Skip to content
Home » [NEW] หลักการเติม -ing ท้ายคำกริยาในภาษาอังกฤษ เข้าใจง่ายมาก | เติมing – NATAVIGUIDES

[NEW] หลักการเติม -ing ท้ายคำกริยาในภาษาอังกฤษ เข้าใจง่ายมาก | เติมing – NATAVIGUIDES

เติมing: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

หลักการเติม -ing ท้ายคำกริยาในภาษาอังกฤษ เป็นส่วนไวยากรณ์พื้นฐานที่ไม่ยากเลย แต่มีบางคนยังสับสนอยู่ว่าต้องทำการเติม -ing ยังไงให้ถูกต้อง และ กริยาเติม ing นั้นใช้กันยังไง วันนี้ Eng Breaking จะรวบรวมมาให้คุณทั้งหมดข้อสงสัยนี้ในบทความเดียวเลย

Table of Contents

กริยาเติม ing (V-ing) คืออะไร

ก่อนอื่นเราจะต้องมาเรียนรู้กันว่ากริยาเติม ing คืออะไร เวลาอ่านภาษาอังกฤษ เราเจอกริยาเติม ing (V-ing) อยู่เต็มไปหมด แต่คุณรู้หรือไม่ว่า กริยาที่มีใช้หลักการเติม ing เหล่านั้น จะทำหน้าที่แตกต่างกันมาก บางทีจะแสดงความหมายว่า “กำลังทำ” บางทีสามารถทำหน้าที่เหมือนคำนาม และบางทีสามารถใช้ในการขยายนามตัวอื่นอีกด้วย แล้วเราจะแยกแยะอย่างไรว่า V-ing ตัวนี้คืออะไรและควรจะแปลอย่างไร วิธีการคือ เราต้องรู้ว่า V-ing ตัวนั้นทำหน้าที่อะไร หรืออยู่ตำแหน่งไหนในประโยค ที่เราจะแนะนำดังต่อไปนี้

สงสัยกันไหม V-ing คืออะไร มีการใช้งานยังไงบ้าง

1. กริยาเติม ing มีความหมายว่า “กำลังทำ” ใน Continuous Tense ต่าง ๆ

วิธีการสังเกตก็คือ V-ing ในกลุ่มนี้จะตามหลัง V. to be ค่ะ โดยที่ Verb to be นั้นจะไม่มีความหมายใดๆ เพราะเป็นแค่กริยาช่วยที่บอก tense เท่านั้น ไม่ว่า Verb to be นั้นจะอยู่ในรูปของอดีตหรือปัจจุบันก็ตาม เพราะ Continuous Tense เป็นได้ทั้งใน Continuous  Present และ Continuous Past เช่น

  • Listen to me! I’m talking to you. แปลว่า ฟังฉันสิ! ฉันกำลังพูดกับเธออยู่นะ
  • He called me when I was watching TV. แปลว่า เขาโทรหาฉันตอนที่ฉันกำลังดูทีวีอยู่

2. กริยาเติม ing (V-ing) ที่ทำหน้าที่เหมือนคำนาม

กริยาที่เติมท้าย ing หรือเรียกกันว่า V-ing ที่ทำหน้าที่เหมือนคำนาม มีชื่อเรียกตัวมันเองอีกชื่อหนึ่งสุดเท่ คือ “Gerund”  ในเมื่อมันทำหน้าที่เหมือนคำนาม ดังนั้นไม่ว่าคำนามทำหน้าที่อะไร Gerund ก็ทำได้หมด มาดูหน้าที่คำนามกัน

2.1 – Gerund (V-ing) ทำหน้าที่เป็น   “ประธานของประโยค”

เวลาทำหน้าที่เป็นประธาน ส่วนใหญ่ Gerund ก็จะขึ้นต้นประโยค เรามีตัวอย่างประโยคเช่น

  • Telling a lie ruins every relationship. 

หมายความว่า การโกหกจะทำลายทุกความสัมพันธ์

  • Washing dishes after dinner is my duty.

 หมายความว่า การล้างจานหลังมื้อเย็นเป็นหน้าที่ของฉัน

โดยปกติ “Tell a lie” หรือ “Wash dishes” เป็นคำกริยา แต่เมื่อเราใช้หลักการเติม ing มันสามารถกลายเป็นคำนามและทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคได้ ทีนี้มันจะมีความว่าเหมือนคำนามว่า การโกหก การล้างจาน

2.2 – Gerund (V-ing) ทำหน้าที่เป็น “ส่วนเติมเต็ม (complement)” ของประโยค และตามหลัง Verb to be

หลายคนอาจสงสัยว่าถ้าตามหลัง Verb to be  ก็เหมือน Continuous Tense น่ะสิ แล้วจะสังเกตยังไงล่ะ? วิธีการสังเกตคือ Verb to be ในลักษณะนี้จะเป็นกริยาแท้ และมีความหมายว่า “เป็น, อยู่, คือ”  เรามีตัวอย่างประโยคเช่น

  • One of my hobbies is collecting favorite comics. (หนึ่งในงานอดิเรกของฉันคือการสะสมการ์ตูนเรื่องโปรด)

โดยคำว่า “is” หรือ Verb to be ในที่นี้แปลว่า คือ

  • His duty is cleaning the house. (หน้าที่ของเขาก็คือทำความสะอาดบ้าน) โดยมันไม่ได้แปลว่ากำลังทำความสะอาดนะ

2.3 – Gerund (V-ing) ทำหน้าที่เป็น “กรรม” 

ซึ่งอาจจะเป็นกรรมของกริยา หรือกรรมของบุพบทก็ได้ ดังนั้นตำแหน่งของมันก็จะต้องตามหลัง verb หรือ preposition (บุพบท) เรามีตัวอย่างประโยคเช่น

  • She enjoys shopping with friends. (เธอสนุกกับการไปช้อปปิ้งกับเพื่อนๆ)
  • We can’t keep on sitting here anymore. (เรานั่งอยู่ที่นี่ต่อไปไม่ได้แล้ว)
  • He took my bag without telling me. (เขาเอากระเป๋าไปโดยไม่บอกฉัน)
  • I avoid talking about this. (ฉันเลี่ยงที่จะพูดเรื่องนี้)

3. V-ing ทำหน้าที่ขยายคำนาม (เปรียบเสมือน adjective)

เมื่อกริยาเติม ing ( V-ing) ที่ขยายคำนาม ซึ่งตำแหน่งของ V-ingก็อาจจะอยู่หน้าคำนาม หรือหลังคำนามที่มันขยายก็ได้  เรามีตัวอย่างประโยคเช่น

  • The girl is afraid of the barking dog. 

หมายความว่า เด็กผู้หญิงคนนั้นกลัวหมาที่กำลังเห่า

  • The lady standing behind me in the queue suddenly fainted. 

หมายความว่า ผู้หญิงที่ยืนอยู่ในแถวข้างหลังฉันอยู่ๆก็เป็นลม

ในประโยคเต็มนี้ เรามีประโยคย่อย standing behind me in the queue เป็น relative clause ที่ทำหน้าที่เพื่อขยายนาม lady ที่อยู่ข้างหน้า โดยมีการลดรูปหรือตัด relative pronoun ของคำนามออกไปแล้ว

หลักการเติม ing หลังกริยาที่ผู้เรียนภาษาอังกฤษต้องรู้

เพื่อมาทบทวนกันเกี่ยวกับหลักการเติม -ing ท้ายคำกริยา เพื่อให้ผู้เรียนภาษาอังกฤษสามารถนำไปใช้ในการสอบต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ทาง Eng Breaking จึงรวบรวมหลักการเติม ing ท้ายคำกริยา และการเปลี่ยนรูป มีดังต่อไปนี้

หลักการเติม-ing ที่ 1: เติม -ing ท้ายคำกริยาทั่วไป

สำหรับคำกริยาทั่วไป เราสามารถทำการเติม ing ที่ท้ายคำกริยานั้นได้เลย

ตัวอย่างเช่น

  • Go → going (ไป)
  • Speak → speaking (พูด)

หลักการเติม-ing ที่ 2:  เติม -ing ท้ายคำกริยาที่ลงท้ายด้วยตัว e

คำกริยาที่ลงท้ายด้วยตัว e ให้ตัด e ออกก่อน แล้วทำการเติม ing เช่น

ตัวอย่างเช่น

  • Use => Using (ใช้)
  • come → coming (มา)
  • Improve => Improving (บำรุง)
  • Change => changing (เปลี่ยนแปลง)
  • Take => Taking (รับ)
  • Drive => Driving (ขับรถ)

อย่างไรก็ตามสำหรับคำกริยาที่ลงท้ายด้วย ee, ye และ oe ให้เติม –ing ได้เลย

ตัวอย่างเช่น

  • See => Seeing (มองเห็น)
  • Agree => Agreeing (ตกลง)
  • Dye => Dyeing  (ย้อมสี)
  • Tiptoe => tiptoeing  (เดินย่อง, เดินด้วยปลายเท้า)

6 หลักการเติม -ing ท้ายคำกริยาในถาษาอังกฤษที่ต้องรู้

หลักการเติม-ing ที่ 3: 

เพิ่มพยัญชนะตัวสุดท้ายไปอีกตัวเวลาเติม ING: คำกริยาพยางค์เดียวที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ และก่อนหน้าพยัญชนะตัวสุดท้ายเป็นสระ 1 ตัว ในรูปแบบ  “สระ + พยัญชนะ” (ยกเว้น พยัญชนะ h, w, x, y) ต้องทำการเพิ่มพยัญชนะตัวสุดท้ายไปอีก 1 ตัว ก่อน แล้วทำการเติม ing 

ตัวอย่างเช่น

  • Stop → stopping
  • Shop → shopping

อย่างไรก็ตาม สำหรับคำกริยาที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ h, w, x, y ให้เติม –ing ได้เลย

ตัวอย่างเช่น

  • Fix → fixing (เพราะลงท้ายด้วยพยัญชนะ x )
  • Play → playing (เพราะลงท้ายด้วยพยัญชนะ y)

คำกริยาที่ลงท้ายด้วย “สระ 2 ตัว + พยัญชนะ”หรือ“พยัญชนะ + พยัญชนะ” ให้เติม –ing ได้เลย

ตัวอย่างเช่น

  • Greet → greeting (มีสระ 2 ตัว)
  • Work → working (ลงท้ายด้วยพยัญชนะ 2 ตัว)

หลักการเติม-ing ที่ 4: 

สำหรับคำกริยาที่มี 2 พยางค์ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ ก่อนหน้าพยัญชนะตัวสุดท้ายเป็นสระ 1 ตัว และมีการเน้นเสียงหนักที่พยางค์ท้าย เราจะต้องทำการเพิ่มพยัญชนะตัวสุดท้ายไปอีก 1 ตัวก่อน แล้วค่อยทำตามหลักการเติม ing  

ตัวอย่างเช่น

  • Begin => beginning (เริ่มต้น)
  • Permit => Permitting (อนุญาต)
  • Prefer => Preferring (ชอบ)

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคำกริยาที่ลงท้ายด้วยตัวอักษร L และก่อนหน้าตัว L เป็นสระ 1 ตัว ระหว่างภาษาอังกฤษแบบบริติชและภาษาอังกฤษแบบอเมริกันจะมีความแตกต่างกันนิดหนึ่ง คนอเมริกันไม่เพิ่มพยัญชนะตัวสุดท้ายอีกตัว ในขณะที่คนบริติชต้องทำการเพิ่มพยัญชนะตัวสุดท้ายไปอีก 1 ตัวก่อน แล้วทำการเติม ing 

ตัวอย่างเช่น

  • Travel → Travelling (ภาษาอังกฤษแบบบริติช)
  • Travel → Traveling (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน)

*** หมายเหตุ:

สำหรับคำกริยาที่มี 2 พยางค์ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ ก่อนหน้าพยัญชนะตัวสุดท้ายเป็นสระ 1 ตัว และมีการเน้นเสียงหนักที่พยางค์ที่หนึ่ง ให้เติม -ing ได้เลย

ตัวอย่างเช่น

  • Listen => Listening (ฟัง)
  • Enter => Entering (เข้าสู่)
  • Happen => Happening (เกิดขึ้น)
  • Open => Opening (เปิด)

หลักการเติม -ing ที่ 5: เปลี่ยน “IE” เป็น “Y” แล้วเติม ING 

หลักการนี้จะใช้สำหรับคำกริยาที่ลงท้ายด้วย ie ให้เปลี่ยน ie เป็น y ก่อน แล้วทำการเติม ing หลังคำกริยาได้เลย

ตัวอย่างเช่น

  • Lie → lying
  • Tie → tying

คำกริยาที่ลงท้ายด้วย “Y” เราสามารถเติม ING เหมือนคำกริยาทั่วไปได้เลย 

ตัวอย่างเช่น: Hurry → Hurrying

หลักการเติม -ing ที่ 6:

สำหรับคำกริยาที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ “c” แต่ พยัญชนะ “c” นี้ได้ออกเสียงเป็นเสียง /k/ อย่างเช่นคำกริยา  “Traffic”, “Mimic” và “Panic” เราจะต้องเติมพยัญชนะ “K” ท้ายคำกริยาแล้วค่อยทำการเติม -ing

  • Traffic → trafficking (ค้าขายสิ่งที่ผิดกฎหมาย)
  • Mimic → mimicking (ล้อเลียน)
  • Panic → panicking (ตื่นตระหนก)
  • Picnic => Picnicking (ไปปิกนิก)

ในภาษาอังกฤษหลักการเติม -ing คือง่ายที่สุดแล้วละ เราแค่ต้องเติม -ing ท้ายคำกริยาทั่วไป สำหรับคำกริยาที่มีหลักการเติม -ing พิเศษเราก็ได้รวบรวมมาครบถ้วนให้ผู้เรียนภาษาอังกฤษของ Eng Breaking ในเนื้อหาข้างบนแล้วนะคะ ต้องบอกเลยว่าไม่มีอะไรที่ง่ายกว่านี้อีกแล้ว และเพื่อเป็นการทบทวนและช่วยให้เราจำหลักการเติม -ing ได้เลย เราจัดมาพร้อมแบบฝึกหัดให้เพื่อน ๆ ได้ทำกันนะคะ

แบบฝึกหัดเกี่ยวกับหลักการเติม -ing พร้อมข้อเฉลย

แบบฝึกหัดที่ 1: ใช้หลักการเติม -ing เพื่อเติมคำในช่องว่าง

  1. She avoided (tell) ………………. him about her plans for tonight.
  2. He enjoys (have) ………………. a bath in the evening after a long working day.
  3. She kept (talk) ……………….during the film at the theatre
  4. Do you mind (give) ……………….me a hand please?
  5. She helped me with (carry)………………. my suitcases.
  6. He decided to take up (study)………………. biology at Khon Kaen university
  7. I dislike (wait)……………….. for a long time
  8. She suggested (visit)………….. to the museum in the center of the city.
  9. (Go) …………… to Phuket this weekend is a great idea
  10. I’m keen on (write) …………… new contents for my blog

แบบฝึกหัดที่ 2: เติมคำในช่องว่างเพื่อให้ประโยคสมบูรณ์ 

  1. The children prefer (watch) ……………… TV to (read) ……………… books.
  2. The boys like (play) ……………… games but hate (do) ……………… lessons.
  3. Would you like (go) ……………… now or shall we wait till the end?
  4. I can’t find my favorite book. You (see) ……………… it?
  5. We used (dream) ………………. of a television set when we (be)  ……………… small.
  6. Would you mind (show) ………………  me how (send) ………………  an email?
  7. He always thinks about (go)……………… swimming.
  8. She dislikes (do) ………………  a lot of housework.
  9. My children enjoy (read)  ……………… books.
  10. She looked forward to (see)  ……………… you.

ข้อเฉลย:

แบบฝึกหัดที่ 1:

tellinghavingtalkinggivingcarryingstudying waitingvisitingGoingwriting

แบบฝึกหัดที่ 2:

watching – reading playing – doing to go have …seento dream – were showing – to send going doing reading seeing

ว่าอย่างไรบ้างกับบทความเกี่ยวกับหลักการเติม -ing ลงท้ายคำกริยาที่ Eng Breaking ได้แนะนำมาให้คุณในวันนี้ ง่ายมากเลยใช่ไหมล่ะ แถมยังมีแบบฝึกหัดเกี่ยวกับหลักการเติม -ing เพื่อทบทวนความรู้ท้ายบทเรียนด้วย ง่ายแล้วยิ่งง่ายอีก หากคุณเห็นบทความนี้มีประโยชน์สามารถเก็บไว้เพื่อเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตัวเองได้เลย เราขอให้ทุกคนจะพิชิตภาษาอังกฤษได้นะคะ สำหรับวันนี้ขอไปก่อนแล้วค่ะ

ไม่พลาดกับบทความนี้ :

ความคิดเห็น 635 รายการ

 

[Update] Participles คืออะไร การเติม ed และ ing ต่างกันอย่างไร แปลว่าอะไร ใช้อย่างไร | เติมing – NATAVIGUIDES

Participles หมายถึง คำกริยาที่ใช้เป็นคุณศัพท์ขยายนาม โดย
เติม – ing  แสดงว่านามนั้นเป็นผู้กระทำกริยา  หรือ
เติม – ed แสดงว่านามนั้นเป็นผู้ถูกกระทำ

-ed กับ -ing ต่างกันอย่างไร
มาดูความหมาย วิธีใช้ และตัวอย่างประโยคกันครับ

การเติม -ed

use to describe how people feel
ใช้สำหรับบรรยายความรู้สึกของคน

bored = (รู้สึก) เบื่อ
interested = (รู้สึก) สนใจ
excited = (รู้สึก) ตื่นเต้น
confused = (รู้สึก) สับสน
surprised = (รู้สึก) แปลกใจ
frustrated = (รู้สึก) ท้อแท้

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ

Jimmy had nothing to do. He was very bored.
จิมมี่ไม่มีอะไรทำ เขาเบื่อมาก

การเติม -ing

use to describe something that causes an emotion
ใช้สำหรับอธิบายบางสิ่งที่เป็นสาเหตุให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกนั้น

boring = น่าเบื่อ
interesting = น่าสนใจ
exciting = น่าตื่นเต้น
confusing = น่าสับสน
surprising = น่าแปลกใจ
frustrating = น่าท้อแท้, น่าผิดหวัง

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ

The movie was interesting. I want to watch it again.
หนังเรื่องนั้นน่าสนใจ ฉันอยากดูอีก

Present Participles

กริยาที่เติม – ing  โดยวางอยู่หน้าคำนาม  แสดงว่าเป็นผู้
กระทำกริยานั้น  และเป็นวลีที่ใช้รวมประโยค Simple Sentence 2 ประโยคเข้าเป็นประโยคเดียวกันได้

ตำแหน่งและหน้าที่ของ Present Participles

1. วางอยู่หน้าคำนาม   จะเป็นดังรูป   V.ing + noun
Mary is a working woman.

2. เป็นวลีอยู่หน้าคำอื่นๆ  ดังรูป   V.ing + word or words  ซึ่งประโยค Simple Sentence 2 ประโยคที่มีประธานเป็นคนเดียวกันมารวมกันเป็นประโยคเดียวกัน  โดยตัดประธานอีกตัวทิ้ง กริยาที่เกิดก่อนทำเป็น V.ing
Seeing her father, Mary ran away.
มาจาก   Mary saw her father. และ  Mary ran away.

Past Participles

Past Participles  คือกริยาช่องที่ 3 ที่วางไว้หน้าคำนามเพื่อแสดงว่านามนั้นเป็นผู้ถูกกระทำ และเป็นวลีที่ใช้รวมประโยค Simple Sentence 2 ประโยคเข้าเป็นประโยคเดียวกัน

ตำแหน่งและหน้าที่ของ Past Participles

1.   วางอยู่หน้าคำนาม (V3 + noun) หรือ หลังคำนาม (noun + V3)  เมื่อเป็น transitive verb  ( กริยาที่ต้องมี
กรรมมารับ) หรือ วางไว้หน้าคำนามที่เดียวเท่านั้น เมื่อเป็น intransitive verb ( กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ) ตัวอย่างเช่น

transitive verb :
The car which was stolen last week is mine.
จะได้   The car stolen last week is mine.
The stolen car last week is mine.

intransitive verb :
Please change the flowers which were faded in the living room.
จะได้  Please change the faded flowers in the living room.

2.   วางอยู่หลัง verb to be จะเป็น passive voice (is, am, are, was, were + V.3)  เช่น
John was punished by his teacher.

3.   เป็นวลีที่อยู่หน้าคำอื่น ๆ (V.3 + word or words) โดยรวมประโยค Simple Sentence 2 ประโยคเข้าด้วยกันเป็นประโยคเดียว  โดยตัดประธานออก 1 ตัว กริยาที่เกิดก่อนทำเป็น V.3 เช่น
He was punished by his teacher.  He cried loudly.
Punished  by his teacher, he cried loudly.

4.   Past Participle ใช้  Adverb  ขยายได้ (Adv. + past participle + noun) เช่น
a well-designed dress

การรวมประโยค Simple Sentence

1.   เมื่อประธานเป็นตัวเดียวกัน   มีหลักดังนี้

– ถ้าประธานเป็น noun และ pronoun  ให้ตัดประธานที่เป็น pronoun  ทิ้ง

– ถ้ากริยาที่เกิดขึ้นก่อนเป็น active form และเป็น past simple tense  ให้เปลี่ยนกริยาเป็น present participle ( V-ing) เช่น
He believed in her story.  He gave her hundred baht.
Believing in her story, he gave her hundred baht.

– ถ้ากริยาที่เกิดขึ้นก่อนเป็น passive form อยู่ในรูป  Verb to be + V3 ให้ตัด Verb to be ออกให้เหลือ V3 (past participle) หรือใช้  being + V3  เช่น
She was arrested by the police.  She was sent to the prison.
Arrested by the police, she was sent to the prison.
Being arrested by the police, she was sent to the prison.

– ถ้ากริยาที่เกิดขึ้นก่อนเป็น active form และเป็น past perfect tense คืออยู่ในรูป had + V3  ให้เปลี่ยน had  เป็น having  หรือตัด had ทิ้งแล้วเปลี่ยน V3 เป็น V-ing
He had worked hard all week.  He felt tried.
Having worked hard all week, he felt tried.
Working hard all week, he felt tried.

2. เมื่อประธานไม่ใช่ตัวเดียวกัน  มีหลักดังนี้
– ไม่ตัดประธานของทั้ง 2 ประโยคออก
– ถ้ากริยาที่เกิดก่อนเป็น Active form  อยู่ในรูป past simple tense ให้เปลี่ยนกริยาเป็น (had + V3) และเปลี่ยน had  ให้เป็น having  เช่น
She walked in the park.  A dog bit her.
She having walked in the park, a dog bit her.

– ถ้ากริยาที่เกิดก่อนเป็น Passive form ( verb to be + V.3)ให้เปลี่ยน เป็น had been + V.3 แล้วเปลี่ยน had  เป็น having
She was taken to hospital.  The doctor examined her.
She having been taken to hospital, the doctor examined her.

– ถ้ากริยาที่เกิดก่อนเป็น Active form อยู่ในรูป had + V.3 ให้เปลี่ยน had  เป็น having
He had worked for five days.  His job was finally finished.
He having worked for five days, his job was finally finished.

เรียนเรื่อง participle อย่างละเอียด ได้ที่
 Participle คืออะไร


กฎการเติม ing เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE


กฎการเติม ing เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE
ในคลิปวีดีโอนี้เราจะมาดูหลักการ ในการเติม ing สำหรับคำกริยากัน โดยทั่วไปในการฝึกภาษาอังกฤษโดยเฉพาะกับการเขียน เราจำเป็นต้องรู้วิธีการสะกดคำกริยาที่เติมing ให้อย่างถูกต้อง ในคลิปนี้ติวเตอร์ได้รวบรวมเทคนิคในการเติมing ไว้ที่กริยาว่ามีกฎอะไรบ้าง จะช่วยทำให้เราสามารถเข้าใจกฎและหลักการในการเติมingได้มากขึ้น รวมถึงวิธีการอ่านออกเสียงเป็นภาษาอังกฤษแบบที่ถูกต้อง
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ครบทุกหลักการใช้งานในคลิปเดียวแบบเต็มสูบทั้งหมด
หากสนใจมาเรียนภาษาอังกฤษตัวต่อตัว กับทางESE สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ทางช่องทางเหล่านี้นะครับ
อย่าลืมกดติดตามเราทางช่องทางอื่นๆด้วยนะครับ
Follow us on Facebook: https://www.facebook.com/easyandsimpleenglish/
Follow us on Instagram: https://www.instagram.com/ese_stagram_th/
Visit our website: http://easysimpleenglish.com/
Contact: Tel: 0863537300

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

กฎการเติม ing เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE

เพลงล้างมือบ่อยๆ (ล้างมือ 7 ขั้นตอน) cover dance : เยลลี่,แตงหวาน,ก้อง


เต้นประกอบเพลงล้างมือบ่อยๆ ล้างมือบ่อยๆ ล้างมือ7ขั้นตอน มีสเยลลี่ มีสแตงหวาน มาสเซอร์ก้อง เยลลี่ เยยลี่ปีโป้ Yellypeepo

เพลงล้างมือบ่อยๆ (ล้างมือ 7 ขั้นตอน) cover dance : เยลลี่,แตงหวาน,ก้อง

หลักการเติม ing


เป็นวิดีโอที่ใช้ในการบรรยาย หลักการ การเติม ing ซึ่งมีหลักการทั้งหมด 5 ข้อ
พร้อมแบบฝึกหัด ใช้ในการจัดการเรียนการสอนช่วงสถานการณ์โควิด 19

หลักการเติม ing

111 ประโยคอังกฤษสั้นๆ เพื่อผู้เริ่มหัดสนทนา


ติดตาม Facebook Fanpage ครูเชอรี่ English Bright
https://www.facebook.com/cherry.englishbright

111 ประโยคอังกฤษสั้นๆ เพื่อผู้เริ่มหัดสนทนา

Adjectives ที่ลงท้ายด้วย \”-ing\” และ \”-ed\” มีความหมายแตกต่างกันอย่างไร ?


มีกริยาอยู่กลุ่มหนึ่งที่จะเติม ing หรือเติม ed ก็ได้ โดยปกติแล้ว กริยากลุ่มนี้จะมีความหมายในตัวว่า ทำให้… ซึ่งเมื่อเติม –ing และ – ed เข้าไปแล้วจะทำให้คำกริยาคำนั้นกลายเป็นคำคุณศัพท์ และทำให้ความหมายของคำนั้นแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งยังมีผู้สับสนและใช้ผิดบ่อยครั้ง เรามาดูกันว่า ทั้งสองแบบนี้มีความหมายและการใช้แตกต่างกันอย่างไร
Adjectives ที่ลงท้ายด้วย \”ing\” และ \”ed\”

Adjectives ที่ลงท้ายด้วย \

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่MAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ เติมing

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *