Skip to content
Home » [NEW] อ้างอิง ภาษาอังกฤษ การเขียนเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษเขียนอย่างไร มาดูกัน! | โปรแกรมสะกดคําภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

[NEW] อ้างอิง ภาษาอังกฤษ การเขียนเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษเขียนอย่างไร มาดูกัน! | โปรแกรมสะกดคําภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

โปรแกรมสะกดคําภาษาอังกฤษ: คุณกำลังดูกระทู้

4

SHARES

Facebook

Twitter

การอ้างอิงเอกสาร (Citations) คือการบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในงานเขียนต่างๆ การอ้างอิงควรจะอ้างอิงจากเอกสาร หรือแหล่งที่ชื่อถือได้ ว่าข้อมูลนั้นๆถูกต้อง ไม่ควรอ้างอิงจากแหล่งที่ไม่สามารถชื่อถือได้ เพราะข้อมูลที่ได้อาจจะไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

อ้างอิงภาษาอังกฤษ

การเขียนอ้างอิงภาษาอังกฤษ

การเขียนอ้างอิง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆดังนี้คือ

1. การอ้างอิงในเนื้อหา ให้ใช้วิธีการอ้างอิงแบบนาม-ปี โดยระบุชื่อผู้เขียน ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าเอกสารไว้ข้างหลังของข้อความที่ต้องการอ้างอิง เช่น (Athikom, S, 2014, pp. 31)

2. การอ้างอิงท้ายบทความ ให้ระบุเอกสารที่ใช้อ้างอิงไว้ท้ายบทความ โดยเรียงตามลำดับตัวอักษรใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงตามระบบ APA Style 6th ed.

ตัวอย่างเขียนบรรณานุกรม (References) ภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงต่อไปนี้ เป็นการแปลงจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฟษ ซึ่ง ม.กรุงเทพได้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพวารสาร โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดัน วารสารวิชาการเข้าสู่ฐานข้อมูล ACI ซึ่งเป็นฐานข้อมูลระดับอาเซียน และฐานข้อมูล Scopus ซึ่งเป็นฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ดังนั้น กองบรรณาธิการวารสารฯ จึงกำหนดรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมรายการที่อ้างอิงเป็นของคนไทย ดังนี้

1. ใช้รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมเป็นแบบ APA (American Psychological Association)

2. รายการอ้างอิงเป็นของคนไทยในบรรณานุกรมจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ โดยจัดเรียงคู่ กัน คือ เรียงบรรณานุกรมภาษาอังกฤษที่แปลขึ้นก่อน และตามด้วยบรรณานุกรมภาษาไทย และให้เรียงลำดับโดยยึดตัวอักษรภาษาอังกฤษในการเรียง

3. ชื่อเรื่อง (Title) จะต้องทำให้เป็น Thai Romanization (การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน) และต้องเป็นภาษาอังกฤษในวงเล็บเหลี่ยม […]

4. การทำการ Romanization นั้นจะยึดตามหลักสากลโดยใช้เกณฑ์ของ Library of congress สามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ website : https://www.loc.gov/catdir/cpso/roman.html

5. สำหรับการเขียน Thai Romanization แนะนำให้ใช้โปรแกรมแปลงสาส์น ที่พัฒนาโดย NECTEC http://164.115.23.167/plangsarn/index.php

6. โปรดดูตัวอย่างรูปแบบการเขียนแสดงตัวอย่างดังต่อไปนี้

หมายเหตุ การให้ผู้เขียนจัดเรียงลักษณะนี้เพื่อให้กองบรรณาธิการใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิง รูปแบบการเขียนแสดงตัวอย่างดังต่อไปนี้

1. การอ้างอิงจากหนังสือ (Books)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Romanized Title [Translated Title]. Place: Publisher

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
กาญจนา แก้วเทพ. (2549). ทฤษฎีและแนวทางการศึกษาสื่อสารมวลชน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: แบรนด์ เอจ.

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Kaewthep, K. (2006). Thritsadī læ nǣothāng kānsưksā sư̄sānmūanchon (Phim khrang thī
4) [Theory and approach of mass communication (4th ed.)]. Bangkok: Brand Age.

2. การอ้างอิงจากบทในหนังสือ (Book Chapters)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Romanized Title of chapter [Translated Title of chapter ]. In Editor (Ed.),
Romanized Title of book [Translated Title of book] (Page). Place: Publisher.

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
นันทวัฒน์ ฉัตรอุทัย. (2549). อดอร์โนกับอุตสาหกรรมวัฒนธรรม: กรณีศึกษาเพลงสมัยนิยม. ใน ฐิรวุฒิ เสนาคำ
(บก.), เหลียวหน้าแลหลังวัฒนธรรมป๊อป (น. 81-126). กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Chatuthai, N. (2006). ʻOdō̜nō kap ʻutsāhakam watthanatham: Kō̜ranī sưksā phlēng samainiyom
[Adorno and cultural industry: The case study of popular music]. In T. Senakham (Ed.),
Līeo nā lǣ lang watthanatham pō̜p [The review of popular music] (pp. 81-126).
Bangkok: OS Printing House.

3. การอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์ (Thesis/Dissertation)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Romanized Title of dissertation [Translated Title of dissertation] (Doctoral
thesis or Master’s thesis, University).

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
เอมิกา เหมมินทร์. (2556). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
(Social Media) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒ
นบริหารศาสตร์).

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Hemmin, A. (2013). Phrưttikam kānchai læ khwāmkhithen kīeokap phon thī dai čhāk kānchai
khrư̄akhāi sangkhom ʻō̜nlai (Social Media) khō̜ng prachāchon nai khēt Krung Thēp
Mahā Nakhō̜n [Social media consumption behaviors and opinion towards results of
experiencing social media in Bangkok Metropolitan] (Master’s thesis, National Institute
of Development Administration).

4. การอ้างอิงจากเว็บไซต์ (Websites)
รูปแบบ (Format)
Romanized Author Author’s in original language. (Year, Month date). Romanized Title
[Translated Title]. Retrieved from URL

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
บลูมูน. (2553, 7 ตุลาคม). Group แบบใหม่ คุยกับกลุ่มเพื่อนได้ง่ายกว่าเดิม. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2559,
จาก http:// faceblog.in.th/2010/10/facebook-group-people/

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Bluemoon. (2010, October 7). Group bǣp mai khui kap klum phư̄an daingā yok wā doēm [New
group chat with new friends more easily than ever]. Retrieved April 26, 2016, from
http:// faceblog.in.th/2010/10/facebook-group-people/

5. การอ้างอิงจากการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการ (Conference papers/proceedings)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Romanized Title of paper [Translated Title of paper]. In Editor (Ed.),
Romanized Title of conference [Translated Title of conference] (Pages). Place:
publisher.

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
สรชัย จำเนียรดำรงการ, และ คณิตสรณ์ สัมฤทธิ์เดชขจร (บก). (2558). สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ: ขา (ไม่) เคลื่อน
สำคัญกว่าขาขึ้น. ใน งานประชุมวิชาการ เรื่อง ปฎิรูประบบสุขภาพและชีวิต ปฎิรูป จิตสำนึก
ประชาธิปไตย ในโอกาส 9 ปี สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (น. 245-313). นนทบุรี:
สำนักงานคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติ.

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Chamniandamrongkarn, S., & Sumritdejkhajon, K. (Ed.). (2015). Samatchā sukkhaphāp hǣng
chāt : khā ( mai ) khlư̄an samkhan kwā khā khưn [National health assembly:
One (not) important than moving up]. In Ngān prachum wichākān rư̄ang padirūp
rabop sukkhaphāp læ chīwit padirūp čhitsamnưk prachāthipatai nai ʻōkāt kao pī
samnakngān Khana Kammakān sukkhaphāp hǣng chāt [A meeting of the
enlightenment and health system reforms in a nine-year of The National Health
Commission office] (pp. 245-313). Nonthaburi: The National Health Commission Office.

6. การอ้างอิงวารสาร (Journal)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Romanized Title of article [Translated Title of article]. Title of Journal,
volume(issue), page-numbers.

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
พราว อรุณรังสีเวช. (2560). สาเหตุและกลยุทธ์การแก้ปัญหาความรู้สึกไม่แน่นอนจากการสิ้นยุคของ
โปรแกรมแฟลซ. วารสารนักบริหาร, 37(1), 3-13.

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Arunrangsiwed, P. (2017). Sāhēt læ konlayut kān kǣ panhā khwāmrū sưk mai nǣnō̜n
čhāk kān sin yuk khō̜ng prōkrǣm fǣnsa [Solution when parting with my dear
flash: Identifying causesand uncertainty reduction strategies], Executive Journal,
37(1), 3-13.

อันนี้เป็นตัวอย่างการเขียนนะครับ ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะมีรูปแบบการเขียนที่แตกต่างกัน ดังนั้นให้ยึดแนวการเขียนของแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นหลักนะครับ 

source: http://buacademicreview.bu.ac.th/exe_ref2.pdf

ขอ 5 ดาวให้บทเรียนด้วยครับผม…

คลิกดาวดวงที่ขวามือสุดเลยครับครับ…

Average rating 4.8 / 5. Vote count: 29

ยังไม่มีใครให้ดาว คุณคือคนแรก….

[NEW] การสะกดชื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษทางโทรศัพท์สำคัญไฉน แล้ว Airline Code คืออะไร มีความรู้มาฝากค่ะ | โปรแกรมสะกดคําภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES



เพื่อไม่ให้เว็ปบล็อกร้างไป วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอเสนอการสะกดชื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษ A-Z ทางโทรศัพท์สำคัญไฉน และ Airline Code คืออะไร มาให้อ่านเป็นความรู้ และท่องจำกันดู เผื่อจะได้ใช้ประโยชน์จ้า

ก็ขอทักทาย ซำบายดี สวีดัดเหล่าผู้รักการทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจ  รวมทั้งเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ผองชาวไทยที่กำลังตะลุยท่องแดนศิวิลาศวิไลในโลกออนไลน์ หาข้อมูลท่องเที่ยวทั่วไทย ทะลุไปไกลนอกจักรวาล ร้าวรานถึงดวงฤทัย ไฉไลจนเอ๋อเหรอ สมองเบล๋อกันอยู่ ณ ขณะเสี้ยววินาทีนี้ค่ะ (ดิฉัน) เดี๊ยนคุณนายเว่อร์ เทอร์ชอบเที่ยวกินนอน บล็อกเกอร์สมัครเล่นแนวๆ กากๆ โกโรโกโส สับปะรังเค ขอเฮฮา ลั๊นลา บ้าๆบอๆ ต้อนรับท่านเข้าสู่เว็ปบล็อกแนะนำที่พัก รีวิวท่องเที่ยว เขียนไปเลยเลย เรื่อยเปื่อย มั่วๆซั่วๆ ให้ท่านได้ระรัวอ่านกันแบบงวยๆงงๆ สับสมองกันอีกครั้งนะคะ

สำหรับบทความบล็อกในวันนี้ เดี๊ยนของดเรื่องเที่ยวไปก่อนสักบล็อกนึง  พอดีมีความรู้มาฝากเล็กๆน้อยๆ อาจจะไม่เล็กน้อยเลยด้วยซ้ำค่ะ  เพราะมีประโยชน์พอสมควร โดยเนื้อหาวันนี้ เดี๊ยนขอมานำเสนอเกี่ยวกับการสะกดชื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษทางโทรศัพท์ให้กับคุณผู้อ่าน และคนที่กำลังทำงานทุกๆท่านได้รับทราบกันค่ะ บางท่านอาจจะทราบเกี่ยวกับการสะกดคำภาษาอังกฤษมาแล้วเพราะทำงานก็ใช้และสะกดอยู่ถึงปัจจุบัน และบางท่านก็เคยร่ำเรียนวาดเขียนมาก่อนหน้านี้แล้วหลายสิบปีก็จำได้ดีขึ้นใจนะค่ะ แต่บางท่านหรือนักศึกษาเป็นเด็กจบใหม่นะสิค่ะ บางคนก็ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ต้องสะกดภาษาอังกฤษด้วยเหรอ คืออะไร ยังไง งงๆค่ะ เดี๊ยนถือว่าต้องรู้และทราบไว้เป็นความรู้ก็ได้ดีค่ะ รู้ไว้ใช้ว่า ใส่บ่าแบกหาม

 

เคยมีปัญหากันใหม๊ค่ะว่า เวลาเราโทรศัพท์ไปหาลูกค้าและลูกค้าบอกขอทราบชื่ออีเมลล์ แต่ปัญหาคืออีเมลล์ต้องบอกเป็นภาษาอังกฤษ แล้วเวลาบอกอีเมลล์ภาษาอังกฤษทางโทรศัพท์ ก็ไม่ได้เหมือนภาษาไทยเลยนะค่ะ ที่จะสะกดแบบ ก.ไก่ ข.ไข่ ค.ควาย สระอุ สระอา สระอิ สระอี มีความชัดเจนมาก อะไรประมาณ แต่ภาษาอังกฤษพ้องเสียงกันเยอะเหลือกันะค่ะ บางตัวอักษรเวลาพูดเสียงจะเพี๊ยนไป ทำให้ได้ยินเป็นตัวอักษรอีกตัวไป เมื่อพ้องเสียงก็เกิดการการพ้องรูปไปด้วยนะคะ

 

 

ยกตัวอย่างเช่นเวลาบอกตัวอักษรเป็นตัว  C ซี ให้อีกฝั่งที่ถือสายอยู่รับทราบว่าต้องเป็นตัว C แต่อีกฝั่ง ได้ยินเป็นตัว  T  ก็จดอีเมลล์เป็นตัว T ไปค่ะ ก็ไม่ได้สะกดคำให้ว่าว่าเป็น C CAT หรือว่า T Thailand อะไรประมาณนี้ หรือบอกตัว C ได้ยินเป็นตัว G บอกอักษรตัว N ได้ยินเป็น M…….ทีนี้พอจะไปส่งอีเมลล์ไปให้อีกฝ่ายรับทราบ อีเมลล์เกิดตีกลับ ก็ต้องสาเวเลีย เสียเวลาเปลืองค่าโทรศัพท์มาขออีเมลล์ใหม่ เสียเวลาหนักกว่าเดิมอีกนะค่ะ ด้วยเหตุนี้เองทางชาวฝรั่งมังค่าจึงถือกำเนิดเกิดการสะกดตัวอักษรที่เป็นมาตรฐานสากล เพื่อเป็นแนวทางให้คนได้ใช้กันเวลาสะกดภาษาอังกฤษ เวลาพูดคุยสนทนาลั๊นลากันทางโทรศัพท์ค่ะ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการผิดพลาดของการสะกดคำที่จะเกิดขึ้น และช่วยลดการเสียเวลาของการทำงานด้วยค่ะ

เอาล่ะค่ะ เดี๊ยนเองก็บ่นพร่ำทำเพลง บรรเลงจะเลินเล่อ เอ๋อเหรอ สมองเบลอไปหมดแล้ว ขอมาพรรณาบทความสั้นๆ และยาวให้ท่านได้อ่านกัน เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการสะกดคำภาษอังกฤษกัน เพื่อให้เป็นมาตรฐานสากล Airline Code เป็นโค้ดที่ใช้ในการสะกดภาษาอังกฤษแบบสากลที่นิยมใช่กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันค่ะ โดยเฉพาะเวลาจองห้องพักโรงแรม สายการบิน เดี๊ยนเองก็ใช้อันนี้ค่ะ แต่บางทีก็จำไม่ได้นะค่ะ ไม่ได้ตายตัวตามตำราเป๊ะ ขอให้สะกดถูกก็พอคะ 

 
ตัวอักษรที่นำมาในเว็ปนี้เป็นมาตรฐานการสะกดภาษาอังกฤษทางโทรศัพท์ที่นิยมชมชอบ นอมน้อบใช้กันอยู่ในปัจจุบัน


ยกตัวอย่างเช่นว่า ถ้าเราจะสะกดคำว่า “Blogger” ออกเสียงดังนี้


เบเคอะ-เลิฟ-โอโบ-จอร์จ-จอร์จ-อีซี่-โรเจอร์ (ดูตามตัวอักษรด้านล่างค่ะ)

แต่ถ้าจะไม่ให้งงก็ B เบเคอะ-L เลิฟ-O โอโบ-G จอร์จ-G จอร์จ-E อีซี่-R โรเจอร์

การสะกดตัวอักษรแบบมาตรฐาน Airline Code มีดังนี้ค่ะ

Alphabet A-Z

A = Able (เอเบิล)

B = Baker (เบเคอะ)

C = Charlie (ชาร์ลี)

D = Dog (ด๊อก)

E = Easy (อีซี่)

F = Fox (ฟ๊อกซ์)

G = George (จอร์จ)

H = How (ฮาว)

I = Item (ไอเท็ม)

J = Jimmy (จิมมี่)

K = King (คิง)

L = Love (เลิฟ)

M = Mike (ไม๊ค์)

N = Nancy (แนนซี่)

O = Oboe (โอโบ)

P = Peter (พีเทอะ)

Q = Queen (ควีน)

R = Roger (โรเจอร์)

S = Sugar (ชูเกอร์)

T = Tare (แทร์)

U = Uncle (อังเคิล)

V = Victor (วิคเทอะ)

W = William (วิลเลียม)

X = X – ray (เอ็กซ์เรย์)

Y = Yolk (โย๊ค)

Z = Zebra (ซีบระ)

หรือยกตัวอย่างเช่นจะสะกดชื่ออีเมลล์ทางโทรศัทพ์ให้ลูกค้าได้รับทราบ

 
(สมมุติว่าใช้ชื่อของเดี๊ยนเองค่ะ) คุณนายเว่อร์บล็อก@ไชโยดอทคอม


[email protected]

K คิง-h ฮ่องกง -u อังเคิล -n แนนซี่ -n แนนซี่- a เอเบิ้ล- i ไอเท- v เวตเตอร์ -e อีเซี่- r โรเจอ- b เบเคอะ- l เลิฟ- o โอโบ -g จอร์จ -@ แอทไซน์ -c ชาร์ลี- h ฮองกง- a เอเบิ้ล- i ไอเทพ- y โย๊ค-o โอโบ -.ดอทคอม

แต่บางครั้งเดี๊ยนเองก็ไม่ได้ยึดมาตรฐานกานสะกดแบบ Airline code นะค่ะ แล้วแต่จะคิดออกค่ะ ขอสะกดให้อีกฝ่ายรับทราบและเข้าใจตรงกันก็พอว่าตัวอักษรนี้ตรงกันตัวความหมายที่เปล่งเสียงพูดออกไปค่ะ ส่วนใหญ่จะเป็นคำที่คนไทยรู้จักกันดีและเป็นคำสั้นๆสื่อความหมายง่ายๆ ยกตัวอย่างเช่น คำที่มีความหมายเป็นสัตว์ หรือประเทศ เป็นต้น

A=America (อเมริกา) หรือ Apple
B=Boy (บอย)
C=Cat (แคท)
D=Dog (ด๊อก)
E = England (อิงแลนด์)
F = Finland (ฟินแลนด์)
G = Germany (เยอรมันนี)
H = Hongkong (ฮ่องกง)
I = India (อินเดีย)
J = Japan (เจแปน)
K = Korea (โคเรีย)
L = London (ลอนดอน)
M = Man (แมน)
N = Norway (นอร์เวย์)
O = Octorber (อ๊อกโทเบอร์)
P = Poland (โปแลนด์)
Q = Queen (ควีน)
R = Roger (โรเจอร์)
S = Singapore (สิงคโปร์)
T = T้hailand (ไทยแลนด์)
U = Umbrella(อัมเบลล่า)
V = Van (แวน)
W = William (วิลเลียม)
X = X – ray (เอ็กซ์เรย์)
Y = Yolk (โย๊ค)
Z = Zebra (ซีบระ)
แล้วแต่จะสะดวกนำไปใช้ค่ะ
—————————————————————

และอีกรูปแบบการสะกดที่นิยมไม่แพ้กัน เป็นของThe NATO phonetic alphabet
(การออกเสียงตัวอักษรของการสื่อสารวิทยุ) ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกๆเลยนะค่ะ ที่กำหนดมาตรฐานการสะกดตัวอักษรและถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง
จนทำให้เกิดขึ้นเป็นมาตรฐานสากล เพื่อเป็นการสะกดคำเสียงทีละตัวอักษร
โดยให้แตกต่างกันไปตามสำเนียงของประเทศนั้น ๆ
จะได้ไม่คลายเคลื่อนเวลาสื่อสาร และถูกนำไปใช้ในการทำงานอย่างกว้างขวาง เช่นทางทหาร,การเดินเรือ,และการบิน เป็นต้น

A – Alpha อัลฟ่า
B – Bravo บราโว่
C – Charlie ชาลี่
D – Delta เดลต้า
E – Echo เอกโค้
F – Foxtrot ฟร็อกทรอท
G – Golf กอล์ฟ
H – Hotel โฮเทล
I – India อินเดีย
J – Juliet จูเลียต
K – Kilo กิโล
L – Lima ลิม่า
M – Mike ไมค์
N – November โนเวมเบอ
O – Oscar ออสก้า
P – Papa ปะป้า
Q – Quebec คิวเบค
R – Romeo โรมีโอ
S – Sierra เซียร่า
T – Tango แทงโก้
U – Uniform ยูนิฟอร์ม
V – Victor วิคเตอร์
W – Whiskey วิสกี้
X – X-ray
Y – Yankee แยงกี้
Z – Zulu ซูลู

เป็นยังไงบ้างค่ะ สำหรับการสะกดตัวอักษรที่เดี๊ยนได้นำมาเสนอในเว็ปบล็อกคงจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะค่ะ  แต่อย่างไรก็ตามอาจจะไม่ต้องยึดตามหลักนี้เป๊ะก็ได้ค่ะ นึกคำใหนได้ก็เอาคำนั้นขอให้อีกผู้ที่รับสายโทรศัพท์ด้วยรับทราบและสะกดถูกต้องตรงกันก็เพียงพอ และหากถ้านึกคำใหนไม่ออกแต่ก็สะกดตามรูปแบบมาตรฐานไปก็จะดีมากค่ะ ยังไงก็ลองนำไปใช้ดูนะคะ หวังว่าจะได้พบกันอีกในเว็ปบล็อกถัดไป………… จากคุณนายเว่อร์ เทอร์ชอบเที่ยวกินนอน

———————————————————————

แนะนำบทความอื่นๆ และบล็อกท่องเที่ยวเมืองต่างๆ มีดังนี้ค่ะ(จะทยอยเขียนเพิ่มเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้เว็ปบล็อกนี้ร้างไปค่ะ)



การสะกดคำ 2 พยางค์ – สื่อการเรียนการสอน ภาษาไทย ป.1


วีดีโอนี้จะสอนเกี่ยวกับ
มาเรียนรู้ การสะกดคำ 2 พยางค์
การแจกลูกตัวสะกดคำ 2 พยางค์
พบคำศัพท์ภาษาไทย ที่น่าสนใจ มีภาพการ์ตูนน่ารักๆประกอบ พร้อมความหมาย
บทเรียนอิเล็กทรอกนิกส์ วิชา ภาษาไทย ป.1 ชุดนี้
เป็นสื่อการเรียนการสอนที่นำมาจาก
โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย
(OTPC : One Tablet Per Child)
จัดทำโดยสำนักงานเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ครูโอ๋ สื่อการเรียนการสอน
webpage : http://www.kruao.com
fanpage : https://goo.gl/O22C3X
google+ : https://goo.gl/OBu7ia
youtube : https://goo.gl/bZlYwE

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

การสะกดคำ 2 พยางค์ - สื่อการเรียนการสอน ภาษาไทย ป.1

สัตว์ ภาษาอังกฤษ Animals


สัตว์ ภาษาอังกฤษ Animals
ภาษาอังกฤษ คำศัพท์ สัตว์

สัตว์ ภาษาอังกฤษ Animals

โปรแกรมจิตอัจฉริยะ:คำพูดของคุณ คือ คาถาที่ศักดิ์สิทธิ์


ช่อง Youtube: https://goo.gl/yKslwO
Instagram : @hinnangfa
Facebook : http://facebook.com/angelicstones
Fanpage : https://www.facebook.com/kingdomoflight10

โปรแกรมจิตอัจฉริยะ:คำพูดของคุณ คือ คาถาที่ศักดิ์สิทธิ์

สอนพูดภาษาอังกฤษ จากแอพนี้(ครบที่สุด!)ทั้ง 4 ทักษะ!! มาเก็บตัวช่วงนี้เพื่อพัฒนา(ภาษาอังกฤษ)กันดีกว่า


พูดภาษาอังกฤษ ฝึกภาษาอังกฤษจากหนัง เรียนภาษาอังกฤษ
เจอแล้ว! แอพเด็ดอีกตัวนึง หลักจากที่มีเวลาว่างจากการเก็บตัวอยู่ที่บ้าน
อย่าปล่อยให้เวลาเสียไปเปล่าๆกับความเครียดเลยนะคะ
มาฝึกภาษาอังกฤษกันดีกว่า !! แอพนี้ดีมากๆเลย รวบรวมวิธีการเรียนภาษาอังกฤษ
ฝึกภาษาอังกฤษอย่างเป็นธรรมชาติ ทั้งการพูดภาษาอังกฤษ
อ่านภาษาอังกฤษ เขียนภาษาอังกฤษ แกรมม่า คำศัพท์ และการออกเสียง
ไว้ในแอพเดียวเลย ไปดาวโหลดมาใช้ฝึกเป็นโค้ชส่วนตัวกันได้เลยนะคะ
ช่อง Gift The Movies เป็นช่องรวบรวมความรู้และความสนุก
ทุกเทคนิคการฝึกภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง และฝึกภาษาอังกฤษจากหนัง
ฝึกภาษาอังกฤษจากเพลง เพื่อนๆทุกคนสามารถเรียนรู้จากสิ่งรอบตัวและสิ่งที่ชอบได้
แนะนำเทคนิคการฝึกภาษาอังกฤษ คลิปดีๆอื่นๆดังนี้
หากคุณเป็นคนที่ชอบ ดูหนัง รีวิว หนัง และอยาก ฝึกภาษาอังกฤษ
เรียนภาษาอังกฤษจากหนัง ก็สามารถกดติดตามช่องของเราได้นะคะ
มาดูคลิปกันได้เลย
อย่าลืมช่วยกดติดตาม ซับสะไคร้ และกด LIKE กด SHARE ด้วยนะคะ
อังกฤษ นักวิทยาศาสตร์เชื่อปล่อยให้ติดกันเลย
https://youtu.be/ztgGtbagxY8
วิธีฝึกภาษาอังกฤษจาก (มือถือเครื่องเดียว!!)
https://youtu.be/3WjigZ5afUo
ฝึกภาษาอังกฤษจากหนัง Netflix
https://youtu.be/bDvglqOht4A
สมัครเน็ตฟลิกซ์ Netflix สอนตั้งค่าซับ สำหรับ ฝึกภาษาอังกฤษจากหนัง Netflix
https://youtu.be/8OoNVK15X6A
ลิ้งค์คลิป 5 ขั้นตอน การฝึกภาษาอังกฤษจากหนังด้วยตัวเอง
https://youtu.be/8ULdgXWDRE
หากใครอยากติดตามช่อง ฝึกภาษาอังกฤษจากหนัง ไปกับ Gift The Movies
กดติดตามและกดกระดิ่งแจ้งเตือนไว้ได้เลยนะคะ เรามาฝึกภาษาอังกฤษไปพร้อมๆกันค่ะ
เข้าไปร่วมพูดคุยกับเพจคนรักหนังได้ที่ Gift The Movies
https://www.facebook.com/moviebygift/
LearnEnglish PracticeEnglish AppLearnEnglish
EWA

สอนพูดภาษาอังกฤษ จากแอพนี้(ครบที่สุด!)ทั้ง 4 ทักษะ!! มาเก็บตัวช่วงนี้เพื่อพัฒนา(ภาษาอังกฤษ)กันดีกว่า

Phonics Song 2


It’s a phonics song with a picture for each letter.
This is designed to help children learn the sounds of the letters in the English alphabet.
Written and performed by A.J.Jenkins
Copyright 2009 A.J.Jenkins/KidsTV123. All rights reserved.
This is an ORIGINAL song written in 2009 any copying is illegal.
For MP3s, worksheets and much more:
http://www.KidsTV123.com
Kids songs song for children
Chords for this song:
GDG
GDG
GDG
GDG
CDG

https://open.spotify.com/artist/0zC8dOCRSyLAqsBq99du1f
https://music.youtube.com/channel/UC0EqNhs_ejTB7_EgTZzpixA
https://music.apple.com/gb/artist/kidstv123/1439675517
https://www.amazon.com/EducationalSongsKidsTV123/dp/B07JQCMY27

Phonics Song 2

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ โปรแกรมสะกดคําภาษาอังกฤษ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *