Skip to content
Home » [NEW] จัดเต็ม! รวมรีวิวสำหรับคนอยากเรียนต่อ ‘ไต้หวัน’ (ภาคจีน/อินเตอร์) ทุนเพียบ คุณภาพชีวิตดี | เรียน จีน ระยะ สั้น – NATAVIGUIDES

[NEW] จัดเต็ม! รวมรีวิวสำหรับคนอยากเรียนต่อ ‘ไต้หวัน’ (ภาคจีน/อินเตอร์) ทุนเพียบ คุณภาพชีวิตดี | เรียน จีน ระยะ สั้น – NATAVIGUIDES

เรียน จีน ระยะ สั้น: คุณกำลังดูกระทู้

สวัสดีค่ะชาว Dek-D มีใครเริ่มปักหมุดไปเรียนไต้หวันบ้าง? ต้องบอกว่านับวันยิ่งมาแรงจริงๆ ค่ะ เพราะกิตติศัพท์เรื่องคุณภาพชีวิต ความทันสมัย ความเป็นมิตรของผู้คน แถมมีทุนมากมายให้ชาวต่างชาติมีโอกาสไปสัมผัสความดีงามพร้อมซึมซับภาษาจีนติดตัวมาด้วย (*ไต้หวันใช้จีนตัวเต็ม) และหากใครกังวลเรื่องภาษาจีน ก็ยังมีทางเลือกเป็นหลักสูตรอินเตอร์ของบางคณะในบางมหาวิทยาลัย

ดังนั้นวันนี้เราขอชี้เป้า 9 รีวิวประสบการณ์เน้นๆ หลายแนวจากคนไทยที่ไปเรียนต่อไต้หวัน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไต้หวัน MOE ป.ตรีและป.โท ทั้งภาคจีนและภาคอินเตอร์, ทุน HES เรียนภาษา, ทุน TaiwanICDF เรียนต่อ ป.โท,  ทุนแลกเปลี่ยน UMAP, ทุนมหาวิทยาลัยภาคอินเตอร์ รวมถึงคนที่ไปด้วยทุนตัวเองแต่เจอเรื่องสนุกเพียบ! ในจำนวนนี้ก็มีคนไปสัมผัสการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยอันดับ 1 (NTU) และอันดับต้นๆ ของไต้หวันด้วย สนใจเรื่องไหนคลิกอ่านต่อในบทความได้เลย 🙂

Table of Contents

……….

1
เด็กทุน ป.ตรี เรียนวิศวะอินเตอร์ม.ดัง
เมเนจเวลาขั้นเทพ ไปแบบไม่มีพื้นจีน! 

เริ่มกันที่เรื่องราวของเด็กทุนรัฐบาลไต้หวัน (MOE) ระดับ ป.ตรี ไปเรียนต่อวิศวะเครื่องกล ภาคอินเตอร์ที่ National Taiwan University of Science and Technology (NTUST / Taiwan Tech / 臺科大)  คุณภาพติด Top5 ของไต้หวัน และหลักสูตรก็มีบังคับให้เรียนจีนด้วย ทำให้ใช้ชีวิตในไต้หวันได้ง่ายขึ้นแม้จะมาแบบพื้นจีนเป็นศูนย์ ที่สำคัญคือเจ้าของเรื่องทำกิจกรรมกับทำงานมาเยอะมาก ประสบการณ์แน่นแถมภาษายิ่งพัฒนาเร็วไปอีกค่ะ!

“ทุน MOE เป็นทุนให้เปล่าสำหรับเรียน ป.ตรี, ป.โท หรือ ป.เอกที่ไต้หวัน เรียนจบไม่ต้องทำงานใช้ทุน  รัฐบาลจะสนับสนุนค่าเทอมทั้งหมด 4 ปี (เทอมละ 40,000 TWD) + เงินเดือน 15,000 (TWD) ส่วนต่างค่าเทอมเราออกเอง แต่จะมีบางแห่งที่ไม่เก็บเราเพิ่ม ซึ่ง NTUST เป็นมหาลัยหนึ่งเดียวใน Top5 ของไต้หวันที่ไม่เก็บเพิ่ม (ส่วนต่างราวๆ 30,000 TWD ต่อเทอม)”

 

*อัปเดตข้อมูลทุน ก.พ.64

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มๆ ที่นี่

……….

2
ขอทุนรัฐบาล ป.โท เรียนภาคอินเตอร์
ม.เริ่ดทั้งคุณภาพและโลเคชัน!
 

คนต่อมาก็ได้ทุน MOE ไปเรียนภาคอินเตอร์เหมือนกัน แต่เป็นระดับ ป.โท เรียนต่อสาขา International Master Program in Business Administration (IMBA) ที่ National Taipei University of Technology หรือ Taipei Tech (國立臺北科技大學)  เป็นเวลา 2 ปี 

“ปกติมหาวิทยาลัยที่ชื่อต่อท้ายด้วย Science and Technology จะเรียนแนวบริหาร+วิศวะนิดนึง ซึ่ง NTUT จะเด่นด้านวิศวะมากๆ และคอนเนกชั่นดี เจ้าของบริษัทใหญ่ๆ มักเป็นศิษย์เก่าจาก ม.นี้ เหมือนเราเรียนและได้ซื้อคอนเนกชั่นไปด้วย”

เธอเล่าว่าเหตุผลที่เลือกเรียนต่อที่นี่ นอกจากเรื่องคุณภาพการศึกษา ยังมีเรื่อง ‘ที่ตั้งมหาวิทยาลัย’ ที่อยู่ใจกลางเมืองเป๊ะๆ ความเจริญกับสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม รายล้อมด้วยสถานีรถไฟฟ้าและย่านชอปปิง อีกทั้งค่าครองชีพที่ไต้หวันยังใกล้เคียงกับไทยด้วย เอาเป็นว่าไปไต้หวันครั้งนี้กอดเก็บความประทับใจกลับไปไม่น้อย ตามมาอ่านกันต่อในบทสัมภาษณ์เลยค่ะ!

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มๆ ที่นี่

……….

3
เรียนภาษาจีนจริงจังเพราะ F4
จนได้ทุนไปเรียนต่อ NTU ม.อันดับ  1 ในไต้หวัน

ยังคงเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไต้หวัน MOE เหมือนเดิม โดยได้ไปเรียนต่อ ป.ตรี คณะรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ภาคภาษาจีน) ที่ National Taiwan University (NTU) หรือหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ที่ครองอันดับ 1 ของไต้หวันจากการจัดอันดับของ QS Ranking นั่นเองค่ะ สุดยอดมากกกก

“พี่ว่าข้อดีของไต้หวันคือความสะดวกสบาย เมืองเล็ก รัฐดูแลทั่วถึง สวัสดิการดีมากๆ ขนาดต่างชาติยังได้เท่าเทียมคนในพื้นที่ พี่เคยถามคนไต้หวันว่ามองตัวเองยังไง? เขาบอกว่า บางทีก็สับสนใน Identity ของตัวเองเหมือนกัน เพราะมีความเป็นไต้หวัน จีน อเมริกา ญี่ปุ่น ปัจจุบันนี้คนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อพยพเข้าไปเยอะ รัฐบาลก็เปิดรับ กลายเป็นสังคมที่หลอมรวมความหลากหลายแต่ไม่วุ่นวาย”

  ใครกำลังหาแรงบันดาลใจเรียนภาษาจีนห้ามพลาดนะคะ เพราะพี่คนนี้เริ่มจากจุดที่ทรัพยากรมีจำกัด ไม่มีโอกาสไปต่างประเทศ แต่กอบโกยจากสิ่งรอบตัวให้มากที่สุด เก็บทั้งถุงกล้วยแขก เศษกระดาษ เศษหนังสือพิมพ์เป็นชิ้นๆ ห่อธูป  และทุกสิ่งที่อย่างที่มีภาษาจีน ขอคุณพ่อซื้อดิกฯ กับหนังสือแกรมมาร์ เข้าห้องแช็ตคุยกับคนจีนแบบมั่วๆ ฯลฯ เอาเป็นว่ามุ่งมั่นมากกกก  ซึ่งบทความนี้รีวิวครบทั้งแรงบันดาลใจ การเรียนภาษา การสมัครทุน  ใครอยากรู้ว่าชีวิตเด็กรัฐศาสตร์ที่ไต้หวันเป็นยังไง เจอคาบแรกแล้วแทบร้องไห้เลยมั้ย คลิกลิงก์อ่านต่อกันเลยค่ะ

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มๆ ที่นี่

……….

4

เรียนการจัดการเมือง ในเมืองที่นโยบายรัฐ
พื้นที่สาธารณะ คมนาคมดีสุดยอด!

เป็นอีกบทสัมภาษณ์ที่มีน้องๆ สนใจเยอะมากเหมือนกันค่ะ  พี่คนนี้ตัดสินใจต่อ ป.โท  International Program on Urban Governance  (IPUG)  ที่ National Taipei University (NTPU) โดยได้ offer ทุนจากมหาวิทยาลัย ช่วยค่าเทอม ค่าหน่วยกิต ค่าหอใน และค่ากินอยู่แต่ละเดือน (บางส่วน)  

“พี่ทำงานด้านสื่อแล้วเกิดอินกับเรื่องบริหารจัดการเมือง จนนั่งตัดสินใจว่าจะเรียนเฉพาะด้านนี้ให้ลึกขึ้น แล้วเคาะว่าต้องเป็นที่ไต้หวันเพราะเคยไปเที่ยวหลายครั้งแล้วชอบมาก ค่าครองชีพไม่แรง การจัดการเมืองและนโยบายรัฐน่าสนใจ มาตรการป้องกันโควิดก็แน่นหนามากด้วย ถึงจะหนักใจเรื่องภาษาเพราะไม่มีพื้นฐานจีนเลย แต่ตอนไปเที่ยวเราสังเกตว่าคนไต้หวันส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษได้ เวลานั่งรถเมล์กับรถไฟใต้ดินก็มีป้ายภาษาอังกฤษที่เฟรนด์ลี่กับต่างชาติ”

ใครอยากฟังแง่มุมการเรียน การใช้ชีวิต การปรับตัว (อาหารไต้หวันไม่ได้อร่อยสำหรับทุกคน)  รวมถึงมาตรการรับมือโรคระบาดครั้งใหญ่ ห้ามพลาดบทสัมภาษณ์นี้เลยค่ะ

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มๆ ที่นี่

……….

5
ได้ทั้งทุนรัฐบาลไต้หวัน (TaiwanICDF)
อีกสาขาเจ๋งๆ ที่อยากบอกต่อ

ข้ามมาที่นี่ฝั่งทุนรัฐบาลไต้หวัน TaiwanICDF กันบ้างค่ะ พี่คนนี้ขอทุนไปเรียนต่อ ป.โท สาขาผู้นำการศึกษาและการจัดการเพื่อการพัฒนา Educational Leadership and Management Development มหาวิทยาลัยแห่งชาติจงจ้ง (National Chung Cheng University) ถ้าใครที่สนใจด้านนโยบายการศึกษา บริหารการศึกษา การศึกษานานาชาติ หลักสูตรนี้น่าสนใจมาก ซึ่งนอกจากทุนรัฐบาลไต้หวัน ก็ยังมีทุนของมหาวิทยาลัยที่ครอบคลุมค่าเรียนตลอดหลักสูตรและค่าที่พัก *มีรีวิวการเรียนที่จีนด้วยนะคะ เพราะพี่คนนี้ก็ได้ทุนรัฐบาล CSC ไปเรียน ป.เอกที่จีนด้วยเหมือนกัน

“เราประทับใจที่เขาพยายามเน้นการศึกษาด้วยตนเองและอภิปรายร่วมในชั้นเรียน และอาจารย์ก็เป็นกันเองและเข้าใจหัวอกนักเรียนที่ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแม่ (เพราะหัวอกเดียวกัน) การดูแลนักศึกษาต่างชาติอยู่ในขั้นดีถึงดีมาก และนอกจากด้านการเรียน การเดินทางก็สะดวกสบาย คนไต้หวันสุภาพ บ้านเมืองสะอาด อาหารอร่อย อย่างที่บล็อกเกอร์หลายหลายคนรีวิวไว้เลยครับ ชีวิตดีมากกก!”

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มๆ ที่นี่

……….

6

ได้ทุน HES ไปเรียนภาษา
แต่ไ่ด้อะไรมากกว่าภาษา

อยากเรียนภาษาจีนที่ไต้หวันห้ามพลาดค่ะ เพราะมีทุนรัฐบาลไต้หวัน HES (Huayu Enrichment Scholarship) ที่ให้ไปเรียนมหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่างๆ ในเครือ โดยจะแบ่งระยะเวลาออกเป็น 3, 6, 9 และ 12 เดือน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกรรมการว่าจะอนุมัติให้ผู้ได้ทุนแต่ละคนได้เรียนกี่เดือน

สำหรับเจ้าของเรื่องนี้ก็ได้ทุน HES ไปเรียนภาษาจีนที่ National Chung Hsing Unversity เจอวิธีเรียนที่เจ๋งมากและได้อะไรมากกว่าภาษาจีน มาอ่านรีวิวและการเตรียมตัวขอทุนกันค่ะ ได้ทั้งแนวทางและแรงบันดาลใจดีๆ กลับไปแน่นอน 

“เห็นน้องๆ หลายคนมาถามว่าเรียนจีนยากมั้ย  เพราะเห็นภาษาจีนตัวเต็มแล้วจะเป็นลม เราอยากเชียร์ว่ามาเถอะ มันมีประโยชน์มากๆ จะเป็นล่าม เลขาฯ หรือหางานในต่างประเทศได้สบาย สำหรับเราการขอทุน HES เป็นการเดินทางที่ยาวนานมาก ตั้งแต่วันแรกที่เตรียมตัวจนนึงวันประกาศ ใช้เวลาเกือบปี ทั้งสมัคร สอบ นั่งกังวลผลสอบอีก ดังนั้นถ้าน้องๆ อยากได้ทุน HES อย่าเพิ่งท้อนะคะ พยายามให้เต็มที่”

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มๆ ที่นี่

……….

7

อยากพิสูจน์ว่าไต้หวันดีจริงมั้ย
เลยขอไปเรียนภาษาดูสักครั้ง

 ไม่ว่าจะเรียนภาษาจีนที่จีนแผ่นดินใหญ่โดยตรงหรือไต้หวัน เค้าก็มีจุดเด่นที่กินกันไม่ลงจริงๆ ค่ะ  อย่างเจ้าของเรื่องนี้ติดใจภาษาจีนเพราะเลือกลงวิชาเสรีในมหาวิทยาลัย พอได้ยินคนรอบข้างเล่าข้อดีของไต้หวันให้ฟัง ก็ตัดสินใจลองดูสักตั้ง และคิดว่าคงมีโอกาสเจอคนไทยน้อยกว่า น่าจะเป็นสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้ภาษาไปได้ไวขึ้นด้วย

สำหรับพี่คนนี้ก็ไปเรียนภาษาโดยออกค่าใช้จ่ายเอง  และได้เรียนภาษาที่ ม.หมิงฉวน (Ming Chuan University / 銘傳大學)  แต่จะเรียนยังไง เรียนอะไรบ้าง  เจอประสบการณ์ที่น่าประทับใจรึเปล่า มาอ่านต่อในบทความเลยค่ะ

“คนไต้หวันเค้าพูดไม่เร็วมาก ทำให้ฟังง่าย เข้าใจง่าย  และค่อยๆ พูดในระดับเสียงปกติ แต่ช่วงแรกที่ไปถึง เราอาจต้องพยายามพูดศัพท์เบื้องต้นง่ายๆ ก่อน  มีใช้ภาษามือ ให้ดูรูป หรือใช้ภาษาอังกฤษในคำที่เราไม่รู้ ถ้าสั่งอาหารก็จิ้มเมนูเอา กว่าพี่จะมั่นใจก็ประมาณ 1 เดือนครึ่ง – 2 เดือนค่ะ จริงๆ คนไต้หวันที่ไทเป เค้าพูดภาษาอังกฤษได้นะ แต่ในต่างจังหวัดส่วนใหญ่ใช้ภาษาจีน และมีภาษาท้องถิ่นด้วย”

 

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มๆ ที่นี่

……….

8
ขอทุน UMAP แลกเปลี่ยน 1 ปี
(เจ้าหน้าที่สถานทูตไต้หวันมาเอง)

 

มาดูฝั่งนักเรียนแลกเปลี่ยนกันบ้างค่ะ เจ้าของเรื่องนี้เคยได้ทุน UMAP (University Mobility in Asia and the Pacific) ไปแลกเปลี่ยน 1 ปีการศึกษาที่ ม.คาธอลิกฟู่เจิน (Fu Jen Catholic University) ตั้งอยู่ที่เมืองนิวไทเป และเป็น ม.เอกชนดังระดับต้นๆ ของไต้หวัน ค่าเทอมจริงประมาณ 60,000 TWD  คณะที่เรียนคือประวัติศาสตร์และปรัชญา  เพราะโอนหน่วยกิตมาสาขาที่เรียนในไทยได้  ได้ยินแบบนี้อย่าเพิ่งคิดว่าคณะนี้น่าเบื่อ เพราะเจ้าของเรื่องนี้บอกว่าวิธีเรียนและเนื้อหา ท้าทายและช่วยเปิดโลกสุดๆ  (ในบทสัมภาษณ์มีแนะนำเรื่องทุนเยอะ เพราะเรียนจบแล้วมาทำงานด้านการศึกษาที่สถานทูตไต้หวันด้วยค่ะ)

“เจอคาบแรกเข้าไปปรับตัวไม่ทันหนักมากค่ะ แค่สไตล์การสอนก็ต่างแล้ว เราชินกับการนั่งเปิดหนังสือแล้วนั่งฟังอาจารย์สอนจากในนั้น แต่ที่นี่มีแค่อาจารย์ที่ถือหนังสือในมือ แล้วอธิบายให้เราฟังแบบเน้นเข้าใจ ดึงเหตุการณ์มาให้วิเคราะห์ด้วยกัน พอจบคาบแล้วเค้าจะแปะ/โน้ตชื่อหนังสือให้ค้นคว้าต่อ ตอนสอบก็เหมือนกัน เราต้องเข้าใจเนื้อหาบทเรียนแบบลึกซึ้งเลยถึงจะวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบได้ ไม่ใช่การท่องจำเพื่อไปตอบ  ส่วนเรื่องภาษาต้องใช้เวลา เพราะเจอ textbook ภาษาจีนเยอะมาก เราเหมือนต้องทำการบ้านหนักกว่าคนอื่น”

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มๆ ที่นี่

……….

9

เมื่อติ่งไต้หวันไปใช้ชีวิตที่ไต้หวัน
การกิน เรียน เที่ยวและตามดาราก็เกิดขึ้น

       ด้วยความที่เป็นติ่งไต้หวันมาร่วม 8 ปี พอได้ยินว่าที่มหาลัยที่เรียนมีความร่วมมือกับที่ไต้หวัน ประกอบกับเพื่อนสนิทก็จะไปแลกเปลี่ยนเทอมเดียวกัน (แต่คนละประเทศ) ก็เลยตัดสินใจง่ายขึ้น โดยมหาวิทยาลัยที่ไปคือ  ม.หมิงฉวน  อีกเป้าหมายนึงคืออยากพัฒนาและรื้อฟื้นภาษาจีนที่สั่งสมมานานจนส่งคืนเหล่าซือไปเกือบหมด และวางแผนอนาคตว่าอยากเรียนต่อที่ไต้หวันด้วย เลยอยากลองไปดูว่าโอเคมั้ย ค่าครองชีพไม่ต่างจากไทยด้วย

บอกเลยว่าเป็นอีกรีวิวที่น่ารักมากกก แบบเห็นภาพสุดๆ  บอกตรงๆ ว่าแปลกใจที่เป็นรีวิวเมื่อปี 2558 แต่ระบบขนส่งสาธารณะคือดีงามน่าอิจฉาตั้งแต่ตอนนั้นแล้วค่ะท่านผู้ชม!! มาอ่่านรีวิวฉบับติ่งไต้หวันกันเลยค่า~

“เนื่องจากชอบนักร้องไต้หวันมากก็เลยได้ไปหลายๆ อีเว้นท์ ทั้งไปบุกสถานีโทรทัศน์ เข้าไปดูบอยแบนด์ไต้หวันอย่าง JPM อัดรายการในสตูอิโอ งานประกาศรางวัลละครประจำปีของช่องซานลี่ก็ไปดูมาด้วยค่ะ ต้องไปแต่เช้าต่อแถวรอบัตรเข้างาน แล้วก็ได้เข้าไปดูสตูดิโอที่เค้าใช้ถ่ายทำจริงๆ เจอดาราที่เล่นซีรีส์ดังๆ เพียบเลย แถมตอนจบงานได้ยืนรอส่งดาราขึ้นรถแบบใกล้ๆ ด้วย”

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มๆ ที่นี่

……….

และทั้งหมดนี้ก็เป็น 9 เรื่องราวที่ขอชวนน้องๆ มาอ่านเพื่อเป็นแนวทางและสร้างแรงบันดาลใจกันค่ะ ที่สำคัญที่สุด อย่าลืมศึกษาข้อมูลข้อมูลทุน/มหาวิทยาลัยไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เตรียมตัวให้พร้อม และอัปสกิลภาษาจีน/ภาษาอังกฤษเพื่อคว้าโอกาสดีๆ ที่จะเข้ามาหาเราในอนาคตนะคะ

Note: ใครอยากอัปเดตข่าวสารเรื่องทุนไต้หวัน เข้าไปติดตามช่องทางของ ‘สถานทูตไต้หวันประจำประเทศไทย’ หรือสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทย (Taipei Economic and Cultural Office in Thailand)  และสามารถ Add Line@ ด้านล่างนี้เพื่อขอคำปรึกษาฟรีจากพี่ๆ เจ้าหน้าที่ได้ฟรีค่ะ

 

ปิดท้ายด้วยข้อมูลตัวอย่างทุนไต้หวันที่น่าสนใจ
 

  • ทุนรัฐบาลไต้หวัน (ทุน MOE หรือ MOE Taiwan Scholarship Program) เป็นทุนรัฐบาลไต้หวัน ต้องเรียนจบ ม.ปลายหรือปริญญาขึ้นไป ยื่นได้ตั้งแต่ช่วงเรียน เรียนต่อได้ทั้ง ป.ตรี / ป.โท / ป.เอก เปิดรับสมัครช่่วง 1 ก.พ.-31 มี.ค. ของทุกปีค่ะ ทุนนี้จะช่วยออกค่าเรียน 40,000 TWD (บางคณะออกส่วนต่างให้) และมีเงินสนับสนุนรายเดือนให้ด้วย
     
  • ทุนเรียนภาษาจีนระยะสั้น (ทุน HES หรือ Huayu Enrichment Scholarship) ต้องจบ ม.ปลายขึ้นไป และเปิดรับ 1 ก.พ. – 31 มี.ค. ของทุกปีเหมือนกันค่ะ โดยเราขอไปเรียนได้เป็นระยะเวลา 3, 6, 9 และ 12 เดือน และกรรมการจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติอีกครั้ง
     
  • ทุน UMAP (University Mobility in Asia and the Pacific) ทุนแลกเปลี่ยนสำหรับนิสิตนักศึกษาหรือบุคลากร สนับสนุนเงินทุนโดยกระทรวงศึกษาธิการของไต้หวัน มีรายชื่อมหาวิทยาลัยในเครือให้เลือก ส่วนคณะเลือกได้อิสระ
     
  • ทุนอื่นๆ ของไต้หวัน เช่น ทุน MOFA Taiwan Fellowship สำหรับนักวิจัยและนักวิชาการ, ทุน Spring Branch Education Foundation (SBEF)

 Photo Credit
  Freepik.com

[NEW] จัดเต็ม! รวมรีวิวสำหรับคนอยากเรียนต่อ ‘ไต้หวัน’ (ภาคจีน/อินเตอร์) ทุนเพียบ คุณภาพชีวิตดี | เรียน จีน ระยะ สั้น – NATAVIGUIDES

สวัสดีค่ะชาว Dek-D มีใครเริ่มปักหมุดไปเรียนไต้หวันบ้าง? ต้องบอกว่านับวันยิ่งมาแรงจริงๆ ค่ะ เพราะกิตติศัพท์เรื่องคุณภาพชีวิต ความทันสมัย ความเป็นมิตรของผู้คน แถมมีทุนมากมายให้ชาวต่างชาติมีโอกาสไปสัมผัสความดีงามพร้อมซึมซับภาษาจีนติดตัวมาด้วย (*ไต้หวันใช้จีนตัวเต็ม) และหากใครกังวลเรื่องภาษาจีน ก็ยังมีทางเลือกเป็นหลักสูตรอินเตอร์ของบางคณะในบางมหาวิทยาลัย

ดังนั้นวันนี้เราขอชี้เป้า 9 รีวิวประสบการณ์เน้นๆ หลายแนวจากคนไทยที่ไปเรียนต่อไต้หวัน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไต้หวัน MOE ป.ตรีและป.โท ทั้งภาคจีนและภาคอินเตอร์, ทุน HES เรียนภาษา, ทุน TaiwanICDF เรียนต่อ ป.โท,  ทุนแลกเปลี่ยน UMAP, ทุนมหาวิทยาลัยภาคอินเตอร์ รวมถึงคนที่ไปด้วยทุนตัวเองแต่เจอเรื่องสนุกเพียบ! ในจำนวนนี้ก็มีคนไปสัมผัสการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยอันดับ 1 (NTU) และอันดับต้นๆ ของไต้หวันด้วย สนใจเรื่องไหนคลิกอ่านต่อในบทความได้เลย 🙂

……….

1
เด็กทุน ป.ตรี เรียนวิศวะอินเตอร์ม.ดัง
เมเนจเวลาขั้นเทพ ไปแบบไม่มีพื้นจีน! 

เริ่มกันที่เรื่องราวของเด็กทุนรัฐบาลไต้หวัน (MOE) ระดับ ป.ตรี ไปเรียนต่อวิศวะเครื่องกล ภาคอินเตอร์ที่ National Taiwan University of Science and Technology (NTUST / Taiwan Tech / 臺科大)  คุณภาพติด Top5 ของไต้หวัน และหลักสูตรก็มีบังคับให้เรียนจีนด้วย ทำให้ใช้ชีวิตในไต้หวันได้ง่ายขึ้นแม้จะมาแบบพื้นจีนเป็นศูนย์ ที่สำคัญคือเจ้าของเรื่องทำกิจกรรมกับทำงานมาเยอะมาก ประสบการณ์แน่นแถมภาษายิ่งพัฒนาเร็วไปอีกค่ะ!

“ทุน MOE เป็นทุนให้เปล่าสำหรับเรียน ป.ตรี, ป.โท หรือ ป.เอกที่ไต้หวัน เรียนจบไม่ต้องทำงานใช้ทุน  รัฐบาลจะสนับสนุนค่าเทอมทั้งหมด 4 ปี (เทอมละ 40,000 TWD) + เงินเดือน 15,000 (TWD) ส่วนต่างค่าเทอมเราออกเอง แต่จะมีบางแห่งที่ไม่เก็บเราเพิ่ม ซึ่ง NTUST เป็นมหาลัยหนึ่งเดียวใน Top5 ของไต้หวันที่ไม่เก็บเพิ่ม (ส่วนต่างราวๆ 30,000 TWD ต่อเทอม)”

 

*อัปเดตข้อมูลทุน ก.พ.64

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มๆ ที่นี่

……….

2
ขอทุนรัฐบาล ป.โท เรียนภาคอินเตอร์
ม.เริ่ดทั้งคุณภาพและโลเคชัน!
 

คนต่อมาก็ได้ทุน MOE ไปเรียนภาคอินเตอร์เหมือนกัน แต่เป็นระดับ ป.โท เรียนต่อสาขา International Master Program in Business Administration (IMBA) ที่ National Taipei University of Technology หรือ Taipei Tech (國立臺北科技大學)  เป็นเวลา 2 ปี 

“ปกติมหาวิทยาลัยที่ชื่อต่อท้ายด้วย Science and Technology จะเรียนแนวบริหาร+วิศวะนิดนึง ซึ่ง NTUT จะเด่นด้านวิศวะมากๆ และคอนเนกชั่นดี เจ้าของบริษัทใหญ่ๆ มักเป็นศิษย์เก่าจาก ม.นี้ เหมือนเราเรียนและได้ซื้อคอนเนกชั่นไปด้วย”

เธอเล่าว่าเหตุผลที่เลือกเรียนต่อที่นี่ นอกจากเรื่องคุณภาพการศึกษา ยังมีเรื่อง ‘ที่ตั้งมหาวิทยาลัย’ ที่อยู่ใจกลางเมืองเป๊ะๆ ความเจริญกับสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม รายล้อมด้วยสถานีรถไฟฟ้าและย่านชอปปิง อีกทั้งค่าครองชีพที่ไต้หวันยังใกล้เคียงกับไทยด้วย เอาเป็นว่าไปไต้หวันครั้งนี้กอดเก็บความประทับใจกลับไปไม่น้อย ตามมาอ่านกันต่อในบทสัมภาษณ์เลยค่ะ!

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มๆ ที่นี่

……….

3
เรียนภาษาจีนจริงจังเพราะ F4
จนได้ทุนไปเรียนต่อ NTU ม.อันดับ  1 ในไต้หวัน

ยังคงเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไต้หวัน MOE เหมือนเดิม โดยได้ไปเรียนต่อ ป.ตรี คณะรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ภาคภาษาจีน) ที่ National Taiwan University (NTU) หรือหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ที่ครองอันดับ 1 ของไต้หวันจากการจัดอันดับของ QS Ranking นั่นเองค่ะ สุดยอดมากกกก

“พี่ว่าข้อดีของไต้หวันคือความสะดวกสบาย เมืองเล็ก รัฐดูแลทั่วถึง สวัสดิการดีมากๆ ขนาดต่างชาติยังได้เท่าเทียมคนในพื้นที่ พี่เคยถามคนไต้หวันว่ามองตัวเองยังไง? เขาบอกว่า บางทีก็สับสนใน Identity ของตัวเองเหมือนกัน เพราะมีความเป็นไต้หวัน จีน อเมริกา ญี่ปุ่น ปัจจุบันนี้คนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อพยพเข้าไปเยอะ รัฐบาลก็เปิดรับ กลายเป็นสังคมที่หลอมรวมความหลากหลายแต่ไม่วุ่นวาย”

  ใครกำลังหาแรงบันดาลใจเรียนภาษาจีนห้ามพลาดนะคะ เพราะพี่คนนี้เริ่มจากจุดที่ทรัพยากรมีจำกัด ไม่มีโอกาสไปต่างประเทศ แต่กอบโกยจากสิ่งรอบตัวให้มากที่สุด เก็บทั้งถุงกล้วยแขก เศษกระดาษ เศษหนังสือพิมพ์เป็นชิ้นๆ ห่อธูป  และทุกสิ่งที่อย่างที่มีภาษาจีน ขอคุณพ่อซื้อดิกฯ กับหนังสือแกรมมาร์ เข้าห้องแช็ตคุยกับคนจีนแบบมั่วๆ ฯลฯ เอาเป็นว่ามุ่งมั่นมากกกก  ซึ่งบทความนี้รีวิวครบทั้งแรงบันดาลใจ การเรียนภาษา การสมัครทุน  ใครอยากรู้ว่าชีวิตเด็กรัฐศาสตร์ที่ไต้หวันเป็นยังไง เจอคาบแรกแล้วแทบร้องไห้เลยมั้ย คลิกลิงก์อ่านต่อกันเลยค่ะ

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มๆ ที่นี่

……….

4

เรียนการจัดการเมือง ในเมืองที่นโยบายรัฐ
พื้นที่สาธารณะ คมนาคมดีสุดยอด!

เป็นอีกบทสัมภาษณ์ที่มีน้องๆ สนใจเยอะมากเหมือนกันค่ะ  พี่คนนี้ตัดสินใจต่อ ป.โท  International Program on Urban Governance  (IPUG)  ที่ National Taipei University (NTPU) โดยได้ offer ทุนจากมหาวิทยาลัย ช่วยค่าเทอม ค่าหน่วยกิต ค่าหอใน และค่ากินอยู่แต่ละเดือน (บางส่วน)  

“พี่ทำงานด้านสื่อแล้วเกิดอินกับเรื่องบริหารจัดการเมือง จนนั่งตัดสินใจว่าจะเรียนเฉพาะด้านนี้ให้ลึกขึ้น แล้วเคาะว่าต้องเป็นที่ไต้หวันเพราะเคยไปเที่ยวหลายครั้งแล้วชอบมาก ค่าครองชีพไม่แรง การจัดการเมืองและนโยบายรัฐน่าสนใจ มาตรการป้องกันโควิดก็แน่นหนามากด้วย ถึงจะหนักใจเรื่องภาษาเพราะไม่มีพื้นฐานจีนเลย แต่ตอนไปเที่ยวเราสังเกตว่าคนไต้หวันส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษได้ เวลานั่งรถเมล์กับรถไฟใต้ดินก็มีป้ายภาษาอังกฤษที่เฟรนด์ลี่กับต่างชาติ”

ใครอยากฟังแง่มุมการเรียน การใช้ชีวิต การปรับตัว (อาหารไต้หวันไม่ได้อร่อยสำหรับทุกคน)  รวมถึงมาตรการรับมือโรคระบาดครั้งใหญ่ ห้ามพลาดบทสัมภาษณ์นี้เลยค่ะ

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มๆ ที่นี่

……….

5
ได้ทั้งทุนรัฐบาลไต้หวัน (TaiwanICDF)
อีกสาขาเจ๋งๆ ที่อยากบอกต่อ

ข้ามมาที่นี่ฝั่งทุนรัฐบาลไต้หวัน TaiwanICDF กันบ้างค่ะ พี่คนนี้ขอทุนไปเรียนต่อ ป.โท สาขาผู้นำการศึกษาและการจัดการเพื่อการพัฒนา Educational Leadership and Management Development มหาวิทยาลัยแห่งชาติจงจ้ง (National Chung Cheng University) ถ้าใครที่สนใจด้านนโยบายการศึกษา บริหารการศึกษา การศึกษานานาชาติ หลักสูตรนี้น่าสนใจมาก ซึ่งนอกจากทุนรัฐบาลไต้หวัน ก็ยังมีทุนของมหาวิทยาลัยที่ครอบคลุมค่าเรียนตลอดหลักสูตรและค่าที่พัก *มีรีวิวการเรียนที่จีนด้วยนะคะ เพราะพี่คนนี้ก็ได้ทุนรัฐบาล CSC ไปเรียน ป.เอกที่จีนด้วยเหมือนกัน

“เราประทับใจที่เขาพยายามเน้นการศึกษาด้วยตนเองและอภิปรายร่วมในชั้นเรียน และอาจารย์ก็เป็นกันเองและเข้าใจหัวอกนักเรียนที่ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแม่ (เพราะหัวอกเดียวกัน) การดูแลนักศึกษาต่างชาติอยู่ในขั้นดีถึงดีมาก และนอกจากด้านการเรียน การเดินทางก็สะดวกสบาย คนไต้หวันสุภาพ บ้านเมืองสะอาด อาหารอร่อย อย่างที่บล็อกเกอร์หลายหลายคนรีวิวไว้เลยครับ ชีวิตดีมากกก!”

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มๆ ที่นี่

……….

6

ได้ทุน HES ไปเรียนภาษา
แต่ไ่ด้อะไรมากกว่าภาษา

อยากเรียนภาษาจีนที่ไต้หวันห้ามพลาดค่ะ เพราะมีทุนรัฐบาลไต้หวัน HES (Huayu Enrichment Scholarship) ที่ให้ไปเรียนมหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่างๆ ในเครือ โดยจะแบ่งระยะเวลาออกเป็น 3, 6, 9 และ 12 เดือน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกรรมการว่าจะอนุมัติให้ผู้ได้ทุนแต่ละคนได้เรียนกี่เดือน

สำหรับเจ้าของเรื่องนี้ก็ได้ทุน HES ไปเรียนภาษาจีนที่ National Chung Hsing Unversity เจอวิธีเรียนที่เจ๋งมากและได้อะไรมากกว่าภาษาจีน มาอ่านรีวิวและการเตรียมตัวขอทุนกันค่ะ ได้ทั้งแนวทางและแรงบันดาลใจดีๆ กลับไปแน่นอน 

“เห็นน้องๆ หลายคนมาถามว่าเรียนจีนยากมั้ย  เพราะเห็นภาษาจีนตัวเต็มแล้วจะเป็นลม เราอยากเชียร์ว่ามาเถอะ มันมีประโยชน์มากๆ จะเป็นล่าม เลขาฯ หรือหางานในต่างประเทศได้สบาย สำหรับเราการขอทุน HES เป็นการเดินทางที่ยาวนานมาก ตั้งแต่วันแรกที่เตรียมตัวจนนึงวันประกาศ ใช้เวลาเกือบปี ทั้งสมัคร สอบ นั่งกังวลผลสอบอีก ดังนั้นถ้าน้องๆ อยากได้ทุน HES อย่าเพิ่งท้อนะคะ พยายามให้เต็มที่”

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มๆ ที่นี่

……….

7

อยากพิสูจน์ว่าไต้หวันดีจริงมั้ย
เลยขอไปเรียนภาษาดูสักครั้ง

 ไม่ว่าจะเรียนภาษาจีนที่จีนแผ่นดินใหญ่โดยตรงหรือไต้หวัน เค้าก็มีจุดเด่นที่กินกันไม่ลงจริงๆ ค่ะ  อย่างเจ้าของเรื่องนี้ติดใจภาษาจีนเพราะเลือกลงวิชาเสรีในมหาวิทยาลัย พอได้ยินคนรอบข้างเล่าข้อดีของไต้หวันให้ฟัง ก็ตัดสินใจลองดูสักตั้ง และคิดว่าคงมีโอกาสเจอคนไทยน้อยกว่า น่าจะเป็นสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้ภาษาไปได้ไวขึ้นด้วย

สำหรับพี่คนนี้ก็ไปเรียนภาษาโดยออกค่าใช้จ่ายเอง  และได้เรียนภาษาที่ ม.หมิงฉวน (Ming Chuan University / 銘傳大學)  แต่จะเรียนยังไง เรียนอะไรบ้าง  เจอประสบการณ์ที่น่าประทับใจรึเปล่า มาอ่านต่อในบทความเลยค่ะ

“คนไต้หวันเค้าพูดไม่เร็วมาก ทำให้ฟังง่าย เข้าใจง่าย  และค่อยๆ พูดในระดับเสียงปกติ แต่ช่วงแรกที่ไปถึง เราอาจต้องพยายามพูดศัพท์เบื้องต้นง่ายๆ ก่อน  มีใช้ภาษามือ ให้ดูรูป หรือใช้ภาษาอังกฤษในคำที่เราไม่รู้ ถ้าสั่งอาหารก็จิ้มเมนูเอา กว่าพี่จะมั่นใจก็ประมาณ 1 เดือนครึ่ง – 2 เดือนค่ะ จริงๆ คนไต้หวันที่ไทเป เค้าพูดภาษาอังกฤษได้นะ แต่ในต่างจังหวัดส่วนใหญ่ใช้ภาษาจีน และมีภาษาท้องถิ่นด้วย”

 

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มๆ ที่นี่

……….

8
ขอทุน UMAP แลกเปลี่ยน 1 ปี
(เจ้าหน้าที่สถานทูตไต้หวันมาเอง)

 

มาดูฝั่งนักเรียนแลกเปลี่ยนกันบ้างค่ะ เจ้าของเรื่องนี้เคยได้ทุน UMAP (University Mobility in Asia and the Pacific) ไปแลกเปลี่ยน 1 ปีการศึกษาที่ ม.คาธอลิกฟู่เจิน (Fu Jen Catholic University) ตั้งอยู่ที่เมืองนิวไทเป และเป็น ม.เอกชนดังระดับต้นๆ ของไต้หวัน ค่าเทอมจริงประมาณ 60,000 TWD  คณะที่เรียนคือประวัติศาสตร์และปรัชญา  เพราะโอนหน่วยกิตมาสาขาที่เรียนในไทยได้  ได้ยินแบบนี้อย่าเพิ่งคิดว่าคณะนี้น่าเบื่อ เพราะเจ้าของเรื่องนี้บอกว่าวิธีเรียนและเนื้อหา ท้าทายและช่วยเปิดโลกสุดๆ  (ในบทสัมภาษณ์มีแนะนำเรื่องทุนเยอะ เพราะเรียนจบแล้วมาทำงานด้านการศึกษาที่สถานทูตไต้หวันด้วยค่ะ)

“เจอคาบแรกเข้าไปปรับตัวไม่ทันหนักมากค่ะ แค่สไตล์การสอนก็ต่างแล้ว เราชินกับการนั่งเปิดหนังสือแล้วนั่งฟังอาจารย์สอนจากในนั้น แต่ที่นี่มีแค่อาจารย์ที่ถือหนังสือในมือ แล้วอธิบายให้เราฟังแบบเน้นเข้าใจ ดึงเหตุการณ์มาให้วิเคราะห์ด้วยกัน พอจบคาบแล้วเค้าจะแปะ/โน้ตชื่อหนังสือให้ค้นคว้าต่อ ตอนสอบก็เหมือนกัน เราต้องเข้าใจเนื้อหาบทเรียนแบบลึกซึ้งเลยถึงจะวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบได้ ไม่ใช่การท่องจำเพื่อไปตอบ  ส่วนเรื่องภาษาต้องใช้เวลา เพราะเจอ textbook ภาษาจีนเยอะมาก เราเหมือนต้องทำการบ้านหนักกว่าคนอื่น”

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มๆ ที่นี่

……….

9

เมื่อติ่งไต้หวันไปใช้ชีวิตที่ไต้หวัน
การกิน เรียน เที่ยวและตามดาราก็เกิดขึ้น

       ด้วยความที่เป็นติ่งไต้หวันมาร่วม 8 ปี พอได้ยินว่าที่มหาลัยที่เรียนมีความร่วมมือกับที่ไต้หวัน ประกอบกับเพื่อนสนิทก็จะไปแลกเปลี่ยนเทอมเดียวกัน (แต่คนละประเทศ) ก็เลยตัดสินใจง่ายขึ้น โดยมหาวิทยาลัยที่ไปคือ  ม.หมิงฉวน  อีกเป้าหมายนึงคืออยากพัฒนาและรื้อฟื้นภาษาจีนที่สั่งสมมานานจนส่งคืนเหล่าซือไปเกือบหมด และวางแผนอนาคตว่าอยากเรียนต่อที่ไต้หวันด้วย เลยอยากลองไปดูว่าโอเคมั้ย ค่าครองชีพไม่ต่างจากไทยด้วย

บอกเลยว่าเป็นอีกรีวิวที่น่ารักมากกก แบบเห็นภาพสุดๆ  บอกตรงๆ ว่าแปลกใจที่เป็นรีวิวเมื่อปี 2558 แต่ระบบขนส่งสาธารณะคือดีงามน่าอิจฉาตั้งแต่ตอนนั้นแล้วค่ะท่านผู้ชม!! มาอ่่านรีวิวฉบับติ่งไต้หวันกันเลยค่า~

“เนื่องจากชอบนักร้องไต้หวันมากก็เลยได้ไปหลายๆ อีเว้นท์ ทั้งไปบุกสถานีโทรทัศน์ เข้าไปดูบอยแบนด์ไต้หวันอย่าง JPM อัดรายการในสตูอิโอ งานประกาศรางวัลละครประจำปีของช่องซานลี่ก็ไปดูมาด้วยค่ะ ต้องไปแต่เช้าต่อแถวรอบัตรเข้างาน แล้วก็ได้เข้าไปดูสตูดิโอที่เค้าใช้ถ่ายทำจริงๆ เจอดาราที่เล่นซีรีส์ดังๆ เพียบเลย แถมตอนจบงานได้ยืนรอส่งดาราขึ้นรถแบบใกล้ๆ ด้วย”

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มๆ ที่นี่

……….

และทั้งหมดนี้ก็เป็น 9 เรื่องราวที่ขอชวนน้องๆ มาอ่านเพื่อเป็นแนวทางและสร้างแรงบันดาลใจกันค่ะ ที่สำคัญที่สุด อย่าลืมศึกษาข้อมูลข้อมูลทุน/มหาวิทยาลัยไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เตรียมตัวให้พร้อม และอัปสกิลภาษาจีน/ภาษาอังกฤษเพื่อคว้าโอกาสดีๆ ที่จะเข้ามาหาเราในอนาคตนะคะ

Note: ใครอยากอัปเดตข่าวสารเรื่องทุนไต้หวัน เข้าไปติดตามช่องทางของ ‘สถานทูตไต้หวันประจำประเทศไทย’ หรือสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทย (Taipei Economic and Cultural Office in Thailand)  และสามารถ Add Line@ ด้านล่างนี้เพื่อขอคำปรึกษาฟรีจากพี่ๆ เจ้าหน้าที่ได้ฟรีค่ะ

 

ปิดท้ายด้วยข้อมูลตัวอย่างทุนไต้หวันที่น่าสนใจ
 

  • ทุนรัฐบาลไต้หวัน (ทุน MOE หรือ MOE Taiwan Scholarship Program) เป็นทุนรัฐบาลไต้หวัน ต้องเรียนจบ ม.ปลายหรือปริญญาขึ้นไป ยื่นได้ตั้งแต่ช่วงเรียน เรียนต่อได้ทั้ง ป.ตรี / ป.โท / ป.เอก เปิดรับสมัครช่่วง 1 ก.พ.-31 มี.ค. ของทุกปีค่ะ ทุนนี้จะช่วยออกค่าเรียน 40,000 TWD (บางคณะออกส่วนต่างให้) และมีเงินสนับสนุนรายเดือนให้ด้วย
     
  • ทุนเรียนภาษาจีนระยะสั้น (ทุน HES หรือ Huayu Enrichment Scholarship) ต้องจบ ม.ปลายขึ้นไป และเปิดรับ 1 ก.พ. – 31 มี.ค. ของทุกปีเหมือนกันค่ะ โดยเราขอไปเรียนได้เป็นระยะเวลา 3, 6, 9 และ 12 เดือน และกรรมการจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติอีกครั้ง
     
  • ทุน UMAP (University Mobility in Asia and the Pacific) ทุนแลกเปลี่ยนสำหรับนิสิตนักศึกษาหรือบุคลากร สนับสนุนเงินทุนโดยกระทรวงศึกษาธิการของไต้หวัน มีรายชื่อมหาวิทยาลัยในเครือให้เลือก ส่วนคณะเลือกได้อิสระ
     
  • ทุนอื่นๆ ของไต้หวัน เช่น ทุน MOFA Taiwan Fellowship สำหรับนักวิจัยและนักวิชาการ, ทุน Spring Branch Education Foundation (SBEF)

 Photo Credit
  Freepik.com


เรียนภาษาจีนที่จีน พูดได้อะไรมั้ย? ไปแบบไม่มีพื้นฐาน | Harbin


สวัสดีค่ะ ในวันนี้อ้อมจะมาเล่า มาแบ่งปันประสบการณ์ในการเรียนภาษาจีนครบ 1เดือนที่ HIT หรือ 哈工大 ว่าตัวอ้อมเองจำอะไรได้บ้างมั้ย พูดได้เลยรึเปล่า อยากรู้คำตอบลองฟังกันได้เลยค้าาาาาา
Thank you for watching.
This video is not Sponsored.
FB.Share with You เรามาเเบ่งปันกันเถอะ
IG.aom__world

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

เรียนภาษาจีนที่จีน พูดได้อะไรมั้ย? ไปแบบไม่มีพื้นฐาน | Harbin

แนะนำตัว ภาษาจีน 自我介绍


แนะนำตัว ภาษาจีน 自我介绍
แนะนำตัว ภาษาจีน 自我介绍

แนะนำตัว ภาษาจีน 自我介绍

ภาษาจีนกวางตุ้ง คำกริยาเบื้องต้น 50คำ ภาษาฮ่องกง


ภาษาจีนกวางตุ้ง ภาษาฮ่องกง 學廣東話
สวัสดีค่ะเพื่อนๆ คลิปนี้ก็จะเสนอคำเยอะหน่อยนะคะ ซึ่ง Little Girl เลือกคำที่ได้ใช้ ได้ยิน ได้ฟังบ่อย มาให้เพื่อนเพื่อนได้รับชมรับฟัง Little Girl ตั้งใจกับการนำเสนอภาษาจีนกวางตุ้งมาก เพราะเมื่อก่อนที่Little Girl ศึกษาภาษาจีนกวางตุ้งใหม่ๆนั้น หาข้อมูลที่เป็นภาษาไทยได้น้อยมาก และในวันนี้ที่ Little Girl ได้ศึกษาและมีความรู้ระดับนึง ที่สามารถใช้ชีวิตประจำวัน ทำงานร่วมกับคนฮ่องกงได้ปกติ พูดคุยสื่อสารกันได้รู้เรื่อง เลยอยากจะขอนำความรู้มาแชร์ มาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ที่ต้องการศึกษาภาษาจีนกวางตุ้งกัน เพื่อจะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆ ไม่มากก็น้อย ถ้ามีอะไรผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ และขอขอบคุณเพื่อนๆทุกคนที่เข้ามารับชมกันด้วยค่ะ

ภาษาจีนกวางตุ้ง คำกริยาเบื้องต้น 50คำ ภาษาฮ่องกง

การบอกเวลาภาษาจีน 时间


现在 xiànzài ตอนนี้ ขณะนี้
点 diǎn นาฬิกา / โมง
分钟 fēn zhōng นาที
一刻 Yīkè 15 นาที
小时 xiǎoshí ชั่วโมง
几 jǐ กี่
差 chà ขาด
半 bàn ครึ่ง
夜 yè กลางคืน

凌晨 língchén ก่อนรุ่งอรุณ (ตี 01.0004.59น.)
早上 zǎoshang ตอนเช้า ( 05.0008.59น. )
上午 shàngwǔ ก่อนเที่่ยง ( 09.0011.59น. )
中午 zhōngwǔ ตอนเที่ยง ( 12.0012.59น. )
下午 xiàwǔ ตอนบ่าย ( 13.0017.59น. )
晚上 wǎnshang ตอนเย็น ( 18.0023.59น. )
傍晚 bàngwǎn ช่วงโพ้เพ้ ( 18.0018.59น. )
午夜 wǔyè เที่ยงคืน ( 24.0024.59น. )
零点 língdiǎn เที่ยงคืน ( 24.0024.59น. )

การบอกเวลาภาษาจีน 时间

เรียนภาษาจีนง่ายๆ1 ประโยคสั้นๆใช้บ่อย


เรียนจีนง่ายๆ1 ประโยคสั้นๆใช้บ่อย

เรียนภาษาจีนง่ายๆ1 ประโยคสั้นๆใช้บ่อย

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆMAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ เรียน จีน ระยะ สั้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *