สิทธิประกันสังคมที่ผู้ประกันตนต้องรู้ : รู้เท่ารู้ทัน (18 เม.ย. 62)
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่
ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันให้กับชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้ และมีการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม โดยจุดประสงค์ของการทำประกันสังคม เพื่อให้ผู้ประกันตนมีหลักประกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตประจำวัน โดยที่บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจ่ายค่าประกันตนไป สิทธิที่ตัวเองจะได้รับมีอะไรบ้าง มาทำความรู้จักกับประเภทของผู้ประกันตน และสิทธิที่ผู้ประกันตนจะได้รับ
ติดตามชมประเด็นรู้เท่ารู้ทัน ในช่วง \”วันใหม่ ไทยพีบีเอส\” ทุกวันจันทร์ ศุกร์ ทางไทยพีบีเอส หรือชมย้อนหลังได้ทาง http://www.thaipbs.or.th/Rutan
กด Subscribe
ติดตามรายการดีๆของช่อง ได้ที่ : http://goo.gl/hdy2ye
และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
Website : http://www.thaipbs.or.th
Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBSFan
Twitter : http://www.twitter.com/ThaiPBS
Instagram : http://www.instagram.com/ThaiPBS
Google Plus : http://www.thaipbs.or.th/GooglePlus
LINE : http://bit.ly/2GtS44i
Youtube : http://www.youtube.com/user/ThaiPBS
พลเมืองดีของสังคม (โฆษณาไทยประกันชีวิต)
สิทธิประโยชน์ ประกันสังคม มาตรา 33 คือ อะไร ว่างงาน รับ เงิน เยียวยา ได้มั้ย?
การประกันสังคม มาตรา 33 มีหลายคนสงสัยว่า มาตรา 33 คือ อะไร ว่างงานในกรณีนี้ ประกันสังคม จ่ายยังไง ผู้ประกันตนหลายคน มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์กรณีต่าง ๆ ที่จะได้รับจากกองทุนประกันสังคมเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ ผู้ประกันตนมาตรา 33 คืออะไร?
ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ ลูกจ้างผู้ทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ หรือพนักงานเอกชนผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ดังนี้
1. กรณีเจ็บป่วย 1.1. กรณีเจ็บป่วยปกติเมื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิ หรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้น ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆหากหมดสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในวันลาป่วยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแล้ว จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของคึ่าจ้างจริง สูงสุดแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ไม่เกิน 90 วันต่อครั้ง และไม่เกิน 180 วันต่อปีเว้นแต่ ป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ไม่เกิน 365 วัน (กรณีป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เมื่อเสียชีวิตจะได้รับค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์กรณีตายเช่นเดียวกับกรณีตาย)
1.2. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินถ้าเข้ารับรักษากับสถานพยาบาลที่ไม่ใช่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิหรือเครือข่าย จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์อย่างไร? กรณีผู้ประกันตนได้สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราที่กำหนด ดังนี้ เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ ไม่ว่าจะประสบอันตราหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ขอรับค่าบริการทางการแพทย์ได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ตามรายละเอียดดังนี้ผู้ป่วยนอก เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นผู้ป่วยใน เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชน ทั้งประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเบิกได้ดังนี้ผู้ป่วยนอก เบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท เบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงเกิน 1,000 บาทได้ ถ้ามีการตรวจรักษาตามรายการในประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ดังนี้ การให้เลือดหรือส่วนประกอบของเลือด การฉีดสารต่อต้านพิษจากเชื้อบาดทะยัก การฉีดวัคซีนหรือเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนักบ้า (เฉพาะเข็มแรก) การตรวจอัลตร้าซาวด์กรณีที่มีภาวะฉุกเฉินเฉียบพลันในช่องท้อง การตรวจด้วย CTSCAN หรือ MRI จ่ายตามเงื่อนไขที่กำหนด การขูดมดลูกกรณีตกเลือดหลังคลอด หรือตกเลือดจากการแท้งบุตร ค่าฟื้นคืนชีพ และกรณีที่มีการสังเกตอาการในห้องสังเกตอาการตั้งแต่ 3 ชั่วโมงขึ้นไปผู้ป่วยใน ค่ารักษาพยาบาล กรณีที่ไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท ค่าห้องและค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล กรณีที่รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท กรณีที่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,00016,000 บาท ตามระยะเวลาการผ่าตัด ค่าฟื้นคืนชีพรวมค่ายา และอุปกรณ์เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และหรือเอกซเรย์ เบิกได้ไม่เกินรายละ 1,000 บาท กรณีมีความจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยพิเศษ ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง, การตรวจคลื่นสมอง และการตรวจอัลตร้าซาวด์ตามประกาศ การสวนเส้นเลือดหัวใจและเอกซเรย์, การส่องกล้อง, การตรวจด้วยการฉีดสี, การตรวจด้วย CTSCAN หรือ MRI ตามประกาศ
1.3. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต กรณีผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลเอกชนที่ใกล้เคียงได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย สำนักงานประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการรักษาผู้ประกันตนจนพ้นภาวะวิกฤตให้แก่สถานพยาบาลที่รักษาภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง โดยนับรวมวันหยุดราชการ และกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับบริการทางการแพทย์จนพ้นภาวะวิกฤตแล้ว จะส่งตัวไปเข้ารับการรักษาต่อ ณ สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิ ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์การบำบัดโรคกรณีสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะบางส่วนได้ตามความจำเป็นตามหลักเกณฑ์ และอัตราที่ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฯ กำหนด
1.4. กรณีทันตกรรม จะได้รับสิทธิอะไรบ้าง?กรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นในอัตราไม่เกิน 900 บาทต่อปี ในกรณีที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานให้ผู้ประกันตนจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้กับสถานพยาบาล เฉพาะส่วนเกินจากสิทธิที่ได้รับกรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน ได้รับค่าบริการทางการแพทย์ และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในอัตราไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้1) 15 ซี่ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 1,300 บาท2) มากกว่า 5 ซี่ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 1,500 บาทกรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก ได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม ตามหลักเกณฑ์ดังนี้1) ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 2,400 บาท2) ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,400 บาท2. กรณีคลอดบุตรได้สิทธิได้รับค่าคลอดบุตรโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ดังนี้
อ่านต่อในคอมเม้นท์นะครับ
มาตรา33ประกันสังคม ประกันสังคมมาตรา33 สิทธิประโยชน์ประกันสังคม
มนุษย์เงินเดือนควรรู้!! \”14 โรค\” ยกว้น ที่ประกันสังคมไม่คุ้มครอง ศึกษาให้ดีก่อนใช้สิทธิ์!!
มนุษย์เงินเดือนควรรู้!! \”14 โรค\” ยกว้น ที่ประกันสังคมไม่คุ้มครอง ศึกษาให้ดีก่อนใช้สิทธิ์!!
ถ้าพูดถึง \”ประกันสังคม\” หลายคนที่ทำงานออฟฟิตคงรู้จักกันเป็นอย่างดีและหลายคนคงกำลังคิดว่า การมีเพียงประกันสังคมก็เกินพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีประกันอื่นๆ อย่าง ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต หรือประกันอุบัติเหตุแล้วก็ได้ แต่รู้หรือไม่ว่า สิทธิประกันสังคมนั้นไม่ได้ครอบคลุมอย่างไปทุกอย่างและยังมีโรคบางชนิดที่ไม่อยู่ในความคุ้มครองของประกันสังคม วันนี้เราได้รวบรวม 14 โรคที่ประกันสังคมไม่คุ้มครอง มาฝากทุกคน จะมีโรคอะไรบ้าง หรืออาการอะไรบ้าง ตามมาเช็คกันได้เลย!
1. โรคหรือการประสบอันตรายอันเนื่องมาจากการใช้สารเสพติด ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
2. การรักษาโรคที่ต้องใช้ระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล ประเภทคนไข้ เกิน 180 วัน ใน 1 ปี
3. การบำบัดทดแทนไต ในกรณี ไตวายเรื้อรัง ยกเว้น
– กรณีไตวายเฉียบพลัน ที่มีระยะเวลารักษาไม่เกิน 60 วัน ให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์
– กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ให้สิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ โดยการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม วิธีการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างถาวร และด้วยวิธีการปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการปลูกถ่ายไต และอัตราที่กำหนดในประกาศจากสำนักประกันสังคม
4. การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ (ศัลยกรรม)
5. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง
6. การรักษาภาวะมีบุตรยาก
7. การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ยกเว้นการตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการปลูกถ่ายไขกระดูกของผู้ประกันตน ให้จ่ายค่าตรวจเนื้อเยื่อเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 7,000 บาทต่อราย ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการแพทย์กำหนด
8. การตรวจใดๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรค
9. การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ยกเว้น
– การปลูกถ่ายไขกระดูก ให้จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายในอัตรา 750,000 บาทต่อราย แก่สถานพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์ แก่ผู้ประกันตนจนสิ้นสุดกระบวนการปลูกถ่ายไขกระดูก โดยจะต้องเป็นสถานพยาบาลที่คณะกรรมการแพทย์รับรอง และได้ทำข้อตกลงไว้กับสำนักงานในการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน กรณีการปลูกถ่ายไขกระดูกตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
– การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะกระจกตา โดยให้เหมาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาล 20,000 บาท และให้ศูนย์ดวงตาสภากาชาตไทย 5,000 บาท ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
10. การเปลี่ยนเพศ
11. การผสมเทียม
12. การบริการระหว่างรักษาตัวแบบพักฟื้น
13. ทันตกรรม ยกเว้น การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูนและผ่าฟันคุด ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 900 บาทต่อครั้งและต่อปี กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี แต่หากเป็นกรณีใส่ฟันเทียมที่ถอดได้ทั้งปาก จะมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี
14. การทำแว่นตา
ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าสิทธิประกันสังคมจะครอบคลุมการรักษาหลากหลายมากมาย แต่ก็ยังมีส่วนที่ยังไม่ได้คุ้มครองบางส่วน เพื่อความไม่ประมาทควรทำประกันรูปแบบอื่นๆ เพื่อความอุ่นใจในการใช้ชีวิตกันด้วยนะครับ เพราะของบางอย่าง \”มีแล้วอาจไม่ค่อยได้ใช้ ดีกว่าถึงเวลาที่ต้องใช้แต่กลับไม่มี\”
สิทธิผู้ประกันตนตรวจรักษา COVID -19 : สถานีร้องเรียน (4 มี.ค. 63)
ตรวจเชื้อไวรัสโควิด19 ฟรี! สำหรับผู้ประกันตนหากมีอาการเจ็บป่วย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในโรงพยาบาลคู่สัญญา 242 แห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้หากไปทำงานไม่ได้ ประกันสังคมยังจ่ายเงินทดแทนของค่าจ้างถึง 50% อีกด้วย
ติดตามชมรายการสถานีประชาชนย้อนหลังได้ทาง http://www.thaipbs.or.th/People
COVID19 รักษาCOVID19 สิทธิผู้ประกันตน
กด Subscribe
ติดตามรายการดีๆของช่อง ได้ที่ : http://goo.gl/hdy2ye
และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
Website : http://www.thaipbs.or.th
Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBSFan
Twitter : http://www.twitter.com/ThaiPBS
Instagram : http://www.instagram.com/ThaiPBS
LINE : http://www.thaipbs.or.th/AddLINE
YouTube : http://www.youtube.com/ThaiPBS
นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆMAKE A WEBSITE