Skip to content
Home » [NEW] วิธีการเรียนรู้ เรียนรู้ที่จะเรียน | เพลง เรียน รู้ การ อยู่ คน เดียว – NATAVIGUIDES

[NEW] วิธีการเรียนรู้ เรียนรู้ที่จะเรียน | เพลง เรียน รู้ การ อยู่ คน เดียว – NATAVIGUIDES

เพลง เรียน รู้ การ อยู่ คน เดียว: คุณกำลังดูกระทู้

เราต่างก็มีของขวัญพิเศษสำหรับการเรียนรู้ เรามีสมอง มีความสามารถในการเรียนรู้ และถ้าหากเราฝึกฝนเรียนรู้ที่จะใช้ความสามารถนี้ได้ดีตั้งแต่ตอนเด็กๆ เรียนรู้ที่จะเรียน เราก็จะสนุกกับผลลัพธ์ของมันไปทั้งชีวิต

จากหนังสือ Learning How to Learn: How to Succeed in School Without Spending All Your Time Studying; A Guide for Kids and Teens บางคนเชื่อว่าคนเราสามารถเก่งได้ในด้านเดียว แต่ความจริงก็คือหลายคนมีความสามารถและเก่งหลายด้านได้ เราสามารถไล่ตามความฝัน สามารถทำสิ่งที่เราชอบได้ ในขณะเดียวกันเราก็สามารถขยายขอบเขตความรู้ออกไป ทำให้รู้หลายๆ เรื่องได้เช่นกัน

ขยาย Passion ออกไป เปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆ โอกาสใหม่ๆ การเรียนสิ่งใหม่ๆ การเรียนรู้สิ่งที่เราไม่ชอบในตอนแรก มันอาจกลายเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นได้

บางคนอาจเจอปัญหาในการเรียนรู้ การเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ช้าอาจทำให้เข้าใจว่า ตัวเองไม่เหมาะกับสิ่งนั้น และไม่มีทางที่จะประสบความสำเร็จได้ Neuroscience ทำให้เรารู้ว่ามันไม่จริง เรามีสมองที่เปรียบเสมือนเครื่องมือทรงพลัง งานของเราคือการเรียนรู้ เรียนรู้ที่จะใช้เครื่องมือนั้นให้เต็มที่

Table of Contents

การใช้สมองทั้งสองแบบ

ก่อนที่จะคิดได้ดี บางครั้งเราต้องปล่อยใจล่องลอยไป ไม่ต้องสนใจอะไรเป็นพิเศษ มันจะทำให้เคลียร์ การปล่อยให้ใจลอยก็มีประโยชน์ในเวลาที่เราเรียนรู้หรือพยายามแก้ไขปัญหา

เราใช้สมอง 2 แบบแตกต่างกัน

การใช้สมองแบบแรกคือ Focused mode คือการรวบรวมความสนใจ ตั้งใจและให้ความสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ หรือตั้งใจเรียนรู้ ตั้งใจฟังครูสอน เล่นเกม ต่อจิ๊กซอว์ หรือเรียนรู้คำศัพท์

การใช้สมองแบบที่สองคือ Diffuse mode คือการกระจายความสนใจ ตอนที่เราปล่อยใจตามสบาย ไม่คิดถึงสิ่งใดเป็นพิเศษ ปล่อยใจเป็นอิสระ ไม่ตั้งใจคิด ฝันกลางวันหรือวาดรูปเพื่อความสนุก การใช้สมองแบบกระจายความสนใจช่วยให้จินตนาการเชื่อมโยงแนวคิดต่างๆ เข้าด้วยกัน

การเรียนรู้ให้ได้ดีเราจำเป็นต้องสลับการใช้สมองทั้งสองแบบนี้

ถ้าเราต้องการเปลี่ยนจากการคิดแบบใส่ใจรายละเอียดแล้วกระโดดไปคิดแบบอิสระมองภาพรวม เราจะต้องเปลี่ยนการใช้สมองจากรวบรวมความสนใจ ไปเป็นกระจายความสนใจ เราไม่สามารถใช้สมองทั้งสองแบบพร้อมกันได้

เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเริ่มสนใจบางอย่าง สมองก็จะเปลี่ยนไปทำงานแบบรวบรวมความสนใจ แต่มันยากที่จะคงอยู่แบบนี้ไปได้นานๆ เราไม่สามารถรวบรวมความสนใจไว้ได้นาน ทำให้บางครั้งเราจะสลับไปใช้สมองแบบกระจายความสนใจ จากนั้นเริ่มคิดเรื่อยเปื่อยฝันกลางวัน

การใช้สมองแบบกระจายความสนใจนั้นทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ไม่สนใจอะไรเป็นพิเศษ เช่น เดินเล่นในสวน มองออกไปนอกหน้าต่าง อาบน้ำ หรือนอนหลับ

ในตอนที่สลับไปใช้สมองแบบกระจายความสนใจ จะเป็นการเปิดโอกาสให้สมองช่วยแก้ไขปัญหา โดยสมองจะทำงานอยู่เบื้องหลังอย่างเงียบๆ

เด็กที่มีปัญหาเรื่องสมาธิจะต้องตั้งใจมากเป็นพิเศษ แต่นั่นก็ทำให้เด็กเหล่านี้มีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าเด็กทั่วไป

ในการเรียนหรือทำงาน เราอาจติดปัญหาได้ 2 แบบ แบบแรกเกิดขึ้นจากการที่เราไม่เข้าใจเนื้อหาหรือคำสั่ง การที่เราไม่ได้เอาข้อมูลใส่สมองมากพอ การเปลี่ยนไปใช้สมองแบบกระจายความสนใจจะไม่ได้ช่วยอะไรมาก สิ่งที่ควรทำคือกลับไปอ่านคำอธิบายในหนังสือ ให้ครูอธิบายซ้ำ ดูตัวอย่างอีกครั้ง หรือดูวิดีโอสอนใน YouTube

การติดปัญหาแบบที่ 2 เกิดขึ้นในตอนที่เรานำข้อมูลเข้าสู่สมองในตอนรวบรวมความสนใจ แต่เราก็ยังติดปัญหาและทำให้สับสนได้ เหตุผลที่ติดปัญหาก็เพราะว่าเรายังไม่ได้สลับไปใช้สมองแบบกระจายความสนใจ ไม่ได้เปิดโอกาสให้สมองได้ทำงานเบื้องหลังช่วยแก้ไขปัญหาให้เรา

การเปลี่ยนไปใช้สมองแบบกระจายความสนใจ จะเปิดโอกาสให้สมองได้ทำงานโดยที่เรามักจะไม่รู้ตัว ความคิดจะกระจายไปทั่ว สะกิดให้คิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้ เชื่อมโยงแนวคิดเข้าด้วยกัน แนวคิดที่จะกลายเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาให้เราได้

บางครั้งการสลับการใช้สมองเพียงครั้งเดียวอาจไม่ได้ช่วยให้แก้ไขปัญหาหรือคิดออกได้ เราอาจต้องสลับการใช้สมองไปมาหลายครั้งจนกว่าจะคิดออก เราต้องรวบรวมความสนใจให้มากเพียงพอที่จะนำข้อมูลที่จำเป็นเข้าสู่สมอง ก่อนที่จะหยุดพัก

ตัวอย่างกิจกรรมที่ทำให้เราสลับไปใช้สมองแบบกระจายความสนใจได้แก่ การเล่นกีฬา เดินเล่น ว่ายน้ำ เต้น นั่งรถ ขี่จักรยาน วาดรูป อาบน้ำ ฟังเพลง นั่งสมาธิสวดมนต์ นอน

นิสัยผัดวันประกันพรุ่ง

ปัญหาของคนทั่วไปไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่คือ ผัดวันประกันพรุ่ง ทำไมเราต้องทำสิ่งที่เราไม่อยากทำด้วย โดยเฉพาะถ้าสิ่งนั้นมันยาก ทำไมต้องอ่านหนังสือวันนี้ ทั้งๆ ที่ยังอีกหลายวันกว่าจะถึงวันสอบ ถึงตอนนั้นจะไม่ลืมก่อนหรอ

และปัญหาของคนผัดวันประกันพรุ่งคือ ทำไม่ทัน ถ้าผัดไปเรื่อยๆ ก็จะพบว่า ถึงเวลาทำจริง ก็จะทำไม่ทัน

เวลาที่เราคิดถึงสิ่งที่มันยากๆ ต้องออกแรง เช่นทำความสะอาด อ่านหนังสือ มันทำให้สมองรู้สึกเจ็บ นักวิจัยสามารถระบุสมองส่วนที่รับประสบการณ์ความเจ็บนี้ได้ใน Insular cortex คิดถึงการที่ต้องทำความสะอาดทำให้รู้สึกเช่นเดียวกับปวดท้อง

แต่เมื่อไหร่ที่เราเริ่มลงมือทำงาน ทำสิ่งที่ไม่อยากทำ ความรู้สึกเจ็บในสมองจะหายไปในเวลาประมาณ 20 นาที Insular cortex จะเริ่มสงบลงเมื่อเราเริ่มต้นลงมือทำงานที่เราหลีกเลี่ยง เหมือนดีใจที่เราเริ่มต้นลงมือทำงานได้ซะที

เพียงแค่นึกถึงสิ่งที่เราไม่อยากทำ มันก็จะไปกระตุ้นส่วนที่รับความเจ็บในสมองที่เรีกว่า Insular cortex มันจะทำให้เราผัดวันประกันพรุ่งได้ ดังนั้นวิธีแก้ไขคือเริ่มต้นลงมือทำ อย่าปล่อยมันไว้ พูดง่ายแต่ทำยาก

สิ่งที่จะช่วยแก้นิสัยผัดวันประกันพรุ่งคือ Pomodoro คำภาษาอีตาเลี่ยนที่แปลว่ามะเขือเทศ (Tomato) เทคนิคนี้ง่ายมาก สิ่งที่เราต้องมีคือนาฬิกาจับเวลา จากนั้นจึงกำจัดสิ่งรบกวนทั้งหมดออกไป ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์ โทรทัศน์ เพลง เพื่อน พี่น้อง กำจัดทุกอย่างที่มันจะทำลายสมาธิของเราได้ หาที่เงียบๆ ทำงาน ที่ๆ ไม่มีใครมาขัดจังหวะ

จากนั้นตั้งเวลาไว้ 25 นาที แล้วเริ่มต้นลงมือทำงาน ตั้งใจรวบรวมความสนใจ มีสมาธิกับงาน

หลังจากครบ 25 นาที ให้รางวัลตัวเอง ด้วยการฟังเพลงดูหนัง กอดหมาแมว คุยกับเพื่อน ประมาณ 5-10 นาที รางวัลเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อเราคาดหวังที่จะได้รับรางวัล สมองเราจะมีสมาธิมากขึ้น

ไม่จำเป็นต้องบอกตัวเองว่าต้องทำงานให้เสร็จ เพียงแค่เริ่มลงมือทำงานก็พอ เราอาจทำงานเสร็จหรือไม่ก็ได้ ไม่ต้องกังวล แค่ตั้งใจทำให้เต็มที่ ทำสิ่งที่ทำได้ใน 25 นาทีนั้น เมื่อหมดเวลาก็หยุดพัก สลับสมองไปอยู่ในแบบกระจายความสนใจ ให้รางวัลตัวเองด้วยการสลับไปใช้สมองแบบกระจายความสนใจ

หลังจากทำงานครบ 25 นาที ถ้ารู้สึกว่าไหล และอยากทำงานต่อ ก็ปล่อยให้ตัวเองได้ทำต่อไป นั่นเป็นสิ่งที่ดี และเมื่อไหร่ก็ตามที่หยุดพัก ก็ให้รางวัลตัวเองเสมอ มันเป็นช่วงเวลาที่สมองได้พัก

ในตอนที่ทำ Pomodoro พยายามอย่าทำงานหลายอย่างพร้อมกัน ให้ทำอย่างเดียว เพราะเราไม่สามารถให้ความสนใจหลายอย่างพร้อมกันได้ เมื่อเราสลับความสนใจไปเรื่องอื่น เราจะสูญเสียพลังงาน และมันจะทำให้ทำงานแย่ลง

นิสัยเกิดจากการที่เราทำสิ่งเดิมหลายครั้งจนทำได้โดยอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องคิดหรือตัดสินใจ เราควรฝึกฝนการใช้เทคนิค Pomodoro ให้กลายเป็นนิสัย

การเชื่อมโยงในสมอง

ในสมองมี Neuron จำนวนนับพันล้าน เทียบได้กับจำนวนดาวทั้งหมดในกาแลกซี่ทางช้างเผือก Neuron เป็นองค์ประกอบขนาดเล็กมากในสมอง ความกว้างเท่าเส้นผม แต่อาจยาวมากกว่าแขน

หน้าตาของ Neuron ดูคล้ายเอเลี่ยน มีส่วนลำตัวที่เรียกว่า Nucleus มีส่วนแขนที่เรียกว่า Axon และส่วนขาที่เรียกว่า Dendrite นอกจากนั้นตรงขายังมีหนามที่เรียกว่า Dendritic spine

สิ่งที่ Neuron ทำคือส่งสัญญาณต่อไปยัง Neuron อื่นๆ โดยสัญญาณจะถูกส่งผ่านไปยัง Axon ทำให้เกิดการช็อตที่ Dendritic spine ของ Neuron ถัดไป เหมือนการช็อตที่เรารู้สึกได้จากไฟฟ้าสถิตในวันที่อากาศแห้ง

การช็อตเกิดขึ้นในช่องว่างระหว่าง Neuron ช่องว่างเล็กๆ นั้นเรียกว่า Synapse ส่วนสปาร์คที่เกิดขึ้นจะถูกส่งผ่าน Neuron และถ้าไปถึง Axon ก็จะช็อตและทำให้เกิดสปาร์คที่ Synapse หรือช่องว่างระหว่าง Neuron ถัดไป สัญญาณสปาร์คจะถูกส่งต่อไปยัง Neuron ถัดไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสัญญาณอ่อนลงจนไม่สามารถไปถึงส่วนปลายของ Axon

เมื่อสัญญาณถูกส่งผ่าน Neuron ก็จะเกิดเป็นความคิดของเรานั่นเอง

เมื่อ Neuron ส่งสัญญาณให้กันก็จะเกิดการเชื่อมโยง และถ้าส่งสัญญาณให้กันบ่อย การเชื่อมโยงนั้นก็จะแข็งแรงมากขึ้น การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงใหม่ขึ้นในสมอง

ในตอนเริ่มต้นเรียนรู้สิ่งใหม่ การเชื่อมโยงของ Neuron จะยังอ่อน และอาจจะยังไม่มี Neuron มากนัก Dendritic spine และสัญญาณสปาร์คก็ยังอ่อนเช่นกัน

เมื่อเราฝึกฝนอยู่เรื่อยๆ Neuron ที่เชื่อมโยงกันก็จะเพิ่มมากขึ้น สปาร์คก็จะแรงมากขึ้น ทำให้การเชื่อมโยงโดยรวมแข็งแรงมากขึ้น ทำให้เราสามารถเก็บข้อมูลเก็บความคิดได้มากขึ้นนั่นเอง

สมองจะสร้าง Neuron ขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ

การสร้างการเชื่อมโยงใหม่เมื่อมีการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมองนี้เรียกว่า Neuroplasticity  เมื่อ Neuron  เปลี่ยน เราก็จะเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนแปลงตัวเองได้เช่นกัน

การเรียนรู้ในขณะหลับ

เราสามารถทำให้ Neuron เปลี่ยนแปลงได้ หลังจากที่เรียนรู้บางอย่างแล้วได้นอนหลับ ช่วงเวลานั้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ Dendritic spine จะโตขึ้นมาก

เมื่อเราเรียนรู้ในตอนกลางวัน จะทำให้มี Dendritic spine งอกขึ้นมา แต่มันจะโตขึ้นก็ต่อเมื่อเราได้นอนหลับ หลังจากนั้นก็จะเชื่อมโยงเข้ากับ Axon ของ Neuron อื่นๆ

นั่นหมายความว่า ในตอนหลับ การเชื่อมโยงในสมองจะแข็งแรงขึ้น และขยายจำนวนออกไปมากขึ้น

ในตอนหลับสมองจะทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในตอนกลางวัน สัญญาณจะถูกส่งออกไปตามเส้นทางการเชื่อมโยงการเรียนรู้เดิมครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้ Dendritic spine โตขึ้น และทำให้ช่องว่าง Synapse โตขึ้น สร้างสัญญาณสปาร์คได้แรงขึ้น

การตั้งใจเรียนรู้และการทบทวนในตอนกลางวันจะทำให้ Dendritic spine งอกออกมา จากนั้นตอนกลางคืนในขณะที่เรานอนหลับ มันก็จะโตขึ้น และเชื่อมโยงเข้ากับ Neuron อื่นๆ ได้มากขึ้น ทำให้เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ ทำเก็บข้อมูลความคิดได้มากขึ้น นั่นคือเราจะจำได้ดี นึกถึงสิ่งที่เรียนรู้ได้เร็ว

การที่จะทำให้ Dendritic spine งอกออกมาได้นั้น เราจะต้องตั้งใจ มีสมาธิอยู่กับการเรียนรู้ นอกจากนั้นมันอาจจะหายไปถ้าเราไม่ได้ฝึกฝนทบทวนความรู้นั้นอยู่เสมอ

การเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ผ่านไป 2-3 วันหากไม่ได้ทบทวนความรู้นั้น เราก็จะจำไม่ได้และไม่เข้าใจสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว

ดังนั้นเราจะต้องตั้งใจเรียนรู้ ให้ Dendritic spine งอกออกมา นอนหลับให้มันโตขึ้น เว้นช่วงว่างทบทวนความรู้นั้นอยู่เสมอ หรืออธิบายให้คนอื่นๆ ฟัง ก็จะทำให้จำได้ดี จำได้นาน

ระบบความจำทั้งสองแบบ

เรามีระบบความจำสองแบบ คือความจำระยะสั้นและความจำระยะยาว

ความจำระยะสั้นจะถูกใช้ในตอนที่เราตั้งใจคิดถึงบางอย่างในขณะนั้น ความจำระยะสั้นจะอยู่ในส่วน Prefrontal cortex และจะเก็บข้อมูลได้จำกัด ส่วนความจำระยะยาวจะเก็บกระจายอยู่ในหลายส่วนในสมอง และเก็บข้อมูลได้ไม่จำกัด แต่เราจะต้องเข้าใจการทำงานของมันและฝึกฝนอยู่เสมอ

โดยทั่วไปความจำระยะสั้นทำให้เราจำสิ่งต่างๆ ได้ไม่เกิน 4 อย่าง ยกเว้นบางคนที่พิเศษที่อาจจำได้มากกว่านั้น การพัฒนาความจำระยะสั้นยังเป็นเรื่องท้าทาย ดังนั้นถึงแม้จะมีความจำระยะสั้นไม่ดี ก็ไม่ต้องกังวล เราควรสนใจพัฒนาความจำระยะยาวจะดีกว่า

ข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ในความจำระยะยาวจะมีสองแบบ แบบแรกคือข้อเท็จจริง เช่น วันที่ ความหมายของคำ ส่วนข้อมูลอีกแบบคือรูปภาพ รูปภาพจะเก็บได้ง่ายกว่าข้อเท็จจริง ทำให้เรานึกภาพออกได้ง่ายๆ ในขณะที่ข้อเท็จจริงที่เป็นนามธรรม เราไม่สามารถนึกถึงข้อมูลนั้นได้ง่ายๆ

ดังนั้นเทคนิคในการจำอย่างหนึ่งคือการเปลี่ยนข้อมูลข้อเท็จจริงให้กลายเป็นรูปภาพ หรือเชื่อมโยงเข้ากับรูปภาพ เช่น สถานที่หรือเส้นทางที่คุ้นเคย ก็จะทำให้เก็บข้อมูลนั้นง่ายขึ้น และทำให้จำได้ดี ขั้นตอนในการจำได้แก่

  1. มีสมาธิตั้งใจ บอกตัวเองว่ากำลังจะจำสิ่งที่สำคัญ
  2. ฝึกฝนการจำอยู่เสมอ การฝึกฝนจะช่วยให้จำได้ดีขึ้น
  3. นึกภาพสิ่งต่างๆ เปลี่ยนข้อเท็จจริงให้กลายเป็นรูปภาพ
  4. จัดเก็บความจำ โดยเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลที่รู้อยู่แล้ว
  5. ทบทวนความทรงจำอยู่เสมอ

ความจำระยะสั้นจะทำงานเมื่อเราพยายามคิดอะไรบางอย่าง มันจะรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน และทำความเข้าใจ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงในสมองใหม่

เมื่อเราเริ่มนึกถึงแนวคิดใหม่ หลังจากนั้นฝึกฝนทบทวนแนวคิดนั้น ไม่นานเราก็จะคล่องจนเป็นธรรมชาติ เพราะการเชื่อมโยงในสมองถูกสร้างขึ้นแล้ว ทำให้เกิดรูปแบบใหม่เก็บไว้ในความจำระยะยาว เชื่อมโยง Dendritic spine และ Synapse เชื่อมโยง Neuron เข้าด้วยกัน

ความจำระยะยาวที่ถูกเก็บด้วยการเชื่อมโยงที่แข็งแรงจะทำให้สามารถนำเอาออกมาใช้ได้ง่าย ทำให้จำและนึกออกได้ง่าย นอกจากนั้นยังช่วยให้เข้าถึงข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันได้อีกด้วย ดังนั้นถึงแม้จะมีความจำระยะสั้นไม่ดี เราสามารถฝึกฝนและใช้ความจำระยะยาวให้เป็นประโยชน์ได้

การใช้ความจำระยะสั้น เราจะต้องมีสมาธิ ถ้าเราถูกรบกวนจนเสียสมาธิหรือเปลี่ยนไปคิดเรื่องอื่น เราก็จะต้องลืมเรื่องเก่าก่อน เพื่อที่จะรับข้อมูลใหม่ๆ ได้

ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ก่อนที่เราจะสร้างการเชื่อมโยงในสมองได้ มันอาจจะมีความยากลำบากเกิดขึ้นบ้าง บางครั้งอาจทำให้เราไม่ชอบและล้มเลิกได้

โดยทั่วไป ครั้งแรกมันมักจะยากเสมอ ดังนั้นถึงจะยากแต่ก็ต้องเริ่มต้น ทำความเข้าใจและสนุกไปกับขั้นตอนของการเรียนรู้ จากนั้นรอผลลัพธ์ดีๆ ที่จะเกิดขึ้นได้เลย

การนอนและการออกกำลังกาย

สมองมีส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจำเรียกว่า Hippocampus คำในภาษากรีกแปลว่าม้าน้ำ ในตอนที่เรานอนหลับ สิ่งที่เราเรียนรู้ในตอนกลางวันจะถูกส่งจาก Neuron ใน Hippocampus ไปยัง Neuron ที่อยู่ใน Cerebral cortex ซึ่งเป็นสมองชั้นนอกและเป็นที่เก็บความทรงจำระยะยาว ดังนั้นการนอนหลับไม่เพียงช่วยสร้างการเชื่อมโยงในสมองเท่านั้น แต่ยังช่วยเคลียร์สิ่งที่อยู่ใน Hiipcampus ทำให้มีพื้นที่เก็บ ทำให้เราสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้

Neuron จะถูกสร้างขึ้นใหม่ใน Hippocampus แต่ถ้าเราไม่เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ Neuron ที่เพิ่งเกิดขึ้นนั้นก็จะหายไป แต่ถ้าเราเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ Neuron ก็จะยังอยู่ ทำให้จำได้ดี Synapse ที่สร้างจาก Neuron ทั้งเก่าและใหม่ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงในสมอง และในตอนนอนหลับ Hippocampus ก็จะช่วยนำเอาความจำไปเก็บใน Cerebral cortex ให้เรา ทำให้เราจำได้นานขึ้นนั่นเอง

การออกกำลังกายจะช่วยสร้างเคมีที่เรียกว่า BDNF (Brain derived neurotrophic factor) ที่จะช่วยให้ Neuron ในสมองมีสุขภาพดีและแข็งแรง BDNF ช่วยปกป้อง Neuron จากการบาดเจ็บ ช่วยให้เชื่อมต่อกับ Neuron อื่นๆ ได้ดี นอกจากนั้น BDNF ยังเป็นเหมือนอาหารช่วยให้ Synapse และ Dendritic spine โตมากขึ้น

ดังนั้นการออกกำลังกายจึงไม่ใช่แค่การดูแลสุขภาพร่างกาย แต่ยังเป็นการดูแลสุขภาพสมองอีกด้วย

การออกกำลังกายยังทำให้สร้างสารสื่อประสาทเช่น Serotonin และ Dopamine ที่สามารถช่วยให้เราคิดสิ่งใหม่ๆ เชื่อมโยงแนวคิดต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เกิดเป็นแนวคิดใหม่ๆ ทำให้เกิดมุมมองใหม่ๆ ได้

อาหารก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ส่งผลต่อสมอง การกินผักใบเขียวและผลไม้เป็นสิ่งที่ดี กินให้หลากหลาย ลองกินผักประเภทต้นหอมหรือกระเทียม ที่มีสารช่วยป้องกันโรคเบาหวานหรือมะเร็ง ผักประเภทกระหล่ำดอกหรือบล็อกโคลี่ ผลไม้หลากหลายสี ช้อกกะแล็ต ล้วนดีต่อร่างกาย

หลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่ให้แต่พลังงานแต่มีสารอาหารที่มีประโยชน์อยู่น้อย เช่น มันฝรั่งทอด โดนัท ซีเรียล เครื่องดื่มรสหวาน

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ในหนังสือยังมีเรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกเยอะ เช่น เทคนิคการเตรียมตัวและการทำข้อสอบให้ได้คะแนนดี นอกจากนั้นยังมีเรื่องดนตรีและเกมที่ช่วยในการเรียนรู้ คนที่เรียนรู้ช้าที่เสียเปรียบในด้านความจำ แต่อาจเป็นคนที่ได้เปรียบในด้านความคิดสร้างสรรค์ คนที่สนใจควรต้องไปอ่านเพิ่มเติม

ในบทความจะเน้นเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสมองและการเรียนรู้สำหรับคนทั่วไป

ทุกครั้งที่สร้างการเชื่อมโยงในสมองได้แข็งแรง ก็เหมือนกับการต่อจิ๊กซอว์ เมื่อเราสร้างการเชื่อมโยงเพิ่มเรื่อยๆ ก็เป็นการเพิ่มชิ้นส่วนมากขึ้น และเมื่อมีมากพอ จะทำให้เราเห็นภาพรวมของสิ่งนั้น และถึงแม้จะยังมีช่องว่างที่ยังเติมไม่เต็ม แต่เราก็จะรู้ว่ามันคืออะไรและมีอะไรเกิดขึ้น เราก็จะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในสิ่งนั้น

แต่ถ้าเราไม่ได้ฝึกฝนทบทวน เราก็จะเริ่มมองเห็นภาพรวมนั้นลางเลือนค่อยๆ จางหายไป

บางครั้งการเรียนรู้สิ่งเดิมๆ ที่เราคุ้นเคย อาจทำให้มันเป็นเรื่องง่าย และนั่นก็เป็นสัญญาณให้เราก้าวไปข้างหน้า เพราะการใช้เวลาเรียนรู้แต่เรื่องง่ายๆ ที่เรารู้อยู่แล้ว มันจะไม่ได้ช่วยเสริมสร้างการเชื่อมโยงให้มากขึ้น และทำให้เราไม่ได้ใช้เวลาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ท้าทายมากขึ้น

การฝึกเรียนรู้ผสมผสานหัวข้อต่างๆ เข้าด้วยกัน ทั้งเรื่องเก่าและเรื่องใหม่ เวลาที่เรากลับไปเจอหัวข้อเก่า จะช่วยให้เรามองในมุมใหม่ๆ ได้

มีสมาธิตั้งใจฝึกฝนและเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนจากการดูคนอื่น อ่านหนังสือหรือดูวิธีการแก้ปัญหา จะช่วยให้เราเริ่มต้นได้ แต่มันจะไม่ช่วยมาก ไม่ได้ทำให้เกิดโครงสร้างการเรียนรู้ เราจะต้องลงมือทำด้วย ฝึกฝนทักษะในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้เก่งขึ้นและกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น

ข้อผิดพลาดอย่างหนึ่งในการเรียนคือ อย่าหลงผิดคิดว่า หลังจากอ่านและรู้วิธีการแก้ปัญหาแล้วจบอยู่แค่นั้น แต่จะต้องลงมือทำเองด้วย มันจะทำให้จำได้นานมากขึ้น

โชคดีมักจะเป็นของคนที่พยายาม

Like what you read? Please share it with your friends so we can get their thoughts!

วิธีการเรียนรู้ เรียนรู้ที่จะเรียน

[Update] 5 แอปพลิเคชันเรียนดนตรี เรียนร้องเพลง อยู่บ้านว่าง ๆ แบบนี้ มาเพิ่มทักษะการเล่นดนตรี ร้องเพลง ดีกว่า | เพลง เรียน รู้ การ อยู่ คน เดียว – NATAVIGUIDES

แชร์หน้าเว็บนี้ :

5 แอปพลิเคชันเรียนดนตรี เรียนร้องเพลง
อยู่บ้านว่าง ๆ แบบนี้ มาเพิ่มทักษะการเล่นดนตรี ร้องเพลง ดีกว่า

ในช่วงที่โควิด-19 ยังอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงแบบนี้ ทำให้หลายคนมองหากิจกรรมและการเสริมทักษะในแบบที่ไม่ต้องออกจากบ้านไปไหน และผู้เขียนเชื่อว่า หนึ่งในกิจกรรมที่หลายคนชื่นชอบคือการได้อยู่กับเสียงเพลง ซึ่งถ้าคุณอยากเรียนร้องเพลง อยากเรียนดนตรี แต่ไม่มีพื้นฐานดนตรี ไม่รู้โน้ตเลย ไม่รู้ว่าคีย์ไหนเรียกว่าเสียงอะไร เรามี แอปพลิเคชันเรียนดนตรี มาฝากกันค่ะ คนมีพื้นฐานแล้วก็มาเรียนด้วยกันได้นะ !

 

 

 

1. แอป ScoreSkills

แอปเรียนดนตรี ScoreSkills เป็นแอปที่มีไว้สอนขั้นพื้นฐานสุด ๆ ของการเรียนดนตรี นั่นก็คือการอ่านโน้ตเพลงนั่นเอง ถึงแม้ว่าคุณจะสามารถเล่นดนตรีได้เก่งเพียงใดก็ตาม แต่ถ้าจะให้สามารถต่อยอดไปยังเพลงอื่น ๆ ที่มีความหลากหลายในประเภทดนตรีแขนงอื่นได้ การอ่านโน้ตเพลงถือเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้ทักษะการเล่นดนตรีเลย

แอปเรียนดนตรี ScoreSkills   แอปเรียนดนตรี ScoreSkills   แอปเรียนดนตรี ScoreSkills

ภายในแอปนี้ จะเริ่มตั้งแต่การสอนโน้ตขั้นพื้นฐาน โดยใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษแทนเสียง เช่น C = โด, D = เร, E = มี เป็นต้น และจะได้ลงมือวาดตัวโน้ตเองด้วย เหมาะสำหรับคนไม่ชอบการท่องจำ เพราะจะได้วาดตัวโน้ตเองเลยยังไงล่ะ ! อีกทั้งยังมีแบบฝึกหัดสนุก ๆ เช่น การจับคู่เสียงและตัวโน้ต การฟังทำนองแล้วทายว่าโน้ตอะไรที่เพิ่งถูกเล่นไป เป็นต้น

แอปเรียนดนตรี ScoreSkills   แอปเรียนดนตรี ScoreSkills   แอปเรียนดนตรี ScoreSkills

ดาวน์โหลดแอป ScoreSkills สำหรับ iOS ได้ที่ :

  • https://apps.apple.com/us/app/scoreskills-learn-music/id1439046224

เงื่อนไขการใช้งาน : 

  • สามารถใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ถ้าต้องการลบโฆษณาและเรียนในเลเวลสูงขึ้นกว่าที่มีให้ในระดับฟรี สามารถสมัครสมาชิกได้ในราคาเริ่มต้นที่ 303 บาท / เดือน

2. แอป Yousician

แอปเรียนดนตรี Yousician ถือเป็นแอปที่มีชื่อเสียงสั่งสมมาอย่างยาวนานพอสมควร ด้วยความที่เป็นแอปพรีเมียมที่มีเครื่องดนตรีให้ฝึกมากกว่า 1 ชนิดภายในแอป พ่วงด้วยการอัปเดตเพลงใหม่ ๆ เข้ามาตลอดเวลา เช่น Bad Guy – Billie Ellish หรือแม้แต่เพลงเก่าแต่เก๋าอย่าง This Love – Maroon 5, It Must Have Been Love – Roxette ก็มีให้เล่นกันด้วย

แอปเรียนดนตรี Yousician   แอปเรียนดนตรี Yousician

นอกจากการเรียนเครื่องดนตรีต่าง ๆ ที่มีให้ภายในแอป ทั้งกีต้าร์, เปียโน, อูคูเลเล่, และ กีต้าร์เบสแล้ว ยังมีคลาสสอนร้องเพลง หรือ Singing โดยเฉพาะอีกด้วย ! แถมใครที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองเหมาะกับเพลงที่มีระดับเสียงในเรนจ์ (Range) ไหน ภายในแอป ก็ช่วยให้เราสามารถค้นพบเรนจ์เสียงที่เหมาะสมกับการร้องเพลงได้ด้วยนะ

แอปเรียนดนตรี Yousician   แอปเรียนดนตรี Yousician
แอปเรียนดนตรี Yousician

ดาวน์โหลดแอป Yousician สำหรับ iOS ได้ที่ :

  • https://apps.apple.com/th/app/yousician-your-music-teacher/id959883039?l=th

ดาวน์โหลดแอป Yousician สำหรับ Android ได้ที่ :

  • https://play.google.com/store/apps/details?id=com.yousician.yousician

เงื่อนไขการใช้งาน : 

  • สามารถใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ถ้าต้องการเล่นเพลงอื่น ๆ ที่ถูกอัปเดตเข้ามาใหม่ ๆ หรือเป็นศิลปินที่เป็นที่รู้จักกันดี หรือความสามารถในการสลับไปเรียนเครื่องดนตรีประเภทอื่น ๆ ได้ตลอดเวลา สามารถสมัครสมาชิกพรีเมียมได้ในราคาเริ่มต้นที่ 159 บาท / สัปดาห์

3. แอป Real Drum

แอปเรียนดนตรี Real Drum เป็นแอปตีกลองที่เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนที่ชื่นชอบการตีกลอง เพราะภายในแอป ถึงแม้คุณจะตีกลองไม่เป็น ไม่ได้เรียนกลองมา หรือแค่กะจะมาจิ้ม ๆ กลองเล่นเฉย ๆ แอปนี้ก็รองรับได้หมดทุกรูปแบบ จะใส่หูฟังหรือไม่ใส่ก็สามารถเรียนได้ไม่มีปัญหา

แอปเรียนดนตรี Real Drum

และที่สำคัญ แอปนี้ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องดนตรีในการฝึก เพราะคุณสามารถจิ้มลงไปบนหน้าจอแทนการตีกลองจริงได้ (คล้าย ๆ GarageBand) ไฮไลท์ของแอปนี้คือ การที่เราสามารถเลือกหยิบเพลงที่มีในคลังเพลงของเรามาตีกลองประกอบได้เองเลยด้วย (จะเลือกได้เฉพาะเพลงที่มีในเครื่องแล้วเท่านั้นนะ) นอกจากนี้ ใครที่อยากอัดเสียงกลองเป็นทำนองของตัวเอง ก็สามารถอัดจากภายในแอปได้เลย ไม่ต้องสลับไปหาแอปอื่นอีก เรียกว่าครบจบที่นี่

แอปเรียนดนตรี Real Drum
แอปเรียนดนตรี Real Drum

ดาวน์โหลดแอป Real Drum สำหรับ iOS ได้ที่ :

  • https://apps.apple.com/th/app/real-drum-กลองช-ด/id550920929?l=th

ดาวน์โหลดแอป Real Drum สำหรับ Android ได้ที่ :

  • https://play.google.com/store/apps/details?id=br.com.rodrigokolb.realdrum&hl=th&gl=TH

เงื่อนไขการใช้งาน : 

  • สามารถใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ถ้าต้องการลบโฆษณาออก จะมีค่าบริการรายเดือนเริ่มต้นที่ 99 บาท / เดือน

4. แอป GuitarTuna

แอปเรียนดนตรี GuitarTuna นั้น เป็นที่รู้จักกันดีในฐานแอปจูนเนอร์ (Tuner) ของกีต้าร์และเบส แต่ด้วยความที่มันเป็นแอปในเครือของ Yousician ก็เลยทำให้มีความสามารถอื่น ๆ ที่น่าสนใจพ่วงมาด้วย เช่น การเป็นแอปจูนเสียงเครื่องสายอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากสองเครื่องที่กล่าวมาข้างต้น เช่น อุคุเลเล่, ไวโอลิน, วิโอล่า, แมนโดลิน, แบนโจ, ฯลฯ และการเป็นแอปดูคอร์ด ที่สามารถหยิบมาดูได้ว่า คอร์ดไหนจับด้วยนิ้วใด สายใดบ้าง

แอปเรียนดนตรี GuitarTuna   แอปเรียนดนตรี GuitarTuna   แอปเรียนดนตรี GuitarTuna

นอกเหนือจากการเป็นแอปจูนเสียงแล้ว ภายในแอป ยังช่วยให้เราสามารถเรียนรู้การเล่นกีต้าร์ได้ในตัว ด้วยการมีแบบฝึกหัดและแบบเรียนในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้คอร์ด, การฝึกฟังเสียงที่ออกมาจากคอร์ดนั้น ๆ , การฝึกเล่นเพลงไปตามคอร์ดที่เห็น เป็นต้น ทำให้คุณสามารถเรียนกีต้าร์ได้ไม่ว่าจะมีฝีมือหรือไม่ก็ตาม

แอปเรียนดนตรี GuitarTuna   แอปเรียนดนตรี GuitarTuna

ดาวน์โหลดแอป GuitarTuna สำหรับ iOS ได้ที่ :

  • https://apps.apple.com/th/app/guitartuna-guitar-bass-tuner/id527588389

ดาวน์โหลดแอป GuitarTuna สำหรับ Android ได้ที่ :

  • https://play.google.com/store/apps/details?id=com.ovelin.guitartuna&hl=th&gl=US

เงื่อนไขการใช้งาน : 

  • สามารถใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ถ้าหากต้องการปลดล็อกตัวจูนเนอร์ของทุกเครื่องเสียงที่มีให้ และปลดล็อกทุกแบบเรียนภายในแอป จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 399 บาท (จ่ายครั้งเดียวจบ)

5. แอป Sing Bot

แอปเรียนดนตรี Sing bot ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า Sing ดังนั้น แอปนี้จึงเป็นแอปฝึกร้องเพลงโดยเฉพาะ ภายในแอปจะมีอินเตอร์เฟซที่ค่อนข้างเรียบง่ายสบายตา ทำให้เราโฟกัสการเรียนไปยังจุดที่จำเป็นต้องโฟกัสได้ไม่ยาก เช่น การฝึกร้องให้ตรงโน้ต ซึ่งตอนเริ่มเปิดใช้งานแอปครั้งแรก จะมีให้เราเลือกเลยว่า จะฝึกด้วยคีย์เสียงของผู้หญิงหรือคีย์เสียงของผู้ชาย

แอปเรียนดนตรี Sing bot   แอปเรียนดนตรี Sing bot   แอปเรียนดนตรี Sing bot

การฝึกภายในแอปนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ให้ออกเสียงฝึกตามเท่านั้น แต่จะมีให้ฝึกตั้งแต่พื้นฐานของการร้องเพลงเลย นั่นก็คือ การหายใจ เพราะถ้าลมไม่มี เราก็จะร้องเพลงได้ไม่เต็มเสียง และทำให้เกิดปัญหาเวลาที่เจอท่อนเพลงยาว ๆ ไปจนถึงการฝึกแบบแอดวานซ์เช่น การฝึก Falsetto หรือการร้องเสียงหลบนั่นเอง

แอปเรียนดนตรี Sing bot   แอปเรียนดนตรี Sing bot   แอปเรียนดนตรี Sing bot

ดาวน์โหลดแอป Sing bot สำหรับ iOS ได้ที่ :

  • https://apps.apple.com/th/app/sing-bot-learn-to-sing/id1295721027

เงื่อนไขการใช้งาน : 

  • สามารถใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย แต่หากต้องการปลดล็อกบทเรียนทั้งหมด จะมีค่าใช้จ่ายรายเดือนเริ่มต้นที่ 369 บาท / เดือน


อยู่คนเดียวอย่างไร…ให้มีความสุข?


อยู่คนเดียวอย่างไร…ให้มีความสุข?
.
.
► สามารถติดตามฌองได้ที่..
• 📷 INSTAGRAM ‣ https://www.instagram.com/chong.napat/?hl=th
• 🔵 FACEBOOK ‣ https://www.facebook.com/chongcharisofficial
• 🔴 YOUTUBE ‣ http://www.youtube.com/c/ChongCharis

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

อยู่คนเดียวอย่างไร...ให้มีความสุข?

{Truck Show @Truck bar Ekkamai } ถึงเวลาต้องเรียนรู้ cover by Benz-Ji


{Show Truck @Truck bar Ekkamai } ถึงเวลาต้องเรียนรู้ cover by BenzJi
Show case @Truck bar Ekkamai ซอย10

{Truck Show @Truck bar Ekkamai } ถึงเวลาต้องเรียนรู้ cover by  Benz-Ji

ผิดเรื่องเดียว – ปนัดดา เรืองวุฒิ【OFFICIAL MV】


ผิดเรื่องเดียว ปนัดดา เรืองวุฒิ อัลบั้ม panadda ผู้หญิงสีเทา ความเหงา กับความรัก ดาวน์โหลดเพลง ผิดเรื่องเดียว ได้ผ่าน 123 10293563\r
\r
http://music.gmember.com/%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B4/Song1105377701

ผิดเรื่องเดียว - ปนัดดา เรืองวุฒิ【OFFICIAL MV】

เวลาคือ(คำตอบ) – Sea Two【OFFICIAL MV】


ติดต่องานแสดง ได้ที่ 0892902833 คุณพีท

สามารถติดตามศิลปินได้่ที่
แฟนเพจ Color room https://www.facebook.com/Amarit.Studio/?ref=aymt_homepage_panel

เพลง : เวลาคือ(คำตอบ)
ศิลปิน : Sea Two
คำร้อง/ทำนอง: ปิ๊ก ขจรจารุกุล
เรียบเรียง: Steve Thai
Intro:
อยากจะถามให้มันแน่ใจก่อน ก่อนที่เราสองจะเดินไปไกลมากกว่านี้
วันและคืนเวลาทุกนาที นับตั้งแต่นี้คือเราทั้งสองคน
อย่าเอ่ยคำสัญญา ไม่ต้องมีวจีใด จะอยู่ได้ไหมให้เวลาเป็นคำตอบ
ฉันมีคำถามข้อนึง ไม่ว่าวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร
อะไรจะเกิด ฉันกลัวเหลือเกิน
ตลอดชีวิตมันนานนะ เธอจะทนกับฉันได้นานหรือป่าว
หากวันนึงบังเอิญมีเรื่องราว ที่ทำให้เธอเสียใจ
จะอยู่อีกนานมั้ย หากว่าใครคนนึงไม่ได้เป็น
เหมือนที่เธอฝันเอาไว้ จะอยู่กันไปตลอดชีวิตหรือป่าว
Solo
(/)
Outro

จะอยู่กันไปตลอดชีวิตหรือป่าว
ฝากติดตาม เพลง ทุกเพลง สังกัด Color room ด้วยนะครับ
ดาวน์โหลดเพลง \”เวลา(คือคำตอบ) \” โทร 49227233 ได้ทั้งริงโทน เต็มเพลง และเสียงรอสาย
🎧 รับฟังได้แล้วทาง Music Streaming
Youtube Music : https://music.youtube.com/watch?v=UtkWrBcjECQ
Spotify : https://open.spotify.com/track/5SXu0F6ydltnG46EfighIs?si=_X2oYWz4S8SMHTM4nPR7Lw
JOOX : https://open.joox.com/s/rd?k=16Wj
Apple Music : https://music.apple.com/th/album/1535416701
TrueID Music : coming soon
Tidal Music : https://tidal.com/browse/track/158162509
เวลาคือ(คำตอบ) SeaTwo ColorRoom

เวลาคือ(คำตอบ) - Sea Two【OFFICIAL MV】

รู้จักและฝึกฝน “ศิลปะแห่งการอยู่คนเดียว” | Mission To The Moon EP.1267


แม้จะไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย
แต่หลายคนก็ไม่ชอบการอยู่คนเดียวเอามากๆ
สาเหตุอาจเป็นเพราะ ‘ความเหงา’ ที่มักมาคู่กัน
เพราะความเหงาทำให้เรารู้สึกแย่
อย่างไรก็ตาม การ ‘อยู่คนเดียว’ กับ ‘เหงา’ ไม่เหมือนกัน
EP.นี้ เราจะชวนคุณมาเข้าใจนิยามของการอยู่คนเดียวใหม่
มาเรียนรู้กันว่าการอยู่คนเดียวก็มีข้อดีมากมาย
และเป็นศิลปะที่สามารถกฝึกฝนให้เชี่ยวชาญได้
ลองมาเปิดใจให้การอยู่คนเดียวกันดีกว่า
missiontothemoon
missiontothemoonpodcast
softskill

ติดตาม Mission To The Moon Media ได้ที่
Website: https://bit.ly/3oHFe99h
Facebook: https://bit.ly/32Oe4nW
Twitter: https://bit.ly/2TyBOH6
Blockdit: https://bit.ly/3jI0pEk
YouTube: https://bit.ly/2TyTXVg
TikTok: https://bit.ly/35Gq8aX
SoundCloud: https://bit.ly/3e4Tzax
Podbean: https://bit.ly/3oCqU1g
Spotify: https://spoti.fi/37MNajh
Apple Podcast: https://apple.co/3oK1JKy
Instragram: https://bit.ly/2OMR30a
Clubhouse: @mttmclub

รู้จักและฝึกฝน “ศิลปะแห่งการอยู่คนเดียว” | Mission To The Moon EP.1267

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ เพลง เรียน รู้ การ อยู่ คน เดียว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *