Skip to content
Home » [NEW] รวมวิธีพูดภาษาอังกฤษแบบมืออาชีพในสถานการณ์ต่าง ๆ สำหรับคนทำงาน ตอนที่ 2 | คนที่พูดได้หลายภาษา – NATAVIGUIDES

[NEW] รวมวิธีพูดภาษาอังกฤษแบบมืออาชีพในสถานการณ์ต่าง ๆ สำหรับคนทำงาน ตอนที่ 2 | คนที่พูดได้หลายภาษา – NATAVIGUIDES

คนที่พูดได้หลายภาษา: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

เราเคยแนะนำวิธีการพูดภาษาอังกฤษแบบมืออาชีพในสถานการณ์ต่าง ๆ ไปบ้างแล้วในบทความตอนที่ 1 แต่อย่างที่เรารู้กันดีว่าในโลกของการทำงานนั้นยังมีสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เราต้องเผชิญอีกมากมาย วันนี้ JobThai เลยมีวิธีการพูดภาษาอังกฤษในอีกหลาย ๆ สถานการณ์ที่คนทำงานอย่างเราต้องเจอมาฝาก

 

ดาวน์โหลด JADOH Learning Application ได้ที่นี่

iOS

Android

 

เคยไหมที่เรากำลังรองานบางอย่างจากเจ้านาย แต่เขาก็ยังไม่ทำงานนั้นให้เราสักที? ถ้าเจอสถานการณ์แบบนี้ เราสามารถบอกเจ้านายให้เขาทำงานแบบสุภาพ ๆ ได้ด้วยการใช้ประโยคที่แสดงออกว่าเรารู้ว่าเจ้านายก็มีงานยุ่งมาก และคงจะไม่มีเวลามากนัก เช่น “Have you had a chance to review…?” หรือ “Have you had the opportunity to look at…?” ซึ่งแปลว่า “ได้มีโอกาสดู…รึยังคะ?”

 

หลายครั้งที่เราต้องพูดคุยกันเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ อย่างเช่นเรื่องงบประมาณในการทำงานหรือโปรเจกต์ต่าง ๆ ซึ่งขั้นตอนที่จะทำให้รู้สึกลำบากใจที่สุดก็คงหนีไม่พ้นตอนที่เราต้องการถามว่าเขาจะจ่ายเงินให้เราเท่าไหร่ จะให้ถามโต้ง ๆ ออกไปว่า “How much do you want to pay?” “คุณอยากจะจ่ายเท่าไหร่” ก็ดูจะตรงเกินไป ซึ่งถ้าเราอยากจะถามให้ฟังดูสุภาพมากขึ้น ก็สามารถพูดได้ 2 แบบ คือ

1. “Do you have a ballpark budget?”

2. “What is your price point for something like this?”

 

โดยทั้งสองประโยคเราสามารถใช้ได้ในกรณีที่ต้องการถามลูกค้าถึงจำนวนเงินที่เขาต้องการจ่ายให้เราแบบสุภาพ ๆ ว่าเขามีงบประมาณเท่าไหร่สำหรับงานที่กำลังพูดคุยกันอยู่

 

หลาย ๆ ครั้งที่คนทำงานอย่างเราต้องทำงานที่มีกระบวนการต่าง ๆ มากมายและต้องมีคนหลายคนเข้ามามีส่วนร่วมในงานด้วย ไม่ว่าจะเป็นเพื่อร่วมงาน เจ้านาย หรือแม้แต่ลูกค้า แต่ปัญหาที่คนจำนวนไม่น้อยเจอกันก็คือ คนเหล่านั้นยังไม่ทำงานในส่วนที่พวกเขาต้องรับผิดชอบให้เสร็จสักที ซึ่งถ้าเราอยากจะตามงานขึ้นมา ก็มี 3 วิธีที่เราสามารถใช้ได้โดยไม่ฟังดูหยาบคายเกินไป

 

1. เตือนเขาอย่างสุภาพผ่านข้อความหรืออีเมล

ในกรณีนี้เราจะใช้วลีว่า “A gentle reminder…” “ขออนุญาตแจ้งเตือน…” ซึ่งจริง ๆ แล้วเราอาจจะกำลังสื่อให้เขารับรู้ว่า ‘อย่าลืมเรื่องนี้นะ’ เช่น “A gentle reminder on the 18 puppies we need for our shoot next week!” “ขออนุญาตเตือนค่ะ อย่าลืมเรื่องลูกสุนัข 18 ตัวที่เราจะใช้สำหรับการถ่ายทำสัปดาห์หน้านะคะ”

 

2. ถามถึงแผนการดำเนินงาน

ใช้ประโยคคำถามถามถึงแผนการดำเนินงานและระยะเวลาที่งานจะเสร็จ แบบไม่กดดันเขาเกินไป โดยถามว่า “What’s your timeline on…?” “แผนการดำเนินงานมีอะไรบ้าง?” เช่น “What’s your timeline on getting in touch with our pancake supplier?” “แผนการดำเนินงานเพื่อติดต่อผู้จัดหาแพนเค้กมีอะไรบ้าง?” การถามแบบนี้ เมื่อผู้ตอบตอบแผนงานของเขามา เราก็เห็นถึงระยะเวลาที่คาดว่างานจะเสร็จได้

 

3. ถามว่าเขาต้องการความช่วยเหลืออะไรไหม

แทนที่จะถามว่างานไปถึงไหนแล้ว เราอาจจะถามเขาว่ามีอะไรให้เราช่วยเกี่ยวกับงานนี้ไหมแทน โดยใช้ประโยคว่า “Would you like any help on…?” “คุณต้องการความช่วยเหลือตรงไหนไหม?” เช่น “Would you like any help on that travel article?” “มีอะไรให้ช่วยเกี่ยวกับบทความท่องเที่ยวไหม?”

 

 

หลายคนมักจะติดใช้คำว่า Um, Uh, Just หรือ Really เพียงแค่เพราะว่าอยากจะถ่วงเวลาให้มีเวลาคิดนานขึ้นก่อนจะพูดอะไรออกมา ซึ่งการใช้คำพวกนี้โดยไม่ได้มีความหมายอะไรเป็นพิเศษมันทำให้ดูเหมือนเราขาดความมั่นใจ ดังนั้นถ้าอยากมีเวลาคิดเพิ่มขึ้น ลองเปลี่ยนมาใช้ 3 วิธีนี้แทน

 

1. ชมว่าเป็นคำถามที่ดีมาก

หลังจากฟังคำถามจบ ให้พูดออกไปก่อนว่า “That’s a great question.” “คำถามนี้ดีมากเลยค่ะ” เพื่อให้เรามีเวลาคิดสักแป๊บนึง แล้วค่อยตอบคำถาม ซึ่งนี่อาจจะเป็นโอกาสให้เราชมคนที่ถามคำถามได้ด้วย

 

2. ทวนคำถามที่เขาถาม

ใช้วิธีการทวนคำถามที่เขาถามมาอีกครั้ง ด้วยการพูดว่า “So what you’re asking is…” “สิ่งที่คุณกำลังถามคือ…” นอกจากจะถ่วงเวลาได้แล้ว ยังเป็นการทวนให้มั่นใจอีกครั้งด้วยว่าเราฟังคำถามถูกและเข้าใจในสิ่งที่เขาต้องการถามจริง ๆ

 

3. ตั้งสติและหยุดคิด

ไม่ต้องพูดอะไร แต่ให้หายใจเข้าลึก ๆ พยักหน้า หยุดสักนิด เพื่อตั้งสติและคิดสิ่งที่เราอยากจะพูด แล้วค่อยพูดออกมา

 

การจะตอบคำถามให้ออกมาดีนั้นเราควรจะมีการวางโครงสร้างการตอบคำถามด้วย เพื่อเรียงลำดับเหตุการณ์หรือความสำคัญของสิ่งที่เราต้องการจะสื่อ ซึ่งเราอาจจะใช้วิธีเรียบเรียงคำตอบแบ่งให้ใจความที่ต้องการจะสื่อสารออกมาเป็น 3 ส่วน โดยใช้คำเชื่อมที่ทำให้ฟังดู Professional มากขึ้น โดยเริ่มต้นด้วยคำว่า “Firstly” ที่แปลว่า “อย่างแรก” เพื่อเป็นการเริ่มต้นบทสนทนา จากนั้นเราค่อยอธิบายเพิ่มเติมโดยใช้คำว่า “Secondly” “อย่างที่สอง” มาเชื่อมเนื้อหาที่เราจะพูด และก่อนที่เราจะจบสิ่งที่ต้องการพูด ก็อาจใช้คำว่า “Above all” “เหนือสิ่งอื่นใด” เป็นขั้นสุดท้าย

เมื่อเราถูกถามคำถามที่ไม่ใช่แค่อธิบายคำตอบเท่านั้น แต่ต้องมีการยกตัวอย่างเหตุการณ์หรือสถานการณ์ประกอบด้วย แทนที่เราจะพูดตัวอย่างเหล่านั้นเลย เราควรจะเริ่มต้นด้วยประโยคว่า “A great example that comes to mind is…” “ตัวอย่างที่นึกออกคือ…” เพื่อไม่ให้คำตอบหรือตัวอย่างที่เรายกมานั้นฟังดูห้วนเกินไป เช่น ถ้าเรากำลังสัมภาษณ์งานอยู่ และถูกถามถึงประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาเราก็สามารถใช้ประโยคดังกล่าว ก่อนจะอธิบายงานที่เราเคยทำ ด้วยการพูดว่า “A great example that comes to mind is when I worked in jewellery company as a marketing officer.”

 

ในการขอความช่วยเหลือจากคนอื่น เราสามารถพูดให้น่าฟังและสุภาพมากขึ้นได้ ด้วยการใช้คำว่า Would และ Could ซึ่งสามารถใช้ขึ้นต้นประโยคต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ตัวอย่างเช่น

1. “Would you be able to print out the last meeting report?” “รบกวนช่วยปริ้นต์รายงานการประชุมครั้งก่อนให้หน่อยได้ไหมคะ?”

2. “Could you possibly help me with the new program?” “รบกวนช่วยดูโปรแกรมใหม่หน่อยได้ไหมคะ?”

 

ถ้าเราเห็นว่าเพื่อนร่วมงานกำลังยุ่งกับการทำงาน หรือกำลังดูเหมือนมีปัญหาอะไรบางอย่างที่เราน่าจะเข้าไปช่วยได้ เราสามารถพูดเพื่อเสนอตัวให้ความช่วยเหลือเขาได้ง่าย ๆ ด้วย 3 ประโยค ดังนี้

1. “Is there anything I can help?” “มีอะไรที่ฉันพอจะช่วยได้ไหม?”

2. “Can I give you a hand?” “ให้ฉันช่วยอะไรไหม?”

3. ถ้าถามแล้วแต่เขาตอบว่ายังไม่มีอะไรให้ช่วย เราก็ยังสามารถพูดได้อีกว่า “Give me a shout if you need anything.” “ถ้าเธอต้องการอะไรก็บอกฉันได้เลยนะ” เพื่อให้เขารู้ว่าเรายังคงพร้อมจะช่วยเขาอยู่

 

หลายครั้งที่เกิดปัญหาในการทำงานเนื่องจากการสื่อสารที่ผิดพลาด และไม่มีการคอนเฟิร์มข้อมูลต่าง ๆ ให้ชัดเจน และให้แน่ใจว่าทุกฝ่ายเข้าใจและได้รับข้อมูลที่ตรงกัน ซึ่งการพูดเพื่อคอนเฟิร์มนั้น มี 2 ประโยคที่สามารถนำไปใช้ได้ คือ

1. “I just want to make sure that…”

2. “I just want to be absolutely clear that…”

 

โดยทั้ง 2 ประโยคนี้มีความหมายว่า “ฉันต้องการคอนเฟิร์มว่า…” ซึ่งหลังจากพูดแล้วเราสามารถพูดรายละเอียดเรื่องที่เราต้องการคอนเฟิร์มต่อได้เลย

 

คนทำงานแทบทุกคนต้องเคยผ่านการนำเสนอมาแล้วทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นงานหรือโปรเจกต์ต่าง ๆ และการเริ่มต้นการนำเสนอที่ดีจะช่วยดึงดูดความสนใจจากคนที่กำลังฟังเราได้ โดยเฉพาะการบอกให้คนฟังรู้ตั้งแต่เริ่มว่าในการนำเสนอครั้งนี้ เรากำลังจะพูดถึงเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งเราสามารถพูดตามสเต็ปได้ดังนี้

1. แนะนำตัวเองและพูดถึงหัวข้อที่เราจะนำเสนอด้วยประโยคที่ว่า “Today, I’m going to present…”

2. จากนั้นให้บอกผู้ฟังถึงประเด็นคร่าว ๆ ที่เราจะพูด ว่าเราจะเริ่มที่เรื่องอะไร ด้วยประโยค “I’ll start by…” และจะต่อด้วยเรื่องอะไร ด้วยประโยค “And then I’m going to move on to explain…”

3. อย่าลืมจบประเด็นสุดท้ายที่เราจะนำเสนอด้วยคำว่า “Finally”

 

ตัวอย่าง

Hello, my name is Lita from Cargo Express. I am very happy to be here. Today, I’m going to present our brand new tracking system. I’ll start by telling you a bit about Cargo Express and some services we provide at our company. And then I’m going to move on to explain how this new tracking system works. Finally, you will have a chance to try this system and ask questions.

 

เป็นยังไงบ้างกับการพูดภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เราเอามาฝากกัน แต่นอกจากทั้งหมดในบทความนี้แล้ว เรายังมีภาษาอังกฤษสำหรับคนทำงานอีกหลายบทความรอคุณอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการพูดตามสถานการณ์ต่าง ๆ หรือการใช้คำศัพท์ที่จะทำให้ดู Professional มากขึ้น คลิกที่บทความที่สนใจได้เลย

 

 

หางาน สมัครงานง่าย ๆ ด้วย JobThai Mobile Application

iOS

Android

Huawei AppGallery

 

 

JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน

Public group · 200,000 members

Join Group

 

[NEW] พูดได้มากกว่า 1 ภาษา ทำให้สมองเฉียบคมขึ้นจริงไหม ? | คนที่พูดได้หลายภาษา – NATAVIGUIDES

ปัจจุบันในประเทศไทยมีโรงเรียนสอนภาษาและโรงเรียนสองภาษาเพิ่มขึ้นมากมาย การเรียนรู้ภาษาที่สอง (bilingualism) ทำให้เราสามารถสื่อสารกับผู้คนต่างชาติ เปิดโอกาสสู่มิตรภาพ ความรัก ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และเปิดโลกทัศน์ต่อความคิดและวัฒนธรรมหลากหลาย

แต่นอกจากประโยชน์เหล่านี้ การพูดได้ 2 ภาษาส่งผลดีต่อการทำงานของสมองด้วยหรือไม่?

ในหลายปีที่ผ่านมาสื่อในสหรัฐอเมริกาเผยแพร่ว่าการเรียนรู้ภาษาที่สองเป็นเหมือนการลับสมองให้เฉียบคมมากขึ้น โดยอ้างอิงงานวิจัยจากนักจิตวิทยาที่ศึกษากระบวนการรู้คิดของคน

ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพค่ะ

ฝนสามารถพูดภาษาไทยและภาษาจีน ส่วนใหญ่เธอพูดภาษาไทยกับครอบครัวและเพื่อนฝูง แต่เธอใช้ภาษาจีนสื่อสารกับอาม่าอากงซึ่งพูดภาษาไทยไม่ได้ ฝนต้องเรียนรู้คำศัพท์และหลักไวยากรณ์ที่แตกต่างของ 2 ภาษานี้ และต้องเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสมกับคนที่คุยด้วย โดยยับยั้งไม่นำอีกภาษาหนึ่งมาใช้

ความสามารถในการสลับระหว่างสองภาษานี้จึงอาจส่งผลประโยชน์ต่อกระบวนการทำงานของสมองของฝน เรียกว่า Bilingual Advantage Hypothesis สมมุติฐานนี้กล่าวว่า คนที่เรียนรู้ภาษาที่สองเหมือนได้รับการฝึกสมองเพิ่มเติมที่จะช่วยส่งเสริมระบบความจำ การจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่าง ๆ (prioritizing) และการสลับทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน (task switching) คล้ายกับการเล่นเกมไขปริศนาในโทรศัพท์มือถือที่อ้างว่าช่วยพัฒนาความจำหรือทักษะอื่น ๆ

ทั้งหมดนี้เป็นความจริงหรือเป็นเพียงการล่อลวงทางการตลาด?

มีงานวิจัยส่วนหนึ่งที่สนับสนุนว่าการเรียนรู้ภาษาที่สองมีประโยชน์ต่าง ๆ ดังกล่าว แต่บางงานวิจัยก็ไม่พบหลักฐานยืนยันความเชื่อนี้ ดังนั้น เรามาดู 2 ประเด็นของ Bilingual Advantage กันค่ะ ว่าจริงหรือไม่จริงแค่ไหน

  1. การพูดได้ 2 ภาษา ส่งเสริมระบบความคิดด้านอื่นด้วย นอกจากพัฒนาการด้านภาษา

ข้อนี้มีหลักฐานสนับสนุนค่ะ มีงานวิจัยหนึ่งวัดการทำงานของสมองของเด็กวัยรุ่นระหว่างรับการทดลองที่ต้องใช้ทักษะการยับยั้งและสลับเปลี่ยน พบว่าเด็กที่พูดได้สองภาษาสามารถทำงานนั้นอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเด็กที่พูดได้ภาษาเดียว และมีงานวิจัยอีกงานที่พบว่า เด็กวัยประถมที่พูดได้สองภาษาสามารถทำคะแนนได้มากกว่าเด็กที่พูดได้ภาษาเดียวในการทดลองที่วัดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งต้องใช้ทักษะการคิดค้นคำตอบที่แปลกใหม่และหลากหลายเพื่อตอบโจทย์ เช่น ให้เด็กลองนึกว่าสิ่งของชิ้นนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ อย่างไรบ้าง

ผลทดลองชี้ว่าเด็กที่พูดได้สองภาษาอาจมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าเพราะพวกเขามีคลังคำศัพท์สองชุดที่แตกต่าง และต้องเลือกใช้คำศัพท์ที่เหมาะสมในการสื่อสาร อย่างไรก็ดี ประโยชน์ในความคิดสร้างสรรค์นี้อาจจำกัดแค่ความคิดสร้างสรรค์ทางภาษาเท่านั้น เพราะเด็กที่พูดได้ภาษาเดียวสามารถทำคะแนนได้ดีเท่ากับเด็กที่พูดได้สองภาษาในการทดลองที่วัดความคิดสร้างสรรค์ด้านอื่นที่ไม่ใช้ภาษา เช่น การวาดรูปหรือต่อเติมรูปภาพ

  1. การพูดได้ 2 ภาษา ช่วยต่อต้านโรคอัลไซเมอร์ในวัยชรา

ข้อนี้ก็มีงานวิจัยสนับสนุนเช่นกันค่ะ ผู้สูงวัยที่พูดได้สองภาษามีอาการสูญเสียความทรงจำช้ากว่าผู้ที่พูดได้ภาษาเดียวประมาณ 4-5 ปี น่าทึ่งมากค่ะ เพราะปัจจุบันยังไม่มียาชนิดไหนที่มีผลแบบนี้ต่อโรคอัลไซเมอร์ การพูดได้ 2 ภาษาอาจปกป้องสมองต่อการเสื่อมเร็วด้วยการฝึกฝนที่สมองได้รับจากการถูกใช้ในการควบคุมสองภาษา (โดยมีปัจจัยเกี่ยวข้องกับระดับการศึกษาและการดูแลสุขภาพของคนนั้น ๆ ด้วย)  แต่การเรียนรู้ภาษาที่สองไม่ได้ป้องกันโรคอัลไซเมอร์โดยสิ้นเชิงนะคะ เพียงแต่อาจช่วยเลื่อนอาการความจำเสื่อมให้เกิดขึ้นช้ากว่าผู้อื่นที่มีความเสี่ยงในระดับเดียวกัน

ถึงแม้จะมีงานวิจัยสนับสนุน Bilingual Advantage แต่เราไม่ควรด่วนสรุปว่าการพูดสองภาษาจะมีประโยชน์ดังกล่าวต่อสมองอย่างแน่ชัดค่ะ เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องคำนึงถึง เช่น สภาพแวดล้อมและวิธีการใช้ภาษาที่สอง เป็นต้น

ขอยกตัวอย่างสองกรณีให้เห็นภาพค่ะ

มิ้นท์เรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนสองภาษาในกรุงเทพฯ แต่เธอพูดภาษาไทยกับเพื่อนและครอบครัวที่บ้าน ในขณะที่ลินดาก็เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง แต่เธอเรียนที่ฟิลิปปินส์ คนฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่สามารถพูดทั้งภาษาฟิลิปปินส์และภาษาอังกฤษได้คล่อง ในชีวิตประจำวันลินดาอาจใช้ทั้งสองภาษานี้สลับกันในประโยคเดียวกันด้วย (code switching) ลินดาจึงอาจได้รับประโยชน์ต่อสมองจากการพูดภาษาที่สองมากกว่า เพราะเธอได้ฝึกฝนการสลับเปลี่ยนระหว่างสองภาษามากกว่ามิ้นท์

สรุปแล้วการพูดได้ 2 ภาษาทำให้สมองเฉียบคมขึ้นจริงหรือไม่? งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าการเรียนภาษาที่สองมีผลต่อพัฒนาการของสมองและการทำงานของกระบวนการรู้คิด แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนที่พูดสองภาษาจะได้รับผลในแบบเดียวกันค่ะ การเรียนรู้สองภาษาส่งผลต่อบุคคลในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน ถึงแม้ผลสรุปเรื่อง Bilingual Advantage ยังไม่แน่ชัด แต่การเรียนรู้ภาษาที่สองย่อมมีประโยชน์อยู่แล้วค่ะ ทำให้เราสามารถสื่อสารรู้เรื่องกับผู้คนต่างประเทศที่ไม่ได้พูดภาษาเดียวกับเรา ได้เพื่อน ได้ความรู้เพิ่มขึ้น ได้ใช้ในการงาน ยังไงก็คุ้มค่าค่ะที่จะลงทุนและใช้เวลาในการเรียนรู้ภาษาเพิ่มเติม

รายการอ้างอิง

Abutalebi, J., Della Rosa, P. A., Green, D. W., Hernandez, M., Scifo, P., Keim, R., … & Costa, A. (2011). Bilingualism tunes the anterior cingulate cortex for conflict monitoring. Cerebral Cortex, 22(9), 2076-2086.

Bialystok, E., Craik, F. I., & Freedman, M. (2007). Bilingualism as a protection against the onset of symptoms of dementia. Neuropsychologia, 45(2), 459-464.

Bialystok, E., Craik, F. I., & Luk, G. (2012). Bilingualism: consequences for mind and brain. Trends in Cognitive Sciences, 16(4), 240-250.

Linck, J. A., Kroll, J. F., & Sunderman, G. (2009). Losing access to the native language while immersed in a second language: Evidence for the role of inhibition in second-language learning. Psychological Science, 20(12), 1507-1515.

Okoh, N. (1980). Bilingualism and divergent thinking among Nigerian and Welsh school children. The Journal of Social Psychology, 110(2), 163-170.

ภาพจาก https://www.psychologicalscience.org

……………………………………………………………………

บทความวิชาการ

โดย อาจารย์สุภสิรี จันทวรินทร์

อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

……………………………………………………………………..


10 อันดับ ดารา ที่มีทักษะด้านภาษาโดดเด่น พูดได้มากกว่า 3 ภาษา


10 อันดับ ดารา ที่มีทักษะด้านภาษาโดดเด่น พูดได้มากกว่า 3 ภาษา
ดีเจแอ็คกี้ ลาลิน
ซอ จียอน
นิชคุณ
เจมส์ มา
ศรีริต้า
พรีม รณิดา
ใหม่ ดาวิกา
มิ้นท์ นวินดา
ญาญ่า อุรัสยา
โบ ธัญญะสุภางค์

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

10 อันดับ ดารา ที่มีทักษะด้านภาษาโดดเด่น พูดได้มากกว่า 3 ภาษา

เด็กขายของที่ระลึกชาวกัมพูชา พูดอ้อนขายของ 10 ภาษา


นักท่องเที่ยวถ่ายคลิปเด็กชายชาวกัมพูชา พูดขายของที่ระลึกได้ 10 ภาษา เผยนักท่องเที่ยวสอน

เด็กขายของที่ระลึกชาวกัมพูชา พูดอ้อนขายของ 10 ภาษา

เคล็ดลับเรียนภาษาแบบ \”เด็กน้อยร้อยภาษา\” – ย่อโลก


เรียนอย่างไรให้เก่งแบบเด็กน้อยร้อยภาษา
ชีวิตใหม่ของเด็กชายตุช สาลิก หรือที่รู้จักว่าเขาคือ “เด็กน้อยร้อยภาษา” ที่ใช้ความสามารถกว่า 10 ภาษาขายของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวกัมพูชาจนมีคลิปโด่งดังจนได้รับทุนไปเรียนต่อที่ประเทศจีน ถือได้ว่าเป็นอีกตัวอย่างที่ “ภาษา” ช่วยเปลี่ยนชีวิต ในวันนี้ \”ย่อโลก\” จึงขอเล่าเรื่องราวของเด็กน้อยร้อยภาษา รวมทั้งเคล็ดลับการเรียนภาษาของเด็กน้อยคนนี้อย่างละเอียด พร้อมกับแบ่งปันประสบการณ์การเรียนภาษาที่เชื่อได้ว่า แม้ไม่ได้อยู่เมืองนอกหรือไม่ค่อยได้ใช้ภาษาต่างชาติ แต่ก็น่าจะมีส่วนช่วยพัฒนาทักษะภาษาได้มาก
ย้อนดูคลิปเด็กน้อยร้อยภาษาแบบเต็มๆ ที่ https://youtu.be/PsYByUC12w
LIKE 👍 ย่อโลก ที่ FACEBOOK: fb.me/YorlokTH
ย่อโลก

เคล็ดลับเรียนภาษาแบบ \

VLOG นี้ฟ้าพูดทั้งหมด7ภาษา!!! | #VLOG5


vlog นี้ฟ้าพูดทั้งหมด7ภาษา!!! | PxP VLOG5
จะไทย จีน อังกฤษ เกาหลี ญี่ปุ่น สเปน ฝรั่งเศส ไม่ใช่เรื่องยาก ใครๆก็พูดได้5555555
Follow us on Instagram: https://www.instagram.com/p.awipawi
Follow us on Facebook https://www.facebook.com/PxPchannel

VLOG นี้ฟ้าพูดทั้งหมด7ภาษา!!!   |  #VLOG5

เรื่องเล่าเช้านี้ ตัวจริงเสียงจริง! น้องเจน นักพากย์สารพัดเสียง ในเรื่องเล่าเช้านี้


เรื่องเล่าเช้านี้ 1 กรกฎาคม 2557 Morning News โดย สรยุทธ น้องไบร์ท พิชญทัฬห์ เอกราช ติดตามความเคลื่อนไหวข่าวได้ก่อนใครได้ที่นี่ เรื่องเล่าเช้านี้.com : http://morningnews.bectero.com
ตัวจริงเสียงจริง! น้องเจน นักพากย์สารพัดเสียง มานั่งจ้อในเรื่องเล่าเช้านี้ พร้อมเผยเคล็ดลับชอบดูซีรีย์และฝึกเลียนเสียงมาตั้งแต่เด็กๆ

Morning News (July 1st 2014) by Sorayuth, Bright, and Aekkarach
Giving you the latest news before anyone else here at
http://morningnews.bectero.com
Meet the real person behind the many voices! Jane joins us today to talk about her amazing talent!

เรื่องเล่าเช้านี้ ตัวจริงเสียงจริง! น้องเจน นักพากย์สารพัดเสียง ในเรื่องเล่าเช้านี้

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ คนที่พูดได้หลายภาษา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *