Skip to content
Home » สิทธิประกันสังคมที่ผู้ประกันตนต้องรู้ : รู้เท่ารู้ทัน (18 เม.ย. 62) | ประกันสังคม ผู้ประกอบการ

สิทธิประกันสังคมที่ผู้ประกันตนต้องรู้ : รู้เท่ารู้ทัน (18 เม.ย. 62) | ประกันสังคม ผู้ประกอบการ

สิทธิประกันสังคมที่ผู้ประกันตนต้องรู้ : รู้เท่ารู้ทัน (18 เม.ย. 62)


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันให้กับชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้ และมีการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม โดยจุดประสงค์ของการทำประกันสังคม เพื่อให้ผู้ประกันตนมีหลักประกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตประจำวัน โดยที่บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจ่ายค่าประกันตนไป สิทธิที่ตัวเองจะได้รับมีอะไรบ้าง มาทำความรู้จักกับประเภทของผู้ประกันตน และสิทธิที่ผู้ประกันตนจะได้รับ
ติดตามชมประเด็นรู้เท่ารู้ทัน ในช่วง \”วันใหม่ ไทยพีบีเอส\” ทุกวันจันทร์ ศุกร์ ทางไทยพีบีเอส หรือชมย้อนหลังได้ทาง http://www.thaipbs.or.th/Rutan

กด Subscribe
ติดตามรายการดีๆของช่อง ได้ที่ : http://goo.gl/hdy2ye
และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
Website : http://www.thaipbs.or.th
Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBSFan
Twitter : http://www.twitter.com/ThaiPBS
Instagram : http://www.instagram.com/ThaiPBS
Google Plus : http://www.thaipbs.or.th/GooglePlus
LINE : http://bit.ly/2GtS44i
Youtube : http://www.youtube.com/user/ThaiPBS

สิทธิประกันสังคมที่ผู้ประกันตนต้องรู้ : รู้เท่ารู้ทัน (18 เม.ย. 62)

อัปเดต! ผู้ประกอบการอาชีพอิสระ สมัครประกันสังคมมาตรา 40 ได้สิทธิอะไรบ้าง


ประกันสังคม เปิด 3 ทางเลือก ให้ผู้ประกอบการอาชีพอิสระ พ่อค้าแม่ค้า แม่บ้าน สมัครจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40 ได้รับสิทธิอะไรบ้าง
แชร์ข่าวเล่าเรื่อง ประกันสังคม ประกันสังคมมาตรา40 ผู้ประกันตน
💢สำนักงานประกันสังคม ได้ออกกฎระเบียบใหม่สำหรับผู้มีอาชีพอิสระนอกระบบ ไล่เรียงตั้งแต่ พ่อค้าแม่ค้า มอเตอร์ไวด์รับจ้าง แม่บ้าน พนักงานฟรีแลนซ์ เกษตรกร และ ผู้มีอาชีพอิสระอื่น ๆ สามารถสมัครประกันสังคมมาตรา 40 เพื่อรับสิทธิประโยชน์ แล้วสิทธิประโยชน์ที่ สำนักงานประกันสังคม ให้กับกลุ่มอาชีพอิสระที่ทำงานนอกระบบ ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาตรา40 เป็นจำนวนเท่าไหร่และได้สิทธิอะไรบ้างนั้น
คุณสมบัติ
1. มีสัญชาติไทย
2. เป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยมีมติ ครม. ผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยเลขบัตรประจำตัวหลักแรกเป็นเลข 6 หรือ 7
3. เป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว เพื่อรอการส่งกลับที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยเลขประจำตัวหลักแรกเป็น 0 ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (ยกเว้นผู้ที่มีเลขประจำตัวหลักแรกและหลักที่สองเป็น 0)
4. มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย. 63)
5. ต้องเป็นบุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามประกันสังคม มาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 (บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้)
6. ไม่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการต่าง ๆ หรือไม่เป็นสมาชิกกองทุนของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีลักษณะเดียวกับกองทุนบำเหน็จบำนาญของส่วนราชการ
7. หากเป็นผู้พิการให้ระบุลักษณะหรืออาการของผู้พิการโดยละเอียด(ยกเว้นผู้พิการทางสติปัญญาและผู้พิการที่ไม่อาจรับรู้สิทธิที่พึงจะได้รับจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา40 ไม่สามารถสมัครและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา40 ได้)
2. หลักฐานการสมัคร
2.1 บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
2.2 แบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา40 (สปส.140) กรณีไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้ใช้การประทับลายนิ้วมือแทนการลงชื่อและให้มีผู้รับรองลายมือชื่อจำนวน 2 คน
3. สถานที่ในการสมัคร
3.1 สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
3.2 อินเตอร์เน็ต WWW.sso.go.th/section40_regist
3.3 บริษัทเคาน์เตอร์เซอร์วิส เซเว่นอีเลฟเว่น
4. ทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาตรา40 มี 3 ทางเลือก
ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บ/ด
สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย
ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บ/ด
สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ
กรณีตาย และกรณีชราภาพ
ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บ/ด
สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร
หมายเหตุ :
1) ผู้ประกันตนทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3 สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติม(ออมเพิ่ม)ได้ไม่เกิน 1,000 บ/ด
2) กำหนดให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบให้ผู้ประกันตนตามมาตรา40 ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน
5. ช่องทางการชำระเงินสมทบประกันสังคมมาตรา40
5.1 เคาน์เตอร์บริการ
5.2 หักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร
ชำระงวดปัจจุบันที่
1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (มหาชน)
4. ธนาคารออมสิน
5. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
6. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
7. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
8. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
9. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
5.3 ช่องทางอื่น
ชำระงวดปัจจุบัน งวดล่วงหน้า 12 เดือน และออมเพิ่มไม่เกิน 1,000 บ/ด ได้ที่ ไปรษณีย์ (ธนาณัติ)
เสียค่าธรรมเนียมตามที่ไปรษณีย์กำหนด
หมายเหตุ
1. การจ่ายเงินสมทบผ่านทางเคาน์เตอร์เซอร์วิส โปรดแจ้งพนักงานให้ชัดเจนว่าจะจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าหรือจ่ายเงินออมเพิ่ม เพื่อไม่ให้จ่ายเงินผิดพลาด
2. จ่ายเงินสมทบผ่านการหักบัญชีธนาคาร ธนาคารจะหักเงินในบัญชีของผู้ประกันตน ทุกวันที่ 20 ของเดือน
3. ลืมหรือขาดส่งเงินสมทบ ไม่สามารถส่งเงินสมทบย้อนหลังได้ แต่ไม่ถือเป็นการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน สามารถส่งเงินสมทบงวดปัจจุบันและส่งเงินล่วงหน้าได้ไม่เกิน 12 เดือน
4. เงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จ่าย สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
5. ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ไม่ถูกตัดสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
6. การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูล
6.1 เมื่อเป็นผู้ประกันตนแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น เปลี่ยนคำนำหน้านามชื่อ สกุล ที่อยู่ที่ติดต่อ เปลี่ยนแปลงสำนักงานประกันสังคมรับผิดชอบ หรือเปลี่ยนทางเลือกจ่ายเงินสมทบ เป็นต้น ให้ยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงหรือทางเลือกการจ่ายเงินสมทบผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.140/1) พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
6.2 กรณีขอเปลี่ยนทางเลือกการจ่ายเงินสมทบจะทำได้ปีละ 1 ครั้ง โดยเมื่อยื่นขอเปลี่ยนแปลงทางเลือกแล้ว จะมีผลในเดือนถัดไป
6.3 หากไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ต่อไป (ลาออก) ให้ยื่นแบบแจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.140/2)
🙏ขอขอบคุณทุกท่านที่ กดไลค์ กดแชร์ และกดติดตาม
เพื่อรับข่าวสาร และสาระดีๆ จากช่อง แชร์ข่าว เล่าเรื่อง นะคะ 🙏
🌈ช่องทางการติดตาม
Facebook : https://web.facebook.com/ShareNewsPage/
Youtube : http://www.youtube.com/c/แชร์ข่าวเล่าเรื่อง

อัปเดต! ผู้ประกอบการอาชีพอิสระ สมัครประกันสังคมมาตรา 40 ได้สิทธิอะไรบ้าง

ข่าวดี ประกันสังคมปล่อยเงินกู้เงินชราภาพ ดอกเบี้ยถูก3% กู้ได้ทุกคน


ข่าวดีประกันสังคม ประกันสังคมปล่อยกู้ ประกันสังคมปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยถูก

ข่าวดี ประกันสังคมปล่อยเงินกู้เงินชราภาพ ดอกเบี้ยถูก3% กู้ได้ทุกคน

นายจ้างหักและส่ง+รายงานเงินสมทบประกันสังคมยังไง


นายจ้างมีหน้าที่ต้องหักเงินสมทบ และร่วใสมทบเงินจำนวนเท่ากันกับที่หักจากลูกจ้างเข้าสู่กองทุนประกันสังคมทุกเดือน

นายจ้างหักและส่ง+รายงานเงินสมทบประกันสังคมยังไง

เจาะลึกทั่วไปEP.179 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564


เจาะลึกทั่วไป ที่นี่ … ไม่เป็นกลาง แต่เป็นธรรม \r
\r
เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand\r
จันทร์ ศุกร์ เวลา 08.0009.30 น.\r
เจาะประเด็นโดย ดนัย เอกมหาสวัสดิ์ / อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์\r
คุยข่าวได้ที่ Line : @insidethailand\r
ชมสด ฟังสด… FB Live : เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand\r
FM 102.0 MHz. \r
วิทยุออนไลน์ http://www.102radio.net/102radioOnline.php\r
ช่อง 9 MCOT HD หมายเลข 30

เจาะลึกทั่วไปEP.179 วันที่ 22 พฤศจิกายน  2564

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่MAKE A WEBSITE

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *