Skip to content
Home » [NEW] คำนามเอกพจน์ (Singular Noun) และคำนามพหูพจน์ (Plural Noun) | คํานามหมายถึง – NATAVIGUIDES

[NEW] คำนามเอกพจน์ (Singular Noun) และคำนามพหูพจน์ (Plural Noun) | คํานามหมายถึง – NATAVIGUIDES

คํานามหมายถึง: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

noun1-opt

Table of Contents

PART 1  คำนามเอกพจน์ (Singular Noun) และคำนามพหูพจน์ (Plural Noun)

คำนามเอกพจน์ คือ คำนามที่แสดงถึงสิ่งของเพียงชิ้นเดียว คนๆเดียว หรือสัตว์ตัวเดียว เช่น กระเป๋า 1 ใบ (a bag) ผู้ชาย 1 คน (a man) พูดง่ายๆเลยก็คือ อะไรก็ตามที่มีเพียงหนึ่งหน่วย เราเรียกว่า คำนามเอกพจน์

คำนามพหูพจน์ คือ คำนามที่แสดงถึงสิ่งของที่มีมากกว่า 1 ชิ้น เช่น กระเป๋า 2 ใบ (2 bags) ผู้ชาย 4 คน (4 men) เป็นต้น

อย่างที่เรารู้กันดีว่า ในภาษาอังกฤษเวลาที่เราต้องการเปลี่ยน “คำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์” เพื่อบอกปริมาณสิ่งของที่เพิ่มขึ้นนั้นสามารถทำได้หลายวิธี มาดูกันว่ามีวิธีการใดบ้าง

วิธีการเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์

มีทั้งหมด 7 วิธีด้วยกัน

1. เติม –s ท้ายคำนามได้เลย

ได้ยินกันบ่อยมากกก เรื่องของการ เติม –s  เวลาที่เราต้องการพูดถึงคำนามที่มีมากกว่าหนึ่ง ส่วนมากเราสามารถเติม –s ไปหลังคำนามได้เลย

เช่น ห้างสรรพสินค้า 3 แห่ง จากเดิมที่ใช้ Mall ก็ให้เติม –s ลงไป เป็น Malls แทน

ตัวอย่าง  I heard that Central will renovate three of their shopping malls this year.

           ฉันได้ยินมาว่าเซนทรัลจะทำการปรับปรุงห้างสรรพสินค้า 3 แห่งในปีนี้ล่ะ

2. หากคำนามลงท้ายด้วย ch, s,  ss, sh, x,  และ z  ต้องเติม -es ท้ายคำนั้นๆ

Singular

Plural

คำแปล

bush (บุช)

bushes (บุช-เชส)

พุ่มไม้

bus (บัส)

buses (บัส-เซส)

รถเมล์

dress (เดรส)

dresses (เดรส-เซส)

ชุดกระโปรง

church (เชิร์ช)

churches (เชอร์-เชส)

โบสถ์

 

NOUN-S-ES1-opt

ฝึกออกเสียง -s และ-es คลิ๊กเลย !

3.   คำนามที่ลงท้ายด้วย O แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ เติม –s หรือ เติม –es

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า คำไหนเติม –s คำไหนเติม –es ? คำตอบคือ ต้องจำและใช้บ่อยๆค่ะ

– ส่วนมากแล้วคำนามที่ลงท้ายด้วย –o มักจะเติม –s ได้เลย

เช่น          Studio (สตูดิโอ)    เปลี่ยนเป็น     studios (สตูดิโอส)

    Zoo (ซู)                 เปลี่ยนเป็น     zoos (ซูส)

– บางคำที่ลงท้ายด้วย –o จะต้องเติม –es เช่น

Singular

Plural

คำแปล

buffalo (บัฟ-ฟา-โลว์)

buffaloes (บัฟ-ฟา-โลว์ส)

ควาย

domino (ดอ-มิ-โนว์)

dominoes (ดอ-มิ-โนว์ส)

โดมิโน่

hero (ฮี-โรว์)

heroes (ฮี-โรว์ส)

ฮีโร่

echo (เอ็ค-โคว์)

echoes (เอ็ค-โคว์ส)

เสียงก้อง

mosquito (มอส-กี-โทว์)

mosquitoes (มอส-กี-โทว์ส)

ยุง

potato (เพอะ-เท-โทว์)

potatoes (เพอะ-เท-โทว์ส)

มันฝรั่ง

tomato (โท-เม-โทว์)

tomatoes (โท-เม-โทว์ส)

มะเขือเทศ

** รู้หรือไม่ บางคำที่ลงท้ายด้วย –o สามารถเติมได้ทั้ง –s และ –es เช่น

Singular

Plural

คำแปล

cargo (คาร์-โกว์)

cargos        หรือ  cargoes  (คาร์-โกว์ส)

คลังสินค้า

flamingo (ฟละ-มิง-โกว์)

flamingos   หรือ  flamingoes  (ฟละ-มิง-โกว์ส)

นกฟลามิงโก้

halo (เฮย์-โลว์)

halos           หรือ  haloes  (เฮย์-โลว์ส)

รัศมี

mango (แมง-โกว์)

mangos       หรือ  mangoes  (แมง-โกว์ส)

มะม่วง

motto (ม็อท-โทว์)

mottos         หรือ  mottoes  (ม็อท-โทว์ส)

คติ

tornado (ทอร์-เน-โดว์)

tornados      หรือ  tornadoes  (ทอร์-เน-โดว์ส)

ทอร์นาโด

volcano (โฟล-เค-โนว์)

volcanos      หรือ  volcanoes  (โฟล-เค-โนว์ส)

ภูเขาไฟ

4.  คำนามที่ลงท้ายด้วย –y แบ่งเป็น 2 ประเภท คือเติม-s หรือเติม –es

แล้วจะรู้ได้ไงว่าเติม –s หรือ –es มีวิธีแยกดังต่อไปนี้

  • ถ้าหน้า –y เป็นสระ –a, -e, -i, -o, -u คำนามตัวนั้นจะต้องเติม –s ค่ะ เช่น

Singular

Plural

คำแปล

monkey (มัง-คิ)

monkeys (มัง-คิส์)

ลิง

birthday (เบิร์ธ-เดย์)

birthdays (เบิร์ธ-เดย์ส)

วันเกิด

key (คีย์)

keys (คีย์ส)

กุญแจ

way (เวย์)

ways (เวย์ส)

เส้นทาง 

chimney (ชิม-นีย์)

chimneys (ชิม-นีย์ส)

ปล่องไฟ 

 

สระในภาษาอังกฤษมีอยู่ 5 ตัว คือ a, e, i, o, u

  • ถ้าหน้า –y เป็นพยัญชนะ เราต้องตัด y เป็น i แล้วเติม –es ค่ะ เช่น

Singular

Plural

คำแปล

enemy (เอเน-มิ่)

enemies (เอเนมิ่ส์)

ศัตรู

berry (เบร์-ริ่)

berries (เบร์ริ่ส์)

ลูกเบอร์รี่ 

duty (ดิว-ทิ่)

duties (ดิว-ทิ่ส์)

หน้าที่ 

spy (สปาย)

spies (สปายส์)

สายลับ 

library (ไล-แบร-ริ่)

libraries (ไล-แบร-ริ่ส์)

ห้องสมุด 

 

5. คำนามที่ลงท้ายด้วย –f หรือ –fe ให้เปลี่ยนตัว –f หรือ –fe เป็น –v แล้วเติม –es เช่น

Singular

Plural

คำแปล

 life (ไลฟ)

lives (ลายฟส์)

ชีวิต

 shelf (เชลฟ์)

shelves (เชลฟส์)

ชั้นวางของ 

 loaf (โลฟ)

loaves (โลฟส์)

ก้อนขนมปัง 

 thief (ธีฟ)

thieves (ธีฟส์)

โจร 

 wife (ไวฟ)

wives (ไวฟส์)

ภรรยา 

6. คำนามบางคำ เวลาทำให้เป็นพหูพจน์ เราต้องเปลี่ยนรูปคำนั้นทันที 

อันนี้เรามักจะพบเห็นกันอยู่บ่อยๆค่ะ เช่น

Singular

Plural

คำแปล

child (ชายลด์)
children (ชิล-เดริน)
เด็ก

tooth (ทูธ)
teeth (ทีธ)
ฟัน

foot (ฟุท)
feet (ฟีท)
เท้า

mouse (เมาส์)
mice (ไมส์)
หนู

man (แมน)
men (เม็น)
ผู้ชาย

 

7. คำนามบางคำ สามารถใช้รูปเดิมได้ทั้งเวลาเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ 

อันนี้ง่ายเลยค่ะ ไม่ต้องเปลี่ยนรูป หรือเติมอะไรเลย สบ๊าย สบาย ส่วนมากก็จะเป็นคำที่เกี่ยวกับสัตว์ทั้งนั้น มาดูกันว่ามีคำไหนบ้าง  เช่น

fish  ฟิช   (ปลา)
deer  เดียร์   (กวาง)
sheep   ชีพ   (แกะ)

8. คำนามบางคำเป็นพหูพจน์อยู่เสมอ

ง่ายๆคือต้องมี –s หรือ –es ต่อท้ายตลอด ไม่มีไม่ได้  เช่น

scissors ซิส-เซอร์ส  (กรรไกร)
pants แพ้นท์ส   (กางเกง)
clothes โคลธส์   (เสื้อผ้า)
jeans จีนส์   (กางเกงยีนส์)
glasses แกลส-เซส   (แว่นตา)
noodles นู-เดิลส์   (บะหมี่)
goods กู้ดส์   (สินค้า) 

 

พอเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนคำนามเอกพจน์เป็นพหูพจน์แล้วใช่มั้ยคะ? ลองมาฝึกทำแบบฝึกหัด และฝึกออกเสียงได้เลย

ทำแบบฝึกหัดคำนามเอกพจน์และคำนามพหูพจน์ คลิ๊ก (กำลังอัพเดท)

ฝึกอ่านออกเสียง -s และ -es  คลิ๊ก (กำลังอัพเดท)

Part 2  คำนามนับได้ (Countable Noun) และคำนามนับไม่ได้ (Uncountable Noun) คลิ๊ก

Part 3  คำนามทั่วไป (Common Noun)  แบะคำนามเฉพาะ (Proper Noun)  คลิ๊ก

Part 4  คำนามที่ใช้บอกอาการ (Abstract Noun) คลิ๊ก

[NEW] คำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้ ฉบับเข้าใจง่าย | คํานามหมายถึง – NATAVIGUIDES

แกรมม่าภาษาอังกฤษเรื่องคำนามนับได้ (countable noun) และคำนามนับไม่ได้ (uncountable noun) เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทุกคนควรรู้ เพราะเป็นสิ่งที่ใช้บ่อย และจำเป็นสำหรับการเรียนแกรมม่าในหัวข้ออื่นๆอีกหลายหัวข้อ

สำหรับใครที่ยังไม่รู้ หรือยังสับสนเกี่ยวกับเรื่องคำนามนับได้และนับไม่ได้ ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะในบทความนี้ ชิววี่ก็ได้เรียบเรียงเนื้อหามาให้เรียนรู้กันได้อย่างง่ายๆแล้ว ทั้งนิยามของคำนามนับได้และนับไม่ได้ ตัวอย่าง การใช้ร่วมกับ determiners และเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย

คำนามนับได้คืออะไร

คำนามนับได้ (countable noun) คือคำนามที่นับจำนวนเป็นชิ้นเป็นอันได้ อย่างเช่น

Apple – แอปเปิล (นับได้ว่ามีกี่ลูก)
Book – หนังสือ (นับได้ว่ามีกี่เล่ม)
Sister – พี่สาว/น้องสาว (นับได้ว่ามีกี่คน)

สำหรับคำนามนับได้ เราสามารถใส่จำนวนตัวเลขบอกปริมาณเข้าไปตรงๆได้เลย และคำนามชนิดนี้จะมีรูปพหูพจน์ อย่างเช่น

Three apples – แอปเปิล 3 ลูก
A book – หนังสือ 1 เล่ม
Two sisters – พี่สาว/น้องสาว 2 คน

(รูปพหูพจน์คือคำนามที่ถูกเติม s หรือ es ต่อท้าย เป็นตัวบ่งชี้ว่าคำนามนั้นมีจำนวนมากกว่าหนึ่งหน่วย เช่น bananas, pens, buffaloes แต่คำนามที่เป็นรูปพหูพจน์บางคำก็ไม่ได้ลงท้ายด้วย s หรือ es เช่นคำว่า children ซึ่งแปลว่าเด็กหลายคน)

คำนามนับไม่ได้คืออะไร

คำนามนับไม่ได้ (uncountable noun) คือคำนามที่ตามธรรมชาติแล้วนับจำนวนเป็นชิ้นเป็นอันได้ยาก เรามักจะมองเป็นภาพรวมหรือเป็นกลุ่มก้อนมากกว่า อย่างเช่น

Water – น้ำ (เราจะไม่มานั่งนับน้ำว่ามีกี่หยด)
Sand – ทราย (เราจะไม่มานั่งนับทรายว่ามีกี่เม็ด)
Fun – ความสนุก (เรานับความสนุกเป็นอันๆไม่ได้)

สำหรับคำนามนับไม่ได้ เราจะไม่สามารถใส่จำนวนตัวเลขบอกปริมาณเข้าไปตรงๆได้ และคำนามชนิดนี้จะไม่มีรูปพหูพจน์ ถ้าจะบอกปริมาณ เราต้องใช้หน่วยเฉพาะเข้ามากำกับ โดยใช้โครงสร้าง “ปริมาณ + หน่วย + of + คำนามนับไม่ได้” อย่างเช่น

Three waters -> Three glasses of water – น้ำ 3 แก้ว
A sand -> A bucket of sand – ทราย 1 ถัง
Two funs -> ความสนุกเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม ไม่มีหน่วยเฉพาะที่สามารถบอกปริมาณได้

ทั้งนี้ หลายคนอาจสงสัยว่าคำนามบางตัว อย่างน้ำ (water) และเงิน (money) เราสามารถบอกปริมาณได้โดยใช้หน่วยวัด เช่น น้ำกี่ลิตร เงินกี่บาท แล้วทำไมถึงยังจัดเป็นคำนามนับไม่ได้

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะคำนามนับได้นั้นจะต้องเป็นสิ่งที่นับได้ง่ายโดยธรรมชาติ ไม่ใช่นับได้ด้วยหน่วยวัดที่ประดิษฐ์ขึ้น

คำนามที่ทั้งนับได้และไม่ได้

หลายๆครั้ง เส้นแบ่งระหว่างคำนามนับได้และนับไม่ได้ก็สามารถยืดหยุ่นพลิกแพลงได้ ไม่ได้ถือเป็นสิ่งตายตัวซะทีเดียว คำๆหนึ่งอาจเป็นได้ทั้งคำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้ หรืออาจใช้งานเหมือนคำนามอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งได้แก่กรณีต่อไปนี้

คำเดียวกัน แต่คนละความหมาย

คำบางคำมีหลายความหมาย ซึ่งความหมายหนึ่งอาจเป็นคำนามนับได้ ในขณะที่ความหมายอื่นกลับเป็นคำนามนับไม่ได้ อย่างเช่น

คำว่า glass

  • ความหมายแรกแปลว่า “แก้วน้ำ” ถือเป็นคำนามนับได้ (นับได้ว่ามีกี่ใบ)
  • อีกความหมายแปลว่า “กระจก” ถือเป็นคำนามนับไม่ได้ (คำว่ากระจกถือเป็นคำที่กว้าง มีชนิด ขนาด และรูปทรงหลากหลาย ไม่มีหน่วยตามธรรมชาติที่ชัดเจน เช่นคำว่ากระจกอาจหมายถึง กระจกหน้าต่าง กระจกมือถือ กระจกที่เป็นส่วนผสมในวัสดุอื่น)

คำว่า paper

  • ความหมายแรกแปลว่า “หนังสือพิมพ์” เป็นคำสั้นๆที่ใช้แทนคำว่า newspaper ถือเป็นคำนามนับได้ (นับได้ว่ามีกี่ฉบับ)
  • อีกความหมายแปลว่า “กระดาษ” ถือเป็นคำนามนับไม่ได้ (คำว่ากระดาษถือเป็นคำที่กว้าง มีชนิด ขนาด และรูปทรงหลากหลาย ไม่มีหน่วยตามธรรมชาติที่ชัดเจน เช่นคำว่ากระดาษอาจหมายถึง กระดาษ A4 กระดาษลัง กระดาษห่อของขวัญ)

คำเดียวกัน ความหมายเดียวกัน แต่สื่อคนละแบบ

บางคำจะเป็นได้ทั้งคำนามนับได้และนับไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้คำนั้นสื่อความหมายแบบไหน (โดยรวมหรือหลายชนิด, ทั่วไปหรือชี้เฉพาะ) อย่างเช่น

คำว่า food ซึ่งแปลว่า “อาหาร” ถ้าใช้ในความหมายทั่วไป จะถือเป็นคำนามนับไม่ได้ แต่จะถือเป็นคำนามนับได้ ถ้าเราหมายถึงชนิดอาหารหลายๆชนิด

Japanese food and Thai food are examples of Asian foods.
อาหารญี่ปุ่นและอาหารไทยเป็นตัวอย่างของอาหารเอเชีย
(เราใช้ Japanese food กับ Thai food เพื่อสื่อถึงอาหารญี่ปุ่นและอาหารไทยโดยรวม เลยถือเป็นคำนามนับไม่ได้ แต่ Asian foods ในที่นี้กล่าวรวมอาหารเอเชียหลายชนิดหลายเชื้อชาติ เลยถือเป็นคำนามนับได้)

คำว่า time ซึ่งแปลว่า “เวลา” ถ้าใช้ในความหมายทั่วไป จะถือเป็นคำนามนับไม่ได้

Time is the most precious resource.
เวลาเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด
(พูดถึงเวลาโดยทั่วไป)

แต่จะถือเป็นคำนามนับได้ ถ้าเราหมายถึงช่วงเวลาเฉพาะ

I had a good time in London.
ฉันมีช่วงเวลาที่ดีตอนที่อยู่ที่ลอนดอน
(พูดถึงช่วงเวลาตอนที่อยู่ในลอนดอน)

การใช้คำนามนับไม่ได้เหมือนคำนามนับได้

อย่างที่ได้อธิบายไป ถ้าเราจะบอกจำนวนของคำนามนับไม่ได้ เราจะต้องใช้โครงสร้าง “ปริมาณ + หน่วย + of + คำนามนับไม่ได้” อย่างเช่น two cups of coffee ซึ่งแปลว่า กาแฟ 2 ถ้วย

แต่ในภาษาพูดหรือภาษาที่ไม่เป็นทางการ บางทีเราจะใช้คำนามนับไม่ได้เหมือนคำนามนับได้ อย่างเช่น

Can I have two coffees?
ฉันขอกาแฟสองถ้วยได้มั้ย
(Two coffees ในที่นี้จะหมายถึง two cups of coffee ซึ่งก็คือการพูดแบบย่อนั่นเอง)

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคำนามไหนนับได้หรือนับไม่ได้

วิธีที่ดีที่สุดที่เราจะรู้ได้ว่าคำนามภาษาอังกฤษคำไหนเป็นคำนามนับได้หรือนับไม่ได้ ก็คือการเปิดพจนานุกรม แต่ไม่ใช่ว่าพจนานุกรมทุกเล่มจะมีข้อมูลเหล่านี้เหมือนกันหมด

ตัวอย่างพจนานุกรมภาษาอังกฤษออนไลน์ที่มีข้อมูลคำนามนับได้และนับไม่ได้ก็อย่างเช่น

วีธีดูเราจะต้องดูความหมายให้ตรงกับสิ่งที่เราต้องการจะใช้ด้วย เพราะคำภาษาอังกฤษบางคำก็มีทั้งความหมายที่เป็นคำนามนับได้ และความหมายที่เป็นคำนามนับไม่ได้

ที่แนะนำให้ใช้พจนานุกรมก็เพราะว่าการจัดประเภทคำนามนับได้และนับไม่ได้ หลายๆครั้งก็ขัดกับความรู้สึกของเรา ถ้าเราเดาโดยใช้หลักการกว้างๆ เราก็อาจจะเดาและจำไปใช้ต่อแบบผิดๆ การเปิดพจนานุกรมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำจะถือเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

การใช้ determiners กับคำนามแต่ละชนิด

Determiners คือคำนำหน้าคำนาม ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำนาม เช่น บอกปริมาณ ตัวอย่างคำที่เป็น determiners ก็อย่างเช่น a, an, the, many, much, some, any

การที่คำนามเป็นคำนามนับได้หรือนับไม่ได้จะมีผลต่อการเลือกใช้ determiners เพราะ determiners บางตัวก็สามารถใช้ได้กับคำนามนับได้หรือคำนามนับไม่ได้เท่านั้น

ตัวอย่าง determiners ที่ใช้ได้เฉพาะกับคำนามนับได้ ก็อย่างเช่น a, an, many, a few, ตัวเลข (one, two, three, …)

ตัวอย่าง determiners ที่ใช้ได้เฉพาะกับคำนามนับไม่ได้ ก็อย่างเช่น much, a little

สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เรื่อง determiners เพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ Determiners คืออะไร มีการใช้อย่างไร

เป็นยังไงบ้างครับกับคำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้ในภาษาอังกฤษ ทีนี้เพื่อนๆก็คงจะเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้ถูกต้องมากขึ้นแล้วนะครับ

อย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฝึก ก็ยิ่งเก่ง สำหรับบทความนี้ ชิววี่ต้องขอตัวลาไปก่อน See you next time


Thảm cảnh NHÃN TIỀN – KHÔNG VIỆT KIỀU \u0026 KHÔNG DU KHÁCH .te tua du lịch \u0026 \”EM ÚT\” ĐẤT VÀNG QUẬN 1


Cuộc sống sài gòn
ỦNG HỘ KÊNH XIN CÁC BẠN NHẤN ĐĂNG KÝ (MIỄN PHÍ) ĐỂ THEO DÕI.
Please SUBSCRIBE to my channel:
https://goo.gl/sCe18n
cuocsongsaigon saigon vietkieu
tình hình kinh doanh những ngày cuối năm và sau chuỗi ngày vắng khách du lịch và kiều bào việt kiều về chơi quê hương, hàng loạt nhà trống không ai thuê thậm chí treo bảng bán nhà tại khu đất vàng quận 1

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

Thảm cảnh NHÃN TIỀN - KHÔNG VIỆT KIỀU \u0026 KHÔNG DU KHÁCH .te tua du lịch \u0026 \

บทที่1 คำนามคืออะไร


ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความหมายของคำนาม ทบทวนโครงสร้างของประโยค ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหน้าที่ของคำนาม

บทที่1 คำนามคืออะไร

วิชาภาษาไทย | คำนามมีกี่ชนิดอะไรบ้าง


คำนาม ชนิดของคำนาม วิชาภาษาไทย
คำนามหมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ พืช สิ่งของ สถานที่ สภาพ อาการ ลักษณะ ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม
คำนามแบ่งได้ 5 ชนิด คือ
1. คำนามสามัญ หรือ สามานยนาม คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อทั่ว ๆ ไปของคน สัตว์ สิ่งของ เช่น นักเรียน ปลา ยางลบ ดินสอ ฯลฯ
2. วิสามานยนาม คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อเฉพาะของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เช่น พระอภัยมณี สุนทรภู่ โรงเรียนคลองกิ่วยิ่งวิทยา ฯลฯ
3. สมุหนาม คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อหมู่ กอง หรือคำนามที่อยู่รวมกันเป็นหมู่ เช่น กองทหาร ฝูงกวาง คณะนักเรียน พรรคการเมือง ฯลฯ
4. อาการนาม คือ คำนามที่เกิดจาก “การ” หรือ“ความ” นำหน้าคำวิเศษณ์ เช่น การกิน การเล่น การเรียน ความรัก ความดี ความคิด ฯลฯ
5. ลักษณะนาม คือ คำนามที่แสดงลักษณะของนาม เช่น ไข่เป็นฟอง น้ำเป็นแก้ว ปลาตะเพียนเป็นตัว นักเรียนเป็นคณะ ฯลฯ

ถ้าชอบคลิปลองโหลดมาทดลองเรียนกันได้เลย แต่ถ้าอยากดูทุกคลิปกดสมัครได้เลยราคาไม่แพง แถมมีชีทสรุปกับแบบฝึกหัดครบ 7 วิชาด้วยนะ
📲ดาวน์โหลด : https://bit.ly/YTdownloadstartdee

วิชาภาษาไทย | คำนามมีกี่ชนิดอะไรบ้าง

คำกริยา – สื่อการเรียนการสอน ภาษาไทย ป.3


ครูโอ๋ สื่อการเรียนการสอน
webpage : http://www.kruao.com
fanpage : https://goo.gl/O22C3X
google+ : https://goo.gl/OBu7ia
youtube : https://goo.gl/bZlYwE
วีดีโอนี้จะสอนเกี่ยวกับ
มาเรียนรู้ ความหมาย และการใช้ คำกริยา
ตัวอย่างคำศํพท์ และประโยค ของ คำกริยา
บทเรียนอิเล็กทรอกนิกส์ วิชา ภาษาไทย ป.3 ชุดนี้
เป็นสื่อการเรียนการสอนที่นำมาจาก
โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย
(OTPC : One Tablet Per Child)
จัดทำโดยสำนักงานเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์
http://www.otpchelp.com

คำกริยา - สื่อการเรียนการสอน ภาษาไทย ป.3

คำสรรพนาม – สื่อการเรียนการสอน ภาษาไทย ป.3


ครูโอ๋ สื่อการเรียนการสอน
webpage : http://www.kruao.com
fanpage : https://goo.gl/O22C3X
google+ : https://goo.gl/OBu7ia
youtube : https://goo.gl/bZlYwE
วีดีโอนี้จะสอนเกี่ยวกับ
มาเรียนรู้ว่า คำสรรพนาม คืออะไร หมายความว่าอะไร
ตัวอย่างคำศัพท์ และตัวอย่างประโยค ที่ใช้ คำสรรพนาม
คำที่ใช้แทนผู้พูด
บทเรียนอิเล็กทรอกนิกส์ วิชา ภาษาไทย ป.3 ชุดนี้
เป็นสื่อการเรียนการสอนที่นำมาจาก
โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย
(OTPC : One Tablet Per Child)
จัดทำโดยสำนักงานเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์
http://www.otpchelp.com

คำสรรพนาม - สื่อการเรียนการสอน ภาษาไทย ป.3

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆMAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ คํานามหมายถึง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *