Skip to content
Home » [NEW] นั่งรถบัส + ขับรถ เที่ยวเอง 6 เมืองรอบเกาะ “IRELAND” สัมผัสวิถีแบบไอริชและใกล้ชิดธรรมชาติริมชายฝั่ง | เมืองหลวงไอร์แลนด์ – NATAVIGUIDES

[NEW] นั่งรถบัส + ขับรถ เที่ยวเอง 6 เมืองรอบเกาะ “IRELAND” สัมผัสวิถีแบบไอริชและใกล้ชิดธรรมชาติริมชายฝั่ง | เมืองหลวงไอร์แลนด์ – NATAVIGUIDES

เมืองหลวงไอร์แลนด์: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีชื่อ
“ไอร์แลนด์” อยู่ในลิสต์เที่ยวเลย

ไอร์แลนด์คือประเทศที่ 52 ในยุโรปที่เรามาเที่ยวเอง (นับรวมดินแดนกึ่งอิสระด้วย)
เหตุผลที่ประเทศนี้อยู่ในลิสต์เที่ยวอันดับท้ายๆ ของเราก็เพราะเรื่องวีซ่าครับ คนที่จะมาเที่ยวไอร์แลนด์จะต้องขอวีซ่า Ireland ซึ่งค่อนข้างยากและใช้เวลานานหลายสัปดาห์ ไม่สามารถใช้วีซ่าเชงเก้นเข้าได้ แต่! ใช้วีซ่าท่องเที่ยว United Kingdom หรือวีซ่าอังกฤษนี่แหละเข้าได้ โดยมีเงื่อนไขง่ายๆ ว่าจะต้องผ่านตม. ของอังกฤษ เวลส์ สก็อตแลนด์ หรือไอร์แลนด์เหนือ ก่อนเดินทางเข้าไอร์แลนด์ แค่นี้เองครับ

อัพเดทข้อมูลได้ที่ www.inis.gov.ie/irish short stay visa waiver programme และ www.inis.gov.ie/visa waiver programme oct 2016.pdf

เมื่อรู้แบบนี้แล้วเราจึงไม่พลาดที่จะมาเยือนไอร์แลนด์สักที โดยจัดทริปเที่ยวอังกฤษ สก็อตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือก่อน แล้วค่อยเดินทางเข้าไอร์แลนด์ทางบกตามแผนที่ของทริปนี้

อ่านรีวิว อังกฤษ สก็อตแลนด์ ไอร์แลนด์เหนือ ได้ตาม link ข้างล่างนี้
เที่ยวเองไกด์ England, UK ตอนที่ 1 “London” 20 ชั่วโมงเที่ยวเมืองหลวงแดนผู้ดีอังกฤษ
เที่ยวเองไกด์ England, UK ตอนที่ 2 “Bibury – Castle Combe” ไม่เช่ารถขับก็เที่ยวหมู่บ้านสุดน่ารักใน Cotswolds ได้
เที่ยวเองไกด์ Scotland, UK ตอน “Edinburgh” มนต์ขลังแห่งดินแดนสก็อต
เที่ยวเองไกด์ Northern Ireland, UK “ไอร์แลนด์เหนือ” มีอะไรน่าเที่ยวบ้าง

Ireland (Éire) เป็นประเทศเกาะแต่มีดินแดนตอนเหนือเป็นอาณาเขตของไอร์แลนด์เหนือซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของ United Kingdom ดังนั้นวิธีการเดินทางมาไอร์แลนด์จากประเทศไทยจึงมี 3 วิธีหลักๆ คือ

  • เครื่องบินจากเมืองหลักในยุโรปและตะวันออกกลางไปลงที่
    Dublin
    Airport (DUB)
  • เรือเฟอร์รีจากท่าเรือเมือง
    Bootle
    ใกล้เมือง Liverpool ของอังกฤษ, เมือง Douglas ของ Isle of Man เกาะใหญ่ในทะเลไอริช, เมือง Holyhead ของเวลส์ และเมือง Cherbourg-Octeville ของฝรั่งเศส
    ไปยังกรุง Dublin หรือไปท่าเรือ Rosslare Harbour ทางใต้ของดับลินจากท่าเรือ Fishguard และ Pembroke
    ของเวลส์ เป็นต้น
  • รถบัสจากกรุง
    Belfast
    ของไอร์แลนด์เหนือ

photo credit: www.discoveringireland.com

ไป
Dublin

จากรุง Belfast ของไอร์แลนด์เหนือ เรานั่งรถบัสของ Dublin Coach ลงใต้ไปยังกรุง Dublin เมืองหลวงของประเทศไอร์แลนด์

photo credit: en.wikipedia.org

เส้นทาง Belfast – Dublin มีรถบัสหลายบริษัทออกจากสถานีรถบัส Belfast Glengall Street ด้านข้างสถานีรถบัส Belfast Europabus Centre และ Grand Opera House ตลอดทั้งวัน ซื้อตั๋วในสถานีรถบัสได้เลย

แต่รถบัสของ
Dublin
Coach
ซื้อตั๋วจากคนขับรถเลย ตั๋วรถบัสราคาเที่ยวละ
8 GBP หรือ 10 EUR

เช็คตารางเวลาและค่าตั๋วรถบัสได้ที่ Dublin Coach

เราขึ้นรถบัสรอบ 12.35 น. นั่งยาวรวดเดียว ไม่ต้องผ่านด่านตม. 1 ชั่วโมง 50 นาทีก็ถึงป้าย Custom House Quay ริมแม่น้ำ Liffey หน้าอาคาร Custom House

สถานีรถบัสกลาง BusÁras อยู่ด้านหลังอาคาร Custom House

photo credit: www.darkstreamstudios.com

เดินตามถนนเลียบแม่น้ำลอดใต้สะพานรถไฟไปไม่ไกลก็ถึงเชิงสะพานข้ามแม่น้ำชื่อ Rosie Hackett Bridge เลี้ยวขวาเดินตามถนน Marlborough อีกราว 300 เมตรก็เห็น St Mary’s Pro Cathedral เลยไปหน่อยคือที่พักแบบ Airbnb ของเราที่ใช้ชื่อว่า Entire Cozy 1- Bedroom Flat!!

หาและจองที่พักใน Ireland ได้ที่ www.airbnb.com

โรงแรมใน Dublin แพงมาก ห้องเล็กๆ คืนนึง 150 ยูโรขึ้นไปทั้งนั้นถ้าอยู่ในบริเวณศูนย์กลางเมือง ที่พักใกล้ๆ อาคาร Custom House ก็มีไม่เยอะ แต่มี Airbnb ทำเลดีอยู่ 2 แห่ง เดินจากป้ายรถบัสไม่ไกลและเดินเข้าใจกลางเมืองนิดเดียวเอง แต่ห้องไม่ได้กว้างทั้งคู่ สภาพโอเค พักแค่คืนเดียวไม่ซีเรียสครับ

เที่ยว Dublin

Duibhlinn (Dublin) หรือ Baile Átha Cliath ซึ่งมีความหมายว่า “town of the hurdled ford” คือเมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไอร์แลนด์

กรุงดับลินเป็นเมืองสำหรับอยู่อาศัยและทำงานมากกว่าจะเป็นเมืองท่องเที่ยว สถานที่ส่วนใหญ่เป็นอาคารราชการและโบสถ์ แต่เอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่คนมาดับลินควรได้สัมผัสคือชีวิตยามค่ำคืนของชาวไอริชและนั่งดื่มเบียร์ Guinness ในไอริชผับชื่อดังที่มีหลายแห่งในเมือง เพราะฉะนั้นจึงควรค้างที่นี่อย่างน้อย 1 คืนครับ

photo credit: www.lahistoriaconmapas.com

ออกจากที่พัก เดินตาม Marlborough Street กลับไปที่ริมแม่น้ำ Liffey ตรงข้ามสะพานแล้วเลี้ยวซ้ายเดินไปถ่ายรูป Teach an Chustaim
(Custom House) จากอีกฝั่งแม่น้ำก่อนเลย

อาคารขนาดมหึมาสไตล์นีโอคลาสสิกในศตวรรษที่ 18 นี้ตั้งอยู่ที่ Dublin quays (Custom House Quay) ปัจจุบันคือ An Roinn Comhshaoil, Pobail agus Rialtais Áitiúil (The Department of the Environment, Community and Local Government)

เดินกลับไปข้ามสะพาน Rosie Hackett ลงสะพานเลี้ยวซ้ายไปนิดเดียวก็เห็น O’Connell Monument

เลี้ยวขวาเข้า O’Connell Street (Sráid Uí Chonaill) ถนนสายหลักของกรุงดับลิน แป๊บเดียวก็เห็นรูปปั้นของ Jim Larkin อยู่หน้าอาคาร Ard-Oifig an Phoist หรือ General Post Office (GPO) ไปรษณีย์กลางของไอร์แลนด์คือหนึ่งในอาคารที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศมีอายุเกือบ 200 ปี และ An Túr Solais (The Spire) หรือ Monument of Light อนุสาวรีย์สเตนเลสรูปทรงเข็มขนาดใหญ่มีความสูงถึง 121.2 เมตร ออกแบบโดยบริษัท Ian Ritchie Architects ของอังกฤษ

ที่ถนนทางขวาของ The Spire มีรูปปั้น James Joyce นักเขียนนวนิยายคนดังชาวไอริชที่เกิดที่เมืองดับลิน

เดินกลับไปที่ O’Connell Monument ตรงข้าม Droichead Uí Chonaill (O’Connell Bridge) สะพานข้ามแม่น้ำ Liffey ไปยังฝั่งใต้ของกรุงดับลิน

ตรงเข้าถนนทางขวามือชื่อ Westmoreland Street ประมาณ 300 เมตร ผ่าน Banc na hÉireann (Bank of Ireland) แยกซ้ายไปก็ถึงทางเข้า Coláiste na Tríonóide (Trinity College) หรือที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า College of the Holy and Undivided Trinity of Queen Elizabeth near Dublin

วิทยาลัยแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ. 1592 เป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยสมัยใหม่โดยอาศัยมหาวิทยาลัย Oxford และ Cambridge เป็นแม่แบบ

มาถึงตรงนี้ไม่พูดเรื่องการศึกษาคงไม่ได้ ไอร์แลนด์เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยชื่อดังคือ University College Dublin ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 150 ปีมาแล้ว มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงทั้งทาง Business Management, Finance, Engineering และ Science ที่สำคัญคือนักเรียนไทยยังน้อยมากๆ

เพื่อนๆ ที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลหรือติดต่อสมัครเรียนได้ที่ BRIT – Education UK ได้ที่โทร 02-168-7890 หรือไลน์: @brit-ed ที่นี่จะเป็นตัวแทนของหลายมหาลัย ที่แรกในประเทศไทยมานานกว่า 20 ปี สถาบันก่อตั้งโดยคุณ Gareth Baxter-Jones ซึ่งเป็นศิษย์เก่าจาก Oxford University โดยตรง และในบริการนักเรียนที่สนใจเรียนต่ออังกฤษประเทศเดียวเท่านั้น บริการทั้งหมดไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น หรือถ้าพร้อมสมัครแล้ว สามารถพบกับตัวแทนจากมหาวิทยาลัยต่างๆของ UK ได้ในงานศึกษาต่ออังกฤษประจำปีที่ www.UK-University-Fair.com หรือทาง  www.brit-ed.com/contact-us

เดินเข้ารั้วประตูของวิทยาลัยทะลุอาคาร Regent House ไปยัง Parliament Square จุดศูนย์กลางของวิทยาลัย

เดินกลับออกประตูเดิมไปที่ถนน Westmoreland เลี้ยวซ้ายแล้วตรงไปเข้า Sráid Grafton (Grafton Street) ถนนช้อปปิ้งสำคัญกลางเมืองดับลิน

ก่อนเข้าถนน Grafton ถ้าเลี้ยวขวาเดินตาม Suffolk
Street นิดเดียวก็จะถึง St Andrew’s Church
โบสถ์ซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยวหลักของเมือง

แต่เรามีเวลาอีกเยอะกว่าจะมืดแล้วไปย่านไอริชผับ เลยเดินเข้าถนน Grafton ตรงไปอีกราว 400 เมตรก็เห็น Fusiliers’ Arch ประตูชัยไอร์แลนด์ที่ด้านหน้าทางเข้า St Stephen’s Green park

เลี้ยวซ้ายเดินตามถนน St Stephen’s Green แล้วเลี้ยวซ้ายเข้า Kildare Street (Sráid Chill Dara) ที่ติดป้ายว่า Trinity Ward ระยะทางราว 500 เมตรก็ถึง National Library of Ireland และ Ard-Mhúsaem na hÉireann (National Museum of Ireland) พิพิธภัณฑ์แห่งชาติไอร์แลนด์ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1877

เจ้าหน้าที่ไม่ให้เข้าประตูไปยัง Teach Laighean (Leinster House) คือ seat of the Oireachtas หรืออาคารรัฐสภาแห่งชาติไอร์แลนด์ ซึ่งในอดีตเคยเป็นวังของ Dukes of Leinster

เดินผ่านหอสมุดแห่งชาติไปราว 200 เมตร เลี้ยวขวาที่สามแยกเข้า Leinster
Street South ตรงเข้า Clare Street เดินผ่านด้านข้าง National Gallery of Ireland ตรงต่อไปยังสวน
Cearnóg Mhuirfean (Merrion Square) เดินเข้าสวนไปถ่ายรูปกับรูปปั้นของ
Oscar Wilde นักเขียนบทละครชื่อดังชาวไอริช

เยื้องทางเข้าสวนคือด้านหน้าของ Gailearaí Náisiúnta na hÉireann (National Gallery of Ireland) สถานที่เก็บรวบรวมภาพเขียนชิ้นสำคัญๆ ของไอร์แลนด์ซึ่งเปิดให้เข้าชมฟรี

เดินกลับทางเดิมผ่านด้านข้าง National Gallery of Ireland ตรงตาม Clare Street, Leinster Street South และ Nassau Street ประมาณ 500 เมตรก็วนกลับมาที่ต้นถนน Grafton ที่เมื่อกี๊เราเดินตรงไปประตูชัย ตรงเข้า Suffolk Street นิดเดียวก็ถึง St Andrew’s Church (Church of Ireland) ที่หน้าโบสถ์มีรูปปั้นของ Molly Malone หรือที่รู้จักกันในนาม “Cockles and Mussels” หรือ “In Dublin’s Fair City” อีกหนึ่งรูปปั้นสัญลักษณ์ของดับลิน

เดินผ่านโบสถ์แล้วเลี้ยวขวาเข้า Trinity Street (Sráid na Tríonóide) ตรงไปเลี้ยวซ้ายที่ถนนใหญ่ เดินตาม Dame Street ประมาณ 350 เมตรก็ถึง Halla na Cathrach (City Hall) อาคารที่ว่าการเมืองดับลินที่สร้างขึ้นในระหว่างปีค.ศ. 1769-1779 เดิมเคยเป็น Royal Exchange ของประเทศมาก่อน

เลี้ยวซ้ายเดินไปยังทางเข้า Caisleán Bhaile Átha Cliath (Dublin Castle) ปราสาทดับลินสร้างขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ.
1204 มีพื้นที่กว่า 44,000 ตารางเมตร
โดยในศตวรรษที่ 18
เป็นที่ประทับของพระเจ้าจอห์นซึ่งเป็นท่านลอร์ดคนแรกของไอร์แลนด์
ปัจจุบันเป็นศูนย์ราชการของประเทศ

ภายในและรอบๆ
บริเวณประกอบด้วยอาคารหลายหลัง เช่น Bedford
Hal, Chapel Royal, Chester Beatty Library State Apartments และส่วนต่างๆ
เปิดให้เข้าชมทุกวัน 09.45-17.45 น. ยกเว้นวันที่
25-27 ธ.ค. และ 1 ม.ค. ค่าเข้าชมสำหรับผู้ใหญ่ราคา
8 ยูโร, ค่าไกด์ทัวร์ 60 นาทีสำหรับผู้ใหญ่ราคา
12 ยูโร

อัพเดทข้อมูลได้ที่ visit Dublin Castle

นั่งรถเมล์ Dublin Bus สาย 49, 56a และ 77a มาได้
ข้อมูลการเดินทางเพิ่มเติมที่ www.dublincastle.ie

ออกประตูเดิมแล้วเลี้ยวซ้ายเดินตาม Castle Street ราว 200 เมตร ก็เห็น Christ Church Cathedral (Cathedral of the Holy Trinity) มหาวิหาร Anglican เก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ. 1028

ค่าเข้าชมสำหรับผู้ใหญ่ราคา
7 ยูโร

เช็คเวลาเปิด-ปิดได้ที่ Christ Church Cathedral opening hours
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ visit Christ Church Cathedral

ด้านหลังโบสถ์ Christ Church เป็นที่ตั้งของ Dublinia พิพิธภัณฑ์นันทนาการที่จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ยุคไวกิ้งและยุคกลางของดับลิน

พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน
ในเดือนมี.ค.-ก.ย. 10.00-18.30 น.,
เดือนต.ค.-ก.พ. 10.00-17.30 น. ต้องเข้าชมก่อนเวลาปิด 1
ชั่วโมง ค่าเข้าชมสำหรับผู้ใหญ่ราคา 10 ยูโร

อัพเดทข้อมูลได้ที่ visit Dublinia

เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกใหญ่ตรงรูปปั้น Millennium Child เดินตาม Nicholas Street ตรงไปราว 400 เมตรก็ถึง Árd Eaglais Naomh Pádraig (St. Patrick’s Cathedral) หรือที่รู้จักกันในนาม The National Cathedral and Collegiate Church of Saint Patrick มหาวิหารขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศแห่งนี้สร้างในสไตล์โกธิคเมื่อปีค.ศ. 1191 โดยอาร์ชบิชช็อปแห่งดับลินที่บริเวณ St. Patrick’s Park เพื่ออุทิศให้แก่นักบุญ Patrick โดยมียอดหอคอยสูงถึง 43 เมตร โบสถ์แห่งนี้เป็นสถานที่จัดพิธีศพของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของประเทศมาอย่างยาวนานโดยเฉพาะปูชนียบุคคลทางการเมือง

สามารถเข้าชมภายในมหาวิหารได้ในช่วงเดือนมี.ค.-ต.ค.
วันจันทร์-ศุกร์ 09.30-17.00 น.,
วันเสาร์ 09.00-18.00 น., วันอาทิตย์แบ่งเวลาเปิดเป็น 3
ช่วง เดือนพ.ย.-ก.พ. วันจันทร์-ศุกร์เปิด 09.30-17.00 น., วันเสาร์ 09.00-17.00 น.,
วันอาทิตย์แบ่งเวลาเปิดเป็น 2 ช่วง ค่าเข้าชมสำหรับผู้ใหญ่ราคา
8 ยูโร

เช็คเวลาเปิด-ปิดและค่าเข้าชมได้ที่ visit St. Patrick’s Cathedral

เดินกลับทางเดิมไปที่ Dublinia ตรงลอดใต้สะพานเชื่อมอาคารไปทางแม่น้ำ Liffey ประมาณ 250 เมตร ถ่ายรูปจากสะพาน O’Donovan Rossa ไปยัง Na Ceithre Cúirteanna (The Four Courts) อาคารศาลยุติธรรมกลางของไอร์แลนด์ตั้งอยู่ที่บริเวณ Inns Quay ประกอบด้วย Supreme Court, High Court และ Dublin Circuit Court
แต่ตอนนี้ซ่อมแซมโดมของอาคารอยู่ครับ

ไม่ต้องข้ามสะพาน เลี้ยวซ้ายเดินตามถนน Merchant’s Quay เลียบริมแม่น้ำไปเลี้ยวซ้ายที่เชิงสะพาน ทางขวามือไปยัง The Brazen Head ผับที่เก่าแก่ที่สุดของไอร์แลนด์ซึ่งเปิดมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1198

เข้าไปดูบรรยากาศความคึกคักของชาวไอริชที่มานั่งดื่มเบียร์คุยกันตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ตกเลย

เดินกลับทางเดิมเลียบแม่น้ำตรงไปจนถึงสะพานคนเดิน Millennium Bridge เลี้ยวขวาและเลี้ยวซ้ายที่สี่แยกแรกเข้า Essex Street East ซึ่งเต็มไปด้วยร้านอาหาร ร้านไอติม คาเฟ่ ผับ บาร์ เดินอีกนิดก็ถึงร้าน Barra an Teampaill (The Temple Bar) ผับชื่อดังอีกแห่งของกรุงดับลิน

จะสามทุ่มแล้วยังไม่มืดเลย เดินลัดซอยซ้ายมือออกไปที่แม่น้ำเพื่อถ่ายยรูป Droichead na Leathphingine (Droichead na Life) หรือ Ha’penny Bridge หรือชื่อทางการคือ Liffey Bridge สะพานเหล็กแห่งแรกของประเทศสร้างมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1816 สะพานคนเดินข้ามแม่น้ำ Liffey นี้มีความยาว 43 เมตร ตรงโค้งสะพานกลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองและเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของเมืองที่ผู้คนนิยมมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก

เดินหาร้านที่มีถ่ายทอดสดฟุตบอลแถวนี้ รับประทานมื้อค่ำที่ The Lotts Cafe Bar สั่ง Pork Chops จานละ 12 EUR และเบียร์ Guinness แก้วละ 5.30 EUR มาดื่มไปดูบอลไป มื้อนี้แชร์กันจ่าย 2 คน 35 EUR ครับ

ค่าครองชีพโดยรวมของไอร์แลนด์ถือว่าอยู่ในกลุ่มแพงมากในยุโรป ส่วนตัวรู้สึกว่าถูกกว่าประเทศแถบสแกนดิเนเวียเล็กน้อยและน่าจะสูงกว่าอังกฤษนิดหน่อยด้วย อาหารในร้านดีๆ เมนูจานหลักราคา 12-25 ยูโร ควรแพลนเงินค่าอาหารมื้อละ 15 ยูโรเป็นอย่างน้อยครับ

ใช้ชีวิตกลางคืนแถว Temple Bar ที่ยิ่งดึกยิ่งคึกคัก

เดินข้าม Ha’penny Bridge เลี้ยวขวาเดินเลียบแม่น้ำอีกราว 300 เมตร ผ่าน O’Connell Monument ตรงต่อไปเลี้ยวซ้ายเข้า Marlborough Street เดินกลับที่พัก

ค้างคืนที่
Dublin 1 คืน

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่เดินทางมา
Dublin โดยเครื่องบิน

สนามบินนานาชาติกรุงดับลินคือ Aerfort Bhaile Átha Cliath (Dublin Airport) ตัวย่อคือ DUB ตั้งอยู่ทางทิศเหนือห่างจากศูนย์กลางเมืองประมาณ 11 กิโลเมตร

เดินทางเข้าศูนย์กลางเมืองโดย

  • รถเมล์
    Airlink Express สาย
    747
    ไปที่สถานีรถบัสกลาง BusÁras ใช้เวลา 30 นาที,
    O’Connell Street (Sráid Uí Chonaill) ใช้เวลา 40 นาที และสถานีรถไฟ Heuston ใช้เวลา 60 นาที / Airlink
    Express
    สาย 757 ไปที่ Custom House Quay และ O’Connell Bridge ตั๋ว Airlink Single สำหรับผู้ใหญ่ราคา 7 ยูโร (ซื้อออนไลน์ 6 ยูโร), ตั๋ว Airlink Return ราคา 12 ยูโร (ซื้อออนไลน์ 11 ยูโร) ซื้อจากคนขับรถได้

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ Airlink Express
เช็คแผนที่รถเมล์ได้ที่ Dublin Bus map

  • aircoach สาย 700 ไปที่
    O’Connell
    Street (Gresham Hotel) ใช้เวลา 25 นาที, Coláiste na Tríonóide (Trinity College) / Grafton Street ใช้เวลา 30 นาที

ตั๋วรถโค้ชสำหรับผู้ใหญ่อายุ 13 ปีขึ้นไป ราคาเที่ยวละ 7 ยูโร (ซื้อออนไลน์ 6 ยูโร) ตั๋วไป-กลับสำหรับผู้ใหญ่ราคา 12 ยูโร (ซื้อออนไลน์ 11.50 ยูโร)

เช็คเส้นทางรถโค้ชและตารางเวลาได้ที่ aircoach route & timetable
อัพเดทค่าตั๋วได้ที่ aircoach fare

กรุงดับลินมีสถานีรถไฟหลัก
2 สถานี

  1. Connolly คือสถานีรถไฟสำหรับเดินทางไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ชายฝั่งตะวันออก ไปเมือง Sligo (Sligeach) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ และไปกรุง Belfast เมืองหลวงของไอร์แลนด์เหนือ สถานีนี้อยู่ห่างจากสถานีรถบัสกลาง BusÁras 300 เมตร
  2. Stáisiún Iarnróid Heuston (Heuston) คือสถานีรถไฟสำหรับเดินทางไปภาคตะวันตกและใต้ของประเทศ เช่น Galway, Cork

การรถไฟไอร์แลนด์คือ Iarnród Éireann หรือ Irish Rail
ค้นหาตารางเวลารถไฟได้ที่ www.irishrail.ie

รถเมล์ในเมืองคือ Dublin Bus
ค่าตั๋วระยะสั้น Stage 1-3 คือ City Centre Zone (Parnell Square, O’Connell Street, the Quays and the IFSC to Merrion Square, St. Stephen’s Green, South. Great Georges Street and Parliament Street) ราคา 2.15 ยูโร (จ่ายเป็นเงินสด) ทุกสาย ยกเว้น Nitelink, Airlink, Xpresso services, flat fare services, Ferry services

อัพเดทค่าโดยสารได้ที่ Dublin Bus fares

ถ้าใช้บัตรเติมเงิน
Leap
Card จ่ายค่าตั๋ว Stage 1-3 ราคา 1.55 ยูโร

รายละเอียด Leap Card เพิ่มเติมที่ Dublin Bus Leap Card เลือก Fares และ Visitor Leap Card 1 วัน (24 ชั่วโมง) ราคา 10 ยูโร

วันที่ 2 ในไอร์แลนด์

ไป Galway

photo credit: stepmap.com

ตอนแรกเรากะจะเช่ารถขับตั้งแต่
Dublin ไปเลย แต่เช็คราคาค่าเช่าแล้วแพงกว่าค่ารถบัส Dublin – Galway 2 คนรวมกัน
แถมยังมีค่าน้ำมันและประกันที่คิดตามจำนวนวันอีกด้วย เราวางแผนจะไปคืนรถที่ Rosslare
Harbour แล้วนั่งเรือข้ามทะเลไปเมือง Fishguard ของเวลส์ จึงต้องเลือกเช่ารถของ Budget Car Rental เจ้าเดียว
แต่สถานที่รับรถของบริษัทอยู่ไกลออกไปชานเมืองหรือไปรับรถที่ Dublin
Airport เลย สรุปเราเลือกใช้รถบัสซึ่งสะดวกและประหยัดกว่าเยอะครับ

ออกจากที่พัก
เดินตาม Marlborough
Street ไปที่แม่น้ำ Liffey ตรงข้ามสะพานแล้วเลี้ยวซ้ายไปที่ป้ายรถบัส
Dublin City South, Burgh Quay
ฝั่งหันหน้าเข้าหาแม่น้ำ

เราเลือกขึ้นรถบัสของ Gobus รอบ 10.15 น. (ตั้งแต่ 09.15-20.15 น. มีรถบัสทุก 1 ชั่วโมง) ซื้อตั๋วจากคนขับรถได้เลย ค่ารถคนละ 15 EUR ถ้าซื้อออนไลน์ล่วงหน้าราคา 13 EUR

เช็คตารางเวลาและซื้อตั๋วรถบัสได้ที่ www.gobus.ie

หรือจะขึ้นรถไฟไปก็ได้ ใช้เวลาเดินทางพอๆ กัน แต่ตั๋วรถไฟแพงกว่ารถบัสประมาณ 5 EUR
ค้นหาตารางเวลารถไฟได้ที่ www.irishrail.ie

12.45 น. เดินทางถึงสถานีรถบัส Áras Cóistí (New Coach Station) เมือง Galway ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมงครึ่ง

ออกจากอาคารสถานีรถบัส เดินผ่านอาคาร Discover Ireland Centre ที่หัวมุมถนน แค่ 200 เมตรก็ถึง Eyre Square บาร์ตรงมุมจัตุรัสมีที่พักชื่อ Garveys Inn – Eyre Square ด้วย

ห้องไม่กว้างแต่มีห้องน้ำในตัว ราคาไม่ถือว่าถูกเป็นไปตามค่าครองชีพมาตรฐานของไอร์แลนด์ครับ ห้องพักคืนนี้ราคา 85 ยูโร ไม่รวมอาหารเช้า

บ่าย
เดินเที่ยว
Galway

Gaillimh
หรือ Galway
คือเมืองใหญ่อันดับที่ 6 ของไอร์แลนด์ตั้งอยู่ริมอ่าว
Galway ทางตะวันตกของประเทศ
กัลเวย์กำลังจะได้เป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของยุโรปในปีค.ศ. 2020

ที่มุมจัตุรัสเป็นที่ตั้งของ Hotel Meyrick โรงแรมเก่าแก่ที่สุดของเมืองที่ยังเปิดให้บริการอยู่

ด้านหลังโรงแรมคือสถานีรถไฟ
Galway
(Ceannt)

เดินทแยงมุมลัด An Fhaiche Mhór (Eyre Square) หรือ John F. Kennedy Memorial Park จัตุรัสใจกลางเมืองไปทางประติมากรรมโครงเหล็ก

เลี้ยวซ้ายเข้า Williamsgate Street ตรงไปราว 200 เมตรก็ถึง Lynch’s Castle บ้านเก่าในยุคกลางบน Shop Street ตอนนี้กลายเป็นสาขาหนึ่งของ Allied Irish Banks (AIB Bank)

ตรงไปไม่ไกลก็ถึงจุดถ่ายรูปมุมหลักของเมืองที่ต้นถนน High

ยังไม่เดินเข้า High Street แต่เดินไปทาง St. Nicholas’ Collegiate Church โบสถ์เก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ. 1320 เพื่ออุทิศแด่ Saint Nicholas of Myra คือโบสถ์ยุคกลางที่ใหญ่ที่สุดของไอร์แลนด์ซึ่งยังใช้งานมาจนทุกวันนี้

เลี้ยวขวาเดินผ่านหน้าโบสถ์ไปเลี้ยวซ้ายที่สามแยก เดินตรงไปข้ามสะพานข้าม Abhainn na Gaillimhe หรือแม่น้ำ Corrib ไปยัง Ard-Eaglais Mhaighdean na Deastógála agus Naomh Nioclás (Cathedral of Our Lady Assumed into Heaven and St Nicholas) หรือ Galway Cathedral

โบสถ์โรมันคาทอลิกที่สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปีค.ศ. 1965 เพื่ออุทิศแด่ Our Lady Assumed into Heaven และ St. Nicholas สถาปัตยกรรมของแต่ละส่วนของวิหารออกแบบโดยใช้แนวคิด Eclecticism หรือคตินิยมสรรผสาน เช่น โดมสไตล์เรอเนสซองส์ประยุกต์ ทางเดินเข้าประตูวิหารแบบโรมาเนสก์ประยุกต์ ซึ่งโดดเด่นแตกต่างจากโบสถ์ทั่วไปในไอร์แลนด์

ลงสะพานเดินไปทางขวา ข้ามสะพานข้ามคลอง 2 สะพาน เดินเลยทางเข้า OÉ Gaillimh (NUI Galway) แรกไปก่อนแล้วค่อยเลี้ยวขวาเข้าไปในบริเวณของ National University of Ireland Galway

มหาวิทยาลัยกัลเวย์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1845 เป็น 1 ใน 3 วิทยาลัยของ Queen’s University of Ireland ในบริเวณออกแบบที่เรียกว่า quadrangle คือตรงกลางเป็นสนามหญ้าที่มีอาคารล้อมรอบทุกด้าน

เดินกลับทางเดิมไปที่ต้นถนน High

ตรงเข้า High Street ถนนคนเดินที่เต็มไปด้วยร้านค้าและร้านอาหารตลอดสองข้างทาง ต่อเข้า Quay Street ออกไปที่ริมแม่น้ำ

เลี้ยวซ้ายเดินอีกไม่ไกลก็เห็น An Póirse (Spanish Arch) และ An Póirse Caoċ (Caoċ Arch) ประตูกำแพงเมืองโบราณที่สร้างมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1584 เพื่อป้องกันท่าเรือของเมืองที่บริเวณปากแม่น้ำ Corrib หน้า Músaem Cathrach na Gaillimhe (Galway City Museum)

เดินลอดประตูกำแพงเมืองไปเดินเล่นชิลล์ๆ ที่บริเวณ The Long Walk ตรงปากแม่น้ำ Corrib

เดินกลับไปที่
Quay
Street
หาร้านอาหารสำหรับมื้อเย็นและใช้ชีวิตกลางคืนสไตล์ไอริชแถว
High Street ก่อนกลับที่พัก

ค้างคืนที่ Galway

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มเติม

ห่างจากเมือง Galway ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 78 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของ Mainistir na Coille Móire (Kylemore Abbey) สำนักบวชสถาปัตยกรรมสไตล์วิคตอเรียนริมทะเลสาบ Pollacapall Lough (Kylemore Lough)

วิธีการเดินทางไปโดยรถสาธารณะไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่ จาก Galway ต้องนั่งรถบัสของ Citylink ไปลงที่หมู่บ้าน Letterfrack แล้วเดินหรือนั่งแท็กซี่อีก 4.3 กม. รถบัสออกจากสถานีรถบัส Áras Cóistí (New Coach Station) เวลา 08.30 น. ถึงป้าย Letterfrack, The Country Shop 10.20 น. คันต่อไปที่จอดป้ายนี้คือ 16.00 น. และ 17.30 น. เลย ตั๋วรถบัสราคาเที่ยวละ 11.50 EUR ถ้าซื้อออนไลน์ลดเหลือ 10.35 EUR

เช็คตารางเวลารถบัสได้ที่ www.citylink.ie

วิธีการที่ดีที่สุดถ้าไม่เช่ารถขับ (ค่าเช่า 1 วัน 60-80 EUR ไม่รวมน้ำมันและค่าประกันต่างๆ) คือ ซื้อ Day Tour ซึ่งมีให้เลือก 3 บริษัท ได้แก่ Lally Tours, Galway Tour Company, Wild Atlantic Way ทัวร์เริ่ม 10 โมงเช้า (เจ้าสุดท้ายออก 9 โมงครึ่ง) แวะให้เที่ยวจุดอื่นๆ ระหว่างทางด้วย เช่น Leenane, Killary Fjord, An Spidéal กลับถึง Galway ประมาณ 6 โมงเย็น ค่าทัวร์ 1 วัน ราคาผู้ใหญ่ 30 EUR

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของแต่ละบริษัท หรือ ไปสอบถามที่ Discover Ireland Centre ตรงข้ามกับสถานีรถบัส Áras Cóistí (New Coach Station)

วันที่ 3 ในไอร์แลนด์

วันนี้เราจะเริ่มเช่ารถขับกัน เราจองรถ Toyota เกียร์ออโต้ 5 ประตู กับ Budget Car Rental ล่วงหน้าหลายเดือน ค่าเช่า 2 วัน 127 EUR + ภาษี 141.88 EUR = 268.88 EUR

8 โมงครึ่ง เดินไม่กี่ก้าวไปติดต่อรับรถ

ตอนจองในเว็บไม่มีให้ซื้อประกันภัยเพิ่ม
ไม่มีบอกว่าถ้าไปคืนรถที่เมืองอื่นคิดเพิ่มอีกเท่าไหร่ พอถึงหน้างาน
พนักงานถามว่าจะซื้อประกันมั้ย? คิดเป็นวัน วันละ 35
EUR ถ้าไม่ซื้อแล้วเกิดอุบัติเหตุจะต้องจ่ายกี่พันยูโรไม่รู้
จำไม่ได้ เราจะไปคืนรถที่ Rosslare
Harbour ซึ่งอยู่ไกลจาก Galway ประมาณ 265
กิโลเมตร ต้องเสียค่าคืนรถต่างที่อีก 120 EUR เบ็ดเสร็จโดนค่าเช่ารถบวกค่าต่างๆ
ไป 443.45 EUR ชาร์จบัตรเครดิตออกมา 16,346 บาท แพงมากกกกกก!

เดินไม่ไกลไปเอารถเองที่ลานจอดรถตามแผนที่ที่พนักงานให้มา

ไป
Cliffs of Moher

ระยะทางประมาณ 75 กิโลเมตร

photo credit: stepmap.com

09.40 น. ขับรถออกจากเมือง Galway ดู GPS นำทางไปเลย เส้นทางไม่ยาก รถไม่เยอะ แต่ส่วนใหญ่เป็นถนนแคบๆ 2 เลนสวนกัน บางช่วงโค้งไปโค้งมาตามแนวชายฝั่ง ทำให้ต้องใช้ความเร็วต่ำครับ

ระหว่างทางแวะไปถ่ายรูป Dún Guaire (Dunguaire Castle) ริมทะเล แป๊บนึง บางคนแวะเข้าหมู่บ้าน Dúlainn (Doolin) ก่อนถึง Cliffs of Moher ไม่ไกลด้วย

ขับต่ออีก
47
กิโลก็ถึงลานจอดรถของ Cliffs of Moher ต้องจ่ายค่าเข้า
8 EUR ซึ่งรวมค่าจอดรถไว้แล้วเลย

จาก Galway ถึง Cliffs
of Moher ขับรถทั้งหมดรวมแวะเที่ยว 1 ที่ 2
ชั่วโมงครับ

ถ้าไม่เช่ารถขับก็สามารถนั่งรถบัสของ
Bus
Éireann สาย 350 จากสถานีรถบัส Galway ได้ ใช้เวลา 2 ชั่วโมง 15 นาที
วิธีการนี้ควรกลับไปที่ Galway แล้วค่อยเดินทางไปเมืองอื่นโดยรถบัสหรือรถไฟ
ตั๋วรถบัสสำหรับผู้ใหญ่ราคาเที่ยวละ 17 ยูโร ตั๋วไป-กลับในวันเดียวกันราคา
25 ยูโร

เช็คตารางเวลาและค่าตั๋วรถบัสได้ที่ www.buseireann.ie

เดินไปที่อาคาร
Visitor
Centre ซึ่งอยู่ตรงกลาง จากตรงนี้สามารถเลือกเดินไปทางขวา
(ทิศเหนือ) หรือทางซ้าย (ทิศใต้) ก็ได้

เราเลือกเดินไปทางขวาก่อนเพราะดูแล้วถ้าเดินไปตอนบ่ายๆ ถ่ายรูปไปทางทิศใต้จะย้อนแสงมากกว่า รูปถ่ายตอนเที่ยงยังไม่ย้อนแสงครับ

Aillte
an Mhothair
หรือ Cliffs of
Moher คือแนวหน้าผายาว 8 กิโลเมตรริมชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกในเขตหมู่บ้าน
Lios Ceannúir (Liscannor) ทางตะวันตกของไอร์แลนด์ ที่นี่ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอันดับต้นๆ
ของประเทศ ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนมากถึงราว 1.5 ล้านคน ตำแหน่งที่สูงที่สุดของแนวหน้าผาอยู่ใกล้กับ O’Brien’s
Tower โดยสูงจากระดับน้ำทะเลด้านล่างถึง 214 เมตร

ช่วงเวลาที่เหมาะจะมาคือก่อน 11
โมง กับหลัง 4 โมงเย็น เพราะคนจะไม่เยอะมาก

ค่าเข้าสำหรับผู้ใหญ่ราคา
8 ยูโร ถ้าซื้อออนไลน์ช่วง 08.00-10.59 น. และหลัง 16.00
น. ราคา 4 ยูโร ส่วนช่วง 11.00-16.00 น. 8 ยูโร

อัพเดทข้อมูลได้ที่ Cliffs of Moher entrance fee
เช็ควันเวลาเปิด-ปิดได้ที่ Cliffs of Moher opening time

เดินไปทาง O’Brien’s Tower หาจุดถ่ายรูปสวยๆ ไปเรื่อยๆ

แถวนี้อากาศหนาวเลย
ลมแรงมากด้วย ขนาดมาเดือนพฤษภาแล้ว วันนี้แดดดีด้วย อุณหภูมิยังไม่เกิน 12
องศา
ดังนั้นจึงควรเตรียมแจ็คเก็ตกันลมที่ช่วยให้ร่างกายอบอุ่นตลอดเวลาไปด้วย

pacsafe
เค้ามีแจ็คเก็ตด้วยนะ ไม่ได้มีแค่กระเป๋า เสื้อตัวนี้ออกแบบมาเพื่อใส่กันลมโดยเฉพาะ
เนื้อผ้าหนาแต่น้ำหนักเบา แถมมีฮู้ดไว้ช่วยกันฝนหรือหิมะด้วย
เหมาะสำหรับการใส่เที่ยวสไตล์เอาท์ดอร์ชมธรรมชาติมากๆ

หาซื้อได้ที่ร้าน URBAN AKTIVE ชั้น 2 ศูนย์การค้าอัมรินทร์ พลาซ่า, สาขาเซ็นทรัลบางนา, ลาดพร้าว เซ็นทรัลเวิลด์ และร้าน pacsafe เซ็นทรัลพระราม 3 นะครับ

เดินเลยฟาร์มแกะไปไม่ไกลก็พอแล้ว จริงๆ มีทางเดินต่ออีกไกลเลยแหละ

เดินกลับไปกินข้าวกลางวันที่ Visitor Centre แล้วเดินไปชมหน้าผาอีกทางด้วย

หน้าผาทางทิศใต้ เดินใกล้กว่าฝั่งแรกพอสมควร จริงๆ มีทางเดินต่ออีกไกลอยู่ แต่จุดถ่ายรูปสวยๆ เดินไม่ไกลมากก็ได้ภาพโอเคแล้วครับ

บ่ายสามครึ่ง เดินกลับไปที่ลานจอดรถ

ไป
Cork

ระยะทางประมาณ 175 กิโลเมตร

photo credit: stepmap.com

บางคนเลือกไปเมือง
Cill
Airne (Killarney)
ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะไอร์แลนด์ อาจจะเลยไปถึงเมือง Daingean Uí Chúis (Dingle) ด้วย ถ้าจะไปต้องเพิ่มวันเที่ยวอีก 1
วัน

เกือบ
4
โมงเย็น ขับรถออกจาก Cliffs of Moher
มุ่งหน้าไปทางเมือง Luimneach (Limerick)

จาก
Cliffs
of Moher ไม่มีรถบัสไปเมือง Limerick และ Cork ต้องนั่งรถบัสกลับไปที่เมือง Galway แล้วนั่งรถบัสของ
Expressway สาย 51 จากสถานีรถบัส Galway
ไปลงที่ท่ารถ Parnell Place เมือง Cork
ใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 20 นาที ตั๋วรถบัสราคา 19 ยูโร

หรือ นั่งรถบัสของ Bus Éireann สาย 350 ที่มาจาก Galway ไปลงสุดทางที่สถานีรถบัส
Ennis แล้วต่อรถบัสของ Expressway สาย 51 อีกประมาณ 3 ชั่วโมงก็จะถึงท่ารถ Parnell
Place ตั๋วรถบัสราคา 18.05 ยูโร
แต่เวลาไม่ลงตัวให้สามารถเดินทางต่อได้ในวันเดียวกัน ต้องค้างคืนที่เมือง Ennis
ก่อน

เช็คตารางเวลาและราคาตั๋วรถบัสได้ที่ www.buseireann.ie

ถ้านั่งรถไฟจากสถานีรถไฟ
Galway
(Ceannt) ไปที่สถานีรถไฟ Cork (Kent)
จะใช้เวลาเดินทาง 4-5.30 ชั่วโมง ต้องเปลี่ยนขบวนรถไฟ 1-2
ครั้ง ตั๋วรถไฟแพงกว่ารถบัสเล็กน้อย

ค้นหาตารางเวลารถไฟไอร์แลนด์ได้ที่ www.irishrail.ie

เส้นทาง
Cliffs
of Moher – Cork

ขับรถประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง ช่วงผ่านเมือง Limerick ต้องเสียค่าผ่านทาง (Toll)
โดยหยอดเหรียญจ่ายเงินที่เครื่องอัตโนมัติ 1.90 EUR

6
โมงครึ่ง จอดรถที่ลานจอดสาธารณะที่ Grattan Street ซึ่งจอดฟรีตั้งแต่ประมาณ 6 โมงเย็น – 9 โมงเช้า ลานจอดนี้อยู่ใกล้ที่พักของเราไม่ถึง 200 เมตร

ที่พักใน Cork ที่ทำเลดี เดินเที่ยวในเมืองได้ง่าย และราคาไม่แพงมาก มีไม่เยอะครับ เราจึงเลือกพัก Airbnb ที่ใช้ชื่อว่า Bijoux by the lee apartments 7 ที่อยู่คือ 20 North Main Street

ทางเข้าแคบๆ แต่ข้างบนตึกกว้างอยู่ แบ่งเป็นห้องพักได้หลายห้องเลยครับ แต่แต่ละห้องก็ไม่ได้กว้าง มีห้องน้ำในตัว มีครัวส่วนกลาง สามารถหยิบขนมและเครื่องดื่มในตู้เย็นกินได้ตลอด มีอาหารเช้าเป็นขนมปัง โยเกิร์ต และผลไม้ แบบอาหารเช้าฝรั่ง

ช่วงต้นเดือนพฤษภา
พระอาทิตย์ตกประมาณ 3 ทุ่ม
ยังมีเวลาเดินเล่นในเมืองสบายๆ

เดินเที่ยวเมือง
Cork

Corcaigh หรือ Cork คือเมืองใหญ่อันดับที่ 3 ของไอร์แลนด์ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของประเทศ ตัวเมืองอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำ Lee คอร์กเคยเป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของยุโรปในปีค.ศ. 2005 และ 2009 รวมทั้งติด top 10 “Best in Travel 2010” ของ Lonely Planet ด้วย

photo credit: www.johnthemap.co.uk

ออกจากที่พักบนเกาะกลางแม่น้ำ Lee เดินไปทางขวาตามถนน North Main กลับไปทางแม่น้ำ

ข้ามสะพานตรงขึ้นเนินไปไม่ไกลแล้วเลี้ยวขวาเข้าซอยแคบๆ ที่มองเห็น St. Anne’s Church (ระยะทางราว 700 เมตร) โบสถ์สำคัญของเมืองที่สร้างมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1726 บนเนินเขาเตี้ยๆ ในเขต Shandon ฝั่งเหนือแม่น้ำ Lee ความโดดเด่นของโบสถ์อยู่ที่หอนาฬิกาสูง 36.5 เมตร ซึ่งเป็นจุดชมวิวเมืองจากมุมสูง

เลี้ยวซ้ายเข้าถนนแคบๆ หน้าประตูทางขึ้นหอนาฬิกาโบสถ์ไปยัง Ardeaglais Naomh Muire agus Naomh Áine (Cathedral of St Mary and St Anne) โบสถ์โรมันคาทอลิกที่สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปีค.ศ. 1808 ในสถาปัตยกรรมแบบนีโอโกธิคประยุกต์ หอคอยสูงเหนือประตูทางเข้าโบสถ์ถูกต่อเติมภายหลังในปีค.ศ. 1860

เดินลงเขาข้ามแม่น้ำ Lee กลับที่พัก ตรงต่อตามถนน North Main ไปราว 300 เมตรก็เจอถนนใหญ่ชื่อ Washington Street เลี้ยวซ้ายเดินไปอีกนิดก็สุดถนน เลี้ยวซ้ายและขวาเข้า Sráid Naomh Pádraig (St Patrick’s Street) ถนนช้อปปิ้งหลักใจกลางเมือง

เดินอีก 100 เมตรแล้วเลี้ยวขวาเข้า Princes Street ก็ถึง An Margadh Sasanach (English Market) ตลาดท้องถิ่นขายอาหาร ของสด และวัตุดิบต่างๆ ซึ่งได้กลายเป็นที่เที่ยวหนึ่งของเมืองไปแล้ว

ตรงต่อไปออกที่ Oliver Plunkett Street ถนนช้อปปิ้งอีกสายของเมือง เลี้ยวขวาเดินไปที่น้ำพุ Berwick Fountain แล้วเลี้ยวซ้ายเดินตามถนน Grand Parade ผ่าน National Monument ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำ Lee ไปยังฝั่งใต้ของเกาะเมือง

บนสะพานเป็นจุดถ่ายรูป Ardeaglais Naomh Fionnbarra (Saint Fin Barre’s Cathedral) โบสถ์โกธิคอันงดงามที่สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปีค.ศ. 1879 โดยการออกแบบของ William Burges สถาปนิกชาวอังกฤษ

เดินไปยังไม่ถึงโบสถ์
พระอาทิตย์ก็เริ่มคล้อยต่ำและสาดแสงสีส้มทั่วฟ้า
พระอาทิตย์ที่นี่ตกเร็วกว่าทางตะวันตกของประเทศประมาณครึ่งชั่วโมง

ตอนแรกกะจะเดิน
400
เมตรไปที่โบสถ์และเดินกลับทางเดิมผ่านสะพานเดิมไปเลี้ยวขวาเข้าถนนแคบๆ
ชื่อ Mary Street ที่เชิงสะพานข้างหน้า ตรงไปเลี้ยวซ้ายที่สามแยกที่
2 ไป Red Abbey โบสถ์ Augustinian ในศตวรรษที่ 14 ที่ใช้หินทรายแดงในการก่อสร้าง
ปัจจุบันหลงเหลือแค่โครงสร้างหอระฆังของโบสถ์เท่านั้น ทางการเมืองได้อนุรักษ์ซากหอระฆังนี้ให้เป็น
national monument

จากนั้นเดินเลียบแม่น้ำอีกราว
500
เมตรไปยัง Cork City Hall ข้ามสะพานกลับไปบนเกาะเมือง
ตรงไปที่ริมแม่น้ำ Lee อีกฝั่ง เลี้ยวซ้ายเดินเลียบแม่น้ำไม่ไกลพอเห็นรูปปั้น
Father Mathew ที่หัวถนน St Patrick’s Street ก็เลี้ยวขวาข้ามสะพานและเดินขึ้นเนินชันประมาณ 600 เมตรไปยังจุดชมวิว
Richmond Hill ใน google map

แต่ถ้าทำตามแผนจะเดินขึ้นเขาไปจุดชมวิวไม่ทันพระอาทิตย์ตก
เลยต้องปรับแผนโดยเดินผ่าน National Monument
ตรงไปเลี้ยวขวาเดินตาม St Patrick’s Street ไปจนสุดถนนที่รูปปั้น
Father Mathew
ตรงข้ามสะพานเดินต่อขึ้นทางชันไปยังจุดชมวิวมุมสูงของเมือง

เราเดินมั่วๆ เอาให้มันไปที่ริมแม่น้ำให้ได้พอจึงได้ภาพสวยๆ ช่วงดวงอาทิตย์สาดแสงทองแบบบังเอิญครับ 555

นี่คือภาพมุมสูงของเมืองที่มองเห็นหอนาฬิกาสูงเด่นของ St. Anne’s Church และ Cathedral of St Mary and St Anne สองโบสถ์แรกที่เดินไปมา

เดินลงเขากลับทางเดิมไปที่รูปปั้น Father Mathew

เลี้ยวซ้ายเดินเลียบแม่น้ำไปเลี้ยวขวาตรงท่ารถบัสของ Bus Éireann ตรงอีกราว 300 เมตร มองข้ามแม่น้ำไปก็เห็น Halla na Cathrach (Cork City Hall) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Corcaigh ที่ว่าการเมืองคอร์กที่สร้างขึ้นใหม่อย่างอลังการในปีค.ศ. 1936 หลังถูกทำลายเสียหายในช่วงสงครามประกาศอิสรภาพของไอร์แลนด์เมื่อปลายปีค.ศ. 1920

ขากลับ
เดินเข้าถนน Maylor ลัดไปออกที่ St Patrick’s
Street และเดินกลับที่พัก

ค้างคืนที่
Cork

วันที่ 4
ในไอร์แลนด์

ไป Kinsale และ
Cobh

photo credit: www.townmaps.ie

9
โมงครึ่ง ขับรถไปทางทิศใต้ประมาณ 28 กม. ไปเมือง
Kinsale

จากเมือง
Cork
สามารถนั่งรถบัสของ Bus Éireann สาย 226
จากท่ารถบัส Parnell Place ไปลงที่ท่ารถบัส Kinsale (Town Car Park) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 50 นาที ตั๋วรถบัสราคา 9 ยูโร

เช็คตารางเวลาและราคาตั๋วรถบัสได้ที่ www.buseireann.ie

จอดรถที่
Kinsale
(Town Car Park) หรือ Kinsale (Pier Road Amenity Area) ก็ได้

เราจอดที่
Kinsale
(Town Car Park)
ใกล้ Kinsale
Tourist Information Office จอดได้วันจันทร์-เสาร์ตั้งแต่ 10.30-18.00
น. ค่าจอดชั่วโมงละ 1.50 EUR เศษย่อยของชั่วโมงอ่านป้ายไม่เข้าใจครับ
เหมือนจะจอดได้นานสุดแค่ 2 ชั่วโมง หยอดตู้ไป 2 EUR เลย บิลออกมาจะบอกเองว่าจอดได้ถึงกี่โมง

Cionn
tSáile
หรือ Kinsale คือเมืองท่าและเมืองประมงทางภาคใต้ของไอร์แลนด์ เมืองเล็กๆ
แห่งนี้เป็นที่นิยมทั้งในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไอริชและชาวต่างชาติ

ตัวเมืองคินเซลเล็กมากกก
เอาจริง! เดินชั่วโมงเดียวหมด 55

photo credit: familyhistorybymaryellen.blogspot

เดินผ่าน Kinsale Tourist Information Office
เลี้ยวซ้ายและเลี้ยวซ้ายเข้า Main Street เดินไปทาง Town
Park ในแผนที่ก่อน

ตรงนั้นเป็นสามแยกที่มีบ้านสีม่วงอ่อนหวานแหวว เวลา search google จะเห็นภาพนี้เป็นประจำ แต่ตอนนี้ทาสีขาวแทนแล้วอ่ะ 55

เดินกลับตามถนน Main ซึ่งเต็มไปด้วยบ้านหลากสีฉูดฉาด

ตรงไปแป๊บเดียวก็ออกไปที่ St. Multose Church

วนขวากลับเข้าเมืองไปยัง Market Place เลี้ยวซ้ายไปที่ Market Square ตรงเข้าถนนเล็กๆ ที่มีบ้านสีแสบตาอยู่ข้างหน้า

เลี้ยวขวาหน้าร้านขายหนังสือไปถ่ายรูปย้อนกลับเข้ามาซึ่งเป็นมุมเอกลักษณ์ของเมืองคินเซล

พิกัดคือร้าน the Milk Market Café ที่ Market Street (ห่างจากลานจอดรถ 250 เมตร)

หมดแล้วครับ 555 บอกแล้วว่าเมืองเล็กกะจิ๋ว

ยังไม่หมดเวลาจอดรถ ไปเดินเล่นที่ท่าเรือ Kinsale Harbour Cruises ที่ Pier Road ไม่ไกลจากลานจอดรถนิดนึงก็ได้

ก่อนเที่ยง ขับรถไป Cobh

ระยะทางประมาณ 49 กิโลเมตร

photo credit: www.townmaps.ie

ถ้าไม่ได้ขับรถก็นั่งรถบัสของ Bus
Éireann สาย 226 จากท่ารถบัส Kinsale (Town Car Park) กลับไปลงที่ท่ารถบัส Cork Parnell Place ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง ตั๋วรถบัสราคา 9 ยูโร

เช็คตารางเวลาและราคาตั๋วรถบัสได้ที่ www.buseireann.ie

แล้วเดินข้ามแม่น้ำ Lee ประมาณ 700 เมตรไปสถานีรถไฟ
Cork (Kent) นั่งรถไฟท้องถิ่นอีก 24 นาที
ไปสถานีรถไฟ Cobh ห่างจากตัวเมือง 450 เมตร
ตั๋วรถไฟราคา 5.50 ยูโร

ค้นหาตารางเวลารถไฟไอร์แลนด์ได้ที่ www.irishrail.ie

ตามถนนสายหลักเลียบทะเลของเมือง Cobh สามารถจอดรถได้แต่ต้องเสียเงิน
ถ้าจอดแถว Lusitania Memorial จะดีมาก

เราเลือกจอดฟรีที่ลานจอดรถใหญ่บนเขาใกล้
St
Colman’s Cathedral
ซึ่งเป็นที่จอดสำหรับคนมาโบสถ์อยู่แล้ว

เที่ยว
Cobh

An
Cóbh
หรือ Cobh คือเมืองท่าเรือท่องเที่ยวชื่อดังทางภาคใต้ของไอร์แลนด์

photo credit: www.holidaycork.com

เดินลงไปยังด้านหน้า Ardeaglais Naomh Chólmáin (St Colman’s Cathedral) หรือ Cobh Cathedral มหาวิหารสถาปัตยกรรมนีโอโกธิคที่ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 47 ปี ตั้งแต่ปีค.ศ. 1868-1916 หอคอยของโบสถ์คือหอคอยที่สูงที่สุดเป็นอันดับที่ 2 บนเกาะไอร์แลนด์ รองจาก Ardeaglais Eoin (St. John’s Cathedral) ที่เมือง Limerick โดยมีความสูงถึง 91.4 เมตร

เข้าชมภายในโบสถ์ได้ฟรีครับ

เดินลงเขาตามถนนด้านข้างมหาวิหาร

แวะถ่ายรูปลงไปที่ท่าเรือ cruise ซะหน่อย

หาทางลงทางขวาแล้วเดินลงอีกแป๊บก็ถึง Casement Square ที่มี Lusitania Memorial อยู่กลางจัตุรัส

เดินเล่นที่ถนนสายหลักริมทะเลของเมืองที่ชื่อ West Beach และหาร้านอาหารแถวนี้

เดินกลับไปที่ Casement Square

เดินลอดโค้งประตูด้านหลังอนุสาวรีย์ขึ้นเนินชันของ
Radharc
an Iarthair
หรือถนน West View ซึ่งเรียงรายด้วยบ้านสไตล์วิคตอเรียน 3 ชั้นที่สร้างในช่วงปีค.ศ.
1850 จำนวน 23 หลัง ลดหลั่นตามระดับความลาดเอียงของพื้นที่
คนท้องที่เรียกบ้านเหล่านี้ว่า “Deck of
Cards”

แถวนี้คล้ายซานฟรานซิสโกอยู่น้า

ขึ้นไปถึงถนนข้างบน ยูเทิร์นซ้ายลงเนินหาตำแหน่งเหมาะๆ ปีนกำแพงบ้านชาวบ้านสูงประมาณ 2 เมตรขึ้นไปถ่ายรูปบ้านหลากสีที่มี St Colman’s Cathedral เป็นฉากหลัง ขอบกำแพงไม่กว้างและตะปุ่มตะป่ำ บางช่วงฝังเศษแก้วไว้ด้วย การปีนไปยืนถ่ายรูปวิวเอกลักษณ์ของเมืองนี้อันตรายพอสมควรเลย แต่ต้องยอมเสี่ยงเพื่อให้ได้ภาพที่สวยงาม ถ้าไม่ปีนก็จะไม่ได้รูปนี้ครับ

เดินกลับไปลานจอดรถใกล้มหาวิหาร

ก่อนบ่าย
3
ขับรถไป Rosslare Harbour

ระยะทางประมาณ 190 กิโลเมตร

photo credit: toolonkadunpysakointilaitos.com

ถ้าไม่เช่ารถขับ จาก Cobh ต้องนั่งรถไฟท้องถิ่นกลับไปที่สถานีรถไฟ Cork (Kent) แล้วนั่งรถไฟไปเมืองอื่นของไอร์แลนด์ต่อ เช่น Dublin (สถานี Heuston) แต่ไม่มีรถไฟจาก Cork ไป Rosslare ถ้าจะนั่งรถบัสไป Rosslare จะต้องนั่งรถบัสไปที่ Waterford Bus Station หรือรถไฟไปที่สถานี Plunkett เมือง Waterford แล้วเดินประมาณ 500 เมตรไปสถานีรถบัส Waterford ต่อรถบัสของ Bus Éireann สาย 40 อีกประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งไปยัง Rosslare Harbour Rosslare Europort

ค้นหาตารางเวลารถไฟไอร์แลนด์ได้ที่ www.irishrail.ie
เช็คเวลารถบัสสาย 40 ได้ที่ bustimes.org/services/40

เราไป Cuan Ros Láir (Rosslare Harbour) เพื่อคืนรถและข้ามเรือเฟอร์รีไปเมือง Fishguard ของเวลส์ ตอนเช้าวันรุ่งขึ้น

ถ้าไม่ได้วางแผนจะกลับเกาะอังกฤษทางเรือในเส้นทางนี้
แผนที่ทำกันคือขับรถกลับ Dublin แล้วจะบินหรือข้ามเรือไปเมือง
Bootle ใกล้เมือง Liverpool ของอังกฤษก็แล้วแต่จะเลือกทำครับ
เส้นทางระหว่างเมือง Cork และ Cobh กับ
Dublin สามารถแวะเที่ยวเมือง Cill Chainnigh (Kilkenny)
ได้ด้วย

เส้นทางจาก
Cobh
ไป Rosslare Harbour มีด่าน Toll ต้องเสียค่าผ่านทาง 2 EUR ครับ

ก่อนไปคืนรถที่ออฟฟิศของ Budget Car Rental ในอาคารท่าเรือ แวะเข้าไปเช็คอินและเก็บของเข้าห้องพักของ Rosslare Port Lodge ก่อน

ห้องพักกว้างดี ราคาไม่แพงเท่าไหร่ ห้องนี้ราคา 68.60 EUR รวมอาหารเช้า

เติมน้ำมันให้เต็มถังก่อนขับไปคืนรถ ระยะทางขับรถรวมเกือบ 520 กิโลเมตร ค่าน้ำมัน 36 EUR (1,350 บาท)

ขับไปคืนรถในท่าเรือ Rosslare Europort ให้ทันทุ่มนึง

แถวนี้เงียบมาก
ไม่มีแท็กซี่เลย ต้องเดินกลับที่พักประมาณ 1.3 กิโล

พนักงานของที่พักใจดีมากครับ
เค้าบอกเราว่าจะขับรถพาไปร้านอาหารที่มีฟุตบอลพรีเมียร์ลีกให้ดู
และตอนเช้าก่อนเข้างานจะมารับเราไปส่งที่ท่าเรือด้วย
จะได้ไม่ต้องเรียกแท็กซี่หรือเดินลากกระเป๋าไปเอง

ค่ำนี้กินไปดูบอลไปที่ร้านฮิตชื่อ
Culletons
of Kilrane
ห่างจากที่พักประมาณ 1
กิโล

มื้อนี้จัด Ribeye Steak จานละ 21.50 EUR ไปเลย พร้อมเบียร์ Guinness แก้วละ 4.30 EUR

ค้างคืนที่
Rosslare

8 โมงเช้า เรือ Stena Europe ออกเดินทางข้ามช่องแคบ St
George’s

การข้ามเรือระหว่างประเทศไอร์แลนด์กับอังกฤษและเวลส์ไม่มีการตรวจคนเข้าเมืองครับ ผู้ที่ทำวีซ่าไอร์แลนด์ก็สามารถเดินทางเข้าสหราชอาณาจักรได้ถ้าวีซ่ายังไม่หมดอายุ เช่นเดียวกับผู้ที่มีวีซ่าสหราชอาณาจักรสามารถเดินทางเข้าไอร์แลนด์ได้เลย

11.15 น. เดินทางถึงท่าเรือ Fishguard
ของ Wales ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 15 นาที

ค่าเรือ Rosslare Harbor – Fishguard ราคา 33 GBP

เช็คตารางเวลาและซื้อตั๋วเรือได้ที่ www.stenaline.co.uk เลือกเส้นทาง วันที่ต้องการเดินทาง จำนวนผู้เดินทาง และ On foot with no vehicle ถ้าไม่ได้เอารถลงเรือ

สถานีรถไฟอยู่ติดกับท่าเรือเลย
มีร้านอาหารด้วย

นั่งรถไฟเข้ากรุง
Cardiff
เมืองหลวงของเวลส์ ตอน 12.40 น. ใช้เวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง  

เช็คตารางเวลารถไฟไปเมืองต่างๆ ของสหราชอาณาจักรและซื้อตั๋วได้ที่ www.nationalrail.co.uk และ https://tfwrail.wales

ถ้าไม่เอารถลงเรือ ไม่แนะนำให้เลือกเรือรอบเย็นที่ไปถึง Fishguard ดึกเพื่อค้างคืนนะครับ เพราะไม่สามารถเดินจากท่าเรือเข้าตัวเมืองได้ ต้องนั่งรถไฟ 1 ป้ายซึ่งตอนดึกไม่มีรถไฟแล้ว

*ห้ามคัดลอกหรือดัดแปลงข้อมูลและรูปภาพเพื่อนำไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต

[Update] เดอะเบสท์ แนะแนวเรียนต่อต่างประเทศ | เมืองหลวงไอร์แลนด์ – NATAVIGUIDES

ข้อมูลสหราชอาณาจักร (United Kingdom)

สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือหรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อสหราชอาณาจักร (สหราชอาณาจักรหรือสหราชอาณาจักร) หรือบริเตนเป็นประเทศอธิปไตย มีที่ตั้งอยู่นอกชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นดินใหญ่ในยุโรป สหราชอาณาจักรรวมถึงเกาะบริเตนใหญ่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์และเกาะเล็ก ๆ อีกมากมาย ไอร์แลนด์เหนือมีพรมแดนติดกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ มิฉะนั้นสหราชอาณาจักรจะถูกล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกโดยมีทะเลเหนืออยู่ทางทิศตะวันออกช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้และทะเลเซลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ทำให้มีชายฝั่งที่ยาวที่สุดเป็นอันดับ 12 ของโลก ทะเลไอริชแยกเกาะบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ และมีเมืองหลวงของสหราชอาณาจักร คือ ลอนดอนซึ่งเป็นเมืองและเป็นศูนย์กลางทางการเงินระดับโลกที่มีประชากรในเขตเมือง 10.3 ล้านคน

ภูมิศาสตร์

สหราชอาณาจักร พื้นที่ทั้งหมดของสหราชอาณาจักรจะอยู่ที่ประมาณ 243,610 ตารางกิโลเมตร (94,060 ตารางไมล์) ประเทศครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่เกาะอังกฤษหมู่เกาะอังกฤษ รวมถึง เกาะบริเตนใหญ่, เกาะไอร์แลนด์ และหมู่เกาะขนาดเล็กรอบ ๆ ประเทศอยู่ระหว่างตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเหนือ ที่มีชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้อยู่ภายใน 22 ไมล์ (35 กิโลเมตร) จากชายฝั่งทางตอนเหนือของ ฝรั่งเศส, ซึ่งจะถูกคั่นด้วยช่องแคบอังกฤษในปี 1993, 10% ของสหราชอาณาจักรเป็นป่า, 46% เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และ 25% เพื่อการเกษตร ‘เดอะรอยัลกรีนิช หอดูดาวกรุงลอนดอน’ กำหนดจุดเส้นแวงแรกที่พาดผ่านตำบลกรีนนิช (Greenwich) ของอังกฤษ (อังกฤษ: Prime Meridian) และสหราชอาณาจักรอยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 49° ถึง 61°N, และเส้นแวง 9°W ถึง 2°E ไอร์แลนด์เหนือใช้เส้นเขตแดนทางบกยาว 224 ไมล์ (360 กิโลเมตร) เดียวกับประเทศไอร์แลนด์ชายฝั่งของเกาะบริเตนใหญ่ยาว 11,073 ไมล์ (17,820 กิโลเมตร) มันจะเชื่อมต่อไปยังทวีปยุโรปโดยอุโมงค์ลอดช่องแคบยาว 31 ไมล์ (50 กิโลเมตร) (24 ไมล์ [38 กิโลเมตร] อยู่ใต้น้ำ) ซึ่งเป็นอุโมงค์ใต้น้ำที่ยาวที่สุดในโลก

สภาพภูมิอากาศ

สหราชอาณาจักรส่วนใหญ่มีอากาศค่อนข้างเย็นโดยทั่วไปมีอุณหภูมิเย็นและมีฝนตกชุกตลอดทั้งปี อุณหภูมิจะแตกต่างกันไปตามฤดูกาลที่แทบจะไม่ลดลงต่ำกว่า −20 ° C (−4 ° F) หรือสูงกว่า 35 ° C (95 ° F) บางส่วนห่างจากชายฝั่งของที่ดอนอังกฤษเวลส์ไอร์แลนด์เหนือและสกอตแลนด์ส่วนใหญ่สัมผัสกับสภาพอากาศในมหาสมุทรใต้ขั้ว (Cfc) ระดับความสูงที่สูงขึ้นในสกอตแลนด์จะสัมผัสกับสภาพภูมิอากาศแบบกึ่งทวีป (Dfc) และภูเขาสัมผัสกับสภาพอากาศแบบทุนดรา (ET) ลมที่พัดผ่านมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้และมีลักษณะอากาศค่อนข้างเย็นและเปียกชื้นจากมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นประจำแม้ว่าส่วนใหญ่ทางทิศตะวันออกจะได้รับการกำบังจากลมนี้เนื่องจากฝนส่วนใหญ่ตกในพื้นที่ทางตะวันตกดังนั้นทางภาคตะวันออกจึงแห้งที่สุด กระแสน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติกอุ่นโดยกัลฟ์สตรีมทำให้ฤดูหนาวที่ไม่รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางตะวันตกที่ฤดูหนาวจะเปียกและยิ่งอยู่บนที่สูง ฤดูร้อนอากาศอบอุ่นที่สุดทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษและอากาศเย็นที่สุดในภาคเหนือ หิมะตกหนักสามารถเกิดขึ้นได้ในฤดูหนาวและต้นฤดูใบไม้ผลิบนพื้นที่สูงและบางครั้งอาจตกอยู่ในระดับความลึกมากจากเนินเขา

  • ฤดูใบไม้ผลิ     เริ่มต้น เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม
  • ฤดูร้อน             เริ่มต้น เดือนมิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคม
  • ฤดูใบไม้ร่วง    เริ่มต้น เดือนกันยายน ถึง เดือนพฤศจิกายน
  • ฤดูหนาว          เริ่มต้น เดือนธันวาคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์

โซนเวลา

สหราชอาณาจักรเป็นที่ตั้งของเส้นแบ่งเขตเวลาของโลก (GMT – Greenwich Mean Time) ดังนั้นประเทศไทยตั้งอยู่ทางด้านตะวันออก จึงมีเวลาที่เร็วกว่าประมาณ 6 ชั่วโมง และปรับเวลาให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมง (Day Light Saving) ในช่วงฤดูร้อนเริ่มประมาณช่วงเดือนมีนาคม ถึงปลายเดือนตุลาคม

การเมืองการปกครอง

สหราชอาณาจักรเป็นรัฐรวมกันภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ, Queen Elizabeth II เป็นประมุขแห่งรัฐของสหราชอาณาจักร เช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์ของสิบห้าประเทศอื่น ๆ ในเครือจักรภพอิสระ พระมหากษัตริย์มี “สิทธิที่จะได้รับคำปรึกษา, สิทธิในการส่งเสริม และสิทธิที่จะเตือน” สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในสี่ประเทศในโลกที่จะมีรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้ถูกจัดให้เป็นระบบรัฐธรรมนูญแห่งสหราชอาณาจักรจึงประกอบด้วยส่วนใหญ่ ของคอลเลกชันของแหล่งที่มาที่ถูกเขียนขึ้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง, รวมทั้งรัฐบัญญัติ, กฎหมายจากคดีที่ผู้พิพากษาทำและสนธิสัญญาระหว่างประเทศ, ร่วมกับ การประชุมตามรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ ไม่มีความแตกต่างทางเทคนิคระหว่างรัฐบัญญัติสามัญ และ”กฎหมายรัฐธรรมนูญ”, รัฐสภาของสหราชอาณาจักรสามารถดำเนินการ “ปฏิรูปรัฐธรรมนูญ”ได้ง่ายโดยการผ่าน Acts of Parliament, และจึงทำให้มีอำนาจทางการเมืองในการเปลี่ยนแปลงหรือ ยกเลิกเกือบทุกองค์ประกอบที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรของรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม รัฐสภาไม่สามารถผ่านกฎหมายอะไรที่รัฐสภาในอนาคตไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

พระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันของประเทศอังกฤษ คือ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 และผู้ดำรงตำแหน่งมกุฏราชกุมารพระองค์ปัจจุบัน คือ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ส่วนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของอังกฤษ คือ บอริส จอห์นสัน

ข้อมูลประเทศอังกฤษ

สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2

รัฐและดินแดน

สหราชอาณาจักรประกอบด้วยสี่ส่วนใหญ่ ๆ ซึ่งบางครั้งเรียกในภาษาไทยว่า “ประเทศ” หรือ “แคว้น” ซึ่งสหราชอาณาจักรแบ่งออกเป็น 4 แคว้นใหญ่ ได้แก่

  1. อังกฤษ (อังกฤษ: England, [ˈɪŋ(g)lənd], อิง(ก)ลันด์)

    หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรมีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์

  2. สกอตแลนด์ (อังกฤษ: Scotland; สกอต: Scotland; แกลิกสกอตแลนด์: Alba, [ˈal̪ˠapə](Speaker Icon.svg ฟังเสียง), อัลวะเปอะ)

    เป็นชาติของชนชาวสกอต และเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะ
    บริเตนใหญ่มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะเวลส์

  3. เวลส์ (อังกฤษ: Wales; เวลส์: Cymru, ออกเสียง /ˈkəmrɨ/ คัมรึ)

    เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร ที่มีพื้นที่ของประเทศอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก และเวลส์มีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดกับประเทศอังกฤษ ทิศเหนือและทิศตะวันตกอยู่ติดกับทะเลไอริช ส่วนทางทิศใต้ติดกับช่องแคบบริสตอล จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2011 ประเทศเวลส์มีประชากร 3,063,456 คน และมีพื้นที่ทั้งหมด 20,799 ตารางกิโลเมตร มีแนวชายฝั่งยาว 2,700 กิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา โดยมีภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศคือภูเขาสโนว์ดอน (อังกฤษ: Snowdon; Yr Wyddfa) ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลมากถึง 1,085 เมตร นับเป็นหนึ่งในภูเขาที่สูงที่สุดในหมู่เกาะบริติชไอลส์ บริเวณพื้นที่ราบและส่วนที่ประชากรอาศัยหนาแน่นอยู่ทางตอนใต้ มีสภาพภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร

  4. ไอร์แลนด์เหนือ (อังกฤษ: Northern Ireland; ไอริช: Tuaisceart Éireann [ˈt̪ˠuəʃcəɾˠt̪ˠ ˈeːɾʲən̪ˠ] ทวฌเชอรท์ เอรัน)

    มีที่ตั้งอยู่บนเกาะไอร์แลนด์ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และมีพรมแดนด้านตะวันตกและใต้ติดประเทศไอร์แลนด์ ทิศเหนือติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับช่องแคบเหนือ และทิศตะวันออกติดกับทะเลไอริช เมืองหลวงมีชื่อว่า เบลฟาสต์ ซึ่งมีประชากรประมาณ 333,000 คน

20 เขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหราชอาณาจักร

  1.  

    Greater London Urban Area

    เขตปริมณฑลของลอนดอนรวมถึงลอนดอนและเขตผู้โดยสารโดยรอบ (พื้นที่ที่สามารถเดินทางไปทำงานในลอนดอนได้) เป็นที่รู้จักกันในนามของ London commuter belt หรือเขตปริมณฑลทางตะวันออกเฉียงใต้ ณ เดือนกันยายน ค.ศ. 2019 มหานครลอนดอนเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป (ขณะนั้น) โดยมีประชากร 14,372,596 คน

  2. Greater Manchester Urban Area

    มหานครแมนเชสเตอร์เป็นเขตเมืองและเขตอำนาจรวมกันในอังกฤษตะวันตกเฉียงเหนือมีประชากร 8 ล้านคน ใหญ่เป็นอันดับสามในอังกฤษรองจาก Greater London และ West Midlands ครอบคลุมพื้นที่มหานครที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรและประกอบด้วยเมืองใหญ่สิบแห่ง ได้แก่ Bolton, Bury, Oldham, Rochdale, Stockport, Tameside, Trafford, Wigan และเมือง Manchester และ Salford มหานครแมนเชสเตอร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1974 อันเป็นผลมาจากพระราชบัญญัติการปกครองท้องถิ่น ค.ศ. 1972 และกำหนดเขตเมืองที่ใช้งานได้ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2011

  3. West Midlands Urban Area

    เป็นหนึ่งในเก้าภูมิภาคอย่างเป็นทางการของอังกฤษในระดับแรกของ NUTS เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติ ครอบคลุมพื้นที่ครึ่งตะวันตกของพื้นที่ที่เรียกกันว่ามิดแลนด์ ภูมิภาคนี้ประกอบด้วยมณฑลเฮเรฟอร์ดเชียร์, ชร็อพเชียร์, สแตฟฟอร์ดเชียร์, วอร์ริคเชียร์, เวสต์มิดแลนด์สและวูสเตอร์เชียร์ เมืองที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค คือ เบอร์มิงแฮม

  4. West Yorkshire Urban Area

    เป็นเขตเมืองใหญ่ในอังกฤษ มันเป็นทางบกและในแง่สัมพัทธ์เขตที่ดอนมีหุบเขาที่ระบายน้ำไปทางทิศตะวันออกในขณะที่อยู่ในทุ่งของเพนนินส์ เวสต์ยอร์กเชียร์เกิดขึ้นในฐานะเขตเมืองในปี ค.ศ. 1974 หลังจากผ่านพระราชบัญญัติการปกครองท้องถิ่น ค.ศ. 1972 และมีประชากร 2 ล้านคน และเมืองเวสต์ยอร์กเชียร์ประกอบด้วยเมืองใหญ่ 5 แห่ง (เมืองแบรดฟอร์ดคาลเดอร์เดลเคิร์ลเลสเมืองลีดส์และเมืองเวคฟิลด์) ที่มีเขตปกครองของเดอร์บีเชียร์ทางทิศใต้มหานครแมนเชสเตอร์ทางตะวันตกเฉียงใต้แลงคาเชียร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ , North Yorkshire ไปทางทิศเหนือและตะวันออกและ South Yorkshire ทางทิศใต้และตะวันออกเฉียงใต้

  5. Greater Glasgow

    มหานครกลาสโกว์เป็นเขตเมืองในสกอตแลนด์ซึ่งประกอบไปด้วยท้องถิ่นทั้งหมดที่ติดกับเมืองกลาสโกว์โดยรวมเป็นเขตเมืองที่อยู่ติดกัน (หรือพื้นที่ในเขตเมือง) ไม่เกี่ยวข้องกับเขตแดนของรัฐบาลเทศบาลและขอบเขตพื้นที่กำหนดโดยสำนักงานทะเบียนทั่วไปของสกอตแลนด์ ซึ่งกำหนดการตั้งถิ่นฐานในสกอตแลนด์เพื่อการสำรวจสำมะโนประชากรและวัตถุประสงค์ทางสถิติ มหานครกลาสโกว์มีประชากร 1,199,629 คนในช่วงเวลาของการสำรวจสำมะโนประชากรของสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 2001 ทำให้เป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสกอตแลนด์และใหญ่เป็นอันดับ 5 ของสหราชอาณาจักร

  6. Liverpool Urban Area

    (ก่อนหน้านี้คือ Liverpool Urban Area ในปี ค.ศ. 2001 และก่อนหน้า) เป็นคำที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ (ONS) ใช้เพื่อแสดงถึงเขตเมืองรอบ ๆ เมืองลิเวอร์พูลในอังกฤษทางตะวันออกของแม่น้ำเมอร์ซีย์ มีพื้นที่ที่สร้างขึ้นต่อเนื่องกันขยายออกไปนอกเหนือจากพื้นที่ที่บริหารโดยสภาเมืองลิเวอร์พูลไปยังพื้นที่ที่มีอำนาจในท้องถิ่นที่อยู่ติดกันโดยเฉพาะส่วนของเซฟตันและโนว์สลีย์ ตามที่ (ONS) ได้กำหนดไว้ รวมถึงพื้นที่ขยายไปทางตะวันออกไกลถึง Haydock และ Ashton-in-Makerfield ใน Greater Manchester และในเขตเมืองลิเวอร์พูลไม่ใช่พื้นที่เดียวกับ Merseyside (หรือ Greater Merseyside) ซึ่งรวมถึงพื้นที่ของ Wirral ทางฝั่งตะวันตกของ Mersey และ Southport พื้นที่ทางตะวันตกของมหานครแมนเชสเตอร์นั้นหลีกเลี่ยงได้อย่างแคบเนื่องจากขยายไปถึง Golborne และ Newton-le-Willows โดยมีช่องว่างเล็ก ๆ แยกเมืองเหล่านั้นออกจาก Ashton-In-Makerfield และ Haydock ตามลำดับ

  7. South Hampshire

    (ในอดีตรู้จักกันในชื่อ Southamptonshire) เป็นเขตหนึ่งใน South East England บนชายฝั่งช่องแคบอังกฤษ เมืองของมณฑลคือวินเชสเตอร์ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษ เมืองที่ใหญ่ที่สุดสองแห่งคือ Southampton และ Portsmouth มีการบริหารงานแยกกันเป็นหน่วยงานเดียว ส่วนที่เหลือของมณฑลอยู่ภายใต้การปกครองของสภามณฑลแฮมป์เชอร์ แฮมเชียร์มีประชากร 1.8 ล้านคนเป็นมณฑลพิธีที่มีประชากรมากที่สุดในสหราชอาณาจักร

  8. Tyneside

    เป็นเมืองที่มีการรวมตัวของแม่น้ำไทน์ฝั่งเหนือและฝั่งใต้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษซึ่งรวมถึง: เมืองนิวคาสเซิลอะพอนไทน์ (ฝั่งเหนือ); Town Gateshead (ฝั่งใต้); North Tyneside: Wallsend, Tynemouth, North Shields, Whitley Bay (ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ) และ South Tyneside: South Shields, Jarrow (ฝั่งตะวันออกเฉียงใต้) ระหว่าง Tynemouth และ South Shields แม่น้ำ Tyne เข้าสู่ทะเลเหนือ จำนวนประชากรในการสำรวจสำมะโนประชากร ค.ศ. 2011 มีจำนวน 774,891 คน

  9. Nottingham Urban Area

    เป็นพื้นที่ที่กำหนดโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติซึ่งสร้างขึ้นโดยมีพื้นที่ใกล้เคียงเชื่อมโยงกันหากอยู่ในระยะ 200 เมตร – ดูรายชื่อเขตเมือง ในบทความสหราชอาณาจักรสำหรับคำจำกัดความที่กว้างขึ้น ประกอบด้วยเมืองนอตติงแฮมและเขตเมืองที่อยู่ติดกันของนอตติงแฮมเชียร์และเดอร์บีไชร์ในแถบมิดแลนด์ตะวันออกของอังกฤษ มีประชากรทั้งหมด 729,977 คนในการสำรวจสำมะโนประชากร ค.ศ. 2011

  10. Sheffield Urban Area

    เป็นการสร้างขึ้นใหม่ทางตอนเหนือของอังกฤษมีประชากร 685,368 คนตามการสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2011 นี่เป็นการเพิ่มขึ้น 7% จากจำนวนประชากร 640,720 คนในปี ค.ศ. 2001 ทำให้เป็นการรวมตัวกันที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของสหราชอาณาจักรและใหญ่เป็นอันดับ 6 ของอังกฤษ สำนักงานสถิติแห่งชาติได้รับการตั้งชื่อให้ว่า Sheffield Urban Area โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติต้องไม่สับสนกับ Sheffield City Region ซึ่งเป็นคำที่ไม่ใช่หน่วยงานรัฐบาลแม้ว่าจะใช้บ่อยโดยเฉพาะในชุมชนธุรกิจ ในปี ค.ศ. 2001

  11. Bristol Urban Area

    เป็นคำที่สำนักงานเพื่อสถิติแห่งชาติ (ONS) ใช้เพื่ออ้างถึงการชุมนุมที่ตั้งอยู่รอบ ๆ เมืองบริสตอลทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ เดิมเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Bristol Urban Area เป็นเขตเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 7 ในอังกฤษและใหญ่เป็นอันดับ 8 ของสหราชอาณาจักร ครอบคลุมพื้นที่ที่สร้างต่อเนื่องกันรอบ ๆ บริสตอลรวมทั้ง Kingswood, Mangotsfield, Stoke Gifford, Bradley Stoke, Patchway, Filton, Almondsbury, Frampton Cotterell และ Winterbourne ในพื้นที่ South Gloucestershire Pill และ Easton-in-Gordano ใน North Somerset; และเป็นส่วนหนึ่งของ Whitchurch ซึ่งอยู่ในเขตการปกครองของ Bath และ North East Somerset

  12. Edinburgh Urban Area

    เป็นเมืองหลวงของสกอตแลนด์และเป็นหนึ่งในพื้นที่สภา 32 แห่ง ในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของเคาน์ตีมิดโลเธียน (เอดินบะระไชร์ก่อนปี ค.ศ. 1921) ตั้งอยู่ใน Lothian บนชายฝั่งทางใต้ของ Firth of Forth เอดินบะระได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองหลวงของสกอตแลนด์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 เป็นที่ตั้งของรัฐบาลสก็อตรัฐสภาสก็อตแลนด์และศาลสูงของสกอตแลนด์ พระราชวังโฮลีรูดเฮาส์ของเมืองเป็นที่ประทับอย่างเป็นทางการของพระมหากษัตริย์ในสกอตแลนด์ เมืองนี้เป็นศูนย์กลางการศึกษามายาวนานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการแพทย์กฎหมายของสก็อตวรรณกรรมปรัชญาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่เป็นอันดับสองในสหราชอาณาจักร (รองจากลอนดอน) และสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเมืองทำให้ที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุดเป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรโดยมีผู้เข้าชม 9 ล้านคนรวมถึง 2.4 ล้านคนจากต่างประเทศในปี ค.ศ. 2018

  13. Leicester Urban Area หรือ Leicester Built-Up Area

    (ค.ศ. 2011 เป็นต้นไป) เลสเตอร์ เป็นการรวมตัวกันในเมืองที่กำหนดโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (ONS) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเลสเตอร์ในมิดแลนด์ของอังกฤษ ด้วยประชากร 508,916 ในช่วงเวลาของการสำรวจสำมะโนประชากร ค.ศ. 2011 พื้นที่ที่สร้างขึ้นมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สิบเอ็ดในอังกฤษและใหญ่เป็นอันดับที่สิบสามในสหราชอาณาจักร ประกอบด้วยเลสเตอร์เองและชานเมืองซึ่งทั้งหมดอยู่ติดกันหรือตั้งอยู่ใกล้กับเมือง

  14. Belfast Urban Area

    เบลฟัสต์ เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของไอร์แลนด์เหนือ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแลกันบนชายฝั่งทางภาคตะวันออกของไอร์แลนด์เหนือ ถือเป็นเป็นนครที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของสหราชอาณาจักร และเป็นนครที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของเกาะไอร์แลนด์ เบลฟาสต์มีประชากร 333,871 คน (ข้อมูลเมื่อปี ค.ศ. 2015) ในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 เบลฟาสต์เคยถูกรายงานว่า เป็นหนึ่งในเมืองที่อันตรายที่สุดในโลก และในปัจจุบันเบลฟาสต์ยังคงเป็นเมืองท่าที่สำคัญ เป็นแหล่งอุตสาหกรรมการบินอวกาศและขีปนาวุธ มีอู่ต่อเรือเชิงอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชยกรรม ซึ่งรวมถึงอู่เรือฮาร์ลันและวอล์ฟที่ดูแลชายฝั่งทะเลสาบเบลฟาสต์ ท่าอากาศยานในนครมีสองแห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานจอร์จ เบสต์ และท่าอากาศยานนานาชาติเบลฟาสต์ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากนครไปทางทิศตะวันตก 15 ไมล์ (24 กิโลเมตร) โครงข่ายการวิจัยโลกาภิวัตน์และนครโลก (GaWC) ได้จัดอันดับให้เบลฟาสต์เป็นนครสำคัญของโลกประเภทแกมมาใน ค.ศ. 2018

  15. Brighton and Hove built-up area or Brighton/Worthing/Littlehampton

    มีประชากร 474,485 คน (การสำรวจสำมะโนประชากร ค.ศ. 2011) ทำให้มีการรวมตัวกันที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของอังกฤษ เพิ่มขึ้นประมาณ 3% จากประชากรปี ค.ศ. 2001 ที่ 461,181 คน สำนักงานสถิติแห่งชาติสำหรับการสำรวจสำมะโนประชากรของเมือง Brighton / Worthing / Littlehampton ได้รับการตั้งชื่อโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติสำหรับการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2001 และพื้นที่ที่สร้างขึ้นสำหรับการสำรวจสำมะโนประชากรของไบรตันแอนด์โฮฟในปี ค.ศ. 2001 พื้นที่นี้ยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Greater Brighton การก่อกวนและการครอบงำ ส่วนทางตะวันตกและตะวันออกของซัสเซ็กซ์โดยมีประชากรราว 1 ใน 3 ของซัสเซ็กซ์อาศัยอยู่ภายในขอบเขต นอกจากนี้ยังเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่เป็นอันดับสองในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษและเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่เป็นอันดับสองบนชายฝั่งช่องแคบอังกฤษไม่ว่าจะเป็นอังกฤษหรือฝรั่งเศส ในทั้งสองกรณีนี้การชุมนุมของไบรท์ตันจะเป็นเส้นทางไปตามเส้นทางการชุมนุมของเซาแธมป์ตันและพอร์ตสมั ธ การประชุมไบรท์ตัน / เวอร์ทิง / ลิตเติลแฮมป์ตันเป็นสถานที่ที่ใหญ่ที่สุดในช่องก่อนการประชุมของพอร์ทสมัธและเซาแธมป์ตันรวมกันเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นทางการหลังจากการสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2001 ซึ่งการรวมตัวครั้งนี้ยังเป็นการรวมตัวกันที่สำคัญที่สุดของสหราชอาณาจักรนอกลอนดอนด้วยประชากร 5304 คนต่อตารางกิโลเมตร เนื่องจากมีเขตแดนที่แน่นหนาระหว่างอุทยานแห่งชาติ South Downs ไปทางทิศเหนือและช่องแคบอังกฤษไปทางทิศใต้ประกอบกับมีที่ดินที่อุทิศให้กับสวนในประเทศในเมืองชายทะเลของอังกฤษน้อยกว่าในเมืองในประเทศ

  16. South East Dorset Conurbation

    เป็นพื้นที่ที่มีศูนย์กลางหลายจุดบนชายฝั่งทางใต้ของดอร์เซ็ตในอังกฤษ พื้นที่ดังกล่าวกำลังกลายเป็นการรวมเข้าด้วยกันอย่างรวดเร็วกับพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของแฮมป์เชียร์ในบริเวณริมอุทยานแห่งชาติ New Forest ที่ตั้งขึ้นใหม่ ศูนย์กลางประชากรหลักคือบอร์นมัธ ไครสต์เชิร์ชและพูลซึ่งรวมกันเป็นหน่วยงานเดียวของบอร์นมัธ ไครสต์เชิร์ชและพูล; แม้ว่าพื้นที่ในเมืองขยายออกไปไกลถึงบาร์ตันออนซีในแฮมเชียร์ และมีเมืองบริวารจำนวนมากไปยังใจกลางเมืองหลักเหล่านี้

  17. Cardiff Urban Area

    เป็นชื่อที่ตั้งให้กับเขตเมืองรอบ ๆ คาร์ดิฟฟ์ ประชากรและพื้นที่จำนวนมากมาจากคาร์ดิฟฟ์ซึ่งมีประชากร 335,145 คน ตามที่บันทึกไว้ในการสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2011 ส่วนที่เหลือประกอบด้วยเมือง Penarth และ Dinas Powys ที่เชื่อมต่อกับทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองตาม Cardiff Bay รวมถึงเมือง South Wales Valleys ของ Caerphilly และ Pontypridd จำนวนประชากรที่เป็นทางการทั้งหมดของเขตเมืองนี้มีจำนวน 447,487 คนในปี ค.ศ. 2011 ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 37% จากประชากรปี ค.ศ. 2001 ที่ 327,706 คนโดยมีสาเหตุหลักมาจากการที่ Caerphilly และ Pontypridd กลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ที่สร้างขึ้น ประชากรของผู้มีอำนาจรวมกันของเมืองคาร์ดิฟฟ์ (ไม่รวมกับพื้นที่ที่สร้างขึ้นหรือเขตเมืองที่กว้างขึ้น) ในปี ค.ศ. 2001 คือ 305,353 คน ทั้งนี้ สภาคาร์ดิฟฟ์ประเมินจำนวนประชากรของผู้มีอำนาจรวมกันที่ 317,500 คน ในปี ค.ศ. 2006 ซึ่งอ้างอิงจากการสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2011 มีจำนวน 346,090 คน

  18. Teesside

    เป็นภูมิภาคของ Tees Valley, North East England เป็นเขตการปกครองท้องถิ่นทางตอนเหนือของอังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ. 1968 ถึง ค.ศ. 1974 ประกอบด้วยอาคารรัฐสภาที่ทอดยาวทั้งสองฝั่งของแม่น้ำประเดิมซึ่งเป็นที่มาของชื่อ Teesside

  19. The Potteries Urban Area

    เป็นภูมิภาคทางตอนเหนือของมณฑลสแตฟฟอร์ดเชียร์ประเทศอังกฤษซึ่งเป็นผู้ผลิตจีนและเครื่องปั้นดินเผาหลักของประเทศ เมืองนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองและอำนาจรวมของ Stoke-on-Trent และรวมถึงพื้นที่ในเมือง Newcastle-under-Lyme ที่อยู่ใกล้เคียง Wedgwood และ Minton เป็นชื่อสกุลที่มีชื่อเสียงสองชื่อที่เชื่อมโยงกับจีนในพื้นที่ อุตสาหกรรมที่พัฒนาโดยใช้ถ่านหินจากทุ่งถ่านหิน North Staffordshire และดินเหนียวในท้องถิ่น

  20. Coventry and Bedworth Urban Area

    การตั้งถิ่นฐานที่ใหญ่ที่สุดคือโคเวนทรี (ประชากร 352,900 คน) ซึ่งอยู่ในเขตเวสต์มิดแลนด์ Bedworth (ประชากร 30,648) และ Binley Woods (ประชากร 2,665) เป็นส่วนหลักอื่น ๆ ของการชุมนุมและทั้งสองตั้งอยู่ในเขต Warwickshire ในเขต Nuneaton และ Bedworth และ Borough of Rugby ตามลำดับ ไม่มีเมืองอื่น ๆ ในเขตการปกครอง

โครงสร้างทางเศรษฐกิจ

สหราชอาณาจักรมีระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี โดยมีขนาดเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับที่ 6 ของโลก และสูงเป็นอันดับที่ 3 รองจากเยอรมนีและฝรั่งเศสในยุโรป โดยวัดจาก GDP โดยสหราชอาณาจักรมีธนาคารกลางที่ชื่อว่า ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ซึ่งมีหน้าที่ในการออกธนบัตร และเหรียญในสกุลปอนด์สเตอร์ลิง และภาคบริการของสหราชอาณาจักรมีสัดส่วนใน GDP สูงถึง 73% โดยมีกรุงลอนดอนเป็นศูนย์กลางการเงินโลกขนาดใหญ่ เทียบเคียงได้กับนิวยอร์กซิตี้ และยังเป็นเมืองที่มี GDP สูงที่สุดในยุโรปอีกด้วย นอกจากนี้ การท่องเที่ยวยังเป็นส่วนสำคัญในเศรษฐกิจ เพราะมีนักท่องเที่ยวถึง 27 ล้านคนเดินทางมาสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 2004

ศาสนา

ศาสนาในสหราชอาณาจักร

  • ศาสนาคริสต์ (59.5%)
  • ไม่มีศาสนา (25.7%)
  • อิสลาม (4.4%)
  • ศาสนาฮินดู (1.3%)
  • ศาสนาซิกข์ (0.7%)
  • ศาสนายิว (0.4%)
  • พระพุทธศาสนา (0.4%)

สกุลเงิน

ปอนด์สเตอร์ลิง (สัญลักษณ์: £; รหัส ISO: GBP) หรือที่รู้จักกันในบางบริบทว่าปอนด์หรือสเตอร์ลิงเป็นสกุลเงินที่เป็นทางการของสหราชอาณาจักรเจอร์ซีย์เกิร์นซีย์เกาะแมนยิบรอลตาร์จอร์เจียใต้และทางใต้ หมู่เกาะแซนด์วิชดินแดนแอนตาร์กติกของอังกฤษและ Tristan da Cunha แบ่งย่อยเป็น 100 เพนนี (เอกพจน์: เพนนีย่อ: p) เงินปอนด์สเตอร์ลิงเป็นสกุลเงินที่เก่าแก่ที่สุดในการใช้งานอย่างต่อเนื่อง บางประเทศที่ไม่ใช้เงินปอนด์ก็มีสกุลเงินที่เรียกว่าเงินปอนด์

ท่องเที่ยวอังกฤษ, เรียนต่ออังกฤษ, ท่องเที่ยวประเทศอังกฤษ, เรียนต่อ อังกฤษ, เรียนต่อต่างประเทศ, วีซ่าอังกฤษ, ข้อมูลประเทศอังกฤษ

เชื้อชาติ

การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์สมัยใหม่ในดินแดนที่กำลังจะกลายเป็นสหราชอาณาจักร เกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นประมาณ 30,000 ปีที่ผ่านมาในตอนท้ายของยุคก่อนประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้ ประชากรคิดว่าจะได้เป็นเจ้าของ, ในพื้นที่หลัก, วัฒนธรรมที่เรียกว่า เซลติกที่โดดเดี่ยว (อังกฤษ: Insular Celtic), ที่ประกอบไปด้วย Brythonic Britain และ Gaelic Ireland ชัยชนะของโรมัน, เริ่มต้นในปี ค.ศ. 43 และปกครองภาคใต้ของสหราชอาณาจักรอยู่ 400 ปี ตามมาด้วยการบุกรุกของตั้งถิ่นฐานโดยเจอร์มานิคแองโกลแซกซอนเป็นการลดพื้นที่ Brythonic ส่วนใหญ่บนดินแดนที่กำลังจะกลายเป็นเวลส์และราชอาณาจักร Strathclyde ยุคประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของภูมิภาคที่ตั้งรกรากโดยแองโกลแอกซอน กลายเป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวเป็นอาณาจักรแห่งอังกฤษในศตวรรษที่ 10 ในขณะเดียวกัน นักพูดแห่ง Gaelic ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสหราชอาณาจักร (ที่เชื่อมต่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไอร์แลนด์และสงสัยว่าจะมีการอพยพมาจากที่นั่นในศตวรรษที่ 5) รวมตัวกับชาว Picts ในการสร้างอาณาจักรแห่งสกอตแลนด์ในศตวรรษที่ 9

วัฒนธรรม

วัฒนธรรมของสหราชอาณาจักรได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัยรวมถึงสถานะของเกาะของประเทศ ประวัติศาสตร์ของมันในฐานะเสรีนิยมประชาธิปไตยแบบตะวันตกและอำนาจสำคัญ เช่นเดียวกับการเป็นสหภาพทางการเมืองของสี่ประเทศ โดยแต่ละประเทศยังคงรักษาองค์ประกอบของจารีตประเพณีและสัญลักษณ์ที่โดดเด่น ผลจากจักรวรรดิอังกฤษทำให้อิทธิพลของอังกฤษสามารถสังเกตเห็นได้ในภาษาวัฒนธรรม และระบบกฎหมายของอาณานิคมในอดีตหลายแห่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา อินเดีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ปากีสถาน แอฟริกาใต้ และสหรัฐ ซึ่งวัฒนธรรมสามัญที่มีร่วมกันในวันนี้เรียกว่า Anglosphere อิทธิพลทางวัฒนธรรมที่สำคัญของสหราชอาณาจักร ทำให้สหราชอาณาจักรได้รับคำจำกัดความว่าเป็น “มหาอำนาจทางวัฒนธรรม” การสำรวจความคิดเห็นทั่วโลกโดย BBC พบว่าสหราชอาณาจักรติดอันดับประเทศที่มีการมองในแง่บวกมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก (รองจากเยอรมนี และแคนาดา) ในปี ค.ศ. 2013 และ ค.ศ. 2014

ภาษา

สหราชอาณาจักรไม่มีภาษาทางการ ภาษาที่พูดกันเป็นส่วนใหญ่ คือ ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษากลุ่มเจอร์มานิกตะวันตก พัฒนามาจากภาษาอังกฤษเก่า ภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ภาษาสกอต และภาษากลุ่มแกลิกและบริทโทนิก (เป็นกลุ่มภาษาย่อยของกลุ่มภาษาเคลติก) เช่น ภาษาเวลส์ ภาษาคอร์นิช ภาษาไอริช และภาษาสกอตติชแกลิก ทำให้ภาษาอังกฤษได้แพร่กระจายไปทั่วโลก จากอิทธิพลของจักรวรรดิบริเตนในอดีตและสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน ทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองที่สอนกันมากที่สุดในโลก ภาษากลุ่มเคลติกของสหราชอาณาจักรก็มีพูดกันในกลุ่มเล็ก ๆ หลายแห่งในโลก เช่น ภาษาแกลิกในประเทศแคนาดา และภาษาเวลส์ในประเทศอาร์เจนตินา รวมถึงในระยะหลังนี้ ผู้อพยพ โดยเฉพาะจากประเทศในเครือจักรภพ ได้นำภาษาอื่นหลายภาษาเข้ามาในสหราชอาณาจักร เช่น ภาษาคุชราต ภาษาฮินดี ภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู ภาษาเบงกอล ภาษาจีนกวางตุ้ง ภาษาตุรกี และภาษาโปแลนด์ โดยสหราชอาณาจักรมีจำนวนผู้พูดภาษาฮินดี ปัญจาบ และเบงกอลสูงที่สุดนอกทวีปเอเชีย

การคมนาคม

การคมนาคมในสหราชอาณาจักรอำนวยความสะดวกทั้งทางถนนทางอากาศทางรถไฟและทางน้ำ เครือข่ายถนนเรเดียลมีถนนหลักรวม 29,145 ไมล์ (46,904 กม.) มอเตอร์เวย์ 2,173 ไมล์ (3,497 กม.) และถนนลาดยาง 213,750 ไมล์ (344,000 กม.) เครือข่ายรถไฟแห่งชาติที่มีเส้นทาง 10,072 ไมล์ (16,116 กิโลเมตร) ในบริเตนใหญ่และ 189 เส้นทางไมล์ (303 เส้นทางกิโลเมตร) ในไอร์แลนด์เหนือมีผู้โดยสารมากกว่า 18,000 คนและรถไฟขนส่งสินค้า 1,000 ขบวนต่อวัน เครือข่ายรถไฟในเมืองมีอยู่ใน Belfast, Birmingham, Cardiff, Edinburgh, Glasgow, Liverpool, London, Manchester และ Newcastle มีสนามบินในภูมิภาคและระหว่างประเทศหลายแห่งโดยสนามบินฮีทโธรว์ในลอนดอนเป็นหนึ่งในสนามบินที่พลุกพล่านที่สุดในโลก สหราชอาณาจักรยังมีเครือข่ายท่าเรือซึ่งรับสินค้ามากกว่า 558 ล้านตันในปี ค.ศ. 2003-2004 การขนส่งเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร

ระบบน้ำประปา

การเข้าถึงน้ำประปาและสุขอนามัยที่ได้รับการปรับปรุงในสหราชอาณาจักรถือเป็นสากล คาดว่าร้อยละ 96.7 ของครัวเรือนเชื่อมต่อกับเครือข่ายท่อระบายน้ำ ตามที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมระบุว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมของน้ำสำหรับการประปาสาธารณะในสหราชอาณาจักรอยู่ที่ 16,406 เมกะไบต์ต่อวันในปี ค.ศ. 2007 มาตรฐานน้ำดื่มและมาตรฐานการปล่อยน้ำเสียในสหราชอาณาจักรเช่นเดียวกับในประเทศอื่น ๆ ของสหภาพยุโรปเดิมกำหนดโดยสหภาพยุโรป เมื่อสหราชอาณาจักรเป็นรัฐสมาชิก (ดูการประปาและการสุขาภิบาลในสหภาพยุโรป) และที่สำคัญในอังกฤษและเวลส์บริการน้ำและท่อน้ำทิ้งให้บริการโดย บริษัท น้ำและท่อน้ำทิ้งในภูมิภาค 10 แห่งและ บริษัท “เฉพาะน้ำ” ส่วนตัวขนาดเล็กกว่า 13 แห่ง ในสกอตแลนด์บริการน้ำและท่อน้ำทิ้งให้บริการโดย บริษัท มหาชนแห่งเดียวคือ Scottish Water ในไอร์แลนด์เหนือบริการน้ำและท่อน้ำทิ้งยังให้บริการโดยหน่วยงานสาธารณะแห่งเดียวคือ Northern Ireland Water

ระบบไฟฟ้า

ระบบไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่ใช้ในอาคารในสหราชอาณาจักรทำงานที่กระแสสลับเฟสเดียว 230V (AC) หรือ 400V 3 เฟสที่ความถี่ 50Hz เครือข่ายเหล่านี้มักเรียกว่าเครือข่ายแรงดันไฟฟ้าต่ำ (LV) ระบบนี้เรียกอีกอย่างว่าระบบไฟฟ้าหลัก การติดตั้งขนาดใหญ่อาจทำงานที่แรงดันไฟฟ้าที่สูงขึ้นโดยมักใช้วัสดุหรือตัวป้อน 11kV ที่จุดเริ่มต้นของการติดตั้ง เครือข่ายเหล่านี้เรียกว่าเครือข่ายไฟฟ้าแรงสูง (HV) การแปลงพลังงานจากเครือข่าย 11kV ไปยังช่วง 230V-400V มักจะดำเนินการผ่านหม้อแปลงในสถานีย่อย

ระบบโทรศัพท์

รหัสการโทร ประเทศ +44      

รถพยาบาลฉุกเฉินโทร: 999

ตำรวจฉุกเฉินโทร: 112

ที่มา:

Wikipedia Website: https://th.wikipedia.org/

ข้อมูลประเทศอังกฤษ ข้อมูลประเทศอังกฤษ ข้อมูลประเทศอังกฤษ ข้อมูลประเทศอังกฤษ 


5 ตำนานเรื่องเล่าของสถานที่ท่องเที่ยวไทย


ประเทศไทยเรามีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่มากมาย แต่ละแห่งก็มักจะมีเรื่องเล่า ตำนานความเป็นมาที่น่าสนใจ ทั้งตำนานเกี่ยวกับความรัก การตามล่าสมบัติ หรือตำนานความศักดิ์สิทธิ์ AbdulThaiTube จะพาคุณผู้ชมไปพบกับ 5 ตำนานเรื่องเล่าของสถานที่ท่องเที่ยวไทย เพื่อให้การท่องเที่ยวสนุกยิ่งขึ้นครับ
สถานที่ท่องเที่ยว ตำนาน เรื่องเล่า ประวัติศาสตร์ ประเทศไทย ธรณีวิทยา พญานาค
✪ กดติดตามช่อง\r
https://goo.gl/ogRJJL\r
\r
✪ ติดต่อโฆษณา หรือ Sponsor ช่อง ได้ทาง \r
https://www.facebook.com/abdulthaitube\r
\r
✪ จ้างอับดุลย์พากษ์เสียงได้นะครับ\r
https://www.facebook.com/abdulthaitube/posts/1769821226457306

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

5 ตำนานเรื่องเล่าของสถานที่ท่องเที่ยวไทย

Learn English with Audio Story Level 2 ★ Easy English Listening Practice Everyday


Learn English with Audio Story Level 2 ★ Robinson Crusoe Easy English Listening Practice Everyday
The novel Robinson Crusoe tells the story of a young and impulsive Englishman that defies his parents’ wishes and takes to the seas seeking adventure. The young Robinson Crusoe is shipwrecked and castaway on a remote tropical island for 28 years. …….
☞ Learn English Through Story with Subtitles is a free Channel for English learners.
☞ Reading in English is one of the most effective ways to improve language skills. These stories help to extend vocabulary in “the most natural way.” Research has shown that students who read in English improve in every area of language learning at a faster rate than students who don’t read. Not only reading skills but aslo listening skills are improved thanks to the professional native voices.
☞ Thanks for watching!
☞ Please share and like if you enjoyed the video 🙂 thanks so much ♥

Learn English with Audio Story Level 2 ★ Easy English Listening Practice Everyday

Dublin Ireland ไอร์แลนด์ไม่ใช่ไอซ์แลนด์


~~~~~~~~~
Please watch: \”(1) อังวะ เมืองหลวงที่ล่มสลาย​ แห่งพม่า | GoWentGo VLOG | Mandalay EP.2 \”
https://www.youtube.com/watch?v=R0ZjbXsMmKs
~~~~~~~~~

Dublin Ireland   ไอร์แลนด์ไม่ใช่ไอซ์แลนด์

ไอร์แลนด์ (Ireland) | EP.14 | Apollo Overseas Tour


ไอร์แลนด์ หรือ เกาะมรกต
Ireland ท่องเที่ยวในแบบที่แตกต่าง Apollo
แบ่งออกเป็น 2 ประเทศ
คือ ไอร์แลนด์เหนือ เป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษ และ ไอร์แลนด์ใต้ เป็น ประเทศเอกราช
1.เบลฟาสต์ / Belfast เมืองหลวงของประเทศไอร์แลนด์เหนือ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเดินทางได้จากเมืองนี้ เช่น
2.Giant causeway
สถานที่ไฮไลท์หนึ่งของไอร์แลนด์เหนือ
เกิดจากการเย็นตัวของลาวาภูเขาไฟ
ทำให้ลาวาแตกเป็นเสาหินแท่งๆ ลักษณะแปลกตา
3.The Dark Hedges ถนนลึกลับเส้นนี้ถูกถ่ายรูปมากที่สุดแห่งหนึ่งในไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นฉากหนึ่งในหนัง  The Game of Thrones 
4.ภายในเมืองเบลส์ฟาสต์ มีอาคารสำคัญต่างๆ ที่ตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมกันสวยงาม เช่น ศาลาว่าการเมือง / มหาวิทยาลัย / หอนาฬิกาประจำเมือง / กำแพงสันติภาพ ที่มีงานศิลปะแสดงถึงสันติภาพ / พิพิธภัณฑ์เรือไททานิค จัดแสดงเรื่องราวต่างๆของเรือไททานิค
5.กัลเวย์ เมืองอ่าวท่าเรือแสนสวย และเป็นประตูสู่จุดท่องเที่ยวธรรมชาติ
6.Cliff of moher หนึ่งในทิวทัศน์อันสวยงาม ตั้งตระหง่านด้วยความสูง 230 เมตรเหนือมหาสมุทรแอตแลนติก มีแนวผาทอดยาวสุดสายตาเป็นระยะทางราว 8 กิโลเมตร
7.หมู่บ้านอแดร์ ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านที่สวยน่ารักแห่งหนึ่งที่น่าชม
8.ทะเลสาบลีน ซึ่งเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในแถบนี้ โดยมี ปราสาท รอส ปราสาทยุคกลางในศตวรรษที่ 15 ตั้งอยู่ริมทะเลสาบ
9.เมือง คอร์ก เมืองที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของไอร์แลนด์ เมืองนี้เป็นศูนย์รวมของ มหาวิทยาลัยและพิพิธภัณฑ์ ร้านอาหาร และบาร์ชั้นนํา มากมาย ทําให้เป็นเมืองที่มีความคึกคัก
10.ปราสาทบรานีย์
สิ่งที่ดึงดูดใจคือ บลาร์นีย์ สโตน หินในตํานานบนยอดหอคอย ที่มีตํานานเล่าขานกันว่า หากได้จุมพิตผนังหินนี้ จะเป็นผู้ที่เจรจาดี มีแต่ผู้คนยกย่อง
11.เมืองโคฟ เมืองที่มีความสําคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเป็นท่าเรือสุดท้าย ของเรือ Titanic ที่ได้จอดรับจดหมายและพัสดุ รวมไป ถึงผู้โดยสาร ก่อนที่จะชนก้อนนํ้าแข็งและจมลงในวันที่ 14 เมษายน 1912
12. ร็อค ออฟ คาเซล อะโครโปลิสแห่งไอร์แลนด์ ด้วยความโดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรม ถือว่าเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นคุณค่าทางมรดกทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่สุดของชาวไอริชโบราณ
13.เมืองคิลเคนนี ที่ตั้งปราสาทคิลเคนนี ซึ่งเป็นปราสาทแบบนอร์มัน มีป้อมปราการหินที่แข็งแกร่งสวยงาม นอกจากนี้ยังมีน้ำพุ และ สวนสวยขนาดใหญ่ด้านนอกอีกด้วย
14.เมืองดับลิน(Dublin) เมืองหลวงของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ หรือไอร์แลนด์ใต้ เป็นประเทศอิสระ ตั้งอยู่ริม แม่น้ำลิฟฟี่ย์ (Riffey river) ภายในเมือง มีปราสาทดับลินศูนย์กลางการปกครองในอดีต และ ผสมผสานกับอาคารสมัยใหม่ / ย่านถนนแกรฟตอน ซึ่งเป็นย่านแฟชั่นที่รวบรวมร้านค้าต่างๆ

ไอร์แลนด์ (Ireland) | EP.14 | Apollo Overseas Tour

10 ประเทศ “รวย” ที่สุดในโลก


GDP: Gross Domestic Product หรือที่เรียกกันเป็นทางการว่า “ผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ” หมายถึง รายได้ที่เกิดขึ้นจากประชาชนในทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าจ้าง เงินเดือน กำไรจากการขายสินค้า ดอกเบี้ย หรือค่าเช่า เป็นต้น เป็นตัวบ่งบอกฐานะของประเทศต่าง ๆ
ในบางประเทศแม้จะมี GDP สูงแต่ถ้ามีประชากรจำนวนมาก ก็อาจลดทอนความมั่งคั่งร่ำรวยของประเทศนั้น ๆ ลง ในทางเศรษฐศาสตร์ หากต้องการเปรียบเทียบฐานะของประเทศต่าง ๆ ให้เห็นอย่างชัดเจน ก็จะนำจำนวนประชากรมาหาร GDP ออกมาเป็นรายได้รายหัวต่อคนต่อปี
วันนี้ AbdulThaiTube จึงขอนำข้อมูล GDP ต่อประชากรของประเทศต่าง ๆ มานำเสนอ เพื่อจัดอันดับ 10 ประเทศรวยที่สุดในโลก กันครับ
เศรษฐกิจ รวยที่สุดในโลก 10 อันดับ GDP Gross Domestic Product ผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ การเงิน คูเวต แหล่งน้ำมันใต้ทะเลทราย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ UAE ดูไบ นอร์เวย์ บรูไน ดารุสซาราม ไอร์แลนด์ สิงคโปร์ ลักเซมเบิร์ก มาเก๊า กาตาร์
✪ กดติดตามช่อง\r
https://goo.gl/ogRJJL\r
\r
✪ ติดต่อโฆษณา หรือ Sponsor ช่อง ได้ทาง \r
https://www.facebook.com/abdulthaitube\r
\r
✪ จ้างอับดุลย์พากษ์เสียงได้นะครับ\r
https://www.facebook.com/abdulthaitube/posts/1769821226457306

10 ประเทศ “รวย” ที่สุดในโลก

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่MAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ เมืองหลวงไอร์แลนด์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *