Skip to content
Home » [NEW] การใช้ประโยคอธิบายเหตุการณ์ในอดีต (Past simple tense) | แต่งประโยคบอกเล่า – NATAVIGUIDES

[NEW] การใช้ประโยคอธิบายเหตุการณ์ในอดีต (Past simple tense) | แต่งประโยคบอกเล่า – NATAVIGUIDES

แต่งประโยคบอกเล่า: คุณกำลังดูกระทู้

Table of Contents

เนื้อหาเรื่อง การใช้ประโยคอธิบายเหตุการณ์ในอดีต 

(Past simple tense)

Past Simple Tense คือประโยคที่ใช้อธิบายเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้ว และจบลงแล้ว   ขอให้สังเกตความแตกต่างระหว่างประโยคที่ที่ใช้อธิบายเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปัจจุบันกับประโยคที่ใช้อธิบายเรื่องราวที่เกิดขึ้นและจบลงแล้ว ในอดีต

 ประโยค present tense : I get up at 6.30 am. everyday.

(ฉันตื่นนอนเวลาหกโมงครึ่งทุกวัน)

ประโยค past tense : I got up at 8.00 am. yesterday.

(เมื่อวานนี้ ฉันตื่นนอนแปดโมงเช้า)

จากประโยคสองประโยคข้างบน จะเห็นว่า มีความแตกต่างกันสองส่วนคือ

 ประโยค

Present tense

Past tense

คำกริยา

get

got

คำที่บอกเวลา

everyday

yesterday

โครงสร้าง  S + V2 +ส่วนขยาย

I

went out  last night.

We

cooked yesterday.

He/she it

moved out two weeks ago

You

worked late last week.

They

left the day before yesterday.

 

 คำหรือวลีที่ใช้ใน past tense

คำบอกเวลา เช่น

            yesterday (เมื่อวานนี้) the day before yesterday    (เมื่อวานซืนนี้)

last week  (หรือคำอื่นๆที่ ใช้ last นำหน้า  เช่น last year,  last month, etc.)

four weeks ago (หรือคำอื่นๆที่ ใช้ ago ลงท้าย  เช่น ten years ago, two
hours ago, etc.)

คำเหล่านี้มักจะวางไว้ท้ายประโยค  หรืออาจ วางไว้หน้าประโยคก็ได้    เช่น

            I washed my car  two weeks ago.หรือ Two weeks ago,I washed my car .

(ฉันล้างรถเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว)

            She went to Korea last month.   หรือ  Last month, She went to Korea.

(หล่อนไปเกาหลีเมื่อเดือนที่แล้ว)

หลักการใช้
          1. ใช้อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต และสิ้นสุดแล้ว มี  คำหรือวลีที่
บอกเวลาในอดีตกำกับด้วย เช่น
I saw you yesterday. (ฉันเห็นคุณเมื่อวานนี้)                                      ประธาน    –   I         กริยา – saw            คำหรือวลีที่ บอกเวลา   – yesterday.

He worked in Paris last year. (เขาทำงานที่ปารีสเมื่อปีที่แล้ว)  ประธาน    –  He         กริยา – worked     คำหรือวลีที่ บอกเวลา   – last year
2. ใช้อธิบายเหตุการณ์หนึ่งซึ่งกระทำเป็นประจำในอดีต แต่บัดนี้ไม่ได้ทำอีก เช่น
                When I was young, I walked to school everyday.
               (เมื่อฉันยังยังเด็ก ฉันเดินไปโรงเรียนทุกวัน) ปัจจุบันนี้เขาไม่ได้เดินไปโรงเรียนแล้ว    When I  was young –  เป็นข้อความที่บอกเวลาในอดีต   ข้อความนี้เรียกว่า dependent clause ซึ่งเป็นประโยคที่ไม่สมบูรณ์ในตัวเองต้องพึ่งพาประโยคอื่น จึงจะมีความหมายสมบูรณ์  ไม่สามารถใช้เพียงลำพังได้  คำกริยาที่ใช้ในข้อความนี้ ต้องอยู่ในรูปของ อดีต (“was” เป็น รูป อดีต ของ “is”)  ส่วน ประโยคหลัก     “I walked to school everyday”  –  I   ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค     walked to  (เดินไปยัง) เป็นกริยาที่บอกการกระทำในอดีต    school (โรงเรียน) ทำหน้าที่เป็นกรรม     everyday (ทุกวันในอดีต)   ทราบจากข้อความที่บอกว่า  When I was young.
การกระทำที่เกิดขึ้นในอดีต คือในเวลาที่ล่วงเลยมาแล้ว โดยปกติเราจะพบ Adverbs of Time ที่บอกเวลาอดีตกำกับไว้เสมอ เช่น
  yesterday  (เมื่อวานนี้)      this morning  (เมื่อเช้านี้)     the day before yesterday (เมื่อวานซืนนี้)

คำที่ขึ้นต้นด้วย “last”   เช่น  last night ( เมื่อคืนที่แล้ว)    last week   (สัปดาห์ที่แล้ว)    last month  (เดือนที่แล้ว)  last Saturday  (วันเสาร์ที่แล้ว)           last January  (เดือนมกราคมที่แล้ว)
                        คำที่ลงท้ายด้วย “ago”  เช่น  a month ago (เมื่อเดือนที่ผ่านมาแล้ว)                  two years ago  (สองเดือนที่ผ่านมาแล้ว)          five hours ago  (ห้าชั่วโมงที่ผ่านมาแล้ว)            six weeks ago (หกสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว)    a moment ago   (เมื่อสักครู่นี้)  เวลาซึ่งเป็นปี ค.ศ. ในอดีต    ขึ้นต้นด้วย  “in”   เช่น    in 1999                                 

รูปประโยคบอกเล่า  (Affirmative Sentence)
ประธาน + กริยาช่องที่ 2 (โดยการเปลี่ยนรูป หรือ เติม ed)

Present Simple
Past Simple

He plays football every day
He played football yesterday.

walk to work every day.
walked to work ten years ago.

She washes her clothes herself every day.
She washed her clothes herself last year.

หลักการเติม ed ที่คำกริยา

1. กริยาที่ลงท้ายด้วย e ให้เติม d ได้เลย เช่น

love – loved = รัก                   move – moved= เคลื่อน

hope – hoped = หวัง

2. กริยาที่ลงท้าย ด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น I แล้วเติม ed เช่น

cry – cried = ร้องไห้             try – tried = พยายาม

marry – married = แต่งงาน

ข้อยกเว้น ถ้าหน้า y เป็นสระ ให้เติม ed ได้เลย เช่น

play – played = เล่น            stay – stayed = พัก , อาศัย

enjoy – enjoyed = สนุก        obey – obeyed = เชื่อฟัง

3. กริยาที่มีพยางค์เดียว มีสระตัวเดียว และลงท้ายด้วยพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดตัวเดียวให้เพิ่มพยัญชนะที่ลงท้ายอีก 1 ตัว แล้วเติม ed เช่น

plan – planned = วางแผน     stop – stopped = หยุด

beg – begged = ขอร้อง

4. กริยาที่มี 2 พยางค์ แต่ลงเสียงหนักพยางค์หลัง และพยางค์หลังนั้น มีสระตัวเดียว และลงท้ายด้วยพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดตัวเดียว ให้เพิ่มพยัญชนะที่ลงท้ายอีก 1 ตัว แล้วเติม ed เช่น

concur – concurred = ตกลง, เห็นด้วย          occur – occurred = เกิดขึ้น

refer – referred = อ้างถึง                           permit – permitted = อนุญาต

 ถ้าออกเสียงหนักที่พยางค์แรก ไม่ต้องเติมพยัญชนะตัวสุดท้ายเข้ามา เช่น

cover – covered = ปกคลุม                        open – opened = เปิด

5. นอกจากกฏที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อต้องการให้เป็นช่อง 2 ให้เติม ed ได้เลย เช่น

walk – walked = เดิน                              start – started = เริ่ม

worked – worked = ทำงาน

ประโยคคำถาม (Interrogative)   

            1. ประโยคที่มีกริยา verb to be ( was, were )    เมื่อต้องการเปลี่ยนประโยคประเภทนี้ให้เป็น คำถาม ให้ย้าย verb to beมาวางไว้หน้า  แล้วใส่เครื่องหมาย “?” ท้ายประโยค  เช่น

ประโยคบอกเล่า

ประโยคคำถาม

He was  at school yesterday.
Was he at school yesterday?

They were at home   yesterday.
Were they were at home   yesterday ?

2. ประโยคประเภทอื่นๆที่ไม่อยู่ในกฎข้อ 1  เมื่อต้องการทำเป็น past tense ให้ใช้กริยา “Did” มาช่วย  และเมื่อใช้กริยา “Did” มาช่วยแล้ว  กริยาเดิมในประโยคคำถามต้องเปลี่ยนรูปให้เป็นกริยาช่องที่ 1 ด้วย
                          Did + ประธาน + กริยารูปเดิม+ ส่วนขยาย

ประโยคบอกเล่า

ประโยคคำถาม

He walked to work yesterday.
Did he walk to work yesterday?

They worked late last night.
Did they work late last night?

Rob did the exercise last week.
Did Rob do the exercise last week?

สำหรับตัวอย่างในประโยคสุดท้าย คำกริยา “ did ” เป็นกิริยาช่วย ในการเปลี่ยนประโยคให้เป็น past tense นั้น ไม่มีคำแปล  แต่ “ did ” ซึ่ง เป็นกริยาแท้ในประโยคบอกเล่า มีความหมายว่า  “ ทำ ” เมื่อใช้ “ did ” มาช่วยแล้ว ” “ did ” ซึ่ง เป็นกริยาแท้ต้องเปลี่ยนกลับไปเป็น “ do”

 ประโยคปฏิเสธ (Negative)   

สำหรับประโยคแบบที่ 1  ให้เติม  “not” หลังกริยาได้เลย  เช่น

ประโยคบอกเล่า

ประโยคปฏิเสธ

He was at work yesterday.
He was not at work yesterday.

They were at the party last night.
They were not at the party last night.

ในประโยคปฏิเสธ, was not  หรือ were not สามารถเขียนแบบย่อได้
            was not   เขียนย่อได้ เป็น   wasn’t          were not  เขียนย่อได้ เป็น  weren’t           

ส่วนประโยคแบบที่ 2 ให้ใช้กริยา “ did ” เข้ามาช่วย แล้วเติม “not” ท้ายคำว่า  “ did ” (หรือใช้รูปย่อ : didn’t  ก็ได้)
ประธาน + didn’t + กริยารูปเดิม+ ส่วนขยาย

ประโยคบอกเล่า

ประโยคปฏิเสธ

ประโยคคำถาม

He walked to work yesterday.
He didn’t walk to work yesterday.
Did he walk to work yesterday?

They worked late last night.
They didn’t work late last night.
Did they work late last night?

  

[NEW] Grammar: หลักการใช้ Present Simple Tense : เรื่องจริงในชีวิตประจำวัน | แต่งประโยคบอกเล่า – NATAVIGUIDES

การศึกษาเรื่องโครงสร้างประโยคของ Tense ต่าง ๆ ทำให้สามารถเข้าใจได้อย่างชัดเจนว่าเหตุการณ์ที่กำลังกล่าวถึงอยู่นั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด ซึ่งช่วยป้องกันการสื่อสารที่ผิดพลาด วันนี้เราจะเริ่มเรียน Tense พื้นฐานอย่าง Present Simple Tense กันก่อน ไปลุยกันเลย!

ลักษณะการใช้ Present Simple Tense

Present แปลว่า ปัจจุบัน ดังนั้น Present Simple Tense จึงเป็นประโยคที่มีโครงสร้างแบบง่าย ๆ เพื่อใช้พูดถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันนั่นเอง โดยมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1. ใช้เพื่อพูดถึงความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน หรือความเป็นจริงตามธรรมชาติ ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะเป็นอดีตหรืออนาคตก็ตาม เช่น

    When the earth moves around itself, it makes Day and Night.
    (เมื่อโลกหมุนรอบตัวเอง มันทำให้เกิดกลางวันกลางคืน)

    Durian is the king of fruit.
    (ทุเรียนเป็นราชาผลไม้)

2. ใช้เพื่อพูดถึงเหตุการณ์ นิสัย หรือการกระทำที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เป็นประจำทุกวัน เช่น

    I walk to school every day.
    (ฉันเดินไปโรงเรียนทุกวัน)

    Nuda always help other people so everyone loves her.
    (นุดาช่วยเหลือคนอื่นเป็นประจำ ดังนั้นทุกคนจึงรักหล่อน)

3. ใช้เพื่อให้คำแนะนำหรือการบอกทิศทาง เช่น

    Turn off the television before going to bed.
    (ปิดโทรทัศน์ก่อนเข้านอน)

    You go straight for 300 meters, then the destination is on your left.
    (คุณเดินตรงไป 300 เมตรและจุดหมายปลายทางจะอยู่ทางซ้ายมือของคุณ)

รูปประโยคของ Present Simple Tense

ดังที่ได้กล่าวข้างต้นว่า Present Simple Tense คือประโยคที่บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ เช่น ฉันว่ายน้ำทุก ๆ วัน โดยรูปประโยคของ Present Simple Tense มีรูปแบบดังต่อไปนี้

1. ประโยคบอกเล่า

โครงสร้างของประโยคบอกเล่า :  Subject + Verb.1 + Object + (คำบอกเวลา)
ทั้งนี้คำกริยาช่องที่ 1 นั้นจะมีการเติม s หรือ es ถ้าหากประธานของประโยคเป็นเอกพจน์ (He, She, It) แต่ถ้าประธานเป็น I, You หรือประธานพหูพจน์ (You (หลายคน), We, They) ให้คงรูปคำกริยานั้น ๆ ไว้เช่นเดิม เช่น

I go to university by bus every morning.
(ฉันไปมหาวิทยาลัยโดยรถโดยสารประจำทางทุกเช้า)
**ประโยคนี้ประธานคือ I แม้จะเป็นเอกพจน์แต่เป็นข้อยกเว้น ดังกริยา go จึงไม่ต้องเติม s หรือ es

He plays guitar very well.
(เขาเล่นกีตาร์เก่งมาก)
**ประโยคนี้ประธานคือ He เป็นเอกพจน์ กริยาคือ play จึงต้องเติม s

They enjoy playing the football.
(พวกเขาสนุกกับการเล่นฟุตบอล)
**ประโยคนี้ประธานคือ They เป็นพหูพจน์ กริยาคือ enjoy จึงไม่ต้องเติม s หรือ es

ความรู้เพิ่มเติม : หลักการเติม s,es นั้นง่ายนิดเดียว คือ คำกริยาที่ลงท้ายด้วย ch, o, s, ss, sh, x ให้เติม es เมื่อประธานของประโยคเป็นเอกพจน์ (He, She, It) เช่น

She washes her car.
ประธานของประโยคคือ She ซึ่งเป็นเอกพจน์ คำกริยาคือ wash ที่ลงท้ายด้วย sh จึงต้องเติม es ต่อท้าย

ส่วนคำกริยาอื่น ๆ ที่ไม่ได้ลงท้ายด้วยพยัญชนะทั้ง 6 ตัวนั้น ให้เติม s หลังคำกริยาในประโยคที่มีประธานเป็นเอกพจน์ได้เลย เช่น

My mom cooks some food for me.
ประธานของประโยคคือ My mom ซึ่งเป็นเอกพจน์ เราใช้ She แทน My mom ได้ คำกริยาคือ cook ที่ไม่ได้ลงท้ายด้วยพยัญชนะตามกฎ จึงเติม s ได้ทันที

และถ้าหากคำกริยานั้นลงท้ายด้วย y ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es ท้ายคำกริยานั้น เช่น study – studies, fly – flies, carry – carries เป็นต้น แต่มีข้อยกเว้นคือ ถ้าหากหน้า y เป็นสระ (A, E, I, O, U) ให้เติม s ได้ทันที เช่น play – plays, buy – buys, stay – stays

2. ประโยคคำถาม

โครงสร้างของประโยคคำถามใน Present Simple Tense มีสองรูปแบบคือ

แบบที่ 1 : Verb to be + Subject + Object/ส่วนขยาย + (คำบอกเวลา) ?
ใช้เมื่อในประโยคนั้นมี V. to be (Is, Am, Are) ปรากฎอยู่ เช่น

She is my sister.   —>   Is she your sister ? (หล่อนเป็นน้องสาวคุณหรือเปล่า?)
เมื่อเห็น V. to be ในประโยคให้นำ V. to be ขึ้นต้นประโยคนำหน้าประธานได้เลย เพียงเท่านี้ก็จะกลายเป็นประโยคคำถาม (และอย่าลืมเปลี่ยนคำสรรพนามด้วยนะคะ จาก my เป็น your)

แบบที่ 2 : Verb to do + Subject + Verb.1 + Object + (คำบอกเวลา)?
ใช้เมื่อประโยคนั้นไม่มี V. to be จึงต้องนำ V. to do ได้แก่ do กับ does เข้ามาช่วย โดยขึ้นต้นประโยคนำหน้าประธาน ซึ่งมีวิธีการใช้ที่แตกต่างกันคือ Do ใช้นำหน้า I, You และประธานที่เป็นพหูพจน์ (You, We, They) ส่วน Does ใช้นำหน้าประธานที่เป็นเอกพจน์ (He, She, It) และคำกริยาคงรูปช่องที่ 1 เหมือนเดิมโดยไม่ต้องเติม s, es เช่น

They play football every evening.   —>   Do they play football every evening? (พวกเขาเล่นฟุตบอลทุกเย็นหรือเปล่า?)
ประโยคนี้ไม่มี V. to be อยู่ในประโยค จึงนำ V. to do มาใช้ขึ้นต้นประโยคนำหน้า they ซึ่งเป็นประธานพหูพจน์

That cat eats fish.   —>   Does that cat eat fish ? (แมวตัวนั้นกินปลาหรือเปล่า?)
ประโยคนี้ไม่มี V. to be อยู่ในประโยค จึงนำ V. to do นั่นก็คือ does มาใช้ขึ้นต้นประโยคนำหน้า that cat หรือก็คือ it ซึ่งเป็นประธานเอกพจน์ โดยคำกริยาคือ eat มีการตัด s ออกในประโยคคำถาม

3. ประโยคปฏิเสธ

รูปแบบประโยคปฏิเสธใน Present Simple Tense มีสองรูปแบบคล้ายกับรูปแบบประโยคคำถามคือ

แบบที่ 1 : Subject + Verb to be + not + Object/ส่วนขยาย + (คำบอกเวลา)
ใช้เมื่อในประโยคนั้นมี V. to be (Is, Am, Are) ปรากฎอยู่ เช่น

I am your servant.   —>   I am not your servant. (ฉันไม่ได้เป็นคนรับใช้ของคุณ)
เมื่อเห็น V. to be ในประโยคให้เติม not ไว้หลัง V. to be ได้ทันที เพียงเท่านี้ก็จะกลายเป็นประโยคปฏิเสธ

แบบที่ 2 : Subject + Verb to do + not + Verb.1 + Object + (คำบอกเวลา)
แบบที่สองใช้เมื่อประโยคนั้นไม่มี V. to be จึงต้องนำ V. to do ได้แก่ do กับ does เข้ามาช่วยแล้วตามหลังด้วย not เพื่อบอกความปฏิเสธ ส่วนคำกริยาให้คงรูปช่องที่ 1 เหมือนเดิมโดยไม่ต้องเติม s,es เช่น

He watches television at home.   —>   He does not watch television at home. (เขาไม่ได้ดูโทรทัศน์อยู่ที่บ้าน)
ประโยคนี้ไม่มี V. to be อยู่ในประโยค จึงนำ V. to do นั่นก็คือ does มาเป็นกริยาช่วยและตามด้วย not เพื่อบอกรูปปฏิเสธ ส่วนคำกริยาเมื่ออยู่ในรูปปฏิเสธแล้วให้ตัด s,es ทิ้งคงเหลือคำกริยาช่องที่ 1 รูปเดิม

คำบอกเวลาใน Present Simple Tense

ในประโยค Present Simple Tense มักจะมีคำบอกเวลาซึ่งเป็น Adverbs of Frequency ปรากฎอยู่ในประโยคเพื่อบอกความถี่ของเหตุการณ์หรือการกระทำนั้น ๆ ได้แก่
 

Adverbs of Frequency

คำบอกเวลา

Always

สม่ำเสมอ, เป็นประจำ

Frequently

บ่อย ๆ

Often

บ่อย ๆ

Usually

โดยปกติ

Hardly

แทบจะไม่เคย

Never

ไม่เคย

Rarely

แทบจะไม่เคย

Seldom

นาน ๆ ครั้ง

Sometimes

บางครั้ง

 

และนอกจากตัวอย่างคำบอกเวลาที่พบบ่อยใน Present Simple Tense แล้ว ยังอาจพบคำว่า every + … เช่น every month, every morning, every Saturday เพื่อบอกความถี่ของเหตุการณ์หรือการกระทำก็ได้ เช่น

My teacher always drinks coffee in the morning.
(ครูของฉันดื่มกาแฟในตอนเช้าเป็นประจำ)

Nadech usually gets up at 7 o’clock.
(โดยปกติณเดชตื่นนอนตอนเจ็ดโมง)

Narong hardly reads books so he doesn’t pass the exam.
(ณรงค์แทบจะไม่เคยอ่านหนังสือ ดังนั้นเขาจึงสอบตก)

It seldom rains in this part of the country.
(ฝนตกนาน ๆ ครั้งในพื้นที่นี้ของประเทศ)

I feel like she’s selfish sometimes.
(ฉันรู้สึกว่าหล่อนเห็นแก่ตัวในบางครั้ง)

Kimmy hangs out with her friends every Saturday night.
(คิมมี่ออกไปเที่ยวกับเพื่อนของเธอทุกคืนวันเสาร์)

เป็นอย่างไรบ้างคะสำหรับสรุปหลักการใช้ Present Simple Tense แบบง่าย ๆ ที่นำมาฝากกัน อย่าลืมลองนำหลักการและทริคต่าง ๆ ที่นำมาฝากไปใช้กันดูนะคะ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถสื่อสารได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และสามารถนำไปใช้เป็นจุดสังเกตเมื่อต้องเจอข้อสอบหรือแบบฝึกหัดได้อีกด้วย Please often review this lesson everyday กันนะคะ ^^

 

 

 


Past tense ep.3 การแต่ง ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ


ประโยคบอกเล่า,ปฏิเสธ

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

Past tense ep.3 การแต่ง ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ

DLTV ป.3 วิชาภาษาไทย 1 ก.ย.64 ประโยคบอกเล่า


DLTV ป.3 วิชาภาษาไทย 1 ก.ย.64 ประโยคบอกเล่า

ประโยค ป 3 ตอนที่ 1 ประโยคบอกเล่า


ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่องประโยคบอกเล่า ภาษาไทย ป3 หลักภาษา ประโยค ประโยคบอกเล่า การเรียนการสอน

ประโยค ป 3 ตอนที่ 1 ประโยคบอกเล่า

ประโยคบอกเล่า Ost.ชัมบาลา (Official Audio)


ติดตามความเคลื่อนไหวก่อนใคร : http://www.facebook.com/sahamongkolfilmint
และภาพสวยๆจากชัมบาลา ได้ทาง IG @99_stepstoshambhala
………………………………………………………………………………………………..
เสียงร้องโดย เล็กอภิชัย ตระกูลเผด็จไกร GREASY CAFÉ
กับเพลง \”ประโยคบอกเล่า\” เพลงประกอบภาพยนตร์ ชัมบาลา
คำร้อง ทำนอง ขับร้อง Greasy Cafe’
เรียบเรียง รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ , Greasy Cafe’
………………………………………………………………………………………………..
คนแต่ละคนออกเดินทางด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน
แต่สำหรับผู้ชาย 2คน ที่ต่างมีมุมมองและเรื่องราวความรักต่างกัน
อนันดา เอเวอริงแฮม / ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์
กำลังจะพบกับการเดินทางครั้งสำคัญที่สุดในชีวิต
ที่ทำให้มุมมองความรักของทั้งคู่เปลี่ยนไป
คนหนึ่งออกเดินทางพร้อมความหลัง ส่วนอีกคนหนึ่งออกเดินทางด้วยความหวัง
ออกเดินทางพร้อมกัน 23 สิงหา นี้ ในโรงภาพยนตร์

ประโยคบอกเล่า Ost.ชัมบาลา (Official Audio)

เรื่อง ประโยคบอกเล่า ภาษาไทย ป.4


📍เรื่อง ประโยคบอกเล่า📍 รายวิชาภาษาไทย ก่อนที่เด็ก ๆ จะไปเรียนรู้เราไปดูว่าประโยคบอกเลามันเกิดขึ้นเพราะอะไร เริ่มจากอะไรก่อน ถ้าเด็ก ๆ พร้อมแล้วเราไปติดตามกันเลยนะคะ
👍เรื่อง ประโยคบอกเล่า ภาษาไทย ป.4👍
เรื่อง ประโยคบอกเล่า ภาษาไทย สื่อประถม
ฝากกด Like⭐ กด Share 🌞 และ Subscribe ด้วยนะคะ 🪐ขอบคุณมากนะคะ 🙏
📍 ติดตามอัปเดตข้อมูลข่าวสารของMV KIDS ได้ที่ 👇
➡️ YouTube : http://1ab.in/BCq
➡️ Facebook : http://1ab.in/BCs

เรื่อง ประโยคบอกเล่า ภาษาไทย ป.4

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆMAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ แต่งประโยคบอกเล่า

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *