Skip to content
Home » [NEW] การเขียน Resume / CV ภาษาอังกฤษ | ควรจะเป็น ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

[NEW] การเขียน Resume / CV ภาษาอังกฤษ | ควรจะเป็น ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

ควรจะเป็น ภาษาอังกฤษ: คุณกำลังดูกระทู้

มาเจาะลึกถึงเทคนิคการเขียน resume ภาษาอังกฤษกันสักหน่อย การเขียนเรซูเม่ให้ดีเป็นสิ่งที่ยากมากแต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเขียนไม่ได้  หลักสำคัญคือ ต้องเขียนสิ่งที่เป็ฯตัวเราจริงๆ เนื้อความสั้น กระชับ และได้ใจความ ส่วนรูปแบบของเรซูเม่ จริงๆแล้วไม่มีใครรู้ว่าแบบไหนคือดีที่สุด เอาเป็นว่าอ่านง่ายสบายตา เท่านี้ก็ถือได้ว่าเป็นเรซูเม่ที่ดีค่ะ การเขียนเรซูเม่ทั่วไปมีหลักการเช่นเดียวกับการเขียนออไลน์เรซูเม่ แต่ออนไลน์เรซูเม่มีความพิเศษกว่า เพราะสามารถใส่ลิ้ง (Link) เพื่อที่จะโชว์ความสามารถพิเศษหรือ portfolio ของเราให้นายจ้างดูได้ และยังสามารถใส่วีดีโอเรซูเม่ (VDO Resume) เพื่อแนะนำหรือพรีเซนต์ประวัติย่อของเราได้ด้วย ซึ่งนายจ้างที่เห็นวีดีโอเรซูเม่ก็จะสามารถเห็นบุคลิกภาพของเราก่อนเรียกเข้าสัมภาษณ์งาน ความพิเศษของออนไลน์เรซูเม่ เป็นสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อให้เรซูเม่ของเราน่าสนใจและเพิ่มโอกาสในการเรียกเข้าสัมภาษณ์งานให้กับเราอีกด้วย ในบทความนี้เราจะแบ่ง resume ออกเป็น 6 ส่วนหลักๆ คือ  

 

Table of Contents

1. หัวเรื่องและจุดมุ่งหมายในงาน (Heading & Career Objective )

2. ข้อมูลส่วนตัว (Personal Information)

3. ทักษะความสามารถ (Skills) 

4. ข้อมูลทางด้านการศึกษา (Education)

5. ประสบการณ์ทำงาน (Working Experience)

6. บุคคลที่สามารถอ้างอิงได้ (References)

 

 

1. หัวเรื่องและจุดมุ่งหมายในงาน (Heading & Career Objective )

 

ส่วนหัวกระดาษ (Heading) ต้องระบุชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์และอีเมล์ที่สามารถติดต่อเราโดยตรงได้ อย่าลืมเช็คเบอร์โทรและอีเมล์ก่อนส่งเรซูเม่สมัครงานอีกครั้งเพราะเป็นส่วนที่สำคัญและไม่ควรจะเขียนผิดพลาด เนื่องจากถ้านายจ้างสนใจเรียกเข้าสัมภาษณ์งานแล้วแต่ไม่สามารถติดต่อเราได้ เรซูเม่เราก็จะไม่มีความหมายไม่ต่างกับกระดาษเปล่านะคะ

ส่วนจุดมุ่งหมายในงาน (Career Objecting) คือการระบุเป้าหมายของการสมัครงานในตำแหน่งงานที่เราต้องการสมัคร และควรระบุตำแหน่งงานที่เราต้องการสมัครให้ชัดเจน อาจมีการระบุจำนวนเงินเดือนที่ต้องการด้วยก็ได้

 

การระบุจุดมุ่งหมายในการทำงานที่ชัดเจน และสอดคล้องกับตำแหน่งงานที่สมัคร เช่น ตั้งเป้าหมายระยะสั้นว่าจะทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จได้อย่างไร หรือการตั้งเป้าหมายระยะยาวในช่วงเวลา 3-5 ปีข้างหน้าในเส้นทางอาชีพว่าจะเป็นไปในทิศทางใด เป็นต้น ซึ่งการตั้งเป้าหมายในสายอาชีพให้ชัดเจนเป็นการสร้างความเชื่อมั่น และสร้างแรงจูงใจที่สำคัญแก่องค์กรในการเลือกรับผู้สมัครคนดังกล่าวเข้าทำงานเพื่อสร้างผลงานและขับเคลื่อนองค์กรได้ต่อไป

 

ตัวอย่าง หัวเรื่องและจุดมุ่งหมายในงาน (Heading & Career Objective )

 

MR. FISCHER PARTNERS

55 Wave Place Wireless Rd., Lumpini, Pathumwan, Bangkok, 10330

Tel. 02-2541448-9  E-mail: [email protected]

CAREER OBJECTIVE: Seeking a position in the accounting field where excellent analytical and technical skills can be utilized to improve the company’s profitability 
EXPECTED SALARY:   15,000- 25,000 Baht

 

 

2. ข้อมูลส่วนตัว (Personal Information)

 

ข้อมูลส่วนตัว (Personal  Information) ถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในเรซูเม่  ประกอบไปด้วยรูปภาพ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ประวัติการศึกษา สำหรับรูปถ่ายควรเป็นรูปที่เห็นใบหน้าตรงชัดเจน และแต่งกายสุภาพเรียบร้อย เนื่องจากรูปถ่ายจะเป็นสิ่งแรกที่ HR เห็นจากเรซูเม่ของผู้สมัคร นอกจากนี้ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลติดต่อกลับทั้งเบอร์โทรศัพท์ และอีเมลที่ต้องดูเป็นทางการ เช่น ชื่อ.นามสกุล@xxx.com 

 

ส่วนข้อมูลที่เกี่ยวกับสัญชาติ ศาสนา น้ำหนัก ส่วนสูง และงานอดิเรกที่เราสนใจนอกเวลางาน บางคนอาจจะเลือกที่จะไม่ใส่ขอมูลเกี่ยวกับ สัญชาติ ศาสนา น้ำหนัก และส่วนสูง ถ้าต้องการให้เรซูเม่ของเราดูเป็นมืออาชีพ และถ้าข้อมูลเหล่านั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้องาน ดังนั้นในส่วนนี้ จะใส่เพียว ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล์ และงานอดิเรกที่สนใจนอกเวลางาน เท่านั้นก็ได้ แต่ถ้าเกี่ยวข้องกับเนื้องานก็จำเป็น เช่น ถ้าเราสมัครเป็นแอร์โฮสเตส ที่นายจ้างจะต้องรู้ความสูงและน้ำหนัก แบบนี้เราก็ควรระบุลงไปให้ชัดเจน เป็นต้น

 

ตัวอย่าง ข้อมูลส่วนตัว (Personal Information)

 

PERSONAL INFORMATION 

Residential Address : 55 Wave Place Wireless Rd., Lumpini, Pathumwan, Bangkok, 10330

Mobile : 084-752-5656

Email : [email protected]

Date of Birth : 15 May 1977

Nationality : Thai

Age : 41

Marital Status : Single

Interest and Activities : Volunteer at local Rescue Mission, Participant in various running events, Enjoy jogging, tennis, reading

 

 

3. ทักษะความสามารถ (Skills)

 

ทักษะความสามารถ เป็นหัวข้อที่เราควรใส่ลงในเรซูเม่ (Resume) ของเรา  เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าสัมภาษณ์งาน เพราะช่วยให้เรซูเม่ของผู้สมัครดูน่าสนใจและได้เปรียบคู่แข่ง  เนื่องจากปัจจุบันนายจ้างจะเลือกดูประสบการณ์ทำงานและทักษะความสามารถของผู้สมัครเป็นหลัก ดังนั้น ใครมีความสามารถอะไร ควรใส่ให้ครบนะคะ โดยเฉพาะทักษะที่จำเป็นในตำแหน่งงานที่สมัครจะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้งานมากขึ้น อาทิ ทักษะด้านภาษา ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3 เช่น ญี่ปุ่น จีน เยอรมัน ฯลฯ รวมไปถึงทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่จำเป็นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้

 

ทักษะความสามารถแบ่งออกเป็น Hard Skill และ Soft Skill

 

Hard Skill หรือ Qualification คือ ทักษะที่จำเป็นในการทำงานในแต่ละสายอาชีพ เช่น ถ้าเราเป็นนักบัญชี เราต้องรู้เกี่ยวกับการบันทึกบัญชี การสอบบัญชี และการยื่นภาษีต่างๆ  ถ้าเราเป็นวิศวกร คุณต้องรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและหลักการคำนวณ ว่ากันง่ายๆคือ ทักษะส่วนใหญ่ที่เราเรียนมาในมหาวิทยาลัย (อาจจะดูได้จากวิชาหลักที่เราเรียนในมหาวิทยาลัย) คือ Hard Skill

 

Soft Skill คือ มีขอบเขตที่กว้างกว่า โดยเป็นทักษะที่สามารถใช้ได้กับทุกสายอาชีพ เป็นลักษณะส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence Quotient) เช่นทักษะการสื่อสารการแก้ปัญหาความขัดแย้ง การจูงใจ การจัดการอารมณ์ของตัวเอง การเจรจาต่อรอง การคิดเชิงกลยุทธ์ การสร้างทีมงาน ซึ่งแตกต่างจาก Hard Skills ที่สัมพันธ์กับความฉลาดทางสติปัญญา (Intelligence Quotient)

 

ตัวอย่าง การเขียนทักษะความสามารถ (Skills)

 

QUALIFICATION

 

  • General accounting transaction and entering data to accounting system

  • Issue withholding tax certificate

  • prepare and record AR,AP payment 

  •  handle all VAT and TAX calculation 

  • issue Invoice, Debit note, Credit note

  • Good command of Written and Spoken English

 

Skill

 

  • Having analytical skills, leadership, highly responsible and results oriented. 

  • Ability to work under pressure conditions

  • Typing skills: Thai, 45 words per minute | English, 50 words per minute

 

 

4. ข้อมูลทางด้านการศึกษา (Education)

 

เขียนวุฒิการศึกษาที่เราได้รับมา และการฝึกอบรมต่างๆ หรือกิจกรรมนอกหลักสูตรที่เคยเข้าร่วม ถ้าให้ดีต้องเกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่สมัครด้วย สำหรับคนที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ทำงานมาก่อน สามารถใช้ประสบการณ์ระหว่างการศึกษาได้ เช่น ถ้าเคยเป็นเหรัญญิกของสมาคมหรือค่าอาสา ก็เขียนว่า ได้รับเลือกให้เป็นเหรัญญิกของโครงการค่ายอาสาพัฒนาชนบท มีหน้าที่จัดทำเอกสาร รวบรวมเอกสาร รวมถึงบัญชีรายรับรายจ่ายทั้งหมดของโครางการ เป็นต้น ส่วนคนที่เคยมีประสบการทำงานมาแล้วก็สามารถใส่ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เคยทำมาได้เลย (อย่าลืมใส่ลิ้ง หรือเว็บไซต์ของที่ทำงานเก่า ลงไปในออนไลน์เรซูเม่ด้วย เพื่อให้นายจ้างตรวจเช็คได้สะดวก) การเขียนข้อมูลทางการศึกษา (Education) ให้เรียงจากวุฒิการศึกษสูงสุดไปวุฒติที่ต่ำที่สุด แต่ไม่ควรต่ำเกิดวุฒิมัธยมปลายหรือ ปวช. และถ้าเขียนอยู่ในบรรทัดเดียวกัน ให้เขียนเรียงลำดับจาก ช่วงเวลาที่เรียน วุฒิที่ได้รับ และชื่อสถาบัน

 

ตัวอย่าง ข้อมูลทางด้านการศึกษา (Education)

 

EDUCATION HISTORY

May 2010 – Aug 2012                 Masters in  Accounting,University of ABC,  Bangkok THAILAND

May 2006 – Feb 2010                 Bachelor of Science – Accounting, University of ABC, Bangkok THAILAND

May 2000 – Feb 2006                High School Certificate equivalent, AAA High School, Bangkok THAILAND

 

ข้อสังเกต

 

  • เขียนชื่อวุฒิขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ

  • ชื่อสถาบัน ให้ใส่จังหวัดที่สถาบันตั้งอยู่ ยกเว้นสถาบันที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่อสถาบัน (เช่น Chiang Mai University, Khon Kaen University)

  • เราสามารถเพิ่มหัวข้อการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับงานเข้าไปที่หัวข้อนี้ หรือเพิ่มหัวข้อการฝึกอบรมขึ้นมา ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้เราได้งานมากขึ้นด้วย วิธีเขียนก็เช่นเดียวกับการศึกษาหรือประสบการณ์ทำงาน คือ ให้เขียนเรียงลำดับ วันเดือนปีที่อบรม ระยะเวลา ชื่อหลักสูตรในการอบรม และสถาบันที่จัดการอบรม

 

 

5. ประสบการณ์ทำงาน (Working Experience)

 

ในส่วนนี้จะคล้ายกับข้อมูลการศึกษา โดยเริ่มจาก ชื่อสถานประกอบการ ตำแหน่งงาน จังหวัด ประเทศ (ถ้าทำงานต่างประเทศมาก่อน) วันเดือนปีที่เริ่มทำงาน  และระยะเวลาที่ทำงานนั้น และควรใส่ขอบเขตหน้าที่ ที่เราได้รับผิดชอบขณะทำงานอยู่ด้วย หรืออาจจะจัดรูปแบบให้แตกต่างแต่อานแล้วสบายตา เข้าใจง่ายก็ได้ (ดูตัวอย่างข้างล่าง) นอกจากนั้น ถ้าเคยผ่านงานมาหลายที่ ให้เขียนงานที่ทำปัจจุบันก่อน แล้วเรียงไปจนถึงตำแหน่งงานแรก  และการอบรมที่เคยเข้าร่วม ส่วนนิสิต นักศึกษาจบใหม่ การระบุประสบการณ์พิเศษเป็นการช่วยให้เรซูเม่ดูน่าสนใจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร การออกค่าย การฝึกงาน ตลอดจนการทำงานล่วงเวลา (Part-Time) ทั้งนี้ประสบการณ์พิเศษจะเป็นปัจจัยสนับสนุนว่าผู้สมัครเป็นบุคคลที่มีความสามารถรอบด้าน และมีความรับผิดชอบ

 

ตัวอย่าง ประสบการณ์ทำงาน (Working Experience)

 

WORK EXPEREINCE

FP RECRUITMENT, Bangkok THAILAND  (Feb 2013 – April 2014)

Accounting Assistant

 

  • Performed accounts payable functions for construction expenses.

  • Managed vendor accounts, generating weekly on demand cheques.

  • Managed financial departments with responsibility for Budgets, Forecasting, Payroll, Accounts Payable and Receivable.

  • Created budgets and forecasts for the management group.

  • Ensured compliance with accounting deadlines.

  • Prepared company accounts and tax returns for audit.

  • Coordinated monthly payroll functions for 200+ employees.

  • Liased with bankers, insurers and solicitors regarding financial transactions.

 

K FiSCHER & CO, Bangkok, THAILAND  (March 2010 – Dec 2012)

Administrative Assistant

 

  • Performed general office duties and administrative tasks.

  • Prepared weekly confidential sales reports for presentation to management.

  • Managed the internal and external mail functions.

  • Provided telephone support.

  • Scheduled client appointments and maintained up-to-date confidential client files.

 

 

6. บุคคลที่สามารถอ้างอิงได้ (References)

 

เรซูเม่ (Resume) ภาษาอังกฤษ ที่เราเขียนจะดูมีความน่าเชื่อถือสูง ถ้าเรามีชื่อและข้อมูลการติดต่อของบุคคลที่นายจ้างสามารถสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวเราได้ ประมาณ 2-3 คน (ไม่ควรทำงานที่เดียวกัน และต้องไม่ใช่ญาติพี่น้องของเรา) ดังนั้นบุคคลที่สามารถอ้างอิงได้ (reference) ของเราควรเป็นหัวหน้างานเก่าหรือ หากคุณยังไม่มีประสบการณืทำงานเลย ก็ควรจะเป็นบุคคลที่เชื่อถือได้ในวงการธุรกิจ เช่น ต้องเป็นบุคคลที่มีงานมั่นคง หรือมีชื่อเสียง อาจเป็นข้าราชการ หัวหน้าหน่วยงาน อาจารย์ หรือเจ้าของกิจการ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะต้องรู้จักและเคยเห็นการทำงานของเราเป็นอย่างดี การเขียนให้เรียงจากชื่อ-นามสกุล (ถ้าเป็นอาจารย์ที่มีตำแหน่งต้องใส่คำนำหน้าด้วย เช่น ศาสตราจารย์ = Prof. , รองศาสตราจารย์ = Assoc.Prof) ตำแหน่ง ชื่อสถานประกอบการ และหมายเลขโทรศัพท์

 

ตัวอย่าง บุคคลที่สามารถอ้างอิงได้ (References)

 

REFERENCES

Mr. Chanin Kulkanjanatorn, Director, AEC Enlist Co.Ltd., Bangkok THAILAND Tel. 02-392-4186

อย่างไรก็ตาม resume ที่เราส่งไปนั้นยังไม่ต้องอ้าง reference ก็ได้แต่ให้เขียนว่า “References will be sent on request.” (หมายความว่า เอกสารอ้างอิงจะส่งให้กรณีที่ทางบริษัทร้องขอมา)

 

ตัวอย่างเรซูเม่ (Resume) ภาษาอังกฤษ

[Update] รวมวิธีพูดภาษาอังกฤษแบบมืออาชีพในสถานการณ์ต่าง ๆ สำหรับคนทำงาน ตอนที่ 1 | ควรจะเป็น ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

คนทำงานต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในที่ทำงานมากมาย เช่น การขอความคิดเห็น หรือการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ซึ่งถ้าไม่ระวังบางครั้งประโยคที่เราใช้อาจจะฟังดูไม่ค่อยโอเคจนกลายเป็นปัญหาขึ้นมาได้ JobThai เลยมีวิธีการพูดภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คนทำงานต้องเจอ แบบที่จะทำให้คุณดูเป็น Professional มาแนะนำ

 

ดาวน์โหลด JADOH Learning Application ได้ที่นี่

iOS

Android

 

 

ในการทำงานเป็นเรื่องปกติที่ต้องมีการให้ข้อเสนอแนะ หรือคำติชมต่าง ๆ ซึ่งในภาษาอังกฤษก็คือคำว่า “Feedback” เป็นคำที่คนทำงานต้องเคยเห็น เคยพูด เคยได้ยิน และแทบใช้ทับศัพท์จนเคยชินกันไปแล้ว แต่รู้ไหมว่าคำง่าย ๆ แบบนี้มีคนใช้แบบผิด ๆ โดยไม่รู้ตัวกันเยอะมาก นั่นก็คือการเติม S หลังคำว่า Feedback

 

ถ้าคุณเป็นคนนึงที่เคยเขียนหรือพูด Feedbacks ให้เปลี่ยนใหม่ คุณจะใช้ “No feedback” “A bit of feedback” “Some feedback” หรือ “Tons of feedback” ก็ได้ แต่ทุกครั้งต้องไม่เติม S เท่านั้นเอง

 

เวลามีการประชุม พูดคุยเรื่องงานกันเป็นทีม เราย่อยมีการขอความคิดเห็น หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมจากเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ เพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์ที่สุด และนี่คือตัวอย่างประโยคที่น่าฟังเวลาจะพูดเพื่อขอความเห็นจากคนอื่น ๆ 

 

1. ใช้ “weigh in” เพื่อขอความเห็น

“Would you like to weigh in on this?” “ใครมีข้อเสนอแนะอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้างไหม?”

 

2. บอกว่าเราอยากฟังความคิดของเขา

“I would love to hear your thoughts.” “ฉันอยากจะได้ความคิดเห็นจากคุณ” หรือ “Let’s hear everyone’s thoughts on this.” “เรามาฟังความคิดเห็นจากทุกคนกันดีกว่า”

 

3 ใช้คำว่า Opinion ในการถาม

“Do you have an opinion on this issue?” “คุณมีความคิดเห็นยังไงในประเด็นนี้”

 

บางคนเลือกที่จะใช้คำว่า Input ที่แปลว่าข้อมูล ไอเดีย หรือคำแนะนำ ในประโยคที่ขอความคิดเห็น  ซึ่งการใช้คำนี้นั้นไม่ผิด แต่ต้องระวังอย่าเติม S หลังคำว่า Input เด็ดขาด

 

การมีความคิดเห็นไม่ตรงกันในการทำงานนั้นเกิดขึ้นได้เสมอ แต่การจะบอกคนอื่นว่าเราไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เขาทำ พูด หรือนำเสนอนั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะพูดออกมาง่าย ๆ เพราะเราอาจจะกังวลว่ามันจะทำให้คนฟังไม่พอใจ แต่ยังไงก็ตามเรายังสามารถพูดออกมาด้วยประโยคที่ฟังดูเป็นมืออาชีพได้ ด้วย 3 วิธีนี้

 

1. “Have you considered…?”

วิธีนี้คนฟังจะรู้สึกเหมือนว่าเราถาม และตอบข้อสงสัยเราโดยไม่รู้สึกว่าถูกเราโจมตี เช่น “Have you considered whether this color fits in with the rest of our color palette?” “คุณได้พิจารณาแล้วใช่ไหมคะว่าสีนี้เหมาะสมกับพาเลตของเรา”

 

2. “I’m afraid I disagree.”

เป็นวิธีพูดว่า “Unfortunately, I disagree.” “น่าเสียดายจังที่ฉันไม่เห็นด้วย” อย่างอ่อนน้อมและสุภาพ เช่น “I understand your main point, I’m afraid I disagree, and this is why…” “ฉันเข้าใจประเด็นของคุณค่ะ แต่ฉันยังไม่เห็นด้วยเท่าไหร่ เพราะว่า…”

 

3. “Let’s agree to disagree.”

ในกรณีที่เลวร้าย หาทางออกไม่ได้ ต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลและเถียงกันไม่จบ ไม่มีคนถูกหรือคนผิดเราอาจจะพูดได้แค่ว่า “Let’s agree to disagree.” คือเราตกลงกันว่าเราจะเห็นไม่ตรงกันในเรื่องนี้ แต่ก็ไม่เป็นไร จบประเด็นนี้แล้วไปพูดเรื่องอื่นเถอะ

 

 

การขอให้คนอื่นพูดซ้ำอีกครั้งในเรื่องที่เราไม่เข้าใจ หรือฟังไม่ชัดนั้นไม่ใช่เรื่องน่าอาย เพราะดีกว่าเราฟังและเข้าใจไปแบบผิด ๆ จนส่งผลต่อการทำงาน ซึ่งการจะขอให้เขาพูดทวนอีกครั้งแบบสุภาพ ที่ใช้ได้ทั้งการทำงาน ในห้องประชุม หรือสัมภาษณ์งาน สามารถพูดได้ ดังนี้

 

1. ขอให้เขาพูดอีกรอบไปแบบตรง ๆ เลย

“Could you repeat that please?” “พูดซ้ำได้ไหมคะ”

“Could you say that again?” “พูดอีกครั้งได้ไหม”

“Pardon me, could you repeat that?” “ขออภัยค่ะ พูดซ้ำได้ไหมคะ”

 

2. บอกเขาว่าเราไม่เข้าใจ

“I’m afraid I didn’t get that.” หรือ “I’m afraid I didn’t understand.” “ฉันเกรงว่าฉันยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่”

 

3. บอกว่าไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกไหม และขอให้เขาอธิบายด้วยวิธีอื่น

“I’m not sure I understand, could you explain it in a different way?” “ฉันไม่ค่อยแน่ใจว่าเข้าใจถูกต้องหรือเปล่า ช่วยอธิบายด้วยวิธีอื่นได้ไหมคะ?”

 

คนทำงานอย่างเรา ๆ ต้องพบเจอผู้คนมากหน้าหลายตา ไม่ว่าจะเป็นตามงาน Event งาน Networking งานพบปะทางธุรกิจ หรือแม้แต่คนในแผนกอื่น ๆ ของบริษัทที่อาจมีเป็นร้อยเป็นพัน ซึ่งแน่นอนว่าการลืมชื่อคนที่เราเคยเจอนั้นเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเราได้กลับมาเจอเขาอีกครั้งและต้องมีการพูดคุยกัน จะทำยังไงดีให้รู้ชื่อของเขาแบบที่ยังดูเป็นมืออาชีพ เรามีวิธีมาแนะนำ

 

1. ยอมรับไปตรง ๆ ว่าเราลืมชื่อเขา ขอโทษ แล้วถามชื่อเขาอีกครั้ง

“I’m terribly sorry. I’m bad with names. Could you repeat your name for me, please?” “ฉันขอโทษจริง ๆ ฉันจำชื่อคนไม่เก่ง ขอถามชื่ออีกครั้งได้ไหมคะ”

“Forgive me, I can’t recall your name at the moment. Could I ask for your name again, please?” “ให้อภัยฉันเถอะนะ แต่ฉันจำชื่อคุณไม่ได้จริง ๆ ขอถามชื่ออีกครั้งได้ไหมคะ”

 

2. ถ้าพอจะจำอะไรเกี่ยวกับเขาได้บ้าง ให้พูดออกไป เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราไม่ได้ลืมเขา

“I’m so sorry, I know we met at last year’s trade show and I remember you. I just have forgotten your name. Could you please repeat it?” “ฉันขอโทษจริง ๆ ฉันจำได้ว่าเราเคยเจอกันที่งานแสดงสินค้าปีที่แล้ว ฉันจำคุณได้ แต่ฉันลืมชื่อคุณจริง ๆ ขอถามอีกรอบได้ไหม?”

 

“I’m so sorry. We had that great chat over breakfast, but I’ve forgotten your name. Could you tell me again, please?” “ขอโทษนะคะ ฉันจำได้ว่าเราคุยกันสนุกมากเมื่อตอนทางอาหารเช้า แต่ฉันลืมชื่อคุณจริง ๆ คุณช่วยบอกชื่อคุณอีกรอบได้ไหมคะ”

 

3. แนะนำเพื่อนร่วมงานคนอื่นของเราให้เขารู้จัก

วิธีนี้จะเป็นวิธีที่เราได้รู้ชื่อเขาแบบเนียน ๆ เพราะเมื่อเราแนะนำเพื่อนร่วมงานเราแล้ว คนที่เราลืมชื่อเขาก็จะอาจจะแนะนำตัวเองกับเพื่อนของเรา ซึ่งตอนนั้นเราก็จะได้รู้ชื่อไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งประโยคแนะนำก็อาจจะพูดว่า “May introduce you to Sandra? She is our CFO and she’s one of the co-founders.”

การถูกขัดจังหวะหรือมีคนอื่นพูดแทรกขึ้นมาตอนที่เรายังพูดไม่จบ เป็นสถานการณ์ที่เราเจอกันบ่อย ๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการเสียมารยาท ทำให้คนที่พูดต้องสะดุดแล้ว ยังทำให้ต้องเสียเวลาและพลังงานในการพากลับเข้าเรื่องที่กำลังคุยกันอยู่อีกด้วย และนี่คือ 3 วิธีการพูดเพื่อรับมือกับสถานการณ์แบบนี้

 

1. บอกสิ่งที่เรากำลังจะพูดต่อออกมา โดยเริ่มด้วยประโยคว่า “As I was saying…” “ที่ฉันกำลังจะพูดก็คือ…”

2. ถ้าเขายังขัดไม่เลิก ให้พูดออกไปว่า “Can we comeback to that point later?” “ไว้ค่อยคุยเรื่องนั้นกันนอกรอบได้ไหม?” เพื่อให้เขารู้ว่าเรื่องที่เขาพูดแทรกขึ้นมานั้นสามารถพูดทีหลังได้

3. ในกรณีที่ไม่หยุดก่อกวนจริง ๆ ก็ต้องบอกไปตรง ๆ เลยว่าให้ช่วยฟังที่เราพูดให้จบก่อนได้ไหม “Could you let me finish what I was saying?”

 

การทำงานกับปัญหาต่าง ๆ เป็นของที่มาคู่กันอยู่แล้ว ทำให้เราจะต้องมีการพูดคุยกันในทีมเพื่อรับรู้ปัญหาและหาทางแก้ ซึ่งประโยคที่มักจะคุ้นเคยกันก็คือ “Talk about a problem” แต่ถ้าอยากจะให้ฟังดูเป็นทางการมากขึ้น เราควรจะเปลี่ยนเป็น “Address an issue” แทน ซึ่งสามารถใช้ได้ในทั้งในกรณีที่ต้องการจะบอกว่าเรารับรู้ถึงปัญหา อภิปราย และหาทางแก้ไข

 

ตัวอย่างประโยค เช่น

“Let’s address this issue at the next meeting.” “ไว้เรามาหาทางออกของปัญหานี้กันในการประชุมคราวหน้านะคะ” หรือ “Our PR team has come up with s strategies to address this issue.”

“ฝ่าย PR ของเรามีไอเดียดี ๆ ที่จะใช้ในการแก้ปัญหานี้”

 

นอกจากนั้นเมื่อเราต้องการพูดว่าพบสาเหตุของปัญหาแล้ว แทนที่จะพูดว่า “Find the problem” ก็ควรเปลี่ยนมาใช้ “Identify the issue” แทน ในขณะที่การพูดถึงการคลี่คลายปัญหานั้น ก็ควรพูดว่า “Resolve the problem” แทน “Fix the problem” เพื่อฟังดูมืออาชีพมากขึ้น

 

ในการพูดคุยงานหรือประชุม บางครั้งอาจจะมีคนพูดออกนอกประเด็นหรือกำลังจะเปลี่ยนประเด็นไป โดยที่เรายังมีเรื่องที่อยากจะพูดหรือถาม ในกรณีนี้เราสามารถพูดแทรกขึ้นมาอย่างสุภาพและดูเป็นมืออาชีพได้ง่าย ๆ ว่า “May I ask a question?” “ขอถามนิดนึงได้ไหม?” เช่น “May I ask a question before we proceed?” “ก่อนที่เราจะไปขั้นตอนต่อไป ขอถามอะไรนิดนึงได้ไหมคะ?” ซึ่งเราสามารถใช้ประโยคนี้ทั้งกับเจ้านาย หรือผู้ใหญ่ได้ด้วย

 

การจดบันทึกหรือสรุปสิ่งที่พูดคุยกันไม่ว่าจะเป็นในการประชุม การสรุปการทำงาน หรือในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน ถือเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างมาก ซึ่งขณะที่มีการพูดคุยกันอยู่ เราสามารถแจ้งให้คนอื่น ๆ ทราบว่าเรากำลังจะจดบันทึกได้ด้วยประโยคเหล่านี้

1. “Shall I put this in writing?” “ขอจดบันทึกไว้ได้ไหมคะ?”

2. “Shall I summarize this in an email?” “ขอส่งสรุปผ่านอีเมลนะคะ?”

 

การจดบันทึกและส่งสรุปให้คนที่เราคุยด้วยนั้น นอกจากป้องกันไม่ให้เราลืมสิ่งที่คุยกัน และไม่ให้รายละเอียดต่าง ๆ ตกหล่นแล้ว ยังสามารถเป็นการรีเช็กว่าทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันได้อีกด้วย

 

เมื่อต้องพูดสิ่งที่เราต้องการ หลายคนมักจะใช้ประโยคว่า “I want to” แต่ถ้าเราอยากจะพูดแบบตรงไปตรงมา ให้ตัวเองดูมีความมั่นใจ และเป็นมืออาชีพด้วย เราควรจะเปลี่ยนมาใช้ประโยคว่า “I would like to” แทน ซึ่งเป็นประโยคที่ฟังสุภาพและดูดีกว่า และรูปแบบการใช้ในประโยคก็ไม่ได้แตกต่างกัน เช่น ถ้าอยากจะปรึกษาเรื่องการขึ้นเงินเดือนกับเจ้านาย ก็แค่เปลี่ยนจาก “I want to discuss a raise at the next meeting.” เป็น “I would like to discuss a raise at the next meeting.”

 

ได้แนวทางในการพูดภาษาอังกฤษตามสถานการณ์ต่าง ๆ แล้วก็อย่าลืมลองเอาไปปรับใช้ และฝึกฝนกันบ่อย ๆ ด้วยนะ และนอกจากวิธีพูดต่าง ๆ ในบทความนี้แล้ว เรายังมีวิธีพูดภาษาอังกฤษแบบมืออาชีพในสถานการณ์ต่าง ๆ สำหรับคนทำงาน ตอนที่ 2 และ คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้ในการทำงานแบบ Professional ด้วย คลิกที่ลิงก์ด้านล่างได้เลย

 

หางาน สมัครงานง่าย ๆ ด้วย JobThai Mobile Application

iOS

Android

Huawei AppGallery

 

 

JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน

Public group · 200,000 members

Join Group

 


น่าอาย คนสวนพูดภาษาอังกฤษได้ l Lw Film


หนังสั้น เรื่องราวสะท้อนสังคม เตือนภัยต่างๆ
หนังสั้น ละครสั้น

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

น่าอาย คนสวนพูดภาษาอังกฤษได้ l Lw Film

EP.15 | ฝึกคิดแปลไทยเป็นอังกฤษ ไม่ยากอย่างที่คิด ดูละครไทย ก็ฝึกได้! | Netflix English Room


ครบ จบทุกเรื่องภาษาอังกฤษ ดู Loukgolf’s Netflix English Room
เข้าสู่บทเรียนของการแปลไทยเป็นอังกฤษที่ทุกคนรอคอย คลาสนี้บอกเลยว่ามีประโยชน์มากกกกก เพราะหลายคนน่าจะเคยประสบปัญหากันไม่มากก็น้อย เวลาต้องแปลคำ วลีหรือประโยคไทยๆ ให้เป็นภาษาอังกฤษ เพราะจะแปลแบบไทยไปอังกฤษเลย มันก็จะดูห้วนๆ แปลกๆ และเจ้าของภาษาอาจจะเกาหัวใส่ได้
เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติการแปลภาษาตรงกัน วันนี้พี่ลูกกอล์ฟ เลยมีตัวอย่างการแปลที่เวิร์คมากจากซีรีส์และละครไทยมาฝากกัน ให้ลองฝึกคิดแปลเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างลื่นไหล เข้าใจ ไม่มีงง มาดูกันว่า การจะแปลประโยคที่มีอรรถรสแบบไทยๆ ให้เหมาะสมในบริบทภาษาอังกฤษมากที่สุด เค้าแปลกันยังไง แปลแบบไหนได้บ้าง เตรียมสมุด ปากกาให้พร้อมแล้วมาเข้าคลาสนี้ด้วยกันเลย
ติดตามคลาสเรียนสนุกๆ ของพี่ลูกกอล์ฟได้ใน Loukgolf’s Netflix English Room
ทุกวันอาทิตย์ 17.00 น. ทาง YouTube Netflix Thailand
NetflixEnglishRoom พี่ลูกกอล์ฟ
Netflix สอนภาษาอังกฤษ

EP.15 | ฝึกคิดแปลไทยเป็นอังกฤษ ไม่ยากอย่างที่คิด ดูละครไทย ก็ฝึกได้! | Netflix English Room

สอนพูดภาษาอังกฤษ(ฟรี)จากเริ่มต้นจนพูดคล่อง Level 1: EP.1 Language Basics


อยากฝึกพูดภาษาอังกฤษตัวต่อตัว หรือเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์แบบบุฟเฟ่ต์
สมัครได้เลย ​https://www.unfoxenglish.com/
สอบถามแอดไลน์ ​https://lin.ee/5uEdKb7h

กลุ่มเฟสบุค https://www.facebook.com/groups/unfoxenglishcommunity/

เรียนตอนต่อๆไป
https://www.youtube.com/playlist?list=PLDFirtKulNk9TP14p0TWjl7bs84Ow1aC
อยากพูดภาษาอังกฤษได้เราก็ต้องฝึกพูด เริ่มต้นฝึกเหมือนเด็กทารกที่ค่อยๆหัดพูดตามพ่อแม่ทีละคำสองคำ เป็นกลุ่มคำ เป็นประโยค จนพูดได้ตามที่ใจนึกอยากจะพูด วิธีการเรียนรู้แบบธรรมชาตินี้จะทำให้เราเรียนรู้ได้เร็ว เข้าใจง่าย ไม่ต้องท่องจำ และที่สำคัญไม่ต้องแปลเป็นภาษาไทย แค่ทำความเข้าใจผ่านภาพที่เห็นเชื่อมโยงกับเสียงที่ได้ยิน เราก็จะได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษไปโดยอัตโนมัติเหมือนกับที่เราเรียนรู้ภาษาแม่ได้อย่างธรรมชาติ
ภาษาอังกฤษเป็นเรื่องง่าย แต่เราอย่าไปทำให้มันยาก
ติดตามช่อง YouTube ส่วนตัว
ช่องยูทูปของแล็คต้า https://www.youtube.com/lactawarakorn
ช่องยูทูปของเบล https://www.youtube.com/bellvittawut
ติดตามช่องทางอื่นๆ และพูดคุยกันได้ที่
ชุมชนคนรักภาษาอังกฤษ https://www.unfoxenglish.com
FB: https://www.facebook.com/unfoxenglish
Twitter: https://www.twitter.com/unfoxenglish
Lacta’s IG: https://www.instagram.com/lactawarakorn
Bell’s IG: https://www.instagram.com/toshiroz
ติดต่องาน
Email: [email protected]
Line: http://nav.cx/oOH1Q6T
ภาษาอังกฤษ สอนภาษาอังกฤษ เรียนภาษาอังกฤษ

สอนพูดภาษาอังกฤษ(ฟรี)จากเริ่มต้นจนพูดคล่อง Level 1: EP.1 Language Basics

DB ซัวเถา – ประเทศจีน เลิกเรียนภาษาอังกฤษ ตอนที่ 2


มาพูดคุยกันเพิ่มเติมนะครับ
เกี่ยวกับ “ประเทศจีนเลิกเรียนภาษาอังกฤษ ตอนที่ 2”
หลังจากที่ผมเคยพูดตอนที่ 1 ไป
https://www.youtube.com/watch?v=J0FFui0a24A
ผมจึงอยากมาพูดเจาะลึก
ว่าคำว่า เลิกเรียนภาษาอังกฤษของจีน เป็นอย่างไร
เชิญรับชมได้เลยครับ
💙ถ้าชอบฝากกดไลค์ กดแชร์ และ กดติดตาม กันด้วยนะครับ
Youtube : @DB.ซัวเถา
Production by @SLOTH ME STUDIOS
Facebook : https://www.facebook.com/dbshantou
Tiktok : https://vt.tiktok.com/ZGJU6KeeQ/
LINE : https://lin.ee/IoPscLe
dbซัวเถา
จีนแต้จิ๋ว
การศึกษาจีน

DB ซัวเถา - ประเทศจีน เลิกเรียนภาษาอังกฤษ ตอนที่ 2

30 ประโยค คุยกับลูกเป็นภาษาอังกฤษ ในชีวิตประจำวัน พร้อมคำอ่าน สำหรับพ่อแม่ สอนลูกพูดภาษาอังกฤษ


💖 ถ้าอยากให้กำลังใจ มาสมัครสมาชิกกันนะครับ 💖
กดตรงนี้ 👉 https://www.youtube.com/channel/UCaiwEWHCdfCi23EYN1bWXBQ/join
วิดีโอสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง ฝึกฟัง ฝึกพูด 30 ประโยค คุยกับลูกเป็นภาษาอังกฤษ ในชีวิตประจำวัน พร้อมคำอ่าน สำหรับใช้ฝึกฟัง ฝึกพูดภาษาอังกฤษ กับลูก เพื่อเป็นครอบครัวสองภาษา เทคนิคสอนลูกให้เก่งภาษาอังกฤษ
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ฟรี! คลิก: https://www.tonamorn.com/\r
\r
แจกศัพท์ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1,000 คลิก: https://www.tonamorn.com/vocabulary\r
\r
สอน การแต่งประโยคภาษาอังกฤษ\r
https://www.tonamorn.com/learnenglish/writesentences/\r
\r
เรียนภาษาอังกฤษ จากภาพสวยๆ บนอินสตาแกรม\r
https://instagram.com/ajtonamorn\r
\r
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ, บทสนทนาภาษาอังกฤษ, ไวยากรณ์ แบบฝึกหัดพร้อมเฉลย และบทเรียนภาษาอังกฤษอีกมากมาย เรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่พื้นฐาน จนถึงระดับสูง ฟรี 100%

30 ประโยค คุยกับลูกเป็นภาษาอังกฤษ ในชีวิตประจำวัน พร้อมคำอ่าน สำหรับพ่อแม่ สอนลูกพูดภาษาอังกฤษ

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่MAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ ควรจะเป็น ภาษาอังกฤษ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *