Skip to content
Home » [NEW] คำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้ ฉบับเข้าใจง่าย | คํานาม หมายถึง – NATAVIGUIDES

[NEW] คำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้ ฉบับเข้าใจง่าย | คํานาม หมายถึง – NATAVIGUIDES

คํานาม หมายถึง: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

แกรมม่าภาษาอังกฤษเรื่องคำนามนับได้ (countable noun) และคำนามนับไม่ได้ (uncountable noun) เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทุกคนควรรู้ เพราะเป็นสิ่งที่ใช้บ่อย และจำเป็นสำหรับการเรียนแกรมม่าในหัวข้ออื่นๆอีกหลายหัวข้อ

สำหรับใครที่ยังไม่รู้ หรือยังสับสนเกี่ยวกับเรื่องคำนามนับได้และนับไม่ได้ ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะในบทความนี้ ชิววี่ก็ได้เรียบเรียงเนื้อหามาให้เรียนรู้กันได้อย่างง่ายๆแล้ว ทั้งนิยามของคำนามนับได้และนับไม่ได้ ตัวอย่าง การใช้ร่วมกับ determiners และเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย

คำนามนับได้คืออะไร

คำนามนับได้ (countable noun) คือคำนามที่นับจำนวนเป็นชิ้นเป็นอันได้ อย่างเช่น

Apple – แอปเปิล (นับได้ว่ามีกี่ลูก)
Book – หนังสือ (นับได้ว่ามีกี่เล่ม)
Sister – พี่สาว/น้องสาว (นับได้ว่ามีกี่คน)

สำหรับคำนามนับได้ เราสามารถใส่จำนวนตัวเลขบอกปริมาณเข้าไปตรงๆได้เลย และคำนามชนิดนี้จะมีรูปพหูพจน์ อย่างเช่น

Three apples – แอปเปิล 3 ลูก
A book – หนังสือ 1 เล่ม
Two sisters – พี่สาว/น้องสาว 2 คน

(รูปพหูพจน์คือคำนามที่ถูกเติม s หรือ es ต่อท้าย เป็นตัวบ่งชี้ว่าคำนามนั้นมีจำนวนมากกว่าหนึ่งหน่วย เช่น bananas, pens, buffaloes แต่คำนามที่เป็นรูปพหูพจน์บางคำก็ไม่ได้ลงท้ายด้วย s หรือ es เช่นคำว่า children ซึ่งแปลว่าเด็กหลายคน)

คำนามนับไม่ได้คืออะไร

คำนามนับไม่ได้ (uncountable noun) คือคำนามที่ตามธรรมชาติแล้วนับจำนวนเป็นชิ้นเป็นอันได้ยาก เรามักจะมองเป็นภาพรวมหรือเป็นกลุ่มก้อนมากกว่า อย่างเช่น

Water – น้ำ (เราจะไม่มานั่งนับน้ำว่ามีกี่หยด)
Sand – ทราย (เราจะไม่มานั่งนับทรายว่ามีกี่เม็ด)
Fun – ความสนุก (เรานับความสนุกเป็นอันๆไม่ได้)

สำหรับคำนามนับไม่ได้ เราจะไม่สามารถใส่จำนวนตัวเลขบอกปริมาณเข้าไปตรงๆได้ และคำนามชนิดนี้จะไม่มีรูปพหูพจน์ ถ้าจะบอกปริมาณ เราต้องใช้หน่วยเฉพาะเข้ามากำกับ โดยใช้โครงสร้าง “ปริมาณ + หน่วย + of + คำนามนับไม่ได้” อย่างเช่น

Three waters -> Three glasses of water – น้ำ 3 แก้ว
A sand -> A bucket of sand – ทราย 1 ถัง
Two funs -> ความสนุกเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม ไม่มีหน่วยเฉพาะที่สามารถบอกปริมาณได้

ทั้งนี้ หลายคนอาจสงสัยว่าคำนามบางตัว อย่างน้ำ (water) และเงิน (money) เราสามารถบอกปริมาณได้โดยใช้หน่วยวัด เช่น น้ำกี่ลิตร เงินกี่บาท แล้วทำไมถึงยังจัดเป็นคำนามนับไม่ได้

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะคำนามนับได้นั้นจะต้องเป็นสิ่งที่นับได้ง่ายโดยธรรมชาติ ไม่ใช่นับได้ด้วยหน่วยวัดที่ประดิษฐ์ขึ้น

คำนามที่ทั้งนับได้และไม่ได้

หลายๆครั้ง เส้นแบ่งระหว่างคำนามนับได้และนับไม่ได้ก็สามารถยืดหยุ่นพลิกแพลงได้ ไม่ได้ถือเป็นสิ่งตายตัวซะทีเดียว คำๆหนึ่งอาจเป็นได้ทั้งคำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้ หรืออาจใช้งานเหมือนคำนามอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งได้แก่กรณีต่อไปนี้

คำเดียวกัน แต่คนละความหมาย

คำบางคำมีหลายความหมาย ซึ่งความหมายหนึ่งอาจเป็นคำนามนับได้ ในขณะที่ความหมายอื่นกลับเป็นคำนามนับไม่ได้ อย่างเช่น

คำว่า glass

  • ความหมายแรกแปลว่า “แก้วน้ำ” ถือเป็นคำนามนับได้ (นับได้ว่ามีกี่ใบ)
  • อีกความหมายแปลว่า “กระจก” ถือเป็นคำนามนับไม่ได้ (คำว่ากระจกถือเป็นคำที่กว้าง มีชนิด ขนาด และรูปทรงหลากหลาย ไม่มีหน่วยตามธรรมชาติที่ชัดเจน เช่นคำว่ากระจกอาจหมายถึง กระจกหน้าต่าง กระจกมือถือ กระจกที่เป็นส่วนผสมในวัสดุอื่น)

คำว่า paper

  • ความหมายแรกแปลว่า “หนังสือพิมพ์” เป็นคำสั้นๆที่ใช้แทนคำว่า newspaper ถือเป็นคำนามนับได้ (นับได้ว่ามีกี่ฉบับ)
  • อีกความหมายแปลว่า “กระดาษ” ถือเป็นคำนามนับไม่ได้ (คำว่ากระดาษถือเป็นคำที่กว้าง มีชนิด ขนาด และรูปทรงหลากหลาย ไม่มีหน่วยตามธรรมชาติที่ชัดเจน เช่นคำว่ากระดาษอาจหมายถึง กระดาษ A4 กระดาษลัง กระดาษห่อของขวัญ)

คำเดียวกัน ความหมายเดียวกัน แต่สื่อคนละแบบ

บางคำจะเป็นได้ทั้งคำนามนับได้และนับไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้คำนั้นสื่อความหมายแบบไหน (โดยรวมหรือหลายชนิด, ทั่วไปหรือชี้เฉพาะ) อย่างเช่น

คำว่า food ซึ่งแปลว่า “อาหาร” ถ้าใช้ในความหมายทั่วไป จะถือเป็นคำนามนับไม่ได้ แต่จะถือเป็นคำนามนับได้ ถ้าเราหมายถึงชนิดอาหารหลายๆชนิด

Japanese food and Thai food are examples of Asian foods.
อาหารญี่ปุ่นและอาหารไทยเป็นตัวอย่างของอาหารเอเชีย
(เราใช้ Japanese food กับ Thai food เพื่อสื่อถึงอาหารญี่ปุ่นและอาหารไทยโดยรวม เลยถือเป็นคำนามนับไม่ได้ แต่ Asian foods ในที่นี้กล่าวรวมอาหารเอเชียหลายชนิดหลายเชื้อชาติ เลยถือเป็นคำนามนับได้)

คำว่า time ซึ่งแปลว่า “เวลา” ถ้าใช้ในความหมายทั่วไป จะถือเป็นคำนามนับไม่ได้

Time is the most precious resource.
เวลาเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด
(พูดถึงเวลาโดยทั่วไป)

แต่จะถือเป็นคำนามนับได้ ถ้าเราหมายถึงช่วงเวลาเฉพาะ

I had a good time in London.
ฉันมีช่วงเวลาที่ดีตอนที่อยู่ที่ลอนดอน
(พูดถึงช่วงเวลาตอนที่อยู่ในลอนดอน)

การใช้คำนามนับไม่ได้เหมือนคำนามนับได้

อย่างที่ได้อธิบายไป ถ้าเราจะบอกจำนวนของคำนามนับไม่ได้ เราจะต้องใช้โครงสร้าง “ปริมาณ + หน่วย + of + คำนามนับไม่ได้” อย่างเช่น two cups of coffee ซึ่งแปลว่า กาแฟ 2 ถ้วย

แต่ในภาษาพูดหรือภาษาที่ไม่เป็นทางการ บางทีเราจะใช้คำนามนับไม่ได้เหมือนคำนามนับได้ อย่างเช่น

Can I have two coffees?
ฉันขอกาแฟสองถ้วยได้มั้ย
(Two coffees ในที่นี้จะหมายถึง two cups of coffee ซึ่งก็คือการพูดแบบย่อนั่นเอง)

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคำนามไหนนับได้หรือนับไม่ได้

วิธีที่ดีที่สุดที่เราจะรู้ได้ว่าคำนามภาษาอังกฤษคำไหนเป็นคำนามนับได้หรือนับไม่ได้ ก็คือการเปิดพจนานุกรม แต่ไม่ใช่ว่าพจนานุกรมทุกเล่มจะมีข้อมูลเหล่านี้เหมือนกันหมด

ตัวอย่างพจนานุกรมภาษาอังกฤษออนไลน์ที่มีข้อมูลคำนามนับได้และนับไม่ได้ก็อย่างเช่น

วีธีดูเราจะต้องดูความหมายให้ตรงกับสิ่งที่เราต้องการจะใช้ด้วย เพราะคำภาษาอังกฤษบางคำก็มีทั้งความหมายที่เป็นคำนามนับได้ และความหมายที่เป็นคำนามนับไม่ได้

ที่แนะนำให้ใช้พจนานุกรมก็เพราะว่าการจัดประเภทคำนามนับได้และนับไม่ได้ หลายๆครั้งก็ขัดกับความรู้สึกของเรา ถ้าเราเดาโดยใช้หลักการกว้างๆ เราก็อาจจะเดาและจำไปใช้ต่อแบบผิดๆ การเปิดพจนานุกรมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำจะถือเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

การใช้ determiners กับคำนามแต่ละชนิด

Determiners คือคำนำหน้าคำนาม ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำนาม เช่น บอกปริมาณ ตัวอย่างคำที่เป็น determiners ก็อย่างเช่น a, an, the, many, much, some, any

การที่คำนามเป็นคำนามนับได้หรือนับไม่ได้จะมีผลต่อการเลือกใช้ determiners เพราะ determiners บางตัวก็สามารถใช้ได้กับคำนามนับได้หรือคำนามนับไม่ได้เท่านั้น

ตัวอย่าง determiners ที่ใช้ได้เฉพาะกับคำนามนับได้ ก็อย่างเช่น a, an, many, a few, ตัวเลข (one, two, three, …)

ตัวอย่าง determiners ที่ใช้ได้เฉพาะกับคำนามนับไม่ได้ ก็อย่างเช่น much, a little

สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เรื่อง determiners เพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ Determiners คืออะไร มีการใช้อย่างไร

เป็นยังไงบ้างครับกับคำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้ในภาษาอังกฤษ ทีนี้เพื่อนๆก็คงจะเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้ถูกต้องมากขึ้นแล้วนะครับ

อย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฝึก ก็ยิ่งเก่ง สำหรับบทความนี้ ชิววี่ต้องขอตัวลาไปก่อน See you next time

[NEW] การใช้ Nouns คำนามคืออะไร มีกี่แบบ กี่ประเภท การเปลี่ยนรูป เอกพจน์ พหูพจน์ | คํานาม หมายถึง – NATAVIGUIDES

การใช้ Nouns คำนามคืออะไร มีกี่แบบ กี่ประเภท การเปลี่ยนรูป เอกพจน์ พหูพจน์

เรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Noun การใช้คำนามในภาษาอังกฤษ การแยกคำนามออกเป็นประเภทต่างๆ เบื้องต้น และกฎการเปลี่ยนรูปคำนามเอกพจน์ ให้เป็นคำนามพูพจน์

Nouns  หมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ และสิ่งของ  ซึ่งนับจำนวนได้และนับจำนวนไม่ได้
หน้าที่ของ Nouns  ที่สำคัญมีดังนี้

1. เป็นประธานของกิริยา (subject of Verb) จะอยู่หน้ากิริยา

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ

– Horses eat grass.

2. เป็นกรรมของกิริยา (object of Verb) จะอยู่หลังกิริยา ซึ่งเป็นได้ทั้งกรรมตรง(direct object) และกรรมรอง
(indirect object)

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ

– Horses eat grass.  (กรรมตรง)
– John gives his friend a pen. (กรรมรอง)

3. เป็นกรรมของบุพบท (object of preposition) จะอยู่หลังคำบุพบท

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ

– Mary talked to her children.
–  John borrowed notebook from his friend.

4. ทำให้ประโยคมีความหมายสมบูรณ์ขึ้น  โดยถ้าต้องการให้ประธานมีความหมายสมบูรณ์จะต้องอยู่หลัง Verb to be หรือ  ถ้าต้องการให้กรรมมีความหมายสมบูรณ์ขึ้นต้องอยู่หลังกรรม

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ

–  Mary is a doctor.
–  John chose this pen a birthday gift.

5. ประกอบนาม (noun adjunct) ทำหน้าที่เหมือนคำคุณศัพท์อยู่หน้านาม

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ

– We will meet you at this coffee shop.

6. ขยายคำนาม  ที่เป็นประธานและเป็นกรรม  โดยขยายประธานจะอยู่หลังคำนามที่เป็นประธาน และขยายกรรม
จะอยู่หลังคำนามที่เป็นกรรมของประโยค

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ

–  Sombat,  a famous actor, plays tennis.
– We visited Chiangmai , the North of  Thailand.

Compound Nouns

Compound Nouns  หมายถึง คำนามที่เกิดจากการประสมคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป  ได้แก่

1. คำนามประสมที่เกิดจากผสมคำนาม 2 คำ  มีลักษณะเป็นคำเดียวเขียนติดกันหรือมี hyphen – คั่น  เมื่อเป็นพหูพจน์ให้เปลี่ยนเฉพาะนามตัวหลังตามกฎเท่านั้น

ตัวอย่างเช่น  girlfriend เปลี่ยนเป็นพหูพจน์เป็น  girlfriends

2. คำนามประสมที่เกิดจากการผสมคำนามกับคำอื่น ๆ เช่น

adjective + noun.
noun + preposition + noun.

จะมีลักษณะเป็นคำเดียวเขียนติดกันหรือมี hyphen – คั่น
เมื่อเป็นพหูพจน์ให้เปลี่ยนเฉพาะคำนามตามกฎเท่านั้น

ตัวอย่างเช่น

adjective + noun    :  gentleman  เป็น   gentlemen
noun + preposition + noun. :  father-in-law เป็น fathers-in-law

หลักการเปลี่ยนรูปคำนามจากเอกพจน์เป็นพหูพจน์

1. ถ้าเป็นคำนามทั่วไป  จะต้องเติม s

2. คำนามที่ลงท้ายด้วย  ch , sh , s , ss, x  และ z  ต้องเติม es

3. คำนามที่ลงท้ายด้วย o  หน้า o เป็นพยัญชนะต้องเติม es

4. คำนามที่ลงท้ายด้วย y หน้า y เป็นพยัญชนะ  ให้เปลี่ยน y  เป็น I แล้วเติม es  แต่ถ้าเป็นคำนามที่ลงท้ายด้วย y  แต่หน้า y เป็นสระให้เติม  s

5. คำนามที่ลงท้ายด้วย f ,fe  ให้เปลี่ยนเป็น ves

6. คำนามที่ต้องเปลี่ยนรูปเมื่อเป็นพหูพจน์  ได้แก่
– woman  เปลี่ยนเป็น  women
– tooth     เปลี่ยนเป็น  teeth
– mouse   เปลี่ยนเป็น  mice
– child     เปลี่ยนเป็น  children

7. คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ  เมื่อเป็นพหูพจน์ต้องเติม s

8. ตัวอักษร , ตัวเลขเดี่ยว  เมื่อเป็นพหูพจน์ต้องเติม  ’s

9. อักษรตัวย่อและปี ค.ศ. เมื่อเป็นพหูพจน์ต้องเติม ’s หรือ s  ซึ่งปัจจุบันนิยมใส่ s  เท่านั้น

10. คำนามต่อไปนี้มีรูปเหมือนกันทั้งเอกพจน์และพหูพจน์  เช่น
– deer      = deer
– swine    = swine
– salmon  = salmon
– aircraft  = aircraft
– species  = species

11. คำนามต่อไปนี้ไม่เปลี่ยนรูปเป็นพหูพจน์เมื่อมีจำนวน
นับประกอบข้างหน้า  เช่น
dozen              stone
gross                head
foot                  hundredweight
hundred            thousand
million             score

12. คำนามบางคำเมื่อใช้ประกอบนามอีกตัวหนึ่ง  แม้จะมีความหมายเป็นพหูพจน์   เช่น a two-foot animal

13. คำนามที่มีรูปเอกพจน์  แต่มีความหมายเป็นพหูพจน์  เช่น
people(ประชาชน)              police(ตำรวจ)
minority(คนส่วนน้อย)       gentry(พวกผู้ดี)

14. คำนามที่มีรูปพหูพจน์  แต่มีความหมายเป็นเอกพจน์  เช่น
news(ข่าว)
works(ผลงาน)

15. คำนามที่มีรูปพหูพจน์  และมีความหมายเป็นพหูพจน์  เช่น
clothes(เสื้อผ้า)
goods (สินค้า)

16. คำนามบอกสัญชาติที่ลงท้ายด้วย ss , se  นามเอกพจน์ และนามพหูพจน์จะใช้รูปแบบเดียวกัน  เช่น
นามเอกพจน์  ใช้  a Swiss
นามพหูพจน์   ใช้  six  Swiss


Thảm cảnh NHÃN TIỀN – KHÔNG VIỆT KIỀU \u0026 KHÔNG DU KHÁCH .te tua du lịch \u0026 \”EM ÚT\” ĐẤT VÀNG QUẬN 1


Cuộc sống sài gòn
ỦNG HỘ KÊNH XIN CÁC BẠN NHẤN ĐĂNG KÝ (MIỄN PHÍ) ĐỂ THEO DÕI.
Please SUBSCRIBE to my channel:
https://goo.gl/sCe18n
cuocsongsaigon saigon vietkieu
tình hình kinh doanh những ngày cuối năm và sau chuỗi ngày vắng khách du lịch và kiều bào việt kiều về chơi quê hương, hàng loạt nhà trống không ai thuê thậm chí treo bảng bán nhà tại khu đất vàng quận 1

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

Thảm cảnh NHÃN TIỀN - KHÔNG VIỆT KIỀU \u0026 KHÔNG DU KHÁCH .te tua du lịch \u0026 \

คำนาม EP 1


คำนามใช้เรียกชื่อ….

คำนาม EP 1

บทที่1 คำนามคืออะไร


ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความหมายของคำนาม ทบทวนโครงสร้างของประโยค ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหน้าที่ของคำนาม

บทที่1 คำนามคืออะไร

วิชาภาษาไทย | คำนามมีกี่ชนิดอะไรบ้าง


คำนาม ชนิดของคำนาม วิชาภาษาไทย
คำนามหมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ พืช สิ่งของ สถานที่ สภาพ อาการ ลักษณะ ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม
คำนามแบ่งได้ 5 ชนิด คือ
1. คำนามสามัญ หรือ สามานยนาม คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อทั่ว ๆ ไปของคน สัตว์ สิ่งของ เช่น นักเรียน ปลา ยางลบ ดินสอ ฯลฯ
2. วิสามานยนาม คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อเฉพาะของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เช่น พระอภัยมณี สุนทรภู่ โรงเรียนคลองกิ่วยิ่งวิทยา ฯลฯ
3. สมุหนาม คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อหมู่ กอง หรือคำนามที่อยู่รวมกันเป็นหมู่ เช่น กองทหาร ฝูงกวาง คณะนักเรียน พรรคการเมือง ฯลฯ
4. อาการนาม คือ คำนามที่เกิดจาก “การ” หรือ“ความ” นำหน้าคำวิเศษณ์ เช่น การกิน การเล่น การเรียน ความรัก ความดี ความคิด ฯลฯ
5. ลักษณะนาม คือ คำนามที่แสดงลักษณะของนาม เช่น ไข่เป็นฟอง น้ำเป็นแก้ว ปลาตะเพียนเป็นตัว นักเรียนเป็นคณะ ฯลฯ

ถ้าชอบคลิปลองโหลดมาทดลองเรียนกันได้เลย แต่ถ้าอยากดูทุกคลิปกดสมัครได้เลยราคาไม่แพง แถมมีชีทสรุปกับแบบฝึกหัดครบ 7 วิชาด้วยนะ
📲ดาวน์โหลด : https://bit.ly/YTdownloadstartdee

วิชาภาษาไทย | คำนามมีกี่ชนิดอะไรบ้าง

คำกริยา – สื่อการเรียนการสอน ภาษาไทย ป.3


ครูโอ๋ สื่อการเรียนการสอน
webpage : http://www.kruao.com
fanpage : https://goo.gl/O22C3X
google+ : https://goo.gl/OBu7ia
youtube : https://goo.gl/bZlYwE
วีดีโอนี้จะสอนเกี่ยวกับ
มาเรียนรู้ ความหมาย และการใช้ คำกริยา
ตัวอย่างคำศํพท์ และประโยค ของ คำกริยา
บทเรียนอิเล็กทรอกนิกส์ วิชา ภาษาไทย ป.3 ชุดนี้
เป็นสื่อการเรียนการสอนที่นำมาจาก
โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย
(OTPC : One Tablet Per Child)
จัดทำโดยสำนักงานเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์
http://www.otpchelp.com

คำกริยา - สื่อการเรียนการสอน ภาษาไทย ป.3

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆMAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ คํานาม หมายถึง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *