตัวเล็กมาก ขนาดยาวไม่เกิน ๓.๔ เซนติเมตร มีหนวด
๒ แฉก ลําตัวใสหรือขุ่น ทุกชนิดเนื้อยุ่ย เหมาะสําหรับใช้หมักเกลือ
ทํากะปิและนํ้าเคย.
【 เคย ๒ 】แปลว่า: ใช้เป็นคําประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากริยานั้น ๆ ได้เป็นมาแล้ว เช่น
เคยทํา = ได้ทํามาแล้ว เคยเห็น = ได้เห็นมาแล้ว, บางทีใช้พูดละกริยา
ที่ประกอบเสีย เหลือแต่ว่า เคย ก็มี เช่น เคยไปหรือไม่เคย ไม่เคยเลย.
ก. ชิน, คุ้น, เช่น เคยสนาม เคยเวที.
【 เคยตัว 】แปลว่า: ก. ติดเป็นนิสัยประจําตัว.
【 เคยปาก 】แปลว่า: ก. พูดอย่างนั้นเสมอ ๆ, พูดจนเป็นนิสัย.
【 เคยมือ 】แปลว่า: ก. ทําอย่างนั้นเสมอ ๆ, ทําจนเป็นนิสัย.
【 เครง, เครงครา 】แปลว่า: [เคฺรง, -คฺรา] ว. อึกทึก, กึกก้อง, เช่น หนึ่งกล้วยออกเครือเครงครา
กลางลํามายา. (อภิไธยโพธิบาทว์).
【 เครงครื้น 】แปลว่า: ว. เสียงดังครึกครื้น, ครื้นเครง ก็ว่า.
【 เครงเครียว 】แปลว่า: (กลอน) ว. ครื้นเครง, เกรียวกราว, เช่น หฤทัยเครงเครียว.
(จารึกวัดโพธิ์).
【 เคร่ง 】แปลว่า: [เคฺร่ง] ก. ถือปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ เช่น พระเคร่งวินัย.
【 เคร่งขรึม 】แปลว่า: ว. ไม่เบิกบาน, ไม่เล่นหัว, เอาจริงเอาจัง.
【 เคร่งครัด 】แปลว่า: [-คฺรัด] ก. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น อย่าเคร่งครัดนักเลย; (กลอน)
แน่น, ตึง, เช่น สองเต้าตูมเต่งเคร่งครัด ดอกไม้ทัดทั้งห่อผ้าห่ม
หวง. (ขุนช้างขุนแผน), ครัดเคร่ง ก็ว่า. ว. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น
รักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด; ถูกต้องครบถ้วน เช่น ปฏิบัติ
ตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด ข้อยกเว้นต้องตีความอย่างเคร่งครัด;
ใช้ว่า ครัดเคร่ง ก็มี.
【 เคร่งเครียด 】แปลว่า: ก. เคร่งมากไม่หย่อนคลาย, อาการที่สมองไม่ได้พักผ่อนเพราะ
คร่ำเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป.
【 เครงครำ, เครงคร่ำ 】แปลว่า: [เคฺรงคฺรํา, -คฺรํ่า] ก. ร้องไห้.
【 เครดิต 】แปลว่า: [เคฺร-] น. ชื่อเสียงหรือความเชื่อถือในตัวบุคคลหรือในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง,
ความเชื่อถือในฐานะทางการเงินของบุคคลหรือสถาบัน; รายการ
เจ้าหนี้ตามบัญชี, เงินที่เข้าบัญชีเป็นรายรับ; ตัวเลขแสดงสิทธิที่นิสิต
นักศึกษาจะพึงได้รับเมื่อศึกษาตรงตามกําหนดและสอบวิชานั้น ๆ ได้,
หน่วยกิต ก็เรียก. (อ. credit).
【 เครดิตฟองซิเอร์ 】แปลว่า: (กฎ) น. กิจการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจํานองอสังหาริมทรัพย์เป็น
ทางค้าปรกติ หรือกิจการรับซื้อฝากหรือกิจการอื่นเกี่ยวกับ
อสังหาริมทรัพย์ตามที่กฎหมายกําหนด.
【 เครน 】แปลว่า: [เคฺรน] ว. ครืน เช่น กลัวว่าจะครํ่าเครนครืนโครมลง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 เครา 】แปลว่า: [เคฺรา] น. ขนที่ขึ้นตามแก้มหรือขากรรไตร, ราชาศัพท์ ว่า พระทาฐิกะ.
(ทมิฬ เค-รา).
【 เคราแพะ 】แปลว่า: น. เคราใต้คางที่ไว้ยาวเรียวแหลมคล้ายขนใต้คางของแพะ, เรียก
คางที่ไว้เคราเช่นนั้นว่า คางแพะ.
【 เคร่า 】แปลว่า: เคฺร่า ก. รอ, คอย, เช่น จงนุชรีบเรียบข้อนเคร่าถ้าจีนคอย.
(นิ. นรินทร์).
【 เคราหณี 】แปลว่า: เคฺราหะนี น. ครรภ์ เช่น สํสุทธเคราหณี ว่า มีครรภ์เป็นที่
ปฏิสนธิอันหมดจดดี. (ป. คหณี; ส. คฺรหณี).
【 เคราะห์ ๑ 】แปลว่า: เคฺราะ น. เรียกดาวเฉพาะ ๙ ดวง เรียงตามลำดับมหาทักษา
คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ ซึ่งถือกันว่า
มีเทวดาประจําแต่ละดวง ว่า ดาวพระเคราะห์, เรียกดาวพระเคราะห์ทั้ง
๙ ดวงอย่างรวม ๆ ว่า ดาวนพเคราะห์ ถือว่าเป็นดาวที่ยึดโชคของคน;
สิ่งที่นําผลมาให้โดยไม่ได้คาดหมาย เช่น เคราะห์ดี เคราะห์ร้าย, มัก
นิยมใช้ในทางไม่ดี เช่น มีเคราะห์ ฟาดเคราะห์. (ป. คห; ส. คฺรห ว่า ยึด).
【 เคราะห์หามยามร้าย 】แปลว่า: น. เคราะห์ร้าย.
【 เคราะห์ ๒ 】แปลว่า: เคฺราะ น. เรียกดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องได้รับ
แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ และเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ ว่า
ดาวเคราะห์ มี ๙ ดวง เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ออกไป คือ
พุธ (Mercury) ศุกร์ (Venus) โลก (Earth) อังคาร (Mars) พฤหัสบดี
(Jupiter) เสาร์ (Saturn) มฤตยู (Uranus) สมุทร (Neptune) ยม (Pluto).
【 เครียด 】แปลว่า: [เคฺรียด] ว. จัด เช่น ตึงเครียด, อาการที่สมองไม่ได้ผ่อนคลายเพราะ
ครํ่าเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป เช่น หน้าเครียด อารมณ์เครียด.
【 เครียว 】แปลว่า: เคฺรียว ก. รีบไป, รีบมา, โบราณเขียนเป็น ครยว ก็มี เช่น
บควรคิดอยู่ย้งง ควรครยว. (ยวนพ่าย), เคียว หรือ เขียว ก็ใช้.
【 เครือ ๑ 】แปลว่า: [เคฺรือ] น. เถาไม้, เรียกพรรณไม้ที่เป็นเถาว่า เครือ เช่น มะกลํ่าเครือ
มะแว้งเครือ ขมิ้นเครือ; เชื้อสาย, วงศ์วาน, เช่น เครือญาติ; เรียกงวง
ที่มีหวีกล้วยติดอยู่ว่า เครือกล้วย; เรียกงาช้างที่ยาวมาก แต่วงรอบ
เล็กว่า งาเครือ.
【 เครือเขา 】แปลว่า: น. เถาวัลย์.
【 เครือดิน 】แปลว่า: น. ไม้เถาตามที่กล่าวไว้ในไตรภูมิวินิจฉัยว่ามีสัณฐานประดุจดัง
ผักบุ้งและแพงพวย. (ไตรภูมิวินิจฉัย).
【 เครือเถา 】แปลว่า: น. ชื่อลายไทยชนิดหนึ่ง ประดิษฐ์เป็นเถาไม้เลื้อยสอดสลับ
มีดอกใบและก้าน หรือใช้ตัวกระหนกแทน.
【 เครือแย่ง 】แปลว่า: น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง.
【 เครือวัลย์พันไม้ 】แปลว่า: น. ท่ารําละครชนิดหนึ่ง.
【 เครือ ๒ 】แปลว่า: [เคฺรือ] ว. ลักษณะของเสียงที่สั่นพร่าไม่แจ่มใส เรียกว่า เสียงเครือ.
【 เครือเขาน้ำ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Tetrastigma lanceolarium/ Planch. ในวงศ์ Vitaceae
ขึ้นในป่าดิบ ลําต้นตอนบนแบนเป็นร่อง ตอนล่างค่อนข้างกลม อุ้มนํ้า
นํ้าในลําต้นกินได้.
【 เครือเขามวก 】แปลว่า: ดู มวก.
【 เครื่อง 】แปลว่า: [เคฺรื่อง] น. สิ่ง, สิ่งของ, สิ่งสําหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน
เช่น เครื่องนอน เครื่องปูลาดอาสนะ, สิ่งของสําหรับใช้การต่าง ๆ เช่น
เครื่องรถ เครื่องเรือน เครื่องไฟฟ้า, ของที่เข้าสํารับกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น
เครื่องแป้ง หมายถึงของที่เข้าสํารับกับแป้งเครื่องสําอาง, ของใช้ของกิน
สำหรับเจ้านาย เช่น เครื่องทรง เครื่องเสวย.
【 เครื่องกล 】แปลว่า: น. เครื่องมือที่ประกอบด้วยส่วนที่อยู่กับที่และส่วนที่เคลื่อนที่ได้
สามารถปรับเปลี่ยนและส่งถ่ายพลังงานกลไปยังจุดอื่นในรูปที่
เป็นประโยชน์มากขึ้น เช่น รอก คาน ลิ่ม. (อ. machine).
【 เครื่องกัณฑ์ 】แปลว่า: น. เครื่องไทยธรรมถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, สิ่งของสําหรับ
ถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, กัณฑ์เทศน์ ก็ว่า.
【 เครื่องกิน 】แปลว่า: น. (โบ) เครื่องสำหรับใส่ของกินเช่นเชี่ยนหมาก; ของขบเคี้ยว.
【 เครื่องแกง 】แปลว่า: น. สิ่งที่ใช้ในการปรุงแกง มีพริก กะปิ หอม กระเทียม เป็นต้น.
【 เครื่องเขิน 】แปลว่า: น. เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ซึ่งนำมาเรียดแล้วทำเป็นโครง ฉาบ
ด้วยรักสมุกหรือรักชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจาก
ไทยเขินซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้ จึงเรียกว่า เครื่องเขิน.
【 เครื่องครัว 】แปลว่า: น. เครื่องใช้ในการหุงหาอาหาร.
【 เครื่องควบแน่น 】แปลว่า: น. เครื่องมือที่ใช้สําหรับทําให้ไอแปรสภาพเป็นของเหลวโดยวิธี
ลดอุณหภูมิลง; (ไฟฟ้า) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้สําหรับเก็บประจุ
ไฟฟ้าไว้ได้เป็นปริมาณมากกว่าแผ่นตัวนําธรรมดาที่มีขนาด
เท่ากัน, มักเรียกทับศัพท์ว่า คอนเดนเซอร์. (อ. condenser).
【 เครื่องคาด 】แปลว่า: น. เครื่องรางบางชนิด เช่น ตะกรุด ลูกสะกด ปลัดขิก ใช้ร้อยเชือก
สำหรับคาดเอว.
【 เครื่องคู่ 】แปลว่า: น. ปี่พาทย์เครื่องห้าที่เพิ่มเติมให้เป็นคู่ ๆ คือ ปี่นอกคู่กับปี่ใน ระนาด
ทุ้มคู่กับระนาดเอก ฆ้องวงเล็กคู่กับฆ้องวงใหญ่ เปิงมางสองหน้าคู่
กับโทน ฉาบคู่กับฉิ่ง และกลองคู่หนึ่ง.
【 เครื่องเครา 】แปลว่า: (ปาก) น. เครื่อง, สิ่ง, สิ่งของ.
【 เครื่องเคียง 】แปลว่า: (ราชา) น. ของเคียง, ของกินที่เอามาตั้งเทียบข้างเพื่อกินประกอบ
กับอาหารบางชนิด.
【 เครื่องเงิน 】แปลว่า: น. สิ่งของเครื่องใช้หรือเครื่องประดับที่ทําด้วยเงิน.
【 เครื่องจักร 】แปลว่า: น. กลอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่อง เพื่อใช้ประโยชน์
ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. (อ. machinery).
【 เครื่องช่วงล่าง 】แปลว่า: น. อุปกรณ์ประกอบที่อยู่ใต้พื้นรถยนต์ เช่น สลัก ลูกหมาก คันส่ง
แหนบ ล้อ คานปีกนก, เครื่องล่าง ก็ว่า.
【 เครื่องเซ่น 】แปลว่า: น. ของกินของไหว้ผี.
【 เครื่องดนตรี 】แปลว่า: น. เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง ทําให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์
รัก โศก และรื่นเริงได้ตามทํานองเพลง.
【 เครื่องต้น 】แปลว่า: (ราชา) น. เครื่องทรงสําหรับพระเจ้าแผ่นดินในพระราชพิธี เช่น
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, เรียกเต็มว่า ฉลองพระองค์เครื่องต้น;
ของใช้ของเสวยสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน.
【 เครื่องตั้ง 】แปลว่า: น. เครื่องตั้งโต๊ะบูชา มีแจกัน เชิงเทียน กระถางธูป และพานดอกไม้
เป็นต้น.
【 เครื่องทอง 】แปลว่า: น. สิ่งของเครื่องใช้หรือเครื่องประดับที่ทําด้วยทองคํา.
【 เครื่องทองทิศ 】แปลว่า: น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้บูชาพระรัตนตรัย
ในพระราชพิธีใหญ่ มีเตียงทองตั้งซ้อนกัน ๒ เตียง เชิงเทียนแถวหนึ่ง ๕
เชิง เชิงธูปแถวหนึ่ง ๕ เชิง พานข้าวตอกแถวหนึ่ง ๕ พาน พานดอกไม้
แถวหนึ่ง ๕ พาน เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองทิศ.
【 เครื่องทองน้อย 】แปลว่า: น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้บูชาเฉพาะวัตถุ
เช่นพระบรมอัฐิ มีเชิงเทียน ๑ เชิง เชิงธูป ๑ เชิง กรวยปักดอกไม้ ๓
กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อย.
【 เครื่องทุ่นแรง 】แปลว่า: น. เครื่องมือที่ใช้เพื่อถนอมพลังงานในการทำงาน.
【 เครื่องเทศ 】แปลว่า: น. ของหอมฉุนและเผ็ดร้อนที่ได้มาจากพืช โดยมากมาจากต่างประเทศ
สําหรับใช้ทํายาไทยและปรุงอาหาร เช่น ลูกผักชี ยี่หร่า.
【 เครื่องใน 】แปลว่า: น. อวัยวะภายในของสัตว์บางชนิด เช่น ตับ ไต ไส้ ของวัวและควาย;
ตลับสำหรับใส่เครื่องกินหมากที่อยู่ภายในหีบหมากเครื่องยศของ
ฝ่ายใน.
【 เครื่องบน 】แปลว่า: น. ตัวไม้ที่เป็นส่วนของหลังคา เช่น ขื่อ จันทัน แป กลอน.
【 เครื่องบันทึกเสียง 】แปลว่า: น. เครื่องที่ใช้เปลี่ยนพลังงานเสียงให้เป็นรูปอื่นซึ่งบันทึกเก็บไว้ได้
เช่น บันทึกลงบนแถบแม่เหล็กหรือลงบนร่องจานเสียง.
【 เครื่องบิน 】แปลว่า: น. อากาศยานชนิดหนึ่งซึ่งหนักกว่าอากาศ ลอยตัวอยู่ได้ด้วยการ
ให้พลังงานกลแก่อากาศโดยรอบก่อให้เกิดแรงพยุงขึ้นโต้ตอบกับ
ความโน้มถ่วงของโลกและใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อน.
【 เครื่องบูชา 】แปลว่า: น. สิ่งที่ใช้บูชาของไทย ใช้ของ ๔ อย่างเป็นสําคัญ คือ ข้าวตอก
ดอกไม้ ธูป เทียน.
【 เครื่องแบบ 】แปลว่า: น. เครื่องแต่งกายที่กําหนดให้แต่งเหมือน ๆ กันเฉพาะหมู่หนึ่ง
คณะหนึ่ง.
【 เครื่องประดับ 】แปลว่า: น. เครื่องตกแต่งกายมี สร้อย แหวน นาฬิกา เป็นต้น.
【 เครื่องปรุง 】แปลว่า: น. สิ่งที่ใช้ในการปรุงอาหารเป็นต้น เช่น เนื้อสัตว์ ผัก เครื่องแกง
กะทิ ผลไม้.
【 เครื่องปรุงรส 】แปลว่า: น. สิ่งที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร เช่น น้ำตาล น้ำปลา เกลือ.
【 เครื่องปั้นดินเผา 】แปลว่า: น. เรียกภาชนะที่ปั้นด้วยดินแล้วนําไปเผาไฟว่า เครื่องปั้นดินเผา.
【 เครื่องผูก 】แปลว่า: น. เรียกเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีผูกด้วยหวายเป็นต้น
ว่า เรือนเครื่องผูก, คู่กับ เรือนเครื่องสับ.
【 เครื่องเพชรพลอย 】แปลว่า: น. รัตนชาติที่เจียระไนและนำมาทำเป็นเครื่องประดับแล้ว.
【 เครื่องมั่น 】แปลว่า: น. สัปคับช้างชนิดที่มีศัสตราวุธทั้ง ๒ ข้าง.
【 เครื่องมือ 】แปลว่า: น. สิ่งของสําหรับใช้ในการงาน, โดยปริยายหมายถึงคนหรือสิ่งที่ใช้
ทําประโยชน์อย่างเครื่องมือ เช่น อย่าตกเป็นเครื่องมือของโจรผู้ร้าย,
ส่วนเครื่องมือที่มีคม ราชาศัพท์ว่า พระแสง เช่น พระแสงสิ่ว
พระแสงกบ พระแสงเลื่อย. (ลัทธิ).
【 เครื่องยนต์ 】แปลว่า: น. เครื่องจักรที่ให้กําเนิดพลังงานหรือทําให้วัตถุเคลื่อนที่.
(อ. engine).
【 เครื่องยนต์ไอพ่น 】แปลว่า: น. กังหันไอพ่น. /(ดู กังหันไอพ่น ที่ กังหัน)./
【 เครื่องร่อน 】แปลว่า: น. อากาศยานชนิดหนึ่งซึ่งหนักกว่าอากาศ คล้ายเครื่องบิน แต่
ไม่ใช้เครื่องยนต์ เคลื่อนที่ไปในอากาศโดยอาศัยกระแสลมและ
ความโน้มถ่วงของโลก.
【 เครื่องราง 】แปลว่า: น. ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตะกรุด
ผ้ายันต์ เหล็กไหล.
【 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ 】แปลว่า: น. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบําเหน็จความชอบ
เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้สร้างขึ้นสําหรับ
พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือส่วนพระองค์,
เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึงเครื่องราช-
อิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบ
อันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญ
ที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และ
ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่อง
ราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด.
【 เครื่องร่ำ 】แปลว่า: น. สิ่งที่ใช้อบให้มีกลิ่นหอม เช่น กํายาน.
【 เครื่องเรือน 】แปลว่า: น. เครื่องปรุงเรือนหรือเครื่องไม้ที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เช่น ขื่อ เสา;
เครื่องตกแต่งภายในเรือน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้.
【 เครื่องล่าง 】แปลว่า: น. อุปกรณ์ประกอบที่อยู่ใต้พื้นรถยนต์ เช่น สลัก ลูกหมาก คันส่ง
แหนบ ล้อ คานปีกนก, เครื่องช่วงล่าง ก็ว่า.
【 เครื่องเล่น 】แปลว่า: น. แหล่เทศน์มหาชาตินอกเรื่องเดิม มักมีทํานองตลกขบขันหรือ
เป็นเชิงสั่งสอนเป็นต้น โดยเฉพาะในกัณฑ์ชูชก มหาพน และ
มหาราช.
【 เครื่องว่าง 】แปลว่า: (ราชา) น. ของว่าง, ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกิน
ในเวลาบ่าย.
【 เครื่องสด 】แปลว่า: น. ของสด เช่น หยวก ใบตอง ดอกไม้ และผลไม้บางชนิด ที่ประดิษฐ์
ขึ้นสําหรับตกแต่งเชิงตะกอนที่เผาศพเป็นต้น, ถ้ามุ่งเอาหยวกเป็น
หลักก็เรียกว่า เครื่องหยวก.
【 เครื่องสะดุ้ง 】แปลว่า: (โบ) น. นาคสะดุ้ง.
【 เครื่องสังเค็ด 】แปลว่า: น. ทานวัตถุมีตู้พระธรรม โต๊ะหมู่ เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัดถวายแก่สงฆ์
หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ.
【 เครื่องสับ 】แปลว่า: น. เรียกเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีเข้าปากไม้ว่า
เรือนเครื่องสับ, คู่กับ เรือนเครื่องผูก, เรือนฝากระดาน ก็เรียก.
【 เครื่องสาย 】แปลว่า: น. เครื่องดนตรีชนิดที่มีสาย เช่น จะเข้ ซอ พิณ ไวโอลิน.
【 เครื่องสำอาง 】แปลว่า: น. สิ่งเสริมแต่งหรือบํารุงใบหน้า ผิวพรรณ ผม ฯลฯ ให้ดูงาม เช่น
แป้ง ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้ว, ราชาศัพท์ว่า เครื่องพระสําอาง;
(กฎ) วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ
หรือกระทําด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย เพื่อ
ความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม
และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่าง ๆ ด้วย.
【 เครื่องสุกำศพ 】แปลว่า: น. สิ่งของที่ใช้ในการทําสุกําศพ มีผ้าขาว ด้ายดิบ กระดาษฟาง
นํ้ายาฟอร์มาลิน.
【 เครื่องสูง 】แปลว่า: น. ของสําหรับแสดงอิสริยยศหรือยศ เช่น ฉัตร พัดโบก จามร กลด.
(รูปภาพ เครื่องสูง)
【 เครื่องหมาย 】แปลว่า: น. สิ่งที่ทําขึ้นแสดงความหมายเพื่อจดจําหรือกําหนดรู้ เช่น
เครื่องหมายดอกจัน.
【 เครื่องหมายการค้า 】แปลว่า: (กฎ) น. เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า
เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้า
นั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น.
【 เครื่องหมายคำถาม 】แปลว่า: น. ปรัศนี.
【 เครื่องหมายวรรคตอน 】แปลว่า: น. เครื่องหมายต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบในการเขียนข้อความ เช่น จุลภาค
(,) มหัพภาค (.) ปรัศนี (?).
【 เครื่องหยวก 】แปลว่า: /ดู เครื่องสด/.
【 เครื่องหลัง 】แปลว่า: น. สัมภาระที่ทหารหรือนักเดินทางเป็นต้นนําติดตัวไป โดยผูกรัด
ไว้ข้างหลัง.
【 เครื่องห้า ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้บูชาพระธรรม
เวลาทรงสดับเทศนา มีเชิงเทียน ๒ เชิง กระถางธูป ๑ ใบ กรวยปัก
ดอกไม้ ๕ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี, เรียกเต็มว่า เครื่อง
นมัสการทองน้อยเครื่องห้า.
【 เครื่องห้า ๒ 】แปลว่า: น. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง ตรงกับเบญจดุริยางค์ของอินเดีย
มี ๒ ชนิด คือ ชนิดเบาใช้สําหรับการแสดงละครและหนังในพื้นเมือง
และชนิดหนักใช้สําหรับการแสดงโขน ชนิดเบาประกอบด้วย เครื่องทํา
ลํานํา ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ ๑ ชนิดหนักประกอบด้วย ปี่ ๑ ระนาด ๑
ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) กับ ฉิ่ง ๑.
【 เครื่องเหล็ก 】แปลว่า: น. สิ่งของเครื่องมือที่ทําด้วยเหล็ก.
【 เครื่องใหญ่ 】แปลว่า: น. ปี่พาทย์เครื่องคู่ที่เพิ่มระนาดทองเป็นอุปกรณ์ระนาดเอก และ
ระนาดเหล็กเป็นอุปกรณ์ระนาดทุ้ม.
【 เครื่องอังทราย 】แปลว่า: (วิทยา) น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยถาดบรรจุทราย ใช้สําหรับ
ส่งถ่ายความร้อนให้แก่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยวิธีตั้งสิ่งนั้นบนถาดทราย
แล้วเผาก้นถาดให้ร้อนจัด. (อ. sand bath).
【 เครื่องอังน้ำ 】แปลว่า: (วิทยา) น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยหม้อต้มนํ้าทําด้วยโลหะ
มีฝาเป็นแผ่นวงแหวนขนาดต่างกันหลาย ๆ วงวางซ้อนเหลื่อมกัน
ใช้สําหรับส่งถ่ายความร้อนให้แก่สิ่งใดสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยวิธีตั้งสิ่งนั้น
บนช่องว่างของแผ่นฝา แล้วต้มนํ้าให้ร้อนเพื่อให้ไอนํ้าร้อนส่งถ่าย
ความร้อนให้สิ่งนั้น. (อ. water bath).
【 เครือจักรภพ, เครือรัฐ 】แปลว่า: [-จักกฺระพบ, -รัด] น. กลุ่มประเทศหรือรัฐที่มีการปกครองตนเอง
แต่ยอมรับนับถือประมุขร่วมกัน เช่น ประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ
รัฐต่าง ๆ ในเครือรัฐออสเตรเลีย. (อ. commonwealth).
【 เคล้ง 】แปลว่า: [เคฺล้ง] ก. เค้ง.
【 เคล็ด ๑ 】แปลว่า: [เคฺล็ด] น. วิธีการที่ฉลาด พลิกแพลง ใช้ในการอย่างใดอย่างหนึ่ง;
การกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นวิธีปัดเป่าหรือกันภัย
หรือเหตุร้ายที่จะมีมา เช่น ต้นไม้บางชนิดไม่มีลูก เชื่อกันว่าถ้าเอา
มีดไปสับต้นเป็นเคล็ดแล้วจะมีลูก; อุบาย, เล่ห์, กลเม็ด, เช่น รู้เคล็ด
มีเคล็ด เคล็ดลับ.
【 เคล็ด ๒ 】แปลว่า: [เคฺล็ด] ก. อาการที่กล้ามเนื้อแพลง เช่น ขาเคล็ด คอเคล็ด.
【 เคล้น 】แปลว่า: [เคฺล้น] ก. บีบเน้นไปมา.
【 เคล้า 】แปลว่า: [เคฺล้า] ก. ใช้มือเป็นต้นคนเบา ๆ ให้ทั่ว เช่น เคล้าเครื่องปรุงให้เข้ากัน
ในการทำอาหาร; คลอเคลีย เช่น เคล้าแข้งเคล้าขา, เกลือก เช่น
แมลงภู่เคล้าเกสรดอกไม้.
【 เคล้าคลึง 】แปลว่า: ก. ลูบคลํา, ทั้งเคล้าทั้งคลึง, ลูบคลํากอดรัด.
【 เคล้าเคลีย 】แปลว่า: ก. เคล้าคู่กัน, เคียงเคล้ากัน, คลอเคลีย, เคลียเคล้า ก็ว่า.
【 เคล่าคล่อง 】แปลว่า: เคฺล่าคฺล่อง ก. แคล่วคล่อง เช่น หลบหลีกเคล่าคล่อง
ทํานองยุทธ. (รามเกียรติ์ ร. ๒).
【 เคลิบเคลิ้ม 】แปลว่า: [เคฺลิบเคฺลิ้ม] ก. ลืมตัวไปชั่วขณะหนึ่ง, เผลอสติไปชั่วขณะหนึ่ง.
【 เคลิ้ม 】แปลว่า: [เคฺลิ้ม] ว. เผลอตัว, หลงไป, จวนหลับ, หลับยังไม่สนิท.
【 เคลียคลอ 】แปลว่า: ก. เคล้าคู่กัน, เคียงเคล้ากัน, คลอเคลีย ก็ว่า.
【 เคลียเคล้า 】แปลว่า: ก. เคล้าเคลีย.
【 เคลี้ยคลิง 】แปลว่า: เคฺลี้ยคฺลิง ก. เกลี้ยกล่อม, ปลอบโยน, เช่น เพื่อเคลี้ยคลิงวิงวอน.
(ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 เคลื่อน 】แปลว่า: [เคฺลื่อน] ก. ออกจากที่หรือทําให้ออกจากที่ เช่น เคลื่อนขบวน
รถไฟค่อย ๆ เคลื่อนไป, เลื่อนหรือทําให้เลื่อนไปจากที่ เช่น
กระดูกเคลื่อน เคลื่อนตู้ไป.
【 เคลื่อนคลาด 】แปลว่า: ก. ผิดจากความเป็นจริง, ไม่ตรงตามความเป็นจริง, คลาดเคลื่อน
ก็ว่า.
【 เคลื่อนที่ 】แปลว่า: ว. ไม่อยู่กับที่, ไม่ประจําที่, เช่น ห้องสมุดเคลื่อนที่.
【 เคลื่อนไหว 】แปลว่า: ก. ไม่อยู่นิ่ง, ไม่คงที่, เช่น น้ำในสระเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
เพราะกระแสลม; แสดงกิริยาหรือปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่น พรรคการเมืองเคลื่อนไหว.
【 เคลือบ 】แปลว่า: [เคฺลือบ] ก. ไล้ ทา หรือพอกผิวเดิมด้วยของเหลวบางชนิด แล้วทิ้งไว้
ให้เย็นจนแข็งตัว เช่น เคลือบนํ้าตาล เคลือบยาพิษ, ทาผิวนอกด้วย
นํ้ายาเคมีแล้วใช้ความร้อนอบให้นํ้ายาเกาะแน่น, เรียกสิ่งที่เคลือบ
โดยกรรมวิธีเช่นนั้น ว่า เครื่องเคลือบ; โดยปริยายหมายถึงลักษณะ
ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปากเคลือบนํ้าตาล.
【 เคลือบคลุม 】แปลว่า: ว. ไม่แจ่ม, ไม่กระจ่าง, ไม่ชัด, เช่น ข้อความเคลือบคลุม.
【 เคลือบแคลง 】แปลว่า: ว. สงสัย, แคลงใจ, ระแวง.
【 เคลือบแฝง 】แปลว่า: ว. ไม่กระจ่างทําให้เป็นที่สงสัย.
【 เคลือบฟัน 】แปลว่า: น. ผิวนอกของฟันที่หุ้มเนื้อฟันอยู่.
【 เคว้ง 】แปลว่า: [เคฺว้ง] ว. คว้าง, มักใช้พูดเข้าคู่กันว่า เคว้งคว้าง หรือ คว้างเคว้ง ก็มี.
【 เคว้งคว้าง 】แปลว่า: ว. อาการที่หมุนหรือลอยไปตามกระแสลมกระแสนํ้าเป็นต้น
อย่างไม่มีจุดหมายหรือไม่มีที่ยึดเหนี่ยว, โดยปริยายหมายถึง
ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขาเดินเคว้งคว้างไม่รู้จะไป
ไหนดี, คว้างเคว้ง ก็ว่า.
【 เคห-, เคหะ, เคหา 】แปลว่า: น. เรือน, ที่อยู่. (ป., ส. เคห).
【 เคหศาสตร์, เคหเศรษฐศาสตร์ 】แปลว่า: (โบ) น. คหกรรมศาสตร์.
【 เคหสถาน 】แปลว่า: [เคหะ-] น. บ้านเรือน; (กฎ) ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน
โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และหมายความรวมถึงบริเวณ
ของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม. (ส.).
【 เคอะ 】แปลว่า: ว. มีท่าทีไม่แนบเนียน.
【 เคา 】แปลว่า: (โบ) น. โค เช่น ดั่งว่าพฤติโคเคาเฒ่าชราจร. (ม. ร่ายยาว ชูชก),
มีหนวดเพียงหลังเคา. (ม. คําหลวง กุมาร).
【 เค้า ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งที่เป็นเครื่องกําหนดหมายบอกให้รู้ เช่น ฝนตั้งเค้า; สิ่งที่ส่อ
แสดงให้รู้ได้ว่ามีลักษณะเหมือนสิ่งอื่น เช่น นาย ก มีเค้าหน้า
เหมือนนาย ข; ต้นเงื่อน เช่น ต้นเค้า; รูปหรือรูปความโดยย่อ เช่น
เขียนพอให้เห็นเป็นเค้า; ร่องรอย เช่น พอได้เค้า; เหง้า เช่น โคตร
เค้าเหล่ากอ; ข้า. (อนันตวิภาค); ตัวเงินหรือวัตถุที่ใช้แทนตัวเงิน
เช่นเมล็ดมะขามเป็นต้นที่เป็นทุนซึ่งตั้งไว้สําหรับเล่นในบ่อน
การพนันบางชนิด, เรียกผู้ถือต้นทุนในการพนันว่า ถุงเค้า.
【 เค้าโครง 】แปลว่า: น. โครงเรื่องย่อ ๆ.
เค้าเงื่อน น. ร่องรอยที่นําให้สืบสาวเรื่องราวต่อไปได้.
เค้ามูล น. เหตุเดิม.
【 เค้า ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อนกหลายชนิดในวงศ์ Strigidae ขนนุ่ม หัวใหญ่ ตาโต ตัวลาย
ออกหากินเวลากลางคืน กลางวันหลบพักผ่อนตามต้นไม้ มีหลายชนิด
เช่น เค้าเหยี่ยว (/Ninox scutulata/) เค้าแมว หรือ เค้าโมง (/Glaucidium/
/cuculoides/), ฮูก ก็เรียก.
【 เค้า ๓ 】แปลว่า: ดู ค้าว.
【 เคาน์เตอร์ 】แปลว่า: น. โต๊ะสําหรับรับจ่ายเงินหรือแสดงสินค้าตามร้านค้าหรือสํานักงาน
มักมีลักษณะยาวและสูงกว่าโต๊ะธรรมดา, เครื่องเรือนที่มีลักษณะ
เช่นนั้น. (อ. counter).
【 เคารพ 】แปลว่า: ก. แสดงอาการนับถือ เช่น เคารพผู้ใหญ่ เคารพธงชาติ; ไม่ล่วงเกิน,
ไม่ล่วงละเมิด, เช่น เคารพสิทธิของผู้อื่น. (ส. เคารว; ป. คารว).
【 เค้าสนามหลวง 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ; โบ) น. สํานักผู้ปกครองบ้านเมือง, ที่ว่าราชการเมือง,
คณะผู้ว่าการบ้านเมือง ซึ่งประกอบด้วยเจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้ครองเมือง
ข้าหลวงประจำนครหรือเมืองซึ่งต่อมาเรียกว่า ปลัดมณฑลประจำจังหวัด
และข้าหลวงผู้ช่วย มีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบในกิจการทั่วไปของ
เมือง, เค้าสนาม ก็ว่า.
【 เคาะ 】แปลว่า: ก. ใช้อวัยวะมีมือเป็นต้นกระทบเบา ๆ เช่น เคาะจังหวะ เคาะบุหรี่,
ใช้มือหรือวัตถุงอ ๆ ตีหรือทุบให้เกิดเสียงเป็นต้น เช่น เคาะประตู
เคาะระฆัง เคาะตัวถังรถ; พูดเย้าแหย่. ว. เลียบเคียง เช่น พูดเคาะ.
【 เคาะแคะ 】แปลว่า: ก. พูดพาดพิงเชิงชู้สาว, พูดเชิงเกี้ยวพาราสี, เกาะแกะ ก็ว่า.
【 เคี้ย 】แปลว่า: (ถิ่น; กลอน) ก. อยู่ เช่น อันเดียรดาษด้วยเตี้ยเค้าค่อม เคี้ยคอยทวาร
ทุกแห่งแล. (ม. คําหลวง ทศพร).
【 เคียง 】แปลว่า: ว. ชิดกันโดยเรียงข้าง เช่น เดินเคียง นั่งเคียง, ใกล้กัน เช่น
บ้านใกล้เรือนเคียง.
【 เคียงบ่าเคียงไหล่ 】แปลว่า: ว. มีฐานะเสมอกัน ทัดเทียมกัน หรืออยู่ในระดับเดียวกัน; ร่วมสุข
ร่วมทุกข์หรือร่วมเป็นร่วมตายด้วยกัน เช่น รบเคียงบ่าเคียงไหล่.
【 เคียด 】แปลว่า: ก. เคือง, โกรธ.
【 เคียดแค้น 】แปลว่า: ก. โกรธแค้น, เคืองแค้น.
【 เคียน 】แปลว่า: ก. พัน, คาด, เช่น ผ้าขาวม้าเคียนพุง.
【 เคียม 】แปลว่า: (กลอน) ก. ไหว้, คํานับ, เช่น เคียมคัล, เคี่ยม ก็ว่า; เรียบร้อย, ตรง,
เช่น เคียมค่อยมาดลสํานักจอมจักรนักไทธรรม. (ม. คําหลวง
สักบรรพ). (ถิ่น–อีสาน เขี่ยม ว่า ตรง, เรียบร้อย).
【 เคี่ยม ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Cotylelobium melanoxylon/ (Hook.f.)
Pierre ในวงศ์ Dipterocarpaceae มีมากในป่าดิบทางภาคใต้
ต้นสูงตรง เป็นไม้ที่ทนทาน.
【 เคี่ยมคะนอง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Shorea henryana/ Pierre ในวงศ์
Dipterocarpaceae ลําต้นสูงตรงมาก มีมากตามป่าดิบทาง
ภาคตะวันออกและภาคใต้.
【 เคียร 】แปลว่า: เคียน น. คําพูด เช่น เอื้อนโองการมีสีหนาท เคียรคําถาม.
(สุธน). (ป., ส. คิรา).
【 เคียว ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องมือเกี่ยวข้าวและหญ้าเป็นต้น ทําด้วยเหล็ก รูปโค้ง มีคม.
【 เคียว ๒ 】แปลว่า: ก. รีบไป, รีบมา, เครียว หรือ เขียว ก็ใช้.
【 เคี่ยว 】แปลว่า: ก. ต้มให้เดือดนาน ๆ เพื่อให้งวด ข้น หรือเปื่อยเป็นต้น, โดยปริยาย
หมายความว่า รํ่าไป, ไม่หยุดหย่อน, เช่น อันซึ่งพระรามฤทธิรงค์
มาเคี่ยวฆ่าวงศ์ยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
【 เคี่ยวขัน 】แปลว่า: ก. พยายามต่อสู้หรือแข่งขันด้วยความลําบาก.
【 เคี่ยวขับ 】แปลว่า: ก. เร่งรัด, พยายามให้ถึงที่สุด.
【 เคี่ยวเข็ญ 】แปลว่า: ก. บีบบังคับ, บีบคั้นให้ได้รับความลําบาก เช่น เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำ
กรำไปตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย. (พระราชนิพนธ์ ร. ๖); บังคับ
ให้ทำงานให้มากขึ้น เช่น เคี่ยวเข็ญให้ขยันหมั่นเพียรในการเล่าเรียน.
【 เคี้ยว ๑ 】แปลว่า: ก. บดให้แหลกด้วยฟัน.
【 เคี้ยวฟัน 】แปลว่า: ก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทําอะไรเขาไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคํา
เข่นเขี้ยว เป็น เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน.
【 เคี้ยวเอื้อง 】แปลว่า: ก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสํารอกอาหารออกมาเคี้ยวอีก
ให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า, บดเอื้อง ก็ว่า.
【 เคี้ยว ๒ 】แปลว่า: ว. คด เช่น นํ้าเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม. (โลกนิติ), โดยมากใช้เข้าคู่
กับคํา คด เป็น คดเคี้ยว.
【 เคื้อ ๑ 】แปลว่า: (กลอน) ว. งาม, โดยมากเป็น อะเคื้อ.
【 เคื้อ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น; กลอน; โบ) น. เครือ, เชื้อสาย, เช่น เคื้อคู ว่า เชื้อสายของครู.
(ม. คําหลวง กุมาร).
【 เคือง 】แปลว่า: ก. ไม่พอใจและเริ่มรู้สึกโกรธ; ระคาย เช่น เคืองตา, รำคาญ เช่น
เคืองหู เคืองใจ.
【 เคืองขุ่น 】แปลว่า: ก. โกรธกรุ่น ๆ อยู่ในใจ, ขุ่นเคือง ก็ว่า.
【 แค 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Sesbania grandiflora/ Pers. ในวงศ์ Leguminosae
ดอกมีทั้งสีขาวและสีแดง ยอดอ่อน ดอก และฝักกินได้ เปลือก
ใช้ทํายา, พันธุ์ที่ดอกสีแดงเรียก แคแดง.
【 แคฝรั่ง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Gliricidia sepium/ (Jacq.) Walp. ในวงศ์
Leguminosae แตกกิ่งก้านระเกะระกะ ออกดอกสีขาวหรือสี
ม่วงอ่อนตามกิ่ง.
【 แค่ 】แปลว่า: ว. เพียง, เท่า.
【 แค้ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ชนิด /Bagarius bagarius/ ในวงศ์ Sisoridae
หัวแบนแผ่หนวดแบน ตาเล็ก ลําตัวยาวเรียวลู่จนแคบมากที่คอดหาง
ครีบหางเป็นแฉกยาว ผิวหนังเป็นตุ่มแข็ง มีแต้มสีนํ้าตาลแก่พาดขวาง
เป็นระยะอยู่บนหลัง ครีบต่าง ๆ สีนํ้าตาล พบอาศัยตามพื้นท้องแม่นํ้า
สายใหญ่ ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๒ เมตร, ตุ๊กแก ก็เรียก.
【 แคแกล, แคแล 】แปลว่า: [-แกฺล] น. ชื่อต้นไม้ใช้ทํายา. (พจน. ๒๔๙๓).
【 แคดเมียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๔๘ สัญลักษณ์ Cd เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง
สีเงิน เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๑ํซ. เป็นตัวดูดกลืนอนุภาคนิวตรอน
ได้ดี จึงทําเป็นแท่ง เรียกว่า แท่งควบคุมในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์.
(อ. cadmium).
【 แค็ตตาล็อก 】แปลว่า: น. หนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ เป็นต้น ที่มีภาพสินค้าเช่นเสื้อผ้า เครื่องใช้
ไฟฟ้า พร้อมรายละเอียดของสินค้าเพื่อเผยแพร่หรือสําหรับให้ลูกค้า
เลือกซื้อ. (อ. catalogue, catalog).
【 แคแตร 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Dolichandrone serrulata/ (DC.) Seem. ในวงศ์
Bignoniaceae.
【 แคโทด 】แปลว่า: น. แผ่นหรือแท่งตัวนําที่โยงต่อกับขั้วลบของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า เช่น
แบตเตอรี่ไฟฟ้า. (อ. cathode).
【 แคน 】แปลว่า: น. เครื่องดนตรีทางถิ่นอีสาน ทําด้วยไม้ซางผูกเรียงต่อกับเต้าแคน
สําหรับเป่าเป็นเพลง.
【 แค่น 】แปลว่า: ก. ฝืน เช่น แค่นกิน, คะยั้นคะยอ เช่น แค่นให้กิน, ทําไม่เป็นหรือ
ไม่สันทัดแล้วยังอวดดีขืนทํา เช่น แค่นทำ, สะเออะ เช่น ไม่มีเงิน
ยังแค่นแต่งตัวโก้.
【 แค่นแคะ, แค่นไค้ 】แปลว่า: ก. เฟ้นหาความชั่วขึ้นมากล่าว, เซ้าซี้จะให้ได้สมประสงค์.
【 แค้น 】แปลว่า: ก. โกรธเจ็บใจอยู่ไม่หาย เช่น แค้นใจ แค้นเคือง.
【 แค้นคอ 】แปลว่า: ก. อาการที่คนหรือสัตว์กินอาหารแล้วติดคอหรือฝืดคอกลืน
ไม่สะดวก.
【 แคบ ๑ 】แปลว่า: ว. มีส่วนกว้างน้อย, ไม่กว้างขวาง เช่น บ้านแคบ ความรู้แคบ.
【 แคบ ๒ 】แปลว่า: น. อานม้า เช่น สรรพแคบหมอนทองห้อยภู่พราย. (ยวนพ่าย).
(เทียบ ข. แคบ ว่า เบาะ, อานม้า). ก. ขลิบ เช่น ล้วนอลงกฎ
ด้วยอลงการ เบาะลอออานแคบคํา. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
(ถิ่น-อีสาน แขบ ว่า ขลิบ).
【 แคบหมู 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. หนังหมูหรือหนังหมูติดมันทอดให้พองและกรอบ.
【 แคปซูล 】แปลว่า: น. หลอดเล็ก ๆ ทําด้วยสารที่ไม่เป็นพิษ และละลายได้ง่าย ใช้บรรจุยา;
ส่วนของยานอวกาศที่มีอุปกรณ์จําเป็นพร้อมมูล สามารถแยกตัวออก
จากส่วนอื่นได้; (พฤกษ) ลักษณะของผลที่เมื่อแก่เปลือกหุ้มผลจะแห้ง
แล้วแตกแยกออกจากกันเป็นหลายซีกหรือหลายรู เช่น ผลลําโพง ฝิ่น.
(อ. capsule).
【 แคฝอย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล /Stereospermum/ วงศ์ Bignoniaceae
เช่น ชนิด /S. fimbriatum/ (Wall. ex G. Don) A. DC. ดอกสีชมพูอม
ม่วงอ่อน ขอบกลีบดอกรุ่ยเป็นริ้วยาว ๆ ไม่เป็นระเบียบ.
【 แคม 】แปลว่า: น. ส่วนริมทั้ง ๒ ข้างเรือ, เรียกของอื่นที่มีลักษณะคล้ายริมเรือ
เช่น แคมร่อง.
【 แคร่ ๑ 】แปลว่า: [แคฺร่] น. ที่สําหรับนั่งหรือนอนโดยมากมีรูปสี่เหลี่ยม มักทําด้วย
ฟากหรือไม้ไผ่ซี่ ๆ ถักติดกันเป็นต้น ไม่มีขา ยกไปได้, บางชนิดทํา
เสาเป็นเครื่องรองรับก็มี เรียกรวม ๆ ทั้งหมดว่า แคร่, บางชนิดใช้
วางบนคานหาม สําหรับหามไป, ใช้แก่เจ้านาย เรียกว่า แคร่คานหาม,
เรียกสั้น ๆ ว่า แคร่ ก็มี, บางชนิดใช้วางบนเรือ เรียกว่า แคร่เรือ;
โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แคร่สำหรับ
วางเครื่องยนต์.
(รูปภาพ แคร่คานหาม)
【 แคร่ ๒ 】แปลว่า: [แคฺร่] น. ส่วนบนของเครื่องพิมพ์ดีดที่เลื่อนไปมาได้ ใช้สอดกระดาษ
สำหรับพิมพ์.
【 แครก 】แปลว่า: แคฺรก] ว. คราก, ใช้คู่กับคํา คราก เป็น ครากแครก หรือ แครกคราก
ก็ได้ เช่น กบทูย้อยแยกแครกคราก. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 แครครั่ง 】แปลว่า: [แคฺรคฺรั่ง] (โบ; กลอน) ก. คับคั่ง, มาก, เช่น ที่ใดคนแครครั่ง.
(ม. คําหลวง ชูชก).
【 แครง ๑ 】แปลว่า: [แคฺรง] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด /Anadara granosa/ ในวงศ์ Arcidae
ตัวป้อม ๆ กาบมีสันและร่อง อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลบริเวณที่มี
โคลนปนทราย; ภาชนะสําหรับวิดนํ้า รูปคล้ายกาบหอยแครง, ถ้า
ใช้วิดนํ้าในสวน มีด้ามยาว, ถ้าใช้วิดนํ้าเรือ ไม่มีด้าม.
【 แครง ๒ 】แปลว่า: [แคฺรง] น. ชื่อขิงในหมวดจตุทิพยคันธา เรียกว่า ขิงแครง.
/(ดู จตุทิพยคันธา ใน จตุ-)./
【 แครง ๓ 】แปลว่า: [แคฺรง] ว. อึกทึก, กึกก้อง, เช่น อย่างแครงครวญ. (กล่อมช้าง
ของเก่า), สงครามแครง ฟ้งเฟือด. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
【 แครง ๔ 】แปลว่า: [แคฺรง] ว. ตกแต่ง เช่น ธก็ผลัดแผลงแครงเครื่องอันบริสุทธิ์.
(ม. คําหลวง วนปเวสน์). ว. งามพรายแพรว, หมดจด, ผ่องใส,
เช่น ธก็ทรงพสตรพาสแครง ดุจแสงสังข์ใสสุทธ. (ม. คําหลวง
นครกัณฑ์), อนนธกทําด้วยไหมประไพแครงเครื่องฟ้า. (ม. คําหลวง
นครกัณฑ์), พายคํ่าจํารัสแครง ใสส่อง. (ทวาทศมาส). น. ผ้า เช่น
นางก็ทรงพัสตราภรณ์ พาดแครง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (เทียบ
อีสาน แครง ว่า ผ้า, ผ้าพันคอชนิดผืนยาว).
【 แครง ๕ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. เห็ดแครง. /[ดู ตีนตุ๊กแก (๕)]./
【 แครงเครียว 】แปลว่า: [แคฺรงเคฺรียว] (โบ; กลอน) ว. แรงมาก, โบราณเขียนเป็น แครงครยว
ก็มี เช่น ท่านนี้แครงครยว คืนคํ่าขํ่าขยว จักขอสักอัน. (ม. คําหลวง
มหาพน).
【 แคระ 】แปลว่า: [แคฺระ] ว. เตี้ยเล็กกว่าปรกติ เช่น คนแคระ ม้าแคระ ต้นไม้แคระ.
【 แคลคูลัส 】แปลว่า: [แคน-] น. คณิตศาสตร์ชั้นสูงแขนงหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับค่าของจํานวนที่
เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา แบ่งออกเป็น แคลคูลัสเชิงอนุพันธ์
และแคลคูลัสเชิงอินทิกรัล. (อ. calculus).
【 แคลง 】แปลว่า: [แคฺลง] ก. อาการที่เรือเอียงหรือตะแคง เรียกว่า เรือแคลง; กินแหนง,
สงสัย.
【 แคลงคลาง 】แปลว่า: [แคฺลงคฺลาง] ก. แคลงใจ, ไม่แน่ใจหรือวางใจลงไปได้เพราะออก
จะสงสัย, คลางแคลง ก็ว่า, บางทีก็พูดสั้น ๆ ว่า แคลง.
【 แคลงใจ 】แปลว่า: ก. ไม่แน่ใจหรือวางใจลงไปได้เพราะออกจะสงสัย, คลางแคลง
ก็ว่า.
【 แคลเซียม 】แปลว่า: [แคน-] น. ธาตุลําดับที่ ๒๐ สัญลักษณ์ Ca เป็นโลหะ ลักษณะเป็น
ของแข็งสีขาว เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๘๓๘ํซ. เป็นองค์ประกอบ
สําคัญของกระดูก ฟัน หินอ่อน หินปูน. (อ. calcium).
【 แคลเซียมคาร์ไบด์ 】แปลว่า: น. ชื่อสารประกอบ มีสูตรเคมี CaC2 ลักษณะเป็นของแข็งสีเทา
เมื่อทําปฏิกิริยากับนํ้าจะได้แก๊สอะเซทิลีนซึ่งจุดไฟติดให้ความ
สว่าง ใช้เป็นตะเกียงได้. (อ. calcium carbide).
【 แคลเซียมไซคลาเมต 】แปลว่า: น. ชื่อสารประกอบ มีสูตรเคมี (C6H11NHSO3)2Ca?2H2O ลักษณะ
เป็นผงสีขาว ละลายนํ้าได้ มีรสหวานมากกว่านํ้าตาลทรายมาก
ใช้เป็นตัวให้ความหวานในเครื่องดื่ม มีหลักฐานว่าสารนี้ก่อให้เกิด
โรคมะเร็งได้. (อ. calcium cyclamate).
【 แคลน 】แปลว่า: [แคฺลน] ว. ขัดสน, อัตคัด, มักใช้ประกอบคําอื่น เช่น ขาดแคลน =
ทั้งขาดทั้งแคลน หมายความว่า อัตคัด, ขัดสน ดูแคลน = ดูหมิ่น
เพราะเห็นเขาขัดสน ดูหมิ่นถิ่นแคลน = ดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อย.
【 แคล้ว 】แปลว่า: [แคฺล้ว] ก. รอดไป, พ้นไป, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น เป็นเนื้อคู่กัน
แล้วไม่แคล้วกัน ไม่แคล้วไม้เรียว.
【 แคล้วคลาด 】แปลว่า: ก. รอดไป, พ้นไป, คลาดแคล้ว ก็ว่า.
【 แคล่วคล่อง 】แปลว่า: [แคฺล่วคฺล่อง] ว. ว่องไว, สามารถทําได้รวดเร็ว, คล่องแคล่ว ก็ว่า.
【 แคลอรี 】แปลว่า: น. หน่วยวัดปริมาณความร้อน ๑ แคลอรี คือ ปริมาณความร้อน
ที่ทําให้นํ้าบริสุทธิ์ ๑ กรัม ร้อนขึ้น ๑?ซ. (อ. calorie).
【 แคลิฟอร์เนียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๙๘ สัญลักษณ์ Cf เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์
สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. californium).
【 แคว 】แปลว่า: [แคฺว] น. ลํานํ้าที่ไหลมารวมกับลํานํ้าอีกสายหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่
พอ ๆ กัน เช่น แควน้อย แควใหญ่; แม่น้ำหรือลำธารสายเล็กที่ไหล
ลงสู่แม่น้ำหรือลำธารสายใหญ่ เช่น แควป่าสัก.
【 แควก 】แปลว่า: [แคฺวก] ว. เสียงดังอย่างเสียงผ้าขาด.
【 แคว้ง 】แปลว่า: แคฺว้ง ก. เคว้ง, คว้าง.
【 แคว้น 】แปลว่า: [แคฺว้น] น. ดินแดนอันเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์; เดิมหมายถึงประเทศ
เช่น แคว้นมคธ แคว้นโกศล ในปัจจุบันหมายถึงเขตปกครองที่เป็น
ส่วนย่อยของประเทศ ใหญ่กว่าจังหวัด, รัฐ, เช่น แคว้นสิบสองจุไทย.
【 แคแสด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Spathodea campanulata/ Pal. ในวงศ์
Bignoniaceae ใบเป็นพุ่มหนา ดอกสีแสด ออกดอกในฤดูหนาว.
【 แคะ ๑ 】แปลว่า: น. ชาวจีนพวกหนึ่งในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน เรียกว่า
จีนแคะ, เรียกภาษาของชาวจีนพวกนี้ว่า ภาษาแคะ.
【 แคะ ๒ 】แปลว่า: ก. ใช้เล็บหรือสิ่งมีปลายแหลมเป็นต้นทําให้สิ่งที่ติดอยู่ข้างในหรือ
ในซอกในรูหลุดออกมา.
【 แคะไค้ 】แปลว่า: ก. ซอกแซกหาเรื่องขึ้นมาว่า.
【 โค ๑ 】แปลว่า: น. วัว (มักใช้เป็นทางการ) เช่น สั่งซื้อแม่โคพันธุ์ใหม่จากต่างประเทศ.
(ป., ส.).
【 โคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน 】แปลว่า: (สํา) น. ชายสูงอายุที่ชอบผู้หญิงรุ่นสาว.
【 โคเถลิง ๑ 】แปลว่า: [-ถะเหฺลิง] น. ชื่อวัวป่าชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 โคนม 】แปลว่า: น. แม่วัวที่เลี้ยงไว้สําหรับรีดนม.
【 โคบาล 】แปลว่า: [-บาน] น. คนเลี้ยงวัว. (ป., ส. โคปาล).
【 โคบุตร 】แปลว่า: [-บุด] น. ชื่อช้างหมู่ ๑ ในอัฏฐคช ตระกูลวิษณุพงศ์ มีสีผิวเหลือง
หางเหมือนหางโค งางอน เวลาร้องมีเสียงเหมือนเสียงโคป่า เช่น
ลางคือโคบุตรพรายพรรณ ลางสารสำคัญ คือสีหชงฆาควร.
(สมุทรโฆษ).
【 โคเพลาะ 】แปลว่า: [-เพฺลาะ] น. วัวโทนเที่ยวไปโดดเดี่ยว.
【 โคไพร 】แปลว่า: /ดู กูปรี/.
【 โคมัย 】แปลว่า: น. ขี้วัว. (ป., ส. โค + มย).
【 โคมูตร 】แปลว่า: [-มูด] น. เครื่องหมายสุดเรื่องในหนังสือรุ่นเก่า มีรูปดังนี้ ๛; ชื่อหนึ่ง
ของดาวฤกษ์มฆา มี ๕ ดวง, ดาววานร ดาวงอนไถ ดาวงูผู้ ดาวมฆะ
หรือ ดาวมาฆะ ก็เรียก.
【 โครส 】แปลว่า: [-รด] น. นมวัว (มี ๕ อย่าง คือ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น เปรียง
เรียก ปัญจ-โครส หรือ เบญจโครส). (ป., ส.).
【 โคโรค 】แปลว่า: น. ปรวดเป็นก้อนอยู่ในหนังโค ใช้เป็นเครื่องยา. (ส. โคโรจน).
【 โคศัพท์ 】แปลว่า: น. วิธีฝึกหัดหารเลขโบราณ. โค ๒ น. พระอาทิตย์ เช่น โคจร =
ทางเดินของพระอาทิตย์ โควิถี = ทางสำหรับโคจรของพระอาทิตย์.
(ป., ส.).
【 โควิถี 】แปลว่า: น. ชื่อทางสําหรับโคจรของพระอาทิตย์. (ส. โควิถี = โคจรของ
พระจันทร์ที่ผ่านดาวฤกษ์ภัทรปทา เรวดี และอัศวินี).
【 โค ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งคล้ายขนมต้มขาว มีไส้อย่างหน้ากระฉีก ราด
หัวกะทิขลุกขลิก เรียกว่า ขนมโค.
【 โคก ๑ 】แปลว่า: น. ที่ดินที่นูนสูงขึ้นคล้ายเนิน แต่เตี้ยกว่า. ว. ที่นูนสูงขึ้น. (ข. โคก
ว่า ที่ไม่มีนํ้า, แห้ง).
【 โคก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล /Anodontostoma/ และ Nematalosa
วงศ์ Clupeidae หัวเล็ก ปากเล็ก ลําตัวสั้น แบนข้าง ท้องเป็นสันแหลม
เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลําตัวสีเงิน
อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามชายฝั่งที่มีพื้นท้องทะเลเป็นโคลน, ตะเพียน
นํ้าเค็ม ก็เรียก.
【 โคกกระสุน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Tribulus terrestris/ L. ในวงศ์ Zygophyllaceae
ผลเป็นหนาม ใช้ทํายาได้. (เทียบ ส. โคกษุร).
【 โคกกระออม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Cardiospermum halicacabum/ L. ในวงศ์ Sapindaceae
ขึ้นทั่วไปตามที่รกร้าง ลําต้นเรียวเป็นร่อง ใบสีเขียวอ่อน มีมือเกาะ
ดอกเล็ก สีขาว ผลกลม มีกลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยมพองลมหุ้มอยู่
รากและใบใช้ทํายาได้, กระออม ก็เรียก.
【 โคกม้า ๑ 】แปลว่า: น. นักหมอม้า, ผู้เชี่ยวชาญเรื่องม้า.
【 โคกม้า ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น โคกม้าม่ายนางนวล กระสาสรวลกระสันต์. (ลอ).
【 โคคลาน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Anamirta cocculus/ (L.) Wight et Arn. ในวงศ์
Menispermaceae ใช้ทํายาได้, หวายดิน ก็เรียก.
【 โคเคน 】แปลว่า: น. สารอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C17H21O4N ลักษณะ
เป็นผลึกสีขาว มีปรากฏในใบของต้นโคคา (/Erythroxylum coca/ Lam.)
ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ เป็นยาเสพติด. (อ. cocaine).
【 โค่ง ๑ 】แปลว่า: ว. โตหรืออายุมากกว่าเพื่อน.
【 โค่ง ๒ 】แปลว่า: น. คําเรียกผู้บรรพชาเป็นสามเณรมาจนอายุครบอุปสมบทเป็นภิกษุ
แต่ไม่ยอมอุปสมบทว่า เณรโค่ง.
【 โค้ง 】แปลว่า: ก. น้อมลง, ทําให้น้อมลง เช่น โค้งคำนับ โค้งตัว. ว. ลักษณะของเส้น
หรือสิ่งที่มีรูปอย่างส่วนหนึ่งของวงกลม เช่น ทางโค้ง.
【 โคจร, โคจร- 】แปลว่า: [-จอน, -จะระ-] น. อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร. (ป., ส.).
ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก,
เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน, คํานี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์,
เมื่อว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรง
ข้ามกันเป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต
กับ ศารทวิษุวัตคู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. (ป., ส. โคจร
ว่า การเที่ยวไปของดวงอาทิตย์).
【 โคจรคาม 】แปลว่า: [โคจะระ-] น. หมู่บ้านที่ภิกษุไปบิณฑบาตเสมอ.
【 โคเซแคนต์ 】แปลว่า: (คณิต) น. โคเซแคนต์ของมุมใดคืออัตราส่วน (๑ ส่วนไซน์ของมุมนั้น).
(อ. cosecant).
【 โคไซน์ 】แปลว่า: (คณิต) น. โคไซน์ของมุมใดคืออัตราส่วน (เศษ ความยาวของด้าน
ประชิดมุมนั้น ส่วนความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก) ในเมื่อถือ
เอารูปสามเหลี่ยมมุมฉาก (ที่มีมุมนั้น) เป็นหลัก. (อ. cosine).
【 โคตร, โคตร- 】แปลว่า: [โคด, โคดตฺระ-] น. วงศ์สกุล, เผ่าพันธุ์, ต้นสกุล, เช่น โคตมโคตร;
คํานี้บางทีก็นําไปใช้ในความหมายไม่สุภาพหรือเป็นคําด่า เช่น
ก่นโคตร. (ส. โคตฺร; ป. โคตฺต ว่า โรงวัว, คอกวัว, วงศ์, ตระกูล).
【 โคตรภู 】แปลว่า: โคดตฺระพู น. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลําดับอริยมรรค,
พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัดในศาสนามีขนบธรรมเนียมห่างจากธรรมวินัย
แต่ยังถือตนว่าเป็นภิกษุสงฆ์อยู่ เรียกว่า โคตรภูสงฆ์. (ส. โคตฺรภู
ว่า อ้างแต่เพศ ไม่มีคุณความดีของเพศ).
【 โคตรภูญาณ 】แปลว่า: โคดตฺระพูยาน น. ปัญญาที่อยู่ในลําดับอริยมรรค.
【 โคเถลิง ๑ 】แปลว่า: /ดูใน โค ๑/.
【 โคเถลิง ๒ 】แปลว่า: [-ถะเหฺลิง] /ดู กําลังวัวเถลิง/.
【 โคแทนเจนต์ 】แปลว่า: (คณิต) น. โคแทนเจนต์ของมุมใดคืออัตราส่วน (เศษ ๑ ส่วน
แทนเจนต์ของมุมนั้น). (อ. cotangent).
【 โคธา 】แปลว่า: (แบบ) น. เหี้ย. (ป., ส.).
【 โคน ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนข้างต้นของสิ่งที่ยาวกลม เช่น โคนไม้ โคนเสา โคนขา.
【 โคน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล /Termitomyces/ วงศ์ Amanitaceae
ขึ้นบริเวณจอมปลวก ดอกเห็ดรูปร่ม ยอดแหลม สีขาวนวลจนถึง
นํ้าตาลดํา ด้านล่างมีครีบก้านยาวตั้งตรง โคนเรียวเล็กหยั่งลึก
ลงไปถึงรังปลวก กินได้ เช่น ชนิด /T. fuliginosus/ Heim.
【 โคน ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อตัวหมากรุกที่ใช้เดินทแยงไปข้างหน้าหรือข้างหลัง หรือเดิน
ตรงไปข้างหน้าคราวละ ๑ ตา.
【 โค่น 】แปลว่า: ก. ล้มหรือทําให้ล้มลง เช่น ต้นไม้โค่น โค่นต้นไม้, ทลายลง เช่น
ยอดปรางค์โค่น, โดยปริยายหมายความว่า ทำให้หมดไปหรือ
สิ้นไป เช่น โค่นอำนาจ.
【 โคนดินสอ 】แปลว่า: /ดู คนทีสอ ที่ คนที ๒/.
【 โคนตายปลายเป็น 】แปลว่า: /ดู ต้นตายใบเป็น/.
【 โคนสมอ ๑ 】แปลว่า: [-สะหฺมอ] /ดู กานน ๒/.
【 โคนสมอ ๒ 】แปลว่า: [-สะหฺมอ] น. ชื่อพระพิมพ์สกุลช่างหนึ่ง.
【 โคบอลต์ 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๒๗ สัญลักษณ์ Co เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอมละลายที่
๑๔๙๕ํซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือเพื่อให้มี
สมบัติพิเศษบางประการ เช่น ผสมกับเหล็กทําให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
และเมื่อนําไปทําเป็นแม่เหล็กก็จะได้แม่เหล็กที่มีกําลังมากเป็นพิเศษ ใน
อุตสาหกรรมเครื่องแก้วและเครื่องดินเผาใช้สารประกอบของโคบอลต์
เป็นตัวให้สีนํ้าเงิน. (อ. cobalt).
【 โคปผกะ 】แปลว่า: โคบผะกะ น. ตาตุ่ม, ข้อเท้า, ราชาศัพท์ว่า พระโคปผกะ. (ป.).
【 โคม 】แปลว่า: น. เครื่องครอบตะเกียงเพื่อบังลมหรือบังคับแสงไฟ, ตะเกียงเครื่อง
ตามไฟ หรือเครื่องให้แสงสว่างซึ่งมีเครื่องบังลมหรือเครื่องบังคับ
แสงไฟเช่นนั้น ใช้ตั้ง หิ้ว หรือแขวน เช่น โคมไฟฟ้า, ลักษณนามว่า
โคม, ดวง, ใบ, ลูก, เรียกชามอย่างเก่าขนาดใหญ่ รูปคล้ายโคม ว่า
ชามโคม, ลักษณนามว่า ใบ, ลูก.
【 โคมดอกไม้ 】แปลว่า: น. โคมที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยนำดอกไม้มาร้อยกรองให้มีรูปร่างอย่างโคม
สำหรับแขวนในเทศกาลหรืองานพระราชพิธีบางอย่าง.
【 โคมตาวัว 】แปลว่า: น. โคมชนิดหนึ่ง มีที่เปิดปิดไฟ มีแว่นฉายแสงไปได้ไกล, กระสือ
ก็ว่า.
【 โคมลอย 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องตามไฟชนิดหนึ่งที่จุดไฟแล้วปล่อยให้ลอยไปในอากาศ.
(ปาก) ว. ไม่มีมูล, เหลวไหล, เช่น ข่าวโคมลอย.
【 โคมเวียน 】แปลว่า: น. โคมชนิดที่มีที่ครอบหมุนได้ บนที่ครอบเขียนรูปภาพลำดับ
เรื่องในพระพุทธศาสนาเช่นมหาเวสสันดรชาดก เมื่อจุดไฟแล้ว
ที่ครอบจะหมุนไปช้า ๆ ทำให้รูปภาพบนที่ครอบหมุนเวียนตาม
ไปด้วย ใช้เป็นเครื่องตั้งดูเล่นตามงานในเทศกาลต่าง ๆ เช่น
งานเทศน์มหาชาติ งานออกเมรุ; ชื่อเพลงโยนกลองในบทปี่พาทย์
ทำนองหนึ่ง.
【 โคม่า 】แปลว่า: น. ภาวะหมดสติขั้นรุนแรง เกิดจากโรค การบาดเจ็บ ยาพิษ. (อ. coma).
【 โครก 】แปลว่า: [โคฺรก] ว. เสียงดังเช่นนั้น.
【 โครกครอก 】แปลว่า: [โคฺรกคฺรอก] ว. เสียงดังเช่นนั้น.
【 โครกคราก 】แปลว่า: [โคฺรกคฺราก] ว. เสียงท้องดังเช่นนั้น.
【 โครง 】แปลว่า: [โคฺรง] น. ร่างของสิ่งต่าง ๆ ที่คุมกันอยู่เป็นรูป เช่น โครงกระดูก
โครงว่าว.
【 โครงการ 】แปลว่า: น. แผนหรือเค้าโครงตามที่กะกําหนดไว้.
【 โครงจมูก 】แปลว่า: น. กระดูกจมูก.
【 โครงเรื่อง 】แปลว่า: น. เค้าเรื่องที่กําหนดขึ้น.
【 โครงสร้าง 】แปลว่า: น. ส่วนประกอบสําคัญ ๆ ซึ่งนำมาคุมเข้าด้วยกันให้เป็นรูปร่างเดียวกัน.
【 โคร่ง ๑ 】แปลว่า: [โคฺร่ง] น. ชื่อเสือชนิด /Panthera tigris/ ในวงศ์ Felidae เป็นเสือที่ใหญ่
ที่สุดในประเทศไทย ตัวสีเหลือง มีลายดําตามขวาง ล่าสัตว์ป่าบน
พื้นดิน มักอยู่ลําพังตัวเดียวยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ ชอบเล่นนํ้ามากกว่า
เสือชนิดอื่น, ลายพาดกลอน ก็เรียก. (เทียบ ข. โครฺง ว่า สูงเกินขนาด,
สูงโย่ง).
【 โคร่ง ๒, โคร่งคร่าง, โคร่งเคร่ง 】แปลว่า: [โคฺร่ง, -คฺร่าง, -เคฺร่ง] ว. ใหญ่โต, เร่อร่า, ไม่กะทัดรัด.
【 โครงแคร 】แปลว่า: โคฺรงแคฺร ว. ครื้นเครง, อึกทึก, กึกก้อง, เช่น เสียงฉะฉาว
โครงแคร. (สมุทรโฆษ).
【 โครม 】แปลว่า: [โคฺรม] ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงคนหรือของหนัก ๆ ล้มหรือตก
เป็นต้น.
【 โครมคราม 】แปลว่า: [โคฺรมคฺราม] ว. เสียงดังเช่นนั้น.
【 โครเมียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๒๔ สัญลักษณ์ Cr เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอม
ละลายที่ ๑๘๗๕?ซ.ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้า
ไม่เป็นสนิม อุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรงเป็น
พิเศษเพื่อใช้ทําเครื่องมือช่าง และในอุตสาหกรรมชุบโลหะ
ด้วยโครเมียม. (อ. chromium).
【 โครโมโซม 】แปลว่า: น. ส่วนหนึ่งของนิวเคลียสของเซลล์ มีลักษณะเป็นท่อนหรือเป็นเส้น
ประกอบขึ้นด้วยสารดีเอ็นเอ (DNA = deoxyribonucleic acid) เชื่อมกับ
โปรตีน ทําหน้าที่สําคัญในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ทั้งควบคุมการทํางานของเซลล์และการแบ่งเซลล์. (อ. chromosome).
【 โคราช 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวโคราชที่ว่าแก้กันเป็นทํานอง
ตีฝีปากโต้คารมกันบ้าง เกี้ยวพาราสีกันบ้าง คล้ายเพลงฉ่อย วรรคหนึ่ง
ใช้คําตั้งแต่ ๔ ถึง ๗ คํา ๓ คํากลอนเป็นบทหนึ่ง ความไพเราะอยู่ที่สัมผัส
ในการเล่นคําเล่นความให้สละสลวยบาทสุดท้ายจะเอื้อนเสียงในเวลาร้อง.
【 โครำ 】แปลว่า: /ดู เลียงผา ๑/.
【 โคล ๑ 】แปลว่า: [โคน] น. ชนกลุ่มหนึ่งในประเทศอินเดียฝ่ายใต้ เช่น ผู้สืบสัมพันธ์
โคตรเค้าโคลตระกูล ทิชาเชื้อชาติธชีชูชก. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 โคล ๒ 】แปลว่า: [โคน] น. ลูกกลม เช่น โคลคลี.
【 โคลง ๑ 】แปลว่า: [โคฺลง] น. คําประพันธ์ประเภทหนึ่ง มีจำนวนคำในวรรคสัมผัสและ
บังคับเอกโทตามตําราฉันทลักษณ์.
【 โคลงโบราณ 】แปลว่า: น. ชื่อโคลงชนิดหนึ่งคล้ายโคลง ๔ มีบังคับสัมผัส แต่ไม่มีบังคับเอกโท
เช่น โคลงมหาวิชชุมาลี โคลงมหาสินธุมาลี ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตำรา
กาพย์สารวิลาสินี.
【 โคลง ๒ 】แปลว่า: [โคฺลง] ก. เอียงไปเอียงมาหรือทําให้เอียงไปเอียงมา เช่น เรือโคลง
ว่าวโคลง โคลงเรือ โคลงหัว.
【 โคลงเคลง ๑ 】แปลว่า: ก. โคลงไปโคลงมา. ว. อาการที่รู้สึกวิงเวียนคล้ายอยู่ในเรือโคลง.
【 โคลงเคลง ๒ 】แปลว่า: [โคฺลงเคฺลง] น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล /Melastoma/ วงศ์
Melastomataceae ดอกสีชมพูหรือม่วงแดง เช่น ชนิด /M. malabaricum/ L.
【 โคลน 】แปลว่า: [โคฺลน] น. ดินเหลว.
【 โควตา 】แปลว่า: [โคฺว-] น. การจํากัดจํานวนโดยวางกฎเกณฑ์ไว้. (อ. quota).
【 โคออร์ดิเนต 】แปลว่า: (คณิต) น. การกําหนดตําแหน่งของจุดบนระนาบหรือในปริภูมิโดย
อาศัยแกนอ้างอิงเป็นหลัก. (อ. coordinate).
【 ใคร ๑ 】แปลว่า: [ไคฺร] ส. คนไหน, ผู้ใด, ใช้เป็นคำถาม เช่นใครมา เขาไปกับใคร.
【 ใคร ๒, ใคร ๆ 】แปลว่า: [ไคฺร] ส. ผู้ใดผู้หนึ่ง, คนใดคนหนึ่ง, (ซึ่งมิได้กำหนดแน่นอนลงไป)
เช่น ฉันไม่อยากพึ่งใคร ใคร ๆ ก็ช่วยอะไรเขาไม่ได้.
【 ใคร่ 】แปลว่า: [ไคฺร่] ก. อยาก, ต้องการ, ปรารถนา, ใฝ่; ใช้เป็นคำช่วยกริยาแสดงการ
ขอร้องอย่างสุภาพ เช่น ใคร่ขออนุญาตดำเนินการ.
【 ใคร่ครวญ 】แปลว่า: [ไคฺร่คฺรวน] ก. ตรึกตรอง, พิจารณา, คิดทบทวน.
【 ไค 】แปลว่า: (โบ) น. เหงื่อไคล.
【 ไค้ 】แปลว่า: (โบ) ก. ไง้, งัดขึ้น.
【 ไคร้ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล /Glochidion/ วงศ์ Euphorbiaceae
เช่น ชนิด /G. daltonii/ Kurz ผลอ่อนกินได้ รากใช้ทํายา.
【 ไคร้เครือ 】แปลว่า: [ไคฺร้เคฺรือ] น. ชื่อไม้เถาใช้ทํายา. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ไคล ๑ 】แปลว่า: [ไคฺล] น. เหงื่อที่ปนกับฝุ่นละอองติดกรังอยู่กับหนังกําพร้า, (ปาก)
ขี้ไคล, ราชาศัพท์ว่า พระเมโท; ตะไคร่น้ำ เช่น ปูกินไคล.
【 ไคล ๒ 】แปลว่า: [ไคฺล] ก. ไป.
ไคลคลา [-คฺลา] ก. เดินไป, เคลื่อนไป, คลาไคล ก็ว่า.
【 ไคล ๓ 】แปลว่า: [ไคฺล] ก. ทําให้คลาย ให้อ่อน หรือให้หย่อน โดยใช้นิ้วมือหรือฝ่ามือ
เป็นต้นคลึงไปมา.
【 ไคล้ 】แปลว่า: [ไคฺล้] น. เล่ห์กลหรือเงื่อนงำ เช่น ใส่ไคล้.

[Update] คำศัพท์ ”*ทำให้สุก*” แปลว่าอะไร? | สับ อัง กิ ด – NATAVIGUIDES

บริการเปิดพจนานุกรมอัตโนมัติ ติดโพย (PopThai)

บริการ ติดโพย (PopThai)
เป็นบริการเปิดพจนานุกรมอัตโนมัติ โดยผู้ใช้สามารถป้อนข้อความ ทีละประโยค หรือ เป็นหน้าเลยก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทีละคำสองคำ
ระบบจะทำการแนบความหมายของคำหรือวลีภาษาต่างประเทศ
(ปัจจุบันสนับสนุน ภาษาอังกฤษ, ญี่ปุ่นและเยอรมัน)
ติดกับเนื้อหานั้นๆ และจะแสดงผลความหมายเมื่อเอาเมาส์ไปวางเหนือคำหนึ่งๆ
ช่วยให้สามารถเข้าใจเนื้อหาของเวบภาษาต่างประเทศได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ความหมายของคำจะปรากฏขึ้นมาเมื่อท่านเอาเมาส์ไปวางบนคำหรือวลีที่มีอยู่ในพจนานุกรม
โดยไม่จำเป็นต้องกดปุ่มใดๆ

ดังตัวอย่างในรูปข้างล่างนี้

คุณสมบัติ / Features

  • แสดงความหมายของคำโดยอัตโนมัติ เพียงวางเมาส์ไว้บนคำที่ต้องการทราบความหมาย
  • สนับสนุนเวบหลากภาษา (ปัจจุบัน ภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น และเยอรมัน)
  • ค้นหาความหมายจากพจนานุกรมหลายชุดพร้อมๆกัน ในฐานข้อมูลของ Longdo ได้แก่
    Lexitron2, Hope, Nontri, Longdo อังกฤษ-ไทย, Longdo เยอรมัน-ไทย เป็นต้น
  • แสดงได้ทั้งความหมายของคำเดี่ยว และคำผสม ได้อย่างถูกต้อง
    เช่น Secretary of State=รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ (ในภาพตัวอย่าง),
    High school=โรงเรียนมัธยมปลาย

  • แสดงความหมายของคำที่แปรรูปจากคำในพจนานุกรมได้ เช่น
    เมื่อวางเมาส์ไว้บนคำว่า executed/abusing ซึ่งไม่มีในพจนานุกรม
    เครื่องจะแสดงความหมายของคำว่า execute/abuse ให้โดยอัตโนมัติ
  • เรียกใช้งานได้ง่ายเพียงกดปุ่ม PopThai บน

    Longdo Toolbar

    เพื่อแนบความหมายหน้าจอที่เปิดชมอยู่ในขณะนั้น
  • แก้ไข Link ในหน้าที่แสดง เพื่อให้สามารถเปิดชม Link เหล่านั้นผ่านบริการ PopThai
    ได้ทันทีเช่นเดียวกัน
  • สนับสนุนบราวเซอร์ชั้นนำทั่วไป เช่น Internet Explorer, Firefox, Chrome, Safari, Konqueror, etc.
  • แสดง Link ให้ผู้ใช้ช่วยป้อนความหมายสำหรับคำที่ยังไม่มีอยู่ในพจนานุกรม
  • ใหม่: บริการ Vocabulary แสดงสรุปรายการคำศัพท์พร้อมความหมาย สำหรับพิมพ์ออกมาอ่านได้สะดวก
    วิธีใช้งาน ให้เลือกตรงตัวเลือกบริการด้านบน ให้เป็น Vocabulary แทน PopThai. (PopThai ในโหมดปกติ จะเหมาะกับการใช้งาน on-line
    หน้าจอคอมพิวเตอร็ ส่วนบริการ Vocabulary เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการพิมพ์รายการคำศัพท์และความหมายออกมาบนกระดาษไว้อ่าน off-line)
  • ใหม่: บริการ Pronunciation Guide แสดงคำอ่านของคำใน เว็บ หรือ text ที่ป้อนให้ ข้างบนคำนั้นๆ, นอกเหนือไป
    จากการแสดง pop-up ความหมาย. วิธีใช้งาน ให้เลือกตรงตัวเลือกบริการด้านบน ให้เป็น Pronunciation.
    ขณะนี้ใช้ได้กับภาษาอังกฤษ (แสดงคำอ่านภาษาอังกฤษ) และภาษาญี่ปุ่น (แสดง hiragana เหนือคันจิ). บริการนี้
    ใช้ extension ของ browser ที่ชื่อ Ruby ปัจจุบันมีแค่ IE browser ที่สนับสนุน ถ้าเป็น browser อื่นๆ จะเห็นคำอ่านปรากฎในวงเล็บแทน

วิธีใช้

ท่านสามารถป้อนเนื้อหาหรือ URL ของเว็บไซต์ที่ต้องการให้แนบความหมายนี้ ในช่องใส่ข้อความค้นหาปกติ

หลังจากนั้นเลือกบริการที่ต้องการ (เช่น ถ้าป้อนข้อความ ให้เลือก PopThai (text) ถ้าป้อน URL ให้เลือก PopThai (URL)) ถ้าท่านไม่เลือกบริการ
ระบบจะเดาบริการที่ท่านต้องการ จากข้อความที่ท่านใส่เข้ามา (ว่าเป็นข้อความหรือเป็น URL) โดยอัตโนมัติ,
จากนั้นกด Submit เป็นอันเสร็จ

ในกรณีที่ท่านใส่ URL ระบบจะไปทำการดาวน์โหลดเนื้อหาของหน้านั้นๆ มาและแนบความหมาย พร้อมแก้ไขลิงค์ต่างๆ ให้เป็นผ่านบริการ PopThai เ
พื่อที่ว่าเมื่อท่านกดที่ลิงค์ใดๆ ต่อไปจากเพจนั้นๆ ก็จะมีการแนบความหมายมาให้ด้วยในทันที

เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้ท่านสามารถใช้ PopThai ผ่าน Longdo Toolbar โดยเมื่อท่านเปิดดูเว็บไซต์ใดๆ อยู่ตามปกติ และต้องการใช้บริการ PopThai สำหรับ
หน้านั้นๆ สามารถทำได้ทันที โดยคลิกที่ปุ่ม PopThai บน Toolbar รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดอ่านที่ Longdo Toolbar

คำเตือน ในกรณีของ URL นี้ ถึงแม้ทางผู้ดูแลระบบลองดูจะได้ทำการทดสอบกับหลายเว็บไซต์
แล้วก็ตาม ยังมีบางเว็บไซต์ที่ข้อมูลเวลาที่ระบบไปโหลดมาจะแตกต่างจากที่ท่านเปิดดูโดยใช้ browser โดยตรง โปรดระวังด้วย และไม่ควรใช้กับหน้าเว็บไซต์ที่
ต้องการความถูกต้องสูง)

Problems & TODO

  • inflected word support (German)
  • support HTTP POST
  • other foreign language support (Japanese, French)


ชุดคำศัพท์ภาษาอังกฤษระดับสูง English by Chris


สั่งซื้อหนังสือได้จากแอดมิน
@LINE ID = @EnglishbyChris
รับสอนตัวต่อตัว ติดต่อผมได้ที่
@LINE ID = @TeacherChris
WEBSITE
http://www.EnglishbyChris.com
Facebook
ค้นหา = EnglishbyChris

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ชุดคำศัพท์ภาษาอังกฤษระดับสูง English by Chris

คำศัพท์ ร่างกาย ภาษาอังกฤษ Body parts


คำศัพท์ ร่างกาย ภาษาอังกฤษ Body parts
คำศัพท์ร่างกาย ภาษาอังกฤษ ศัพท์อังกฤษ

คำศัพท์ ร่างกาย ภาษาอังกฤษ Body parts

ศัพท์อังกฤษ อาหาร Food


ศัพท์อังกฤษ อาหาร Food
คำศัพท์ ภาษาอังกฤษ Food

ศัพท์อังกฤษ อาหาร Food

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 500 คำ พื้นฐาน ในชีวิตประจำวัน สำหรับเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ ฝึกฟัง ฝึกพูด ด้วยตัวเอง


💖 ถ้าอยากให้กำลังใจ มาสมัครสมาชิกกันนะครับ 💖
กดตรงนี้ 👉 https://www.youtube.com/channel/UCaiwEWHCdfCi23EYN1bWXBQ/join
คำศัพท์ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 500 คำ พร้อมคำอ่าน คำแปล สำหรับฝึกฟัง ฝึกพูด ท่องศัพท์ภาษาอังกฤษ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เหมาะกับผู้เริ่มเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง กดเพื่อไปยังคำศัพท์หมวดต่างๆ ดังนี้
0:00 คำศัพท์ภาษาอังกฤษ พื้นฐาน 500 คำ ในชีวิตประจำวัน
0:45 คำศัพท์ ในชั้นเรียน ห้องเรียน
8:32 คำศัพท์วัน เดือน ปี และการพูดถึงวันต่างๆ
13:36 คำศัพท์ สีต่างๆ
16:22 คำศัพท์ข้าวของเครื่องใช้
19:09 คำศัพท์สิ่งของในห้องนอน
21:52 คำศัพท์ของใช้ในห้องน้ำ
24:10 คำศัพท์เสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย
31:19 คำศัพท์ครอบครัว
36:41 คำศัพท์ที่ใช้บรรยายลักษณะของคน
43:30 คำศัพท์ร่างกาย
48:54 คำศัพท์พูดถึงอาการบาดเจ็บ
52:49 คำศัพท์สำหรับบอกตำแหน่งที่ตั้ง ทิศทาง
ซึ่งเป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษน่ารู้ ที่ควรรู้ สามารถเปิดฟังก่อนนอน หรือเปิดฟังเพื่อเป็นการเรียนภาษาอังกฤษขณะนอนหลับได้ เปิดฟังขณะอยู่บนรถหรือกำลังขับรถได้ เป็นการท่องศัพท์ เรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษแบบธรรมชาติ จำคำศัพท์ได้ดี
วิดีโอ ฝึกพูด 100 ประโยคพื้นฐานภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน
https://youtu.be/lv9kTysYoIw
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ฟรี! คลิก: https://www.tonamorn.com/
แจกศัพท์ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1,000 คลิก: https://www.tonamorn.com/vocabulary
สอน การแต่งประโยคภาษาอังกฤษ
https://www.tonamorn.com/learnenglish/writesentences/
เรียนภาษาอังกฤษ จากภาพสวยๆ บนอินสตาแกรม
https://instagram.com/ajtonamorn

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 500 คำ พื้นฐาน ในชีวิตประจำวัน สำหรับเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ ฝึกฟัง ฝึกพูด ด้วยตัวเอง

คำศัพท์ธุรกิจภาษาอังกฤษ Business English Vocabulary เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE


คำศัพท์ธุรกิจภาษาอังกฤษ Business English Vocabulary เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE รวบรวมคำศัพท์ธุรกิจที่ใช้ได้จริงเวลาทำงานร่วมกับชาวต่างชาติ ในคลิป วีดีโอนี้เราจะมาดูคำศัพท์ต่างๆ พร้อมคำแปล การอ่านออกเสียงที่ถูกต้อง เพื่อเวลาพูดกับชาวต่าวชาติจะได้ไม่งง ลิปวีดีโอเดียว มีครบทุกอย่าง ดูจบคลินนี้ได้รู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนแน่นอน
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ครบทุกหลักการใช้งานในคลิปเดียวแบบเต็มสูบทั้งหมด
หากสนใจมาเรียนภาษาอังกฤษตัวต่อตัว กับทางESE สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ทางช่องทางเหล่านี้นะครับ
อย่าลืมกดติดตามเราทางช่องทางอื่นๆด้วยนะครับ
Follow us on Facebook: https://www.facebook.com/easyandsimpleenglish/
Follow us on Instagram: https://www.instagram.com/ese_stagram_th/
Visit our website: http://easysimpleenglish.com/
Contact: Tel: 0863537300

คำศัพท์ธุรกิจภาษาอังกฤษ Business English Vocabulary เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ สับ อัง กิ ด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *