Skip to content
Home » [NEW] | การพิมพ์ ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

[NEW] | การพิมพ์ ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

การพิมพ์ ภาษาอังกฤษ: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

ในบทเรียนนี้จะสอนถึงหลักของการเขียนจดหมายภาษาอังกฤษ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การเขียนจดหมายธรรมดา ตลอดจนยังสามารถนำไปใช้ในการส่งอีเมล์ได้อีกด้วยเช่นกัน

letter writing

สิ่งที่ผู้เขียนต้องระวังมากที่สุดในการเขียนจดหมายภาษาอังกฤษ คือรูปแบบจดหมายและภาษาที่ใช้ในการเขียนจดหมายซึ่งภาษาที่ใช้เขียนจดหมายรวมทั้งรูปแบบจดหมายจะมี 2 อย่างคือ

แบบเป็นทางการ (formal) และ แบบไม่เป็นทางการ (informal)

ถ้าเขียนจดหมายแบบเป็น ทางการภาษาที่ใช้รวมทั้งรูปแบบจดหมายก็ต้องใช้แบบเป็นทางการแต่ถ้าเขียนจดหมายแบบไม่เป็นทางการ จะใช้ภาษาและรูปแบบจดหมายง่ายๆ สบายๆ

จดหมายที่เป็นทางการ (formal letter) เช่น จดหมายธุรกิจ (business letter) หรือจดหมายสมัครงาน (application for a job) จะต้องประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

1. Return address คือที่อยู่ของผู้เขียนจดหมายซึ่งจะวางไว้มุมขวามือด้านบนของจดหมายโดยที่อยู่ของผู้เขียนจดหมายจะประกอบด้วยหมายเลขที่บ้าน ชื่อถนน ชื่อเมือง ชื่อรัฐ และรหัสไปรษณีย์ อาจจะใส่ comma (,) ทุกท้ายบรรทัดและใส่ full stop (.) ที่บรรทัดสุดท้ายก็ได้ แต่ไม่เป็นที่นิยมนักและที่สำคัญห้ามเขียนชื่อผู้เขียนจดหมายไว้ที่ return address

ตัวอย่าง
19/1 Pet-kasem Road
Nong khaem
Bangkok 10160

80 Green Road
Moseley
Birmingham
B13 9 PL

9 Britannia Road
IL ford Essex
IG1 2EQ U.K.

2. Date คือวันที่ๆ เขียนจดหมายซึ่งสามารถวางไว้ได้หลายที่ เช่น วางdate ไว้ใต้ return address หรือวาง date ไว้ใต้ชื่อที่พิมพ์ไว้ด้านล่างของจดหมาย

การเขียนวันที่มีด้วยกัน 2 แบบคือ แบบอเมริกันและแบบทั่วไป โดยการเขียนวันที่แบบอเมริกันจะวางเดือนไว้หน้าวัน

ตัวอย่าง
Month/day/year
March 12, 1998
January 10, 1990
12/6/95 = December 6, 1995
10/4/96 = October 4, 1996

อีกอย่างเป็นการเขียนวันที่แบบทั่วไป ซึ่งจะวางวันที่ (day) ไว้หน้าเดือน Day/month/year
12 march, 1992
10 April, 1994
5 January, 1998
12/6/95 = 12 June, 1995
10/4/96 = 10 April, 1996

หมายเหตุ: การเขียนวันที่ทำได้หลายแบบ เช่น
‘12.3.98’
‘12/3/98’
‘12 March 98’
‘March 12th, 1998’
‘March 12, 1998’

3. Inside address คือ ชื่อและที่อยู่ของผู้รับ โดยจะเขียนชื่อและที่อยู่ของผู้รับไว้ด้านซ้ายมือ ซึ่งอาจจะวางไว้บรรทัดเดียวกันกับวันที่ที่อยู่ด้านขวามือ หรือวางไว้ต่ำกว่าวันที่ก็ได้ inside address จะประกอบด้วย

ชื่อผู้รับ (title – name-last name)
ตำแหน่งงาน (job title)
ชื่อบริษัท (company name)
ชื่อถนน (street name)
ชื่อเมือง (city name)
รหัสไปรษณีย์ (zip code)

ตัวอย่าง
Mr. Roy Evans
Vice President of Operations
Inter Educational Services
1/12 Petchaburi Road
Bangkok 10400

Mr. R.C. Bushill
Personal manager
IWAKI (ENGLAND) Co., Ltd.
9 Britannia Road
Ilford Essex
IG1 2EQ U.K.

หมายเหตุ:
1. inside address จะใช้กับจดหมายที่เป็นทางการโดยเฉพาะจดหมายธุรกิจ
2. ในกรณีที่ส่งจดหมายสมัครงานถึงบริษัท ถ้าไม่ทราบชื่อผู้รับก็ให้ใส่เฉพาะตำแหน่งงาน

4. Greeting คือคำขึ้นต้นจดหมาย ซึ่งเป็นการทักทายถ้าเป็นการเขียน
จดหมายแบบเป็นทางการ greeting จะอยู่ในรูป Dear + title + last name
(กรณีที่รู้ชื่อผู้รับ)

ตัวอย่าง
Dear Mr. Maxwell :
Dear Mr. Komai :
Dear Miss Stephenson :
Dear Mrs. Bushill :

กรณีที่ไม่ทราบชื่อผู้รับและไม่ทราบด้วยว่าเป็นเพศหญิงหรือชาย greeting จะอยู่ในรูป

Dear Sir or Madam

กรณีที่เขียนจดหมายแบบไม่เป็นทางการ greeting จะอยู่ในรูป

Dear + name หรือ Dear + title

ตัวอย่าง
Dear John,    Dear Ladda,
Dear Mum,    Dear Grandpa,
Dear friend,    My dearest Supot,

ถ้าเริ่มต้นจดหมายด้วยการใช้ตำแหน่งและนามสกุล (title and surname) ของบุคคล เช่น ‘Dear Mr. Suriya’ เวลาลงท้ายจดหมายให้ใช้ ‘Yours Sincerely’ ถ้าใช้ ‘yours’ จะเป็นทางการน้อยกว่าอันแรก ถ้าเริ่มต้นจดหมายด้วย ‘Dear Sirs’ ให้ลงท้ายจดหมายด้วย ‘Yours faithfully’ ถ้าเป็นจดหมายส่วนตัวมักจะลงท้ายด้วย ‘Yours’ หรือ ‘Love

หมายเหตุ :
1. ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน มักลงท้ายจดหมายด้วย ‘Sincerely Yours’ หรือ ‘Very truly yours’
2. การเขียนจดหมายแบบอเมริกันมักใส่ colon (:) หลัง Dear… (Dear Mr. John:) ส่วนการเขียนจดหมายแบบอังกฤษจะใส่ comma หรือไม่ใส่อะไรเลย (Dear Mr. John, หรือ Dear Mr. John)

5. Body คือ ตัวจดหมายหรือเนื้อหาของจดหมาย ซึ่งจะบอกถึงวัตถุประสงค์ของการเขียนจดหมาย เนื้อหาของจดหมายจะมีความสำคัญมากกว่าส่วนอื่นๆ ของจดหมาย โดยปกติแล้ว ตัวหรือเนื้อหาจดหมายจะประกอบด้วย 4 ส่วนด้วยกัน

1. Opening คือ ส่วนที่พูดถึงเหตุผลว่าทำไมจึงเขียนจดหมาย
2. Purpose คือ ส่วนที่บอกถึงเป้าหมายที่เขียนจดหมายซึ่งเป็นการจัดหารายละเอียดของสิ่งที่กำลังเขียนว่าที่เขียนมามีเป้าหมายอะไร
3. Action คือ ส่วนที่บอกว่าจะดำเนินการอย่างไรหรือจะทำอะไรเป็นลำดับต่อไป
4. Polite Expression คือ ส่วนที่กล่าวขอบคุณผู้อ่าน

6. Closing คือ คำลงท้ายจดหมายซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือแบบเป็นทางการ (formal) และแบบไม่เป็นทางการ (informal) ถ้าไม่รู้ชื่อผู้รับหรือเมื่อใช้ชื่อสกุลของผู้รับในการทักทาย (greeting) คำลงท้ายจะใช้แบบเป็นทางการหรือแบบ Standard ก็ได้ แต่ถ้าใช้ชื่อแรกของผู้รับในการทักทาย คำลงท้ายจะใช้แบบไม่เป็นทางการ ต่อไปนี้เป็นคำขึ้นต้น (ทักทาย) และคำลงท้าย ทั้ง 3 แบบ

Formal (เป็นทางการ)
คำทักทาย                   คำลงท้าย
Dear Sir or Madam :     Yours very truly,

Very truly yours,
Very sincerely yours,
Very cordially yours,
Sincerely yours,

Very truly yours,Very sincerely yours,Very cordially yours,Sincerely yours,

Standard
คำทักทาย                  คำลงท้าย
Dear Mr.Tom :              Sincerely,
Yours sincerely,
Cordially yours,

Informal (ไม่เป็นทางการ)
คำทักทาย                 คำลงท้าย
Dear Joe,                       Sincerely,
Sincerely yours,
Cordially,
Yours truly,

หมายเหตุ : คำลงท้ายจดหมายนอกจากที่กล่าวแล้วยังมีคำว่า ‘love’ ซึ่งถ้าเป็นผู้หญิงใช้ ก็จะใช้ในการเขียนจดหมายส่วนตัว ถ้าเป็นผู้ชายใช้ก็จะใช้กับเพื่อนหญิงที่สนิทมากๆ หรือใช้กับญาติพี่น้อง คำว่า ‘yours’, ‘Best wishes’ และ ‘All the best’ ถ้าผู้ชายใช้จะใช้คำเหล่านี้ในการเขียนจดหมายส่วนตัว ถ้าเป็นผู้หญิงใช้ก็จะใช้ในการเขียนจดหมายถึงคนที่ตัวเองไม่ได้ชอบพอเป็นพิเศษส่วนคำว่า ‘lots of love’ ใช้ได้ทั้งชายและหญิง เมื่อเขียนจดหมายถึงเพศตรงข้ามที่ตัวเองชอบ (รัก) มากๆ(ชายเขียนถึงชายด้วยกันไม่ค่อยใช้คำนี้เพราะใช้ในเชิงชู้สาว)

7. Signature/Typed name คือ การเซ็นชื่อผู้เขียนที่ท้ายจดหมาย ถ้า จดหมายที่เป็นทางการจะมีชื่อที่พิมพ์และมีลายเซ็นด้วย ส่วนจดหมายส่วนตัวจะมีเพียงลายเซ็นหรือชื่อที่เขียน (ไม่ได้พิมพ์ชื่อ)

8. Envelope คือ การจ่าหน้าซองจดหมายโดยให้เขียนชื่อ นามสกุล และที่อยู่ให้ชัดเจน การจ่าหน้าซองจดหมายจะมี 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นชื่อที่อยู่ของผู้รับ และส่วนที่เป็นชื่อที่อยู่ของผู้ส่งซึ่งทั้ง 2 ส่วนคล้ายกับ return address และ inside address

ส่วนต่างๆ ของจดหมาย
Return address

Date

Inside address

Greeting

Body

Closing

Signature

Typed Name

หมายเหตุ : ถ้ามีสิ่งที่ส่งมาด้วยให้ใส่ enclosure ถัดจาก Typed Name

จดหมายสมัครงาน
18/2 Pet-kasem Road
Nong Khaem
Bangkok 10160

March 20, 1998

Mr.Supot Suton
himan Resources Director
Nana Computer Company
19/1 Petburi Road
Rachatewee, Bangkok 10400

Dear Mr.Suton :

I am applying for the position of secretary which was advertised in the Bangkok Post of March 10.
I have enclosed my resume, and I would like to schedule an interview.
I will call you early next week.
I look forward to discussing this position with you.

Sincerely yours,

NIPONE NICK

จดหมายสอบถาม
18/2 Pet-kasem Road
Nong Khaem
Bangkok 10160

January 16, 1998 1

The Personal Manager
South-East Asia University
19/1 Pet – Kasem Road
Nong Khaem, Bangkok 10160

Dear Sir or Madam :

I should be grateful if you would send me information about the regulations for admission to South-East Asia University. Could you also tell me whether the university arranges accommodation for students?

Yours sincerely,

THANAPAN TONGYAI

หมายเหตุ : ถ้ากระดาษเขียนจดหมายมีชื่อที่อยู่ของบริษัทพิมพ์ไว้แล้ว ผู้เขียนไม่ต้องเขียน return address ซํ้าอีกเพียงใส่วันที่ก็พอ

Envelopes คือ ซองจดหมาย ในส่วนนี้จะพูดถึงการจ่าหน้าซองจดหมายการจ่าหน้าซองจดหมาย จะประกอบด้วยเนื้อหา 2 ส่วน คือ ชื่อที่อยู่ของผู้รับจดหมาย และชื่อที่อยู่ของผู้ส่งจดหมาย

ชื่อ-ที่อยู่ของผู้รับ จะประกอบด้วย
Title + First Name (หรือชื่อย่อ) + Last name
Job Title (ตำแหน่งงาน)
Company Name (ชื่อบริษัท)
Street Number + street Name (เลขที่และชื่อถนน)
City (เมือง) + Post Code (รหัสไปรษณีย์)

ชื่อ – ที่อยู่ของผู้ส่ง จะประกอบด้วย
First Name (หรือชื่อย่อ) Last Name
House number + Street
City + Post Code

ตัวอย่างการจ่าหน้าซองจดหมาย
South-East Asia university
19/1 Pet – Kasem Road
Nong Khaem
Bangkok 10160
Mr.Somchai Treetong
Director of Marketing
Sopa Printing Company
128/2 Phiboonsongkram Road
Muang, Nonthaburi 11000

หมายเหตุ :
1. ถ้าเป็นจดหมายที่เป็นทางการการจ่าหน้าซองจะใช้พิมพ์ (พิมพ์ดีดหรือพิมพ์ computer)
2. ถ้าเป็นจดหมายจากหน่วยงานของบริษัทชื่อและที่อยู่ของบริษัทจะพิมพ์ไว้ก่อนแล้ว
3. ถ้าเขียนจดหมายถึงคนที่พักอาศัยอยู่บ้านของคนอื่น (เป็นการพักชั่วคราว) ให้เขียนชื่อผู้รับจดหมายก่อน(ผู้ที่ไปพักอาศัย) แล้วบรรทัดถัดไปให้เขียน C/O(care of) ไว้หน้าชื่อของเจ้าของสถานที่ เช่น ถ้าจะส่งจดหมายไปหาคุณภาณุวัฒน์ ที่ไปพักอยู่กับคุณจำปาเป็นการชั่าคราว จะต้องเขียนจดหมายถึงคุณจำปาเพื่อฝากต่อให้คุณภาณุวัฒน์ โดยเขียนชื่อคุณภาณุวัฒน์ไว้บรรทัดแรกและเขียน C/O + ชื่อคุณจำปา ไว้บรรทัดที่ 2 เช่น

Mr. Panuwat Kanyanok
C/O Mr. Jumpa Dongyen
28/2 Wireless Road
Pathumwan, Bangkok 10330

ที่มา:นเรศ  สุรสิทธิ์
B.A.(English), M.A.(English)

[Update] อ้างอิง ภาษาอังกฤษ การเขียนเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษเขียนอย่างไร มาดูกัน! | การพิมพ์ ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

4

SHARES

Facebook

Twitter

การอ้างอิงเอกสาร (Citations) คือการบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในงานเขียนต่างๆ การอ้างอิงควรจะอ้างอิงจากเอกสาร หรือแหล่งที่ชื่อถือได้ ว่าข้อมูลนั้นๆถูกต้อง ไม่ควรอ้างอิงจากแหล่งที่ไม่สามารถชื่อถือได้ เพราะข้อมูลที่ได้อาจจะไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

อ้างอิงภาษาอังกฤษ

การเขียนอ้างอิงภาษาอังกฤษ

การเขียนอ้างอิง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆดังนี้คือ

1. การอ้างอิงในเนื้อหา ให้ใช้วิธีการอ้างอิงแบบนาม-ปี โดยระบุชื่อผู้เขียน ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าเอกสารไว้ข้างหลังของข้อความที่ต้องการอ้างอิง เช่น (Athikom, S, 2014, pp. 31)

2. การอ้างอิงท้ายบทความ ให้ระบุเอกสารที่ใช้อ้างอิงไว้ท้ายบทความ โดยเรียงตามลำดับตัวอักษรใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงตามระบบ APA Style 6th ed.

ตัวอย่างเขียนบรรณานุกรม (References) ภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงต่อไปนี้ เป็นการแปลงจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฟษ ซึ่ง ม.กรุงเทพได้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพวารสาร โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดัน วารสารวิชาการเข้าสู่ฐานข้อมูล ACI ซึ่งเป็นฐานข้อมูลระดับอาเซียน และฐานข้อมูล Scopus ซึ่งเป็นฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ดังนั้น กองบรรณาธิการวารสารฯ จึงกำหนดรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมรายการที่อ้างอิงเป็นของคนไทย ดังนี้

1. ใช้รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมเป็นแบบ APA (American Psychological Association)

2. รายการอ้างอิงเป็นของคนไทยในบรรณานุกรมจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ โดยจัดเรียงคู่ กัน คือ เรียงบรรณานุกรมภาษาอังกฤษที่แปลขึ้นก่อน และตามด้วยบรรณานุกรมภาษาไทย และให้เรียงลำดับโดยยึดตัวอักษรภาษาอังกฤษในการเรียง

3. ชื่อเรื่อง (Title) จะต้องทำให้เป็น Thai Romanization (การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน) และต้องเป็นภาษาอังกฤษในวงเล็บเหลี่ยม […]

4. การทำการ Romanization นั้นจะยึดตามหลักสากลโดยใช้เกณฑ์ของ Library of congress สามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ website : https://www.loc.gov/catdir/cpso/roman.html

5. สำหรับการเขียน Thai Romanization แนะนำให้ใช้โปรแกรมแปลงสาส์น ที่พัฒนาโดย NECTEC http://164.115.23.167/plangsarn/index.php

6. โปรดดูตัวอย่างรูปแบบการเขียนแสดงตัวอย่างดังต่อไปนี้

หมายเหตุ การให้ผู้เขียนจัดเรียงลักษณะนี้เพื่อให้กองบรรณาธิการใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิง รูปแบบการเขียนแสดงตัวอย่างดังต่อไปนี้

1. การอ้างอิงจากหนังสือ (Books)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Romanized Title [Translated Title]. Place: Publisher

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
กาญจนา แก้วเทพ. (2549). ทฤษฎีและแนวทางการศึกษาสื่อสารมวลชน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: แบรนด์ เอจ.

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Kaewthep, K. (2006). Thritsadī læ nǣothāng kānsưksā sư̄sānmūanchon (Phim khrang thī
4) [Theory and approach of mass communication (4th ed.)]. Bangkok: Brand Age.

2. การอ้างอิงจากบทในหนังสือ (Book Chapters)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Romanized Title of chapter [Translated Title of chapter ]. In Editor (Ed.),
Romanized Title of book [Translated Title of book] (Page). Place: Publisher.

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
นันทวัฒน์ ฉัตรอุทัย. (2549). อดอร์โนกับอุตสาหกรรมวัฒนธรรม: กรณีศึกษาเพลงสมัยนิยม. ใน ฐิรวุฒิ เสนาคำ
(บก.), เหลียวหน้าแลหลังวัฒนธรรมป๊อป (น. 81-126). กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Chatuthai, N. (2006). ʻOdō̜nō kap ʻutsāhakam watthanatham: Kō̜ranī sưksā phlēng samainiyom
[Adorno and cultural industry: The case study of popular music]. In T. Senakham (Ed.),
Līeo nā lǣ lang watthanatham pō̜p [The review of popular music] (pp. 81-126).
Bangkok: OS Printing House.

3. การอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์ (Thesis/Dissertation)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Romanized Title of dissertation [Translated Title of dissertation] (Doctoral
thesis or Master’s thesis, University).

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
เอมิกา เหมมินทร์. (2556). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
(Social Media) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒ
นบริหารศาสตร์).

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Hemmin, A. (2013). Phrưttikam kānchai læ khwāmkhithen kīeokap phon thī dai čhāk kānchai
khrư̄akhāi sangkhom ʻō̜nlai (Social Media) khō̜ng prachāchon nai khēt Krung Thēp
Mahā Nakhō̜n [Social media consumption behaviors and opinion towards results of
experiencing social media in Bangkok Metropolitan] (Master’s thesis, National Institute
of Development Administration).

4. การอ้างอิงจากเว็บไซต์ (Websites)
รูปแบบ (Format)
Romanized Author Author’s in original language. (Year, Month date). Romanized Title
[Translated Title]. Retrieved from URL

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
บลูมูน. (2553, 7 ตุลาคม). Group แบบใหม่ คุยกับกลุ่มเพื่อนได้ง่ายกว่าเดิม. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2559,
จาก http:// faceblog.in.th/2010/10/facebook-group-people/

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Bluemoon. (2010, October 7). Group bǣp mai khui kap klum phư̄an daingā yok wā doēm [New
group chat with new friends more easily than ever]. Retrieved April 26, 2016, from
http:// faceblog.in.th/2010/10/facebook-group-people/

5. การอ้างอิงจากการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการ (Conference papers/proceedings)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Romanized Title of paper [Translated Title of paper]. In Editor (Ed.),
Romanized Title of conference [Translated Title of conference] (Pages). Place:
publisher.

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
สรชัย จำเนียรดำรงการ, และ คณิตสรณ์ สัมฤทธิ์เดชขจร (บก). (2558). สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ: ขา (ไม่) เคลื่อน
สำคัญกว่าขาขึ้น. ใน งานประชุมวิชาการ เรื่อง ปฎิรูประบบสุขภาพและชีวิต ปฎิรูป จิตสำนึก
ประชาธิปไตย ในโอกาส 9 ปี สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (น. 245-313). นนทบุรี:
สำนักงานคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติ.

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Chamniandamrongkarn, S., & Sumritdejkhajon, K. (Ed.). (2015). Samatchā sukkhaphāp hǣng
chāt : khā ( mai ) khlư̄an samkhan kwā khā khưn [National health assembly:
One (not) important than moving up]. In Ngān prachum wichākān rư̄ang padirūp
rabop sukkhaphāp læ chīwit padirūp čhitsamnưk prachāthipatai nai ʻōkāt kao pī
samnakngān Khana Kammakān sukkhaphāp hǣng chāt [A meeting of the
enlightenment and health system reforms in a nine-year of The National Health
Commission office] (pp. 245-313). Nonthaburi: The National Health Commission Office.

6. การอ้างอิงวารสาร (Journal)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Romanized Title of article [Translated Title of article]. Title of Journal,
volume(issue), page-numbers.

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
พราว อรุณรังสีเวช. (2560). สาเหตุและกลยุทธ์การแก้ปัญหาความรู้สึกไม่แน่นอนจากการสิ้นยุคของ
โปรแกรมแฟลซ. วารสารนักบริหาร, 37(1), 3-13.

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Arunrangsiwed, P. (2017). Sāhēt læ konlayut kān kǣ panhā khwāmrū sưk mai nǣnō̜n
čhāk kān sin yuk khō̜ng prōkrǣm fǣnsa [Solution when parting with my dear
flash: Identifying causesand uncertainty reduction strategies], Executive Journal,
37(1), 3-13.

อันนี้เป็นตัวอย่างการเขียนนะครับ ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะมีรูปแบบการเขียนที่แตกต่างกัน ดังนั้นให้ยึดแนวการเขียนของแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นหลักนะครับ 

source: http://buacademicreview.bu.ac.th/exe_ref2.pdf

ขอ 5 ดาวให้บทเรียนด้วยครับผม…

คลิกดาวดวงที่ขวามือสุดเลยครับครับ…

Average rating 4.8 / 5. Vote count: 29

ยังไม่มีใครให้ดาว คุณคือคนแรก….


ตัวอักษรภาษาอังกฤษ a-z (ตัวพิมพ์เล็ก)


++ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ az (ตัวพิมพ์เล็ก) ++
ตัวอักษรภาษาอังกฤษ az (ตัวพิมพ์เล็ก)
1. a (เอ)
2. b (บี)
3. c (ซี)
4. d (ดี)
5. e (อี)
6. f (เอฟ)
7. g (จี)
8. h (เอช)
9. i (ไอ)
10. j (เจ)
11. k (เค)
12. l (แอล)
13. m (เอ็ม)
14. n (เอ็น)
15. o (โอ)
16. p (พี)
17. q (คิว)
18. r (อาร์)
19. s (เอส)
20. t (ที)
21. u (ยู)
22. v (วี)
23. w (ดับเบิ้ลยู)
24. x (เอ็กซ์)
25. y (วาย)
26. z (ซี หรือ แซท)
++ จัดทำโดย Por Pure Channel ++
ฝากกด Like กดแชร์ คลิปวีดีโอ และกด Subscribe ด้วยจร้า
จะอัพคลิปเรื่อยๆ
Channel : https://www.youtube.com/channel/UCuxFOCWjUZ7PxmzBaxialBQ
Subscribe : https://www.youtube.com/channel/UCuxFOCWjUZ7PxmzBaxialBQ?sub_confirmation=1

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ตัวอักษรภาษาอังกฤษ  a-z (ตัวพิมพ์เล็ก)

วิธีใช้แป้นพิมพ์แปลภาษา แอปแป้นพิมพ์Gboard


ฟังก์ชั่นที่ทำให้การส่งข้อความพูดกับเพื่อนต่างภาษาทำได้ง่ายมากขึ้นครับ ด้วยระบบแป้นพิมพ์แปลภาษา ลองนำไปใช้งานกันดูนะครับ
ฝากกดติดตามช่อง นายตึ๋งหนืด ด้วยนะครับแล้วพบกันใหม่คลิปหน้าครับ ^_^

วิธีใช้แป้นพิมพ์แปลภาษา แอปแป้นพิมพ์Gboard

ภาษาอังกฤษ บท The Giant Plants Island Plants We Eat


รับชมเพิ่มเติมได้ทาง
www.obectv.tv

ภาษาอังกฤษ บท The Giant Plants Island Plants We Eat

เพลงABC ฝึกท่อง A-Z พร้อมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ


สาระการเรียนรู้เรื่อง
เรียนรู้ศัพท์จากบทเพลงABC
อ่านท่อง AZ และคำศัทพ์ภาษาอังกฤษประกอบด้วยการ์ตูนน่ารักๆพร้อมความรู้สนุกๆด้วยบทเพลงABC
อย่าลืมทบทวนกันบ่อยๆน่ะค่ะ

จัดทำโดย
นางสาวศุภัสสร สมจิตร
นักศึกษา ระดับชั้นปวช 3
แผนนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ครูประจำวิชา
วิชาโปรแกรมมัลติมีเดียเพื่อนำเสนอ
ครูมยุรี อามาต์มนตรี
วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด

เพลงABC ฝึกท่อง A-Z พร้อมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ

ภาษาอังกฤษ ป.1 – บทที่ 2 : หัดเขียน ABC \”ABC Tracing\” [สื่อแท็บเล็ต ป.1]


หัดเขียน abc ภาษาอังกฤษ ป.1 บทที่ 2 จากสื่อแท็บเล็ตโดยสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ภาษาอังกฤษ ป.1 - บทที่ 2 : หัดเขียน ABC \

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ การพิมพ์ ภาษาอังกฤษ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *